Return to Video

มนุษย์ได้เรียนรู้อะไรจาก ราเมือก ที่ (เกือบ) ทรงปัญญา

  • 0:01 - 0:04
    ฉันอยากแนะนำให้คุณรู้จักสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง
  • 0:04 - 0:06
    ชื่อว่า ราเมือก (Physarum polycephalum)
  • 0:08 - 0:10
    ราสายพันธุ์นี้มีปัญหาวิกฤติอัตลักษณ์
    เพราะว่าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่รา
  • 0:10 - 0:12
    เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ก่อนที่จะเริ่ม
  • 0:12 - 0:14
    มันเป็นหนึ่งในราเมือกที่มีทั้งหมด 700 ชนิด
  • 0:14 - 0:17
    ซึ่งถูกจัดให้อยู่ใน
    อาณาจักรเดียวกับพวกอะมีบา
  • 0:17 - 0:19
    เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
    ราเมือกแต่ละเซลล์
  • 0:19 - 0:21
    จะเกาะกลุ่มอยู่กับเซลล์ของราตัวอื่นๆ
  • 0:21 - 0:24
    เพื่อรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเซลล์ขนาดยักษ์
  • 0:24 - 0:26
    เพื่อทำให้การใช้ทรัพยากร
    อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด
  • 0:26 - 0:28
    ดังนั้นราเมือกกลุ่มนึงอาจจะมีเซลล์เป็นพันๆ
  • 0:28 - 0:30
    หรืออาจจะถึงหลายล้านเซลล์ได้
  • 0:30 - 0:32
    โดยที่ทุกเซลล์ใช้ผนังเซลล์ร่วมกันเพียงอันเดียว
  • 0:32 - 0:35
    ทุกๆ เซลล์ทำงานร่วมกัน
    เป็นองคาพยพเดียว
  • 0:35 - 0:37
    ตามธรรมชาติของราเมือก
  • 0:37 - 0:40
    คุณอาจพบราเมือกหากินอยู่ตามต้นไม้ในป่า
  • 0:40 - 0:43
    อยู่ตามซากพืชที่ย่อยสลาย
  • 0:43 - 0:45
    แต่คุณก็อาจจะพบราเมือก
    ในที่อื่นๆได้เช่นกัน
  • 0:45 - 0:46
    เข่น ในห้องปฏิบัติการวิจัย
  • 0:46 - 0:51
    ในห้องเรียน หรือแม้แต่
    ในสตูดิโอของศิลปิน
  • 0:51 - 0:54
    ฉันได้มาเจอกับเจ้าราเมือกโดยบังเอิญ
    เมื่อประมาณห้าปีก่อน
  • 0:54 - 0:55
    เพื่อนนักจุลชีววิทยาคนหนึ่ง
  • 0:55 - 0:58
    ได้มอบจานเพาะเชื้อ
    ที่มีคราบเล็กๆ สีเหลืองอยู่ข้างในให้ฉัน
  • 0:58 - 1:01
    และบอกให้เอามันกลับไปบ้าน
    และเล่นสนุกกับมันดู
  • 1:01 - 1:03
    คำแนะนำที่ฉันได้รับก็แค่
  • 1:03 - 1:05
    มันชอบที่ที่มืดๆ และชื้นๆ
  • 1:05 - 1:09
    และอาหารที่มันชอบ คือ ข้าวโอ๊ต
  • 1:09 - 1:11
    ฉันเป็นศิลปินที่ทำงานมาหลายปี
  • 1:11 - 1:14
    ที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา
    หรือพวกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • 1:14 - 1:17
    ดังนั้น งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
    จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรสำหรับฉัน
  • 1:17 - 1:19
