Return to Video

พลังงานทั้งปวงในจักรวาลนั้น... - จอร์จ ไซแดน (George Zaidan) และ ชาร์ลส์ มอร์ทอน (Charles Morton)

  • 0:08 - 0:10
    มันไม่ง่ายเลยที่จะนิยามคำว่า พลังงาน
  • 0:10 - 0:12
    สิ่งต่าง ๆ มีพลังงานอยู่
  • 0:12 - 0:13
    แต่คุณไม่สามารถ
  • 0:13 - 0:15
    ถือก้อนพลังงานไว้ในมือได้
  • 0:15 - 0:16
    คุณมองเห็นสิ่งที่พลังงานทำได้
  • 0:16 - 0:19
    แต่คุณไม่มีทางเห็นหน้าตาของมัน
  • 0:19 - 0:21
    พลังงานมีหลายชนิด
  • 0:21 - 0:22
    แต่เราจะจำแนกความแตกต่างได้จาก
  • 0:22 - 0:26
    การที่พลังงานทำให้สสารมีพฤติกรรมต่างกันเท่านั้น
  • 0:26 - 0:27
    เรารู้แน่ว่าปริมาณรวมทั้งหมด
  • 0:27 - 0:29
    ของพลังงานทุกรูปแบบในจักรวาล
  • 0:29 - 0:31
    มีค่าเท่าเดิมเสมอ
  • 0:31 - 0:34
    และสำหรับนักเคมี มีพลังงานสำคัญอยู่ 2 ชนิด
  • 0:34 - 0:35
    ได้แก่ พลังงานศักย์ทางเคมี
  • 0:35 - 0:37
    และ พลังงานจลน์
  • 0:37 - 0:40
    พลังงานศักย์ คือพลังงานที่รอให้มีอะไรเกิดขึ้น
  • 0:40 - 0:42
    ลองนึกถึงหนังยางที่ถูกยืด
  • 0:42 - 0:43
    ถ้าคุณตัดมันขาด
  • 0:43 - 0:44
    พลังงานศักย์ทั้งหมด
  • 0:44 - 0:47
    จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์
  • 0:47 - 0:50
    ซึ่งคุณจะรู้สึกถึงมันได้จากความเจ็บปวด
  • 0:50 - 0:51
    เหมือนกับหนังยางที่ถูกยืด
  • 0:51 - 0:53
    พันธะเคมีก็มีพลังงานสะสมอยู่
  • 0:53 - 0:54
    และเมื่อพันธะถูกทำลาย
  • 0:54 - 0:56
    พลังศักย์ก็จะถูกเปลี่ยน
  • 0:56 - 0:57
    เป็นพลังงานชนิดอื่น ๆ
  • 0:57 - 0:58
    เช่น ความร้อน หรือ แสง
  • 0:58 - 1:01
    หรือ ถูกนำไปใช้สร้างพันธะชนิดอื่น
  • 1:01 - 1:03
    พลังงานจลน์ คือพลังงานของการเคลื่อนไหว
  • 1:03 - 1:06
    และโมเลกุลก็ขยับอยู่ตลอดเวลา
  • 1:06 - 1:08
    โมเลกุลอาจไม่ได้เคลื่อนที่ไหน
  • 1:08 - 1:09
    หรืออาจจะไปก็แล้วแต่
  • 1:09 - 1:10
    แต่ที่แน่ ๆ โมเลกุลมีการสั่น
  • 1:10 - 1:11
    ยืดหด
  • 1:11 - 1:11
    งอไป งอมา
  • 1:11 - 1:12
    และ/หรือ หมุนตัว
  • 1:12 - 1:13
    ลองดู มีเทน
  • 1:13 - 1:14
    ซึ่งมีไฮโดรเจน 4 ตัว
  • 1:14 - 1:16
    ยึดกับคาร์บอนตรงกลาง
  • 1:16 - 1:17
    เป็นตัวอย่าง
  • 1:17 - 1:18
    ถ้าวาดลงบนกระดาษ
  • 1:18 - 1:20
    ก็จะได้แค่ภาพทรงสี่หน้า
  • 1:20 - 1:22
    แต่ในความเป็นจริง มันขยับเคลื่อนไหวไม่หยุด
  • 1:22 - 1:24
    พลังงานจลน์ของโมเลกุล
