Return to Video

อย่าสงสารผู้ลี้ภัย -- จงเชื่อในพวกเขา

  • 0:01 - 0:03
    ฉันยังจำได้ถึงครั้งแรกที่ฉันรู้ว่า
  • 0:03 - 0:05
    ฉันกำลังจะมาพูดที่ TED
  • 0:05 - 0:07
    ฉันวิ่งข้ามโถงไปยังห้องเรียนของฉัน
  • 0:07 - 0:08
    เพื่อบอกนักเรียนของฉันว่า
  • 0:09 - 0:10
    พวกเธอเชื่อไหมล่ะ
  • 0:10 - 0:12
    ว่าฉันได้รับเชิญให้ไปพูดที่ TED
  • 0:12 - 0:14
    ปฏิกริยาของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ฉันคิดไว้เลย
  • 0:14 - 0:15
    ทั้งห้องเงียบกริบ
  • 0:17 - 0:20
    "TED Talk? หมายถึงที่โค้ชให้พวกเราดู
    เกี่ยวกับความเพียรพยายาม
  • 0:20 - 0:24
    หรือที่เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ที่ทำสิ่ง
    เจ๋งๆ กับหุ่นยนต์ใช่รึเปล่า?"
  • 0:24 - 0:25
    มูฮัมหมัดถาม
  • 0:25 - 0:26
    "ใช่ แบบนั้นแหละ"
  • 0:27 - 0:30
    "แต่โค้ช คนพวกนั้นสำคัญและฉลาดจริงๆ"
  • 0:30 - 0:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:32 - 0:34
    "ฉันรู้"
  • 0:35 - 0:39
    "แต่โค้ช ทำไมโค้ชถึงจะไปพูดล่ะ
    โค้ชเกลียดการพูดในที่สาธารณะไม่ใช่หรือ?"
  • 0:39 - 0:41
    "ใช่" ฉันยอมรับ
  • 0:42 - 0:46
    "แต่มันสำคัญที่จะต้องพูดเกี่ยวกับพวกเรา
    เรื่องการเดินทางของพวกนาย
  • 0:46 - 0:47
    และการเดินทางของฉัน
  • 0:47 - 0:48
    ทุกคนจำเป็นต้องรู้
  • 0:49 - 0:52
    นักเรียนในโรงเรียนกลุ่มผู้ลี้ภัย
    ที่ฉันก่อตั้ง
  • 0:52 - 0:54
    ได้ส่งเสียงให้กำลังใจ
  • 0:54 - 0:56
    "เยี่ยมเลย มันต้องออกมาดีแน่!"
  • 0:56 - 0:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:59 - 1:03
    มีคนกว่า 65.3 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ออกจาก
  • 1:03 - 1:05
    บ้านเกิดของพวกเขาเพราะสงครามหรือการข่มเหง
  • 1:06 - 1:09
    จำนวนที่เยอะที่สุดคือ 11 ล้านคน
    ซึางย้ายมาจากซีเรีย
  • 1:10 - 1:14
    33,952 คนต้องหนีออกจากบ้านเกิดของตนทุกวัน
  • 1:17 - 1:20
    คนส่วนมากยังคงอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัย
  • 1:20 - 1:24
    ซึ่งสภาพที่ค่ายนั้นไม่สามารถให้นิยามได้ว่า
    มีมนุษยธรรมใดๆ เลย
  • 1:25 - 1:29
    พวกเรากำลังเข้าร่วมในการทำลายคนเหล่านี้
  • 1:33 - 1:35
    พวกเราไม่เคยเจอตัวเลขผู้ลี้ภัย
    สูงเท่านี้มาก่อน
  • 1:35 - 1:38
    นี่คือจำนวนผู้ลี้ภัยที่มากที่สุดนับตั้งแต่
    สงครามโลกครั้งที่ 2
  • 1:38 - 1:41
    ตอนนี้ ฉันจะบอกคุณว่าทำไมประเด็นนี้ถึง
