Return to Video

การทำงานโดยอัตโนมัติของสมองช่วยให้คุณมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร - นาธาน เอส. เจคอปส์ (Nathan S. Jacobs)

  • 0:07 - 0:11
    อาจไม่จำเป็นที่จะต้องบอกคุณ
    ว่าสมองของคุณนั้นสำคัญแค่ไหน
  • 0:11 - 0:13
    ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งที่เคยประสบ
  • 0:13 - 0:15
    ความคิดและการกระทำของคุณ
  • 0:15 - 0:17
    การรับรู้และความจำ
  • 0:17 - 0:20
    ต่างก็ถูกประมวลผลที่นี่
    ภายในศูนย์ควบคุมของร่างกาย
  • 0:20 - 0:24
    ถ้านี่ดูเหมือนเยอะแล้ว
    สำหรับการทำงานของอวัยวะหนึ่ง
  • 0:24 - 0:28
    อันที่จริง มันเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น
    ที่สมองของคุณทำ
  • 0:28 - 0:31
    กิจกรรมโดยส่วนใหญ่ของมัน
    เกิดขึ้นโดยคุณอาจไม่รู้ตัว
  • 0:31 - 0:34
    เว้นเสียแต่ว่ามันจะหยุดลงกระทันหัน
  • 0:34 - 0:36
    สมองถูกประกอบด้วย
    เซลล์ประสาทนับพันล้านเซลล์
  • 0:36 - 0:38
    และการเชื่อมโยงนับล้าน ๆ
  • 0:38 - 0:41
    เซลล์ประสาทสามารถถูกกระตุ้น
    โดยสิ่งเร้าจำเพาะหรือความคิด
  • 0:41 - 0:45
    แต่บ่อยครั้งที่
    มันยังทำงานได้อย่างอัตโนมัติ
  • 0:45 - 0:47
    บ้างก็ทำงานเป็นวงจรอย่างเป็นรูปแบบ
  • 0:47 - 0:52
    บ้างก็ทำงานเป็นการประทุอย่างรวดเร็ว
    ก่อนจะปิดการทำงาน
  • 0:52 - 0:54
    หรือหยุดอยู่เป็นเวลานาน
  • 0:54 - 1:00
    จนกว่าจะได้รับคำสั่งนับพัน
    เซลล์ประสาทอื่นในลักษณะที่เหมาะสม
  • 1:00 - 1:01
    โดยภาพรวม
  • 1:01 - 1:06
    ผลลัพธ์ในการกำกับจังหวะของ
    กิจกรรมสมองที่ถูกสร้างขึ้นจากภายในนี้
  • 1:06 - 1:07
    ครางเบา ๆ อยู่ในพื้นหลัง
  • 1:07 - 1:09
    ไม่ว่าเรากำลังตื่น หลับ
  • 1:09 - 1:12
    หรือพยายามที่จะไม่คิดอะไรเลยก็ตาม
  • 1:12 - 1:15
    และหน้าที่ของสมอง
    ที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติเหล่านี้
  • 1:15 - 1:20
    เป็นพื้นฐานของหน้าที่อื่น ๆ ของสมอง
  • 1:20 - 1:24
    สิ่งสำคัญที่สุด
    ของกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัตินี้
  • 1:24 - 1:26
    คือการทำให้พวกเรามีชีวิตอยู่
  • 1:26 - 1:29
    ตัวอย่างเช่น
    ขณะที่คุณกำลังสนใจวีดีโอนี้อยู่
  • 1:29 - 1:33
    กิจกรรมอัตโนมัติของสมอง
    ได้ช่วยคงการหายใจของคุณ
  • 1:33 - 1:38
    ไว้ที่ 12 ถึง16 ครั้งต่อนาที
    เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ขาดอากาศหายใจ
  • 1:38 - 1:40
    โดยไม่ต้องอาศัยสติสัมปะชัญญะ
  • 1:40 - 1:43
    สัญญาณจากส่วนก้านสมอง
    จะถูกส่งผ่านไขสันหลัง
  • 1:43 - 1:46
    ไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้ปอดของคุณพองตัว
  • 1:46 - 1:50
    ทำให้มันขยายออกและหดลง
    ไม่ว่าคุณจะใส่ใจหรือไม่ก็ตาม
  • 1:50 - 1:55
    วงจรกระแสประสาทที่เป็นพื้นฐาน
    ของกิจกรรมจังหวะอัตโนมัติดังกล่าว
  • 1:55 - 1:58
    เรียกว่า