    ฉันเคยทำงานกับทั้งพวกพืช พวกแบคทีเรีย
  • 1:19 - 1:21
    แล้วก็หมึกกระดอง รวมถึงแมลงวันผลไม้
  • 1:21 - 1:23
    ดังนั้นฉันจึงรู้สึกกระตือรือร้น
    ที่จะนำงานชิ้นใหม่นี้กลับบ้าน
  • 1:23 - 1:25
    แล้วดูซิว่ามันจะทำอะไรได้บ้าง
  • 1:25 - 1:28
    แล้วฉันก็ได้เอาราเมือกกลับมาที่บ้านดู
  • 1:28 - 1:31
    ฉันให้อาหารชนิดต่างๆ แก่ราเมือก
  • 1:31 - 1:33
    เฝ้ามองมันสร้างเครือข่าย
  • 1:33 - 1:35
    มันสร้างการเชื่อมต่อ
    ระหว่างแหล่งอาหารที่ต่างๆ
  • 1:35 - 1:38
    เฝ้าดูร่องรอยที่มันทิ้งเอาไว้
  • 1:38 - 1:40
    ที่ช่วยบ่งบอกว่ามันเคยอยู่ตรงไหน
  • 1:40 - 1:43
    แล้วฉันพบว่า ขณะที่เจ้าราเมือก
    เริ่มเบื่อจานเพาะเชื้อนี้แล้ว
  • 1:43 - 1:46
    มันได้หนีออกมาจากจานเพาะเชื้อ
    ไปหาที่อยู่ใหม่ที่ดีกว่า
  • 1:46 - 1:47
    ฉันได้บันทึกสิ่งที่ฉันสังเกตเห็น
  • 1:47 - 1:49
    ด้วยเทคนิคการบันทึกภาพแบบย่นย่อเวลา
    (time-lapse photography)
  • 1:49 - 1:52
    ราเมือกมีอัตราการเจริญเติบโต
    ประมาณ 1 ซม./ชั่วโมง
  • 1:52 - 1:54
    จึงไม่ง่ายนักที่จะมานั่งดูมันค่อยๆ เติบโต
  • 1:54 - 1:57
    นอกจากว่าคุณจะมีสมาธิขั้นสุดยอด
  • 1:57 - 2:00
    แต่ด้วยเทคนิคดังที่ได้กล่าวไป
  • 2:00 - 2:03
    ฉันจึงได้เห็นพฤติกรรมบางอย่างที่น่าสนใจ
  • 2:03 - 2:06
    ตัวอย่างเช่น ขณะที่เจ้าราเมือกได้รับอาหารเป็นอย่างดี
  • 2:06 - 2:11
    มันก็ได้เติบโตขยายออกไปสำรวจอาณาเขตใหม่ๆ
  • 2:11 - 2:14
    ในทิศทางต่างๆ ไปพร้อมๆกัน
  • 2:14 - 2:16
    สำรวจไปเรื่อย
    จนเมื่อมันมาเจอกัน
  • 2:16 - 2:18
    มันต่างรู้ว่า
    นั่นเป็นที่ที่เคยสำรวจมาแล้ว
  • 2:18 - 2:20
    มันรู้ว่ามันเคยไปที่นั่นมาแล้ว
  • 2:20 - 2:21
    มันจึงถอยกลับมาตั้งหลักใหม่
  • 2:21 - 2:25
    และเริ่มออกสำรวจในทิศทางใหม่อีกครั้ง
  • 2:25 - 2:27
    ฉันค่อนข้างประทับใจกับ
    ความสามารถนี้ของมัน
  • 2:27 - 2:31
    ที่เป็นไปได้อย่างไรที่
    ลำพังกลุ่มเซลล์ราเมือก
  • 2:31 - 2:34
    จะสามารถทำแผนที่อาณาเขตของมันได้
  • 2:34 - 2:37
    มันรู้จักตัวเอง และเคลื่อนไหวราวกับว่า
    มันมีเจตจำนง
  • 2:37 - 2:41
    ฉันพบว่ามีทั้งงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์
  • 2:41 - 2:43
    งานวิจัย บทความวิชาการ จำนวนนับไม่ถ้วน
  • 2:43 - 2:47
    ซึ่งทั้งหมดมีการอ้างถึง
    ผลงานอันเหลือเชื่อของเจ้าราเมือกนี้
  • 2:47 - 2:49
    และฉันก็ตั้งใจจะเล่าเรื่องราว
    เหล่านั้นบางส่วนให้คุณฟัง
  • 2:49 - 2:52
    ตัวอย่างการทดลองแรก มีทีมนักวิจัยหนึ่ง