    สำคัญสำหรับฉัน
  • 1:42 - 1:45
    ฉันเป็นคนอาหรับ ฉันเป็นผู้อพยพ
  • 1:46 - 1:47
    ฉันเป็นมุสลิม
  • 1:48 - 1:52
    ฉันใช้เวลา 12 ปีที่ผ่านมาทำงานกับผู้ลี้ภัย
  • 1:52 - 1:53
    โอ้ และฉันยังเป็นเกย์ด้วย
  • 1:53 - 1:55
    นี่ทำให้ฉันเป็นที่ชื่นชอบมากในทุกวันนี้
  • 1:55 - 1:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:57 - 1:59
    แต่ฉันเป็นลูกสาวของผู้ลี้ภัย
  • 2:00 - 2:05
    คุณยายของฉันออกจากซีเรียในปี 1964 ในช่วง
    ที่ซีเรียตกอยู่ภายใต้ระบอบอัสซาดครั้งแรก
  • 2:05 - 2:08
    เธอตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนตอนที่เธอเก็บของ
  • 2:08 - 2:11
    พร้อมกับลูกทั้ง 5 คนของเธอ
    เพื่อไปยังจอร์แดน
  • 2:11 - 2:14
    โดยไม่รู้ว่าอะไรรออยู่ข้างหน้าสำหรับเธอ
    และครอบครัวของเธอ
  • 2:14 - 2:18
    คุณตาของฉันตัดสินใจจะอยู่ต่อ ท่านไม่เชื่อ
    ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายนัก
  • 2:19 - 2:22
    หนึ่งเดือนต่อมา ท่านย้ายตามยายมา
    หลังจากน้องชายของท่านถูกลงโทษอย่างทรมาน
  • 2:22 - 2:24
    และโรงงานของท่านถูกยึดโดยรัฐบาล
  • 2:25 - 2:27
    พวกท่านตัดสินใจสร้างชีวิตที่นี่โดยเริ่มจาก
    ความยากลำบาก
  • 2:27 - 2:31
    จนกลายเป็นพลเมืองจอร์แดนที่ร่ำรวย
    และเป็นอิสระ
  • 2:32 - 2:34
    ฉันเกิดที่จอร์แดนในอีก 11 ปีต่อมา
  • 2:35 - 2:39
    มันสำคัญมากสำหรับคุณยายของฉันที่พวกเราจะ
    รู้ความเป็นมา
  • 2:39 - 2:40
    และการเดินทางของพวกเรา
  • 2:41 - 2:44
    ฉันอายุ 8 ขวบตอนท่านพาฉันไปเยี่ยมค่าย
    ผู้ลี้ภัยครั้งแรก
  • 2:45 - 2:46
    ฉันไม่เข้าใจว่าทำไม
  • 2:47 - 2:49
    ฉันไม่รู้ว่าทำไมมันถึงสำคัญกับท่านนักหนา
  • 2:49 - 2:50
    ในการที่เราจะไปที่นั่น
  • 2:50 - 2:53
    ฉันจำได้ว่าตัวเองเดินเข้าไปในค่าย
    จับมือท่านไว้
  • 2:53 - 2:55
    และท่านบอกว่า "ไปเล่นกับเด็กๆ สิ"
  • 2:55 - 2:58
    ระหว่างที่เธอเยี่ยมผู้หญิงในค่าย
  • 2:59 - 3:00
    ฉันไม่ต้องการทำแบบนั้น
  • 3:00 - 3:01
    เด็กพวกนั้นไม่เหมือนกับฉัน
  • 3:01 - 3:03
    พวกเขาจน อาศัยอยู่ในค่าย
  • 3:03 - 3:04
    ฉันปฏิเสธ
  • 3:04 - 3:07
    เธอคุกเข่าลงข้างฉัน
    และพูดด้วยเสียงจริงจังว่า "ไป"
  • 3:07 - 3:10
    และอย่ากลับมาจนกว่าหลานจะเล่นกับเด็กๆ แล้ว
  • 3:10 - 3:12
    อย่าแม้แต่จะคิดว่าเด็กพวกนั้นต่ำต้อยกว่าหลาน
  • 3:12 - 3:14
    หรือหลานฉลาดจนไม่ต้องเรียนรู้อะไรจากพวกเขา"
