Return to Video

แฉ 10 เรื่องเข้าใจผิดทางจิตวิทยา

  • 0:01 - 0:04
    คุณคงเคยได้ยินเรื่องไอคิว
    ซึ่งเป็นความเฉลียวฉลาดโดยทั่วไป
  • 0:04 - 0:06
    เเล้วถ้าเป็น Psy-Q ล่ะ?
  • 0:06 - 0:08
    คุณรู้มากน้อยเเค่ไหน
    ว่าอะไรทำให้เราเป็นแบบนั้น
  • 0:08 - 0:11
    เราเก่งเเค่ไหน ในการเดาพฤติกรรมคนอื่น
  • 0:11 - 0:12
    หรือเเม้เเต่ของตัวเราเอง
  • 0:12 - 0:15
    และเราเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา
    ผิดไปแค่ไหน
  • 0:15 - 0:19
    เรามาค้นหาคำตอบกัน โดยการนับถอยหลัง
    เรื่องเข้าใจผิด 10 เรื่องด้านจิตวิทยา
  • 0:19 - 0:22
    เราคงเคยได้ยินมาว่า
    เมื่อกล่าวถึงจิตวิทยา
  • 0:22 - 0:25
    มันเหมือนกับว่าผู้ชายมาจากดาวอังคาร
    เเละผู้หญิงมาจากดาวศุกร์จริง ๆ
  • 0:25 - 0:27
    เเต่ความจริงแล้วชาย-หญิงต่างกันแค่ไหน
  • 0:27 - 0:30
    เเละเพื่อหาคำตอบ
    เราจะเริ่มโดยการดูอะไรสักอย่าง
  • 0:30 - 0:31
    ที่ผู้ชายเเละผู้หญิงเเตกต่างกันจริง ๆ
  • 0:31 - 0:35
    เเละพลอตกราฟที่เเสดงถึง ความเเตกต่าง
    ระหว่างเพศ โดยใช้หน่วยเดียวกัน
  • 0:35 - 0:37
    สิ่งหนึ่งที่ชายเเละหญิง
    ต่างกันจริง ๆ
  • 0:37 - 0:39
    ก็คือ ความสามารถในการขว้างลูกบอล
  • 0:39 - 0:41
    ฉะนั้น ถ้าเรามาดูตัวเลข ของผู้ชายตรงนี้
  • 0:41 - 0:43
    เราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่า
    กราฟการเเจกเเจงเเบบปกติ
  • 0:43 - 0:46
    ชายจำนวนไม่เยอะ โยนบอลได้ไกลมาก
    เเละอีกจำนวนน้อย ก็โยนได้ไม่ไกลเลย
  • 0:46 - 0:48
    เเต่ส่วนมาก โยนได้ปานกลาง
  • 0:48 - 0:50
    สัดส่วนผู้หญิง ก็เหมือนกัน
  • 0:50 - 0:52
    เเต่จริง ๆ มีความต่างกันมาก
  • 0:52 - 0:55
    จริง ๆ ผู้ชายโดยเฉลี่ย
  • 0:55 - 0:57
    สามารถโยนบอลได้ไกลกว่า
    98% ของผู้หญิงทั้งหมด
  • 0:57 - 1:00
    ทีนี้เราจะมาดู
    ความต่างระหว่างเพศ ทางจิตวิทยา
  • 1:00 - 1:03
    ว่าเป็นอย่างไร โดยใช้หน่วยมาตรฐานเดียวกัน
  • 1:03 - 1:04
    นักจิตวิทยาจะบอกเราว่า
  • 1:04 - 1:07
    ชายมีสำนึกเรื่องการกะระยะดีกว่าหญิง
  • 1:07 - 1:09
    เช่น การดูแผนที่เป็นต้น ซึ่งเป็นจริง
  • 1:09 - 1:12
    แต่เรามาดูว่ามีความต่างกันแค่ไหน
  • 1:12 - 1:15
    น้อยนิดเดียว เส้นชิดกันจนเกือบตรงกัน
  • 1:15 - 1:19
    จริง ๆ แล้ว หญิงโดยเฉลี่ย
    เก่งกว่าชาย 33%
  • 1:19 - 1:21
    และถ้าเลขนั้นขยับเป็น 50%
  • 1:21 - 1:23
    ทั้งสองเพศ ก็เกือบจะเท่ากันเป๊ะ
  • 1:23 - 1:27
    ให้สังเกตว่า ความต่างนี้และอันหน้า
    ที่จะแสดง
  • 1:27 - 1:30
    เป็นความแตกต่างทางเพศ ที่มากที่สุด
  • 1:30 - 1:31
    ที่เคยพบ ในสาขาจิตวิทยา
  • 1:31 - 1:32
    ครับ นี้เป็นอันต่อไป
  • 1:32 - 1:35
    นักจิตวิทยาจะบอกว่า หญิงเก่งกว่า
  • 1:35 - 1:36
    ในเรื่องภาษาและไวยากรณ์
  • 1:36 - 1:39
    และนี่เป็นคะแนนสอบไวยากรณ์มาตรฐาน
  • 1:39 - 1:41
    นั่นของผู้หญิง และนั่นของชาย
  • 1:41 - 1:43
    ใช่อีก หญิงเก่งกว่าโดยเฉลี่ย
  • 1:43 - 1:45
    แต่ใกล้กันมาก
  • 1:45 - 1:48
    ชายถึง 33% ก็ยังเก่งกว่าหญิงเฉลี่ย
  • 1:48 - 1:50
    และอีกที ถ้าเลขนั้นขยับเป็น 50%
  • 1:50 - 1:52
    ก็จะไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศเลย
  • 1:52 - 1:55
    ดังนั้น นี่ไม่ใช่เรื่องดาวอังคาร ดาวศุกร์
  • 1:55 - 1:57
    แต่เป็นเรื่องขนมมาร์ส และสนิกเกอร์
  • 1:57 - 2:01
    มันก็เหมือนกัน แค่อีกอันถั่วหน่อยแค่นั้น
  • 2:01 - 2:05
    ตอนทำเค้ก คุณชอบใช้ตำราอาหารที่มีรูปไหม
  • 2:05 - 2:07
    ครับ มีบ้าง
  • 2:07 - 2:09
    หรือชอบให้เพื่อนบอก
  • 2:09 - 2:12
    หรือว่า เริ่มลองทำ ลองผิดลองถูกไป
  • 2:12 - 2:13
    มีหลายคน
  • 2:13 - 2:15
    โอเค ถ้าใครเลือกข้อแรก
  • 2:15 - 2:17
    นั่นหมายความว่าเราเรียนรู้โดยใช้ตา
  • 2:17 - 2:21
    และเรียนได้ดีทีสุด เมื่อข้อมูลเห็นได้ทางตา
  • 2:21 - 2:23
    ถ้าเลือกข้อ 2 นั่นหมายความว่า
    เราเรียนรู้ทางหู
  • 2:23 - 2:27
    และเรียนรู้ได้ดี เมื่อมีข้อมูลเป็นเสียง
  • 2:27 - 2:30
    ถ้าเลือกข้อ 3 นั่นหมายถึง
    เราเรียนรู้ทางการสัมผัส
  • 2:30 - 2:33
    และเราเรียนได้ดี เมื่อต้องทำอะไรด้วยมือ
  • 2:33 - 2:35
    ยกเว้นเรื่อง ... คงจะเดาออกแล้วว่า
  • 2:35 - 2:38
    ไม่ได้หมายเช่นนั้น เพราะว่า
    มันเป็นแค่เรื่องพูดต่อ ๆ กัน
  • 2:38 - 2:43
    สไตล์การเรียนรู้ เป็นเรื่องกุขึ้น
    ที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน ทางวิทยาศาสตร์
  • 2:43 - 2:46
    เรารู้ได้ เพราะว่า ในงานทดลอง
    ที่ควบคุมอย่างเข้มงวด
  • 2:46 - 2:48
    ที่มีการให้ประเด็นการศึกษา
  • 2:48 - 2:50
    ในสไตล์ที่ตนชอบ หรือตรงกันข้าม
  • 2:50 - 2:54
    การจำข้อมูลได้ ไม่มีความแตกต่างเลย
  • 2:54 - 2:56
    และถ้าลองพิจารณาสักครู่หนึ่ง
  • 2:56 - 2:58
    ก็จะเห็นชัดว่า นี้ต้องเป็นจริง
  • 2:58 - 3:01
    มันชัดเจนว่า วิธีการแสดงข้อมูลที่ดีที่สุด
  • 3:01 - 3:04
    ไม่ได้ขึ้นอยู่กันเรา
    แต่ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังศึกษาอะไร
  • 3:04 - 3:06
    ยกตัวอย่างเช่น เราเรียนขับรถได้ไหม
  • 3:06 - 3:08
    โดยแค่ฟังว่า เราต้องทำอะไร
  • 3:08 - 3:11
    โดยไม่ต้องจับอะไรเลย
  • 3:11 - 3:13
    แล้วเราแก้สมการหลายชั้น ได้หรือไม่
  • 3:13 - 3:15
    โดยคิดแต่ในหัว โดยไม่ต้องเขียนอะไร
  • 3:15 - 3:18
    สามารถผ่านการสอบทางสถาปัตย์ได้หรือไม่
  • 3:18 - 3:20
    โดยใช้วิธีการเต้นรำ
    ถ้าคุณเรียนรู้โดยการสัมผัส
  • 3:20 - 3:23