  • 1:24 - 1:26
    ก็เป็นพลังงานชนิดเดียวกันเลย
  • 1:26 - 1:27
    กับพลังงานที่คุณใช้
  • 1:27 - 1:28
    เคลื่อนที่ไปไหนมาไหน
  • 1:28 - 1:30
    ต่างกันแค่คุณอาจหยุดอยู่นิ่ง ๆ ได้
  • 1:30 - 1:32
    แต่โมเลกุลอยู่นิ่งไม่ได้
  • 1:32 - 1:33
    ถ้าคุณดูดพลังงานจลน์
  • 1:33 - 1:35
    ออกจากโมเลกุล
  • 1:35 - 1:36
    โมเลกุลจะขยับน้อยลง
  • 1:36 - 1:37
    แต่มันไม่เคยหยุดนิ่งสนิท
  • 1:37 - 1:39
    ทีนี้ ไม่ว่าในกลุ่มโมเลกุลไหนก็ตาม
  • 1:39 - 1:42
    บางตัวจะมีพลังงานจลน์สูงกว่าเพื่อน ๆ
  • 1:42 - 1:43
    และถ้าเราคำนวณ
  • 1:43 - 1:45
    พลังงานจลน์เฉลี่ยของทั้งกลุ่ม
  • 1:45 - 1:47
    เราจะได้ตัวเลขที่สัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์กับ
  • 1:47 - 1:49
    อุณหภูมิ
  • 1:49 - 1:50
    ดังนั้น ยิ่งกลุ่มของโมเลกุล
  • 1:50 - 1:51
    มีพลังงานจลน์มากเท่าไหร่
  • 1:51 - 1:53
    อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
  • 1:53 - 1:55
    และก็หมายความว่า ในวันที่อากาศร้อน
  • 1:55 - 1:56
    โมเลกุลในอากาศรอบตัวคุณ
  • 1:56 - 1:58
    จะหมุน ยืดหด งอไป งอมา
  • 1:58 - 2:00
    และโดยรวม ๆ วิ่งไปวิ่งมารวดเร็วกว่า
  • 2:00 - 2:02
    ในวันที่อากาศหนาว
  • 2:02 - 2:04
    จะร้อน หรือจะหนาว
  • 2:04 - 2:06
    ก็แค่คำเปรียบเทียบ
  • 2:06 - 2:07
    สองคำนี้ใช้สำหรับเปรียบเทียบ
  • 2:07 - 2:09
    สิ่งหนึ่งกับอีกสิ่ง
  • 2:09 - 2:10
    ในฤดูร้อน วันที่อากาศร้อน
  • 2:10 - 2:12
    โมเลกุลอากาศจะมีพลังงานจลน์สูงกว่า
  • 2:12 - 2:15
    โมเลกุลในผิวหนังของคุณ
  • 2:15 - 2:17
    ดังนั้น เมื่อโมเลกุลอากาศชนเข้ากับตัวคุณ
  • 2:17 - 2:19
    มันจะถ่ายเทพลังงานส่วนหนึ่ง
  • 2:19 - 2:20
    มาให้โมเลกุลในผิวคุณ
  • 2:20 - 2:23
    และคุณจะรู้สึกว่า นี่คือความร้อน
  • 2:23 - 2:24
    ในวันที่อากาศหนาว
  • 2:24 - 2:26
    โมเลกุลอากาศจะมีพลังงานจลน์ต่ำกว่า
  • 2:26 - 2:27
    โมเลกุลในผิวของคุณ
  • 2:27 - 2:29
    ดังนั้นเมื่อคุณกระทบเข้ากับโมเลกุลอากาศ
  • 2:29 - 2:31
    คุณจะถ่ายเท
  • 2:31 - 2:33
    พลังงานจลน์ส่วนหนึ่งให้กับโมเลกุลในอากาศ
  • 2:33 - 2:36
    และคุณจะรู้สึกว่า นี่คือความเย็น
  • 2:36 - 2:39
    คุณสามารถติดตามเส้นทางของพลังงานรอบตัวคุณได้
  • 2:39 - 2:40
    ลองดู เวลาคุณไปทำอาหารนอกบ้าน
  • 2:40 - 2:41
    คุณเผาถ่าน
  • 2:41 - 2:43
    และพลังงานศักย์เชิงเคมีก็ถูกปลดปล่อยออกมา
  • 2:43 - 2:46
    ในรูปความร้อนสูงและแสง
  • 2:46 - 2:47
    ความร้อนนี้ทำให้โมเลกุล
  • 2:47 - 2:50
    ของเบอร์เกอร์ ฮอตดอก หรือผักของคุณ
  • 2:50 - 2:52
    สั่นจนพันธะของมันถูกทำลาย
  • 2:52 - 2:55
    และมีโครงสร้างทางเคมีใหม่เกิดขึ้นมา
  • 2:55 - 2:57
    ถ้าความร้อนสูงเกินไป อาหารก็จะไหม้เป็นตอตะโก
  • 2:57 - 2:58
    ถ้าร้อนกำลังดี คุณก็จะมีมื้อเย็นรับประทาน
  • 2:58 - 2:59
    เมื่อเข้าไปในร่างกาย
  • 2:59 - 3:01
    โมเลกุลอาหาร ซึ่งจะอร่อย
  • 3:01 - 3:02
    หรือไหม้เกรียม
  • 3:02 - 3:04
    ล้วนถูกย่อยสลาย
  • 3:04 - 3:05
    และพลังงานที่ปล่อยออกมา
  • 3:05 - 3:07
    จะถูกใช้เพื่อการดำรงชีวิตในขณะนี้
  • 3:07 - 3:10
    หรือถูกเก็บไว้ใช้ภายหลัง ในโมเลกุลรูปแบบอื่น
  • 3:10 - 3:12
    เมื่อค่ำลง
  • 3:12 - 3:13
    อากาศของฤดูร้อนก็ค่อยเย็นลง
  • 3:13 - 3:16
    และพลังงานจะไหลเข้าสู่ตัวคุณช้าลง
  • 3:16 - 3:19
    เมื่ออากาศมีอุณหภูมิเท่ากับผิวหนังของคุณ
  • 3:19 - 3:20
    ในชั่วเวลาสั้น ๆ
  • 3:20 - 3:21
    พลังงานจะหยุดไหล
  • 3:21 - 3:22
    แล้วก็กลับมาไหลอีก
  • 3:22 - 3:24
    ในทิศทางตรงกันข้าม
  • 3:24 - 3:26
    พลังงานจะออกจากผิวของคุณซึ่งอุ่นกว่า
  • 3:26 - 3:29
    กลับไปยังจักรวาลรอบตัว
  • 3:29 - 3:32
    พลังงานไม่สามารถถูกสร้างหรือทำลายได้
  • 3:32 - 3:34
    แค่เปลี่ยนรูปไปมา
  • 3:34 - 3:36
    ดุจนกอมตะผู้แปลงโฉมไปในโลกกายภาพใบนี้
Title:
พลังงานทั้งปวงในจักรวาลนั้น... - จอร์จ ไซแดน (George Zaidan) และ ชาร์ลส์ มอร์ทอน (Charles Morton)
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/all-of-the-energy-in-the-universe-is-george-zaidan-and-charles-morton

พลังงานในจักรวาลไม่เคยเพิ่มหรือลด แต่ว่ามันจะเคลื่อนย้ายไปมาอยู่เรื่อย อาจอยู่ในรูป พลังงานศักย์ (เช่น หนังยางที่ถูกยืดออก พร้อมที่จะดีดกลับ) หรือ พลังงานจลน์ (เช่น โมเลกุลที่สั่นอยู่ในสสารต่าง ๆ) และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถมองเห็นหน้าตาของพลังงานได้ ทุกครั้งที่เราทำอาหารเย็น หรือนั่งตัวสั่นในค่ำคืนที่หนาวเหน็บ เราก็รู้ว่าพลังงานอยู่ที่นั่น จอร์จ ไซแดน และ ชาร์ลส์ มอร์ทอน ต่างรู้สึกตื่นเต้นไปกับพลังงาน

บนเรียนโดย จอร์จ ไซแดน และ ชาร์ลส์ มอร์ทอน อนิเมชั่นโดย Pew36 Animation Studios

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:52

Thai subtitles

Revisions