    ที่มหาวิทยาลัยฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
  • 2:52 - 2:54
    ได้ทำการทดลองโดย
    ใส่ราเมือกลงไปจนเต็มทางเขาวงกต
  • 2:55 - 2:56
    ราเมือกทั้งหมดเชื่อมต่อกันรวมตัวกัน
    เหมือนเป็นเซลล์ขนาดยักษ์หนึ่งเซลล์
  • 2:56 - 2:59
    หลังจากนั้นทีมนักวิจัยได้ใส่อาหาร
    ลงไปในเขาวงกตสองตำแหน่ง
  • 2:59 - 3:00
    แน่นอนว่าต้องเป็นข้าวโอ๊ตของโปรด
  • 3:00 - 3:02
    และเจ้าราเมือกก็ทำการสร้างทางเชื่อมต่อ
  • 3:02 - 3:03
    ระหว่างแหล่งอาหารสองแห่งนั้น
  • 3:03 - 3:06
    ราเมือกได้หดตัวจากบริเวณที่ไม่มีอาหาร
    และบริเวณทางตันทั้งหลาย
  • 3:06 - 3:08
    เป็นไปได้ 4 วิธีที่จะสร้างทางเชื่อมต่อ
  • 3:08 - 3:10
    ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 3:10 - 3:13
    เจ้าราเมือกได้สร้างทางเชื่อมต่อที่สั้นที่สุดเสมอ
  • 3:13 - 3:15
    และเป็นเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • 3:15 - 3:16
    มันฉลาดมาก
  • 3:16 - 3:18
    ข้อสรุปที่ได้จากการทดลองนี้ ก็คือ
  • 3:18 - 3:21
    เจ้าราเมือกนี้ ถือได้ว่า
    มีรูปแบบหนึ่งของสติปัญญาขั้นต้น
  • 3:21 - 3:25
    อีกการทดลองหนึ่ง ได้ให้ราเมือกสัมผัสกับอากาศเย็น
    เป็นช่วงๆ โดยเว้นระยะเวลาที่แน่นอน
  • 3:25 - 3:27
    เจ้าราเมือกนี้ไม่ชอบอากาศเย็น
  • 3:27 - 3:28
    และก็ไม่ชอบสภาพแวดล้อมที่แห้ง
  • 3:28 - 3:31
    เมื่อให้ราเมือกได้สัมผัสกับอากาศเย็นเป็นพักๆ
  • 3:31 - 3:32
    ทุกๆ ครั้ง เจ้าราเมือก
  • 3:32 - 3:35
    จะตอบสนองโดยการเติบโตช้าลง
  • 3:35 - 3:37
    อย่างไรก็ตาม มีอยู่ครั้งหนึ่ง
  • 3:37 - 3:40
    ที่นักวิจัยไม่ได้เปิดสวิตซ์พัดลม
  • 3:40 - 3:43
    เจ้าราเมือกก็ยังคงตอบสนองโดยการเติบโตช้าลง
    ซึ่งเป็นผลจากการคาดเดาล่วงหน้า
  • 3:43 - 3:45
    ว่าจะได้เจอกับอากาศเย็น
  • 3:45 - 3:47
    มันมีการรับรู้ได้ว่ามันใกล้จะถึงเวลา
  • 3:47 - 3:49
    ที่จะเกิดอากาศเย็นที่มันไม่ชอบ
  • 3:49 - 3:51
    ข้อสรุปที่ได้จากการทดลองนี้ ก็คือ
  • 3:51 - 3:54
    เจ้าราเมือกมีความสามารถในการเรียนรู้
  • 3:54 - 3:55
    ตัวอย่างการทดลองที่สาม
  • 3:55 - 3:57
    คราวนี้เจ้าราเมือกได้รับโอกาส
  • 3:57 - 4:01
    ให้ออกสำรวจอาณาเขตที่ปกคลุมไปด้วยหย่อมข้าวโอ๊ต
  • 4:01 - 4:04
    มันกระจายตัวออกสำรวจ
    ในลักษณะแตกกิ่งก้านสาขาออกไป
  • 4:04 - 4:07
    เมื่อมันเจออาหารแต่ละจุด
  • 4:07 - 4:10
    มันก็สร้างการเครือข่ายเชื่อมต่อกัน
  • 4:10 - 4:11
    มันยังคงขยายอาณาเขตต่อไปเรื่อยๆ
  • 4:11 - 4:14
    26 ชั่วโมงผ่านไป เครือข่ายก็สมบูรณ์
  • 4:14 - 4:15
