WEBVTT 00:00:08.690 --> 00:00:10.272 ลองดูนี่ 00:00:10.272 --> 00:00:14.769 นี่คือตาราง ไม่มีอะไรพิเศษ แค่ตารางธรรมดาทั่วไป 00:00:14.769 --> 00:00:18.546 แต่ดูที่จุดสีขาวตรงกลาง 00:00:18.546 --> 00:00:22.824 ตรงที่เส้นขวางและเส้นดิ่งตัดกันให้ดี ๆ 00:00:22.824 --> 00:00:26.545 ดูให้ดี ๆ เห็นอะไรแปลก ๆ ไหม 00:00:26.545 --> 00:00:27.915 ไม่เห็นจะมีอะไร 00:00:27.915 --> 00:00:30.686 ดูต่อไป ลองจ้องต่อไป 00:00:30.686 --> 00:00:33.742 แล้วลองเพ่งที่จุดสีขาวนี้ 00:00:33.742 --> 00:00:36.689 แล้วดูรอบ ๆ ว่าเห็นอะไร 00:00:36.689 --> 00:00:43.697 จุดอื่นยังเป็นสีขาวไหม หรือกลายเป็นจุดสีเทากะพริบ 00:00:43.697 --> 00:00:46.654 ลองมาดูถาดอบมัฟฟินนี้บ้าง 00:00:46.654 --> 00:00:50.865 อุ๊ย ขอโทษที มีหลุมหนึ่ง นูนออกมาแทนที่จะบุ๋มลงไป 00:00:50.865 --> 00:00:54.994 เดี๋ยวก่อน ลองกลับด้านถาดดู อีกห้าหลุมกลับปูดออกมาแทน 00:00:54.994 --> 00:00:58.475 จะยังไงเสีย ถาดนี้ก็มีตำหนิ 00:00:58.475 --> 00:01:02.168 ส่วนนี่คือรูปอับราฮัม ลินคอล์น และรูปนี้กลับหัว 00:01:02.168 --> 00:01:03.866 ไม่มีอะไรแปลก 00:01:03.866 --> 00:01:09.827 เดี๋ยวก่อน ลองกลับหัวให้ถูกทิศ เกิดอะไรขึ้นกับลินคอล์นกันเนี่ย 00:01:09.827 --> 00:01:13.491 ทั้งสามภาพเป็นเหมือนภาพลวงตา มันหลอกพวกเรา 00:01:13.491 --> 00:01:15.175 มันเป็นไปได้อย่างไรกัน 00:01:15.175 --> 00:01:18.389 ภาพพวกนี้มีเวทมนตร์หรืออย่างไร 00:01:18.389 --> 00:01:20.942 หรือพวกเราอาจแอบใส่จุดเทากะพริบ 00:01:20.942 --> 00:01:24.123 รอบจุดสีขาวในตารางเมื่อครู่นี้ก็เป็นได้ 00:01:24.123 --> 00:01:26.417 แต่ ขอสัญญาเลยว่าเราไม่ได้ทำ 00:01:26.417 --> 00:01:30.333 คุณจะเห็นแบบเดียวกัน แม้จะลงมือพิมพ์ลงบนกระดาษธรรมดา 00:01:30.333 --> 00:01:35.855 ที่จริงแล้ว ตารางนี้เป็นแค่ตารางธรรมดา แต่ไม่ใช่สำหรับระบบรับภาพในสมอง 00:01:35.855 --> 00:01:40.615 นี่คือวิธีที่สมองตีความข้อมูลแสง จากตารางที่คุณเห็น 00:01:40.615 --> 00:01:46.170 จุดตัดสีขาวถูกล้อมรอบด้วย เส้นสีขาวทั้งสี่ด้าน 00:01:46.170 --> 00:01:49.437 ซึ่งมีมากกว่าจุดสีขาวในเส้น 00:01:49.437 --> 00:01:54.231 เซลล์จอประสาทตาตรวจจับได้ว่า มีสีขาวมากกว่าที่รอบ ๆ จุดตัด 00:01:54.231 --> 00:01:59.632 เพราะพวกมันเพิ่มความแตกต่างของแสง ด้วยวิธียับยั้งเซลล์ข้างเคียง 00:01:59.632 --> 00:02:03.389 ยิ่งเห็นความแตกต่างของแสงมาก ยิ่งทำให้เห็นขอบของวัตถุได้ง่าย 00:02:03.389 --> 00:02:07.780 ซึ่งตาและสมองของเรา วิวัฒนาการมาเพื่อเห็นสิ่งนี้ 00:02:07.780 --> 00:02:11.633 เซลล์จอประสาทตาไม่ตอบสนองต่อสีขาว ของจุดตัดมากเท่าที่ควร 00:02:11.633 --> 00:02:15.847 เพราะเกิดการยับยั้งเซลล์ข้างเคียง ที่เส้นสีขาวรอบ ๆ มากกว่า 00:02:15.847 --> 00:02:20.041 ซึ่งเส้นเหล่านั้น ถูกล้อมรอบด้วยสีดำ 00:02:20.041 --> 00:02:22.307 นี่ไม่ใช่เพราะตาคุณบกพร่อง 00:02:22.307 --> 00:02:26.503 หากคุณมองเห็นได้ ภาพลวงตา ก็หลอกคุณได้แม้ว่าจะสวมแว่นตา 00:02:26.503 --> 00:02:30.331 ไม่ว่าจะดูจากกระดาษ หรือจอคอมพิวเตอร์ตรงหน้า 00:02:30.331 --> 00:02:32.355 ภาพลวงตาแสดงให้เห็นว่า 00:02:32.355 --> 00:02:37.025 เซลล์รับแสงและสมองนั้น ประกอบข้อมูลภาพ 00:02:37.025 --> 00:02:39.895 เป็นโลกสามมิติรอบตัวเราได้อย่างไร 00:02:39.895 --> 00:02:42.169 และเน้นตรงขอบมุมเป็นพิเศษ 00:02:42.169 --> 00:02:45.789 