Return to Video

เรานับด้วยนิ้วมือได้มากแค่ไหน (เฉลย: มากกว่าสิบ) - เจมส์ แทนตัน (James Tanton)

  • 0:07 - 0:11
    เรานับด้วยนิ้วมือได้มากแค่ไหน
  • 0:11 - 0:13
    ดูเหมือนว่านี่จะเป็นคำถาม
    ที่มีคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว
  • 0:13 - 0:16
    อย่างไรซะ พวกเราส่วนใหญ่มีนิ้วอยู่สิบนิ้ว
  • 0:16 - 0:17
    หรือเอาให้ชัด ๆ ก็คือ
  • 0:17 - 0:19
    เรามีนิ้วแปดนิ้วและหัวแม่มืออีกสองนิ้ว
  • 0:19 - 0:23
    นั่นทำให้เรามีนิ้ว (digit)
    อยู่สิบนิ้วบนมือทั้งสองข้าง
  • 0:23 - 0:25
    ซึ่งเราใช้นับเลขได้ถึงสิบ
  • 0:25 - 0:29
    นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่สัญลักษณ์สิบ
    ที่เราใช้ในการนับเลขในปัจจุบัน
  • 0:29 - 0:31
    จะถูกเรียกว่า หลักนับ (digit) เช่นกัน
  • 0:31 - 0:33
    แต่นั่นไม่ใช่วิธีนับเพียงวิธีเดียว
  • 0:33 - 0:38
    ในบางแห่ง มันเป็นปกติที่เราจะนับได้
    มากที่สุดถึงสิบสองด้วยมือเพียงข้างเดียว
  • 0:38 - 0:39
    ทำอย่างไรน่ะหรือ
  • 0:39 - 0:42
    ก็แต่ละนิ้วนั้นถูกแบ่งเป็นสามส่วน
  • 0:42 - 0:47
    และเรามีตัวชี้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    ซึ่งก็คือหัวแม่มือ
  • 0:47 - 0:51
    นั่นเป็นวิธีการนับง่าย ๆ
    ที่จะนับถึงสิบสองด้วยมือเพียงข้างเดียว
  • 0:51 - 0:52
    และถ้าเราต้องการนับให้ได้มากกว่านั้น
  • 0:52 - 0:58
    เราสามารถใช้นิ้วของมืออีกข้าง
    เพื่อติดตามว่าเรานับครบสิบสองแล้วกี่ครั้ง
  • 0:58 - 1:03
    ซึ่งทำได้มากที่สุดห้าครั้ง ครั้งละสิบสอง
    นั่นคิดเป็น 60
  • 1:03 - 1:05
    ยิ่งกว่านั้น ลองใช้ส่วนที่อยู่บนมือข้างที่สอง
  • 1:05 - 1:11
    เพื่อนับสิบสองครั้ง ของแต่ละกลุ่มที่มีอยู่สิบสอง
    ซึ่งนั่นก็มากถึง 144
  • 1:11 - 1:13
    นั่นดีกว่าเดิมมากเลยทีเดียว
  • 1:13 - 1:17
    แต่เรายังนับได้มากกว่านั้น
    โดยใช้ส่วนที่ใช้นับได้บนมือแต่ละข้าง
  • 1:17 - 1:21
    ยกตัวอย่างเช่น แต่ละนิ้วมีสามส่วน
    และมีรอยพับสามแห่ง
  • 1:21 - 1:24
    ซึ่งคิดรวมกันเป็นหกสิ่งที่ใช้นับได้
  • 1:24 - 1:26
    ทีนี้ เรามีสิ่งที่ใช้นับ 24 สิ่งในแต่ละมือ
  • 1:26 - 1:29
    และด้วยการใช้มืออีกข้างนับกลุ่มของ 24
  • 1:29 - 1:32
    เราจะนับได้มากถึง 576
  • 1:32 - 1:33
    เรายังนับได้มากกว่านี้อีกไหม
  • 1:33 - 1:36
    ดูเหมือนว่าเรามาถึงจุดสิ้นสุด
    ของส่วนต่าง ๆ ของนิ้ว
  • 1:36 - 1:39
    ที่เราจะสามารถใช้นับได้อย่างแม่นยำแล้ว
  • 1:39 - 1:41
    ถ้าอย่างนั้น มาลองคิดให้ต่างออกไปจากเดิม
  • 1:41 - 1:43
    หนึ่งในการประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์
    ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา
  • 1:43 - 1:47
    คือระบบการให้กำหนดตำแหน่ง
  • 1:47 - 1:51
    ซึ่งการจัดตำแหน่งของสัญลักษณ์
    ทำให้เกิดขนาดที่แตกต่างกันของค่า
  • 1:51 - 1:53
    อย่างเช่น ตัวเลข 999
  • 1:53 - 1:56
    แม้ว่าสัญลักษณ์เดียวกันจะถูกใช้ถึงสามหน
  • 1:56 - 2:00
    แต่ละตำแหน่งบ่งบอก
    ลำดับที่แตกต่างกันของขนาด
  • 2:00 - 2:06
    ฉะนั้น เราสามารถใช้ค่าเชิงตำแหน่ง
    กับนิ้วของเราเพื่อเอาชนะสถิติเดิมของเรา
  • 2:06 - 2:08
    ลืมเรื่องส่วนของนิ้วไปสักเดี๋ยว
  • 2:08 - 2:12
    และลองมาคิดดูง่าย ๆ ว่า
    เรามีเพียงสองตัวเลือกต่อนิ้ว
  • 2:12 - 2:14
    คือขึ้นกับลง
  • 2:14 - 2:16
    นั่นไม่สามารถแทนที่ระบบเลขยกกำลังสิบได้
  • 2:16 - 2:20
    แต่มันเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับระบบการนับ
    ที่ใช้เลขยกกำลังสอง
  • 2:20 - 2:22
    หรือที่เรียกกันว่า ฐานสอง
  • 2:22 - 2:26
    ในระบบฐานสอง แต่ละตำแหน่งมีค่าเป็น
    สองเท่าของตำแหน่งที่อยู่ก่อนหน้ามัน
  • 2:26 - 2:29
    ฉะนั้นเราสามารถใช้นิ้วของเรากำหนดค่าหนึ่ง
  • 2:29 - 2:30
    สอง
  • 2:30 - 2:31
    สี่
  • 2:31 - 2:32
    แปด
  • 2:32 - 2:34
    ไปเรื่อย ๆ จนถึง 512
  • 2:34 - 2:37
    และตำแหน่งจำนวนเต็มใด ๆ ถึงขอบเขตหนึ่ง ๆ
  • 2:37 - 2:40
    สามารถถูกแสดงออกมา
    เป็นผลรวมของจำนวนเหล่านี้
  • 2:40 - 2:44
    ยกตัวอย่างเช่น เจ็ด
    คือ 4+2+1
  • 2:44 - 2:48
    ฉะนั้น เราสามารถแทนมันได้
    ด้วยสามนิ้วเหล่านี้ที่ถูกยกขึ้น
  • 2:48 - 2:56
    ในขณะที่ 250 คือ
    128+64+32+16+8+2
  • 2:56 - 2:58
    เรานับได้มากแค่ไหนล่ะตอนนี้
  • 2:58 - 3:03
    นั่นคือจำนวนที่นิ้วทั้งสิบถูกยกขึ้น
    หรือ 1,023
  • 3:03 - 3:06
    มันเป็นไปได้หรือไม่
    ที่จะนับจำนวนที่มากกว่านั้น
  • 3:06 - 3:08
    มันขึ้นอยู่กับว่าคุณคล่องขนาดไหน
  • 3:08 - 3:12
    ถ้าคุณสามารถงอนิ้วแต่ละนิ้วเพียงครึ่งหนึ่ง
    นั่นจะทำให้เราได้สามแบบ
  • 3:12 - 3:13
    ลง
  • 3:13 - 3:14
    ครึ่ง
  • 3:14 - 3:16
    และขึ้น
  • 3:16 - 3:20
    ทีนี้ เราสามารถนับโดยใช้ระบบ
    ที่พึ่งตำแหน่งทั้งสามนี้
  • 3:20 - 3:25
    ได้มากถึง 59,048
  • 3:25 - 3:29
    และถ้าคุณงอนิ้วเป็นสี่แบบ
    หรือมากกว่านั้น
  • 3:29 - 3:31
    คุณสามารถนับได้มากขึ้น
  • 3:31 - 3:36
    ขอบเขตจึงขึ้นอยู่กับคุณ
    และความยืดหยุ่นและช่างคิดของคุณ
  • 3:36 - 3:39
    แม้แต่การใช้นิ้วของเรา
    ในการนับที่มีความแตกต่างสองแบบ
  • 3:39 - 3:41
    เราก็ค่อนข้างจะสามารถใช้งานมัน
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
  • 3:41 - 3:45
    อันที่จริง คอมพิวเตอร์ของเรา
    ใช้หลักการเดียวกัน
  • 3:45 - 3:48
    แต่ละไมโครชิพ
    ประกอบด้วยสวิตซ์ไฟฟ้าเล็ก ๆ
  • 3:48 - 3:51
    ที่สามารถเปิดหรือปิดได้
  • 3:51 - 3:56
    นั่นหมายถึงระบบฐานสอง
    คือวิธีการพื้นฐานที่ใช้แสดงตัวเลข
  • 3:56 - 4:00
    และเช่นเดียวกับที่เราสามารถใช้ระบบนี้
    ในการนับด้วยนิ้วของเราได้มากกว่า 1,000
  • 4:00 - 4:03
    คอมพิวเตอร์สามารถดำเนินการสิ่งต่าง ๆ
    ได้มากมายหลายพันล้านอย่าง
  • 4:03 - 4:07
    ด้วยการนับจาก 1 หรือ 0
Title:
เรานับด้วยนิ้วมือได้มากแค่ไหน (เฉลย: มากกว่าสิบ) - เจมส์ แทนตัน (James Tanton)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/how-high-can-you-count-on-your-fingers-spoiler-much-higher-than-10-james-tanton

เรานับด้วยนิ้วมือได้มากแค่ไหน ดูเหมือนว่านี่จะเป็นคำถามที่มีคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว อย่างไรซะ พวกเราส่วนใหญ่ก็มีนิ้วอยู่สิบนิ้ว -- หรือเอาให้ชัด ๆ ก็คือ เรามีนิ้วแปดนิ้วและหัวแม่มืออีกสองนิ้ว นั่นทำให้เรามีนิ้วอยู่สิบนิ้วที่มือทั้งสองข้าง ซึ่งเราใช้รับเลขได้ถึงสิบ แต่นี่มันมากที่สุดที่เราจะนับได้แล้วหรือ เจมส์ แทนตัน ทำการสำรวจ

บทเรียนโดย James Tanton แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:30

Thai subtitles

Revisions