    ดูค่อนข้างมั่นคง
  • 4:15 - 4:17
    ระหว่างกองข้าวโอตแต่ละจุด
  • 4:17 - 4:19
    ดูไม่มีอะไรโดดเด่นนักสำหรับการทดลองนี้
  • 4:19 - 4:22
    จนกระทั่งได้รู้ว่า
    ข้าวโอ๊ตตรงกลางที่เป็นจุดเริ่มต้นนั้น
  • 4:22 - 4:24
    แสดงถึงตำแหน่งของเมืองโตเกียว
  • 4:24 - 4:28
    และกองข้าวโอ๊ตที่กระจายอยู่รอบๆ
    ก็คือ สถานีรถไฟรอบๆเมือง
  • 4:28 - 4:30
    เจ้าราเมือกได้ทำสำเนาของ
  • 4:30 - 4:32
    เครือข่ายรถไฟเมืองโตเกียวขึ้นมา
  • 4:32 - 4:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:34 - 4:37
    ระบบเครือข่ายอันซับซ้อนที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ
  • 4:37 - 4:41
    โดยอาศัย เคหะชุมชน
    งานวิศวกรรมโยธา การวางผังเมือง
  • 4:41 - 4:43
    ซึ่งสังคมมนุษย์ได้ใช้เวลา
    เป็นร้อยปีกว่าจะสร้างขึ้นมา
  • 4:43 - 4:46
    แต่เจ้าราเมือกกลับใช้เวลาเพียงแค่วันเศษๆ
  • 4:46 - 4:48
    ข้อสรุปที่ได้จาการทดลองนี้ ก็คือ
  • 4:48 - 4:51
    เจ้าราเมือกนี้สามารถสร้างเครือข่าย
    ที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้เอง
  • 4:51 - 4:53
    และแก้โจทย์ปัญหาการเดินทางของเซลล์แมนได้
    (Traveling salesman problem)
  • 4:53 - 4:56
    มันก็คือ คอมพิวเตอร์ชีวภาพ ดีๆ นี่เอง
  • 4:56 - 4:58
    ด้วยเหตุนี้ มันได้ถูกสร้างเป็นโมเดลเชิงคณิตศาสตร์
  • 4:58 - 5:00
    ถูกวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน
  • 5:00 - 5:03
    ทั้งถูกแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณเสียง
    ถูกทำซ้ำ ถูกจำลองขึ้นใหม่
  • 5:03 - 5:05
    ทีมนักวิจัยหลายแห่งทั่วโลก
  • 5:05 - 5:08
    กำลังถอดรหัสการทำงานของพวกมัน
  • 5:08 - 5:11
    เพื่อที่จะได้เข้าใจหลักเกณฑ์ที่มันใช้คิดคำนวณ
  • 5:11 - 5:13
    และนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้
    ในงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์
  • 5:13 - 5:15
    การสร้างโปรแกรม และศาสตร์เกี่ยวกับหุ่นยนต์
  • 5:15 - 5:17
    ดังนั้น คำถามสำคัญคือ
  • 5:17 - 5:19
    เจ้าราเมือกทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?
  • 5:19 - 5:21
    มันไม่มีระบบประสาทส่วนกลาง
  • 5:21 - 5:23
    มันไม่มีสมอง
  • 5:23 - 5:25
    แต่มันยังคงสามารถ
    แสดงพฤติกรรมเหล่านั้นได้
  • 5:25 - 5:27
    พฤติกรรมเดียวกับที่เรา
    ต้องใช้สมองในการสั่งการ
  • 5:27 - 5:29
    ราเมือกสามารถเรียนรู้ สามารถจดจำ
  • 5:29 - 5:32
    สามารถแก้ปัญหา สามารถตัดสินใจได้เอง
  • 5:32 - 5:34
    แล้วสติปัญญาของราเมือกตั้งต้นมาจากจุดไหน?
  • 5:34 - 5:37
    นี่เป็นภาพวีดีโอจากกล้องจุลทรรศน์
  • 5:37 - 5:39
    ซึ่งมีกำลังขยายประมาณ 100 เท่า
  • 5:39 - 5:42
    เร่งความเร็วขึ้นประมาณ 20 เท่า
  • 5:42 - 5:44
    ภายในเจ้าราเมือกนี้
  • 5:44 - 5:48
    มีกระแสการไหลเวียนของของเหลวเป็นจังหวะ
  • 5:48 - 5:50
    สิ่งที่คล้ายกับเส้นเลือดกำลังลำเลียง
  • 5:50 - 5:53
    ชิ้นส่วนเซลล์ สารอาหาร และสัญญาณเคมี
  • 5:53 - 5:55
    ผ่านไปตามกลุ่มเซลล์ขนาดยักษ์นี้
  • 5:55 - 5:59
    การไหลเริ่มในทิศทางหนึ่ง
    แล้วก็ไหลย้อนกลับไปอีกทิศหนึ่ง
  • 5:59 - 6:03
    และการไหลเวียนกลับไปมาอย่างสอดคล้องต่อเนื่อง
  • 6:03 - 6:05
    ภายในเซลล์นี้เอง ที่ทำให้เกิด
  • 6:05 - 6:08
    การรับรู้ที่ค่อนข้างซับซ้อน
    ต่อสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมัน
  • 6:08 - 6:11
    โดยปราศจากศูนย์สั่งการใดๆภายในเซลล์
  • 6:11 - 6:14
    นี่คือต้นตอของสติปัญญาของมัน
  • 6:14 - 6:17
    ไม่เพียงแต่เหล่านักวิจัย
  • 6:17 - 6:20
    ในมหาวิทยาลัยที่สนใจในเจ้าราเมือกนี้
  • 6:20 - 6:23
    ไม่กี่ปีก่อน ฉันได้สร้างกลุ่ม SliMoCo ขึ้นมา
  • 6:23 - 6:25
    ซึ่งย่อมาจาก Slime Mould Collective
  • 6:25 - 6:28
    มันเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์
    ที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตย
  • 6:28 - 6:30
    สำหรับผู้ที่ทำการศึกษาราเมือก และผู้ที่สนใจทั่วไป
  • 6:30 - 6:33
    ได้แบ่งปันความรู้และผลการทดลอง
  • 6:33 - 6:36
    จากหลากหลายสาขาอาชีพ
  • 6:36 - 6:40
    และหลากหลายสถาบันศึกษา
  • 6:40 - 6:43
    สมาชิกในกลุ่ม มาโดยสมัครใจ
  • 6:43 - 6:46
    เหล่าสมาชิกได้มาพบเจอกับกลุ่ม SliMoCo
  • 6:46 - 6:50
    เหมือนกับที่เจ้าราเมือกได้เจออาหารโปรดของมัน
  • 6:50 - 6:51
    ในกลุ่มเรามีทั้ง นักวิทยาศาสตร์
  • 6:51 - 6:53
    นักคอมพิวเตอร์ นักวิจัย
  • 6:53 - 6:55
    แม้แต่ศิลปิน เหมือนกับฉัน
  • 6:55 - 7:00
    สถาปนิก ดีไซน์เนอร์ นักเขียน
    นักเคลื่อนไหวรณรงค์ และอีกมากมาย
  • 7:00 - 7:05
    ซึ่งน่าสนใจมาก กับความหลากหลาย
    ของสมาชิกในกลุ่ม
  • 7:05 - 7:06
    ลองมาดูสักสองสามตัวอย่าง
  • 7:06 - 7:09
    สมาชิกที่เป็นศิลปินคนหนึ่ง
    วาดรูปโดยใช้ราเมือกเรืองแสง
  • 7:09 - 7:11
    สมาชิกอีกกลุ่มหนึ่งได้ร่วมมือกัน
  • 7:11 - 7:14
    ทำการออกแบบทางอิเล็กทรอนิสก์
    ผสานกับการออกแบบทางชีวภาพ
  • 7:14 - 7:17
    โดยอาศัยเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ
  • 7:17 - 7:20
    ศิลปินอีกคน ใช้เจ้าราเมือก
  • 7:20 - 7:22
    เป็นเครื่องมือในการปฏิสัมพันธ์กับชุมชน
  • 7:22 - 7:25
    เพื่อทำแผนที่ของชุมชนนั้น
  • 7:25 - 7:27
    นี่เอง ที่เจ้าราเมือกได้ถูกนำมาใช้โดยตรง
