Return to Video

ทำไมเราถึงรู้สึกโหยหาอดีต (Nostalgia) - เคลย์ รูทเลดจ์ (Clay Routledge)

  • 0:06 - 0:08
    เมื่อปลายศตวรรษที่ 17
  • 0:08 - 0:12
    นักศึกษาแพทย์นาม โยฮันเนส โฮเฟอร์
    ได้ค้นพบโรคประหลาด
  • 0:12 - 0:16
    เกิดขึ้นกับทหารรับจ้างชาวสวิส
    ที่ถูกส่งไปยังต่างแดน
  • 0:16 - 0:17
    มีอาการคือ
  • 0:17 - 0:18
    เหนื่อยล้า
  • 0:18 - 0:19
    นอนไม่หลับ
  • 0:19 - 0:20
    หัวใจเต้นผิดปกติ
  • 0:20 - 0:21
    อาหารไม่ย่อย
  • 0:21 - 0:23
    และมีไข้ขึ้นสูง
  • 0:23 - 0:27
    จนทหารเหล่านี้จำต้องถูกปลดระวางไป
  • 0:27 - 0:30
    โฮเฟอร์ พบว่าสาเหตุนั้น ไม่ได้เกิดจาก
    ความผิดปกติทางร่างกาย
  • 0:30 - 0:34
    แต่มาจากความโหยหาบ้านเกิด
    แดนขุนเขาอย่างรุนแรง
  • 0:34 - 0:36
    เขาขนานนามภาวะเช่นนี้ว่า
    นอสแตลเจีย (nostalgia)
  • 0:36 - 0:39
    ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า
    "นอสโตส" คือ การกลับบ้าน
  • 0:39 - 0:42
    และ "อัลโกส" คือ ความเจ็บปวด
    หรือความโหยหา
  • 0:42 - 0:47
    แรกเริ่ม นอสแตลเจียถูกเข้าใจว่า
    เป็นโรคที่เกิดกับคนสวิสเท่านั้น
  • 0:47 - 0:51
    แพทย์บางส่วนลงความเห็นว่า เสียงกระดิ่ง
    ที่ดังต่อเนื่องของวัวบนเทือกเขาแอลป์
  • 0:51 - 0:55
    ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บที่แก้วหูและสมอง
  • 0:55 - 1:00
    ทำให้พวกผู้บัญชาการถึงกับสั่งห้าม
    ไม่ให้เหล่าทหารร้องเพลงพื้นเมืองสวิส
  • 1:00 - 1:04
    ด้วยความกลัวว่ามันจะนำไปสู่การหนีทหาร
    หรือการฆ่าตัวตาย
  • 1:04 - 1:10
    แต่เมื่อเกิดการย้ายถิ่นฐานมากขึ้นในทั่วโลก
    นอสแตลเจียก็ได้ถูกพบในหลากหลายกลุ่ม
  • 1:10 - 1:14
    ปรากฏว่า ใครก็ตามที่พลัดพราก
    จากบ้านเกิดเมืองนอนมาเป็นระยะเวลานาน
  • 1:14 - 1:17
    กลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นนอสแตลเจีย
  • 1:17 - 1:19
    และในต้นศตวรรษที่ 20
  • 1:19 - 1:22
    ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มองว่า
    เป็นโรคทางระบบประสาทอีกต่อไป
  • 1:22 - 1:26
    แต่เป็นสภาวะทางจิตที่
    คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
  • 1:26 - 1:28
    นักจิตวิทยาในเวลานั้นคาดเดาว่า
  • 1:28 - 1:31
    มันแสดงถึงความยากเย็นในการ
    ปล่อยวางช่วงเวลาในวัยเด็ก
  • 1:31 - 1:35
    หรือแม้แต่ความโหยหาที่จะ
    กลับไปสู่สภาวะทารกในครรภ์
  • 1:35 - 1:37
    แต่ในไม่กี่ทศวรรษถัดมา
  • 1:37 - 1:41
    ความเข้าใจเกี่ยวกับนอสแตลเจีย
    ได้พลิกโฉมเป็นสองลักษณะที่สำคัญคือ
  • 1:41 - 1:44
    ความหมายของมัน
    ได้ขยายความจากอาการคิดถึงบ้าน
  • 1:44 - 1:47
    มาเป็นการโหยหาอดีตโดยทั่วไป
  • 1:47 - 1:49
    และจากการถูกมองว่าเป็นโรคที่น่ากลัว
  • 1:49 - 1:54
    กลับเริ่มประจักษ์ว่ามันเป็นประสบการณ์
    ที่มีทั้งความเจ็บปวดและน่าพอใจ
  • 1:54 - 1:56
    ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุด
    ของความเข้าใจในเรื่องนี้
  • 1:56 - 1:59
    ถูกนำเสนอโดยนักเขียนชาวฝรั่งเศส
    "มาร์แซล พรุสต์"
  • 1:59 - 2:03
    เขาอธิบายถึงการได้กินเค้กแมเดลินน์
    ที่เขาไม่ได้กินนับแต่ตอนเด็กเป็นต้นมา
  • 2:03 - 2:09
    ได้กระตุ้นความรู้สึกทางกายสัมพันธ์
    อันแสนอบอุ่นและแรงกล้าได้อย่างไร
  • 2:09 - 2:14
    แล้วอะไรกันที่ทำให้มุมมองของเรา
    ที่มีต่อนอสแตลเจียเกิดกลับตาลปัตร
  • 2:14 - 2:16
    ส่วนหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
  • 2:16 - 2:20
    จิตวิทยาได้เปลี่ยนจากทฤษฎีบริสุทธิ์
  • 2:20 - 2:25
    มาสู่การสังเกตหลักฐานเชิงประจักษ์
    อย่างเป็นระบบและใส่ใจยิ่งขึ้น
  • 2:25 - 2:28
    ดังนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญจึงพบว่า
    กลุ่มอาการด้านลบหลายประการ
  • 2:28 - 2:31
    อาจแค่สัมพันธ์กับนอสแตลเจีย
  • 2:31 - 2:33
    มากกว่าจะเกิดจากมันเป็นต้นเหตุ
  • 2:33 - 2:37
    และอันที่จริง แทนที่จะเป็น
    สภาวะทางอารมณ์ที่ซับซ้อน
  • 2:37 - 2:40
    ที่อาจรวมถึงความรู้สึกสูญเสีย
    และเศร้าโศก
  • 2:40 - 2:44
    นอสแตลเจียไม่ได้ก่อให้เกิด
    อารมณ์เชิงลบเสมอไป
  • 2:44 - 2:48
    หากแต่เป็นการทำให้ปัจเจกบุคคล
    จดจำช่วงเวลาดี ๆ ที่มีความหมาย
  • 2:48 - 2:52
    และทรงคุณค่าที่เคยมีร่วมกับผู้อื่น
  • 2:52 - 2:55
    นอสแตลเจียสามารถยกระดับ
    สุขภาวะทางจิตได้
  • 2:55 - 2:58
    การศึกษาวิจัยพบว่าการกระตุ้น
    ให้เกิดนอสแตลเจียในคนเรา
  • 2:58 - 3:03
    สามารถช่วยเสริมความภูมิใจในตัวเอง
    และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
  • 3:03 - 3:05
    สร้างความเจริญทางจิตใจ
  • 3:05 - 3:08
    ทั้งยังทำให้คนเรา
    ปฏิบัติตนอย่างมีเมตตามากขึ้น
  • 3:08 - 3:11
    ฉะนั้น แทนที่จะเป็นสาเหตุของสภาวะ
    "เครียดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์แปลกใหม่"
    (Mental Distress)
  • 3:11 - 3:16
    นอสแตลเจียสามารถใช้เป็น
    วิธีในการฟื้นฟูเพื่อรับมือกับมัน
  • 3:16 - 3:19
    ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคนประสบ
    กับสภาวะทางอารมณ์เชิงลบ
  • 3:19 - 3:23
    พวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้นอสแตลเจีย
    ในการคลายเครียด
  • 3:23 - 3:26
    และฟื้นคืนสุขภาวะ
  • 3:26 - 3:29
    ปัจจุบันนอสแตลเจียนั้น
    เป็นที่พบเห็นได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง
  • 3:29 - 3:33
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทโฆษณา
    พบว่ามันทรงอานุภาพมากแค่ไหน
  • 3:33 - 3:35
    ในฐานะเครื่องมือทางการตลาด
  • 3:35 - 3:39
    เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นมันเป็นเสมือน
    สัญลักษณ์ว่าเรายึดติดกับอดีต
  • 3:39 - 3:42
    แต่นั่นไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริง
    ของนอสแตลเจีย
  • 3:42 - 3:47
    ในทางกลับกัน นอสแตลเจียช่วยย้ำเตือนเรา
    ว่าชีวิตนี้มีความหมายและคุณค่า
  • 3:47 - 3:51
    ช่วยให้เราค้นพบความมั่นใจ
    และแรงบันดาลใจ
  • 3:51 - 3:53
    เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในอนาคต
Title:
ทำไมเราถึงรู้สึกโหยหาอดีต (Nostalgia) - เคลย์ รูทเลดจ์ (Clay Routledge)
Speaker:
Clay Routledge
Description:

ชมบทเรียนฉบับสมบูรณ์ : http://ed.ted.com/lessons/why-do-we-feel-nostalgia-clay-routledge

ภาวะโหยหาอดีต (Nostalgia) เคยถูกเข้าใจว่าเป็นความเจ็บป่วยที่จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะคนบางกลุ่ม ทว่าปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างก็ประสบพบเจอและมีความพึงพอใจกับภาวะนอสแตลเจียด้วยกันทั้งสิ้น ว่าแต่มันทำงานอย่างไร แล้วมันมีผลดีต่อตัวเราหรือไม่
เคลย์ รูทเลดจ์ จะมาอธิบายถึงวิธีการทำความเข้าใจกับภาวะนอสแตลเจียที่ถูกพลิกโฉมหน้าไปนับตั้งแต่ที่มีการบัญญัติคำนี้ขึ้นมาในปลายศตวรรษที่ 17

บทเรียนโดย Clay Routledge แอนิเมชันโดย Anton Bogaty

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:09
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user accepted Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user edited Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user declined Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user edited Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user edited Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Pawee Sirimai edited Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Retired user declined Thai subtitles for Why do we feel nostalgia?
Show all

Thai subtitles

Revisions