  • 3:15 - 3:16
    ฉันฝืนใจเดินเข้าไป
  • 3:16 - 3:18
    ฉันไม่อยากจะทำให้คุณยายผิดหวัง
  • 3:19 - 3:21
    2-3 ชั่วโมงต่อมา ฉันเดินกลับมา
  • 3:21 - 3:26
    ใช้เวลาเล่นซอกเกอร์กับเด็กๆ ในค่าย
  • 3:26 - 3:27
    พวกเราเดินออกจากค่าย
  • 3:27 - 3:30
    และฉันตื่นเต้นมากทีจะเล่าให้
    เธอฟังว่าฉันมีช่วงเวลาที่ดีแค่ไหน
  • 3:30 - 3:32
    และเด็กพวกนั้นมหัศจรรย์มากแค่ไหน
  • 3:33 - 3:36
    "ฮะรอม" ฉันพูดเป็นภาษาอารบิก
    "พวกเขาช่างน่าสงสาร"
  • 3:37 - 3:40
    "พวกเราต่างฮะรอม(บาป)" เธอใช้คำเดิมแต่มี
    ความหมายที่แตกต่างออกไป
  • 3:40 - 3:41
    แปลว่าพวกเราต่างมีความผิดบาปกันทั้งสิ้น
  • 3:42 - 3:44
    "อย่าสงสารพวกเขา จงเชื่อในพวกเขา"
  • 3:46 - 3:50
    ฉันไม่เคยคิดแบบนั้น
    จนกระทั่งฉันออกจากบ้านเกิดมายังสหรัฐฯ
  • 3:50 - 3:52
    ฉันถึงเพิ่งตระหนักถึงผลกระทบในคำพูดนั้น
  • 3:53 - 3:57
    หลังจากเรียนจบ ฉันสมัครและได้รับสถานะ
    ลี้ภัยทางการเมือง
  • 3:57 - 3:59
    เพราะฉันเป็นสมาชิกของกลุ่มแบบนี้
  • 4:00 - 4:01
    คนบางคนอาจจะไม่ตระหนักถึง
  • 4:01 - 4:05
    แต่คุณสามารถโดนประหารชีวิตได้ในบางประเทศ
    เพราะคุณเป็นเกย์
  • 4:07 - 4:09
    ฉันต้องยอมละทิ้งสถานะพลเมืองจอร์แดน
  • 4:09 - 4:11
    นั่นเป็นการตัดสินใจที่ยากที่สุดเท่าที่ฉัน
    เคยทำมา
  • 4:11 - 4:13
    แต่ฉันไม่มีทางเลือกอื่น
  • 4:17 - 4:19
    ประเด็นคือ
  • 4:20 - 4:23
    เมื่อคุณพบว่าตนเองต้องเลือก
    ระหว่างบ้านกับการมีชีวิตรอด
  • 4:23 - 4:25
    คำถามที่ว่า "คุณมาจากไหน?"
    เริ่มซับซ้อนขึ้น
  • 4:27 - 4:30
    ผู้หญิงซีเรียที่ฉันเพิ่งพบ
    ในค่ายผู้ลี้ภัยที่กรีซ
  • 4:30 - 4:31
    อธิบายเรื่องนี้ได้ชัดเจน
  • 4:31 - 4:35
    เมื่อเธอนึกถึงวินาทีที่เธอตระหนักว่าเธอ
    ต้องหนีออกจากอเลปโป
  • 4:35 - 4:38
    "ฉันมองออกไปนอกหน้าต่าง
    และมันไม่เหลืออะไรเลย
  • 4:38 - 4:39
    มีแต่เศษหิน ปูน เต็มไปหมด
  • 4:40 - 4:43
    ไม่มีร้านค้า ถนน หรือโรงเรียน
    ทุกอย่างหายไปจนหมดสิ้น
  • 4:44 - 4:46
    ฉันอยู่ในอพาร์ตเม้นท์ของฉันหลายเดือน
  • 4:46 - 4:49
    ฟังเสียงระเบิดที่ถูกทิ้งลงมา
    และมองดูผู้คนล้มตาย
  • 4:50 - 4:52
    แต่ฉันมักจะคิดว่ามันจะต้องดีขึ้น
  • 4:53 - 4:55
    ไม่มีใครบังคับให้ฉันออกจากที่นี่
  • 4:55 - 4:57
    ไม่มีใครพรากบ้านไปจากฉันได้
  • 4:58 - 5:00
    และฉันไม่รู้เลยว่าทำไมเมื่อฉันมองออกไป
    ในตอนเช้าของวันนั้น