    ไม่ได้ เราต้องจับคู่สิ่งที่จะศึกษา
  • 3:23 - 3:25
    กับวิธีให้ข้อมูล
  • 3:25 - 3:27
    ไม่ใช่กับเรา
  • 3:27 - 3:29
    ผมรู้ว่าพวกคุณหลายคนเป็นนักเรียนมัธยมปลาย
  • 3:29 - 3:31
    ซึ่งพึ่งจะได้ผลการสอบ GCSE
  • 3:31 - 3:34
    และถ้าไม่ได้คะแนนตามเป้าหมาย
  • 3:34 - 3:36
    คุณโทษสไตล์การเรียนตัวเองไม่ได้หรอก
  • 3:36 - 3:39
    แต่คุณอาจหันไปโทษยีนของคุณได้
  • 3:39 - 3:43
    เรื่องนี้มีอยู่ว่า งานวิจัยเร็ว ๆ นี้
    ที่ University College London
  • 3:43 - 3:45
    พบว่า ผลแตกต่างที่ได้ประมาณ 58%
  • 3:45 - 3:50
    ระหว่างนักเรียน ในเรื่องผลสอบ GCSE
  • 3:50 - 3:52
    มาจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์
  • 3:52 - 3:54
    ตัวเลขนั้นฟังดูแม่นยำมาก แล้วรู้ได้อย่างไร
  • 3:54 - 3:56
    คือเมื่อเราต้องการที่จะแยกปัจจัย
  • 3:56 - 3:59
    ที่มาจากยีนหรือจากสิ่งแวดล้อมออกจากกัน
  • 3:59 - 4:02
    เราจะศึกษาเด็กแฝด
  • 4:02 - 4:05
    แฝดเหมือนจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม
    ที่เหมือนกัน 100%
  • 4:05 - 4:08
    และมียีนเหมือนกัน 100%
  • 4:08 - 4:11
    ส่วนแฝดต่าง
    จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน 100%
  • 4:11 - 4:14
    แต่เหมือนกับพี่น้องทั่วไป
    จะมียีนเหมือนกันเพียง 50%
  • 4:14 - 4:18
    ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบผลสอบ GCSE
    ของแฝดเหมือน
  • 4:18 - 4:21
    กับแฝดต่าง
  • 4:21 - 4:23
    แล้วคิดเลขเจ๋ง ๆ สักหน่อย
  • 4:23 - 4:26
    เราก็จะแยกได้ว่า ผลการสอบที่ออกมา
    มีเหตุจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเท่าไร
  • 4:26 - 4:28
    และมาจากปัจจัยเรื่องยีนเท่าไร
  • 4:28 - 4:33
    ซึ่งผลก็คือประมาณ 58% มาจากยีน
  • 4:33 - 4:36
    นี่ไม่ได้หมายความว่างานหนัก
    ที่คุณกับครูลงมือลงแรงไม่สำคัญนะครับ
  • 4:36 - 4:39
    ถ้าผล GCSE ออกมาไม่ได้อย่างที่คุณต้องการ
  • 4:39 - 4:41
    คุณก็หันไปโทษพ่อแม่
  • 4:41 - 4:44
    หรืออย่างน้อย ก็ยีนของพ่อแม่ได้
  • 4:44 - 4:45
    แต่สิ่งที่ไม่ควรโทษ
  • 4:45 - 4:48
    ก็คือ การเป็นคนที่เรียนรู้
    ด้วยสมองซีกซ้ายหรือซีกขวา
  • 4:48 - 4:50
    เพราะว่าอันนี้ก็พูดต่อ ๆ กันมาเหมือนกัน
  • 4:50 - 4:53
    สิ่งที่พูดกันก็คือ สมองซ้ายมีเหตุผล
  • 4:53 - 4:55
    เก่งในการแก้สมการเช่นนี้
  • 4:55 - 4:59
    และสมองขวา มีความคิดสร้างสรรค์
    จึงเก่งกว่าในด้านดนตรี
  • 4:59 - 5:00
    แต่นี่ก็เป็นตำนานเรื่องเล่าเหมือนกัน
  • 5:00 - 5:03
    เพราะแทบทุกอย่างที่เราทำ
  • 5:03 - 5:05
    ต้องอาศัยแทบทุกส่วนในสมอง
    ติดต่อประสานงานกัน
  • 5:05 - 5:08
    แม้แต่เรื่องธรรมดาที่สุด
    เช่น คุยกันธรรมดา ๆ
  • 5:08 - 5:12
    แต่เหตุที่เรื่องนี้ยังพูดกันอยู่
  • 5:12 - 5:14
    ก็เพราะว่ามีความจริงบ้างเล็กน้อย
  • 5:14 - 5:16
    มีอีกเรื่องที่เกี่ยวกันคือ
  • 5:16 - 5:18
    คนถนัดซ้ายคิดสร้างสรรค์
    ดีกว่าคนถนัดขวา
  • 5:18 - 5:21
    ซึ่งเหมือนมีเหตุผล เพราะว่า
    สมองควบคุมมือ ด้านละข้าง
  • 5:21 - 5:24
    ดังนั้น ในคนถนัดซ้าย
    สมองขวาจะทำงานมากกว่า
  • 5:24 - 5:26
    สมองซ้าย
  • 5:26 - 5:29
    และแนวคิดก็คือ
    สมองขวาสร้างสรรค์ดีกว่า
  • 5:29 - 5:32
    แต่ว่า นี่ไม่จริงโดยตรง
    ว่าคนถนัดซ้ายมีความคิดสร้างสรรค์กว่า
  • 5:32 - 5:34
    คนถนัดขวา
  • 5:34 - 5:36
    เรื่องที่จริงก็คือ คนถนัดสองมือ
  • 5:36 - 5:40
    หรือคนที่ใช้ทั้งสองมือ
    ในการทำสิ่งต่าง ๆ
  • 5:40 - 5:43
    มีความคิดสร้างสรรค์
    ดีกว่าคนถนัดมือเดียว
  • 5:43 - 5:45
    เพราะว่า จะถนัดสองมือได้
  • 5:45 - 5:47
    สมองสองข้างต้องสื่อสารระหว่างกันมาก
  • 5:47 - 5:51
    ซึ่งดูเหมือนจะมีบทบาท
    ในการสร้างความคิดที่ยืดหยุ่นได้
  • 5:51 - 5:53
    เรื่องคนถนัดซ้ายมีความคิดสร้างสรรค์
  • 5:53 - 5:55
    มาจากความจริงว่าคนถนัดซ้าย
  • 5:55 - 5:58
    ใช้สองมือได้มากกว่าคนถนัดขวา
  • 5:58 - 6:01
    ความเชื่อนี้จึงมีความจริงปนอยู่นิดหน่อย
  • 6:01 - 6:03
    แต่ไม่มาก
  • 6:03 - 6:06
    ความเชื่อประมาณนี้ที่คุณอาจเคยได้ยิน
  • 6:06 - 6:07
    คือ เราใช้เพียงแค่ 10% ของสมอง
  • 6:07 - 6:09
    นี่เป็นเพียงความเชื่อปรัมปรา
  • 6:09 - 6:12
    ทุกอย่างที่เราทำ แม้เรื่องธรรมดาที่สุด
  • 6:12 - 6:15
    ใช้เกือบทุกส่วนในสมองของเรา
  • 6:15 - 6:18
    แม้เป็นเช่นนี้ แต่ก็จะต้องกล่าวด้วยว่า
  • 6:18 - 6:22
    เราส่วนมากใช้สมองได้
    ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • 6:22 - 6:25
    แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อเพิ่มพลังสมอง
  • 6:25 - 6:27
    บางที เราอาจจะควรฟังดนตรีของโมซาร์ท
  • 6:27 - 6:30
    เคยได้ยินเรื่องปรากฏการณ์โมซาร์ทไหม
  • 6:30 - 6:33
    เป็นแนวคิดที่ว่า
    ฟังดนตรีโมซาร์ทแล้วจะทำให้ฉลาดขึ้น
  • 6:33 - 6:35
    และผลคะแนนทดสอบไอคิวจะสูงขึ้น
  • 6:35 - 6:37
    ก็อีกแหละความเชื่อนี้น่าสนใจตรงที่
  • 6:37 - 6:41
    ก็คือ แม้ว่าจะเป็นเพียงความเชื่อ
    แต่ก็มีความจริงแฝงนิดหน่อย
  • 6:41 - 6:44
    งานศึกษาดั้งเดิมพบว่า
  • 6:44 - 6:47
    คนที่ฟังดนตรีโมซารท์ก่อนเป็นเวลา 2-3 นาที
    ก่อนทำการทดสอบไอคิว
  • 6:47 - 6:48
    จะทำคะแนนได้ดีกว่า
  • 6:48 - 6:52
    ผู้ทดสอบที่นั่งอยู่เงียบ ๆ
  • 6:52 - 6:55
    แต่งานศึกษาติดตามต่อมา
    ทดสอบคนที่ชอบดนตรีโมซาร์ท
  • 6:55 - 6:57
    และคนอีกลุ่มหนึ่ง
  • 6:57 - 7:00
