Return to Video

แอปพลิเคชันนี้รู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร -- จากสีหน้าของคุณ

  • 0:01 - 0:05
    อารมณ์ของเรามีอิทธิพลต่อเรา
    ในทุกด้านของชีวิต
  • 0:05 - 0:08
    ตั้งแต่สุขภาพและการเรียนรู้
    ไปจนถึงการทำธุรกิจและตัดสินใจ
  • 0:08 - 0:10
    ไม่ว่าเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก
  • 0:11 - 0:14
    อารมณ์ของเรายังมีอิทธิพลต่อ
    ความสัมพันธ์ที่คนเรามีต่อกันด้วย
  • 0:15 - 0:19
    คนเรามีวิวัฒนาการมา
    ให้มีชีวิตอยู่ในโลกแบบนี้
  • 0:19 - 0:23
    แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้น
    เรากำลังใช้ชีวิตแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
  • 0:23 - 0:27
    นี่คือข้อความจากลูกสาวของฉันเมื่อคืนนี้
  • 0:27 - 0:29
    ในโลกที่ขาดไร้ซึ่งอารมณ์
  • 0:29 - 0:31
    ฉันเลยมีภารกิจที่จะเปลี่ยนแปลงมัน
  • 0:31 - 0:35
    ฉันต้องการนำอารมณ์
    กลับมาสู่ประสบการณ์ดิจิตอลของเรา
  • 0:36 - 0:39
    ฉันเริ่มต้นเส้นทางนี้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว
  • 0:39 - 0:41
    ฉันเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในอียิปต์
  • 0:41 - 0:46
    และเพิ่งได้รับตอบรับเข้าเรียนปริญญาเอก
    ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
  • 0:46 - 0:48
    นั่นคือ ฉันทำอะไรที่ประหลาดมาก
  • 0:48 - 0:52
    สำหรับหญิงสาวมุสลิมในอียิปต์
    ที่เพิ่งแต่งงาน
  • 0:54 - 0:57
    แต่ด้วยการสนับสนุนจากสามีของฉัน
    ซึ่งต้องอยู่ที่อียิปต์
  • 0:57 - 1:00
    ฉันก็เก็บกระเป๋าและย้ายไปอังกฤษ
  • 1:00 - 1:03
    ที่เคมบริดจ์ หลายพันไมล์ไกลจากบ้าน
  • 1:03 - 1:06
    ฉันเริ่มรู้ตัวว่าฉันใช้เวลา
    อยู่กับคอมพิวเตอร์แล็บท็อปของฉัน
  • 1:06 - 1:08
    มากกว่าใช้เวลากับมนุษย์คนอื่น
  • 1:08 - 1:13
    แม้จะใกล้ชิดกันขนาดนั้น แล็บท็อปของฉัน
    ก็ไม่รู้เลยว่าฉันกำลังรู้สึกอย่างไร
  • 1:13 - 1:17
    มันไม่รู้เลยว่าฉันกำลังมีความสุข
  • 1:17 - 1:20
    เจอวันที่เลวร้าย หรือเครียด หรือสับสน
  • 1:20 - 1:22
    ฉันก็เลยเกิดคับข้องใจขึ้นมา
  • 1:24 - 1:29
    ที่แย่กว่านั้น เวลาฉันสื่อสาร
    กับครอบครัวของฉันที่อยู่ที่บ้าน
  • 1:29 - 1:33
    ฉันรู้สึกว่าอารมณ์ทั้งหมดของฉัน
    มันอันตรธานหายไปในโลกไซเบอร์
  • 1:33 - 1:38
    ฉันคิดถึงบ้าน ฉันเหงา
    และบางวันฉันก็ร้องไห้
  • 1:38 - 1:43
    แต่วิธีที่ฉันใช้สื่อสารอารมณ์เหล่านี้ได้
    มีทั้งหมดก็แค่นี้
  • 1:43 - 1:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:45 - 1:49
    เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้
    มี ไอ.คิว. สูงมาก แต่ไม่มี อี.คิว.
