Return to Video

บรูซ ชไนเออร์ : ภาพลวงของความปลอดภััย

  • 0:00 - 0:02
    ความปลอดภัยแบ่งเป็นสองประเภทนะครับ
  • 0:02 - 0:04
    คือความรู้สึก และความเป็นจริง
  • 0:04 - 0:06
    และมันไม่เหมือนกัน
  • 0:06 - 0:08
    คุณรู้สึกถึงความปลอดภัยได้
  • 0:08 - 0:10
    แม้ว่าจริงๆไม่ได้เป็นเช่นนั้น
  • 0:10 - 0:12
    และคุณก็ปลอดภัยได้
  • 0:12 - 0:14
    โดยไม่รู้สึกถึงมัน
  • 0:14 - 0:16
    จริงๆแล้ว มันเป็นสองแนวคิดที่แยกออกจากกัน
  • 0:16 - 0:18
    แต่ผนวกอยู่ในคำๆเดียว
  • 0:18 - 0:20
    และสิ่งที่ผมอยากนำเสนอในวันนี้
  • 0:20 - 0:22
    ก็คือแยกมันออกจากกัน
  • 0:22 - 0:24
    เพื่อดูว่าสองอย่างนี้แยกออก
  • 0:24 - 0:26
    และรวมกันเมื่อไหร่ อย่างไร
  • 0:26 - 0:28
    โดยในส่วนนี้ภาษาเองเป็นที่ปัญหา
  • 0:28 - 0:30
    เพราะเรายังไม่มีคำที่สามารถสื่อความหมาย
  • 0:30 - 0:33
    สำหรับสิ่งที่เรากำลังจะกล่าวถึงได้ดีนัก
  • 0:33 - 0:35
    หากเราพูดถึงความปลอดภัย
  • 0:35 - 0:37
    ในทางเศรษฐศาสตร์
  • 0:37 - 0:39
    มันคือการได้อย่างเสียอย่าง (trade-off)
  • 0:39 - 0:41
    ทุกครั้งที่คุณได้มาซึ่งความปลอดภัย
  • 0:41 - 0:43
    คุณมักจะแลกมาด้วยสิ่งที่คุณมี
  • 0:43 - 0:45
    ตั้งแต่เรื่องการตัดสินใจส่วนตัว
  • 0:45 - 0:47
    เช่น การที่คุณจะติดตั้งสัญญาณกันขโมยในบ้าน
  • 0:47 - 0:50
    หรือจะเป็นการตัดสินระดับชาติ ว่าคุณจะรุกรานประเทศใด
  • 0:50 - 0:52
    ล้วนต้องยอมเสียบางอย่างไปเพื่อแลกมาเสมอ
  • 0:52 - 0:55
    เงินบ้างล่ะ เวลาบ้างล่ะ ความสะดวกสบาย สมรรถภาพ
  • 0:55 - 0:58
    หรือเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
  • 0:58 - 1:01
    และคำถามที่จะเกิดขึ้นในประเด็นด้านความปลอดภัย
  • 1:01 - 1:04
    ไม่ใช่คำถามว่ามันทำให้เราปลอดภัยขึ้นหรือไม่
  • 1:04 - 1:07
    แต่กลับเป็นว่า คุ้มไหมที่ยอมเสียไปเพื่อให้ได้มา
  • 1:07 - 1:09
    คุณคงเคยได้ยินว่าหลายๆปีที่ผ่านมา
  • 1:09 - 1:11
    โลกของเราปลอดภัยขึ้น เพราะซัดดัม ฮุสเซ็นไม่ได้กุมอำนาจไว้แล้ว
  • 1:11 - 1:14
    นั่นอาจจะจริง แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวโยงกันถึงขั้นนั้น
  • 1:14 - 1:17
    คำถามคือ คุ้มค่าหรือเปล่า
  • 1:17 - 1:20
    และคุณสามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง
  • 1:20 - 1:22
    และคุณก็จะตัดสินว่ามันคุ้มกับการรุกรานหรือเปล่า
  • 1:22 - 1:24
    นั่นคือวิธีคิดเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย
  • 1:24 - 1:26
    ในบริบทของการได้อย่างเสียอย่าง
  • 1:26 - 1:29
    เอาล่ะ มันไม่ได้มีอะไรถูกหรือผิด
  • 1:29 - 1:31
    บางท่านในที่นี้ติดตั้งสัญญาณกันขโมยในบ้าน
  • 1:31 - 1:33
    บางท่านไม่ติด
  • 1:33 - 1:35
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบ้านคุณตั้งอยู่ที่ไหน
  • 1:35 - 1:37
    อยู่ตัวคนเดียว หรืออยู่กับครอบครัว
  • 1:37 - 1:39
    มีของใช้ราคาแพงจำนวนมากน้อยขนาดไหน
  • 1:39 - 1:41
    จะยอมรับกับความเสี่ยงที่โจรจะขึ้นบ้าน
  • 1:41 - 1:43
    ได้มากน้อยขนาดไหน
  • 1:43 - 1:45
    ทางการเมืองก็เช่นกัน
  • 1:45 - 1:47
    มีความคิดเห็นหลากหลาย
  • 1:47 - 1:49
    และบ่อยครั้งที่การได้อย่างเสียอย่าง
  • 1:49 - 1:51
    เป็นมากกว่าแค่ความปลอดภัย
  • 1:51 - 1:53
    และผมเชื่อว่ามันสำคัญมาก
  • 1:53 - 1:55
    ทุกคนมีสัญชาตญาณ
  • 1:55 - 1:57
    ในเรื่องการได้อย่างเสียอย่าง
  • 1:57 - 1:59
    เพราะเราทำกันทุกวัน
  • 1:59 - 2:01
    เช่น ตอนผมออกจากโรงแรมเมื่อคืน
  • 2:01 - 2:03
    การที่ผมล็อกประตูสองชั้น
  • 2:03 - 2:05
    การที่คุณขับรถมาที่นี่
  • 2:05 - 2:07
    หรือตอนที่เราไปกินอาหารเที่ยง
  • 2:07 - 2:10
    เราเชื่อว่าอาหารไม่ได้เป็นพิษ เลยทานมันเข้าไป
  • 2:10 - 2:12
    พวกเราแลกบางอย่างมาด้วยการเสียบางอย่างไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 2:12 - 2:14
    หลายๆครั้งในหนึ่งวัน
  • 2:14 - 2:16
    เราไม่ค่อยรู้ตัวกันหรอก
  • 2:16 - 2:18
    เพราะมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต ทุกคนเป็นเหมือนกันหมด
  • 2:18 - 2:21
    รวมไปถึงสัตว์ทุกสายพันธุ์ด้วย
  • 2:21 - 2:23
    ลองนึกภาพกระต่ายน้อยกำลังกินหญ้าอยู่ในสวน
  • 2:23 - 2:26
    และมันต้องเจอสุนัขจิ้งจอก
  • 2:26 - 2:28
    ตอนนั้นแหละที่กระต่ายจำต้องสละบางอย่างเพื่อแลกกับความปลอดภัย
  • 2:28 - 2:30
    ถามตัวเองว่า "จะกินต่อดี หรือ จะหนีดี?"
