Return to Video

ทัศนะของรถยนต์ไร้คนขับ

  • 0:01 - 0:04
    ในปี พ.ศ.2428
    คาร์ล เบนซ์ ได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น
  • 0:05 - 0:08
    และปีนั้นเอง
    เขาได้พามันไปทดลองขับในที่สาธารณะ
  • 0:08 - 0:12
    และสิ่งที่ผมจะพูดนี้เป็นเรื่องจริง
    เขาเอาไปชนกำแพง
  • 0:12 - 0:14
    ในช่วง 130 ปีที่ผ่านมา
  • 0:14 - 0:19
    เราได้พัฒนาส่วนต่างๆของรถ
    ยกเว้นแต่ส่วนที่วางใจได้น้อยที่สุดคือ คนขับ
  • 0:19 - 0:20
    เราสร้างรถให้แข็งแรงขึ้น
  • 0:20 - 0:23
    พวกเราได้เพิ่มทั้ง
    เข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย
  • 0:23 - 0:27
    และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
    พวกเราได้เริ่มพยายามทำให้รถฉลาดขึ้น
  • 0:27 - 0:30
    เพื่อจะแก้บั๊ก หรือคนขับนั่นเอง
  • 0:30 - 0:33
    ดังนั้นวันนี้ผมจะพูดสั้นๆ
    เกี่ยวกับความแตกต่าง
  • 0:33 - 0:37
    ระหว่างการแก้ไขรอบๆปัญหา
    ด้วยระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่
  • 0:37 - 0:39
    กับการที่มีรถที่สามารถขับขี่ได้ด้วยตัวเอง
  • 0:39 - 0:41
    และสิ่งที่มันสามารถทำได้
  • 0:41 - 0:44
    ผมจะพูดสั้นๆเกี่ยวกับรถของพวกเรา
  • 0:44 - 0:48
    แล้วให้คุณลองดูว่ามันเห็นโลกอย่างไร
    และตอบสนองแบบไหนและทำอะไรได้บ้าง
  • 0:48 - 0:51
    แต่ก่อนอื่นเลย
    ผมจะพูดสั้นๆเกี่ยวกับปัญหา
  • 0:52 - 0:53
    ซึ่งมันเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียว
  • 0:53 - 0:56
    1.2 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตบนถนนทุกๆปี
  • 0:56 - 1:00
    เพียงอเมริกาที่เดียว
    ในแต่ละปีมี 33,000 คน เสียชีวิต
  • 1:00 - 1:02
    เพื่อให้เห็นชัดขึ้น
  • 1:02 - 1:07
    มันเหมือนกับมีเครื่องบิน 737
    ตกลงมาจากฟ้าทุกๆวันทำการ
  • 1:07 - 1:09
    มันแทบจะไม่น่าเชื่อ
  • 1:10 - 1:12
    เวลาเราซื้อรถยนต์เราเห็นภาพมันแบบนี้
  • 1:12 - 1:15
    แต่นี่คือความเป็นจริงของการขับขี่
  • 1:15 - 1:17
    เห็นด้วยไหมครับ แดดไม่ออกแต่ฝนก็ไม่ตก
  • 1:17 - 1:19
    ทำให้คุณอยากทำอย่างอื่น
    แทนที่จะต้องขับรถ
  • 1:19 - 1:21
    และต้นเหตุที่ทำไม
  • 1:21 - 1:23
    การจราจรแย่ลงเรื่อยๆ
  • 1:23 - 1:26
    ในอเมริกา ระหว่างปี 2533 ถึง 2553
  • 1:26 - 1:30
    ระยะการเดินทาง
    ของพาหนะเพิ่มขึ้นถึง 38%
  • 1:30 - 1:33
    เรามีถนนเพิ่มขึ้น 6%
  • 1:33 - 1:35
    คุณไม่ได้แค่รู้สึกไปเองหรอก
  • 1:35 - 1:39
    การจราจรแย่ขึ้นมาก
    ถ้าเทียบกับอดีตที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน
  • 1:39 - 1:41
    และถือว่ามีความเสียหายทางมูลค่าต่อมนุษย์
  • 1:42 - 1:45
    ถ้าเราเอาค่าเฉลี่ยของเวลา
    ที่คนอเมริกันใช้เดินทาง นั่นก็คือ 50นาที
  • 1:45 - 1:49
    เอาจำนวนนั้นไปคูณกับ
    จำนวน 120 ล้านคนไปทำงาน
  • 1:49 - 1:51
    นั่นออกมาเท่ากับประมาณ 6 พันล้านนาที
  • 1:51 - 1:53
    มันถูกเสียไปกับการเดินทางทุกๆวัน
  • 1:53 - 1:56
    นั่นเป็นเลขตัวใหญ่มาก
    และเพื่อให้คุณเห็นภาพ
  • 1:56 - 1:58
    คุณเอา 6 พันล้านนาทีนั้น
  • 1:58 - 2:02
    แล้วหารด้วยอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์
  • 2:02 - 2:05
