ในปี พ.ศ.2428 คาร์ล เบนซ์ ได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น และปีนั้นเอง เขาได้พามันไปทดลองขับในที่สาธารณะ และสิ่งที่ผมจะพูดนี้เป็นเรื่องจริง เขาเอาไปชนกำแพง ในช่วง 130 ปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาส่วนต่างๆของรถ ยกเว้นแต่ส่วนที่วางใจได้น้อยที่สุดคือ คนขับ เราสร้างรถให้แข็งแรงขึ้น พวกเราได้เพิ่มทั้ง เข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเราได้เริ่มพยายามทำให้รถฉลาดขึ้น เพื่อจะแก้บั๊ก หรือคนขับนั่นเอง ดังนั้นวันนี้ผมจะพูดสั้นๆ เกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างการแก้ไขรอบๆปัญหา ด้วยระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ กับการที่มีรถที่สามารถขับขี่ได้ด้วยตัวเอง และสิ่งที่มันสามารถทำได้ ผมจะพูดสั้นๆเกี่ยวกับรถของพวกเรา แล้วให้คุณลองดูว่ามันเห็นโลกอย่างไร และตอบสนองแบบไหนและทำอะไรได้บ้าง แต่ก่อนอื่นเลย ผมจะพูดสั้นๆเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งมันเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียว 1.2 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตบนถนนทุกๆปี เพียงอเมริกาที่เดียว ในแต่ละปีมี 33,000 คน เสียชีวิต เพื่อให้เห็นชัดขึ้น มันเหมือนกับมีเครื่องบิน 737 ตกลงมาจากฟ้าทุกๆวันทำการ มันแทบจะไม่น่าเชื่อ เวลาเราซื้อรถยนต์เราเห็นภาพมันแบบนี้ แต่นี่คือความเป็นจริงของการขับขี่ เห็นด้วยไหมครับ แดดไม่ออกแต่ฝนก็ไม่ตก ทำให้คุณอยากทำอย่างอื่น แทนที่จะต้องขับรถ และต้นเหตุที่ทำไม การจราจรแย่ลงเรื่อยๆ ในอเมริกา ระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ระยะการเดินทาง ของพาหนะเพิ่มขึ้นถึง 38% เรามีถนนเพิ่มขึ้น 6% คุณไม่ได้แค่รู้สึกไปเองหรอก การจราจรแย่ขึ้นมาก ถ้าเทียบกับอดีตที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน และถือว่ามีความเสียหายทางมูลค่าต่อมนุษย์ ถ้าเราเอาค่าเฉลี่ยของเวลา ที่คนอเมริกันใช้เดินทาง นั่นก็คือ 50นาที เอาจำนวนนั้นไปคูณกับ จำนวน 120 ล้านคนไปทำงาน นั่นออกมาเท่ากับประมาณ 6 พันล้านนาที มันถูกเสียไปกับการเดินทางทุกๆวัน นั่นเป็นเลขตัวใหญ่มาก และเพื่อให้คุณเห็นภาพ คุณเอา 6 พันล้านนาทีนั้น แล้วหารด้วยอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ จะเท่ากับ 162 ชาติ ถูกนำมาทิ้งทุกๆวัน เพื่อที่จะเดินทางจาก ที่หนึ่งไปที่ที่สอง มันไม่น่าเชื่อเลย แล้วก็ยังมีพวกเราบางคน ที่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ ที่จะเจอกับรถติดนั้น นี่คือสตีฟ เค้าเป็นคนที่มีความสามารถมากมาย แต่ว่าเค้าก็เป็นคนตาบอดด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าแทนที่จะใช้เวลา 30 นาที ขับรถยนต์ไปทำงานในตอนเช้า เขาจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการต่อรถขนส่งมวลชน หรือไม่ก็ต้องขอเพื่อนหรือที่บ้านให้ไปส่ง เค้าไม่ได้มีอิสระเหมือนคุณกับผม เวลาจะไปไหนมาไหน พวกเราควรจะทำอะไรบางอย่าง ถ้าเป็นความคิดแบบเดิมๆเราก็จะบอกว่า เราจะเอาระบบช่วยเหลือคนขับก็พอ แล้วเราก็ผลักดันและพัฒนาเพิ่มเติม แล้วพอเวลาผ่านไป มันก็จะเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ผมมายืนตรงนี้เพื่อที่จะบอกคุณว่า มันเหมือนกับว่า ผมบอกว่าถ้าผมพยายามตั้งใจกระโดดมากๆ วันนึงผมจะบินได้ พวกเราจำเป็นจะต้องทำอะไรบางอย่าง ให้แตกต่างออกไป ดังนั้นผมจึงจะพูดเกี่ยวกับ 3สิ่งที่แตกต่างออกไป ระหว่างระบบการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ผมจะเริ่มด้วยการแบ่งบัน เรื่องจากประสบการณ์ตรงของผม ย้อนกลับไปปี 2556 เราได้ทดลองรถยนต์ ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก ซึ่งเราให้คนทั่วไปเป็นคนทดลอง อืม ก็เกือบทั่วไปนะ เราให้พนักงานกูเกิ้ล 100 คน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เราให้รถพวกเขาไป เพื่อเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เหมือนกับรถขับเคลื่อนด้วยตัวเองปกติ มันมีดอกจันใหญ่ๆติดไปด้วย ผู้ลองขับจะต้องใส่ใจด้วย เพราะว่ามันเป็นรถทดลอง พวกเราทดลองมาเยอะมาก แต่มันก็มีโอกาสที่จะพลาด พวกเราใช้เวลา 2 ชั่วโมงเพื่ออบรม เราให้พวกเขาขึ้นไปบนรถและใช้มัน และเสียงตอบรับ มันเป็นอะไรที่สุดยอดมากเลย สำหรับคนที่พยายาม จะทำผลิตภัณฑ์ใหม่ในโลกนี้ ทุกคนที่ได้ลองบอกเราเขาชอบมาก จริงๆ แล้วเรามีคนขับรถปอร์เช่ ที่มาบอกเราตั้งแต่วันแรกว่า 'มันงี่เง่ามาก พวกเราคิดอะไรอยู่' แต่ว่าในตอนจบการทดลอง เขาพูดว่า 'ไม่ใช่แค่ผมควรจะมีรถนี้ แต่คนอื่นๆทุกคนควรจะมีมันด้วย เพราะบางคนก็ขับรถไม่ได้เรื่อง' มันเป็นเหมือนเสียงจากสวรรค์เลย แต่ว่าพอพวกเราเริ่มดูว่า คนทำอะไรในรถกัน มันเป็นอะไรที่เปิดหูเปิดตามาก ตัวอย่างโปรดของผมคือ คุณผู้ชายคนนี้ เขาก้มมองโทรศัพท์ของเขา แล้วเห็นว่าแบตกำลังจะหมด เขาเลยหันหลังไปเพื่อค้นกระเป๋าเขาเพื่อ ดึงคอมพิวเตอร์แลปทอปออกมา วางที่เก้าอี้ แล้วหันกลับไปอีกครั้ง เพื่อค้นหาสายชาร์จโทรศัพท์ เรื่อยๆ เฉื่อยๆ แล้วต่อมันเข้ากับ คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ แน่นอน หลังจากนั้นโทรศัพท์ก็ชาร์จ เค้าทำทุกอย่างขณะที่ รถวิ่งด้วยความเร็ว 100กม/ชมบนทางด่วน เห็นด้วยไหมว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อเลย แล้วพอเรามาคิดดู เราก็บอกได้ว่า มันชัดเจนเลยใช่ไหม ว่าเทคโนโลยียิ่งดีขึ้นเท่าไหร่ คนขับก็พึ่งพาตัวเองน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นการที่ทำให้รถฉลาดขึ้นมากๆ เราคงจะไม่ได้เห็นความสำเร็จ แบบที่เราหวังจะเห็น ผมขอจะพูดเชิงเทคนิคสักหน่อยนะครับ เรามองกราฟนี้และแถวๆด้านล่าง นี่คือความถี่ที่รถเบรก ในเวลาไม่จำเป็น คุณไม่ต้องสนใจแกนส่วนใหญ่ก็ได้ ลองคิดดูว่าหากคุณกำลังขับไปรอบๆเมือง แล้วรถเริ่มเบรกมั่วๆ คุณคงไม่ซื้อรถคันนั้นแน่ๆ แกนแนวตั้งแสดงถึงความถี่ที่รถจะเบรก เวลาที่มันสมควรเบรกเพื่อ จะช่วยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ตอนนี้ เรามาดูที่มุมซ้ายล่าง นี่คือรถธรรมดา มันไม่ช่วยเบรกรถให้คุณ มันไม่ทำอะไรประหลาดๆ แต่ว่ามันก็ไม่ช่วยให้คุณพ้นจากอุบัติเหตุ แล้วถ้าเราต้องการเอา ระบบช่วยเหลือคนขับมาใช้ในรถ เช่น ระบบเบรคอัตโนมัติเมื่อใกล้ชน เรากำลังนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ นั่นก็คือเส้นโค้งเส้นนี้ แล้วมันก็จะมีส่วนร่วมในการขับขี่ด้วย แต่มันคงจะไม่สามารถช่วย หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้เสมอ เพราะว่ามันไม่ได้มีความสามารถนั้น แต่ว่าเราจะเลือกบางจุดจากเส้นนี้ แล้วบางทีมันอาจจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ได้ครึ่งนึงของที่มนุษย์ทำพลาด มันก็มหัศจรรย์มากแล้วใช่ไหม เราได้ลดอุบัติเหตุบนถนนลงได้ครึ่งนึง ตอนนี้มีคนเสียชีวิตน้อยลง 17,000 คนต่อปีในอเมริกา แต่ถ้าหากเราอยากได้รถที่ขับได้ด้วยตัวเอง เราต้องมีโค้งของเทคโนโลยีที่หน้าตาอย่างนี้ เราจำเป็นจะต้องเพิ่มเซ็นเซอร์เข้าไปในตัวรถ แล้วก็เลือกจุดทำงานตรงนี้ ที่มันจะไม่ชนอะไรเลย มันจะมีบ้างแหละ แต่ว่าในความถี่ที่น้อยมากๆ ตอนนี้เรามาดูนี่กันแล้ว เราสามารถถกเถียงกัน ว่ามันสูงขึ้นหรือเปล่า และผมสามารถอ้างถึงกฎ 80-20 แต่มันยากมากที่จะย้ายขึ้นไป สู่เส้นโค้งเส้นใหม่ แต่เราลองมาดูมัน จากทิศทางที่แตกต่างออกไปสักครู่ แล้วมาดูว่าเทคโนโลยีนั้น จำป็นต้องทำสิ่งที่ถูกต้องบ่อยขนาดไหน จุดสีเขียวด้านบนตรงนี้คือ ระบบช่วยเหลือคนขับ ปรากฎว่า คนขับที่เป็นมนุษย์นั้น ทำพลาดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ประมาณทุกๆ 100,000 ไมล์ ในอเมริกา ในทางกลับกันระบบขับด้วยตัวเอง ทำการตัดสินใจประมาณ 10 ครั้งต่อวินาที ดังนั้นอันดับของขนาด มันเท่ากับประมาณ 1,000 ครั้งต่อไมล์ และหากคุณเอาระยะทางมาเปรียบเทียบกัน มันเท่ากับประมาณ 10 ยกกำลัง 8 เลยใช่ไหม หรือ ประมาณ 8 เท่า มันเหมือนกับการเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งของผม กับความเร็วของแสง มันไม่เกี่ยวหรอกว่าผมจะซ้อมมาหนักขนาดไหน แต่ผมจะไม่มีวันได้ไปถึงตรงนั้นหรอก คือ มันมีช่องว่างขนาดใหญ่อยู่ แล้วในที่สุด มันก็มีวิธีที่ระบบ จะจัดการกับความไม่แน่นอน นี่คนเดินถนนที่อาจจะ หรืออาจจะไม่ก้าวลงมาที่ถนน ผมไม่สามารถบอกได้ หรือไม่มีอัลกอรึทึมไหนรู้ได้เช่นกัน แต่ในกรณีของระบบช่วยเหลือคนขับ นั่นหมายความว่า ผมไม่สามารถทำอะไรได้เพราะว่า หากมันเบรกกระทันหันอย่างไม่คาดคิด มันเป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ แต่ว่าระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง สามารถมองคนเดินถนนคนนั้นแล้วพูดว่า ไม่รู้ว่าเขาคนนั้นจะทำอะไร ขับช้าลงหน่อย เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น แล้วค่อยตอบสนองให้เหมาะสมหลังจากนั้น ดังนั้นมันมีความปลอดภัยมากกว่า ที่ระบบช่วยเหลือผู้ขับจะให้ได้ นั่นคงเพียงพอแล้ว สำหรับความแตกต่างระหว่างทั้งสอง เรามาใช้เวลาเล็กน้อย พูดเกี่ยวกับว่ารถมองเห็นโลกอย่างไรกัน นี่คือรถของเรา มันเริ่มจาก ทำความเข้าใจ ว่ามันอยู่ส่วนไหนของโลกนี้ โดยใช้แผนที่และข้อมูลจากเซ็นเซอร์ แล้วเอามาเรียงกัน แล้วนำเอาสิ่งที่มันมองเห็นขณะนั้น มาวางทับลงไป ดังนั้นตรงนี้ กล่องสีม่วงที่คุณเห็นทั้งหมด คือยานพาหนะที่อยู่บนถนน แล้วสีแดงๆ ที่อยู่ด้านข้างตรงนั้น คือนักปั่นจักรยาน แล้วในระยะนั้น ถ้าคุณมองดีดี คุณจะเห็นกรวยจำนวนหนึ่ง แล้วเรารู้ว่ารถของเราอยู่ไหนในเวลานั้น แต่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก เราจะต้องคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น ที่ด้านบนขวามือมีรถกระบะ ที่กำลังจากจะเปลี่ยนไปช่องทางซ้าย เพราะว่าถนนด้านหน้ามันปิดอยู่ ดังนั้นมันจะต้องออกจากช่องทางเดิม การที่เรารู้เกี่ยวกับรถกระบะนั้นก็ดีนะ แต่ที่เราจะจำเป็นที่จะต้องรู้คือ ทุกๆคนคิดอะไรอยู่ ดังนั้นปัญหามันจึงซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยข้อมูลนั้น เราจะคิดออกว่ารถ ควรจะตอบสนองอย่างไรในเวลานั้นๆ แล้วทางไหนที่เราควรจะไป ควรจะเพิ่มหรือลดความเร็ว แล้วทั้งหมดนั้นก็จะเป็นแค่ ให้รถตามทางไป หมุนพวงมาลับไปทางซ้ายหรือขวา เหยียบเบรกหรือเหยียบคันเร่ง สุดท้ายมันก็เป็นเพียงตัวเลขแค่สองตัว มันจะยากขนาดไหนเชียว ย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 ระบบของเราหน้าตาเป็นแบบนี้ ดังนั้นคุณจะเห็นรถของพวกเราอยู่ตรงกลาง แล้วกล่องอื่นๆอยู่บนถนน รถกำลังขับเคลื่อนบนทางหลวง รถจะต้องรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนและ คร่าวๆว่ารถคันอื่นอยู่ตรงไหน เป็นความเข้าใจโลก ในรูปทรงเลขาคณิต และเมื่อเราได้เริ่มขับ ในระแวกที่อยู่อาศัยและถนนในเมือง ปัญหามันยากขึ้นเป็นคนละระดับเลย คุณเห็นคนกำลังข้ามถนน ด้านหน้าเรา เห็นรถผ่านหน้าเรา ไปในทุกทิศทาง มีไฟจราจร ทางม้าลาย เมื่อเทียบกันแล้ว นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างมาก และเมื่อไหร่ที่คุณแก้ปัญหานั้นได้ รถจะต้องสามารถจัดการกับการตีความได้ มีกรวยอยู่ด้านซ้าย บังคับให้ไปทางขวา แต่ไม่ใช่แค่การตีความแบบแยกไว้เป็นส่วนๆ แต่จะต้องจัดการกับคนอื่น ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในพื้นที่นั้นด้วย แน่นอนถ้าหากมีคนทำผิดกฎ ตำรวจก็อยู่ตรงนั้น รถเราจะต้องเข้าใจความหมาย ของสัญญาณไฟที่อยู่บนรถนั้นด้วย หมายความว่ารถนั้นไม่ใช่แค่รถธรรมดา แต่เป็นรถตำรวจ คล้ายกันกับกล่องสีส้ม ที่อยู่ด้านข้างตรงนี้ มันเป็นรถโรงเรียน และเราจะต้องจัดการกับมัน แตกต่างออกไปเหมือนกัน เวลาที่เราอยู่บนถนน คนอื่นก็มีความคาดหวังกับเรา เช่น เมื่อนักปั่นจักรยานส่งสัญญาณมือ มันหมายความว่าเขาคาดว่า รถจะยอมให้ไปก่อนและเว้นที่ไว้ให้ สำหรับเปลี่ยนช่องจราจร และถ้ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนบนถนน ยานพาหนะของเราควรจะเข้าใจว่า มันหมายความว่าจะต้องหยุดรถ แล้วพอเขาให้สัญญาณว่าไปได้ เราก็ควรจะไปต่อ วิธีที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ คือการแบ่งปันข้อมูลระหว่างรถ รถรุ่นแรกที่ได้รับการพัฒนาน้อยสุด จะเห็นพื้นที่แต่เพียงคันเดียว การที่มีข้อมูลจากรถอีกคัน ทำให้เลือกอยู่ในช่องจราจรที่ถูกต้อง จะได้ไม่เจอปัญหา แต่เรามีความเข้าใจที่ลึกลงไปอีก เราสามารถนำเอาข้อมูลทั้งหมด ที่รถเคยได้เห็นมา ไม่ว่าจะเป็นคนถนน นักปั่นจักรยานและ พาหนะที่ออกวิ่งอยู่บนถนนจำนวนเป็นล้าน และเข้าใจว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วใช้ข้อมูลนั้นในการสรุปว่า หน้าตารถคันอื่นเป็นอย่างไร หน้าตาของคนเดินถนนเป็นอย่างไร และที่สำคัญกว่านั้น เราสามารถเรียนรู้ได้คือ เราคาดให้มันเคลื่อนที่อย่างไร กล่องสีเหลืองนี้คือ คนเดินถนนที่จะเดินผ่านด้านหน้าเรา กล่องสีฟ้านี่เป็น นักปั่นจักรยานและเราคาดว่า ว่าพวกขาจะเบี่ยงขวารอบๆรถ มีนักปั่นจักรยานกำลังมา และพวกเรารู้ว่าพวกเขาจะขับตามทางถนน ตรงนี้มีคนกำลังเลี้ยวขวา และตอนนี้ ตรงนี้มีบางคน กำลังจะทำกลับรถข้างหน้าเรา และเราสามารถคาดเดาการกระทำ แล้วตอบสนองได้อย่างปลอดภัย เท่าที่เราเห็นก็ยังดีอยู่ แต่ว่าแน่นอน คุณจะเจอหลายสิ่งที่คุณ ไม่เคยเห็นในโลกนี้มาก่อน ประมาณสองเดือนที่ผ่านมา รถของเราที่กำลังขับผ่านภูเขา แล้วเราได้เจอกับอะไรบางอย่าง นี่คือผู้หญิงที่นั่งอยู่บนรถเข็นไฟฟ้า ซึ่งกำลังไล่เป็ดเป็นวงกลมอยู่บนถนน (เสียงหัวเราะ) กลายเป็นว่า ไม่มีส่วนไหน ของหนังสือคู่มือการขับขี่ ที่บอกคุณว่าจะต้องทำอย่างเมื่อเจอแบบนี้ แต่ว่ารถของเราก็สามารถผ่านมันไปได้ โดยการลดความเร็วแล้วขับอย่างปลอดภัย ตอนนี้เราไม่ต้องจัดการกับเป็ดแล้ว ลองดูนกบินผ่านเรากัน ดูว่ารถตอบสนองอย่างไร นี่เมื่อเราเจอกับนักปั่นจักรยาน ที่เราไม่คาดว่าจะเจอในที่อื่น ถ้าไม่ใช่แถวภูเขา และแน่นอน รถจัดการกับคนขับคนอื่น แม้แต่ตัวเล็กๆ ลองดูภาพด้านขวา ตอนมีคนกระโดดออกมาจากรถกระบะมาหาเรา แล้วดูด้านซ้าย ดูรถที่เป็นกล่องสีเขียวตัวสินใจ ว่าเขาจะต้องเลี้ยวขวาตอนวินาทีสุดท้าย นี่เป็นตอนที่เราจะเปลี่ยนช่องทาง แล้วรถด้านซ้ายของเรา ก็ต้องการจะเปลี่ยนเหมือนกัน และนี่ เราดูรถฝ่าไฟแดง และเราให้ไปก่อน คล้ายๆกัน นี่เป็นนักปั่นจักรยาน ฝ่าไฟแดงเหมือนกัน และแน่นอนรถของเราตอบสนอง ได้อย่างปลอดภัย และแน่นอนมีคนหลายคน ที่ยังไม่ทราบว่ามาทำอะไรบนถนน เหมือนคนนี้ โผล่มาระหว่างรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง เป็นคุณคุณก็คงคิดว่า 'คิดอะไรอยู่นะ' (เสียงหัวเราะ) ผมเพิ่งจะพ่นไฟข้อมูลมากมายใส่คุณ ดังนั้นผมจะทำให้มันง่ายขึ้น สิ่งที่เรากำลังดูอยู่ในฉากนี้ กับนักปั่นอีกแล้ว คุณอาจจะมองเห็นตรงด้านล่าง ว่าเรายังไม่สามารถเห็นนักปั่นได้ แต่รถเห็น นั่นก็คือกล่องสีฟ้าเล็กๆตรงนั้น เพราะว่ามันมาจากข้อมูลของเลเซอร์ แต่มันไม่ได้อธิบายได้ง่ายๆ ดังนั้นผมจะเปลี่ยนเป็นข้อมูลเลเซอร์ แล้วมาดูกัน ถ้าคุณอ่านข้อมูลเลเซอร์ออก คุณจะเห็น มีจุดอยู่บนเส้นโค้งตรงนั้น ตรงนั้นเอง นั่นคือกล่องสีฟ้าหรือนักปั่น ตอนนี้ไฟของเราเป็นสีแดง แต่ไฟของนักปั่นมันเป็นสีเหลืองแล้ว แล้วถ้าคุณจ้องดูในภาพนี้ดีๆ ว่านักปั่นเค้าจะไม่หยุดปั่น แล้วข้ามทางแยกนี้ไป ไฟเรากลายเป็นสีเขียวแล้ว และของนักปั่นก็เป็นสีแดง แล้วตอนนี้เราคาดว่ารถจักรยานจะมาจนสุดทาง แต่ว่าโชคไม่ดีนักที่ คนขับข้างๆเราไม่ได้ตั้งใจดูขนาดเรา พวกเขาเริ่มเดินเครื่อง และโชคดีมาก ที่นักปั่นไหวตัวทันและหลบไป ทันที่จะผ่านแยกไป เราถึงจะออกตัวได้ ตอนนี้คุณก็เห็นแล้วว่า เรากำลังพัฒนาอย่างน่าตื่นเต้น มาถึงจุดนี้เราเชื่อว่า เราสามารถนำเทคโนโลยีนี้เข้าสู่ตลาดได้ พวกเราทดลองวิ่ง 3 ล้านไมล์ ในเครื่องจำลองเหตุการณ์ทุกๆวัน ดังนั้นคุณคงจิตนาการได้ว่า รถเราประสบการณ์โชกโชนขนาดไหน พวกเราตั้งตาคอย ที่จะเห็นเทคโนโลยีนี้บนท้องถนน และพวกเราคิดว่าทางเลือกที่ดีกว่า คือการใช้รถที่ขับได้เอง ดีกว่าที่จะใช้ระบบช่วยเหลือคนขับ เพราะว่าภาวะฉุกเฉินมันเกิดขึ้นได้หลากหลาย ในเวลาที่ผมมาพูดในวันนี้ มี34คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนในอเมริกา คำถามคือ เอาออกมาขายได้เมื่อไหร่ เรื่องนี้พูดยาก เพราะว่าปัญหามันซับซ้อนอยู่ แต่ว่าสองคนนี้คือลูกชายของผม คนโตอายุ 11 แล้วนั่นหมายความว่า ผมมีเวลาอีก 4ปีครึ่ง ก่อนที่เขาจะสามารถทำใบขับขี่ได้ ทีมและผมสัญญาว่าจะไม่ให้มันเกิดขึ้น ขอบคุณครับ (เสียงหัวเราะ)(เสียงปรบมือ) คริส แอนเดอร์สัน: คริส ผมมีคำถามครับ คริส เอิร์มสัน: เชิญครับ คริส แอนเดอร์สัน: ความคิดของรถคุณ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าพิศวง สำหรับการถกเรื่องระบบช่วยเหลือคนขับ หรือรถขับด้วยตัวเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่มีการถกกัน ที่ค่อนข้างจริงจังในขณะนี้ บางบริษัท อย่างเช่น เทสล่า เลือกที่จะไปใช้ระบบช่วยเหลือคนขับ แต่สิ่งที่คุณพูดคือสุดท้ายมันจะเจอทางตัน เพราะว่าคุณไม่สามารถพัฒนาระบบช่วยคนขับ ไปเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ พอถึงจุดนึง ผู้ขับขี่ก็จะบอกเองว่า 'นี่รู้สึกปลอดภัย' แล้วเอื้อมไปด้านหลังรถ แล้วก็จะเกิดบางอย่างไม่น่าดูขึ้น คริส เอิร์มสัน: ใช่นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ยังไม่พูดถึง ว่าระบบช่วยคนขับจะไม่ได้ช่วยอะไรมาก มันสามารถช่วยชีวิต ระหว่างช่วงรอยต่อได้ แต่จะไม่เห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลง ที่สามารถช่วยคนแบบสตีฟให้ไปไหนมาไหนได้ อย่างปลอดภัยจริงๆ การที่มีโอกาสที่จะ เปลี่ยนแปลงบ้านเมืองของเรา และเปลี่ยนแปลงการจอดรถ เพื่อที่จะเอาที่จอดรถออกไปให้หมด ผมว่านี่เป็นทางเลือกที่ใช่ คริส แอนเดอร์สัน: พวกเราจะตามความคืบหน้า ของคุณด้วยความสนใจอย่างมาก ขอบคุณมากครับคริส คริส เอิร์มสัน: ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)