  • 7:27 - 7:30
    ไม่เพียงแต่ในฐานะเครื่องมือที่มีชีวิตเท่านั้น
    แต่ยังเปรียบได้กับ
  • 7:30 - 7:32
    สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวิธีการพูดคุยกัน
  • 7:32 - 7:36
    เกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม
    การสื่อสารระหว่างกัน
  • 7:36 - 7:37
    และการให้ความร่วมมือกันในสังคม
  • 7:37 - 7:40
    อีกหนึ่ง กิจกรรมที่สร้างความผูกพันในชุมชน
  • 7:40 - 7:42
    ฉันได้จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ
    เกี่ยวกับราเมือกนี้มาหลายครั้ง
  • 7:42 - 7:44
    เป็นหนึ่งในวิธีที่สร้างสรรค์
    ในการปฏิสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมัน
  • 7:44 - 7:46
    ผู้คนได้รับเชิญให้เข้าร่วมและเรียนรู้
  • 7:46 - 7:48
    เกี่ยวกับความสามารถที่น่าทึ่งของเจ้าราเมือก
  • 7:48 - 7:51
    ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะได้ทำการออกแบบ
    การทดลองในจานเพาะเชื้อเอง
  • 7:51 - 7:53
    กำหนดสภาพแวดล้อมที่จะให้ราเมือกเจริญเติบโต
  • 7:53 - 7:55
    ดังนั้นพวกเขาก็จะได้ลอง
    ทดสอบเจ้าราเมือกนี้ดู
  • 7:55 - 7:57
    ทุกคนกลับบ้านไปพร้อมกับราเมือกในจานเพาะเชื้อ
  • 7:57 - 8:00
    และได้รับเชิญให้มาแสดงผลการทดลองเหล่านั้น
  • 8:00 - 8:02
    บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่ม
  • 8:02 - 8:04
    และกลุ่มนี้ก็ทำให้ฉันสามารถ
  • 8:04 - 8:06
    สร้างผลงานร่วมกับคนอื่นๆ
  • 8:06 - 8:09
    กับคนที่น่าสนใจมากมาย
  • 8:09 - 8:10
    ฉันได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตภาพยนตร์อยู่
  • 8:10 - 8:14
    ในงานสารคดีขนาดยาวเกี่ยวกับราเมือก
  • 8:14 - 8:17
    ขอย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นสารคดีขนาดยาว
  • 8:17 - 8:18
    ซึ่งอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการตัดต่อ
  • 8:18 - 8:21
    และจะได้ฉายในโรงภาพยนตร์เร็วๆนี้
  • 8:21 - 8:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:23 - 8:26
    นอกจากนี้ยังทำให้ฉันได้มีโอกาสทำการทดลอง
  • 8:26 - 8:29
    ซึ่งคิดว่านี่เป็นการทดลองมนุษย์ราเมือกครั้งแรกในโลก
  • 8:29 - 8:32
    นี่เป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ
    ที่รอตเทอร์ดาม เมื่อปีก่อน
  • 8:32 - 8:37
    เราเชิญให้ผู้ร่วมกิจกรรม
    ทดลองเป็นราเมือก เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง
  • 8:37 - 8:40
    โดยการให้แต่ละคนมาผูกโยงติดกัน
  • 8:40 - 8:42
    เสมือนเป็นเซลล์ยักษ์หนึ่งเซลล์
  • 8:42 - 8:45
    และก็ให้พวกเขาทำตัวตามกฎของราเมือก
  • 8:45 - 8:49
    นั่นคือพวกเขาต้องสื่อสารด้วยวิธีการสั่นเป็นจังหวะ
  • 8:49 - 8:50
    ห้ามใช้คำพูดใดๆ
  • 8:50 - 8:55