    จะเท่ากับ 162 ชาติ
  • 2:05 - 2:08
    ถูกนำมาทิ้งทุกๆวัน
  • 2:08 - 2:10
    เพื่อที่จะเดินทางจาก ที่หนึ่งไปที่ที่สอง
  • 2:10 - 2:12
    มันไม่น่าเชื่อเลย
  • 2:12 - 2:14
    แล้วก็ยังมีพวกเราบางคน
    ที่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์
  • 2:14 - 2:16
    ที่จะเจอกับรถติดนั้น
  • 2:16 - 2:18
    นี่คือสตีฟ
  • 2:18 - 2:19
    เค้าเป็นคนที่มีความสามารถมากมาย
  • 2:19 - 2:22
    แต่ว่าเค้าก็เป็นคนตาบอดด้วย
  • 2:22 - 2:25
    ซึ่งนั่นหมายความว่าแทนที่จะใช้เวลา 30 นาที
    ขับรถยนต์ไปทำงานในตอนเช้า
  • 2:25 - 2:29
    เขาจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
    ในการต่อรถขนส่งมวลชน
  • 2:29 - 2:32
    หรือไม่ก็ต้องขอเพื่อนหรือที่บ้านให้ไปส่ง
  • 2:32 - 2:35
    เค้าไม่ได้มีอิสระเหมือนคุณกับผม
    เวลาจะไปไหนมาไหน
  • 2:35 - 2:38
    พวกเราควรจะทำอะไรบางอย่าง
  • 2:38 - 2:40
    ถ้าเป็นความคิดแบบเดิมๆเราก็จะบอกว่า
  • 2:40 - 2:42
    เราจะเอาระบบช่วยเหลือคนขับก็พอ
  • 2:42 - 2:46
    แล้วเราก็ผลักดันและพัฒนาเพิ่มเติม
  • 2:46 - 2:48
    แล้วพอเวลาผ่านไป
    มันก็จะเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
  • 2:48 - 2:51
    ผมมายืนตรงนี้เพื่อที่จะบอกคุณว่า
    มันเหมือนกับว่า
  • 2:51 - 2:55
    ผมบอกว่าถ้าผมพยายามตั้งใจกระโดดมากๆ
    วันนึงผมจะบินได้
  • 2:55 - 2:58
    พวกเราจำเป็นจะต้องทำอะไรบางอย่าง
    ให้แตกต่างออกไป
  • 2:58 - 3:00
    ดังนั้นผมจึงจะพูดเกี่ยวกับ
    3สิ่งที่แตกต่างออกไป
  • 3:00 - 3:04
    ระหว่างระบบการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
    และระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่
  • 3:04 - 3:06
    ผมจะเริ่มด้วยการแบ่งบัน
    เรื่องจากประสบการณ์ตรงของผม
  • 3:06 - 3:09
    ย้อนกลับไปปี 2556
  • 3:09 - 3:11
    เราได้ทดลองรถยนต์
    ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก
  • 3:11 - 3:13
    ซึ่งเราให้คนทั่วไปเป็นคนทดลอง
  • 3:13 - 3:15
    อืม ก็เกือบทั่วไปนะ
    เราให้พนักงานกูเกิ้ล 100 คน
  • 3:15 - 3:17
    ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้
  • 3:17 - 3:21
    เราให้รถพวกเขาไป
    เพื่อเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • 3:21 - 3:25
    แต่ไม่เหมือนกับรถขับเคลื่อนด้วยตัวเองปกติ
    มันมีดอกจันใหญ่ๆติดไปด้วย
  • 3:25 - 3:26
    ผู้ลองขับจะต้องใส่ใจด้วย
  • 3:26 - 3:29
    เพราะว่ามันเป็นรถทดลอง
  • 3:29 - 3:32
    พวกเราทดลองมาเยอะมาก
    แต่มันก็มีโอกาสที่จะพลาด
  • 3:32 - 3:35
    พวกเราใช้เวลา 2 ชั่วโมงเพื่ออบรม
  • 3:35 - 3:37
    เราให้พวกเขาขึ้นไปบนรถและใช้มัน
  • 3:37 - 3:39
    และเสียงตอบรับ
    มันเป็นอะไรที่สุดยอดมากเลย
  • 3:39 - 3:41
    สำหรับคนที่พยายาม
    จะทำผลิตภัณฑ์ใหม่ในโลกนี้
  • 3:41 - 3:43
    ทุกคนที่ได้ลองบอกเราเขาชอบมาก
  • 3:43 - 3:47
    จริงๆ แล้วเรามีคนขับรถปอร์เช่
    ที่มาบอกเราตั้งแต่วันแรกว่า
  • 3:47 - 3:49
    'มันงี่เง่ามาก พวกเราคิดอะไรอยู่'
  • 3:50 - 3:53
    แต่ว่าในตอนจบการทดลอง
    เขาพูดว่า 'ไม่ใช่แค่ผมควรจะมีรถนี้
  • 3:53 - 3:56
    แต่คนอื่นๆทุกคนควรจะมีมันด้วย
