Return to Video

อยากสร้างนวัตกรรมหรือ? จงเป็น "นักปัจจุบันนิยม"

  • 0:01 - 0:03
    เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2011
  • 0:03 - 0:06
    ผมอยู่ที่ MIT Media Lab ในเคมบริดจ์
    (Massachusetts Institute of Technology)
  • 0:06 - 0:10
    กำลังพบปะกับอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่
  • 0:10 - 0:11
    ตอนนั้นเขากำลังพิจารณาว่า
  • 0:11 - 0:14
    ควรให้ผมเป็นผู้อำนวยการคนต่อไป
    ของแล็บนี้หรือเปล่า
  • 0:14 - 0:16
    คืนนั้น ตอนเที่ยงคืน
  • 0:16 - 0:18
    เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 9
  • 0:18 - 0:21
    ที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น
  • 0:21 - 0:23
    ภรรยาและครอบครัวของผมอยู่ในญี่ปุ่น
  • 0:23 - 0:26
    ตอนที่เริ่มมีข่าวเข้ามา
  • 0:26 - 0:28
    ผมตื่นตกใจมาก
  • 0:28 - 0:29
    ผมเฝ้าติดตามรายงานข่าว
  • 0:29 - 0:32
    คอยฟังแถลงการณ์
  • 0:32 - 0:34
    ของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
  • 0:34 - 0:36
    และบริษัทผลิตไฟฟ้า Tokyo Power
  • 0:36 - 0:38
    แล้วก็ได้ข่าวการระเบิด
  • 0:38 - 0:40
    ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
  • 0:40 - 0:41
    และกลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสี
  • 0:41 - 0:43
    ที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางบ้านของเรา
  • 0:43 - 0:46
    ซึ่งอยู่ห่างออกไปแต่ 200 กิโลเมตร
  • 0:46 - 0:49
    คนที่ออกทีวี ไม่มีใครบอกข้อมูล
  • 0:49 - 0:51
    ที่เราต้องการรู้เลยสักนิด
  • 0:51 - 0:53
    ผมอยากรู้ว่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีสภาพเป็นอย่างไร
  • 0:53 - 0:54
    สถานการณ์การรั่วไหลของกัมมันตรังสีเป็นอย่างไร
  • 0:54 - 0:57
    ครอบครัวผมตกอยู่ในอันตรายหรือเปล่า
  • 0:57 - 1:00
    ผมก็เลยลงมือทำสิ่งที่ผมรู้สึกตามสัญชาตญาณว่าควรทำ
  • 1:00 - 1:01
    นั่นคือเข้าอินเตอร์เน็ต
  • 1:01 - 1:03
    และพยายามค้นหาว่า
  • 1:03 - 1:05
    ผมจะทำอะไรได้บ้างด้วยมือของผม
  • 1:05 - 1:07
    บนอินเตอร์เน็ต ผมได้พบกับคนอื่นๆ อีกมากมาย
  • 1:07 - 1:09
    ที่กำลังหาข้อมูลเหมือนกับผม
    ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
  • 1:09 - 1:11
    แล้วเราก็มารวมตัวกันหลวมๆ
  • 1:11 - 1:14
    เรียกว่ากลุ่มเซฟแคส (Safecast)
  • 1:14 - 1:15
    เราตัดสินใจว่าเราจะลอง
  • 1:15 - 1:17
    วัดระดับกัมมันตรังสี
  • 1:17 - 1:18
    และเผยแพร่ข้อมูลออกไปให้ทุกคนรู้
  • 1:18 - 1:20
    เพราะตอนนั้นเราเห็นชัดแล้วว่า
  • 1:20 - 1:23
    รัฐบาลจะไม่ทำเรื่องนี้ให้เรา
  • 1:23 - 1:24
    สามปีต่อมา
  • 1:24 - 1:28
    เรามีข้อมูล 16 ล้านหน่วย
  • 1:28 - 1:30
    เราออกแบบเครื่องวัดกัมมันตรังสีของเราเอง
  • 1:30 - 1:32
    ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดแบบไปทำเอง
  • 1:32 - 1:33
    แล้วเอาไปเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
  • 1:33 - 1:35
    แล้วเราก็มีแอพพลิเคชั่นที่แสดง
  • 1:35 - 1:38
    ระดับกัมมันตรังสีบนพื้นที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น
    และส่วนอื่นๆ ของโลก
  • 1:38 - 1:40
    เรียกได้ว่า นี่เป็นโครงการวิทยาศาสตร์
    ภาคพลเมือง
  • 1:40 - 1:42
    ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลก
  • 1:42 - 1:44
    และเราได้สร้างฐานข้อมูลสาธารณะ
  • 1:44 - 1:48
    ด้านระดับกัมมันตรังสี ที่ใหญ่ที่สุด
  • 1:48 - 1:50
    สิ่งที่น่าสนใจคือ ...
