Return to Video

ภาพลวงตาหลอกล่อสมองเราอย่างไร - นาธาน เอส. เจคอบส์ (Nathan S. Jacobs)

  • 0:09 - 0:10
    ลองดูนี่
  • 0:10 - 0:15
    นี่คือตาราง ไม่มีอะไรพิเศษ
    แค่ตารางธรรมดาทั่วไป
  • 0:15 - 0:19
    แต่ดูที่จุดสีขาวตรงกลาง
  • 0:19 - 0:23
    ตรงที่เส้นขวางและเส้นดิ่งตัดกันให้ดี ๆ
  • 0:23 - 0:27
    ดูให้ดี ๆ เห็นอะไรแปลก ๆ ไหม
  • 0:27 - 0:28
    ไม่เห็นจะมีอะไร
  • 0:28 - 0:31
    ดูต่อไป
    ลองจ้องต่อไป
  • 0:31 - 0:34
    แล้วลองเพ่งที่จุดสีขาวนี้
  • 0:34 - 0:37
    แล้วดูรอบ ๆ ว่าเห็นอะไร
  • 0:37 - 0:44
    จุดอื่นยังเป็นสีขาวไหม
    หรือกลายเป็นจุดสีเทากะพริบ
  • 0:44 - 0:47
    ลองมาดูถาดอบมัฟฟินนี้บ้าง
  • 0:47 - 0:51
    อุ๊ย ขอโทษที มีหลุมหนึ่ง
    นูนออกมาแทนที่จะบุ๋มลงไป
  • 0:51 - 0:55
    เดี๋ยวก่อน ลองกลับด้านถาดดู
    อีกห้าหลุมกลับปูดออกมาแทน
  • 0:55 - 0:58
    จะยังไงเสีย ถาดนี้ก็มีตำหนิ
  • 0:58 - 1:02
    ส่วนนี่คือรูปอับราฮัม ลินคอล์น
    และรูปนี้กลับหัว
  • 1:02 - 1:04
    ไม่มีอะไรแปลก
  • 1:04 - 1:10
    เดี๋ยวก่อน ลองกลับหัวให้ถูกทิศ
    เกิดอะไรขึ้นกับลินคอล์นกันเนี่ย
  • 1:10 - 1:13
    ทั้งสามภาพเป็นเหมือนภาพลวงตา
    มันหลอกพวกเรา
  • 1:13 - 1:15
    มันเป็นไปได้อย่างไรกัน
  • 1:15 - 1:18
    ภาพพวกนี้มีเวทมนตร์หรืออย่างไร
  • 1:18 - 1:21
    หรือพวกเราอาจแอบใส่จุดเทากะพริบ
  • 1:21 - 1:24
    รอบจุดสีขาวในตารางเมื่อครู่นี้ก็เป็นได้
  • 1:24 - 1:26
    แต่ ขอสัญญาเลยว่าเราไม่ได้ทำ
  • 1:26 - 1:30
    คุณจะเห็นแบบเดียวกัน
    แม้จะลงมือพิมพ์ลงบนกระดาษธรรมดา
  • 1:30 - 1:36
    ที่จริงแล้ว ตารางนี้เป็นแค่ตารางธรรมดา
    แต่ไม่ใช่สำหรับระบบรับภาพในสมอง
  • 1:36 - 1:41
    นี่คือวิธีที่สมองตีความข้อมูลแสง
    จากตารางที่คุณเห็น
  • 1:41 - 1:46
    จุดตัดสีขาวถูกล้อมรอบด้วย
    เส้นสีขาวทั้งสี่ด้าน
  • 1:46 - 1:49
    ซึ่งมีมากกว่าจุดสีขาวในเส้น
  • 1:49 - 1:54
    เซลล์จอประสาทตาตรวจจับได้ว่า
    มีสีขาวมากกว่าที่รอบ ๆ จุดตัด
  • 1:54 - 2:00
    เพราะพวกมันเพิ่มความแตกต่างของแสง
    ด้วยวิธียับยั้งเซลล์ข้างเคียง
  • 2:00 - 2:03
    ยิ่งเห็นความแตกต่างของแสงมาก
    ยิ่งทำให้เห็นขอบของวัตถุได้ง่าย
  • 2:03 - 2:08
    ซึ่งตาและสมองของเรา
    วิวัฒนาการมาเพื่อเห็นสิ่งนี้
  • 2:08 - 2:12
