Return to Video

สุขาดี ชีวิตดี

  • 0:01 - 0:08
    เป็นที่นิยมและเหมาะสมยิ่งที่จะพูดถึงอาหาร
  • 0:08 - 0:16
    ไม่ว่าจะในเรื่องหน้าตา สี กลิ่น หรือรสชาติใดๆ
  • 0:16 - 0:21
    แต่หลังจากที่อาหารผ่านระบบการย่อยแล้ว
  • 0:21 - 0:24
    เมื่อถูกถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ
  • 0:24 - 0:28
    มันก็ไม่น่าพิสมัยที่จะพูดถึงอีก
  • 0:28 - 0:33
    มันน่าขยะแขยงเสียมากกว่า
  • 0:33 - 0:41
    ผมเป็นคนที่ก้าวขั้นจากพวกขี้โม้
    จนมาเป็นขี้จริงๆ แบบเต็มขั้น
  • 0:41 - 0:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:44 - 0:50
    หน่วยงานของผม "กรัม วีกาส " (Gram Vikas)
    ซึ่งแปลว่า "องค์กรพัฒนาหมู่บ้าน"
  • 0:50 - 0:54
    เคยทำงานในเรื่องที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทน
  • 0:54 - 0:57
    เราผลิตก๊าซชีวภาพเป็นส่วนใหญ่
  • 0:57 - 1:01
    ก๊าซชีวภาพสำหรับครัวในชนบท
  • 1:02 - 1:08
    เราผลิตก๊าซชีวภาพในอินเดียโดยใช้มูลสัตว์
  • 1:08 - 1:11
    ซึ่งโดยทั่วไป ในอินเดียเรียกว่า
    ขี้วัวตัวเมีย
  • 1:11 - 1:15
    แต่ด้วยความที่ผมเป็นคนอ่อนไหวต่อเรื่องเพศ
  • 1:15 - 1:18
    ผมเลือกที่จะเรียกมันว่าขี้วัวตัวผู้
    [bullshit: ขี้วัวตัวผู้,ขี้โม้]
  • 1:18 - 1:20
    แต่ผมมาคิดได้ในภายหลัง
  • 1:20 - 1:27
    ว่าสุขอนามัยและการกำจัดของเสียให้เหมาะสม
    นั้นสำคัญแค่ไหน
  • 1:27 - 1:32
    เราจึงไปที่สมรภูมิของสุขอนามัย
  • 1:33 - 1:42
    80% ของโรคในอินเดีย
    และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่
  • 1:42 - 1:46
    มีสาเหตุมาจากน้ำไม่สะอาด
  • 1:46 - 1:50
    และเมื่อเรามองหาสาเหตุที่ทำให้น้ำไม่สะอาด
  • 1:50 - 1:56
    ก็จะพบว่ามันเป็นเพราะทัศนคติผิดๆ
    ที่เรามีต่อการกำจัดของเสียจากมนุษย์
  • 1:56 - 2:00
    ของเสียจากมนุษย์ในรูปดั้งเดิมที่สุด
  • 2:00 - 2:06
    หวนคืนสู่น้ำดื่ม น้ำอาบ
    น้ำที่ใช้ทำความสะอาด
  • 2:06 - 2:11
    น้ำชลประทาน หรือน้ำอะไรก็แล้วแต่ที่คุณเห็น
  • 2:11 - 2:16
    และเป็นสาเหตุของโรคภัยถึง 80% ในเขตชนบท
  • 2:17 - 2:24
    โชคร้ายที่ในอินเดีย
    ผู้หญิงเท่านั้นมีหน้าที่ขนน้ำ
  • 2:24 - 2:29
    ผู้หญิงต้องขนน้ำใช้ภายในบ้านทั้งหมด
  • 2:29 - 2:33
    ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสาร
  • 2:34 - 2:37
    การขับถ่ายในที่โล่งเป็นเรื่องเรื้อรัง
  • 2:37 - 2:41
    70% ของคนอินเดียขับถ่ายในที่โล่ง
  • 2:41 - 2:44
    พวกเขานั่งอย่างนั้นไม่มีอะไรปกปิด
  • 2:44 - 2:46
    พร้อมกับลมเย็นที่พัดผ่าน
  • 2:46 - 2:50
    ปิดซ่อนใบหน้า เปิดเปลือยเบื้องล่าง
  • 2:50 - 2:55
    นั่งถ่ายแบบดั้งเดิม และภาคภูมิ
  • 2:55 - 2:57
    70% ของอินเดีย
  • 2:57 - 3:00
    และถ้าคุณมองในระดับโลก
  • 3:00 - 3:07
    60% ของอุจจาระที่ถ่ายทิ้งในโล่ง
    เป็นฝีมือของคนอินเดีย
  • 3:09 - 3:12
    ช่างเป็นเอกลักษณ์อันเหลือเชื่อ
  • 3:12 - 3:16
    ผมไม่รู้ว่าคนอินเดียอย่างเรา
    จะภูมิใจในเอกลัษณ์นี้ดีหรือเปล่า
  • 3:16 - 3:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:18 - 3:20