  • 1:50 - 1:55
    (เสียงปรบมือ) ขอบคุณครับ
  • 1:55 - 1:57
    เป็นไปได้อย่างไร ที่มือสมัครเล่นกลุ่มหนึ่ง
  • 1:57 - 1:59
    ซึ่งไม่รู้หรอกว่าเรากำลังทำอะไรกัน
  • 1:59 - 2:01
    มารวมตัวกัน
  • 2:01 - 2:04
    แล้วทำสิ่งที่เอ็นจีโอและรัฐบาล
  • 2:04 - 2:07
    ทำไม่ได้เลยโดยสิ้นเชิง
  • 2:07 - 2:09
    ผมอยากบอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
  • 2:09 - 2:11
    อินเตอร์เน็ตครับ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
  • 2:11 - 2:14
    ไม่ใช่ดวง และไม่ใช่เพราะ
    พวกเราเป็นคนพิเศษอะไร
  • 2:14 - 2:15
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  • 2:15 - 2:17
    ช่วยดึงทุกคนเข้าหากัน
  • 2:17 - 2:19
    แต่เป็นเพราะวิธีทำงานรูปแบบใหม่ๆ
  • 2:19 - 2:21
    ที่เกิดขึ้นได้เพราะอินเตอร์เน็ต
  • 2:21 - 2:22
    และอะไรอีกมากมายที่เกิดขึ้นช่วงนั้น
  • 2:22 - 2:24
    ผมเลยอยากจะพูดถึงสักนิดว่า
  • 2:24 - 2:27
    หลักการใหม่ๆ เหล่านั้นคืออะไร
  • 2:27 - 2:32
    เอาล่ะ คุณจำสมัยที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตได้ไหม
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:32 - 2:34
    ผมเรียกมันว่ายุค ก.อ.
    (ก่อนอินเตอร์เน็ต)
  • 2:34 - 2:37
    สมัยก่อนอินเตอร์เน็ต ชีวิตก็เรียบง่าย
  • 2:37 - 2:40
    อะไรๆ ก็เป็นไปตามหลักของยูคลิด นิวตัน
  • 2:40 - 2:42
    ค่อนข้างทำนายได้
  • 2:42 - 2:44
    คนเราก็พยายามทำนายอนาคต
  • 2:44 - 2:46
    แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์
  • 2:46 - 2:49
    แล้วพออินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น
  • 2:49 - 2:51
    โลกเราก็เริ่มซับซ้อนสุดๆ
  • 2:51 - 2:54
    ต้นทุนการสื่อสารถูกสุดๆ และเร็วสุดๆ
  • 2:54 - 2:56
    และกฎของนิวตันทั้งหลาย
  • 2:56 - 2:58
    ที่เราเคยทนุถนอมชื่นชม
  • 2:58 - 3:00
    ก็กลายเป็นความเชื่อท้องถิ่น
  • 3:00 - 3:01
    และเราก็พบว่า
  • 3:01 - 3:04
    ในโลกที่ไม่อาจทำนายอะไรได้เลยแบบนี้
  • 3:04 - 3:06
    คนส่วนใหญ่ที่มีชีวิตรอดอยู่ได้
  • 3:06 - 3:09
    คือคนที่ทำอะไรโดยใช้หลักการที่แตกต่างไป
  • 3:09 - 3:12
    ผมจึงอยากพูดถึงเรื่องนี้สักหน่อย
  • 3:12 - 3:13
    ก่อนยุคอินเตอร์เน็ต ถ้าคุณจำได้
  • 3:13 - 3:15
    เวลาเราพยายามสร้างบริการ
  • 3:15 - 3:16
    เราจะเริ่มจากการสร้าง
  • 3:16 - 3:19
    ฮาร์ดแวร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์
  • 3:19 - 3:21
    ซึ่งมีต้นทุนหลายล้านดอลลาร์
  • 3:21 - 3:23
    เพื่อทำงานใหญ่ๆ สำคัญๆ
  • 3:23 - 3:25
    เมื่อการทำงานใหญ่ๆ
    มีต้นทุนสูงหลายล้านดอลลาร์
  • 3:25 - 3:28
    สิ่งที่คุณต้องทำคือ
    หาคนที่จบปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA)
  • 3:28 - 3:29
    มาเขียนแผนธุรกิจ
  • 3:29 - 3:30
    และหาเงินทุน