  • 1:49 - 1:53
    ฉลาดทางปัญญามาก
    แต่ไม่ฉลาดทางอารมณ์
  • 1:53 - 1:55
    นั่นจึงทำให้ฉันคิดขึ้นมาว่า
  • 1:55 - 1:59
    มันจะเป็นยังไงนะ
    ถ้าเทคโนโลยีรับรู้อารมณ์ของเราได้
  • 1:59 - 2:03
    ถ้าอุปกรณ์ทั้งหลายของเรารับรู้ได้ว่า
    เรารู้สึกอย่างไรและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
  • 2:03 - 2:06
    เหมือนที่เพื่อนของเรา
    ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะตอบสนอง
  • 2:07 - 2:10
    คำถามเหล่านี้นำพาฉันและทีม
  • 2:10 - 2:15
    ให้สร้างเทคโนโลยีที่สามารถอ่าน
    และตอบสนองต่ออารมณ์ของเราได้
  • 2:15 - 2:18
    และจุดเริ่มต้นของเราคือใบหน้าของมนุษย์
  • 2:19 - 2:22
    ใบหน้าของมนุษย์
    เป็นช่องทางที่มีพลังที่สุดช่องทางหนึ่ง
  • 2:22 - 2:26
    ที่เราใช้สื่อสารสภาวะทางอารมณ์และสังคม
  • 2:26 - 2:29
    ทุกๆ อย่างตั้งแต่ความรื่นรมย์ ประหลาดใจ
  • 2:29 - 2:33
    เห็นอกเห็นใจ และสงสัยใคร่รู้
  • 2:33 - 2:38
    ในศาสตร์ด้านอารมณ์ เรียกการเคลื่อนไหว
    กล้ามเนื้อใบหน้าแต่ละมัดว่าหน่วยเคลื่อนไหว
  • 2:38 - 2:41
    เช่น หน่วยเคลื่อนไหวที่ 12
  • 2:41 - 2:43
    ไม่ใช่ชื่อหนังฮอลลีวูดนะ
  • 2:43 - 2:46
    มันคือการดึงมุมปากขึ้น
    ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการยิ้ม
  • 2:46 - 2:49
    ทุกคนลองดูนะคะ
    มาเรามายิ้มกันเถอะ
  • 2:49 - 2:52
    อีกตัวอย่างหนึ่งคือหน่วยเคลื่อนไหวที่ 4
    คือการขมวดคิ้ว
  • 2:52 - 2:54
    เมื่อคุณดึงคิ้วเข้าหากัน
  • 2:54 - 2:56
    ทำให้เกิดพื้นผิวรอยย่นแบบนี้
    ซึ่งเราไม่ชอบเลย
  • 2:56 - 3:00
    แต่มันเป็นตัวบ่งชี้อารมณ์ทางลบที่ชัดเจน
  • 3:00 - 3:03
    คนเรามีหน่วยการเคลื่อนไหวแบบนี้ 45 หน่วย
  • 3:03 - 3:06
    และมันทำงานร่วมกันเพื่อแสดงอารมณ์นับร้อยๆ
  • 3:06 - 3:10
    การสอนให้คอมพิวเตอร์
    อ่านอารมณ์ทางสีหน้าพวกนี้เป็นเรื่องยาก
  • 3:10 - 3:13
    เพราะหน่วยการเคลื่อนไหวเหล่านี้
    เกิดขึ้นเร็ว มองไม่ค่อยออก
  • 3:13 - 3:16
    และยังประกอบกันได้หลายรูปแบบ
  • 3:16 - 3:20
    ตัวอย่างเช่น การยิ้ม กับการยิ้มเยาะ
  • 3:20 - 3:23
    มันดูคล้ายๆ กัน แต่มันมีความหมายต่างกันมาก
  • 3:23 - 3:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:25 - 3:27
    การยิ้มนี่ความหมายทางบวก
  • 3:27 - 3:29
    การยิ้มเยาะนี่มักจะมีความหมายแง่ลบ
  • 3:29 - 3:33
    บางครั้งการยิ้มเยาะ
    อาจทำให้คุณกลายเป็นคนดังขึ้นมา
  • 3:33 - 3:36
    แต่เอาจริงๆ นะ นี่เป็นเรื่องสำคัญ
    ที่คอมพิวเตอร์ต้องสามารถ
  • 3:36 - 3:38
    แยกแยะความแตกต่างระหว่างสีหน้าสองแบบนี้ได้
  • 3:38 - 3:41
    แล้วเราทำยังไงล่ะ
  • 3:41 - 3:42
    เราให้ชุดคำสั่งของเรา
  • 3:42 - 3:47
    ได้เรียนรู้ตัวอย่างคนนับหมื่นๆ
    ที่เรารู้อย่างแน่นอนว่ากำลังยิ้มอยู่
  • 3:47 - 3:50
    จากทุกเชื้อชาติ อายุ เพศ
  • 3:50 - 3:52