    เซลล์จอประสาทตาไม่ตอบสนองต่อสีขาว
    ของจุดตัดมากเท่าที่ควร
  • 2:12 - 2:16
    เพราะเกิดการยับยั้งเซลล์ข้างเคียง
    ที่เส้นสีขาวรอบ ๆ มากกว่า
  • 2:16 - 2:20
    ซึ่งเส้นเหล่านั้น
    ถูกล้อมรอบด้วยสีดำ
  • 2:20 - 2:22
    นี่ไม่ใช่เพราะตาคุณบกพร่อง
  • 2:22 - 2:27
    หากคุณมองเห็นได้ ภาพลวงตา
    ก็หลอกคุณได้แม้ว่าจะสวมแว่นตา
  • 2:27 - 2:30
    ไม่ว่าจะดูจากกระดาษ
    หรือจอคอมพิวเตอร์ตรงหน้า
  • 2:30 - 2:32
    ภาพลวงตาแสดงให้เห็นว่า
  • 2:32 - 2:37
    เซลล์รับแสงและสมองนั้น
    ประกอบข้อมูลภาพ
  • 2:37 - 2:40
    เป็นโลกสามมิติรอบตัวเราได้อย่างไร
  • 2:40 - 2:42
    และเน้นตรงขอบมุมเป็นพิเศษ
  • 2:42 - 2:46
    เพราะวัตถุที่มีขอบคม
    อาจช่วยหรือฆ่าเราได้
  • 2:46 - 2:49
    ลองดูถาดมัฟฟินอีกรอบ
    รู้ไหมอะไรทำให้คุณสับสน
  • 2:49 - 2:55
    สมองส่วนของการมองเห็น
    ทำงานโดยคิดว่าแสงในภาพ
  • 2:55 - 2:59
    ต้องมาจากแหล่งเดียว
    โดยฉายจากด้านบนลงล่าง
  • 2:59 - 3:04
    และส่วนของเงา
    ต้องเกิดจากแสงที่ส่องลงมา
  • 3:04 - 3:07
    ตรงส่วนนูนของโดม
    หรือที่ก้นหลุมเท่านั้น
  • 3:07 - 3:11
    หากเราวาดภาพแรเงาแบบเดียวกันนี้
  • 3:11 - 3:13
    แม้บนกระดาษเรียบๆ
  • 3:13 - 3:17
    สมองของเราจะสร้างทรงเว้าหรือทรงนูน
    โดยอัตโนมัติ
  • 3:17 - 3:20
    ทีนี้มาดูรูปลินคอล์นกลับหัวชวนขนลุกกัน
  • 3:20 - 3:23
    ใบหน้ากระตุ้นการทำงาน
    ของสมองบริเวณ
  • 3:23 - 3:27
    ส่วนที่พัฒนามาเพื่อช่วยเราแยกแยะ
    ใบหน้ามนุษย์โดยเฉพาะ
  • 3:27 - 3:32
    เช่น เขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย
    และส่วนอื่น ๆ ในสมองกลีบท้ายทอยและขมับ
  • 3:32 - 3:35
    ซึ่งสมเหตุสมผล
    เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
  • 3:35 - 3:38
    ที่มีวิธีปฏิสัมพันธ์ซับซ้อนอย่างมาก
  • 3:38 - 3:41
    เมื่อเห็นใบหน้า
    เราต้องแยกแยะได้ว่านี่คือใบหน้า
  • 3:41 - 3:44
    และบอกสีหน้าได้อย่างรวดเร็ว
  • 3:44 - 3:48
    สิ่งที่เราสนใจที่สุด
    คือตาและปาก
  • 3:48 - 3:52
    เพราะช่วยบอกเราว่า
    คนคนนั้นโกรธเราอยู่หรืออยากผูกมิตร
  • 3:52 - 3:53
    ในภาพหน้าลินคอล์นกลับหัว
  • 3:53 - 3:56
    ตาและปากหันถูกทิศแล้ว
  • 3:56 - 3:58
    เราจึงไม่รู้สึกว่ามีอะไรแปลก
  • 3:58 - 4:02