  • 3:30 - 3:32
    จากนักลงทุนหรือบริษัทใหญ่ๆ
  • 3:32 - 3:34
    แล้วคุณก็จ้างนักออกแบบและวิศวกร
  • 3:34 - 3:35
    ให้เขาสร้างผลิตภัณฑ์ออกมา
  • 3:35 - 3:39
    นั่นคือโมเดลการสร้างนวัตกรรม
    ยุคก่อนอินเตอร์เน็ต
  • 3:39 - 3:42
    สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเรามีอินเตอร์เน็ตแล้วคือ
  • 3:42 - 3:43
    ต้นทุนการสร้างนวัตกรรมถูกลงมากๆ
  • 3:43 - 3:46
    เพราะต้นทุนในการประสานความร่วมมือ
    การกระจายสินค้า การสื่อสาร
  • 3:46 - 3:49
    และกฎของมัวร์ (Moore's Law)
    (เรื่องความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
  • 3:49 - 3:51
    ทำให้ต้นทุนของการลองทำสิ่งใหม่ๆ
  • 3:51 - 3:53
    ลดลงเหลือเกือบศูนย์
  • 3:53 - 3:55
    แล้วคุณก็มีกูเกิ้ล เฟซบุค ยาฮู
  • 3:55 - 3:57
    มีนักเรียนที่ทำอะไรโดยไม่ต้องขออนุญาต
  • 3:57 - 3:58
    นวัตกรรมที่ไม่ต้องรอการอนุมัติ
  • 3:58 - 4:00
    ไม่มีการขออนุมัติ ไม่มีพาวเวอร์พอยท์
  • 4:00 - 4:02
    เด็กๆ เหล่านี้แค่ลงมือสร้างอะไรสักอย่างขึ้นมา
  • 4:02 - 4:03
    แล้วค่อยไปหาเงินทุน
  • 4:03 - 4:05
    แล้วก็เริ่มคิดแผนธุรกิจขึ้นมา
  • 4:05 - 4:08
    และภายหลังก็อาจจะจ้างคนที่จบบริหารธุรกิจ (MBA) มาช่วย
  • 4:08 - 4:10
    ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงทำให้เกิดนวัตกรรม
  • 4:10 - 4:11
    อย่างน้อยก็ในวงการซอฟต์แวร์และการบริการ
  • 4:11 - 4:14
    เราเปลี่ยนจากโมเดลนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย
    บัณฑิตบริหารธุรกิจ (MBA)
  • 4:14 - 4:18
    ไปสู่โมเดลนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย
    นักออกแบบและวิศวกร
  • 4:18 - 4:20
    ซึ่งผลักให้นวัตกรรมไปสู่แนวหน้า
  • 4:20 - 4:22
    ไปสู่หอพักนักศึกษา ไปสู่บริษัทแรกก่อตั้ง
  • 4:22 - 4:23
    ห่างไกลจากสถาบันใหญ่ๆ
  • 4:23 - 4:26
    สถาบันเก่าแก่คร่ำครึที่มีอำนาจ
  • 4:26 - 4:27
    มีเงิน และมีสิทธิมีเสียงในการสั่งการ
  • 4:27 - 4:30
    เราต่างก็รู้ดี ว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต
  • 4:30 - 4:33
    แต่นอกจากนี้ มันยังเกิดขึ้นในวงการอื่นด้วย
  • 4:33 - 4:36
    ผมขอยกตัวอย่างให้ฟัง
  • 4:36 - 4:39
    ที่ MIT Media Lab
    เราไม่เพียงแค่สร้างฮาร์ดแวร์
  • 4:39 - 4:40
    เราทำทุกอย่าง
  • 4:40 - 4:42
    ทั้งชีววิทยาด้วย ฮาร์ดแวร์ด้วย
  • 4:42 - 4:45
    ดังประโยคฮิตของนิโคลัส นีโกรปอนติ
    (อดีต ผอ. MIT Media Lab)
    ที่ว่า "สร้างต้นแบบมา ไม่งั้นตาย"
  • 4:45 - 4:47
    แทนที่จะเป็น "ตีพิมพ์งานวิจัย ไม่งั้นตาย"
  • 4:47 - 4:49
    ซึ่งเป็นวิธีคิดทางวิชาการแบบโบราณ
  • 4:49 - 4:53
    เขามักจะพูดว่า ขอให้ต้นแบบมันทำงานได้แค่ครั้งเดียวแหละ
  • 4:53 - 4:56
    เพราะช่องทางหลักที่งานของเรา
    จะมีผลต่อโลกได้
  • 4:56 - 4:57