    เพราะเหตุนั้นพวกเราและหมู่บ้านต่างๆ
  • 3:20 - 3:25
    จึงเริ่มคุยกันเกี่ยวกับ
    การแก้ไขปัญหาสุขาภิบาลอย่างจริงจัง
  • 3:25 - 3:31
    พวกเรารวมตัวกัน
    และเริ่มโครงการชื่อ มันตรา (MANTRA)
  • 3:31 - 3:38
    หรือเครือข่ายเคลื่อนไหวและรณรงค์
    เพื่อเปลี่ยนแปลงชนบท
  • 3:38 - 3:44
    เรากำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในเขตชนบท
  • 3:46 - 3:49
    หมู่บ้านต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
  • 3:49 - 3:52
    พวกเขาจัดตั้งสมาคมที่ถูกกฏหมาย
  • 3:52 - 3:56
    ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกทุกคน
  • 3:56 - 4:02
    เป็นผู้เลือกตัวแทนชายหญิง
    มาเป็นผู้ดำเนินโครงการ
  • 4:02 - 4:07
    ซึ่งภายหลังเป็นผู้ดำเนินการและดูแลรักษา
  • 4:07 - 4:13
    พวกเขาตัดสินใจที่จะสร้างห้องส้วม
    และห้องอาบน้ำ
  • 4:13 - 4:16
    และจากแหล่งน้ำที่ได้รับการปกป้อง
  • 4:16 - 4:23
    น้ำจะถูกส่งมาที่หอสูงเพื่อกักเก็บ
    และต่อท่อไปยังบ้านเรือน
  • 4:23 - 4:25
    ผ่านท่อ 3 ท่อ
  • 4:25 - 4:32
    เข้าในห้องส้วม ห้องอาบน้ำ และห้องครัว
    ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 4:33 - 4:37
    น่าสงสารที่แม้แต่ในเมือง
    เช่น นิว เดลี และ บอมเบย์
  • 4:37 - 4:40
    ยังไม่มีน้ำให้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 4:40 - 4:44
    แต่ในหมู่บ้านเหล่านี้ เราต้องการให้มี
  • 4:45 - 4:49
    มันมีความแตกต่างที่ชัดเจนในคุณภาพ
  • 4:50 - 4:55
    คือในอินเดีย เรามีทฤษฎีหนึ่ง
    ที่ได้รับการยอมรับอย่างยิ่ง
  • 4:55 - 4:59
    โดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
    และใครก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้อง
  • 4:59 - 5:04
    ว่าคนจนสมควรได้รับการแก้ปัญหาแบบกิ๊กก๊อก
  • 5:04 - 5:10
    และคนที่จนสุดๆ ก็สมควรที่จะได้รับ
    การแก้ปัญหาที่สุดห่วย
  • 5:10 - 5:17
    ทั้งหมดนี้
    รวมกับทฤษฏีระดับรางวัลโนเบลที่ว่า
  • 5:17 - 5:19
    ถูกที่สุด นั้นคุ้มค่าที่สุด
  • 5:19 - 5:25
    กลายเป็นเครื่องดื่มรสแรงที่คนจน
    ถูกบังคับให้ดื่ม
  • 5:26 - 5:28
    พวกเรากำลังต่อสู้กับสิ่งนี้
  • 5:28 - 5:35
    พวกเรารู้สึกว่าคนจนนั้นถูกทำให้ต้องอับอาย
    มานานนับศตวรรษ
  • 5:35 - 5:37
    และแม้แต่ในเรื่องของสุขาภิบาล
  • 5:37 - 5:40
    พวกเขาไม่ควรถูกทำให้ขายหน้า
  • 5:40 - 5:42
    การสุขาภิบาลเป็นเรื่องของเกียรติยศ
  • 5:42 - 5:45
    มากกว่าแค่การขับถ่ายของเสียของมนุษย์
  • 5:45 - 5:49
    ดังนั้นเราจึงสร้างห้องส้วมพวกนี้
    และบ่อยครั้ง
  • 5:49 - 5:55
    เราได้ยินว่าห้องส้วมเหล่านี้
    ดีกว่าบ้านของพวกเขาเสียอีก
  • 5:55 - 5:59
    คุณจะเห็นได้ว่าด้านหน้าคือบ้าน
  • 5:59 - 6:02
    และที่เหลือคือห้องส้วม
  • 6:02 - 6:09
    จะเห็นว่าคนพวกนี้ ไม่เว้นแม้แต่
    สักครอบครัวเดียวในหมู่บ้าน
  • 6:09 - 6:13
    ตัดสินใจสร้างห้องส้วมและห้องอาบน้ำ
  • 6:13 - 6:18
    และเพื่อสิ่งนั้น พวกเขามารวมตัวกัน
    รวบรวมวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