เพราะวัตถุที่มีขอบคม อาจช่วยหรือฆ่าเราได้ 00:02:45.789 --> 00:02:49.316 ลองดูถาดมัฟฟินอีกรอบ รู้ไหมอะไรทำให้คุณสับสน 00:02:49.316 --> 00:02:54.812 สมองส่วนของการมองเห็น ทำงานโดยคิดว่าแสงในภาพ 00:02:54.812 --> 00:02:59.222 ต้องมาจากแหล่งเดียว โดยฉายจากด้านบนลงล่าง 00:02:59.222 --> 00:03:03.573 และส่วนของเงา ต้องเกิดจากแสงที่ส่องลงมา 00:03:03.573 --> 00:03:07.131 ตรงส่วนนูนของโดม หรือที่ก้นหลุมเท่านั้น 00:03:07.131 --> 00:03:10.547 หากเราวาดภาพแรเงาแบบเดียวกันนี้ 00:03:10.547 --> 00:03:12.652 แม้บนกระดาษเรียบๆ 00:03:12.652 --> 00:03:17.319 สมองของเราจะสร้างทรงเว้าหรือทรงนูน โดยอัตโนมัติ 00:03:17.319 --> 00:03:20.195 ทีนี้มาดูรูปลินคอล์นกลับหัวชวนขนลุกกัน 00:03:20.195 --> 00:03:23.185 ใบหน้ากระตุ้นการทำงาน ของสมองบริเวณ 00:03:23.185 --> 00:03:27.152 ส่วนที่พัฒนามาเพื่อช่วยเราแยกแยะ ใบหน้ามนุษย์โดยเฉพาะ 00:03:27.152 --> 00:03:31.944 เช่น เขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย และส่วนอื่น ๆ ในสมองกลีบท้ายทอยและขมับ 00:03:31.944 --> 00:03:34.974 ซึ่งสมเหตุสมผล เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม 00:03:34.974 --> 00:03:37.914 ที่มีวิธีปฏิสัมพันธ์ซับซ้อนอย่างมาก 00:03:37.914 --> 00:03:41.186 เมื่อเห็นใบหน้า เราต้องแยกแยะได้ว่านี่คือใบหน้า 00:03:41.186 --> 00:03:44.475 และบอกสีหน้าได้อย่างรวดเร็ว 00:03:44.475 --> 00:03:47.769 สิ่งที่เราสนใจที่สุด คือตาและปาก 00:03:47.769 --> 00:03:51.539 เพราะช่วยบอกเราว่า คนคนนั้นโกรธเราอยู่หรืออยากผูกมิตร 00:03:51.539 --> 00:03:53.085 ในภาพหน้าลินคอล์นกลับหัว 00:03:53.085 --> 00:03:56.104 ตาและปากหันถูกทิศแล้ว 00:03:56.104 --> 00:03:58.302 เราจึงไม่รู้สึกว่ามีอะไรแปลก 00:03:58.302 --> 00:04:01.819 แต่เมื่อกลับหัวภาพ ส่วนที่สำคัญที่สุดของใบหน้า 00:04:01.819 --> 00:04:06.617 นั่นคือตาและปาก ดันกลับหัว เราจึงรู้ว่าภาพผิดเพี้ยนไป 00:04:06.617 --> 00:04:10.770 เราบอกได้ว่าสมองเราใช้ทางลัด และมองข้ามบางอย่างไป 00:04:10.770 --> 00:04:14.938 นี่ไม่ใช่เพราะสมองขี้เกียจ แต่เป็นเพราะมันยุ่งอย่างมาก 00:04:14.938 --> 00:04:18.454 จึงต้องใช้พลังงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 00:04:18.454 --> 00:04:24.595 และพึ่งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อมูลภาพ เพื่อสร้างภาพโลกที่ดัดแปลงแก้ไขมาแล้ว 00:04:24.595 --> 00:04:27.641 ลองจินตนาการสมองของเรา แก้ไขภาพเหล่านี้ทันทีที่เห็น 00:04:27.641 --> 00:04:29.732 “โอเค สี่เหลี่ยมนั้นอาจเป็นสิ่งของ 00:04:29.732 --> 00:04:33.724 เพิ่มค่าความแตกต่างของแสงตรงขอบ ด้วยการยับยั้งเซลล์ข้างเคียง 00:04:33.724 --> 00:04:34.948 ทำให้ขอบเข้มขึ้นอีก! 00:04:34.948 --> 00:04:36.874 ไล่จากเทาเข้มไปเทาอ่อน 00:04:36.874 --> 00:04:39.891 น่าจะมีแดดเหนือศีรษะ ตกกระทบส่วนโค้ง ต่อไป! 00:04:39.891 --> 00:04:43.782 ตาคู่นี้เหมือนตาที่เคยเห็นมา ไม่มีอะไรผิดเพี้ยน” 00:04:43.782 --> 00:04:47.380 เห็นไหม ภาพลวงตาเหล่านี้ เผยให้เห็นหน้าที่ของสมอง 00:04:47.380 --> 00:04:52.012 ในฐานะผู้กำกับภาพเคลื่อนไหวสามมิติ ในห้องส่งภายในกะโหลกของเรา 00:04:52.012 --> 00:04:56.270 ทำหน้าที่แบ่งสรรพลังสมอง และสร้างโลกไปด้วย 00:04:56.270 --> 00:05:01.020 ด้วยกลเม็ดที่ใช้ได้ผลจริงแท้ แม้อาจลวงหลอกบ้างก็ตาม