    ก็ต้องผ่านบริษัทใหญ่ๆ
  • 4:57 - 4:59
    ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรา
  • 4:59 - 5:02
    แล้วสร้างสินค้าอย่าง Kindle หรือ Lego Mindstorms ออกมา
  • 5:02 - 5:04
    แต่วันนี้ ด้วยความสามารถ
  • 5:04 - 5:06
    ที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ออกมาสู่โลกความจริงด้วยต้นทุนต่ำขนาดนั้น
  • 5:06 - 5:09
    ผมกำลังจะเปลี่ยนคำขวัญละ
  • 5:09 - 5:10
    และนี่คือการแถลงต่อหน้าสาธารณะอย่างเป็นทางการ
  • 5:10 - 5:13
    ผมขอกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "ผลิตสินค้าจริงออกมา ไม่งั้นตาย"
  • 5:13 - 5:15
    คุณต้องสร้างสิ่งประดิษฐ์ของคุณออกสู่โลกความจริง
  • 5:15 - 5:17
    มันถึงจะมีความหมายที่แท้จริง
  • 5:17 - 5:18
    บางทีเราอาจต้องการบริษัทใหญ่ๆ
  • 5:18 - 5:20
    นิโคลัสอาจจะพูดถึงดาวเทียม
  • 5:20 - 5:22
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:22 - 5:23
    ขอบคุณครับ
  • 5:23 - 5:25
    แต่เราควรออกไปสู่ตลาดด้วยตัวเราเอง
  • 5:25 - 5:28
    ไม่ใช่หวังให้สถาบันใหญ่ๆ จัดการให้
  • 5:28 - 5:31
    เมื่อปีที่แล้ว เราเลยพานักศึกษากลุ่มหนึ่ง
    ไปเสิ่นเจิ้น
  • 5:31 - 5:32
    พวกเขานั่งบนพื้นโรงงาน
  • 5:32 - 5:35
    กับนักสร้างนวัตกรรมในเสิ่นเจิ้น มันน่าทึ่งมาก
  • 5:35 - 5:36
    สิ่งที่เกิดขึ้นที่นั่นคือ
  • 5:36 - 5:38
    ทุกคนมีอุปกรณ์การผลิตเหล่านี้
  • 5:38 - 5:41
    พวกเขาไม่ได้สร้างต้นแบบหรือพาวเวอร์พอยท์
  • 5:41 - 5:43
    แต่ทำงานมือเป็นระวิง
    กับอุปกรณ์การผลิตเหล่านี้
  • 5:43 - 5:46
    แล้วสร้างนวัตกรรมขึ้นมาตรงนั้นเลย
  • 5:46 - 5:48
    โรงงานนั้นอยู่ในตัวนักออกแบบ
  • 5:48 - 5:50
    และนักออกแบบก็อยู่ในโรงงานจริงๆ
  • 5:50 - 5:52
    สิ่งที่คุณทำคือ
  • 5:52 - 5:53
    ลงไปดูที่ร้านขายโทรศัพท์มือถือ
  • 5:53 - 5:56
    คุณจะเห็นโทรศัพท์มือถือพวกนี้
  • 5:56 - 5:58
    แทนที่จะสร้างเว็บไซต์เล็กๆ
  • 5:58 - 6:00
    เหมือนเด็กๆ ที่พาโล อัลโตทำกัน
  • 6:00 - 6:02
    เด็กๆ ในเสิ่นเจิ้น
    จะสร้างโทรศัพท์มือถือใหม่ๆ ขึ้นมา
  • 6:02 - 6:05
    เหมือนกับที่เด็กๆ ในพาโล อัลโต
  • 6:05 - 6:06
    สร้างเว็บไซต์
  • 6:06 - 6:08
    และนั่นคือป่าอันอุดมสมบูรณ์
  • 6:08 - 6:10
    ของนวัตกรรมโทรศัพท์มือถือ
  • 6:10 - 6:12
    เด็กพวกนี้สร้างโทรศัพท์มือถือ
  • 6:12 - 6:14
    ลงไปที่ร้าน เอาไปขายจริง
  • 6:14 - 6:16
    ดูว่าเด็กคนอื่นทำอะไรบ้าง แล้วกลับขึ้นไป
  • 6:16 - 6:19
    ทำมือถือใหม่ออกมาอีกสองสามพันเครื่อง
    แล้วลงไปขายใหม่
  • 6:19 - 6:21
    ฟังดูเหมือนวงการซอฟต์แวร์ไหมครับ
  • 6:21 - 6:22
    เหมือนกับการพัฒนาซอฟต์แวร์
    ที่มีความคล่องตัวสูงมาก
  • 6:22 - 6:25
    ทดลองใช้เทียบกับของเก่าแล้วปรับปรุงอีก
  • 6:25 - 6:27
    สิ่งที่เราคิดว่าเราทำได้กับซอฟต์แวร์เท่านั้น
