Return to Video

ความอัศจรรย์ของ 21 วันแรกของชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าผึ้ง

  • 0:01 - 0:07
    (เสียงดนตรี)
  • 0:14 - 0:19
    นี่คือผึ้งที่อยู่ในสวนของผม
    ที่เบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย
  • 0:19 - 0:21
    ผมไม่เคยเลี้ยงผึ้งมาก่อนเลย
    จนกระทั่งปีที่แล้ว
  • 0:21 - 0:25
    เนชันแนล จีโอกราฟิกให้ผมถ่ายรูป
    ในสารคดีเกี่ยวกับผึ้ง
  • 0:25 - 0:28
    และผมก็คิดว่าการที่จะถ่ายรูปผึ้งได้สวยๆ นั้น
  • 0:28 - 0:30
    ผมควรเรื่มเลี้ยงผึ้งดูเสียเอง
  • 0:30 - 0:32
    และคุณอาจทราบมาก่อนแล้วว่า
  • 0:32 - 0:35
    ผึ้งนั้นช่วยผสมเกสร
    หนึ่งในสามของพืชที่เป็นอาหาร
  • 0:35 - 0:38
    และในไม่นานมานี้ ผึ้งนั้นกำลังตกที่นั่งลำบาก
  • 0:38 - 0:42
    ในฐานะที่ผมเป็นช่างภาพ
    ผมอยากจะให้ทุกคนเห็นว่าปัญหามันเป็นอย่างไร
  • 0:42 - 0:45
    ดังนั้น ผมจะแสดงให้เห็นว่า
    ผมค้นพบอะไรมาในช่วงปีที่แล้ว
  • 0:46 - 0:48
    เจ้าตัวน้อยขนปุยเหล่านี้
  • 0:48 - 0:52
    คือผึ้งวัยอ่อน
    ที่กำลังจะออกจากห้องเพาะพันธุ์ในรังผึ้ง
  • 0:52 - 0:55
    และตอนนี้พวกผึ้งกำลังเผชิญกับ
    ปัญหาบางประการ
  • 0:55 - 1:00
    อาทิ ยาฆ่าแมลง โรค
    รวมถึงการสูญเสียถิ่นอาศัย
  • 1:00 - 1:04
    แต่ภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดนั้น
    คือไรปรสิตจากเอเชีย
  • 1:04 - 1:06
    เจ้า"วาโรอา" ไรจอมทำลายล้าง
  • 1:06 - 1:09
    เจ้าไรตัวเล็กขนาดหัวเข็มหมุดนี้
    จะคืบคลานเข้าไปหาตัวอ่อนผึ้ง
  • 1:09 - 1:12
    แล้วดูดเลือดของผึ้ง
  • 1:12 - 1:14
    ทำให้รังของผึ้งค่อย ๆ ถูกทำลายไป
  • 1:14 - 1:17
    เพราะระบบภูมิคุ้มกันของผึ้งจะอ่อนแอลง
  • 1:17 - 1:20
    ทำให้เสี่ยงต่อความเครียดและโรคผึ้งมากขึ้น
  • 1:22 - 1:24
    ผึ้งนั้นจะอ่อนแอมาก
  • 1:24 - 1:27
    ในขณะที่มันเจริญอยู่ในห้องเพาะพันธุ์ในรัง
  • 1:27 - 1:30
    และผมก็อยากรู้ว่าการเจริญของผึ้ง
    ในช่วงนั้นมันเป็นอย่างไร
  • 1:30 - 1:32
    ผมเลยร่วมมือกับห้องทดลองผึ้ง
    ที่มหาวิทยาลัย ยูซี เดวิส
  • 1:32 - 1:35
    และหาทางเลี้ยงผึ้งหน้ากล้องให้ได้
  • 1:36 - 1:39
    เดี๋ยวผมจะให้คุณดูว่า
    ช่วง 21 วันแรกในชีวิตผึ้งเป็นอย่างไร
  • 1:39 - 1:42
    โดยย่อมาให้เหลือแค่นาทีเดียวครับ
  • 1:44 - 1:49
    นี่คือไข่ของผึ้ง
    ที่ฟักมาเป็นตัวอ่อน
  • 1:49 - 1:53
    และตัวอ่อนที่เพิ่งฟักมานี้
    จะว่ายวนอยู่ในห้องของตัวเอง
  • 1:53 - 1:57
    กินเมือกสีขาวที่ผึ้งงานหลั่งออกมาให้
  • 2:00 - 2:04
    แล้วหัวกับขาของพวกมัน
    ก็จะค่อย ๆ พัฒนาออกมา
  • 2:04 - 2:08
    เมื่อมันเจริญไปเป็นดักแด้