    ตัวสร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง
  • 1:58 - 2:00
    และควบคุมการทำพฤติกรรมทั่วไป
    ที่มีลักษณะซ้ำ ๆ
  • 2:00 - 2:01
    เช่น การหายใจ
  • 2:01 - 2:02
    การเดิน
  • 2:02 - 2:04
    และการกลืน
  • 2:04 - 2:08
    กิจกรรมของระบบประสาทเกิดขึ้นอยู่
    เป็นพื้นฐานของการรับสัมผัสของเรา
  • 2:08 - 2:09
    อาจดูเหมือนว่า
  • 2:09 - 2:12
    เซลล์ประสาทในจอประสาทตา
    ที่แปลงแสงให้เป็นสัญญาณประสาท
  • 2:12 - 2:14
    จะไม่ทำงานเมื่ออยู่ในที่มืด
  • 2:14 - 2:15
    แต่ในความเป็นจริงแล้ว
  • 2:15 - 2:19
    กลุ่มเซลล์ประสาทในจอประสาทตา
    ที่เชื่อมต่อกับสมอง
  • 2:19 - 2:20
    ทำงานอยู่ตลอดเวลา
  • 2:20 - 2:25
    และสัญญาณที่พวกมันส่งออกไป
    จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นอัตราการทำงาน
  • 2:25 - 2:27
    แทนที่จะเป็นไปในรูปแบบการประทุเป็นครั้ง ๆ
  • 2:27 - 2:32
    ฉะนั้น ในทุกระดับ ระบบประสาทของเรา
    จะทำงานร่วมกันกับกิจกรรมอัตโนมัติ
  • 2:32 - 2:36
    ที่ช่วยมันแปลความหมายและตอบสนอง
    ต่อสัญญาณใด ๆ ที่มันอาจได้รับ
  • 2:36 - 2:41
    และการขับเคลื่อนอัตโนมัติของสมองนี้
    ไม่จำกัดอยู่แค่หน้าที่พื้นฐานในทางชีวภาพเท่านั้น
  • 2:41 - 2:43
    ระหว่างที่คุณกำลังกลับบ้าน
  • 2:43 - 2:45
    คุณเคยคิดว่าเย็นนี้จะรับประทานอะไร
  • 2:45 - 2:48
    แล้วจากนั้นคุณก็ไม่ได้จำว่า
    คุณได้ใช้เวลาเดินมา 5 นาทีแล้ว
  • 2:48 - 2:51
    ในขณะที่พวกเราไม่เข้าใจรายละเอียดทั้งหมด
  • 2:51 - 2:55
    เรารู้ว่ากิจกรรมที่ดำเนินอยู่
    ในหลาย ๆ ส่วนของสมองนั้น
  • 2:55 - 2:59
    สามารถทำงานร่วมกัน
    เพื่อจัดการงานที่ค่อนข้างซับซ้อน
  • 2:59 - 3:02
    ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการคิด
    และการเคลื่อนไหว
  • 3:02 - 3:05
    ที่นำคุณไปยังทิศทางที่ถูกต้อง
    รวมถึงทำให้คุณขยับขา
  • 3:05 - 3:07
    ในขณะที่คุณกำลังคิดว่า
    เย็นนี้จะรับประทานอะไรดี
  • 3:07 - 3:10
    สิ่งที่น่าสนใจที่สุด
    เกี่ยวกับการทำงานแบบอัตโนมัติของสมอง
  • 3:10 - 3:13
    คือการที่มันเกี่ยวข้อง
    กับเรื่องที่น่าลึกลับที่สุด
  • 3:13 - 3:17
    และเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นที่เข้าใจน้อยที่สุด
    เกี่ยวกับร่างกายของเรา นั่นก็คือ การนอนหลับ
  • 3:17 - 3:20
    คุณอาจจะพักผ่อนและ
    หยุดกิจกรรมต่าง ๆ ในตอนกลางคืน
  • 3:20 - 3:22
    แต่สมองของคุณกลับไม่เป็นเช่นนั้น
  • 3:22 - 3:23
    ในขณะที่คุณกำลังหลับ
  • 3:23 - 3:28
    กิจกรรมอัตโนมัติที่ยังทำงานอยู่
    ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อย
  • 3:28 - 3:33
    และท้ายที่สุดก็กลายเป็น
    คลื่นกระแสประสาทที่เป็นจังหวะขนาดใหญ่
  • 3:33 - 3:35
    ที่ครอบคลุมสมองของเรา
  • 3:35 - 3:38
    การแปลงมาเป็นจังหวะของการนอนหลับ
    ที่เป็นระเบียบมากกว่า
  • 3:38 - 3:43
    เริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ของเซลล์ประสาท
    ที่รวมตัวอยู่ที่ไฮโปทาลามัส
  • 3:43 - 3:45
    แม้ว่าพวกมันจะมีจำนวนที่น้อย
  • 3:45 - 3:46
    แต่กลับส่งผลมาก
  • 3:46 - 3:51
    ต่อการปิดการทำงานบริเวณก้านสมอง
    ซึ่งโดยปกติเป็นส่วนที่ทำให้คุณตื่น
  • 3:51 - 3:53
    แล้วปล่อยให้บริเวณอื่นเช่น
    เปลือกสมองและไฮโปทาลามัส
  • 3:53 - 3:57
    ค่อยเคลื่อนเข้าสู่จังหวะที่มันเลือกเอง
  • 3:57 - 3:59
    ยิ่งเราหลับลึกมากเท่าไร
  • 3:59 - 4:03
    จังหวะก็ยิ่งช้าลง
    และมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น
  • 4:03 - 4:09
    โดยในช่วงที่หลับลึกที่สุดจะมีคลื่นเดลต้า
    ที่แอมพลิจูดสูง ความถี่ต่ำ
  • 4:09 - 4:13
    แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ ในช่วงกลาง
    ของคลื่นการนอนหลับที่มีจังหวะช้านี้
  • 4:13 - 4:16
    กิจกรรมอัตโนมัติที่ถูกเชื่อมโยงกันของสมอง
  • 4:16 - 4:19
    เปลี่ยนอย่างรวดเร็วไปเป็นการปะทุต่าง ๆ
  • 4:19 - 4:21
    ทีมักพบเห็นได้ในเวลาที่เราตื่น
  • 4:21 - 4:24
    นี่คือระยะนอนหลับที่เรารู้จักกันดีว่า
    REM sleep
  • 4:24 - 4:29
    ที่ลูกตาของเราจะเคลื่อนไหวไปมา
    อย่างรวดเร็วขณะที่เรากำลังฝัน
  • 4:29 - 4:33
    นักประสาทวิทยายังพยายามหาคำตอบ
    ต่อคำถามพื้นฐานอีกมากมาย
  • 4:33 - 4:37
    เช่น หน้าที่ของมัน
    ในการฟื้นฟูความสามารถในการจดจำ
  • 4:37 - 4:38
    การรักษาสมดุลของเซลล์
  • 4:38 - 4:40
    และการเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ
  • 4:40 - 4:42
    และที่ท้าทายยิ่งกว่านั้น
    พวกเขายังกำลังสำรวจว่า
  • 4:42 - 4:47
    สมองสามารถทำงานที่มีความสำคัญ
    และซับซ้อนสำเร็จได้อย่างไร
  • 4:47 - 4:51
    เช่น ขับรถ หรือแม้แต่หายใจ
    โดยที่ไม่ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ
  • 4:51 - 4:53
    แต่ตอนนี้ จนกว่าเราจะเข้าใจ
  • 4:53 - 4:57
    ทำงานภายในของหน้าที่แบบอัตโนมัติ
    ของพวกมันมากขึ้น
  • 4:57 - 5:00
    เราต้องยกความดีความชอบให้กับสมอง
    ที่ฉลาดเฉลียว
  • 5:00 - 5:02
    มากเสียยิ่งกว่าตัวเราเอง
Title:
การทำงานโดยอัตโนมัติของสมองช่วยให้คุณมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร - นาธาน เอส. เจคอปส์ (Nathan S. Jacobs)
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/how-spontaneous-brain-activity-keeps-you-alive-nathan-s-jacobs

วงล้อการทำงานในสมองคุณนั้นทำงานอยู่ตลอด แม้ว่าคุณจะหลับหรือไม่ได้ใส่ใจก็ตาม แท้จริงแล้วกิจกรรมส่วนใหญ่ของสมองนั้น เกิดขึ้นโดยคุณอาจไม่รู้ตัว ... เว้นเสียแต่ว่ามันจะหยุดลงกระทันหัน Nathan S. Jacobs พาพวกเราเข้าไปในสมองที่ทำงานตลอดเวลาแบบอัตโนมัติอย่างน่าประหลาดใจ

บทเรียนโดย Nathan S. Jacobs, และภาพเคลื่อนไหวโดย TOGETHER

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:18

Thai subtitles

Revisions