    เพราะบางคนก็ขับรถไม่ได้เรื่อง'
  • 3:57 - 3:59
    มันเป็นเหมือนเสียงจากสวรรค์เลย
  • 3:59 - 4:03
    แต่ว่าพอพวกเราเริ่มดูว่า
    คนทำอะไรในรถกัน
  • 4:03 - 4:04
    มันเป็นอะไรที่เปิดหูเปิดตามาก
  • 4:04 - 4:07
    ตัวอย่างโปรดของผมคือ คุณผู้ชายคนนี้
  • 4:07 - 4:11
    เขาก้มมองโทรศัพท์ของเขา
    แล้วเห็นว่าแบตกำลังจะหมด
  • 4:11 - 4:15
    เขาเลยหันหลังไปเพื่อค้นกระเป๋าเขาเพื่อ
  • 4:15 - 4:17
    ดึงคอมพิวเตอร์แลปทอปออกมา
  • 4:17 - 4:19
    วางที่เก้าอี้
  • 4:19 - 4:21
    แล้วหันกลับไปอีกครั้ง
  • 4:21 - 4:24
    เพื่อค้นหาสายชาร์จโทรศัพท์
  • 4:24 - 4:27
    เรื่อยๆ เฉื่อยๆ แล้วต่อมันเข้ากับ
    คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์
  • 4:27 - 4:29
    แน่นอน หลังจากนั้นโทรศัพท์ก็ชาร์จ
  • 4:29 - 4:33
    เค้าทำทุกอย่างขณะที่
    รถวิ่งด้วยความเร็ว 100กม/ชมบนทางด่วน
  • 4:33 - 4:36
    เห็นด้วยไหมว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อเลย
  • 4:36 - 4:39
    แล้วพอเรามาคิดดู เราก็บอกได้ว่า
    มันชัดเจนเลยใช่ไหม
  • 4:39 - 4:41
    ว่าเทคโนโลยียิ่งดีขึ้นเท่าไหร่
  • 4:41 - 4:43
    คนขับก็พึ่งพาตัวเองน้อยลงเรื่อยๆ
  • 4:43 - 4:46
    ดังนั้นการที่ทำให้รถฉลาดขึ้นมากๆ
  • 4:46 - 4:49
    เราคงจะไม่ได้เห็นความสำเร็จ
    แบบที่เราหวังจะเห็น
  • 4:49 - 4:53
    ผมขอจะพูดเชิงเทคนิคสักหน่อยนะครับ
  • 4:53 - 4:55
    เรามองกราฟนี้และแถวๆด้านล่าง
  • 4:55 - 4:58
    นี่คือความถี่ที่รถเบรก ในเวลาไม่จำเป็น
  • 4:58 - 5:00
    คุณไม่ต้องสนใจแกนส่วนใหญ่ก็ได้
  • 5:00 - 5:03
    ลองคิดดูว่าหากคุณกำลังขับไปรอบๆเมือง
    แล้วรถเริ่มเบรกมั่วๆ
  • 5:03 - 5:05
    คุณคงไม่ซื้อรถคันนั้นแน่ๆ
  • 5:05 - 5:08
    แกนแนวตั้งแสดงถึงความถี่ที่รถจะเบรก
  • 5:08 - 5:11
    เวลาที่มันสมควรเบรกเพื่อ
    จะช่วยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
  • 5:11 - 5:14
    ตอนนี้ เรามาดูที่มุมซ้ายล่าง
  • 5:14 - 5:16
    นี่คือรถธรรมดา
  • 5:16 - 5:19
    มันไม่ช่วยเบรกรถให้คุณ
    มันไม่ทำอะไรประหลาดๆ
  • 5:19 - 5:21
    แต่ว่ามันก็ไม่ช่วยให้คุณพ้นจากอุบัติเหตุ
  • 5:21 - 5:24
    แล้วถ้าเราต้องการเอา
    ระบบช่วยเหลือคนขับมาใช้ในรถ
  • 5:24 - 5:26
    เช่น ระบบเบรคอัตโนมัติเมื่อใกล้ชน
  • 5:26 - 5:29
    เรากำลังนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้
  • 5:29 - 5:32
    นั่นก็คือเส้นโค้งเส้นนี้
    แล้วมันก็จะมีส่วนร่วมในการขับขี่ด้วย
  • 5:32 - 5:35
    แต่มันคงจะไม่สามารถช่วย
    หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้เสมอ
  • 5:35 - 5:37
    เพราะว่ามันไม่ได้มีความสามารถนั้น
  • 5:37 - 5:39
    แต่ว่าเราจะเลือกบางจุดจากเส้นนี้
  • 5:39 - 5:42
    แล้วบางทีมันอาจจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
    ได้ครึ่งนึงของที่มนุษย์ทำพลาด
  • 5:42 - 5:44
    มันก็มหัศจรรย์มากแล้วใช่ไหม
  • 5:44 - 5:46
    เราได้ลดอุบัติเหตุบนถนนลงได้ครึ่งนึง
  • 5:46 - 5:50
    ตอนนี้มีคนเสียชีวิตน้อยลง
    17,000 คนต่อปีในอเมริกา
  • 5:50 - 5:52
    แต่ถ้าหากเราอยากได้รถที่ขับได้ด้วยตัวเอง
  • 5:52 - 5:55