    พวกเขาต้องปฏิบัติการราวกับว่าเป็นองคาพยพเดียวกัน
  • 8:55 - 8:56
    ไม่มีอัตตา
  • 8:56 - 8:59
    และมีแรงจูงใจในการเคลื่อนที่
  • 8:59 - 9:01
    และสำรวจสภาพแวดล้อม
  • 9:01 - 9:03
    เพียงเพื่อหาอาหาร
  • 9:03 - 9:06
    ผลที่ตามมา คือ การเดินสะเปะสะปะ
    ขณะที่กลุ่มคนแปลกหน้า
  • 9:06 - 9:10
    ที่สวมเสื้อเขียนว่า "เป็นราเมือก"
    ถูกโยงติดกันด้วยเชือกสีเหลือง
  • 9:10 - 9:13
    ค่อยๆ เคลื่อนที่ผ่านสวนของพิพิธภัณฑ์
  • 9:13 - 9:17
    เมื่อพวกเขาเจอต้นไม้
    พวกเขาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการเชื่อมต่อกัน
  • 9:17 - 9:20
    และจัดรูปใหม่ในฐานะเป็นองคาพยพเดียว
  • 9:20 - 9:24
    โดยปราศจากการพูดคุย
  • 9:24 - 9:27
    นี่เป็นการทดลองที่น่าขันในหลายๆ แง่มุม
  • 9:27 - 9:29
    มันไม่ได้เกิดจากสมมุติฐานใดๆ
  • 9:29 - 9:31
    เราไม่ได้ต้องการจะพิสูจน์
    หรือจะสาธิตอะไร
  • 9:31 - 9:34
    แต่สิ่งที่เราได้รับมา คือ
  • 9:34 - 9:36
    วิธีที่ทำให้คนในวงกว้าง ได้มีส่วนร่วม
  • 9:36 - 9:40
    ในแนวคิดเรื่อง สติปัญญา หน้าที่ การพึ่งตนเอง
  • 9:40 - 9:43
    และได้มอบพื้นที่สบายๆ แก่เรา
  • 9:43 - 9:46
    สำหรับถกเถึยงเกี่ยวกับ
  • 9:46 - 9:49
    สิ่งที่เป็นผลตามมา
  • 9:49 - 9:51
    หนึ่งในสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุด
  • 9:51 - 9:54
    เกี่ยวกับการทดลองนี้
  • 9:54 - 9:56
    ก็คือ การเสวนาที่เกิดขึ้นตามมา
  • 9:56 - 10:00
    ได้เกิดการชุมนุมอภิปรายกันขึ้นมาเองในสวนนั้น
  • 10:00 - 10:02
    ผู้เข้าร่วมพูดคุยกัน
    ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาของมนุษย์
  • 10:02 - 10:04
    เกี่ยวกับความยากลำบากในการปล่อยวาง
  • 10:04 - 10:07
    เกี่ยวกับตัวตนและอัตตาของพวกเขา
  • 10:07 - 10:10
    อีกกลุ่มพูดคุยกันเกี่ยวกับ
    การสื่อสารกันระหว่างแบคทีเรีย
  • 10:10 - 10:12
    แต่ละคนได้เสนอความเห็น
  • 10:12 - 10:15
    ตามการตีความของพวกเขาเอง
  • 10:15 - 10:17
    และข้อสรุปที่ได้จากการทดลองนี้ คือ
  • 10:17 - 10:21
    ผู้เข้าร่วมที่ รอตเทอร์ดาม
    ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • 10:21 - 10:24
    โดยเฉพาะเวลาที่ได้รับการแจกจ่ายเบียร์
  • 10:24 - 10:26
    เราไม่ได้ให้อาหารพวกเขาด้วยข้าวโอ๊ตเท่านั้น
  • 10:26 - 10:27
    เราแจกเบียร์ให้พวกเขาอีกด้วย
  • 10:27 - 10:29
    แต่กระนั้น พวกเขาก็ไม่มีประสิทธิภาพ
    เทียบเท่ากับเจ้าราเมือก
  • 10:29 - 10:31
    สำหรับฉันแล้ว เจ้าราเมือกนี้
  • 10:31 - 10:34
    เป็นเรื่องราวที่น่าหลงใหล
  • 10:34 - 10:36
    มันน่าหลงไหล ในเชิงชีววิทยา
  • 10:36 - 10:37
    มันน่าสนใจ ในแง่การคำนวณ
  • 10:37 - 10:39
    และมันก็ยังเป็นสัญลักษณ์
  • 10:39 - 10:43
    เป็นวิธีเชื่อมโยงถึงแนวคิด เรื่องชุมชน
  • 10:43 - 10:47
    พฤติกรรมรวมหมู่ และความร่วมมือกัน
  • 10:47 - 10:49
    งานของฉันหลายอย่างได้ข้อมูลมาจากงานวิจัย
  • 10:49 - 10:52
    ซึ่งวีดิโอนี้ก็เป็นการรำลึกถึงการทดลองเขาวงกต
  • 10:52 - 10:53
    ในอีกแง่มุมหนึ่ง
  • 10:53 - 10:56
    เจ้าราเมือกยังถือเป็นวัตถุดิบสำหรับงานของฉันด้วย
  • 10:56 - 11:01
    มันเป็นผู้ช่วยผลิตทั้งใน งานภาพถ่าย
    งานพิมพ์ งานแอนิเมชั่น
  • 11:01 - 11:03
    รวมถึง การจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม
  • 11:03 - 11:05
    ในขณะที่เจ้าราเมือกนี้ไม่ได้เลือกเอง
  • 11:05 - 11:07
    ที่จะมาทำงานร่วมกับฉัน
  • 11:07 - 11:09
    แต่มันก็ให้ความร่วมมือดี
  • 11:09 - 11:12
    ฉันสามารถคาดการณ์พฤติกรรมบางอย่าง
  • 11:12 - 11:14
    โดยการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน
  • 11:14 - 11:15
    แต่ฉันไม่สามารถควบคุมมันได้
  • 11:15 - 11:17
    เจ้าราเมือกยังคงทำสิ่งมันอยากทำ
  • 11:17 - 11:19
    ในกระบวนการคิดสร้างสรรค์
  • 11:19 - 11:23
    อย่างไรก็ตาม มันก็มีนิยามความสุนทรีย์ในแบบของมัน
  • 11:23 - 11:24
    รูปแบบกิ่งก้านสาขาที่เราเห็นอยู่นี้
  • 11:24 - 11:27
    สามารถพบได้ในทุกรูปแบบของสิ่งต่างๆ
    เป็นสัดส่วนของธรรมชาติ
  • 11:27 - 11:30
    จากดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
    ไปจนถึงฟ้าผ่า
  • 11:30 - 11:34
    จากแขนงหลอดเลือด ไปจนถึงเครือข่ายเส้นประสาท
  • 11:34 - 11:36
    แน่นอนว่าต้องมีกฎยิ่งใหญ่บางอย่างควบคุมมันอยู่
  • 11:36 - 11:38
    ในสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายแต่ซับซ้อนนี้
  • 11:38 - 11:42
    ไม่ว่าเราจะมาจากสาขาไหน
    หรือเราจะศึกษามันในแง่มุมใด
  • 11:42 - 11:44
    เราก็ได้เรียนรู้มากมาย
  • 11:44 - 11:46
    จากการเฝ้าสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์
  • 11:46 - 11:49
    กับเจ้าคราบรอยเปี้ยนที่งดงาม
    และไม่มีแม้แต่สมองนี้
  • 11:49 - 11:52
    และนี่ก็คือเรื่องราวของเจ้าราเมือก
    ( Physarum polycephalum )
  • 11:52 - 11:54
    ขอบคุณค่ะ
  • 11:54 - 11:55
    (เสียงปรบมือ)
Title:
มนุษย์ได้เรียนรู้อะไรจาก ราเมือก ที่ (เกือบ) ทรงปัญญา
Speaker:
เฮเธอร์ บาร์เนตต์
Description:

เฮเธอร์ บาร์เนตต์ ศิลปินผู้ได้รับแรงบันดาลใจจาก รูปแบบทางชีวภาพ และ ระบบที่จัดการตัวเองได้ เธอได้สร้างสรรค์งานร่วมกับ ราเมือก (Phusarum Polycephalum) จุลชีพกลุ่มยูแคริโอต ที่ชอบอยู่ในที่เย็นและชื้น เราจะเรียนรู้อะไรจากสิ่งมีชีวิตที่ เกือบจะมีสติปัญญาเหล่านี้ ค้นหาคำตอบได้ในการบรรยายนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:11

Thai subtitles

Revisions