    แล้วเราก็ทำอย่างเดียวกันกับการยิ้มเยาะ
  • 3:52 - 3:54
    แล้วหลังจากการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
  • 3:54 - 3:57
    ชุดคำสั่งของเราก็มองหาพื้นผิว รอยย่น
  • 3:57 - 3:59
    และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเหล่านี้
    บนใบหน้าของเรา
  • 3:59 - 4:03
    และเรียนรู้ว่า การยิ้มทุกๆ ตัวอย่าง
    มีลักษณะอะไรร่วมกัน
  • 4:03 - 4:06
    และการยิ้มเยาะทุกตัวอย่าง
    มีลักษณะที่แตกต่างไปเล็กน้อยอย่างไร
  • 4:06 - 4:08
    ครั้งต่อไปที่มันเห็นใบหน้าใหม่
  • 4:08 - 4:10
    มันก็จะเรียนรู้ว่า
  • 4:10 - 4:13
    ใบหน้านี้มีลักษณะเหมือนการยิ้ม
  • 4:13 - 4:18
    แล้วก็บอกว่า
    "อะฮ้า ฉันจำได้ละ นี่คือการยิ้ม"
  • 4:18 - 4:21
    ทีนี้ การสาธิตที่ดีที่สุด
    ว่าเทคโนโลยีนี้ทำงานอย่างไร
  • 4:21 - 4:23
    คือการทดลองกับคนจริงๆ
  • 4:23 - 4:27
    เอาล่ะ ฉันอยากได้อาสาสมัครสักคน
    ขอให้เป็นคนที่มีใบหน้านะคะ
  • 4:27 - 4:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:30 - 4:32
    โคลอี้จะเป็นอาสาสมัครให้เราวันนี้ค่ะ
  • 4:33 - 4:38
    คือ ห้าปีที่ผ่านมา
    เราก้าวจากการเป็นโครงการวิจัยที่เอ็มไอที
  • 4:38 - 4:39
    มาเป็นบริษัท
  • 4:39 - 4:42
    ซึ่งทีมของฉันทำงานกันหนักมาก
    เพื่อให้เทคโนโลยีนี้ทำงานได้
  • 4:42 - 4:45
    ในสภาพการใช้งานจริง
  • 4:45 - 4:47
    และเราก็ย่อส่วนมัน
    ให้โปรแกรมหลักที่ใช้วิเคราะห์อารมณ์
  • 4:47 - 4:51
    ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีกล้องได้
    เช่นไอแพด
  • 4:51 - 4:53
    เรามาลองกันนะคะ
  • 4:55 - 4:59
    คุณจะเห็นว่าชุดคำสั่งพบใบหน้าของโคลอี้แล้ว
  • 4:59 - 5:00
    คือกล่องที่มีเส้นกรอบสีขาวนี่
  • 5:00 - 5:03
    แล้วมันก็ติดตามการเคลื่อนไหว
    ของจุดหลักๆ บนหน้าของเธอ
  • 5:03 - 5:06
    คิ้ว ตา ปาก และจมูก
  • 5:06 - 5:09
    คำถามคือ มันจะรู้ไหมว่าเธอแสดงสีหน้าอะไร
  • 5:09 - 5:10
    เราจะมาทดสอบเจ้าเครื่องนี้กัน
  • 5:10 - 5:15
    ก่อนอื่น ทำหน้าเฉยหน่อยซิ
    อ่ะ เจ๋งเลย (เสียงหัวเราะ)
  • 5:15 - 5:17
    ทีนี้ พอโคลอี้ยิ้ม
    นี่คือยิ้มที่จริงใจ เยี่ยมมาก
  • 5:17 - 5:20
    คุณจะเห็นแท่งสีเขียวเพิ่มขึ้นตอนที่เธอยิ้ม
  • 5:20 - 5:21
    นั่นคือการยิ้มกว้าง
  • 5:21 - 5:24
    ลองยิ้มน้อยๆ ได้ไหม
    ดูซิว่าคอมพิวเตอร์จะจับได้ไหม
  • 5:24 - 5:26
    มันรับรู้ยิ้มจางๆ ได้ด้วยเช่นกัน
  • 5:26 - 5:28
    เราทำงานกันหนักมากเพื่อให้มันทำได้
  • 5:28 - 5:31
    ทีนี้ เลิกคิ้ว ตัวบ่งชี้ว่าประหลาดใจ
  • 5:31 - 5:36
    คิ้วขมวด ซึ่งบ่งชี้ความสับสน
  • 5:36 - 5:40
    หน้าบึ้ง ใช่เลย เยี่ยม
  • 5:40 - 5:43
    นี่คือหน่วยการเคลื่อนไหวต่างๆ
    ยังมีอีกหลายแบบมาก
  • 5:43 - 5:45
    นี่คือการสาธิตสั้นๆ เท่านั้น
  • 5:45 - 5:48
    เราเรียกการอ่านข้อมูลแต่ละจุดบนใบหน้า
    ว่าหน่วยข้อมูลอารมณ์
  • 5:48 - 5:51
    และมันก็ทำงานร่วมกัน
    เพื่อแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป
  • 5:51 - 5:56
    ตรงด้านขวาของจอ
    ดูเหมือนเธอมีความสุขอยู่นะ
  • 5:56 - 5:57
    นั่นคือความสุข มันสว่างขึ้นมา
  • 5:57 - 5:59
    ทีนี้ ทำหน้าขยะแขยงซิ
  • 5:59 - 6:04
    ทีนี้ นึกถึงความรู้สึกตอนที่เซย์น
    ลาออกจากวง วัน ไดเร็กชัน ซิ
  • 6:04 - 6:05
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:05 - 6:09
    ใช่ จมูกย่นเลย แจ๋ว
  • 6:09 - 6:13
    และทิศทางอารมณ์ค่อนข้างลบมาก
    นี่เป็นแฟนพันธุ์แท้วงนี้ล่ะสิ
  • 6:13 - 6:16
    ทิศทางอารมณ์คือความเป็นบวก
    หรือลบของประสบการณ์นั้น
  • 6:16 - 6:19
    และความอิน คือ เธอแสดงออกมากขนาดไหน
  • 6:19 - 6:22
    ลองจินตนาการดูสิคะ ถ้าโคลอี้เข้าถึง
    ข้อมูลอารมณ์แบบนี้ได้ทันทีตลอดเวลา
  • 6:22 - 6:25
    และเธอสามารถแชร์ให้ใครก็ได้ที่เธอต้องการ
  • 6:25 - 6:28
    ขอบคุณค่ะ
  • 6:28 - 6:32
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:34 - 6:39
    ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เราเก็บรวบรวม
    ข้อมูลอารมณ์ได้หนึ่งหมื่นสองพันล้านหน่วย
  • 6:39 - 6:42
    เป็นฐานข้อมูลอารมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 6:42 - 6:45
    เราเก็บรวบรวมมาจากวิดีโอใบหน้า
    สองล้านเก้าแสนวิดีโอ
  • 6:45 - 6:47
    ถ่ายจากคนที่ยินยอม
    ให้ข้อมูลอารมณ์ของเขาให้กับเรา
  • 6:47 - 6:50
    จาก 75 ประเทศทั่วโลก
  • 6:50 - 6:52
    และกำลังเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน
  • 6:53 - 6:55
    มันทำให้ฉันตื่นเต้นสุดๆ
  • 6:55 - 6:58
    ที่ตอนนี้เราวัดปริมาณอะไรที่
    เป็นประสบการณ์ส่วนตัวมากๆ อย่างอารมณ์
  • 6:58 - 7:00
    และเราสามารถทำได้ในขอบเขตใหญ่ขนาดนี้
  • 7:00 - 7:02
    แล้วจากข้อมูลนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
  • 7:03 - 7:05
    ความแตกต่างระหว่างเพศ
  • 7:05 - 7:09
    ข้อมูลของเรายืนยันบางอย่าง
    ที่คุณอาจคาดไว้อยู่แล้ว
  • 7:09 - 7:11
    ผู้หญิงแสดงอารมณ์มากกว่าผู้ชาย
  • 7:11 - 7:14
    ไม่ใช่เพียงแค่ยิ้มมากกว่า
    แต่ยังยิ้มนานกว่า
  • 7:14 - 7:16
    และเรายังสามารถวัดได้ด้วย
    ว่าอะไรที่ผู้หญิงกับผู้ชาย
  • 7:16 - 7:19
    ตอบสนองต่างกัน
  • 7:19 - 7:21
    ลองมาดูตามวัฒนธรรมกัน
    ในสหรัฐอเมริกา
  • 7:21 - 7:24
    ผู้หญิงแสดงอารมณ์
    มากกว่าผู้ชาย 40 เปอร์เซ็นต์
  • 7:24 - 7:28
    แต่น่าแปลกไหม ที่เราไม่เห็นความแตกต่าง
    ระหว่างชายหญิงในอังกฤษ
  • 7:28 - 7:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:31 - 7:35
    ส่วนอายุ คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • 7:35 - 7:39
    แสดงอารมณ์มากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า
  • 7:39 - 7:44
    ผู้หญิงในวัย 20 กว่า
    ยิ้มเยอะกว่าผู้ชายในวัยเดียวกันมาก
  • 7:44 - 7:48