    เราต้องมีโค้งของเทคโนโลยีที่หน้าตาอย่างนี้
  • 5:55 - 5:57
    เราจำเป็นจะต้องเพิ่มเซ็นเซอร์เข้าไปในตัวรถ
  • 5:57 - 5:59
    แล้วก็เลือกจุดทำงานตรงนี้
  • 5:59 - 6:01
    ที่มันจะไม่ชนอะไรเลย
  • 6:01 - 6:04
    มันจะมีบ้างแหละ แต่ว่าในความถี่ที่น้อยมากๆ
  • 6:04 - 6:06
    ตอนนี้เรามาดูนี่กันแล้ว
    เราสามารถถกเถียงกัน
  • 6:06 - 6:10
    ว่ามันสูงขึ้นหรือเปล่า
    และผมสามารถอ้างถึงกฎ 80-20
  • 6:10 - 6:12
    แต่มันยากมากที่จะย้ายขึ้นไป
    สู่เส้นโค้งเส้นใหม่
  • 6:12 - 6:15
    แต่เราลองมาดูมัน
    จากทิศทางที่แตกต่างออกไปสักครู่
  • 6:15 - 6:19
    แล้วมาดูว่าเทคโนโลยีนั้น
    จำป็นต้องทำสิ่งที่ถูกต้องบ่อยขนาดไหน
  • 6:19 - 6:22
    จุดสีเขียวด้านบนตรงนี้คือ
    ระบบช่วยเหลือคนขับ
  • 6:22 - 6:25
    ปรากฎว่า คนขับที่เป็นมนุษย์นั้น
  • 6:25 - 6:28
    ทำพลาดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • 6:28 - 6:31
    ประมาณทุกๆ 100,000 ไมล์ ในอเมริกา
  • 6:31 - 6:34
    ในทางกลับกันระบบขับด้วยตัวเอง
    ทำการตัดสินใจประมาณ
  • 6:34 - 6:38
    10 ครั้งต่อวินาที
  • 6:38 - 6:39
    ดังนั้นอันดับของขนาด
  • 6:39 - 6:42
    มันเท่ากับประมาณ 1,000 ครั้งต่อไมล์
  • 6:42 - 6:44
    และหากคุณเอาระยะทางมาเปรียบเทียบกัน
  • 6:44 - 6:47
    มันเท่ากับประมาณ 10 ยกกำลัง 8 เลยใช่ไหม
  • 6:47 - 6:49
    หรือ ประมาณ 8 เท่า
  • 6:49 - 6:51
    มันเหมือนกับการเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งของผม
  • 6:51 - 6:54
    กับความเร็วของแสง
  • 6:54 - 6:57
    มันไม่เกี่ยวหรอกว่าผมจะซ้อมมาหนักขนาดไหน
    แต่ผมจะไม่มีวันได้ไปถึงตรงนั้นหรอก
  • 6:57 - 7:00
    คือ มันมีช่องว่างขนาดใหญ่อยู่
  • 7:00 - 7:04
    แล้วในที่สุด มันก็มีวิธีที่ระบบ
    จะจัดการกับความไม่แน่นอน
  • 7:04 - 7:07
    นี่คนเดินถนนที่อาจจะ
    หรืออาจจะไม่ก้าวลงมาที่ถนน
  • 7:07 - 7:10
    ผมไม่สามารถบอกได้
    หรือไม่มีอัลกอรึทึมไหนรู้ได้เช่นกัน
  • 7:10 - 7:13
    แต่ในกรณีของระบบช่วยเหลือคนขับ
  • 7:13 - 7:15
    นั่นหมายความว่า
    ผมไม่สามารถทำอะไรได้เพราะว่า
  • 7:15 - 7:19
    หากมันเบรกกระทันหันอย่างไม่คาดคิด
    มันเป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้
  • 7:19 - 7:22
    แต่ว่าระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
    สามารถมองคนเดินถนนคนนั้นแล้วพูดว่า
  • 7:22 - 7:24
    ไม่รู้ว่าเขาคนนั้นจะทำอะไร
  • 7:24 - 7:28
    ขับช้าลงหน่อย เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น
    แล้วค่อยตอบสนองให้เหมาะสมหลังจากนั้น
  • 7:28 - 7:31
    ดังนั้นมันมีความปลอดภัยมากกว่า
    ที่ระบบช่วยเหลือผู้ขับจะให้ได้
  • 7:31 - 7:34
    นั่นคงเพียงพอแล้ว
    สำหรับความแตกต่างระหว่างทั้งสอง
  • 7:34 - 7:37
    เรามาใช้เวลาเล็กน้อย
    พูดเกี่ยวกับว่ารถมองเห็นโลกอย่างไรกัน
  • 7:37 - 7:39
    นี่คือรถของเรา
  • 7:39 - 7:41
    มันเริ่มจาก ทำความเข้าใจ
    ว่ามันอยู่ส่วนไหนของโลกนี้
  • 7:41 - 7:44
    โดยใช้แผนที่และข้อมูลจากเซ็นเซอร์
    แล้วเอามาเรียงกัน
  • 7:44 - 7:47
    แล้วนำเอาสิ่งที่มันมองเห็นขณะนั้น
    มาวางทับลงไป
  • 7:47 - 7:51
    ดังนั้นตรงนี้ กล่องสีม่วงที่คุณเห็นทั้งหมด