  • 2:30 - 2:32
    และหากคุณลองคิดดูดีๆ
  • 2:32 - 2:35
    กระต่ายที่ถ่วงดุลแล้วตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้อง
  • 2:35 - 2:37
    มีแนวโน้มอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อไป
  • 2:37 - 2:39
    ในขณะที่กระต่ายที่ตัดสินใจผิด
  • 2:39 - 2:41
    จะถูกกินหรือไม่ก็หิวโซ
  • 2:41 - 2:43
    ทีนี้ คุณอาจจะคิดว่า
  • 2:43 - 2:46
    สายพันธุ์มนุษย์ประเสริฐอย่างพวกเรา
  • 2:46 - 2:48
    คุณ ผม และคนเราทุกคน
  • 2:48 - 2:51
    คงเก่งเรื่องถ่วงดุลการได้อย่างเสียอย่างแบบนี้แน่ๆ
  • 2:51 - 2:53
    ดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น แต่ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 2:53 - 2:56
    ที่เราทำได้ไม่เข้าท่าเอามากๆ
  • 2:56 - 2:59
    และผมคิดว่านั่นเป็นปัญหาพื้นฐานที่น่าสนใจทีเดียว
  • 2:59 - 3:01
    ผมจะตอบสั้นๆนะครับ
  • 3:01 - 3:03
    จริงๆแล้ว มนุษย์เราตอบสนองกับการรับรู้ถึงความปลอดภัย
  • 3:03 - 3:06
    ไม่ใช่กับความเป็นจริง
  • 3:06 - 3:09
    ทั้งนี้ โดยมากแล้วจะไม่เป็นปัญหา
  • 3:10 - 3:12
    เพราะส่วนใหญ่
  • 3:12 - 3:15
    ความรู้สึกกับความเป็นจริงมันเป็นไปในทางเดียวกัน
  • 3:15 - 3:17
    มันเป็นแบบนั้นจริงๆ
  • 3:17 - 3:20
    สมัยก่อนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
  • 3:20 - 3:23
    พวกเราล้วนได้พัฒนาศักยภาพนี้
  • 3:23 - 3:25
    เพราะมันเป็นผลดีกับวิวัฒนาการ
  • 3:25 - 3:27
    คิดอีกแบบหนึ่ง
  • 3:27 - 3:29
    ได้ว่า การที่เรามีความสามารถตัดสินใจในสถานการณ์เสี่ยงๆ
  • 3:29 - 3:31
    ก็เพื่อเอื้อกับการดำรงชีวิต
  • 3:31 - 3:34
    ในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ชีวิตเป็นกลุ่มชนเล็กๆบนที่ราบสูง
  • 3:34 - 3:37
    ในทวีปอัฟริกาฝั่งตะวันออกใน 100,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • 3:37 - 3:40
    ซึ่งต่างจากการชีวิตในนครนิวยอร์กในปี 2010 (พ.ศ.2553)
  • 3:41 - 3:44
    ทีนี้ หลายๆครั้งที่การรับรู้ถึงภัยอันตรายเป็นไปแบบไม่สมเหตุสมผลนัก
  • 3:44 - 3:46
    จากการทดลองหลายๆครั้ง
  • 3:46 - 3:49
    แสดงให้เห็นว่าความไม่สมเหตุสมผลเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 3:49 - 3:51
    ทีนี้ผมจะลองยกความไม่สมเหตุสมผลให้ฟังสัก 4 อย่างนะครับ
  • 3:51 - 3:54
    พวกเรามักจะมีปฏิกิริยาเกินจริงกับภัยอันตรายที่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและไม่ค่อยเกิดขึ้น
  • 3:54 - 3:56
    และลดความสำคัญของภัยอันตรายที่เกิดทุกวัน
  • 3:56 - 3:59
    เช่นเลือกที่จะบินหรือขับรถ
  • 3:59 - 4:01
    คนเรามักจะติดภาพว่าสิ่งแปลกปลอม
  • 4:01 - 4:04
    ทำให้เกิดภัยมากกว่าสิ่งที่คุ้นเคย
  • 4:05 - 4:07
    ตัวอย่างเช่น
  • 4:07 - 4:10
    คนเรากลัวโดนคนแปลกหน้าลักพาตัวเด็กๆ
  • 4:10 - 4:13
    ทั้งที่สถิติแสดงให้เห็นว่่าอัตราการลักพาตัวจากคนใกล้ชิดนั้นสูงกว่าเสียอีก
  • 4:13 - 4:15
    ส่วนนี้หมายถึงเด็กๆนะครับ
  • 4:15 - 4:18
    สาม เราจะรับรู้ภัยที่เกิดจาก
  • 4:18 - 4:21
    บุคคลที่เป็นรูปธรรมได้มากกว่าภัยอื่นๆที่เกิดจากบุคคลนิรนาม
  • 4:21 - 4:24
    ฉะนั้นบิน ลาเด็นก็น่ากลัวกว่าใครๆเพราะมีชื่อเสียงเรียงนาม
  • 4:24 - 4:26
    และอย่างที่สี่
  • 4:26 - 4:28
    ผู้คนมักจะไม่ระวัง
  • 4:28 - 4:30
    สถานการณ์ที่พวกเขามีอำนาจควบคุม
  • 4:30 - 4:34
    และประเมินสถานการณ์ที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนควบคุมสูงกว่าที่ควรจะเป็น
  • 4:34 - 4:37
    เช่น การโดดร่มหรือการสูบบุหรี่
  • 4:37 - 4:39
    พวกเขาประเมินความเสี่ยงต่ำไป
  • 4:39 - 4:42
    หากภัยพุ่งเข้าหาคุณ เช่น กรณีก่อการร้าย
  • 4:42 - 4:45
    คุณจะตอบสนองมากเกินกว่าที่ควร เพราะคุณรู้สึกว่ามันไม่ไ้ด้อยู่ในการควบคุมของคุณ
  • 4:47 - 4:50
    มีอคติอื่นๆอีกนับไม่ถ้วนที่เป็น อคติทางการคิด (cognitive bias)
  • 4:50 - 4:53
    ซึ่งมีผลกับการตัดสินใจของเรา
  • 4:53 - 4:55
    ซึ่งก็มีวิทยการศึกษาสำนึก (heuristic) ที่ใช้ในเรื่องนี้ได้
  • 4:55 - 4:57
    หมายความว่า
  • 4:57 - 5:00
    เราประเมินความเป็นไปได้ของสถานการณ์ใดๆ
  • 5:00 - 5:04
    โดยการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เรานึกได้
  • 5:04 - 5:06
    ลองคิดดูว่ามันเป็นเช่นนั้นไหม
  • 5:06 - 5:09
    ถ้าวันหนึ่ง คุณได้ยินเรื่องเสือทำร้ายใครเข้าบ่อยๆ คุณย่อมคิดว่ามีเสือหลายตัวป้วนเปี้ยนอยู่รอบๆ
  • 5:09 - 5:12
    ในขณะที่หากไม่มีข่าวสิงโตทำร้ายใครเข้าหูคุณ คุณก็จะคิดว่าไม่มีสิงโตในแถบที่คุณอยู่
  • 5:12 - 5:15
    วิธีนี้ใช้การได้จนกระทั่งวันที่เราประดิษฐ์หนังสือพิมพ์ขึ้นมา
  • 5:15 - 5:17
    เพราะหน้าที่ของหนังสือพิมพ์