    บางทีอาจเป็นสิ่งจำเป็นในการออกเดท
  • 7:48 - 7:50
    แต่สิ่งที่ทำให้เราประหลาดใจที่สุด
    จากข้อมูลชุดนี้
  • 7:50 - 7:53
    คือ จริงๆ คนเราแสดงอารมณ์ตลอดเวลา
  • 7:53 - 7:56
    แม้เวลาที่เรานั่งอยู่คนเดียว
    หน้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเรา
  • 7:56 - 8:00
    ไม่ใช่แค่ตอนที่เราดูวิดีโอแมวบนเฟซบุค
  • 8:00 - 8:03
    แต่เราแสดงอารมณ์ตอนเราอีเมล์
    ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์
  • 8:03 - 8:06
    หรือแม้แต่ยื่นแบบภาษี
  • 8:06 - 8:08
    วันนี้ เราเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไรได้
  • 8:08 - 8:11
    ในการทำความเข้าใจการติดต่อสัมพันธ์กับสื่อ
  • 8:11 - 8:13
    การแพร่กระจายข่าวสารแบบไวรัล
    พฤติกรรมการเลือกตั้ง
  • 8:13 - 8:16
    เทคโนโลยีที่ให้อำนาจ
    หรือความสามารถทางอารมณ์
  • 8:16 - 8:21
    ฉันอยากเล่าตัวอย่าง
    ที่สำคัญกับฉันมากเป็นพิเศษ
  • 8:21 - 8:24
    แว่นตาเพิ่มความสามารถในการรับรู้อารมณ์
  • 8:24 - 8:27
    ช่วยให้คนพิการทางสายตาอ่านใบหน้าคนอื่นได้
  • 8:27 - 8:31
    มันช่วยคนที่มีอาการออทิสซึม
    ให้ตีความอารมณ์คนอื่นได้
  • 8:31 - 8:34
    ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขามีปัญหา
  • 8:35 - 8:39
    ในวงการการศึกษา ลองคิดดูสิคะ
    ถ้าแอปพลิเคชันการเรียนรู้ของคุณ
  • 8:39 - 8:42
    รับรู้ได้ว่าคุณสับสนและทำงานช้าลง
  • 8:42 - 8:43
    หรือรู้ว่าคุณเบื่อ จึงเร่งความเร็วขึ้น
  • 8:43 - 8:46
    เหมือนที่ครูที่ยอดเยี่ยมจะทำในห้องเรียน
  • 8:47 - 8:50
    จะเป็นยังไงถ้านาฬิกาข้อมือของคุณ
    เฝ้าติดตามอารมณ์ของคุณ
  • 8:50 - 8:52
    หรือรถของคุณรับรู้ได้ว่าคุณเหนื่อย
  • 8:52 - 8:55
    หรือตู้เย็นของคุณอาจจะรู้ว่าคุณเครียด
  • 8:55 - 8:59
    มันเลยล็อกตัวเองอัตโนมัติ
    ป้องกันคุณกินอย่างไร้สติ (เสียงหัวเราะ)
  • 8:59 - 9:02
    ฉันอยากได้นะ
  • 9:04 - 9:06
    จะเป็นยังไง ถ้าตอนอยู่เคมบริดจ์
  • 9:06 - 9:08
    ฉันสามารถเข้าถึงกระแสอารมณ์ของฉัน
    แบบนาทีต่อนาที
  • 9:08 - 9:11
    และฉันสามารถแชร์ความรู้สึกนั้น
    กับครอบครัวของฉันที่บ้านอย่างเป็นธรรมชาติ
  • 9:11 - 9:15
    เหมือนกับเวลาที่เราทุกคนอยู่ในห้องเดียวกัน
  • 9:15 - 9:19
    ฉันคิดว่า อีกห้าปีข้างหน้า
  • 9:19 - 9:21
    อุปกรณ์ทุกอย่างของเรา
    จะมีชิพตรวจจับอารมณ์
  • 9:21 - 9:25
    และเราจะลืมช่วงเวลาก่อนหน้านี้ไปเลย
    ที่เรายังไม่สามารถหน้าบึ้งใส่อุปกรณ์ของเรา
  • 9:25 - 9:29
    แล้วอุปกรณ์ของเรามันจะพูดว่า
    "อืม คุณไม่ชอบใช่ไหมล่ะ"
  • 9:29 - 9:33
    ความท้าทายสูงสุดของเราคือ
    การใช้งานเทคโนโลยีนี้มีได้หลากหลายมาก
  • 9:33 - 9:36
    ฉันกับทีมของฉันรู้ว่า
    เราไม่สามารถสร้างทุกอย่างเองได้ทั้งหมด
  • 9:36 - 9:39
    เราจึงเปิดเผยเทคโนโลยีนี้
    เพื่อให้นักพัฒนาคนอื่น
  • 9:39 - 9:41
    สามารถเอาไปพัฒนาและสร้างสรรค์ต่อ