  • 6:18 - 6:24
    วัสดุท้องถิ่นเช่น กรวดหิน
    ทราย และอิฐ
  • 6:24 - 6:26
    ปกติแล้วจะมีเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
  • 6:26 - 6:29
    พอสำหรับจ่ายค่าวัสดุที่ต้องซื้อจากภายนอก
  • 6:29 - 6:33
    เช่น ปูน เหล็ก และโถส้วม
  • 6:34 - 6:38
    จากนั้นพวกเขาสร้างห้องส้วมและห้องอาบน้ำ
  • 6:38 - 6:45
    พร้อมกันนี้พวกคนงานไร้ฝีมือที่ได้รับ
    ค่าแรงรายวัน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน
  • 6:45 - 6:52
    ยังได้มีโอกาสได้ฝึก
    เป็นช่างก่อสร้างและช่างประปา
  • 6:52 - 6:57
    ในขณะที่คนเหล่านี้ได้รับการฝึก
    คนอื่นก็รวบรวมวัสดุ
  • 6:57 - 7:03
    และเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อม
    พวกเขาก็สร้างห้องส้วม และห้องอาบน้ำ
  • 7:03 - 7:10
    รวมทั้งหอเก็บน้ำ
    ที่ใช้เก็บน้ำไว้ด้านบนด้วย
  • 7:10 - 7:15
    เราใช้ระบบบ่อซึมสองหลุมในการกำจัดของเสีย
  • 7:15 - 7:19
    จากห้องส้วม สิ่งสกปรกจะเข้ามาสู่บ่อซึมบ่อแรก
  • 7:19 - 7:24
    เมื่อเต็มมันจะถูกขวางให้ไหลไปยังหลุมถัดไป
  • 7:24 - 7:29
    แต่เราพบว่าถ้าหากคุณปลูกกล้วยหรือมะละกอ
  • 7:29 - 7:33
    ในบริเวณรอบๆ บ่อเหล่านี้
  • 7:33 - 7:36
    มันจะเติบโตได้ดี เพราะมันดูดซับสารอาหาร
  • 7:36 - 7:41
    และคุณก็จะได้กล้วยและมะละกอที่อร่อยมากๆ
  • 7:41 - 7:44
    ถ้าหากพวกคุณคนไหนมาที่บ้านของผม
  • 7:44 - 7:49
    ผมจะยินดีมากที่จะได้แบ่ง
    กล้วยและมะละกอเหล่านี้กับคุณ
  • 7:49 - 7:55
    และนี่คือห้องส้วมและหอพักน้ำที่เสร็จแล้ว
  • 7:55 - 8:01
    นี่คือหมู่บ้านที่
    แทบจะไม่มีใครอ่านออกเขียนได้
  • 8:01 - 8:04
    ที่มีน้ำใช้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 8:04 - 8:09
    เพราะว่าน้ำถูกปนเปื้อนได้ง่าย
    เวลาที่คุณเก็บมัน
  • 8:09 - 8:15
    เด็กจุ่มมือลงไป หรือมีอะไรตกลงไป
  • 8:15 - 8:20
    ฉะนั้นเราจึงไม่เก็บน้ำไว้
    แต่ใช้ระบบท่อประปาแทน
  • 8:21 - 8:25
    นี่คือหอพักน้ำระหว่างการก่อสร้าง
  • 8:25 - 8:28
    และนี่คือชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • 8:28 - 8:32
    เพราะมันจำเป็นต้องสูง
    มันจึงมีที่ว่างเหลือ
  • 8:32 - 8:35
    ห้องสองหรือสามห้องถูกสร้างข้างใต้
  • 8:35 - 8:40
    และถูกใช้โดยหมู่บ้านสำหรับการประชุมต่างๆ
  • 8:40 - 8:46
    เรามีหลักฐานที่ชัดเจน
    ถึงผลกระทบของโครงการนี้
  • 8:46 - 8:50
    ก่อนที่เราจะเริ่ม โดยทั่วไปจะมี
  • 8:50 - 8:55
    ผู้คนกว่า 80% เป็นโรคที่มีสาเหตุจากน้ำ
  • 8:55 - 9:02
    แต่ในภายหลัง เรามีหลักฐานชัดเจนว่า
    โดยเฉลี่ย 82%
  • 9:02 - 9:07
    จากหมู่บ้านทั้งหมด
    1,200 หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
  • 9:07 - 9:12
    โรคที่สาเหตุจากน้ำเกิดจากน้ำลดลงถึง 82%
  • 9:12 - 9:18
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:18 - 9:23
    ผู้หญิงโดยทั่วไปเคยใช้เวลา
    โดยเฉพาะในฤดูร้อน
  • 9:23 - 9:31
    ประมาณ 6 ถึง 7 ชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อขนน้ำ