  • 6:27 - 6:30
    เด็กๆ ในเสิ่นเจิ้นทำได้กับฮาร์ดแวร์
  • 6:30 - 6:31
    ผมหวังอยู่ว่า นักศึกษาคนใหม่ในทีมของผม
  • 6:31 - 6:33
    จะเป็นหนึ่งในนักสร้างนวัตกรรม
    จากเสิ่นเจิ้นนี่ล่ะ
  • 6:33 - 6:34
    สิ่งที่คุณเห็นนี่คือ
  • 6:34 - 6:36
    การผลักนวัตกรรมออกไปยังแนวหน้า
  • 6:36 - 6:38
    เราพูดถึงเครื่องพิมพ์สามมิติอะไรพวกนั้น
  • 6:38 - 6:40
    ซึ่งเจ๋งมาก แต่นี่คือลิมอร์
  • 6:40 - 6:43
    เธอเป็นหนึ่งในบัณฑิตคนโปรดของเรา
  • 6:43 - 6:45
    รูปนี้เธอยืนอยู่หน้าเครื่อง
  • 6:45 - 6:47
    Techwin Pick and Place ของซัมซุง
  • 6:47 - 6:50
    ซึ่งสามารถประกอบชิ้นส่วน 23,000 ชิ้น
  • 6:50 - 6:52
    ลงบนบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 1 ชั่วโมง
  • 6:52 - 6:54
    นี่คือโรงงานในกล่อง
  • 6:54 - 6:57
    อะไรที่เราเคยต้องใช้โรงงานที่มีคน
  • 6:57 - 6:58
    ทำงานด้วยมือเต็มโรงงาน
  • 6:58 - 6:59
    พอมีเจ้ากล่องเล็กๆ นี่ในนิวยอร์ค
  • 6:59 - 7:01
    เธอก็ทำได้เหมือนกัน
  • 7:01 - 7:02
    เธอไม่ต้องไปถึงเสิ่นเจิ้น
  • 7:02 - 7:03
    เพื่อผลิตสินค้าพวกนี้
  • 7:03 - 7:06
    เธอสามารถซื้อเจ้ากล่องนี้แล้วลงมือผลิตเลย
  • 7:06 - 7:08
    ดังนั้น การผลิต ต้นทุนการสร้างนวัตกรรม
  • 7:08 - 7:11
    การสร้างต้นแบบ กระจายสินค้า
    การผลิต ฮาร์ดแวร์
  • 7:11 - 7:12
    ราคาถูกลงมาก
  • 7:12 - 7:14
    จนนวัตกรรมเกิดได้ที่แนวหน้า
  • 7:14 - 7:17
    นักเรียนและบริษัทเปิดใหม่ก็สร้างนวัตกรรมได้
  • 7:17 - 7:19
    ปรากฏการณ์นี้เพิ่งเริ่ม แต่มันจะเกิดขึ้น
  • 7:19 - 7:20
    และมันจะเปลี่ยนโลก
  • 7:20 - 7:23
    เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในวงการซอฟต์แวร์
  • 7:23 - 7:26
    โซโรนา เป็นกระบวนการที่ดูปองต์คิดขึ้น
  • 7:26 - 7:29
    โดยใช้จุลินทรีย์ที่ตัดต่อพันธุกรรม
  • 7:29 - 7:33
    ให้สามารถเปลี่ยนน้ำตาลข้าวโพดเป็นโพลีเอสเตอร์
  • 7:33 - 7:35
    ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 30 เปอร์เซนต์
  • 7:35 - 7:39
    และก็ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเยอะ
  • 7:39 - 7:40
    พันธุวิศวกรรม และวิศวกรรมชีวภาพ
  • 7:40 - 7:42
    กำลังสร้างโอกาสดีๆ ใหม่ๆ
  • 7:42 - 7:44
    อีกมากมาย
  • 7:44 - 7:46
    สำหรับวงการเคมี การคำนวณ และความจำ
  • 7:46 - 7:49
    แน่นอนว่าเราคงทำเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเยอะ
  • 7:49 - 7:51
    แต่อนาคตเราอาจจะปลูกเก้าอี้
  • 7:51 - 7:52
    หรือปลูกตึกได้จริงๆ
  • 7:52 - 7:56
    ปัญหาคือ เจ้าเครื่องโซโรนานั้น
    ราคา 400 ล้านดอลลาร์
  • 7:56 - 7:57
    และใช้เวลาสร้าง 7 ปี
  • 7:57 - 8:01
    คงทำให้คุณนึกถึง
    เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมสมัยก่อน
  • 8:01 - 8:03
    ประเด็นคือ ต้นทุนของนวัตกรรม
