Return to Video

เครื่องดนตรีทองเหลืองทำงานได้อย่างไร - อัล แคนนอน (Al Cannon)

  • 0:09 - 0:13
    อะไรให้เสียงดังแหลมกับทรัมเป็ต
  • 0:13 - 0:17
    และให้เสียงต่ำจากท้องแบบ "โอม ปา ปา"
    กับทูบา
  • 0:17 - 0:21
    และอะไรที่ทำให้ทรอมโบนมีแสดงที่แสนหรูหรา
  • 0:21 - 0:25
    คำตอบไม่ได้อยู่ที่ทองเหลือง
    วัสดุที่ใช้สร้างพวกมัน
  • 0:25 - 0:27
    แต่การเดินทางของลม
  • 0:27 - 0:31
    จากปอดของนักดนตรี
    สู่เครื่องดนตรีหน้าตาเหมือนระฆัง
  • 0:31 - 0:36
    เหมือนกับเสียงอื่นๆ
    ดนตรีประกอบด้วยการสั่นที่เดินทางผ่านอากาศ
  • 0:36 - 0:40
    เครื่องดนตรีถูกแบ่งชนิด
    ตามการสั่นสะเทือนที่ถูกสร้างขึ้นมา
  • 0:40 - 0:42
    เครื่องเคาะ ใช้การตี
  • 0:42 - 0:45
    เครื่องสาย ใช้การดีดหรือสี
  • 0:45 - 0:50
    เครื่องเป่าลิ้นไม้ ใช้การเป่า
    ผ่านลิ้นไม้หรือขอบคมๆ
  • 0:50 - 0:51
    อย่างไรก็ดี สำหรับเครื่องทองเหลือง
  • 0:51 - 0:55
    การสั่นสะเทือน
    มาจากปากของนักดนตรีโดยตรง
  • 0:55 - 1:01
    สิ่งแรกๆ ที่ผู้เล่นเครื่องดนตรีทองเหลือง
    ต้องเรียนรู้ คือการหลายใจเข้าลึกๆ
  • 1:01 - 1:06
    จนกระทั่งเท่าที่ทุกอนุภาคอากาศ
    จะสามารถอัดเข้าไปในปอดได้
  • 1:06 - 1:09
    เมื่อได้มวลอากาศในนั้นแล้ว
    มันก็จะต้องออกมาทางปาก
  • 1:09 - 1:13
    แต่ตอนนั้น การต่อสู้ภายในจะเกิดขึ้น
  • 1:13 - 1:17
    เมื่อนักดนตรีพยายามปิดริมฝีปากให้สนิท
  • 1:17 - 1:21
    พร้อมๆ กับที่เป่าลมออกไป
    เพียงพอที่จะบังคับให้มันเปิดออก
  • 1:21 - 1:24
    ลมที่หนีออกไปเจอกับการต้าน
    จากกล้ามเนื้อริมฝีปาก
  • 1:24 - 1:27
    เกิดเป็นช่องเปิดที่เรียกว่าช่องทางออก
  • 1:27 - 1:32
    และสร้างการสั่นสะเทือนที่ผู้เล่นเครื่องทองเหลือง
    เรียกว่า "เสียงหึ่งๆ"
  • 1:32 - 1:35
    เมื่อกำพวด [ชิ้นส่วนเครื่องดนตรีที่ติดกับปาก]
    ถูกวางชิดกับริมฝีปากที่สั่นอยู่
  • 1:35 - 1:38
    มันปรับเสียงหึ่งเล็กน้อย
  • 1:38 - 1:41
    ขยายการสั่นที่บางความถึ่
  • 1:41 - 1:43
    แต่มันน่าสนใจตรงที่ว่า
  • 1:43 - 1:46
    มันขึ้นอยู่กับว่ากำพวดนั้น
    เชื่อมต่อกับเครื่องดนตรีชนิดใด
  • 1:46 - 1:49
    ตัวเครื่องดนตรีทองเหลือง
    ทำหน้าที่สำคัญเป็นอุโมงค์
  • 1:49 - 1:53
    ที่ทำให้เสียงดังก้องด้วยอุโมงค์อากาศ
    ที่ถูกเป่าผ่านมัน
  • 1:53 - 1:55
    ทางที่คลื่นเสียงเดินทางผ่านอุโมงค์นี้
  • 1:55 - 2:00
    สร้างรูปแบบที่จำกัดของระดับเสียง
    ที่เรียกกันว่า "ฮาโมนิก ซีรีส์" (harmonic series)
  • 2:00 - 2:03
    ที่มีระยะระหว่างตัวโน้ตที่ห่างกัน
    ในช่วงต่ำ
  • 2:03 - 2:06
    แต่เข้ามาใกล้กันมากขึ้น
    เมื่อระดับเสียงเพิ่มขึ้น
  • 2:06 - 2:09
    นักดนตรีสามารถเปลี่ยนระดับเสียงของโน้ต
  • 2:09 - 2:15
    ผ่านการบีบเข้าด้วยกันของริมฝีปาก
    และการเปลี่ยนปริมาตรอากาศ และความเร็ว
  • 2:15 - 2:18
    ลมอุ่นๆ ที่ออกมาอย่างช้าๆ
    ให้ระดับเสียงต่ำ
  • 2:18 - 2:24
    ลมที่เร็วและเย็น ให้ระดับเสียงที่สูงในซีรีส์นั้น