  • 5:17 - 5:19
    คือการบอกเล่าเรื่องเหลือเชื่อที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น
  • 5:19 - 5:21
    ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 5:21 - 5:23
    ผมบอกได้เลยครับ ถ้าเรื่องใดๆเป็นข่าวได้
  • 5:23 - 5:25
    ก็หมายความว่า
  • 5:25 - 5:28
    เหตุการณ์นั้นไม่ค่อยได้เกิดขึ้นหรอกครับ ถึงได้เป็นที่พูดถึง
  • 5:28 - 5:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:30 - 5:33
    เพราะถ้าเหตุการณ์ไหนธรรมดาไป ก็จะไม่ถูกจัดว่าเป็นข่าว
  • 5:33 - 5:35
    รถชน ความรุนแรงในประเทศ
  • 5:35 - 5:38
    เป็นสิ่งที่มักเป็นที่กังวล
  • 5:38 - 5:40
    อีกทั้งพวกเราเป็นสายพันธุ์ที่อยู่กับการบอกเล่าเรื่องราว
  • 5:40 - 5:43
    พวกเราตอบสนองกับเรื่องราวมากกว่าข้อมูล
  • 5:43 - 5:45
    รวมถึงเรื่องของจำนวนตัวเลข
  • 5:45 - 5:48
    ผมว่ามุขตลกนับเลขที่ว่า "หนึ่ง" "สอง" "สาม" "เยอะแยะ" นั่นน่าจะถูกต้อง
  • 5:48 - 5:51
    พวกเราตอบสนองกับตัวเลขแค่ไม่กี่หลัก
  • 5:51 - 5:53
    เช่นมะม่วงหนึ่งลูก มะม่วงสองลูก สามลูก
  • 5:53 - 5:55
    มะม่วง 10,000 ลูก 100,000 ลูก
  • 5:55 - 5:58
    ยังมีมะม่วงเหลือไว้ทานอีกเยอะหากมันเน่าไปแล้ว
  • 5:58 - 6:01
    ไหนจะครึ่งหนึ่ง หนึ่งส่วนสี่ หนึ่งส่วนห้า พวกเราเก่งเรื่องนั้น
  • 6:01 - 6:03
    แต่หากเป็นหนึ่งในล้าน หรือหนึ่งในพันล้าน
  • 6:03 - 6:06
    จำนวนนั้นจะแทบไม่มีตัวตนเลย
  • 6:06 - 6:08
    ฉะนั้นเรามีปัญหากับภัยอันตราย
  • 6:08 - 6:10
    ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นเป็นประจำ
  • 6:10 - 6:12
    อคติทางการคิดพวกนี้
  • 6:12 - 6:15
    ทำหน้าที่กรองข้อมูลระหว่างเรากับความเป็นจริง
  • 6:15 - 6:17
    ผลก็คือ
  • 6:17 - 6:19
    ความรู้สึกกับความเป็นจริงก็แยกออก
  • 6:19 - 6:22
    กลายเป็นคนละเรื่องกัน
  • 6:22 - 6:25
    เราอาจจะรู้สึกถึงความปลอดภัยมากกว่าที่เป็นอยู่
  • 6:25 - 6:27
    สัมผัสถึงความปลอดภัยที่ไม่ได้มีอยู่จริง
  • 6:27 - 6:29
    หรืออีกอย่าง
  • 6:29 - 6:31
    สัมผัสไม่ถึงอันตรายที่มีอยู่จริง
  • 6:31 - 6:34
    ผมเขียนเรื่องราวของ "โรงละครความปลอดภัย" มานับไม่ถ้วน
  • 6:34 - 6:37
    มันคือผลิดภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัย
  • 6:37 - 6:39
    ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย
  • 6:39 - 6:41
    ไม่มีคำใดๆที่จะสื่อถึงสิ่งที่ทำให้เราปลอดภัย
  • 6:41 - 6:43
    โดยที่ไม่ได้้ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นเช่นนั้น
  • 6:43 - 6:46
    มันอาจจะเป็นสิ่งที่ซีไอเอ (CIA) ควรจะช่วยพวกเรา
  • 6:48 - 6:50
    ทีนี้ เรากลับมาพูดถึงประเด็นเศรษฐศาสตร์
  • 6:50 - 6:54
    ถ้าเศรษฐศาสตร์ ถ้าระบบตลาดเป็นตัวกลางผลักดันความปลอดภัย
  • 6:54 - 6:56
    หากผู้คนยอมแลกอย่างหนึ่งไปเพื่อให้ได้อีกอย่างมา
  • 6:56 - 6:59
    โดยใช้ความรู้สึกปลอดภัยเป็นฐาน
  • 6:59 - 7:01
    พวกบริษัทหัวใสก็จะสร้าง
  • 7:01 - 7:03
    แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์
  • 7:03 - 7:06
    ด้วยการทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความปลอดภัย
  • 7:06 - 7:09
    ส่วนแนวทางนั้นมีอยู่สองทาง
  • 7:09 - 7:11
    อย่างแรก คุณทำให้ลูกค้าปลอดจากภัยอันตรายจริงๆ
  • 7:11 - 7:13
    และหวังว่าพวกเขาจะรับรู้ได้เอง
  • 7:13 - 7:16
    หรือสอง คุณเพียงให้ลูกค้าวางใจว่าปลอดภัย
  • 7:16 - 7:19
    และหวังว่าพวกเขาจะจับไม่ได้
  • 7:20 - 7:23
    ฉะนั้น ปัจจัยที่จะำให้พวกเขาจับได้
  • 7:23 - 7:25
    ก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง
  • 7:25 - 7:27
    ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย
  • 7:27 - 7:29
    ในเรื่องความเสี่ยง ในเรื่องภัยคุกคาม
  • 7:29 - 7:32
    ในเรื่องวิธีการรับมือ ว่าเป็นอย่างไร
  • 7:32 - 7:34
    หากเราเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว
  • 7:34 - 7:37
    ความรู้สึกที่ปลอดจากภัยนั้นๆก็จะค่อยๆมาควบคู่กับความเป็นจริง
  • 7:37 - 7:40
    ตัวอย่างเหตุการณ์จริงจำนวนมากพอจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง
  • 7:40 - 7:43
    ปัจจุบันเราต่างมีข้อมูลอัตราอาชญากรรมในท้องถิ่นที่เราอาศัย
  • 7:43 - 7:46
    เพราะเราใช้ชีวิตแถวนั้น และเรารับรู้เรื่องต่างๆมากพอควร
  • 7:46 - 7:49
    ฉะนั้นความรู้สึกกับความเป็นจริงก็ไปในแนวทางเดียวกัน
  • 7:49 - 7:52
    โรงละครความปลอดภัยแสดงให้เห็น
  • 7:52 - 7:55
    ถึงความชัดเจนของเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามที่ึควรจะเป็น
  • 7:55 - 7:59
    เอาล่ะ แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้ผู้คนจับไม่ได้?
  • 7:59 - 8:01
    ครับ ก็คือความไม่รู้
  • 8:01 - 8:04
    หากคุณไม่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงภัย คุณก็ย่อมประเมินต้นทุนความเสี่ยงไม่ได้
  • 8:04 - 8:06
    เลยอาจทำให้คุณยอมเสียไปมากกว่าที่ได้มา
  • 8:06 - 8:09
    และความรู้สึกกับความเป็นจริงไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • 8:09 - 8:11
    ไม่ค่อยมีตัวอย่างเหตุการณ์
  • 8:11 - 8:13
    มีปัญหาที่เป็นธรรมชาติของ
  • 8:13 - 8:15
    เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
  • 8:15 - 8:17
    อย่างเช่น ถ้าหากว่า
  • 8:17 - 8:19
    การก่อการร้ายแทบไม่เกิดขึ้นเลย
  • 8:19 - 8:21
    ฉะนั้นการประเมิน
  • 8:21 - 8:24
    วิธีรับมือที่ได้ผลก็เป็นไปได้ยาก
  • 8:25 - 8:28
    เราจึงต้องเสียผู้บริสุทธิ์ไปนับต่อนับ
  • 8:28 - 8:31
    และเป็นสาเหตุที่การโทษผีสางเทวดาใช้ได้ผล
  • 8:31 - 8:34
    เพราะไม่ค่อยมีกรณีที่ใช้ไม่ได้ผลให้เห็นมากนัก
  • 8:35 - 8:38
    บวกกับความรู้สึกที่บดบังความเป็นจริง
  • 8:38 - 8:40
    อคติทางการคิดที่ผมพูดไปแล้วก่อนหน้านี้
  • 8:40 - 8:43
    ความกลัว ตำนานความเชื่อต่างๆ
  • 8:43 - 8:46
    เป็นแบบจำลองที่สะท้อนความเป็นจริงไม่ได้ดีนัก
  • 8:47 - 8:50
    ทีนี้ผมขออธิบายเพิ่มเติม
  • 8:50 - 8:52
    จากที่พูดไปมีเรื่องของความรู้สึกและความเป็นจริง
  • 8:52 - 8:55
    ทีนี้ผมอยากจะเพิ่มส่วนที่สามเข้าไป เป็นส่วนของ "แบบจำลอง (model)"
  • 8:55 - 8:57
    ความรู้สึกและแบบจำลองจะติดอยู่ในสมองเรา
  • 8:57 - 8:59
    สภาพความเป็นจริงจะอยู่รอบๆตัวเรา
  • 8:59 - 9:02
    ส่วนนี้ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมันเป็นของจริง
  • 9:02 - 9:04
    ฉะนั้นความรู้สึกจะยึดเอาสัญชาติญาณเป็นหลัก
  • 9:04 - 9:06
    แบบจำลองจะขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นหลัก
  • 9:06 - 9:09
    ซึ่งค่อนข้างต่างกัน
  • 9:09 - 9:11
    ในโลกสมัยบรรพกาลที่เรียบง่าย
  • 9:11 - 9:14
    ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะต้องสร้างแบบจำลอง
  • 9:14 - 9:17
    เพราะความรู้สึกใกล้เคียงกับความเป็นจริงอยู่แล้ว
  • 9:17 - 9:19
    จึงไม่ต้องใช้แบบจำลองใดๆ
  • 9:19 - 9:21
    แต่สำหรับโลกสมัยใหม่ที่ซับซ้อนอย่างที่เราอยู่กันนี้
  • 9:21 - 9:23
    แบบจำลองเป็นสิ่งจำเป็น
  • 9:23 - 9:26
    ในการเข้าใจความเสี่ยงภัยที่จะพบเจอ
  • 9:27 - 9:29
    ลองนึกดูก่อนหน้านี้เราไม่เคยหยั่งรู้ึถึงภัยจากเชื้อโรค
  • 9:29 - 9:32
    เราจะเข้าใจก็ต่อเมื่อมีแบบจำลอง
  • 9:32 - 9:34
    ฉะนั้น แบบจำลองที่ว่า
  • 9:34 - 9:37
    ถือเป็นสื่อนำเสนอความเป็นจริงที่ชาญฉลาด
  • 9:37 - 9:40
    ทั้งนี้ จะต้องจำกัดอยู่ในกรอบของวิทยาศาสตร์
  • 9:40 - 9:42
    และเทคโนโลยี
  • 9:42 - 9:45
    พวกเราคงไม่รู้จักทฤษฏีการติดเชื้อทำให้เกิดโรค
  • 9:45 - 9:48
    จนถึงวันที่กล้องจุลทรรศน์ถูกประดิษฐ์ขึ้น
  • 9:49 - 9:52
    มันถูกจำกัดโดยอคติทางการคิด
  • 9:52 - 9:54
    แต่มันมีความสามารถ
  • 9:54 - 9:56
    เข้าครอบงำความรู้สึก
  • 9:56 - 9:59
    แล้วเราได้แบบจำลองเหล่านี้มาได้ยังไงน่ะหรือครับ? เราได้จากคนอื่น
  • 9:59 - 10:02
    จากศาสนา วัฒนธรรม
  • 10:02 - 10:04
    คุณครู ผู้อาวุโส
  • 10:04 - 10:06
    เมื่อสองสามปีก่อน
  • 10:06 - 10:08
    ผมไปท่องซาฟารีดูสัตว์ที่อัฟริกาใต้
  • 10:08 - 10:11
    คนแกะรอยที่ไปกับผมเกิดที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ (Kruger)
  • 10:11 - 10:14
    เขามีแบบจำลองการเอาตัวรอดที่ซับซ้อนมาก
  • 10:14 - 10:16
    ขึ้นอยู่กับว่าคุณโดนสัตว์ชนิดไหนจู่โจม
  • 10:16 - 10:18
    เป็นสิงโต เสือดาว แรด หรือช้าง
  • 10:18 - 10:21
    และเมื่อไหร่ที่คุณรู้ตัวว่าต้องวิ่งหนี ต้องปีนต้นไม้
  • 10:21 - 10:23
    หรือเมื่อไหร่ที่ไม่ควรปีน
  • 10:23 - 10:26
    ถ้าเป็นผมคงไม่รอดชีวิตกลับมา
  • 10:26 - 10:28
    แต่เขาเกิดที่นั่น
  • 10:28 - 10:30
    เขารู้ว่าจะอยู่รอดได้ด้วยวิธีไหน
  • 10:30 - 10:32
    ส่วนผมเกิดในนครนิวยอร์ก
  • 10:32 - 10:35
    ถ้าผมพาเขาไปนิวยอร์กบ้าง เชื่อว่าเขาคงจะตายตั้งแต่วันแรก
  • 10:35 - 10:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:37 - 10:39
    นั่นเป็นเพราะเราโตมาด้วยแบบจำลองที่ต่างกัน
  • 10:39 - 10:42
    พื้นฐานประสบการณ์ที่ต่างกัน
  • 10:43 - 10:45
    เราได้รับแบบจำลองมาจากสื่อต่างๆ
  • 10:45 - 10:48
    จากรัฐบาลที่เราเลือกมา
  • 10:48 - 10:51
    กลับไปที่แบบจำลองการก่อการร้าย
  • 10:51 - 10:54
    การลักพาตัวเด็ก
  • 10:54 - 10:56
    ความปลอดภัยจากการใช้เครื่องบิน ใช้รถ
  • 10:56 - 10:59
    แบบจำลองอาจมาจากวงการอุตสาหกรรม
  • 10:59 - 11:01
    สองอย่างที่ผมติดตามคือ วิธีการทำงานของกล้องวงจรปิด
  • 11:01 - 11:03
    และบัตรประจำตัว
  • 11:03 - 11:06
    แบบจำลองความปลอดภัยจากการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ข้องเกี่ยวกับสองสิ่งนี้
  • 11:06 - 11:09
    แบบจำลองส่วนมากมาจากวิทยาศาสตร์
  • 11:09 - 11:11
    ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ แบบจำลองด้านสุขภาพ
  • 11:11 - 11:14
    เช่นมะเร็ง ไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู ซาร์ส
  • 11:14 - 11:17
    ความรู้สึกถึงความปลอดภัย
  • 11:17 - 11:19
    ของโรคพวกนี้
  • 11:19 - 11:21
    ล้วนมาจากแบบจำลองทั้งนั้น
  • 11:21 - 11:24
    ผลงานทางวิทยาศาสตร์ส่งสาห์นมาถึงพวกเราผ่านสื่อ
  • 11:25 - 11:28
    ทั้งนี้แบบจำลองสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • 11:28 - 11:30
    ไม่จำเป็นต้องตายตัว
  • 11:30 - 11:33
    เมื่อเราเริ่มคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม
  • 11:33 - 11:37
    แบบจำลองก็จะยิ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่เรารู้สึก
  • 11:38 - 11:40
    อย่างเช่น
  • 11:40 - 11:42
    ลองย้อนกลับมาไป 100 ปีที่แล้ว
  • 11:42 - 11:45
    ช่วงที่เริ่มมีไฟฟ้าใช้แรกๆ
  • 11:45 - 11:47
    ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าใกล้มันหรอก
  • 11:47 - 11:49
    ต่างคนต่างกลัวการกดปุ่มกริ่งหน้าบ้าน
  • 11:49 - 11:52
    กลัวว่าไฟฟ้าที่ฝังอยู่ในนั้นจะทำร้ายตัวเอง
  • 11:52 - 11:55
    แต่สำหรับคนยุคนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอะไรที่ใครๆก็ใช้คล่อง
  • 11:55 - 11:57
    เราเปลี่ยนหลอดไฟเอง
  • 11:57 - 11:59
    โดยไม่เกรงกลัวใดๆ
  • 11:59 - 12:03
    แบบจำลองความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้า
  • 12:03 - 12:06
    เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมๆเรา
  • 12:06 - 12:09
    ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆตลอดช่วงชีวิตเรา
  • 12:09 - 12:12
    และพวกเราก็คุ้นเคยกับมัน
  • 12:12 - 12:14
    ส่วนเรื่องความเสี่ยง
  • 12:14 - 12:16
    บนอินเทอร์เน็ตของชนแต่ละรุ่นก็เช่นกัน
  • 12:16 - 12:18
    ลองเปรียบเทียบมุมมองด้านความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ตของรุ่นพ่อแม่
  • 12:18 - 12:20
    เทียบกับของรุ่นคุณ
  • 12:20 - 12:23
    เทียบกับที่รุ่นลูกจะมอง
  • 12:23 - 12:26
    แบบจำลองของคนแต่ละรุ่นเข้าครอบงำโดยไม่รู้ตัว
  • 12:27 - 12:30
    กลายเป็นสัญชาตญาณ เป็นความคุ้นชิน
  • 12:30 - 12:32
    จึงทำให้แบบจำลองเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น
  • 12:32 - 12:34
    แล้วท้ายสุดมาบรรจบกับความรู้สึก
  • 12:34 - 12:37
    โดยที่พวกคุณไม่รู้ตัวกัน
  • 12:37 - 12:39
    ฉะนั้นผมขอลองยกตัวอย่าง
  • 12:39 - 12:42
    กรณีไข้หวัดหมูเมื่อปีที่แล้ว
  • 12:42 - 12:44
    ณ ตอนที่โรคนี้ปรากฏครั้งแรก
  • 12:44 - 12:48
    ข่าวแรกๆที่ออกจากสื่อทำให้ผู้คนเกิดปฏิกิริยาเกินจริง
  • 12:48 - 12:50
    พอมีชื่อเรียกโรคนี้เฉพาะ
  • 12:50 - 12:52
    เลยเป็นเหตุให้มันน่ากลัวกว่าไข้หวัดทั่วๆไป
  • 12:52 - 12:54
    แม้ว่ามันจะอันตรายกว่าจริงๆก็ตาม
  • 12:54 - 12:58
    และทุกคนคิดว่าทำไมหมอถึงไม่มีวิธีต่อกรกับมัน
  • 12:58 - 13:00
    เลยยิ่งทำให้รู้สึกว่าเป็นมันสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
  • 13:00 - 13:02
    และสองสิ่งนั้น
  • 13:02 - 13:04
    ทำให้มันดูอันตรายมากกว่าที่เป็นจริง
  • 13:04 - 13:07
    พอความแปลกใหม่เริ่มซาลง ผ่านไปเดือนหนึ่ง
  • 13:07 - 13:09
    ผู้คนเริ่มยอมรับ
  • 13:09 - 13:11
    และคุ้นเคยกับโรคนี้
  • 13:11 - 13:14
    เมื่อไม่มีการประโคมข่่าว ความกลัวก็ค่อยๆลดลง
  • 13:14 - 13:16
    พอถึงฤดูใบไม้ร่วง
  • 13:16 - 13:18
    ผู้คนก็คิดว่า
  • 13:18 - 13:20
    หมอน่าจะมีวิธีรับมือกับโรคนี้แล้ว
  • 13:20 - 13:22
    ณ ตอนนั้นเราอยู่บนทางแยก
  • 13:22 - 13:24
    เราต้องเลือก
  • 13:24 - 13:28
    ระหว่างกลัวต่อไปหรือยอมรับมัน
  • 13:28 - 13:30
    จริงๆแล้วคือกลัวต่อไปหรือเพิกเฉย