  • 9:31 - 9:35
    และเมื่อพวกเธอไปขนน้ำ
  • 9:35 - 9:40
    อย่างที่ผมบอกก่อนหน้านี้
    ผู้หญิงเท่านั้นที่มีหน้าที่ขนน้ำ
  • 9:40 - 9:47
    พวกเธอมักจะพาลูกๆ ไปด้วย
    ลูกผู้หญิง ซึ่งก็ต้องขนน้ำด้วย
  • 9:47 - 9:52
    หรือไม่ก็ต้องอยู่บ้านเลี้ยงน้อง
  • 9:52 - 9:56
    ฉะนั้นจึงมีเด็กผู้หญิงน้อยกว่า 9%
    ที่ไปโรงเรียน
  • 9:56 - 9:58
    ถึงแม้ว่าจะมีโรงเรียน
  • 9:58 - 10:01
    และเด็กผู้ชายประมาณ 30%
  • 10:01 - 10:08
    แต่ตอนนี้สำหรับเด็กผู้หญิงเพิ่มเป็นราว 90%
    และเด็กผู้ชายเกือบ 100%
  • 10:08 - 10:13
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:13 - 10:16
    กลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในหมู่บ้าน
  • 10:16 - 10:20
    ก็คือแรงงานที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง
    ที่ทำงานรับจ้างรายวัน
  • 10:20 - 10:23
    เพราะพวกเขาได้ผ่านการฝึกนี้
  • 10:23 - 10:26
    เพื่อที่จะเป็นช่างก่อสร้าง ช่างประปา
    และช่างดัดเหล็ก
  • 10:26 - 10:34
    ตอนนี้ความสามารถในการหาเงินของพวกเขา
    เพิ่มขึ้น 300% - 400%
  • 10:34 - 10:38
    นี่คือประชาธิปไตยที่กำลังทำงาน
  • 10:38 - 10:42
    เพราะว่ามีโครงสร้างทั่วไป
    สภาปกครอง และคณะกรรมการ
  • 10:42 - 10:44
    ผู้คนกำลังตั้งคำถาม
    ผู้คนกำลังปกครองตัวเอง
  • 10:44 - 10:47
    ผู้คนกำลังเรียนรู้ที่จะจัดการ
    กับปัญหาของตัวเอง
  • 10:47 - 10:51
    พวกเขากำลังเอาอนาคตมาอยู่ในมือของตัวเอง
  • 10:51 - 10:57
    และนั่นคือประชาธิปไตย
    ในระดับรากหญ้าที่กำลังทำงาน
  • 10:59 - 11:04
    มากกว่า 1,200 หมู่บ้านได้ทำแบบนี้
  • 11:05 - 11:11
    ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนมากกว่า 400,000 คน
    และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 11:11 - 11:16
    และผมหวังว่ามันจะดำเนินต่อไปข้างหน้า
  • 11:17 - 11:22
    สำหรับอินเดียและประเทศกำลังพัฒนา
  • 11:22 - 11:28
    กองทัพ และ อาวุธยุทโธปกรณ์
  • 11:28 - 11:36
    บริษัทซอฟแวร์ และ ยานอวกาศ
  • 11:36 - 11:43
    อาจะไม่สำคัญเท่าก๊อกน้ำ และห้องส้วม
  • 11:43 - 11:45
    ขอบคุณครับ ขอบคุณมากๆ
  • 11:45 - 11:50
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:50 - 11:54
    ขอบคุณ
Title:
สุขาดี ชีวิตดี
Speaker:
โจ มาเดียต (Joe Madiath)
Description:

ในชนบทของอินเดีย การขาดแคลนห้องส้วมทำให้เกิดปัญหาใหญ่และเหม็น ทำให้น้ำปนเปื้อนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคในอินเดีย และยังมีผลกระทบในทางลบกับผู้หญิง โจ มาเดียต แนะนำโครงการที่จะช่วยให้ชาวบ้านช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการสร้างระบบสุขาภิบาลและการดูแลน้ำให้สะอาดโดยอาศัยความร่วมมือของทุกคนในหมู่บ้าน ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างชัดเจนครอบคลุมทั้งต่อสุขภาพ การศึกษา หรือแม้แต่การปกครอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:07
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Better toilets, better life
Show all

Thai subtitles

Revisions