  • 2:10 - 2:12
    นี่เป็นช่วงที่มันเป็นดักแด้เหมือนกันครับ
  • 2:12 - 2:15
    และคุณจะเห็นว่ามีตัวไร
    วิ่งอยู่ในห้องที่ตัวอ่อนอยู่นี้ด้วย
  • 2:15 - 2:20
    แล้วเนื้อเยื่อในร่างกายมันจะจัดเรียงใหม่
  • 2:20 - 2:24
    เม็ดสีจะค่อย ๆ เจริญในตาของผึ้ง
  • 2:27 - 2:33
    ช่วงสุดท้ายนี้ ผิวของผึ้งจะย่นขึ้น
  • 2:33 - 2:35
    และขนก็จะงอกออกมา
  • 2:35 - 2:39
    (เสียงดนตรี)
  • 2:49 - 2:52
    (เสียงปรบมือ)
  • 2:55 - 2:58
    ตอนครึ่งหนึ่งของวีดีโอที่คุณเห็นนั้น
  • 2:58 - 3:00
    ตัวไรวิ่งอยู่รอบ ๆ ตัวอ่อนของผึ้ง
  • 3:00 - 3:04
    และวิธีที่เกษตรกรจัดการกับพวกไรนี้
  • 3:04 - 3:07
    คือการใช้สารเคมีกับรังของมันเอง
  • 3:07 - 3:10
    ในระยะยาวแล้ว มันไม่ดีแน่
  • 3:10 - 3:13
    ดังนั้นนักวิจัยจึงมองหาทางเลือกอื่น
  • 3:13 - 3:15
    ในการควบคุมไรพวกนี้
  • 3:16 - 3:19
    นี่คือหนึ่งในวิธีเหล่านั้นครับ
  • 3:19 - 3:23
    ในโครงการทดลองเพาะพันธุ์ผึ้ง
    ที่ห้องทดลองผึ้งของ อย.สหรัฐในบาตอง โรจ
  • 3:23 - 3:27
    นางพญาและผึ้งงานผู้ช่วยเหล่านี้
    เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
  • 3:28 - 3:31
    ปัจจุบันนี้ นักวิจัยพบแล้วว่า
  • 3:31 - 3:35
    ผึ้งบางตัวสามารถจะสู้กับตัวไรได้
  • 3:35 - 3:39
    นักวิจัยจึงลองเพาะพันธุ์ผึ้งต้านไรพวกนี้ขึ้นมา
  • 3:41 - 3:43
    นี่คือวิธีที่เราเพาะพันธุ์ผึ้งในห้องทดลอง
  • 3:43 - 3:46
    เราทำให้นางพญาสลบ
  • 3:46 - 3:51
    แล้วเราก็ใช้การผสมเทียม
    โดยเครื่องมือที่แม่นยำมาก ๆ
  • 3:51 - 3:53
    วิธีการนี้ทำให้นักวิจัย
  • 3:53 - 3:58
    สามารถควบคุมพันธุกรรมผึ้งที่ต้องการได้
  • 3:58 - 4:02
    แต่วิธีก็ต้องแลกมาด้วยบางสิ่ง
  • 4:02 - 4:05
    นักวิจัยประสบความสำเร็จ
    ในการสร้างผึ้งที่ต้านไรพวกนี้
  • 4:05 - 4:08
    ในกระบวนการนี้ ผึ้งพวกนี้
    ก็จะสูญเสียลักษณะบางอย่างไปด้วย
  • 4:08 - 4:12
    อย่างเช่นความเชื่อง
    หรือความสามารถในการเก็บน้ำผึ้งในรัง
  • 4:12 - 4:14
    เพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้
  • 4:14 - 4:18
    เหล่านักวิจัยได้ร่วมมือกับเกษตรกรฟาร์มผึ้งพานิชย์
  • 4:18 - 4:23
    นี่คือคุณเบรท เอดี
    กับรังผึ้ง 72,000 รังของเขา
  • 4:23 - 4:28
    เบรทกับน้องชายทำธุรกิจเลี้ยงผึ้ง
    ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 4:28 - 4:33
    และ อย.สหรัฐก็ได้ให้ผึ้งต้านไร
    เข้าไปอยู่ร่วมกับฝูงผึ้งของเขา
  • 4:33 - 4:35
    ด้วยความหวังว่าเมื่อเวลาผ่านไป
  • 4:35 - 4:39
    พวกเขาจะสามารถคัดเลือก
    ผึ้งที่ไม่เพียงแต่ต้านไร
  • 4:39 - 4:44
    แต่ยังมีลักษณะที่เราต้องการอื่น ๆ