    ที่เป็นแฟนนิยายสยองขวัญ ของสตีเฟน คิง
  • 7:00 - 7:04
    โดยให้ฟังดนตรี หรือฟังนิยาย
  • 7:04 - 7:06
    คนที่ชอบดนตรีโมซารท์มากกว่านิยาย
  • 7:06 - 7:09
    ได้คะแนนเมื่อฟังดนตรี ดีกว่าเมื่อฟังนิยาย
  • 7:09 - 7:12
    แต่คนที่ชอบนิยายมากกว่าดนตรี
  • 7:12 - 7:14
    ก็ทำคะแนนได้ดีขึ้น
    เมื่อฟังนิยายของสตีเฟน คิง
  • 7:14 - 7:16
    ดีกว่าเมื่อฟังดนตรี
  • 7:16 - 7:19
    ดังนั้น ความจริงก็คือ
    การฟังสิ่งที่เราชอบฟัง
  • 7:19 - 7:22
    จะกระตุ้นเราหน่อยหนึ่ง
    และเพิ่มระดับไอคิวชั่วคราว
  • 7:22 - 7:24
    ในงานเฉพาะบางอย่าง
  • 7:24 - 7:26
    ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า
    การฟังดนตรีโมซาร์ท
  • 7:26 - 7:28
    หรือแม้แต่ฟังนิยายของสตีเฟน คิง
  • 7:28 - 7:33
    จะทำให้เราฉลาดขึ้นในระยะยาว
  • 7:33 - 7:35
    ความเชื่อเรื่องการฟังโมซาร์ทอีกเรื่องนึง
  • 7:35 - 7:39
    คือการฟังโมซาร์ทไม่เพียงทำให้คุณฉลาดขึ้น
    อย่างเดียว แต่ทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย
  • 7:39 - 7:41
    แย่หน่อยที่อันนี้ก็ไม่จริง
  • 7:41 - 7:44
    สำหรับคนที่ฟังดนตรีโมซาร์ททุก ๆ วัน
  • 7:44 - 7:46
    เช่น ตัวโมซาร์ทเอง
  • 7:46 - 7:49
    ก็ทนทุกข์กับโรคหนองใน ฝีดาษ ข้ออักเสบ
  • 7:49 - 7:54
    และโรคที่เชื่อกันว่าคร่าชีวิตของเขา
    คือซิฟิลิส
  • 7:54 - 7:58
    นี่แสดงว่าโมซาร์ทน่าจะระมัดระวังสักหน่อย
  • 7:58 - 8:00
    เมื่อเลือกคู่นอน
  • 8:00 - 8:02
    แล้วเราล่ะ เลือกคู่กันอย่างไร
  • 8:02 - 8:06
    ความเชื่อนี้
    เป็นเรื่องที่นักสังคมวิทยาคุยกัน
  • 8:06 - 8:09
    คือเราเลือกคู่รักอย่างไรนั้น
    ขึ้นกับว่าเรามาจากวัฒนธรรมใด
  • 8:09 - 8:12
    เป็นเรื่องวัฒนธรรมใครวัฒนธรรมมัน
    อยู่มาก
  • 8:12 - 8:15
    แต่จริง ๆ แล้ว
    ไม่มีข้อมูลตัวเลขที่สนับสนุนเรื่องนี้
  • 8:15 - 8:18
    งานวิจัยดังชิ้นหนึ่ง
    สำรวจคนจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก
  • 8:18 - 8:20
    ตั้งแต่อเมริกันยันซูลู
  • 8:20 - 8:23
    ดูว่าเขามองหาคู่กันยังไง
  • 8:23 - 8:25
    และในทุก ๆ วัฒนธรรมทั่วโลก
  • 8:25 - 8:28
    ชายให้คุณค่ากับ
    เสน่ห์ทางกายของคนที่จะมาเป็นคู่
  • 8:28 - 8:29
    มากกว่าหญิง
  • 8:29 - 8:31
    และในทุก ๆ วัฒนธรรม
  • 8:31 - 8:36
    หญิงให้ความสำคัญกับความทะเยอทะยาน
    และความสามารถในการหาเลี้ยงชีพ มากกว่าชาย
  • 8:36 - 8:38
    และในทุก ๆ วัฒนธรรมอีกเช่นกัน
  • 8:38 - 8:39
    ชายชอบหญิงอายุน้อยกว่าตน
  • 8:39 - 8:43
    โดยเฉลี่ย ผมจำได้ว่า 2.66 ปี
  • 8:43 - 8:45
    และในทุกวัฒนธรรมอีกเช่นกัน
  • 8:45 - 8:47
    หญิงชอบชายที่มีอายุมากกว่าตน
  • 8:47 - 8:49
    โดยเฉลี่ย 3.42 ปี
  • 8:49 - 8:53
    ทำให้เรามีคำกล่าวว่า
    "ใคร ๆ ก็อยากมีเสี่ยเลี้ยง"
  • 8:53 - 8:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:54 - 8:57
    จากการทำคะแนนหาคู่ ตอนนี้เราจะไปต่อ
  • 8:57 - 9:00
    เรื่องการทำคะแนนในเกมบาสเกตบอล
    หรือฟุตบอล หรือกีฬาใด ๆ ที่คุณชอบ
  • 9:00 - 9:04
    ความเชื่อก็คือ นักกีฬาจะมีช่วงมือขึ้น
    ซึ่งคนอเมริกันเรียกว่า "hot-hand streaks"
  • 9:04 - 9:06
    และเราคนอังกฤษเรียกว่า "purple patches"
  • 9:06 - 9:09
    เป็นช่วงที่นักกีฬาจะไม่พลาดเป้า
    เหมือนกับชายคนนี้
  • 9:09 - 9:13
    แต่จริง ๆ แล้ว เมื่อมาวิเคราะห์รูปแบบ
  • 9:13 - 9:15
    ของการได้และการพลาดตามสถิติ
  • 9:15 - 9:17
    จะพบว่า เป็นเรื่องสุ่มหรือบังเอิญ
    เกือบทั้งหมด
  • 9:17 - 9:20
    แต่สมองเรา จะสร้างรูปแบบจากเรื่องบังเอิญ
  • 9:20 - 9:21
    ถ้าเราโยนเหรียญ
  • 9:21 - 9:25
    จะมีบ้างที่ออกหัวหรือก้อยติด ๆ กัน
    ในลำดับสุ่มนั้น
  • 9:25 - 9:28
    และเพราะว่า สมองชอบมองหารูปแบบ
    แม้ว่าจะไม่มีรูปแบบก็ตาม
  • 9:28 - 9:30
    เราเห็นลำดับติด ๆ กันเราก็ชิงตีความ
  • 9:30 - 9:32
    และสรุปว่า "วันนี้เขาฟอร์มดีมาก"
  • 9:32 - 9:35
    ทั้ง ๆ ที่เราจะเห็นรูปแบบ
    แบบเดียวกันนั่นแหละ
  • 9:35 - 9:39
    หากยิงเข้าเป้าหรือพลาดเป้าไปเรื่อย
  • 9:39 - 9:42
    แต่มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่ง
    คือตอนยิงลูกโทษ
  • 9:42 - 9:44
    มีงานศึกษาเร็ว ๆ นี้
    ที่ศึกษาเรื่องการยิงลูกโทษในกีฬาฟุตบอล
  • 9:44 - 9:47
    แสดงให้เห็นว่านักกีฬาจากประเทศ
  • 9:47 - 9:49
    ที่มีประวัติยิงลูกโทษไม่ค่อยเข้า
  • 9:49 - 9:52
    เช่น ประเทศอังกฤษ
  • 9:52 - 9:55
    มักจะรีบ ๆ ยิง มากกว่า
    นักเตะประเทศที่มีประวัติดีกว่า
  • 9:55 - 9:59
    จึงเชื่อได้เลยว่า
    มีโอกาสพลาดมากกว่า
  • 9:59 - 10:01
    ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า
  • 10:01 - 10:04
    มีวิธีที่เราจะเพิ่ม
    ประสิทธิภาพของคนได้หรือไม่
  • 10:04 - 10:06
    และสิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะคิดขึ้นได้ก็คือ
  • 10:06 - 10:10
    ถ้าทำพลาดจะถูกทำโทษ แล้วดูว่าจะดีขึ้นไหม
  • 10:10 - 10:13
    แนวคิดนี้ที่ว่า
    ผลการลงโทษช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ
  • 10:13 - 10:16
    เป็นสิ่งที่ผู้ร่วมทดลองคิดว่า
    ตนกำลังศึกษา
  • 10:16 - 10:18
    ในการทดลองมีชื่อของมิลแกรม
    เรื่องการเรียนรู้และการลงโทษ
  • 10:18 - 10:20
    หากคุณเป็นนักศึกษาจิตวิทยา
    คุณคงรู้จัก
  • 10:20 - 10:23
    เรื่องก็คือ ผู้ร่วมทดลองพร้อมที่จะปล่อย
  • 10:23 - 10:27
    กระแสไฟฟ้าที่ตนคิดว่าแรงจนฆ่าคนได้
    ไปช็อคผู้ร่วมการทดลองด้วยกัน
  • 10:27 - 10:29
    ถ้าพวกเขาตอบคำถามผิด
  • 10:29 - 10:31
    เพราะว่าคนเสื้อขาวบอกให้ทำ
  • 10:31 - 10:34
    แต่เรื่องนี้เป็นเพียงแค่เรื่องเล่า
    โดยสามสาเหตุ
  • 10:34 - 10:39
    เรื่องแรกที่สำคัญที่สุด คือ
    สีเสื้อในห้องทดลองไม่ใช่สีขาวแต่เป็นสีเทา
  • 10:39 - 10:43
    เรื่องที่สองคือ
    มีการบอกผู้ร่วมทดลองล่วงหน้าก่อนแล้ว
  • 10:43 - 10:46
    และเตือนว่าทุกครั้งที่พวกเขาเกิดความกังวล
  • 10:46 - 10:49
    ว่าแม้การช็อคไฟฟ้าจะเจ็บ แต่จะไม่ถึงตาย
  • 10:49 - 10:51
    และจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายถาวรใด ๆ
  • 10:51 - 10:54
    เรื่องสามคือ
    ผู้ร่วมทดลองไม่ได้ปล่อยกระแสไฟฟ้า
  • 10:54 - 10:57
    เพียงแค่คนที่ใส่เสื้อกาวน์บอกให้ทำ
  • 10:57 - 10:59
    พวกเขาให้สัมภาษณ์หลังงานทดลอง
  • 10:59 - 11:01
    ผู้ร่วมการทดลองทุกคนกล่าวว่า
    ตนเชื่อมั่นว่า
  • 11:01 - 11:04
    งานศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการลงโทษ
    มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์
  • 11:04 - 11:07
    ซึ่งจะทำให้เกิดพัฒนาการที่ยั่งยืน
    ในวิทยาศาสตร์
  • 11:07 - 11:14
    เมื่อเทียบกับการเจ็บตัวเล็กน้อยไม่ถึงตาย
    ที่เกิดกับผู้ร่วมการทดลอง
  • 11:14 - 11:17
    โอเค ผมพูดมาแล้วประมาณ 12 นาที
  • 11:17 - 11:19
    และพวกคุณอาจกำลังนั่งฟังผมไป
  • 11:19 - 11:22
    วิเคราะห์รูปแบบการพูด
    และอากัปกิริยาของผมไป
  • 11:22 - 11:25
    เพื่อคำนวณว่าจะเชื่อในสิ่งที่ผมพูดไปดีไหม
  • 11:25 - 11:27
    ว่าผมพูดความจริง หรือว่าพูดเท็จ
  • 11:27 - 11:30
    ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง คุณคงผิดหวัง
  • 11:30 - 11:32
    เพราะว่า แม้เราจะคิดว่าเราจับโกหกได้
  • 11:32 - 11:34
    จากอากัปกิริยาหรือรูปแบบการพูด
  • 11:34 - 11:37
    หลายปีที่ผ่านมามีการทดสอบ
    ทางจิตวิทยาเป็นร้อย ๆ ครั้งที่แสดงว่า
  • 11:37 - 11:39
    เราทุกคน รวมทั้งตำรวจและนักสืบ
  • 11:39 - 11:42
    จับโกหกจากท่าทางและการพูดจา
  • 11:42 - 11:44
    กันได้ก็แค่บังเอิญเท่านั้น
  • 11:44 - 11:46
    แต่น่าสนใจว่า มียกเว้นอยู่ข้อหนึ่ง
  • 11:46 - 11:48
    ในการออกสื่อทางทีวีขอให้ค้นหาญาติที่หายไป
  • 11:48 - 11:52
    ง่ายมากที่จะเดาว่า ญาติหายไปจริง
  • 11:52 - 11:55
    หรือความจริงคนที่ออกมาขอร้อง
    ได้ฆ่าญาติของเขาไปเอง
  • 11:55 - 11:59
    เพราะคนที่ออกมาขอร้องซึ่งเป็นคนหลอกลวง
    มีแนวโน้มที่จะส่ายหน้าและหันมองไปทางอื่น
  • 11:59 - 12:00
    และพูดผิด ๆ ถูก ๆ
  • 12:00 - 12:03
    ในขณะที่คนที่ขอร้องอย่างจริงใจ
    มีแนวโน้มที่จะแสดงความหวัง
  • 12:03 - 12:05
    ว่าญาติของเขาจะกลับมาอย่างปลอดภัย
  • 12:05 - 12:07
    และจะหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำรุนแรง
  • 12:07 - 12:11
    เช่น เขาอาจพูดว่า "พรากไปจากเรา"
    แทนที่จะพูดว่า "ถูกฆ่า"
  • 12:11 - 12:14
    ซึ่งก็พอดี ถึงเวลาที่ผมจะเลิกพูด
  • 12:14 - 12:17
    แต่ก่อนจะเลิก ผมอยากจะใช้เวลา
    ภายใน 30 วินาทีกล่าวถึง
  • 12:17 - 12:20
    สุดยอดตำนานทางจิตวิทยาที่ครอบงำเรา
  • 12:20 - 12:22
    ที่ว่า
    จิตวิทยาเป็นเพียงกลุ่มทฤษฎีที่น่าสนใจ
  • 12:22 - 12:28
    ทุกเรื่องให้สิ่งที่ประโยชน์
    ทุกเรื่องมีดีให้เรานำไปใช้
  • 12:28 - 12:31
    สิ่งที่ผมหวังว่า
    ที่ผมนำเสนอในไม่กี่นาทีที่ผ่านมา
  • 12:31 - 12:32
    แสดงให้คุณเห็นว่ามันไม่จริง
  • 12:32 - 12:36
    สิ่งที่เราควรทำก็คือ ประเมินทฤษฎีจิตวิทยา
  • 12:36 - 12:38
    โดยสังเกตว่า ทฤษฎีพยากรณ์อะไรบ้าง
  • 12:38 - 12:40
    เช่น การฟังดนตรีโมซาร์ท ทำให้เราฉลาดขึ้น
  • 12:40 - 12:44
    หรือเราเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากได้รับข้อมูล
    ที่ตรงกับสไตล์การเรียนรู้ของเรา
  • 12:44 - 12:46
    หรืออะไรก็ตาม
  • 12:46 - 12:49
    ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นการคาดเดา
    ที่เราสามารถทดสอบได้ด้วยหลักฐาน
  • 12:49 - 12:51
    และวิธีเดียวที่เราจะก้าวไปข้างหน้าได้
  • 12:51 - 12:53
    ก็คือเทียบการคาดเดาเหล่านี้
    กับข้อมูลตัวเลข
  • 12:53 - 12:55
    ที่ไ่ด้มาจากงานทดลองที่มีการควบคุมที่ดี
  • 12:55 - 12:58
    ทำเช่นนี้แล้ว เราจึงจะสามารถค้นพบได้ว่า
  • 12:58 - 13:00
    ทฤษฎีไหนที่มีหลักฐานสนับสนุนมากพอ
  • 13:00 - 13:04
    และทฤษฎีไหน เป็นเพียงแค่ตำนานปรัมปรา
    ดังเช่นที่ผมยกตัวอย่างให้ฟัง
  • 13:04 - 13:05
    ขอบคุณครับ
  • 13:05 - 13:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แฉ 10 เรื่องเข้าใจผิดทางจิตวิทยา
Speaker:
เบ็น แอมบริดจ์ (Ben Ambridge)
Description:

เรื่องที่คุณเข้าใจเกี่ยวกับสมองของคุณ ผิดไปขนาดไหน เบ็น แอมบริดจ์ (Ben Ambridge) นำทัวร์จับโกหก เก้าแนวคิดดังด้านจิตวิทยาที่พิสูจน์แล้วว่าผิด และเปิดเผยความจริงบางอย่างที่น่าแปลกใจว่าสมองเราจริง ๆ แล้วทำงานอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:55
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
siriporn chatratana edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
siriporn chatratana edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
siriporn chatratana edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
siriporn chatratana edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
siriporn chatratana edited Thai subtitles for 9 myths about psychology, debunked
Show all

Thai subtitles

Revisions