    คือยานพาหนะที่อยู่บนถนน
  • 7:51 - 7:53
    แล้วสีแดงๆ ที่อยู่ด้านข้างตรงนั้น
    คือนักปั่นจักรยาน
  • 7:53 - 7:55
    แล้วในระยะนั้น ถ้าคุณมองดีดี
  • 7:55 - 7:57
    คุณจะเห็นกรวยจำนวนหนึ่ง
  • 7:57 - 8:00
    แล้วเรารู้ว่ารถของเราอยู่ไหนในเวลานั้น
  • 8:00 - 8:04
    แต่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก
    เราจะต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • 8:04 - 8:07
    ที่ด้านบนขวามือมีรถกระบะ
    ที่กำลังจากจะเปลี่ยนไปช่องทางซ้าย
  • 8:07 - 8:10
    เพราะว่าถนนด้านหน้ามันปิดอยู่
  • 8:10 - 8:11
    ดังนั้นมันจะต้องออกจากช่องทางเดิม
  • 8:11 - 8:13
    การที่เรารู้เกี่ยวกับรถกระบะนั้นก็ดีนะ
  • 8:13 - 8:16
    แต่ที่เราจะจำเป็นที่จะต้องรู้คือ
    ทุกๆคนคิดอะไรอยู่
  • 8:16 - 8:18
    ดังนั้นปัญหามันจึงซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก
  • 8:18 - 8:23
    ด้วยข้อมูลนั้น เราจะคิดออกว่ารถ
    ควรจะตอบสนองอย่างไรในเวลานั้นๆ
  • 8:23 - 8:27
    แล้วทางไหนที่เราควรจะไป
    ควรจะเพิ่มหรือลดความเร็ว
  • 8:27 - 8:30
    แล้วทั้งหมดนั้นก็จะเป็นแค่
    ให้รถตามทางไป
  • 8:30 - 8:33
    หมุนพวงมาลับไปทางซ้ายหรือขวา
    เหยียบเบรกหรือเหยียบคันเร่ง
  • 8:33 - 8:35
    สุดท้ายมันก็เป็นเพียงตัวเลขแค่สองตัว
  • 8:35 - 8:38
    มันจะยากขนาดไหนเชียว
  • 8:38 - 8:40
    ย้อนกลับไปเมื่อปี 2552
  • 8:40 - 8:42
    ระบบของเราหน้าตาเป็นแบบนี้
  • 8:42 - 8:46
    ดังนั้นคุณจะเห็นรถของพวกเราอยู่ตรงกลาง
    แล้วกล่องอื่นๆอยู่บนถนน
  • 8:46 - 8:47
    รถกำลังขับเคลื่อนบนทางหลวง
  • 8:47 - 8:51
    รถจะต้องรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนและ
    คร่าวๆว่ารถคันอื่นอยู่ตรงไหน
  • 8:51 - 8:53
    เป็นความเข้าใจโลก
    ในรูปทรงเลขาคณิต
  • 8:53 - 8:56
    และเมื่อเราได้เริ่มขับ
    ในระแวกที่อยู่อาศัยและถนนในเมือง
  • 8:56 - 8:58
    ปัญหามันยากขึ้นเป็นคนละระดับเลย
  • 8:58 - 9:02
    คุณเห็นคนกำลังข้ามถนน
    ด้านหน้าเรา เห็นรถผ่านหน้าเรา
  • 9:02 - 9:04
    ไปในทุกทิศทาง
  • 9:04 - 9:05
    มีไฟจราจร ทางม้าลาย
  • 9:05 - 9:08
    เมื่อเทียบกันแล้ว
    นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างมาก
  • 9:08 - 9:10
    และเมื่อไหร่ที่คุณแก้ปัญหานั้นได้
  • 9:10 - 9:13
    รถจะต้องสามารถจัดการกับการตีความได้
  • 9:13 - 9:16
    มีกรวยอยู่ด้านซ้าย บังคับให้ไปทางขวา
  • 9:16 - 9:18
    แต่ไม่ใช่แค่การตีความแบบแยกไว้เป็นส่วนๆ
  • 9:18 - 9:22
    แต่จะต้องจัดการกับคนอื่น
    ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในพื้นที่นั้นด้วย
  • 9:22 - 9:25
    แน่นอนถ้าหากมีคนทำผิดกฎ
    ตำรวจก็อยู่ตรงนั้น
  • 9:25 - 9:29
    รถเราจะต้องเข้าใจความหมาย
    ของสัญญาณไฟที่อยู่บนรถนั้นด้วย
  • 9:29 - 9:32
    หมายความว่ารถนั้นไม่ใช่แค่รถธรรมดา
    แต่เป็นรถตำรวจ
  • 9:32 - 9:34
    คล้ายกันกับกล่องสีส้ม
    ที่อยู่ด้านข้างตรงนี้
  • 9:34 - 9:35
    มันเป็นรถโรงเรียน
  • 9:35 - 9:38
    และเราจะต้องจัดการกับมัน
    แตกต่างออกไปเหมือนกัน
  • 9:39 - 9:41
    เวลาที่เราอยู่บนถนน
    คนอื่นก็มีความคาดหวังกับเรา
  • 9:41 - 9:43
    เช่น เมื่อนักปั่นจักรยานส่งสัญญาณมือ
  • 9:43 - 9:47
    มันหมายความว่าเขาคาดว่า
    รถจะยอมให้ไปก่อนและเว้นที่ไว้ให้
  • 9:47 - 9:49
    สำหรับเปลี่ยนช่องจราจร
  • 9:49 - 9:51
    และถ้ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนบนถนน
  • 9:51 - 9:54
    ยานพาหนะของเราควรจะเข้าใจว่า
    มันหมายความว่าจะต้องหยุดรถ
  • 9:54 - 9:57
    แล้วพอเขาให้สัญญาณว่าไปได้
    เราก็ควรจะไปต่อ
  • 9:57 - 10:01
    วิธีที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในเรื่องนี้
    คือการแบ่งปันข้อมูลระหว่างรถ
  • 10:01 - 10:03
    รถรุ่นแรกที่ได้รับการพัฒนาน้อยสุด
  • 10:03 - 10:05
    จะเห็นพื้นที่แต่เพียงคันเดียว
  • 10:05 - 10:08
    การที่มีข้อมูลจากรถอีกคัน
    ทำให้เลือกอยู่ในช่องจราจรที่ถูกต้อง
  • 10:08 - 10:10
    จะได้ไม่เจอปัญหา
  • 10:10 - 10:12
    แต่เรามีความเข้าใจที่ลึกลงไปอีก
  • 10:12 - 10:15
    เราสามารถนำเอาข้อมูลทั้งหมด
    ที่รถเคยได้เห็นมา
  • 10:15 - 10:18
    ไม่ว่าจะเป็นคนถนน นักปั่นจักรยานและ
  • 10:18 - 10:19
    พาหนะที่ออกวิ่งอยู่บนถนนจำนวนเป็นล้าน
  • 10:19 - 10:21
    และเข้าใจว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 10:21 - 10:24
    แล้วใช้ข้อมูลนั้นในการสรุปว่า
    หน้าตารถคันอื่นเป็นอย่างไร
  • 10:24 - 10:26
    หน้าตาของคนเดินถนนเป็นอย่างไร
  • 10:26 - 10:29
    และที่สำคัญกว่านั้น
    เราสามารถเรียนรู้ได้คือ
  • 10:29 - 10:31
    เราคาดให้มันเคลื่อนที่อย่างไร
  • 10:31 - 10:34
    กล่องสีเหลืองนี้คือ
    คนเดินถนนที่จะเดินผ่านด้านหน้าเรา
  • 10:34 - 10:37
    กล่องสีฟ้านี่เป็น
    นักปั่นจักรยานและเราคาดว่า
  • 10:37 - 10:40
    ว่าพวกขาจะเบี่ยงขวารอบๆรถ
  • 10:40 - 10:42
    มีนักปั่นจักรยานกำลังมา
  • 10:42 - 10:46
    และพวกเรารู้ว่าพวกเขาจะขับตามทางถนน
  • 10:46 - 10:48
    ตรงนี้มีคนกำลังเลี้ยวขวา
  • 10:48 - 10:51
    และตอนนี้ ตรงนี้มีบางคน
    กำลังจะทำกลับรถข้างหน้าเรา
  • 10:51 - 10:54
    และเราสามารถคาดเดาการกระทำ
    แล้วตอบสนองได้อย่างปลอดภัย
  • 10:54 - 10:56
    เท่าที่เราเห็นก็ยังดีอยู่
  • 10:56 - 10:59
    แต่ว่าแน่นอน คุณจะเจอหลายสิ่งที่คุณ
  • 10:59 - 11:00
    ไม่เคยเห็นในโลกนี้มาก่อน
  • 11:00 - 11:02
    ประมาณสองเดือนที่ผ่านมา
  • 11:02 - 11:04
    รถของเราที่กำลังขับผ่านภูเขา
  • 11:04 - 11:06
    แล้วเราได้เจอกับอะไรบางอย่าง
  • 11:06 - 11:08
    นี่คือผู้หญิงที่นั่งอยู่บนรถเข็นไฟฟ้า
  • 11:08 - 11:11
    ซึ่งกำลังไล่เป็ดเป็นวงกลมอยู่บนถนน
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:11 - 11:14
    กลายเป็นว่า ไม่มีส่วนไหน
    ของหนังสือคู่มือการขับขี่
  • 11:14 - 11:16
    ที่บอกคุณว่าจะต้องทำอย่างเมื่อเจอแบบนี้
  • 11:16 - 11:18
    แต่ว่ารถของเราก็สามารถผ่านมันไปได้
  • 11:18 - 11:20
    โดยการลดความเร็วแล้วขับอย่างปลอดภัย
  • 11:20 - 11:22
    ตอนนี้เราไม่ต้องจัดการกับเป็ดแล้ว
  • 11:22 - 11:26
    ลองดูนกบินผ่านเรากัน
    ดูว่ารถตอบสนองอย่างไร
  • 11:26 - 11:28
    นี่เมื่อเราเจอกับนักปั่นจักรยาน
  • 11:28 - 11:31
    ที่เราไม่คาดว่าจะเจอในที่อื่น
    ถ้าไม่ใช่แถวภูเขา
  • 11:31 - 11:33
    และแน่นอน รถจัดการกับคนขับคนอื่น
  • 11:33 - 11:37
    แม้แต่ตัวเล็กๆ
  • 11:37 - 11:41
    ลองดูภาพด้านขวา
    ตอนมีคนกระโดดออกมาจากรถกระบะมาหาเรา
  • 11:42 - 11:45
    แล้วดูด้านซ้าย
    ดูรถที่เป็นกล่องสีเขียวตัวสินใจ
  • 11:45 - 11:49
    ว่าเขาจะต้องเลี้ยวขวาตอนวินาทีสุดท้าย
  • 11:49 - 11:52
    นี่เป็นตอนที่เราจะเปลี่ยนช่องทาง
    แล้วรถด้านซ้ายของเรา
  • 11:52 - 11:55
    ก็ต้องการจะเปลี่ยนเหมือนกัน
  • 11:55 - 11:58
    และนี่ เราดูรถฝ่าไฟแดง
  • 11:58 - 12:00
    และเราให้ไปก่อน
  • 12:00 - 12:04
    คล้ายๆกัน นี่เป็นนักปั่นจักรยาน
    ฝ่าไฟแดงเหมือนกัน
  • 12:04 - 12:07
    และแน่นอนรถของเราตอบสนอง
    ได้อย่างปลอดภัย
  • 12:07 - 12:09
    และแน่นอนมีคนหลายคน
    ที่ยังไม่ทราบว่ามาทำอะไรบนถนน
  • 12:09 - 12:13
    เหมือนคนนี้
    โผล่มาระหว่างรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
  • 12:13 - 12:15
    เป็นคุณคุณก็คงคิดว่า 'คิดอะไรอยู่นะ'
  • 12:15 - 12:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:16 - 12:19
    ผมเพิ่งจะพ่นไฟข้อมูลมากมายใส่คุณ
  • 12:19 - 12:21
    ดังนั้นผมจะทำให้มันง่ายขึ้น
  • 12:21 - 12:24
    สิ่งที่เรากำลังดูอยู่ในฉากนี้
    กับนักปั่นอีกแล้ว
  • 12:24 - 12:28
    คุณอาจจะมองเห็นตรงด้านล่าง
    ว่าเรายังไม่สามารถเห็นนักปั่นได้
  • 12:28 - 12:30
    แต่รถเห็น นั่นก็คือกล่องสีฟ้าเล็กๆตรงนั้น
  • 12:30 - 12:32
    เพราะว่ามันมาจากข้อมูลของเลเซอร์
  • 12:32 - 12:35
    แต่มันไม่ได้อธิบายได้ง่ายๆ
  • 12:35 - 12:38
    ดังนั้นผมจะเปลี่ยนเป็นข้อมูลเลเซอร์
    แล้วมาดูกัน
  • 12:38 - 12:41
    ถ้าคุณอ่านข้อมูลเลเซอร์ออก คุณจะเห็น
  • 12:41 - 12:43
    มีจุดอยู่บนเส้นโค้งตรงนั้น
  • 12:43 - 12:45
    ตรงนั้นเอง นั่นคือกล่องสีฟ้าหรือนักปั่น
  • 12:45 - 12:46
    ตอนนี้ไฟของเราเป็นสีแดง
  • 12:46 - 12:49
    แต่ไฟของนักปั่นมันเป็นสีเหลืองแล้ว
  • 12:49 - 12:51
    แล้วถ้าคุณจ้องดูในภาพนี้ดีๆ
  • 12:51 - 12:54
    ว่านักปั่นเค้าจะไม่หยุดปั่น
    แล้วข้ามทางแยกนี้ไป
  • 12:54 - 12:57
    ไฟเรากลายเป็นสีเขียวแล้ว
    และของนักปั่นก็เป็นสีแดง
  • 12:57 - 13:01
    แล้วตอนนี้เราคาดว่ารถจักรยานจะมาจนสุดทาง
  • 13:01 - 13:05
    แต่ว่าโชคไม่ดีนักที่
    คนขับข้างๆเราไม่ได้ตั้งใจดูขนาดเรา
  • 13:05 - 13:08
    พวกเขาเริ่มเดินเครื่อง
    และโชคดีมาก
  • 13:08 - 13:11
    ที่นักปั่นไหวตัวทันและหลบไป
  • 13:11 - 13:13
    ทันที่จะผ่านแยกไป
  • 13:13 - 13:15
    เราถึงจะออกตัวได้
  • 13:15 - 13:18
    ตอนนี้คุณก็เห็นแล้วว่า
    เรากำลังพัฒนาอย่างน่าตื่นเต้น
  • 13:18 - 13:20
    มาถึงจุดนี้เราเชื่อว่า
  • 13:20 - 13:22
    เราสามารถนำเทคโนโลยีนี้เข้าสู่ตลาดได้
  • 13:22 - 13:26
    พวกเราทดลองวิ่ง 3 ล้านไมล์
    ในเครื่องจำลองเหตุการณ์ทุกๆวัน
  • 13:26 - 13:29
    ดังนั้นคุณคงจิตนาการได้ว่า
    รถเราประสบการณ์โชกโชนขนาดไหน
  • 13:29 - 13:32
    พวกเราตั้งตาคอย
    ที่จะเห็นเทคโนโลยีนี้บนท้องถนน
  • 13:32 - 13:35
    และพวกเราคิดว่าทางเลือกที่ดีกว่า
    คือการใช้รถที่ขับได้เอง
  • 13:35 - 13:37
    ดีกว่าที่จะใช้ระบบช่วยเหลือคนขับ
  • 13:37 - 13:39
    เพราะว่าภาวะฉุกเฉินมันเกิดขึ้นได้หลากหลาย
  • 13:39 - 13:42
    ในเวลาที่ผมมาพูดในวันนี้
  • 13:42 - 13:45
    มี34คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนในอเมริกา
  • 13:45 - 13:47
    คำถามคือ เอาออกมาขายได้เมื่อไหร่
  • 13:47 - 13:51
    เรื่องนี้พูดยาก
    เพราะว่าปัญหามันซับซ้อนอยู่
  • 13:51 - 13:53
    แต่ว่าสองคนนี้คือลูกชายของผม
  • 13:53 - 13:57
    คนโตอายุ 11 แล้วนั่นหมายความว่า
    ผมมีเวลาอีก 4ปีครึ่ง
  • 13:57 - 13:59
    ก่อนที่เขาจะสามารถทำใบขับขี่ได้
  • 13:59 - 14:03
    ทีมและผมสัญญาว่าจะไม่ให้มันเกิดขึ้น
  • 14:03 - 14:04
    ขอบคุณครับ
  • 14:04 - 14:08
    (เสียงหัวเราะ)(เสียงปรบมือ)
  • 14:09 - 14:12
    คริส แอนเดอร์สัน: คริส ผมมีคำถามครับ
  • 14:12 - 14:14
    คริส เอิร์มสัน: เชิญครับ
  • 14:14 - 14:18
    คริส แอนเดอร์สัน: ความคิดของรถคุณ
    เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าพิศวง
  • 14:18 - 14:23
    สำหรับการถกเรื่องระบบช่วยเหลือคนขับ
    หรือรถขับด้วยตัวเอง
  • 14:23 - 14:26
    ซึ่งมันเป็นเรื่องที่มีการถกกัน
    ที่ค่อนข้างจริงจังในขณะนี้
  • 14:26 - 14:29
    บางบริษัท อย่างเช่น เทสล่า
  • 14:29 - 14:31
    เลือกที่จะไปใช้ระบบช่วยเหลือคนขับ
  • 14:31 - 14:36
    แต่สิ่งที่คุณพูดคือสุดท้ายมันจะเจอทางตัน
  • 14:36 - 14:42
    เพราะว่าคุณไม่สามารถพัฒนาระบบช่วยคนขับ
    ไปเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้
  • 14:42 - 14:45
    พอถึงจุดนึง
    ผู้ขับขี่ก็จะบอกเองว่า 'นี่รู้สึกปลอดภัย'
  • 14:45 - 14:48
    แล้วเอื้อมไปด้านหลังรถ
    แล้วก็จะเกิดบางอย่างไม่น่าดูขึ้น
  • 14:48 - 14:50
    คริส เอิร์มสัน: ใช่นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
    ยังไม่พูดถึง
  • 14:50 - 14:54
    ว่าระบบช่วยคนขับจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก
  • 14:54 - 14:56
    มันสามารถช่วยชีวิต
    ระหว่างช่วงรอยต่อได้
  • 14:56 - 15:00
    แต่จะไม่เห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลง
    ที่สามารถช่วยคนแบบสตีฟให้ไปไหนมาไหนได้
  • 15:00 - 15:02
    อย่างปลอดภัยจริงๆ
  • 15:02 - 15:04
    การที่มีโอกาสที่จะ
    เปลี่ยนแปลงบ้านเมืองของเรา
  • 15:04 - 15:09
    และเปลี่ยนแปลงการจอดรถ
    เพื่อที่จะเอาที่จอดรถออกไปให้หมด
  • 15:09 - 15:10
    ผมว่านี่เป็นทางเลือกที่ใช่
  • 15:10 - 15:13
    คริส แอนเดอร์สัน: พวกเราจะตามความคืบหน้า
    ของคุณด้วยความสนใจอย่างมาก
  • 15:13 - 15:16
    ขอบคุณมากครับคริส
    คริส เอิร์มสัน: ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
ทัศนะของรถยนต์ไร้คนขับ
Speaker:
คริส เอิร์มสัน
Description:

ในทางสถิติแล้ว ส่วนที่วางใจได้น้อยที่สุดในรถคือ คนขับ
คริส เอิร์มสัน เป็นผู้นำโปรแกรมรถยนต์ที่ไม่ต้องการคนขับที่ Google นี่เป็นหนึ่งความพยายามที่จะนำคนออกจากที่นั่งคนขับ เขามาเล่าถึงความคืบหน้าของโปรแกรม และแบ่งปันคลิปที่น่าสนใจว่ารถมองเห็นถนนแบบไหนแล้วทำการตัดสินใจอย่างอัตโนมัติในสิ่งที่จะทำต่อไปอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:29

Thai subtitles

Revisions Compare revisions