    หลงเหลืออยู่ด้วย
  • 4:44 - 4:46
    การที่พูดอย่างนั้น
  • 4:46 - 4:49
    มันดูเหมือนว่าเราใช้งาน
    ใช้ประโยชน์จากผึ้งมากเกินไป
  • 4:49 - 4:53
    แต่ความจริงก็คือ
    เราทำเช่นนั้นกันมาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว
  • 4:53 - 4:58
    เราเอาเจ้าผึ้งพวกนี้ ใส่ลงในกล่อง
  • 4:58 - 5:00
    ทำการเลี้ยงมัน
  • 5:00 - 5:04
    และนั่นคือวิธีตั้งแต่สมัยโบราณ
    ที่เราใช้เก็บน้ำผึ้ง
  • 5:04 - 5:07
    แต่เมื่อเวลาผ่านไป
    เราเริ่มสูญเสียเหล่าผู้ผสมเกสรพื้นบ้าน
  • 5:07 - 5:08
    ผึ้งป่าผู้ผสมเกสรเหล่านี้
  • 5:08 - 5:11
    และปัจจุบันมีหลายแห่งบนโลก
    ที่เหล่าผึ้งป่า
  • 5:11 - 5:15
    ไม่สามารถที่จะทนต่อมลพิษ
    ของการทำเกษตรสมัยใหม่ได้
  • 5:15 - 5:21
    ดังนั้นพวกผึ้งที่เราเลี้ยงจึงกลายมาเป็น
    ส่วนหนึ่งของการสร้างอาหารของเรา
  • 5:21 - 5:23
    ฉะนั้น เมื่อคนพูดถึงการรักษาพันธุ์ผึ้ง
  • 5:23 - 5:25
    การตีความของผมต่อสิ่งนี้ก็คือ
  • 5:25 - 5:29
    เราต้องรักษาสายสัมพันธ์อันดีกับผึ้งเหล่านี้ไว้
  • 5:29 - 5:34
    และเพื่อที่จะวางแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหานี้
  • 5:34 - 5:39
    เราต้องเข้าใจถึงชีววิทยาพื้นฐานของผึ้งเสียก่อน
  • 5:39 - 5:45
    และต้องทราบถึงปัจจัยภัยคุกคาม
    ของผึ้งที่เรามักมองข้ามไปด้วย
  • 5:46 - 5:49
    หรืออาจกล่าวได้
    ว่าเราต้องเข้าใจในผึ้งอย่างเจาะลึกนั่นเอง
  • 5:49 - 5:51
    ขอบคุณครับ
  • 5:51 - 5:53
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความอัศจรรย์ของ 21 วันแรกของชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าผึ้ง
Speaker:
อนานด์ วาร์มา (Anand Varma)
Description:

เราเคยได้ข่าวว่าผึ้งกำลังจะสูญพันธุ์ไป แต่อะไรล่ะที่ทำให้เหล่าผึ้งนี่หายไปเรื่อยๆ พบกับอนานด์ วาร์มา ช่างภาพที่เลี้ยงผึ้งในสวนของเขาเองและเขายังถ่ายภาพมันไว้อีกด้วย โครงการของเนชันแนล จีโอกราฟิก นี้ให้มุมมองอันน่าอภิรมย์ในรังผึ้ง และเผยถึงหนึ่งในภัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของมัน ไรที่กินตัวอ่อนของผึ้งใน 21 วันแรกของชีวิต ด้วยภาพของเขา และดนตรีจากวงออเคสตรา Magik*Magik วาร์มา แสดงถึงปัญหา ... และสิ่งที่เราทำลงไปเพื่อแก้ปัญหา (การบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของ TED2015 ที่ถูกจัดโดยแขกรับเชิง โดย Pop-Up Magazine: popupmagazine.com หรือ @popupmag บน Twitter.)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:06
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first 21 days of a bee's life
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions