Return to Video

เกิดอะไรขึ้นกับการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน - ซูจา เอ. โธมัส

  • 0:07 - 0:10
    ย้อนไปในสมัยของโสเครติส
    เป็นอย่างน้อย
  • 0:10 - 0:13
    ในสังคมยุคแรก การตัดสินปัญหา
    ข้อพิพาทบางอย่าง
  • 0:13 - 0:16
    อย่างเช่นเรื่องบุคคลมีความผิดอาญาหรือไม่
  • 0:16 - 0:19
    จะต้องได้รับการพิจารณาจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง
  • 0:19 - 0:23
    หลายศตวรรษต่อมา การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน
    ถูกนำมาใช้ในประเทศอังกฤษ
  • 0:23 - 0:27
    และได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ
    ของระบบกฎหมายที่นั่น
  • 0:27 - 0:31
    ทั้งเป็นการถ่วงดุลอำนาจรัฐ
    และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสิน
  • 0:31 - 0:34
    คณะลูกขุนจะเป็นผู้ตัดสิน
    ว่าจำเลยจะถูกดำเนินคดีอาญาหรือไม่
  • 0:34 - 0:37
    ตัดสินว่าจำเลยจะมีความผิดจริงหรือไม่
  • 0:37 - 0:40
    และตัดสินข้อพิพาทในเรื่องเงิน
  • 0:40 - 0:44
    เมื่ออาณานิคมอเมริกาได้แยกตัว
    ออกจากการปกครองของอังกฤษ
  • 0:44 - 0:47
    ก็ได้รับเอาระบบการใช้คณะลูกขุนมาด้วย
  • 0:47 - 0:50
    รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
    ได้ให้อำนาจคณะลูกขุนคณะใหญ่
  • 0:50 - 0:53
    ในการตัดสินว่าจะมีการดำเนินคดีอาญา
    ต่อไปหรือไม่
  • 0:53 - 0:56
    กำหนดให้มีคณะลูกขุนในการพิจารณาคดีอาญา
    ยกเว้นคดีฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ระดับสูง
  • 0:56 - 0:59
    และได้ให้อำนาจในคดีแพ่งด้วย
  • 0:59 - 1:03
    แต่ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา
    มีการใช้คณะลูกขุนคณะใหญ่ไม่บ่อยนัก
  • 1:03 - 1:07
    และจำนวนคดีที่คณะลูกขุนตัดสิน
    มีไม่ถึง 4% ในคดีอาญา
  • 1:07 - 1:10
    และไม่ถึง 1% ของคดีแพ่งที่มีการยื่นต่อศาล
  • 1:10 - 1:14
    ในขณะที่ระบบลูกขุนในประเทศอื่นกำลังเติบโต
  • 1:14 - 1:17
    เกิดอะไรขึ้นในอเมริกา
  • 1:17 - 1:22
    สาเหตุหนึ่งคือการที่ศาลฎีกาตีความรัฐธรรมนูญ
  • 1:22 - 1:24
    อนุญาตให้มีการต่อรองเพื่อรับสารภาพได้
  • 1:24 - 1:27
    ซึ่งนำมาใช้กับคดีอาญาเกือบทุกคดีในตอนนี้
  • 1:27 - 1:30
    วิธีการก็คือทางอัยการจะยื่นข้อเสนอ
    ให้กับผู้ต้องหา
  • 1:30 - 1:32
    ว่าจะตัดสินใจรับสารภาพหรือไม่
  • 1:32 - 1:36
    หากรับสารภาพ คดีก็จะไปไม่ถึงคณะลูกขุน
  • 1:36 - 1:38
    และจำเลยจะถูกจำคุกสั้นลง
  • 1:38 - 1:41
    กว่าที่พวกเขาจะได้รับ
    หากคณะลูกขุนตัดสินว่าผิด
  • 1:41 - 1:44
    ความเสี่ยงที่จะได้รับโทษหนักขึ้น
    ภายหลังการพิจารณา
  • 1:44 - 1:48
    ทำให้แม้แต่จำเลยที่บริสุทธิ์ก็ยังหวาดกลัว
    จนต้องยอมรับสารภาพ
  • 1:48 - 1:50
    ระหว่างศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 21
  • 1:50 - 1:56
    สัดส่วนของการรับสารภาพ
    เพิ่มขึ้นจาก 20% มาเป็น 90%
  • 1:56 - 1:58
    และยังจะเพิ่มขึ้นอีก
  • 1:58 - 2:01
    ศาลฎีกายังได้อนุญาตให้นำกระบวนการ
    อีกอย่างหนึ่งมาใช้
  • 2:01 - 2:02
    ซึ่งเป็นการแทรกแซงอำนาจของคณะลูกขุน
  • 2:02 - 2:04
    เรียกว่า การพิพากษาโดยรวบรัด
  • 2:04 - 2:08
    ในการพิพากษาโดยรวบรัด ผู้พิพากษามีอำนาจ
    ตัดสินว่าการพิจารณาในคดีแพ่งนั้นไม่จำเป็น
  • 2:08 - 2:12
    หากผู้ยื่นฟ้องคดีมีหลักฐานไม่เพียงพอ
  • 2:12 - 2:17
    ซึ่งจะนำมาใช้เฉพาะในกรณี
    ที่คณะลูกขุนจะไม่คัดค้านอย่างไร้เหตุผล
  • 2:17 - 2:19
    มันเป็นเรื่องยากที่จะหยั่งรู้ได้
  • 2:19 - 2:22
    และการพิพากษาโดยรวบรัดแบบนี้
    ยังเป็นการทำให้เกิดประเด็น
  • 2:22 - 2:25
    ว่าบางคนอาจโต้แย้งได้ว่าตน
    ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  • 2:25 - 2:28
    ตัวอย่างเช่น ในคดีเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน
  • 2:28 - 2:30
    กว่า 70% ของคำขอนายจ้างที่ขอให้ยกฟ้อง
    ได้รับอนุญาตจากศาล
  • 2:30 - 2:34
    ไม่ว่าจะทั้งคดี หรือบางประเด็น
  • 2:34 - 2:38
    ในคดีอื่น ๆ ทั้งฝ่ายที่ฟ้องคดี
    และฝ่ายที่ถูกฟ้อง
  • 2:38 - 2:41
    อาจตกลงกันไม่ใช้สิทธิในการขึ้นศาล
  • 2:41 - 2:45
    แต่ใช้วิธีการระงับข้อพิพาทโดย
    อนุญาโตตุลาการผู้เชี่ยวชาญ
  • 2:45 - 2:48
    ซึ่งโดยปกติจะเป็นทนาย ศาสตราจารย์
    หรืออดีตผู้พิพากษา
  • 2:48 - 2:51
    การใช้อนุญาโตตุลาการ
    อาจเป็นการดัดสินใจที่ดีของทั้งสองฝ่าย
  • 2:51 - 2:54
    ในการหลีกเลี่ยงการขึ้นศาล
  • 2:54 - 2:57
    แต่บ่อยครั้งที่บางคน
    ตกลงลงนามยินยอมเพราะความไม่รู้
  • 2:57 - 3:01
    อย่างเช่น ในสัญญาจ้างและสัญญาผู้บริโภค
  • 3:01 - 3:03
    นั่นอาจเป็นปัญหาได้
  • 3:03 - 3:05
    ตัวอย่างเช่น อนุญาโตตุลาการ
    อาจลำเอียงเข้าข้าง
  • 3:05 - 3:08
    ฝ่ายบริษัทที่นำคดีมาให้พิจารณาก็ได้
  • 3:08 - 3:11
    นี่เป็นเพียงบางวิธีการ
    ที่ไม่มีคณะลูกขุนอยู่ในกระบวนการ
  • 3:11 - 3:14
    แต่การไม่ใช้คณะลูกขุน
    จะเป็นเรื่องดีหรือไม่
  • 3:14 - 3:16
    จริง ๆ คณะลูกขุนก็ใช่ว่าจะไร้ที่ติ
  • 3:16 - 3:17
    ทั้งมีค่าใช้จ่ายมาก
  • 3:17 - 3:18
    กินเวลานาน
  • 3:18 - 3:19
    และอาจมีข้อผิดพลาด
  • 3:19 - 3:21
    พวกเขาไม่ได้จำเป็นในทุกกรณี
  • 3:21 - 3:25
    อย่างในกรณีที่ผู้คนสามารถตกลง
    ยอมความกันได้
  • 3:25 - 3:27
    แต่คณะลูกขุนก็ยังมีข้อดีอยู่ คือ
  • 3:27 - 3:28
    เมื่อเลือกสมาชิกอย่างเหมาะสม
  • 3:28 - 3:32
    คณะลูกขุนก็จะมีสภาพเป็นตัวแทน
    ของประชาชนทั่วไปมากขึ้น
  • 3:32 - 3:34
    และพวกเขาไม่มีแรงจูงใจอย่างอัยการ
  • 3:34 - 3:35
    ผู้ร่างกฎหมาย
  • 3:35 - 3:36
    หรือผู้พิพากษา
  • 3:36 - 3:38
    ที่มักมองหาโอกาสหาเสียง
    หรือเลื่อนตำแหน่ง
  • 3:38 - 3:41
    ผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกาเชื่อในสติปัญญา
  • 3:41 - 3:43
    ของพลเมืองที่มีความเป็นธรรม
  • 3:43 - 3:46
    ในการตรวจสอบอำนาจอธิปไตยทั้งสามฝ่ายของรัฐ
  • 3:46 - 3:49
    และการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนนั้น
    ก็ได้ทำให้ประชาชนทั่วไป
  • 3:49 - 3:52
    มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
    โครงสร้างทางสังคม
  • 3:52 - 3:56
    แล้วแบบนี้ ระบบลูกขุนในอเมริกา
    ควรจะอยู่รอดต่อไปหรือไม่
Title:
เกิดอะไรขึ้นกับการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน - ซูจา เอ. โธมัส
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-happened-to-trial-by-jury-suja-a-thomas

สหรัฐอเมริกาในทุกวันนี้ คณะลูกขุนตัดสินคดีอาญาไม่ถึง 4% ของคดีอาญาทั้งหมด และไม่ถึง 1% ในคดีแพ่ง ขณะที่ระบบคณะลูกขุนในประเทศอื่น ๆ กำลังเติบโต เกิดอะไรขึ้นในสหรัฐอเมริกา? การหายไปของคณะลูกขุนเป็นเรื่องดีหรือไม่? ซูจา เอ. โธมัส จะพูดถึงทั้งสองด้านของสถานการณ์ที่ย้อนแย้งนี้

บทเรียนโดย ซูจา เอ. โธมัส ภาพเคลื่อนไหวโดย โกลบิสโค

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:12

Thai subtitles

Revisions