    แต่เมื่อกลับหัวภาพ
    ส่วนที่สำคัญที่สุดของใบหน้า
  • 4:02 - 4:07
    นั่นคือตาและปาก ดันกลับหัว
    เราจึงรู้ว่าภาพผิดเพี้ยนไป
  • 4:07 - 4:11
    เราบอกได้ว่าสมองเราใช้ทางลัด
    และมองข้ามบางอย่างไป
  • 4:11 - 4:15
    นี่ไม่ใช่เพราะสมองขี้เกียจ
    แต่เป็นเพราะมันยุ่งอย่างมาก
  • 4:15 - 4:18
    จึงต้องใช้พลังงาน
    ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • 4:18 - 4:25
    และพึ่งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อมูลภาพ
    เพื่อสร้างภาพโลกที่ดัดแปลงแก้ไขมาแล้ว
  • 4:25 - 4:28
    ลองจินตนาการสมองของเรา
    แก้ไขภาพเหล่านี้ทันทีที่เห็น
  • 4:28 - 4:30
    “โอเค สี่เหลี่ยมนั้นอาจเป็นสิ่งของ
  • 4:30 - 4:34
    เพิ่มค่าความแตกต่างของแสงตรงขอบ
    ด้วยการยับยั้งเซลล์ข้างเคียง
  • 4:34 - 4:35
    ทำให้ขอบเข้มขึ้นอีก!
  • 4:35 - 4:37
    ไล่จากเทาเข้มไปเทาอ่อน
  • 4:37 - 4:40
    น่าจะมีแดดเหนือศีรษะ
    ตกกระทบส่วนโค้ง ต่อไป!
  • 4:40 - 4:44
    ตาคู่นี้เหมือนตาที่เคยเห็นมา
    ไม่มีอะไรผิดเพี้ยน”
  • 4:44 - 4:47
    เห็นไหม ภาพลวงตาเหล่านี้
    เผยให้เห็นหน้าที่ของสมอง
  • 4:47 - 4:52
    ในฐานะผู้กำกับภาพเคลื่อนไหวสามมิติ
    ในห้องส่งภายในกะโหลกของเรา
  • 4:52 - 4:56
    ทำหน้าที่แบ่งสรรพลังสมอง
    และสร้างโลกไปด้วย
  • 4:56 - 5:01
    ด้วยกลเม็ดที่ใช้ได้ผลจริงแท้
    แม้อาจลวงหลอกบ้างก็ตาม
Title:
ภาพลวงตาหลอกล่อสมองเราอย่างไร - นาธาน เอส. เจคอบส์ (Nathan S. Jacobs)
Speaker:
Nathan S. Jacobs
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/how-optical-illusions-trick-your-brain-nathan-s-jacobs

ภาพลวงตาคือภาพที่ดูจะหลอกล่อเราให้เห็นอะไรที่ต่างออกไปจากภาพจริงที่เป็น แต่ภาพเหล่านี้ทำได้อย่าไร นาธาน เอส. เจคอบส์ พาเราไปดูภาพลวงตาง่าย ๆ และอธิบายถึงลูกเล่นของดวงตาเหล่านี้สามารถบอกถึงสมองของเราที่ประกอบสรางข้อมูลภาพ นำไปสู่โลก 3 มิติที่เราเห็นรอบ ๆ ได้

บทเรียนโดย นาธาน เอส. เจคอบส์ แอนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:19
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Pakawat Wongwaiyut accepted Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Panaya Hasitabhan edited Thai subtitles for How optical illusions trick your brain
Show all

Thai subtitles

Revisions