  • 2:24 - 2:28
    แต่ว่า แต่ละฮาร์โมนิก ซีรีส์ มีช่วงว่าง
    ที่ระดับเสียงหายไป
  • 2:28 - 2:30
    และด้วยความสามารถอันหลากหลาย
    ของเครื่องดนตรีทองเหลือง
  • 2:30 - 2:34
    พวกมันมีคุณสมบัติสับเปลี่ยนได้หลายซีรีส์
  • 2:34 - 2:37
    เครื่องดนตรีอย่างทรัมเป็ด
    กระบอกสูงสามารถลดต่ำลงมาได้
  • 2:37 - 2:41
    เพื่อเพิ่มความยาวของท่อที่อากาศเดินทางผ่าน
  • 2:41 - 2:46
    ในขณะที่ในทรอมโบม
    มันเกิดขึ้นโดยการยืดออกของท่อเลือน
  • 2:46 - 2:49
    ทำให้ท่อยืดยาวออกไป
    ยืดอุโมงค์อากาศที่กำลังสั่น
  • 2:49 - 2:54
    ลดความถึ่ของการสั่น
    และเป็นผลให้เกิดระดับเสียงที่ต่ำลง
  • 2:54 - 2:57
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมทูบา
    เครื่องดนตรีทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด
  • 2:57 - 3:01
    ก็เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่เล่นเสียงตัวโน้ต
    ได้ต่ำที่สุด
  • 3:01 - 3:05
    ฉะนั้น การเปลี่ยนความความยาวของเครื่องดนตรี
    เป็นการเปลี่ยนฮาโมนิก ซีรีส์
  • 3:05 - 3:08
    ในขณะที่การเปลี่ยนการสั่นเล็กน้อย
    ของอากาศที่ผ่าน และริมฝีปากของผู้เล่น
  • 3:08 - 3:11
    ให้โน้ตที่แตกต่างกัน
  • 3:11 - 3:16
    และโน้ตเหล่านั้นสุดท้ายแล้วก็จะออกมา
    ทางปลายปากกระฆังที่บานออก
  • 3:16 - 3:20
    ในตอนแรกที่เริ่มด้วยการหายใจเข้า
    และการสั่นบนริมฝีปาก
  • 3:20 - 3:24
    ได้ถูกเปลี่ยนเป็นเสียงที่ห้าวและแหบ
  • 3:24 - 3:28
    การความคุมอย่างชำนาญของนักดนตรี
    ในทุกขั้นตอน
  • 3:28 - 3:29
    จากปอด
  • 3:29 - 3:30
    ถึงริมฝีปาก
  • 3:30 - 3:31
    ไปยังกำพวด
  • 3:31 - 3:35
    ไปยังเครื่องดนตรีเอง
    สร้างความหลากหลายแห่งระดับเสียง
  • 3:35 - 3:39
    ที่สามารถได้ยินในงานประพันธ์ทางดนตรี
    หลากชนิดทั่วโลก
  • 3:39 - 3:42
    โดยการควบคุมพลังของการสะท้อนตามธรรมชาติ
  • 3:42 - 3:44
    ในแบบที่ปรับเปลี่ยนและควบคุมได้
  • 3:44 - 3:48
    เครื่องดนตรีทองเหลืองเป็นตัวอย่างที่ดี
    ของการหลอมรวมความสร้างสรรค์ของมนุษย์
  • 3:48 - 3:51
    กับฟิสิกส์ในโลกของเรา
Title:
เครื่องดนตรีทองเหลืองทำงานได้อย่างไร - อัล แคนนอน (Al Cannon)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-brass-instruments-work-al-cannon

อะไรให้เสียงดังแหลมกับทรัมเป็ตและให้เสียงต่ำจากท้องแบบ "โอม ปา ปา"
กับทูบา และอะไรที่ทำให้ทรอมโบนมีแสดงที่แสนหรูหรา อัล แคนนอน แสดงให้เห็นว่าคำตอบเหล่านี้ขึ้นคำตอบไม่ได้อยู่ที่ทองเหลืองซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้สร้างพวกมัน แต่การเดินทางของลมจากปอดของนักดนตรีสู่เครื่องดนตรีหน้าตาเหมือนระฆัง

บทเรียนโดย Al Cannon, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:12
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Suppadej Mahapokai accepted Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How brass instruments work - Al Cannon
Show all

Thai subtitles

Revisions