  • 9:41 - 9:46
    เราตระหนักว่ามันมีความเสี่ยง
  • 9:46 - 9:48
    และอาจมีการเอาไปใช้ในทางที่ผิด
  • 9:48 - 9:51
    แต่โดยส่วนตัวที่ทำเรื่องนี้มาหลายปี
  • 9:51 - 9:53
    ฉันเชื่อว่า ประโยชน์ที่มีต่อมนุษยชาติ
  • 9:53 - 9:56
    จากการมีเทคโนโลยีที่มีความฉลาดทางอารมณ์
  • 9:56 - 9:59
    มันมากกว่าโอกาสที่จะมีคนนำไปใช้ในทางไม่ควร
  • 9:59 - 10:02
    และฉันอยากเชื้อเชิญทุกคน
    ให้เป็นส่วนหนึ่งในการสนทนานี้
  • 10:02 - 10:04
    ยิ่งมีคนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้มากเท่าใด
  • 10:04 - 10:08
    เรายิ่งมีเสียงที่หลากหลายมากขึ้น
    ว่าเราเอามันไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
  • 10:09 - 10:14
    ชีวิตของเรา
    กลายเป็นชีวิตดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 10:14 - 10:17
    เราพ่ายแพ้ในการต่อสู้เพื่อพยายาม
    ลดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
  • 10:17 - 10:19
    เพื่อกู้อารมณ์ของเรากลับคืนมา
  • 10:21 - 10:25
    แทนที่จะทำอย่างนั้น สิ่งที่ฉันพยายามทำคือ
    นำอารมณ์มาใส่ในเทคโนโลยี
  • 10:25 - 10:27
    และทำให้เทคโนโลยีตอบสนองกับเรามากขึ้น
  • 10:27 - 10:29
    ฉันอยากให้อุปกรณ์เหล่านั้น
    ที่เคยแยกเราให้ห่างกัน
  • 10:29 - 10:32
    นำเรากลับมาใกล้กันอีกครั้ง
  • 10:32 - 10:36
    การทำให้เทคโนโลยีมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
    ทำให้เรามีโอกาสทอง
  • 10:36 - 10:40
    ที่จะสร้างจินตนาการใหม่
    ว่าเราจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ อย่างไร
  • 10:40 - 10:44
    และเพื่อให้เรา มนุษยชาติ
  • 10:44 - 10:46
    เชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากขึ้น
  • 10:46 - 10:48
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:48 - 10:52
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แอปพลิเคชันนี้รู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร -- จากสีหน้าของคุณ
Speaker:
รานา เอล คาลิอูบี
Description:

อารมณ์ของเรามีอิทธิพลต่อเราในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การสื่อสาร การตัดสินใจ แต่ปัจจุบันอารมณ์กลับหายไปจากชีวิตดิจิตอลของเรา อุปกรณ์และแอปพลิเคชันที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วยไม่มีทางรู้เลยว่าเรารู้สึกอย่างไร รานา เอล คาลิอูบี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มุ่งจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ เธอสาธิตเทคโนโลยีทรงพลังอันใหม่ที่อ่านสีหน้าของคุณ และจับคู่กับอารมณ์ที่สอดคล้องกัน รานา เอล คาลิอูบีกล่าว "เครื่องวัดอารมณ์" นี้ มีนัยสำคัญหลายอย่าง และมันสามารถเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับเครื่องจักรต่างๆ แต่ระหว่างมนุษย์เราเองด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:04

Thai subtitles

Revisions