  • 5:00 - 5:04
    ฉันถึงตระหนักว่าหากฉันไม่ออกจากที่นี่
    ลูกทั้งสามคนของฉันต้องตาย
  • 5:04 - 5:06
    ดังนั้น พวกเราจึงหนีออกมา
  • 5:06 - 5:09
    พวกเราหนีมาเพราะว่าฉันพวกเราต้องทำ
    ไม่ใช่เพราะพวกเราอยากทำ
  • 5:09 - 5:10
    มันไม่มีทางเลือกอื่น" เธอพูด
  • 5:12 - 5:14
    มันยากที่จะเชื่อว่าที่ไหนเป็นที่ของคุณ
  • 5:14 - 5:16
    เมื่อคุณไม่มีบ้านอีกต่อไป
  • 5:16 - 5:20
    เมื่อประเทศของคุณผลักไสคุณด้วยความกลัว
    หรือการข่มเหงรังแก
  • 5:20 - 5:24
    หรือเมืองที่คุณเติบโตถูกทำลายจนหมดสิ้น
  • 5:25 - 5:27
    ฉันไม่รู้สึกว่าฉันมีบ้านอีกต่อไป
  • 5:27 - 5:29
    ฉันไม่ได้เป็นพลเมืองจอร์แดนอีกต่อไป
  • 5:29 - 5:31
    แต่ฉันก็ไม่ได้เป็นพลเมืองอเมริกันเช่นกัน
  • 5:32 - 5:33
    ฉันรู้สึกถึงความโดดเดี่ยวเดียวดาย
  • 5:33 - 5:36
    ซึ่งยังคงยากที่จะหาคำใดมาบรรยายในวันนี้
  • 5:37 - 5:40
    หลังจากเรียนจบ ฉันต้องการที่จะหาที่ๆ
    ฉันจะเรียกว่าบ้านได้
  • 5:41 - 5:42
    ฉันเดินตะลอนยังรัฐต่างๆ
  • 5:42 - 5:45
    และสุดท้ายก็จบลงที่นอร์ธแคโรไลนา
  • 5:45 - 5:47
    คนใจดีที่สงสารฉัน
  • 5:47 - 5:49
    เสนอจ่ายค่าเช่า
  • 5:49 - 5:53
    ซื้ออาหารหรือสูทให้
    สำหรับการสัมภาษณ์งานใหม่
  • 5:53 - 5:56
    มันกลับทำให้ฉันรู้สึกโดดเดี่ยว
    และไร้ความสามารถมากกว่าเดิม
  • 5:56 - 5:58
    จนกระทั่งฉันเจอคุณซาร่า
  • 5:58 - 6:02
    คริสตศาสนิกชนชาวใต้ที่ให้งานฉัน
  • 6:02 - 6:04
    และนั่นทำให้ฉันเริ่มเชื่อในตัวเอง
  • 6:05 - 6:08
    คุณซาร่าเป็นเจ้าของร้านอาหารในภูเขา
    ของนอร์ธแคโรไลนา
  • 6:10 - 6:12
    ฉันคิดว่า เป็นเพราะการอบรมสั่งสอน
    ที่เป็นพิเศษ
  • 6:12 - 6:14
    และการศึกษาจากเซเว่นซิสเตอร์
  • 6:14 - 6:16
    จึงทำให้เธอจ้างฉันให้บริหารร้านอาหาร
  • 6:16 - 6:17
    ฉันคิดผิด
  • 6:18 - 6:20
    ฉันเริ่มต้นจากการล้างจาน
  • 6:20 - 6:22
    ล้างห้องน้ำและย่างเนื้อ
  • 6:22 - 6:25
    ฉันอ่อนน้อมถ่อมตน
    ทำให้ฉันเห็นคุณค่าของการขยันทำงาน
  • 6:25 - 6:28
    แต่ที่สำคัญที่สุด ฉันรู้สึกมีคุณค่า
    และเป็นที่ยอมรับ
  • 6:29 - 6:31
    ฉันฉลองคริสมาสต์กับครอบครัวของเธอ
  • 6:31 - 6:33
    และเธอพยายามที่จะถือศีลอดกับฉัน
  • 6:34 - 6:37
    ฉันจำได้ว่าตนรู้สึกกังวลมากในการเปิดเผย
    เพศสภาพให้เธอรู้
  • 6:37 - 6:39
    อย่างที่รู้ เธอเป็นคริสตศาสนิกชนชาวใต้
  • 6:39 - 6:40
    ฉันนั่งอยู่บนโซฟาข้างเธอ
  • 6:40 - 6:43
    และพูดว่า "คุณซาร่า
    คุณรู้ใช่ไหมว่าฉันเป็นเกย์"
  • 6:43 - 6:45
    คำตอบของเธอคือสิ่งที่ฉันจะไม่มีวันลืม
  • 6:46 - 6:48
    "ไม่เป็นไรเลย ที่รัก
    แค่อย่ามั่วไปทั่วก็พอ"
  • 6:48 - 6:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:51 - 6:54
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:54 - 7:00
    ในที่สุดฉันย้ายไปที่แอตแลนตา
    ยังคงพยายามหาบ้านของฉัน
  • 7:00 - 7:03
    การเดินทางของฉันเริ่มเปลียนทิศทาง
    ในช่วง 3 ปีต่อมา
  • 7:03 - 7:06
    หลังจากที่ฉันพบกลุ่มเด็กๆ ผู้ลี้ภัย
    เล่นซอกเกอร์กันข้างนอก
  • 7:06 - 7:09
    ฉันเลี้ยวผิดทางไปยังอพาร์ตเม้นท์
  • 7:09 - 7:11
    และเห็นเด็กเหล่านั้นเล่นซอกเกอร์กัน
    อยู่ข้างนอก
  • 7:11 - 7:14
    ใช้เท้าเปลือยเปล่าเตะลูกซอกเกอร์
    ที่ขาดรุ่งริ่ง
  • 7:14 - 7:16
    และใช้หินตั้งไว้เป็นโกล
  • 7:16 - 7:17
    ฉันมองพวกเขาเป็นเวลาเกือบชั่วโมง
  • 7:17 - 7:19
    และฉันก็ยิ้มออกมา
  • 7:19 - 7:21
    เด็กพวกนี้ทำให้ฉันระลึกถึงบ้าน
  • 7:21 - 7:24
    พวกเขาทำให้ฉันนึกถึงตอนที่ฉันเล่นซอกเกอร์
  • 7:24 - 7:26
    บนถนนในจอร์แดนกับพี่ชายและลูกพี่ลูกน้อง
  • 7:28 - 7:30
    ฉันตัดสินใจเข้าไปเล่นกับพวกเขาในที่สุด
  • 7:30 - 7:33
    พวกเขาประหลาดใจเล็กน้อยกับ
    การที่จะให้ฉันร่วมเล่นด้วย
  • 7:33 - 7:35
    เพราะพวกเขาคิดว่าผู้หญิงเล่นไม่เป็น
  • 7:35 - 7:37
    แต่แน่นอนว่าฉันเล่นเป็น
  • 7:37 - 7:38
    ฉันถามว่าพวกเขาเคยเล่นเป็นทีมไหม
  • 7:38 - 7:41
    พวกเขาตอบว่าไม่เคย แต่อยากจะลองเล่นดู
  • 7:42 - 7:45
    ฉันชนะพวกเขา และพวกเราก็เริ่มตั้งทีมแรกกัน
  • 7:46 - 7:51
    กลุ่มเด็กเหล่านี้มอบช่วงเวลาเกี่ยวกับ
    ผู้ลี้ภัย ความยากจน
  • 7:52 - 7:53
    และมนุษยธรรมให้ฉัน
  • 7:54 - 7:58
    3 พี่น้องจากอัฟกานิสถาน รูฮัลลาห์
    นูรัลลาห์ และซาบิลลาห์
  • 7:58 - 8:00
    เล่นเป็นตัวหลัก
  • 8:00 - 8:04
    ฉันไปสายในวันหนึ่งและพบว่า
    สนามนั้นว่างเปล่า
  • 8:04 - 8:05
    ฉันกังวลมาก
  • 8:05 - 8:07
    ทีมของฉันรักการฝึกซ้อม
  • 8:07 - 8:09
    มันผิดปกติสำหรับพวกเขา
    ที่จะพลาดการฝึก
  • 8:09 - 8:13
    ฉันออกจากรถ และเด็ก 2 คนก็วิ่งออกมา
    จากด้านหลังกองขยะ
  • 8:13 - 8:14
    โบกมือให้ฉันอย่างลนลาน
  • 8:15 - 8:16
    "โค้ช รูห์ถูกตี
  • 8:16 - 8:19
    มีแต่เลือดเต็มไปหมด"
  • 8:19 - 8:21
    "เธอหมายความอย่างไรที่บอกว่าเขาถูกตี?"
  • 8:21 - 8:23
    "พวกเด็กนิสัยไม่ดีมาและตีเขา โค้ช
  • 8:23 - 8:26
    "ทุกคนหนีไปหมด พวกเขากลัว"
  • 8:26 - 8:28
    พวกเราโดดขึ้นรถและขับไปยัง
    อพาร์ตเมนท์ของรูห์
  • 8:28 - 8:31
    ฉันเคาะประตู และนูห์เป็นคนเปิด
  • 8:32 - 8:34
    "รูห์อยู่ไหน ฉันต้องคุยกับเขา
    ดูว่าเขาโอเคไหม"
  • 8:34 - 8:37
    "เขาอยู่ในห้อง โค้ช เขาไม่ยอมออกมา"
  • 8:37 - 8:38
    ฉันเคาะประตู
  • 8:39 - 8:41
    "รูห์ ออกมาเถอะ เราต้องคุยกันนะ
  • 8:41 - 8:44
    ฉันต้องดูว่าเธอโอเคไหม หรือต้องไปโรงพยาบาล"
  • 8:44 - 8:45
    เขาออกมา
  • 8:45 - 8:47
    มีรอยแผลลึกบนศีรษะ ปากฉีก
  • 8:48 - 8:50
    และร่างของเขาสั่นไปหมด
  • 8:51 - 8:52
    ฉันมองเขา
  • 8:52 - 8:54
    และฉันขอให้เด็กๆ เรียกแม่ของพวกเขา
  • 8:54 - 8:57
    เพราะว่าฉันต้องการไปโรงพยาบาลกับพวกเขา
  • 8:57 - 8:58
    เด็กๆ เรียกแม่
  • 8:59 - 9:00
    เธอเดินออกมา
  • 9:00 - 9:04
    ฉันหันไปหาเธอและเธอเริ่มกรีดร้องในภาษาฟาร์ซี
  • 9:05 - 9:07
    เด็กชายทิ้งตัวลงกับพื้นและหัวเราะ
  • 9:07 - 9:08
    ฉันสับสนมาก
  • 9:08 - 9:10
    เพราะว่ามันไม่มีอะไรน่าขำเลย
  • 9:10 - 9:12
    เด็กๆ อธิบายว่าแม่ของพวกเขาพูดว่า
  • 9:12 - 9:15
    "ลูกบอกแม่ว่าโค้ชของลูกเป็นผู้หญิงมุสลิม"
  • 9:15 - 9:18
    จากด้านหลัง ฉันไม่มีอะไรเหมือนเธอเลย
  • 9:18 - 9:21
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:21 - 9:24
    "ฉันเป็นมุสลิม" ฉันพูด หันไปหาเธอ
  • 9:24 - 9:25
    (ภาษาอิสลาม)
  • 9:26 - 9:28
    อ้างถึงการประกาศศรัทธาของชาวมุสลิม
  • 9:29 - 9:30
    ความสับสน
  • 9:31 - 9:33
    และบางทีก็อาจเป็นการเรียกความมั่นใจด้วย
  • 9:33 - 9:34
    เธอตระหนักว่า ใช่
  • 9:34 - 9:38
    ฉัน ผู้มีท่าทีแบบอเมริกัน ใส่ขาสั้น
    ไม่คลุมหน้า
  • 9:38 - 9:39
    เป็นชาวมุสลิมจริงๆ
  • 9:40 - 9:42
    ครอบครัวของพวกเขาหนีจากตาลีบัน
  • 9:44 - 9:46
    คนนับร้อยในหมู่บ้านถูกสังหาร
  • 9:47 - 9:49
    พ่อของพวกเขาถูกตาลีบันจับตัวไป
  • 9:49 - 9:53
    และกลับมาในอีก 2-3 เดือนในสภาพที่ไม่
    เหมือนเดิมเลย
  • 9:55 - 9:57
    ครอบครัวนี้หนีไปยังปากีสถาน
  • 9:57 - 10:01
    เด็กชายที่โตสุด 2 คนซึ่งมีอายุ 8 และ 10 ปี
    ในตอนนั้น
  • 10:01 - 10:04
    ต้องทอพรม 10 ชั่วโมงต่อวัน
    เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
  • 10:05 - 10:09
    พวกเขาตื่นเต้นเมื่อรู้ว่า
    พวกเขาได้รับการอนุมัติ
  • 10:09 - 10:11
    ให้ตั้งรกรากใหม่ที่สหรัฐฯ ได้
  • 10:11 - 10:14
    พวกเขาเป็นหนึ่งในคน 0.1%
    ที่ได้โอกาสเช่นนี้
  • 10:14 - 10:16
    พวกเขาได้รางวัลชิ้นใหญ่
  • 10:17 - 10:18
    เรื่องราวนี้ไม่น่าแปลกเท่าไร
  • 10:19 - 10:23
    ทุกครอบครัวผู้ลี้ภัยที่ฉันทำงานด้วยมัก
    มีเรื่องเล่าแบบเดียวกันนี้
  • 10:23 - 10:24
    ฉันทำงานกับเด็ก
  • 10:25 - 10:29
    ที่เห็นแม่ของเขาถูกข่มขืน พ่อถูกตัดนิ้ว
  • 10:29 - 10:32
    เด็กคนหนึ่งเห็นกระสุนเจาะเข้าที่ศรีษะยาย
  • 10:32 - 10:36
    เพราะเธอไม่ยอมให้พวกกบฎเอาตัวเขาไปเป็นทหาร
  • 10:38 - 10:39
    การเดินทางของพวกเขาตามหลอกหลอนพวกเขา
  • 10:40 - 10:46
    แต่สิ่งที่ฉันเห็นทุกวันคือความหวัง
    การปรับตัว ความมุ่งมั่น
  • 10:46 - 10:47
    ความรักในชีวิต
  • 10:47 - 10:50
    และความซาบซึ้งในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
  • 10:52 - 10:54
    ฉันอยู่ที่อพาร์ตเมนท์ของเด็กๆ หนึ่งคืน
  • 10:54 - 10:59
    เมื่อแม่ของพวกเขากลับมาจากการทำความสะอาด
    ห้องในโรงแรม 18 ห้องภายในหนึ่งวัน
  • 10:59 - 11:01
    เธอนั่งลง และนูห์นวดเท้าให้เธอ
  • 11:02 - 11:05
    บอกว่าเขาจะดูแลเธอเมื่อเขาเรียนจบ
  • 11:05 - 11:06
    เธอยิ้มอย่างเหนื่อยอ่อน
  • 11:06 - 11:10
    "พระเจ้านั้นประเสริฐ ชีวิตนั้นดี
    พวกเราโชคดีที่อยู่ที่นี่"
  • 11:11 - 11:16
    สองปีให้หลังมานี้ พวกเราเห็นการเพิ่มขึ้น
    ของความรู้สึกต่อต้านผู้ลี้ภัย
  • 11:16 - 11:17
    แพร่กระจายทั่วโลก
  • 11:19 - 11:22
    ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเราไม่ทำ
    อะไรเพื่อป้องกันมัน
  • 11:22 - 11:24
    และไม่มีอะไรหยุดมันได้
  • 11:24 - 11:27
    ประเด็นไม่ควรอยู่ที่การกันไม่ให้ผู้ลี้ภัย
    เข้ามายังประเทศของเรา
  • 11:27 - 11:30
    แต่อยู่ที่การไม่บังคับให้พวกเขาต้องออกนอก
    ประเทศของตนเอง
  • 11:30 - 11:35
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:47 - 11:48
    ขอโทษค่ะ
  • 11:48 - 11:52
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:58 - 12:00
    ต้องทรมานมากเท่าไหร่
  • 12:00 - 12:03
    พวกเราต้องทนทุกข์ทรมารอีกแค่ไหน
  • 12:03 - 12:05
    ต้องมีคนอีกกี่คนที่โดนบีบบังคับ
    ให้ละทิ้งบ้านเกิดของตนเอง
  • 12:05 - 12:07
    พวกเราถึงจะพูดได้ว่า "พอแล้ว"?
  • 12:07 - 12:09
    ร้อยล้านคนหรอ?
  • 12:09 - 12:12
    พวกเราไม่ได้แค่สร้างความอับอาย ตำหนิ
    และปฏิเสธพวกเขา
  • 12:13 - 12:16
    สำหรับเรื่องไร้สาระที่พวกเขาทำอะไรไม่ได้
  • 12:17 - 12:18
    พวกเรายังทรมานเขา
  • 12:18 - 12:21
    ทั้งที่พวกเราควรจะต้อนรับเขา
    สู่ประเทศของเรา
  • 12:23 - 12:27
    เรากลับปลดเปลื้องศักดิ์ศรีของเขา
    ปฏิบัติราวกับพวกเขาเป็นอาชญากร
  • 12:27 - 12:29
    มีนักเรียนมาขอพบฉันที่ออฟฟิส
    เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • 12:29 - 12:31
    เธอมาจากอิรัก
  • 12:31 - 12:33
    เธอร้องไห้หนักมาก
  • 12:34 - 12:35
    "ทำไมพวกเขาเกลียดเรา?"
  • 12:35 - 12:36
    "ใครเกลียดคุณ?"
  • 12:36 - 12:39
    "ทุกคน ทุกคนเกลียดเราเพราะเราเป็นผู้ลี้ภัย
  • 12:39 - 12:41
    เพราะพวกเราเป็นมุสลิม"
  • 12:42 - 12:44
    ในอดีต ฉันสามารถปลอบนักเรียนได้ว่า
  • 12:44 - 12:47
    คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ได้เกลียดผู้ลี้ภัย
  • 12:47 - 12:48
    แต่ตอนนี้ ฉันทำไม่ได้
  • 12:49 - 12:52
    ฉันอธิบายไม่ได้ว่าทำไมบางคนพยายามจะดึง
    ผ้าคลุมหน้าแม่ของเธอ
  • 12:52 - 12:54
    ตอนที่พวกเขาซื้อของกันอยู่
  • 12:54 - 12:57
    หรือทำไมผู้เล่นอีกทีมเรียกเธอว่า
    ผู้ก่อการร้าย
  • 12:57 - 13:00
    และบอกให้เธอกลับไปยังที่ๆ เธอจากมา
  • 13:00 - 13:02
    ฉันไม่สามารถรับประกันได้ว่า
  • 13:02 - 13:04
    ว่าการที่พ่อของเธอยอมเสียสละสูงสุด
  • 13:04 - 13:07
    ด้วยการเป็นล่ามให้กองทัพสหรัฐฯ นั้น
  • 13:07 - 13:10
    จะทำให้ผู้คนนับถือเธอเหมือนกับ
    พลเมืองอเมริกันทั่วไป
  • 13:11 - 13:14
    พวกเราเปิดรับผู้ลี้ภัยจากทั่วโลกน้อยมาก
  • 13:15 - 13:18
    พวกเราให้จัดที่อยู่ให้พวกเขาน้อยกว่า 0.1%
  • 13:19 - 13:22
    0.1% ที่ว่าเราเห็นว่ามันสำคัญต่อเรา
    มากกว่าพวกเขา
  • 13:23 - 13:27
    นี่ทำให้ฉันตะลึงจนพูดไม่ออก
    ว่าทำไมผู้ลี้ภัยถูกมองว่าเป็นสิ่งสกปรก
  • 13:27 - 13:28
    หรือเป็นสิ่งที่อับอาย
  • 13:28 - 13:30
    พวกเขาไม่มีอะไรที่ควรจะละอายเลย
  • 13:34 - 13:37
    พวกเราเฝ้ามองการเจริญเติบโต
    ในทุกด้านของชีวิตพวกเรา
  • 13:37 - 13:38
    ยกเว้นการเติบโตด้านมนุษยธรรม
  • 13:39 - 13:43
    มี 65.3 ล้านคนโดนบีบบังคับ
    ให้ออกจากบ้านเกิด
  • 13:43 - 13:44
    เพราะว่าสงคราม
  • 13:45 - 13:47
    นี่เป็นจำนวนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์
  • 13:47 - 13:49
    พวกเราต่างหากที่ควรจะต้องละอายในตนเอง
  • 13:49 - 13:50
    ขอบคุณค่ะ
  • 13:50 - 13:54
    (เสียงปรบมือ)
Title:
อย่าสงสารผู้ลี้ภัย -- จงเชื่อในพวกเขา
Speaker:
ลูมา มูเฟลห์
Description:

"พวกเราเห็นการพัฒนาในทุกด้านของชีวิต ยกเว้นด้านมนุษยธรรม" ลูมา มูเฟลห์กล่าว เธอเป็นผู้อพยพชาวจอร์แดนและบรรพบุรุษของเธอเป็นมุสลิมชาวซีเรีย เธอเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อผู้ลี้ภัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มูเฟลห์แบ่งปันเรื่องราวแห่งความหวัง การปรับตัว และอธิบายว่าเธอได้ช่วยเหลือเด็กๆที่ลี้ภัยมาจากประเทศที่เจอสงครามพรากบ้านเกิดเมืองนอนในการสร้างที่ที่เรียกว่าบ้านหลังใหม่อย่างไร ค้นหาแรงบันดาลใจเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากเรื่องราวชีวิตของผู้ลี้ภัยได้ในการพูดที่ทรงพลังนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:13

Thai subtitles

Revisions