  • 8:03 - 8:04
    ด้านวิศวกรรมชีวภาพก็กำลังลดลง
  • 8:04 - 8:06
    นี่คือเครื่องจัดเรียงยีนแบบตั้งโต๊ะ
  • 8:06 - 8:10
    เมื่อก่อนการตัดต่อยีนใช้เงินเป็นล้านๆ ดอลลาร์
  • 8:10 - 8:12
    ตอนนี้คุณทำเองได้บนเครื่องตั้งโต๊ะแบบนี้
  • 8:12 - 8:14
    เด็กๆ ก็ทำได้ในหอพักตัวเอง
  • 8:14 - 8:16
    นี่คือเครื่องประกอบยีนรุ่น Gen 9
  • 8:16 - 8:18
    ปัจจุบันเมื่อคุณพยายามพิมพ์ยีน
  • 8:18 - 8:20
    ก็ต้องให้ใครบางคนในโรงงาน
  • 8:20 - 8:22
    ผสมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันในหลอดแก้ว
  • 8:22 - 8:24
    คุณจะเจอความผิดพลาดหนึ่งแห่งต่อร้อยคู่เบส
  • 8:24 - 8:27
    และใช้เวลานานกับเงินอีกมหาศาล
  • 8:27 - 8:28
    เจ้าเครื่องใหม่นี้
  • 8:28 - 8:30
    ประกอบยืนเข้าด้วยกันบนชิพ
  • 8:30 - 8:32
    แทนที่ความผิดพลาดจะเป็นหนึ่งต่อ 100 คู่เบส
  • 8:32 - 8:34
    ก็กลายเป็นหนึ่งต่อ 10,000 คู่เบส
  • 8:34 - 8:37
    ในแล็บเราจะมีเครื่องพิมพ์ยีน
    ที่ประสิทธิภาพสูงสุดในโลก
  • 8:37 - 8:39
    ภายในเวลาหนึ่งปีข้างหน้า
  • 8:39 - 8:41
    ซึ่งตัดต่อยีนได้ 200 ล้านคู่เบสต่อปี
  • 8:41 - 8:43
    นี่ก็เหมือนตอนที่เราเปลี่ยน
  • 8:43 - 8:46
    จากวิทยุทรานซิสเตอร์ประดิษฐ์ด้วยมือ
  • 8:46 - 8:47
    ไปสู่ชิพเพนเทียม
  • 8:47 - 8:50
    นวัตกรรมนี้จะเป็นเพนเทียมของ
    วงการวิศวกรรมชีวภาพ
  • 8:50 - 8:52
    ผลักดันวิศวกรรมชีวภาพไปสู่มือของ
  • 8:52 - 8:54
    นักศึกษาในหอพักและบริษัทเปิดใหม่
  • 8:54 - 8:57
    สิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งในวงการซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
  • 8:57 - 8:58
    และวิศวกรรมชีวภาพ
  • 8:58 - 9:01
    นี่คือวิธีคิดเกี่ยวกับนวัตกรม
    ที่ใหม่เอี่ยม
  • 9:01 - 9:04
    มันเป็นกระบวนการที่มาจากคนทั่วไป
    เป็นประชาธิปไตย
  • 9:04 - 9:06
    มันโกลาหล ควบคุมยาก
  • 9:06 - 9:09
    ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแค่แตกต่าง
  • 9:09 - 9:11
    และผมคิดว่ากฎเกณฑ์เดิมๆ ที่เรามี
  • 9:11 - 9:13
    สำหรับสถาบันต่างๆ ใช้ไม่ได้อีกแล้ว
  • 9:13 - 9:14
    และพวกเราหลายคน ณ ที่นี้
  • 9:14 - 9:17
    ก็ทำงานบนหลักการที่แตกต่างกันไป
  • 9:17 - 9:20
    หนึ่งในหลักการที่ผมชอบที่สุดคือพลังการดึง
  • 9:20 - 9:23
    นั่นคือแนวคิดการดึงทรัพยากร
  • 9:23 - 9:24
    มาจากเครือข่ายเมื่อคุณต้องการใช้
  • 9:24 - 9:26
    แทนที่จะเก็บสะสมไว้ที่ศูนย์กลาง
  • 9:26 - 9:28
    แล้วควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 9:28 - 9:31
    อย่างในกรณีของเซฟแคส
  • 9:31 - 9:32
    ผมไม่รู้อะไรเลย ตอนที่เกิดแผ่นดินไหว
  • 9:32 - 9:34
    แต่ผมสามารถหาตัวฌอน
  • 9:34 - 9:36
    ซึ่งเป็นคนจัดตั้งชุมชนนักประดิษฐ์คิดค้น
    ด้านคอมพิวเตอร์
  • 9:36 - 9:38