  • 13:30 - 13:33
    แต่สุดท้ายพวกเขาเลือกที่จะสงสัย
  • 13:33 - 13:36
    และเมื่อวัคซีนปรากฏเมื่อฤดูหนาวปีที่แล้ว
  • 13:36 - 13:39
    คนจำนวนไม่น้อย จำนวนที่คาดไม่ถึงเลยล่ะ
  • 13:39 - 13:42
    ปฏิเสธที่จะใช้มัน
  • 13:43 - 13:45
    เป็นตัวอย่างที่ดี
  • 13:45 - 13:48
    ที่ความรู้สึกปลอดภัยของผู้คนเปลี่ยนไปได้อย่างไร แบบจำลองเปลี่ยนไปได้อย่างไร
  • 13:48 - 13:50
    ราวหน้ามือเป็นหลังมือ
  • 13:50 - 13:52
    ทั้งๆที่ไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ๆเลย
  • 13:52 - 13:54
    และไม่มีอะไรใหม่ๆเพิ่มเข้ามาด้วย
  • 13:54 - 13:57
    เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก
  • 13:57 - 14:00
    ผมอยากจะบวกปัจจัยเพิ่มอีกอย่าง
  • 14:00 - 14:03
    พวกเรามีความรู้สึก แบบจำลอง และสภาพความเป็นจริง
  • 14:03 - 14:05
    ผมคิดว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งที่
  • 14:05 - 14:08
    ขึ้นอยู่กับผู้ที่สังเกตการณ์
  • 14:08 - 14:10
    การตัดสินใจว่าด้วยความปลอดภัยส่วนใหญ่
  • 14:10 - 14:14
    มาจากกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
  • 14:14 - 14:16
    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • 14:16 - 14:19
    ที่คิดไว้แล้วว่าจะยอมได้ยอมเสียอะไรบ้าง
  • 14:19 - 14:21
    จะพยายามโน้มน้าวผลักดันการตัดสิน
  • 14:21 - 14:23
    และผมขอเรียกว่า "ระเบียบวาระ" ของพวกเขาก็แล้วกัน
  • 14:23 - 14:25
    และคุณจะเห็นว่าระเบียบวาระ
  • 14:25 - 14:28
    จะมาในรูปแบบการตลาดบ้างล่ะ การเมืองบ้างล่ะ
  • 14:28 - 14:31
    พยายามโน้มน้าวคุณให้เลือกแบบจำลองหนึ่งแทนอีกแบบหนึ่ง
  • 14:31 - 14:33
    พยายามโน้มน้าวให้คุณเลิกใส่ใจกับแบบจำลอง
  • 14:33 - 14:36
    และให้คุณเชื่อความรู้สึกของคุณแทน
  • 14:36 - 14:39
    ทำให้ผู้คนหันมาเห็นด้วยกับแบบจำลองที่คุณไม่ชอบ
  • 14:39 - 14:42
    ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกนะครับ
  • 14:42 - 14:45
    ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างที่ดีมากครับ คือความเสี่ยงภัยจากการสูบบุหรี่
  • 14:46 - 14:49
    50 ปีที่ผ่านมา ความเสี่ยงภัยจากการสูบบุหรี่
  • 14:49 - 14:51
    แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองได้เปลี่ยนไปอย่างไร
  • 14:51 - 14:54
    และแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมมีวิธีต่อสู้กับ
  • 14:54 - 14:56
    แบบจำลองที่ไม่เอื้อประโยชน์พวกเขาอย่างไร
  • 14:56 - 14:59
    เปรียบเทียบกับการโต้ประเด็นผู้สูบบุหรี่มือสอง
  • 14:59 - 15:02
    ซึ่งน่าจะตามหลังมาจากนั้นอีก 20 ปี
  • 15:02 - 15:04
    เรื่องเข็มขัดนิรภัยก็เช่นกัน
  • 15:04 - 15:06
    ตอนผมเด็กๆ ไม่มีใครคาดเข็มขัดนิรภัยหรอกครับ
  • 15:06 - 15:08
    แต่ทุกวันนี้ ไม่มีเด็กคนไหนที่ยอมให้คุณออกรถ
  • 15:08 - 15:10
    ถ้าคุณไม่คาดเข็มขัดนิรภัยก่อน
  • 15:11 - 15:13
    ลองเปรียบเทียบกับการโต้ประเด็นถุงลมนิรภัย
  • 15:13 - 15:16
    ซึ่งน่าจะตามหลังมาจากนั้นอีก 30 ปี
  • 15:16 - 15:19
    ตัวอย่างแบบจำลองทั้งหมดได้เปลี่ยนแปลงไป
  • 15:21 - 15:24
    ทีนี้เราสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงแบบจำลองเป็นเรื่องยากทีเดียว
  • 15:24 - 15:26
    เพราะแบบจำลองจะตรึงอยู่ในความคิด
  • 15:26 - 15:28
    ถ้ามันเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับความรู้สึก
  • 15:28 - 15:31
    คุณจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าคุณถูกแบบจำลองครอบงำอยู่
  • 15:31 - 15:33
    และอคติทางการคิดอีกรูปแบบหนึ่ง
  • 15:33 - 15:35
    คือสิ่งที่ผมเรียกว่า อคติแบบยืนยันความเชื่อ (confirmation bias)
  • 15:35 - 15:38
    พวกเรามักจะเลือกรับข้อมูล
  • 15:38 - 15:40
    ที่ตรงกับความเชื่อของเราเอง
  • 15:40 - 15:43
    และปฏิเสธรับข้อมูลที่ขัดกับความเชื่อ
  • 15:44 - 15:46
    ดังนั้นแม้ว่าหลักฐานที่มีจะขัดแย้งกับแบบจำลองของเรา
  • 15:46 - 15:49
    พวกเราก็มักจะเพิกเฉย แม้ว่าหลักฐานนั้นจะแจ่มแจ้ง
  • 15:49 - 15:52
    ฉะนั้นหลักฐานจะต้องแจ่มแจ้งน่าเชื่อถือมากถึงมากที่สุด พวกเราถึงจะยอมสนใจ
  • 15:53 - 15:55
    แบบจำลองใหม่ๆที่กินเวลานานก็จะยิ่งยาก
  • 15:55 - 15:57
    โลกร้อนเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว
  • 15:57 - 15:59
    เราไม่ตอบรับกันเลย
  • 15:59 - 16:01
    กับแบบจำลองที่ครอบคลุมช่วงเวลา 80 ปี
  • 16:01 - 16:03
    เราไม่มีปัญหาเลยกับระยะเวลานานเท่ากับการรอเก็บเกี่ยวงวดหน้า
  • 16:03 - 16:06
    เราไม่ค่อยมีปัญหากับระยะเวลานานเท่ากับที่รอลูกๆเราโต
  • 16:06 - 16:09
    แต่ทว่า 80 ปีนั้นยาวนานเกินไปสำหรับเรา
  • 16:09 - 16:12
    เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นแบบจำลองที่ยอมรับได้ยากมาก
  • 16:12 - 16:16
    เราก็ยังสามารถยอมรับแบบจำลองสองแบบในเวลาเดียวกันได้ด้วย
  • 16:16 - 16:19
    เป็นปัญหาประเภทเดียวกับ
  • 16:19 - 16:22
    ที่เราเห็นด้วยกับสองมุมมองที่ขัดแย้ง
  • 16:22 - 16:24
    หรือ ความไม่ลงรอยกันของการรู้ (cognitive dissonance)
  • 16:24 - 16:26
    และท้ายที่สุด
  • 16:26 - 16:29
    แบบจำลองใหม่ก็จะแทนที่แบบจำลองที่มีอยู่เดิม
  • 16:29 - 16:32
    และความรู้สึกที่แรงกล้าก็ทำให้เกิดเป็นแบบจำลองได้
  • 16:32 - 16:35
    เหตุการณ์ 11 กันยาก็ทำให้เกิดแบบจำลองเรื่องความปลอดภัย
  • 16:35 - 16:37
    ในหัวของคนมากมาย
  • 16:37 - 16:40
    อาชญากรรมที่เจอกับตัวเองก็เช่นกัน
  • 16:40 - 16:42
    ความกลัวเรื่องสุขภาพ
  • 16:42 - 16:44
    หรือเรื่องโรคต่างๆที่ตกเป็นข่าว
  • 16:44 - 16:46
    จิตแพทย์เรียกเหตุการณ์แบบนั้นว่า
  • 16:46 - 16:48
    อุบัติการณ์ภาพความทรงจำเสมือน (flashbulb event)
  • 16:48 - 16:51
    มันสามารถสร้างภาพจำลองขึ้นมาได้ทันที
  • 16:51 - 16:54
    เพราะมันเป็นเหตุการณ์ที่เร่งเร้าสะเทือนอารมณ์อย่างยิ่ง
  • 16:54 - 16:56
    ฉะนั้นในโลกแห่งเทคโนโลยีแบบนี้
  • 16:56 - 16:58
    พวกเราไม่มีประสบการณ์
  • 16:58 - 17:00
    ไปประเมินแบบจำลองใดๆได้
  • 17:00 - 17:02
    เราพึ่งพาผู้อื่น พึ่งพาตัวแทน
  • 17:02 - 17:06
    เพียงแค่ตัวแทนระบุสิ่งที่ถูกหรือไม่ถูกต้องได้ก็ใช้ได้แล้ว
  • 17:06 - 17:08
    พวกเราพึ่งพาหน่วยงานของรัฐ
  • 17:08 - 17:13
    เพื่อรับรองว่ายาประเภทไหนปลอดภัย
  • 17:13 - 17:15
    ที่ผมบินมาที่นี่เมื่อวานนี้
  • 17:15 - 17:17
    ผมไม่ได้เป็นคนตรวจเครื่องบินเอง
  • 17:17 - 17:19
    ผมพึ่งคนอื่นๆ
  • 17:19 - 17:22
    ในการตรวจสอบเครื่องบินว่าปลอดภัย
  • 17:22 - 17:25
    หรือที่พวกเราไม่ได้ระแวงว่าหลังคาจะถล่มใส่หัวเราเมื่อไหร่
  • 17:25 - 17:28
    ไม่ได้เป็นเพราะพวกเราตรวจสอบเอง
  • 17:28 - 17:30
    แต่พวกเราค่อนข้างมั่นใจ
  • 17:30 - 17:33
    ว่าโครงสร้างอาคารได้มาตรฐาน
  • 17:33 - 17:35
    มันเป็นแบบจำลองที่เรายอมรับ
  • 17:35 - 17:37
    และเชื่อว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ
  • 17:37 - 17:40
    และค่อนข้างดีทีเดียว
  • 17:42 - 17:44
    ตอนนี้ สิ่งที่พวกเราต้องการคือ
  • 17:44 - 17:46
    ให้ผู้คนทำความคุ้นเคยกับแบบจำลองที่ดีกว่า
  • 17:46 - 17:48
    ให้มากกว่านี้
  • 17:48 - 17:50
    ทำให้มันสะท้อนอยู่ในความรู้สึกพวกเขา
  • 17:50 - 17:54
    ให้พวกเขาใช้เพื่อตัดสินใจยอมเสียบางอย่างเพื่อแลกกับความปลอดภัย
  • 17:54 - 17:56
    และเมื่ออะไรไม่เป็นไปอย่างที่ควรเป็น
  • 17:56 - 17:58
    จะมี 2 ทางให้คุณเลือก
  • 17:58 - 18:00
    ตัวเลือกแรก คือ แก้ที่ความรู้สึกผู้คน
  • 18:00 - 18:02
    แก้ที่ความรู้สึกโดยตรง
  • 18:02 - 18:05
    มันเป็นการปรับเปลี่ยนยักย้าย แต่ก็อาจจะเห็นผลสักวันหนึ่ง
  • 18:05 - 18:07
    ตัวเลือกที่สอง เอาตรงๆนะ
  • 18:07 - 18:10
    ก็คือแก้ที่ตัวแบบจำลอง
  • 18:11 - 18:13
    การเปลี่ยนแปลงค่อยๆเกิดขึ้น
  • 18:13 - 18:16
    ประเด็นสูบบุหรี่ใช้เวลา 40 ปี
  • 18:16 - 18:19
    และนั่นไม่ได้ยากเท่าไหร่
  • 18:19 - 18:21
    ในขณะที่บางสิ่งในที่นี้แก้ยาก
  • 18:21 - 18:23
    แก้ลำบากมาก
  • 18:23 - 18:25
    ข้อมูลดูเหมือนจะเป็นความหวังที่ดีที่สุดของเรา
  • 18:25 - 18:27
    และผมโกหก
  • 18:27 - 18:29
    ที่ผมพูดไว้ว่า "ความรู้สึก" "แบบจำลอง" และ"สภาพความเป็นจริง"
  • 18:29 - 18:32
    ที่ว่าสภาพความเป็นจริงจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จริงๆมันเปลี่ยนได้
  • 18:32 - 18:34
    พวกเราอยู่ในโลกของเทคโนโลยี
  • 18:34 - 18:37
    ความเป็นจริงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 18:37 - 18:40
    ฉะนั้น อาจจะมีครั้งแรกในสายพันธุ์มนุษย์ของเรา
  • 18:40 - 18:43
    ที่ความรู้สึกไล่ตามแบบจำลอง แบบจำลองไล่ตามสภาพความเป็นจริง และความเป็นจริงก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
  • 18:43 - 18:46
    แม้อาจจะตามกันไม่ทัน
  • 18:47 - 18:49
    แต่ใครจะรู้ล่ะ?
  • 18:49 - 18:51
    แต่ในระยะยาว
  • 18:51 - 18:54
    ความรู้สึกและสภาพความเป็นจริงเป็นสิ่งสำคัญ
  • 18:54 - 18:57
    และผมอยากจบการอภิปรายครั้งนี้ด้วยสองเรื่องสั้นๆเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
  • 18:57 - 18:59
    ปี 1982 (พ.ศ.2525) ผมไม่แน่ใจว่าใครจำเรื่องนี้ได้หรือเปล่า
  • 18:59 - 19:02
    มีเหตุโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น
  • 19:02 - 19:04
    ของไทลินอลเป็นพิษในสหรัฐฯ
  • 19:04 - 19:07
    เป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวทีเดียว ซึ่งเกิดจากใครสักคน
  • 19:07 - 19:10
    ใส่ยาพิษลงในขวดยาแล้วปิดฝาวางไว้ที่เดิม
  • 19:10 - 19:12
    ไม่นานก็มีคนซื้อไป
  • 19:12 - 19:14
    คนๆนี้ทำให้
  • 19:14 - 19:16
    เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในสังคมตามมาอีกหลายๆครั้ง
  • 19:16 - 19:19
    ทั้งที่อาจไม่มีภัยนั้นจริง แต่ผู้คนก็ยังกลัวกันอยู่ดี
  • 19:19 - 19:21
    และนี่เป็นแหล่งกำเนิด
  • 19:21 - 19:23
    นวัตกรรมผนึกขวดในอุตสาหกรรมยา
  • 19:23 - 19:25
    ฝาผนึกขวดที่เห็นทุกวันนี้มาจากเหตุการณ์นั้นเอง
  • 19:25 - 19:27
    นับว่าเข้ากับโรงละครความปลอดภัยเต็มรูปแบบ
  • 19:27 - 19:29
    ผบขอให้ทุกท่านลองไปคิดดูเป็นการบ้านนะครับ ว่าถ้าเป็นคุณจะแก้ไขอย่างไร ซัก 10 วิธีนะครับ
  • 19:29 - 19:32
    สำหรับผม ใช้หลอดฉีดยาก็ไม่เลวนะ
  • 19:32 - 19:35
    น่าจะทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น
  • 19:35 - 19:37
    มันทำให้พวกเขาวางใจว่าปลอดภัย
  • 19:37 - 19:39
    ใช้ได้ในสภาพความเป็นจริง
  • 19:39 - 19:42
    และเรื่องสุดท้าย เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อนผมเพิ่งคลอดลูก
  • 19:42 - 19:44
    ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเธอที่โรงพยาบาล
  • 19:44 - 19:46
    ผมสังเกตเห็นว่า ทุกวันนี้เด็กที่คลอด
  • 19:46 - 19:48
    ต้องใส่กำไลข้อมือประจำตัวแบบเทคโนโลยีคลื่นความถี่ (RFID)
  • 19:48 - 19:50
    พร้อมทั้งใส่อีกอันหนึ่งให้คุณแม่
  • 19:50 - 19:52
    ทั้งนี้ ถ้ามีใครสักคนที่ไม่ใช่คุณแม่ของเด็กอุ้มตัวเด็กออกจากเขตที่ตั้งไว้
  • 19:52 - 19:54
    เสียงเตือนจะดังขึ้นทันที
  • 19:54 - 19:56
    ผมขอบอกว่า "มันดูเหมือนจะใช้ได้นะ
  • 19:56 - 19:58
    แต่ผมสงสัยว่า พวกลักพาตัวเด็ก
  • 19:58 - 20:00
    หนีออกจากโรงพยาบาลได้อย่างไร?"
  • 20:00 - 20:02
    ผมลองมาสืบค้นข้อมูล
  • 20:02 - 20:04
    ได้ความว่า เหตุการณ์แบบนี้แทบไม่เกิดขึ้นเลย
  • 20:04 - 20:06
    แต่คุณลองคิดดู
  • 20:06 - 20:08
    ถ้าคุณเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
  • 20:08 - 20:10
    แล้วเกิดต้องพาตัวเด็กไปจากแม่
  • 20:10 - 20:12
    เพื่อไปตรวจอะไรซักอย่าง
  • 20:12 - 20:14
    คุณควรจะมี "โรงละครปลอดภัย" ที่ดี
  • 20:14 - 20:16
    มิฉะนั้นแม่ของเด็กคนนั้นคงเอาคุณตายแน่ๆ
  • 20:16 - 20:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 20:18 - 20:20
    ฉะนั้นมันสำคัญกับพวกเรา
  • 20:20 - 20:22
    กับกลุ่มคนที่ออกแบบวิธีรักษาความปลอดภัยทั้งหลาย
  • 20:22 - 20:25
    กลุ่มคนที่วางนโยบายความปลอดภัย
  • 20:25 - 20:27
    หรือกระทั่งกลุ่มคนที่วางนโยบายสาธารณะ
  • 20:27 - 20:29
    ที่จะมีผลกระทบกับความปลอดภัย
  • 20:29 - 20:32
    ไม่ใช่เพียงสภาพความเป็นจริง แต่เป็นความรู้สึกและความเป็นจริงผนวกเข้าด้วยกัน
  • 20:32 - 20:34
    สิ่งที่สำคัญคือ
  • 20:34 - 20:36
    สองอย่างนี้คล้ายๆกัน
  • 20:36 - 20:38
    และเมื่อความรู้สึกและความเป็นจริงไปในแนวทางเดียวแล้ว
  • 20:38 - 20:40
    ก็จะทำให้เราเลือกที่จะเสียบางอย่างไปเพื่อแลกกับความปลอดภัยได้ดีขึ้น
  • 20:40 - 20:42
    ขอบคุณมากครับ
  • 20:42 - 20:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
บรูซ ชไนเออร์ : ภาพลวงของความปลอดภััย
Speaker:
Bruce Schneier
Description:

"การรู้สึกถึงความปลอดภัย" และ "ความปลอดภัยในความเป็นจริง" ไม่ได้มาพร้อมกันเสมอไป บรูซ ชไนเออร์ (Bruce Schneier) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์กล่าว สำหรับใน TEDxPSU ครั้งนี้ เขาอธิบายว่าทำไมเราถึงได้เสียเงินเป็นพันๆล้านเพื่อป้องกันภัยอันตรายที่ตกเป็นข่าว ดังเช่นมาตรการป้องกันภัยในสนามบินที่ใช้ป้องกันไม่ได้จริง เปรียบเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า"โรงละครความปลอดภัย" ในขณะที่ละเลยความเสี่ยงอื่นๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า พร้อมกันนั้นเขาก็นำเสนอวิธีแก้ไขระบบดังกล่าวไว้อีกด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:44
Phatra Sae-ting added a translation

Thai subtitles

Revisions