    และปีเตอร์ นักดัดแปลงอุปกรณ์อนาล็อก
  • 9:38 - 9:40
    ซึ่งสร้างเครื่องวัดกัมมันตรังสีเครื่องแรกให้เรา
  • 9:40 - 9:42
    และแดน ผู้สร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เมือง
    Three Miles Island
  • 9:42 - 9:45
    เป็นคนดูแลระบบหลังเกิดเหตุเตาปฏิกรณ์ที่นั่น
    ร้อนจัดจนหลอมละลาย
  • 9:45 - 9:47
    ผมไม่สามารถหาคนพวกนี้เจอได้ก่อนล่วงหน้า
  • 9:47 - 9:50
    และอาจจะดีกว่า
  • 9:50 - 9:53
    ที่ผมเจอเขาในเครือข่ายในเวลาที่เหมาะเจาะ
  • 9:53 - 9:55
    ผมลาออกจากมหาวิทยาลัยกลางคันสามครั้ง
  • 9:55 - 9:57
    ดังนั้น การเรียนรู้สำคัญกว่าการศึกษา
  • 9:57 - 9:58
    เป็นสิ่งที่ผมเชื่อสุดหัวใจ
  • 9:58 - 10:00
    สำหรับผม การศึกษาคือสิ่งที่คนอื่นทำกับคุณ
  • 10:00 - 10:03
    แต่การเรียนรู้คือสิ่งที่คุณทำกับตัวเอง
  • 10:03 - 10:07
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:07 - 10:09
    ผมรู้สึกว่า คือผมก็อคตินะ
  • 10:09 - 10:12
    ผมรู้สึกเหมือนว่า
    การศึกษาพยายามให้คุณท่องจำ
  • 10:12 - 10:15
    สารานุกรมทั้งเล่ม ก่อนจะปล่อยให้คุณออกไปเล่นข้างนอก
  • 10:15 - 10:19
    สำหรับผม ผมมีวิกิพีเดียบนมือถือนี่
  • 10:19 - 10:21
    และผมว่าเขาเชื่อโดยไม่มีเหตุผล
  • 10:21 - 10:22
    ว่าคุณจะต้องขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสักแห่ง
  • 10:22 - 10:25
    เพียงลำพัง กับดินสอ 2B แท่งหนึ่ง
  • 10:25 - 10:26
    พยายามคิดว่าจะทำอย่างไร
  • 10:26 - 10:28
    ทั้งที่จริงคุณเชื่อมโยงติดต่อกับคนอื่นตลอด
  • 10:28 - 10:30
    คุณจะมีเพื่อนอยู่เสมอ
  • 10:30 - 10:32
    และคุณสามารถเปิดวิกิพีเดียเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ
  • 10:32 - 10:36
    สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้คือ วิธีการเรียนรู้
  • 10:36 - 10:38
    ในกรณีเซฟแคส คือมือสมัครเล่นกลุ่มหนึ่ง
  • 10:38 - 10:40
    ตอนที่เราเริ่มต้นเมื่อสามปีที่แล้ว
  • 10:40 - 10:42
    ตอนนี้ผมว่า ทีมของเราอาจจะ
  • 10:42 - 10:45
    รู้ดีกว่าองค์กรใดๆ ในโลกนี้
  • 10:45 - 10:48
    ว่าการเก็บข้อมูล เผยแพร่ข้อมูล
  • 10:48 - 10:51
    และทำโครงการทางวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนนั้น ทำอย่างไร
  • 10:51 - 10:52
    เข็มทิศสำคัญกว่าแผนที่
  • 10:52 - 10:55
    ประเด็นของข้อนี้คือ ต้นทุนการเขียนแผน
  • 10:55 - 10:59
    หรือสร้างแผนที่ของอะไรสักอย่างนั้นแพงมาก
  • 10:59 - 11:02
    และมันก็ไม่ค่อยแม่นยำ
    หรือมีประโยชน์นักหรอก
  • 11:02 - 11:05
    ในกรณีเซฟแคส เรารู้ว่าเราต้องเก็บข้อมูล
  • 11:05 - 11:07
    เรารู้ว่าเราต้องการเผยแพร่ข้อมูล
  • 11:07 - 11:10
    แทนที่เราจะคิดแผนโดยละเอียดขึ้นมา
  • 11:10 - 11:13
    เราเริ่มจากบอกว่า
    ไปหาเครื่องวัดกัมมันตรังสีมาดีกว่า
  • 11:13 - 11:14
    อ่าว หาไม่ได้ ของหมด
  • 11:14 - 11:16
    งั้นมาสร้างกันเอง อ่าว มีเซนเซอร์ไม่พอ
  • 11:16 - 11:19
    นั่นล่ะ เราก็สร้างเครื่องวัดกัมมันตรังสีเคลื่อนที่
    จนสำเร็จ
  • 11:19 - 11:21
    เราขับรถไปทั่ว เราหาอาสาสมัคร
  • 11:21 - 11:23
    เรามีเงินไม่พอ งั้นระดมทุนผ่านเว็บ Kickstarter กัน
  • 11:23 - 11:25
    เราวางแผนทั้งหมดนี้ไม่ได้หรอกครับ
  • 11:25 - 11:26
    แต่เรามีเข็มทิศที่ดีมาก
  • 11:26 - 11:28
    ในที่สุดเราก็ไปถึงที่ที่เราต้องการ
  • 11:28 - 11:30
    ผมว่ามันเหมือนการพัฒนาซอฟต์แวร์
    ซึ่งมีความคล่องตัวสูง
  • 11:30 - 11:33
    แต่แนวคิดเรื่องเข็มทิศนี่สำคัญมาก
  • 11:33 - 11:35
    ผมคิดว่า ข่าวดีคือ
  • 11:35 - 11:39
    แม้โลกจะซับซ้อนสุดๆ
  • 11:39 - 11:41
    แต่สิ่งที่คุณต้องทำนั้นเรียบง่ายมาก
  • 11:41 - 11:44
    ผมว่าคุณต้องหยุดคิดว่า
  • 11:44 - 11:46
    คุณต้องวางแผนทุกอย่างล่วงหน้า
  • 11:46 - 11:47
    คุณต้องเก็บสำรองทุกอย่างไว้
  • 11:47 - 11:48
    แต่คุณต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
  • 11:48 - 11:51
    และมุ่งความสนใจ
    ไปที่การติดต่อทำความรู้จักผู้คน
  • 11:51 - 11:53
    เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
  • 11:53 - 11:55
    ตื่นตัวรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่
  • 11:55 - 11:57
    และอยู่กับปัจจุบันสุดๆ
  • 11:57 - 12:00
    ผมเลยไม่ชอบคำว่า "นักอนาคตนิยม"
  • 12:00 - 12:05
    ผมว่าเราควรเป็น "นักปัจจุบันนิยม"
  • 12:05 - 12:07
    อย่างที่เราเป็นอยู่ตอนนี้
  • 12:07 - 12:09
    ขอบคุณครับ
  • 12:09 - 12:13
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อยากสร้างนวัตกรรมหรือ? จงเป็น "นักปัจจุบันนิยม"
Speaker:
โจอิ อิโตะ (Joi Ito)
Description:

"จำยุคก่อนอินเตอร์เน็ตได้ไหมครับ" โจอิ อิโตะถาม "จำได้ไหมตอนที่คนเราเคยพยายามทำนายอนาคต" ในการพูดที่ดึงดูดความสนใจนี้ หัวหน้าห้องปฏิบัติการด้านสื่อของมหาวิทยาลัยแมสซาจูเซตต์ (MIT Media Lab) มองผ่านเรื่องการทำนายอนาคต และเล่าถึงแนวทางใหม่ของการสร้างสรรค์ในชั่วขณะปัจจุบันแทน นั่นคือเราต้องสร้างสิ่งต่างๆ ออกมาอย่างรวดเร็ว และปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอการอนุญาตหรือข้อพิสูจน์ว่าความคิดของคุณถูกต้อง แนวคิดการสร้างนวัตกรรมโดยนักปฏิบัตินี้ มีให้เห็นในโครงการล้ำสมัยอันน่าตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ เขากล่าวว่า มันเริ่มต้นจากการเปิดกว้างและตื่นตัวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ ณ ปัจจุบันขณะ อย่าเป็นนักอนาคตนิยม จงเป็นนักปัจจุบันนิยม

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:31
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for Want to innovate? Become a "now-ist"
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions