Return to Video

วิธีลงจอดบนดาวหาง

  • 0:01 - 0:06
    ผมอยากจะนำคุณไปกับการเดินทางที่สุดยอด
    ของยานอวกาศ โรเซตตา (Rosetta spacecraft)
  • 0:06 - 0:10
    เพื่อที่จะขนส่ง
    และนำยานสำรวจลงจอดบนดาวหาง
  • 0:10 - 0:13
    มันเป็นความปรารถนาของผม
    มาตลอดสองปี
  • 0:13 - 0:15
    เพื่อที่จะทำอย่างนั้น
  • 0:15 - 0:18
    ผมต้องอธิบายให้คุณทราบถึงจุดเริ่มต้น
    ของระบบสุริยจักรวาล
  • 0:18 - 0:20
    เมื่อเราย้อนกลับไป 4.5 พันล้านปีก่อน
  • 0:20 - 0:22
    มันมีเมฆก๊าซและฝุ่น
  • 0:22 - 0:26
    และศูนย์กลางของเมฆนี้
    ดวงอาทิตย์ของเราก็เกิดขึ้นและเปล่งแสง
  • 0:26 - 0:32
    สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกันก็คือดาวเคราะห์
    ดาวหาง และดาวเคราะห์น้อยที่เรารู้จัก
  • 0:32 - 0:36
    สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น ตามทฤษฎี
  • 0:36 - 0:40
    ก็คือเมื่อโลกเย็นตัวลง
  • 0:40 - 0:44
    ดาวหางมากมายก็เข้าชนโลก
    และนำน้ำมายังโลก
  • 0:45 - 0:50
    มันอาจจะนำสารอินทรีย์ที่ซับซ้อน
    มายังโลกด้วย
  • 0:50 - 0:53
    และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้น
    การเกิดของสิ่งมีชีวิต
  • 0:53 - 0:56
    คุณสามารถเปรียบเทียบสิ่งนี้
    กับการที่จะต้องต่อจิ๊กซอว์ 250 ชิ้น
  • 0:56 - 1:00
    แทนที่จะเป็น 2,000 ชิ้น
  • 1:00 - 1:03
    หลังจากนั้น ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่
    อย่างดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
  • 1:03 - 1:06
    พวกมันไม่ได้อยู่ในที่ของมันอย่างที่เป็นในตอนนี้
  • 1:06 - 1:08
    และพวกมันก็มีปฏิสัมพันธ์กันทางแรงโน้มถ่วง
  • 1:08 - 1:12
    และพวกมันก็เก็บกวาดส่วนใน
    ของระบบสุริยจักรวาลซะราบ
  • 1:12 - 1:13
    และสิ่งที่เรารู้ เมื่อดาวหาง
  • 1:13 - 1:16
    เข้าไปอยู่ในอะไรบางอย่างที่เรียกว่า
    ไคเปอร์ เบลท์ (Kuiper Belt)
  • 1:16 - 1:19
    ซึ่งเป็นทางของวัตถุนอกวงโคจรของดาวเนปจูน
  • 1:19 - 1:23
    และบางครั้ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้าชนกัน
  • 1:23 - 1:26
    และพวกมันเบนไปด้วยแรงโน้มถ่วง
  • 1:26 - 1:30
    และจากนั้นแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสฯ
    ก็ดึงพวกมันกลับเข้ามายังระบบสุริยจักรวาล
  • 1:30 - 1:34
    และพวกมันก็กลายเป็นดาวหาง
    อย่างที่พวกเราเห็นบนฟากฟ้า
  • 1:34 - 1:37
    สิ่งสำคัญก็คือว่า ในช่วงนี้
  • 1:37 - 1:40
    ในสี่จุดห้าพันล้านปี
  • 1:40 - 1:43
    ดาวหางเหล่านี้ได้อยู่ในส่วนนอก
    ของระบบสุริยจักรวาล
  • 1:43 - 1:44
    และไม่เคยเปลี่ยนแปลง
  • 1:44 - 1:47
    ประหนึ่งเป็นระบบสุริยจักรวาลแบบที่แช่แข็งไว้
  • 1:47 - 1:49
    ในท้องฟ้า เรามองสิ่งเหล่านี้
  • 1:49 - 1:51
    เรารู้จักพวกมันจากหาง
  • 1:51 - 1:53
    จริงๆ แล้วพวกมันมีสองหาง
  • 1:53 - 1:57
    หางหนึ่งเป็นฝุ่น
    ซึ่งถูกเป่าออกมาโดยลมสุริยะ
  • 1:57 - 2:00
    อีกหางหนึ่งคือ หางไอออน
    ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุ
  • 2:00 - 2:03
    และพวกมันเคลื่อนตามสนามแม่เหล็ก
    ในระบบสุริยจักรวาล
  • 2:03 - 2:04
    มันมีโคม่า
  • 2:04 - 2:07
    และจากนั้นก็มีนิวเคลียส ซึ่งตรงนี้
    มันเล็กเกินกว่าจะเห็นได้
  • 2:07 - 2:10
    และคุณจะต้องจำไว้ว่า ในกรณีของโรเซตตา
    (Rosetta)
  • 2:10 - 2:12
    ยานอวกาศอยู่ตรงใจกลางพิกเซลนั้น
  • 2:12 - 2:16
    เราอยู่ห่างไป 20, 30, 40 กิโลเมตร
    จากดาวหางนั้น
  • 2:16 - 2:18
    แล้วมีอะไรที่สำคัญอีก
  • 2:18 - 2:23
    ดาวหางมีสสารดั้งเดิม
    ที่ให้กำเนิดระบบสุริยจักรวาลของเรา
  • 2:23 - 2:26
    ดังนั้น พวกมันน่าศึกษา ถึงองค์ประกอบ
  • 2:26 - 2:30
    ที่มีอยู่ในเวลานั้น
    เมื่อโลก และชีวิต เริ่มต้นขึ้น
  • 2:30 - 2:32
    นักวิทยาศาสตร์ยังตั้งสมมติฐานว่า
  • 2:32 - 2:36
    ดาวหางได้นำสารตั้งต้นที่เริ่มต้นกระบวนการ
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตมาสู่โลก
  • 2:36 - 2:40
    ในปีค.ศ. 1983 ESA จัดตั้งโครงการระยะยาว
    ชื่อ ฮอไรซอน 2000 (Horizon 2000)
  • 2:40 - 2:44
    ซึ่งมีก้าวสำคัญขั้นหนึ่ง
    นั่นคือปฏิบัติการไปดาวหาง
  • 2:44 - 2:49
    ในขณะเดียวกัน ปฏิบัติการเล็กๆ ไปยังดาวหาง
    นี่คือ จิออตโต (Giotto) ก็ถูกปล่อยออกไป
  • 2:49 - 2:55
    และในปี ค.ศ. 1986 มันบินผ่านดาวหางฮัลเลย์
    พร้อมกับขบวนยานอวกาศอื่นๆ
  • 2:55 - 2:59
    จากผลของปฏิบัติการ
    มันเป็นที่ชัดเจนในทันทีว่า
  • 2:59 - 3:04
    ดาวหางนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับการศึกษา
    เพื่อทำความเข้าใจระบบสุริยจักรวาลของเรา
  • 3:04 - 3:09
    และดังนั้น ปฏิบัติการณ์โรเซตตา
    ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1993
  • 3:09 - 3:12
    เดิมที มันควรจะถูกปล่อยตัว
    ในปี ค.ศ. 2003
  • 3:12 - 3:15
    แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นกับ
    จรวดอาเรียน (Ariane)
  • 3:15 - 3:18
    อย่างไรก็ดี ด้วยความกระตือรือล้นจัด
    หน่วยประชาสัมพันธ์ของเรา
  • 3:18 - 3:20
    ได้ผลิตจานกระเบื้องที่ระลึก 1,000 ชิ้น
  • 3:20 - 3:23
    ที่มีชื่อดาวหางผิดดวง
  • 3:23 - 3:26
    ผมเลยไม่เคยต้องซื้อเครื่องกระเบื้องอีกเลย
    นั่นเป็นข้อดีนะครับ
  • 3:26 - 3:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:28 - 3:30
    เมื่อปัญหาทั้งหมดได้รับการแก้ไข
  • 3:30 - 3:33
    เราออกจากโลกในปี ค.ศ. 2004
  • 3:33 - 3:36
    ไปยังดาวหางที่ถูกเลือกใหม่
    เชอยูมอฟ-เจราซิเมนโค
    (Churyumov-Gerasimenko)
  • 3:36 - 3:39
    ดาวหางดวงนี้ถูกเลือกอย่างพิถีพิถัน
  • 3:39 - 3:41
    เพราะว่า หนึ่ง คุณจะต้องสามารถไปถึงมันได้
  • 3:41 - 3:44
    และสอง มันไม่ควรจะอยู่ในระบบสุริยจักรวาลมานานเกินไป
  • 3:44 - 3:48
    ดาวหางนี้อยู่ในระบบสุริยจักรวาลมาตั้งแต่
    ปี ค.ศ. 1959
  • 3:48 - 3:52
    นั่นเป็นครั้งแรก
    ที่มันถูกเบนออกโดยดาวพฤหัสฯ
  • 3:52 - 3:54
    และมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์พอที่จะเริ่มเปสี่ยนแปลง
  • 3:54 - 3:56
    มันเป็นดาวหางใหม่
  • 3:57 - 4:00
    โรเซตตาได้สร้างประวัติศาสตร์
    ในการทำหลายๆ สิ่งเป็นครั้งแรก
  • 4:00 - 4:02
    มันเป็นดาวเทียมแรกที่โคจรรอบดาวหาง
  • 4:02 - 4:06
    และติดตามมันไปตลอดทั้งการเดินทาง
    ข้ามระบบสุริยจักรวาล --
  • 4:06 - 4:09
    เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
    อย่างที่เราจะได้เห็นในเดือนสิงหาคม
  • 4:09 - 4:11
    และจากนั้นออกห่างไป
    สู่ระบบสุริยจักรวาลส่วนนอกอีกครั้ง
  • 4:11 - 4:14
    มันเป็นยานลำแรกที่ลงจอดบนดาวหาง
  • 4:14 - 4:18
    เราโคจรรอบดาวหาง
    โดยใช้อะไรบางอย่าง
  • 4:18 - 4:19
    ที่ปกติเขาไม่ใช้กันในยานอวกาศ
  • 4:19 - 4:23
    ปกติแล้วคุณมองไปบนท้องฟ้า
    และคุณจะรู้ว่าคุณมองไปทางไหน คุณอยู่ตรงไหน
  • 4:23 - 4:25
    ในกรณีนี้ นั่นไม่พอครับ
  • 4:25 - 4:28
    เรานำร่อง
    โดยใช้จุดสังเกตบนดาวหาง
  • 4:28 - 4:31
    เราจดจำรูปร่าง --
    หินก้อนใหญ่ แอ่ง
  • 4:31 - 4:35
    และนั่นทำให้เรารู้ว่าอยู่ตรงไหน
    เมื่อเทียบกับดาวหาง
  • 4:35 - 4:39
    และ แน่นอน มันเป็นดาวเทียมดวงแรก
    ที่ไปไกลกว่าวงโคจรของดาวพฤหัสฯ
  • 4:39 - 4:40
    ด้วยพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์
  • 4:40 - 4:43
    ทีนี้ มันฟังดูยิ่งใหญ่กว่าที่มันเป็น
  • 4:43 - 4:48
    เพราะว่าเทคโนโลยีที่ใช้
    ตัวก่อกำเนิดความร้อนรังสีไอโซโทป
  • 4:48 - 4:51
    ไม่ได้มีอยู่ในยุโรปในตอนนั้น
    ฉะนั้น เราไม่มีทางเลือกอื่น
  • 4:51 - 4:53
    แต่แผงโซลาร์เซลล์มีขนาดใหญ่
  • 4:53 - 4:56
    นี่คือปีกหนึ่ง และนี่คือคน
    ที่ไม่ใช่คนแคระ
  • 4:56 - 4:58
    พวกเขาก็เหมือนผมกับคุณนี่แหละครับ
  • 4:58 - 5:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:00 - 5:04
    เรามีสองปีกที่มีขนาด 65 ตารางเมตร
  • 5:04 - 5:07
    ต่อมา แน่ล่ะว่า เมื่อเราเข้าใกล้ดาวหาง
  • 5:07 - 5:11
    เราพบว่าปีกโซลาเซลล์ขนาด 65 ตารางเมตร
  • 5:11 - 5:16
    เมื่อเข้าใกล้กับดาวหางที่ปล่อยก๊าซออกมา
    ไม่ได้เป็นตัวเลือกที่ดีเสมอไป
  • 5:16 - 5:19
    ทีนี้ เราจะไปถึงดาวหางได้อย่างไร
  • 5:19 - 5:22
    เพราะว่าเราจะต้องไปตรงนั้น
    เพื่อเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ของโรเซตตา
  • 5:22 - 5:26
    ห่างไกลออกไป สี่เท่าของระยะทาง
    จากโลกไปดวงอาทิตย์
  • 5:26 - 5:30
    และยังใช้ความเร็วสูงกว่าอีกด้วย
  • 5:30 - 5:34
    เพราะว่าเราต้องใช้พลังงานมากเป็นหกเท่า
    ของน้ำหนักยานอวกาศ
  • 5:34 - 5:36
    แล้วเราทำอย่างไรน่ะหรือครับ
  • 5:36 - 5:39
    เราใช้การบินเฉียดแรงโน้มถ่วง
    เหมือนใช้หนังสติ๊ก
  • 5:39 - 5:43
    บินเฉียดดาวเคราะห์ที่ระดับต่ำๆ
  • 5:43 - 5:44
    ห่างจากดาวเคราะห์ไม่กี่พันกิโลเมตร
  • 5:44 - 5:49
    และจากนั้นคุณได้ความเร็วจากดาวเคราะห์นั้น
    ช่วยส่งให้เคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์ได้ฟรีๆ
  • 5:49 - 5:51
    เราทำอย่างนั้นสองสามหน
  • 5:51 - 5:54
    เราเคลื่อนไปรอบโลก ดาวอังคาร
    และอีกสองหนรอบโลก
  • 5:54 - 5:58
    และเราบินผ่านอุกาบาตสองดวง
    ลูเทเชีย (Lutetia) และ สไตนส์ (Steins)
  • 5:58 - 6:03
    จากนั้นในปี ค.ศ. 2011 เราออกไปห่างดวงอาทิตย์
    จนถ้าหากยานมีปัญหา
  • 6:03 - 6:07
    เราจะไม่สามารถรักษายานไว้ได้อีกแล้ว
  • 6:07 - 6:09
    ฉะนั้น เราเลยให้มันจำศีล
  • 6:09 - 6:12
    ทุกอย่างดับหมดยกเว้นนาฬิกาเรือนเดียว
  • 6:12 - 6:16
    คุณจะเห็นเส้นโคจรสีขาวว่ามันเป็นไปอย่างไร
  • 6:16 - 6:18
    คุณเห็นมันจากวงกลมที่เราเริ่ม
  • 6:18 - 6:22
    เส้นสีขาว
    ที่จริงแล้วมันเป็นวงรีมากขึ้นมากขึ้น
  • 6:22 - 6:25
    และสุดท้ายแล้ว เราเข้าใกล้ดาวหาง
  • 6:25 - 6:29
    ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 เราต้องเริ่ม
    ควบคุมยานเพื่อลงจอด ณ จุดนัดพบ
  • 6:29 - 6:34
    ระหว่างทาง เราบินผ่านโลก
    และเราถ่ายภาพไว้บ้างเพื่อทดสอบกล้อง
  • 6:34 - 6:36
    นี่คือดวงจันทร์ที่ขึ้นเหนือโลก
  • 6:36 - 6:38
    และนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า เซลฟี่
  • 6:38 - 6:42
    ซึ่งในเวลานั้น คำนี้คงยังไม่เกิดขึ้น
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:42 - 6:45
    มันอยู่ที่ดาวอังคาร
    มันถูกถ่ายด้วยกล้อง CIVA
  • 6:45 - 6:47
    นั่นคือกล้องตัวหนึ่งบนตัวลงจอด
  • 6:47 - 6:49
    ที่มองลงไปใต้แผงโซลาร์เซลล์
  • 6:49 - 6:53
    และคุณเห็นดาวเคราะห์ซึ่งคือดาวอังคาร
    และแผงโซลาร์เซลล์ในระยะไกล
  • 6:53 - 6:59
    ทีนี้ เมื่อเราออกจากจำศีล
    ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014
  • 6:59 - 7:01
    เราเริ่มเข้าใกล้ ในระยะ
  • 7:01 - 7:04
    สองพันกิโลเมตร จากดาวหาง
    ในเดือนพฤษภาคม
  • 7:04 - 7:08
    อย่างไรก็ดี
    ความเร็วของยานอวกาศนั้นเร็วเกินไปมาก
  • 7:08 - 7:14
    เราบินด้วยความเร็วกว่าดาวหาง
    2,800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฉะนั้นเราต้องเบรก
  • 7:14 - 7:16
    เราต้องทำการเบรกหกครั้ง
  • 7:16 - 7:18
    และตามที่คุณเห็น
    บางครั้งเป็นการเบรกครั้งใหญ่
  • 7:18 - 7:24
    เราเบรกครั้งแรก โดยลดความเร็วลง
    สองสามร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • 7:24 - 7:29
    และอันที่จริง
    ระยะเวลาของช่วงนั้นคือเจ็ดชั่วโมง
  • 7:29 - 7:32
    และใช้เชื้อเพลิง 218 กิโลกรัม
  • 7:32 - 7:36
    และนั่นเป็นเจ็ดชั่วโมงที่ชวนเขย่าขวัญ
    เพราะในปี ค.ศ. 2007
  • 7:36 - 7:39
    มีการรั่วไหลในระบบการขับเคลื่อนของโรเซตต้า
  • 7:39 - 7:41
    และเราก็ต้องปิดส่วนหนึ่งของมันไป
  • 7:41 - 7:43
    ฉะนั้น จริงๆ แล้วระบบทำงานที่ความดัน
  • 7:43 - 7:47
    ซึ่งมันไม่เคยถูกออกแบบหรือผ่านการรับรองมาเลย
  • 7:48 - 7:53
    จากนั้นเราเข้าไปยังบริเวณใกล้ๆ ดาวหาง
    และนี่คือภาพแรกๆ ที่เราได้เห็น
  • 7:53 - 7:55
    รอบการหมุนของดาวหางจริงๆ
    คือ 12 ชั่วโมงครึ่ง
  • 7:55 - 7:57
    นี่คือภาพเร่งเวลา
  • 7:57 - 8:01
    แต่คุณจะเข้าใจ
    เช่นเดียวกับที่ วิศวกรด้านการบินของเราคิด
  • 8:01 - 8:04
    ว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะลงจอดบนสิ่งนั้น
  • 8:04 - 8:09
    เราหวังเอาไว้ว่ามันจะเป็นอะไรที่แบนๆ
  • 8:09 - 8:11
    จะได้ลงจอดได้ง่ายๆ
  • 8:11 - 8:15
    แต่เรายังมีอีกความหวัง บางทีมันอาจจะเรียบก็ได้
  • 8:15 - 8:18
    ไม่เลยครับ นั่นก็ไม่จริงอีกเช่นกัน
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:18 - 8:21
    ฉะนั้น ณ ตอนนั้น มันชัดเจนว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 8:21 - 8:25
    เราต้องทำแผนที่พื้นผิวของเจ้าสิ่งนี้
    ในทุกรายละเอียดเท่าที่เราทำได้
  • 8:25 - 8:30
    เพราะว่าเราต้องหาบริเวณ
    ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร และแบน
  • 8:30 - 8:34
    ทำไม 500 เมตรน่ะหรือครับ มันคือ
    ค่าความคลาดเคลื่อนของตัวโพรบการลงจอด
  • 8:34 - 8:37
    ฉะนั้นเราทำตามกระบวนการเหล่านี้
    และติดตามดาวหางนี้
  • 8:37 - 8:40
    เราใช้เทคนิคที่เรียกว่า โฟโตคลิโนเมทรี
    (photoclinometry)
  • 8:40 - 8:42
    คุณใช้เงาที่ทอดมาจากดวงอาทิตย์
  • 8:42 - 8:45
    ที่คุณเห็นตรงนี้คือหิน ที่ตั้งอยู่บนผิวของดาวหาง
  • 8:45 - 8:48
    และดวงอาทิตย์ส่องแสงมาจากข้างบน
  • 8:48 - 8:50
    จากเงา และด้วยสมองของเรา
  • 8:50 - 8:54
    เราสามารถบ่งชี้ได้อย่างคร่าวๆ ในทันที
    ว่ารูปร่างของหินเป็นอย่างไร
  • 8:54 - 8:56
    คุณสามารถใส่ข้อมูลนั่นในคอมพิวเตอร์
  • 8:56 - 9:00
    จากนั้นทำทั้งดาวหาง
    และคุณก็จะได้แผนที่ดาวหาง
  • 9:00 - 9:04
    เพื่อการนี้ เราบินในเส้นวงโคจรพิเศษ
    ตั้งแต่เดือนสิงหาคม
  • 9:04 - 9:07
    เส้นการโคจรแรก เป็นสามเหลี่ยม
    ด้านกว้าง 100 กิโลเมตร
  • 9:07 - 9:08
    ห่างจากดาวหาง 100 กิโลเมตร
  • 9:08 - 9:11
    และเราทำซ้ำทั้งหมดนั่นที่ 50 กิโลเมตร
  • 9:11 - 9:15
    ในเวลานั้น เราได้เห็นดาวหางในทุกมุม
  • 9:15 - 9:20
    และเราสามารถใช้เทคนิคนี้
    เพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาวหางทั้งดวงได้
  • 9:20 - 9:23
    ทีนี้ ขั้นต่อไปคือการเลือกพื้นที่ลงจอด
  • 9:23 - 9:27
    กระบวนการทั้งหมดที่เราต้องทำ
    จากการทำแผนที่ดาวหาง
  • 9:27 - 9:31
    ไปถึงการหาพื้นที่ลงจอดสุดท้ายจริงๆ
    กินเวลา 60 วัน
  • 9:31 - 9:32
    เราไม่มีเวลามากกว่านั้น
  • 9:32 - 9:34
    เพื่อที่จะให้คุณเห็นภาพ
    ปฏิบัติการไปดาวอังคารส่วนใหญ่
  • 9:34 - 9:38
    นักวิทยาศาสตร์เป็นร้อยๆ
    ต้องใช้เวลาประชุมกันหลายปี
  • 9:38 - 9:40
    เพื่อตกลงว่าเราจะไปลงตรงจุดไหน
  • 9:40 - 9:42
    แต่เรามีแค่ 60 วัน เท่านั้นแหละครับ
  • 9:42 - 9:45
    ในที่สุดเราเลือกที่ลงจอดสุดท้าย
  • 9:45 - 9:50
    และชุดคำสั่งก็ได้ถูกตระเตรียมไว้
    ให้โรเซตตาปล่อยยานฟิเลย์ (Philae)
  • 9:50 - 9:55
    แผนก็คือ โรเซตตาจะต้องอยู่
    ณ จุดที่ถูกต้องในอวกาศ
  • 9:55 - 9:58
    และหันเข้าหาดาวหาง
    เพราะว่ายานลงจอดนั้นขยับเองไม่ได้
  • 9:58 - 10:01
    จากนั้นยานลงจอดก็ถูกดันออกมา
    และเคลื่อนไปหาดาวหาง
  • 10:01 - 10:03
    โรเซตต้าจะต้องหมุนตัว
  • 10:03 - 10:08
    ให้กล้องของมัน จับไปยังฟิเลย์
    ในขณะที่มันแยกออกจากกัน
  • 10:08 - 10:10
    และเพื่อที่จะสื่อสารกับมันได้
  • 10:10 - 10:15
    ทีนี้ ช่วงการลงจอด
    ของวิถีโคจรทั้งหมดคือเจ็ดชั่วโมง
  • 10:15 - 10:18
    ตอนนี้ลองมาคิดเลขง่ายๆ กันนะครับ
  • 10:18 - 10:22
    ถ้าความเร็วของโรเซตตาคลาดไป
    หนึ่งเซนติเมตรต่อวินาที
  • 10:22 - 10:26
    เจ็ดชั่วโมงมี 25,000 วินาที
  • 10:26 - 10:30
    นั่นหมายถึงการลงจอดจะ
    ผิดไป 252 เมตร บนดาวหาง
  • 10:30 - 10:34
    ฉะนั้น เราต้องรู้ระดับความเร็วของโรเซตต้า
  • 10:34 - 10:36
    ละเอียดมากกว่าหนึ่งเซนติเมตรต่อวินาที
  • 10:36 - 10:40
    และรู้ตำแหน่งในอวกาศละเอียดกว่า 100 เมตร
  • 10:40 - 10:43
    ณ 500 ล้านกิโลเมตรจากโลก
  • 10:43 - 10:46
    นั่นไม่ง่ายเลยนะครับ
  • 10:46 - 10:50
    ผมจะแสดงให้คุณเห็นคร่าวๆ
    ถึงศาสตร์เบื้องหลังและเครื่องมือบางส่วน
  • 10:50 - 10:54
    ผมจะไม่ทำให้คุณเบื่อด้วยรายละเอียด
    ของเครื่องมือทั้งหมดหรอกนะครับ
  • 10:54 - 10:55
    แต่มันมีทุกอย่างเลย
  • 10:55 - 10:58
    มีเครื่องมือที่ดมกลิ่นก๊าซได้
    สามารถวัดอนุภาคฝุ่นได้
  • 10:58 - 11:01
    วิเคราะห์รูปทรง และองค์ประกอบของมัน
  • 11:01 - 11:03
    มีเครื่องวัดแม่เหล็ก ทุกอย่างเลยครับ
  • 11:03 - 11:07
    นี่เป็นหนึ่งในผลที่ได้จากเครื่องมือ
    ซึ่งวัดความหนาแน่นก๊าซ
  • 11:07 - 11:09
    ในตำแหน่งของโรเซตตา
  • 11:09 - 11:11
    ดังนั้น มันคือก๊าซซี่งออกมาจากดาวหาง
  • 11:11 - 11:13
    กราฟล่างคือเดือนกันยายนปีที่แล้ว
  • 11:13 - 11:17
    มันมีความแตกต่างในระยะยาว
    ซึ่งโดยตัวมันเองนั้นไม่น่าแปลกใจเท่าไร
  • 11:17 - 11:18
    แต่คุณจะเห็นยอดแหลม
  • 11:18 - 11:21
    นี่คือวันดาวหาง
  • 11:21 - 11:25
    คุณเห็นผลจากดวงอาทิตย์
    ที่มีต่อการระเหยของก๊าซ
  • 11:25 - 11:28
    และข้อเท็จจริงที่ดาวหางหมุนรอบตัวเอง
  • 11:28 - 11:29
    ดังนั้นมันจึงมีจุดหนึ่ง
  • 11:29 - 11:31
    ซึ่งมีอะไรเกิดขึ้นมากมาย
  • 11:31 - 11:35
    มันได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์
    และจากนั้นก็เย็นลงในทางด้านหลัง
  • 11:35 - 11:38
    และเราสามารถเห็น
    การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นได้
  • 11:38 - 11:42
    นี่คือก๊าซ และองค์ประกอบชีวภาพ
  • 11:42 - 11:44
    ที่เราได้เคยตรวจวัดแล้ว
  • 11:44 - 11:46
    คุณจะเห็นว่ามันเป็นรายการที่น่าสนใจทีเดียว
  • 11:46 - 11:48
    และก็จะยังมีอีกมากที่ตามมา
  • 11:48 - 11:50
    เพราะว่ายังมีการตรวจวัดอีก
  • 11:50 - 11:54
    อันที่จริง ตอนนี้มีงานสัมมนาที่ฮูสตัน
  • 11:54 - 11:56
    ซึ่งผลการสำรวจเหล่านี้ถูกนำไปแสดง
  • 11:57 - 11:58
    นอกจากนั้น เรายังวัดอนุภาคฝุ่น
  • 11:58 - 12:01
    ทีนี้ สำหรับคุณ
    อันนี้อาจดูไม่น่าประทับใจนัก
  • 12:01 - 12:05
    แต่นักวิทยาศาสตร์ตื่นเต้นเมื่อได้เห็นสิ่งนี้
  • 12:05 - 12:06
    อนุภาคฝุ่นสองตัวอย่าง
  • 12:06 - 12:09
    อันขวาเรียกว่า บอริส
    และพวกเขายิงมันด้วยแทนทาลัม
  • 12:09 - 12:11
    เพื่อที่จะวิเคราะห์มัน
  • 12:11 - 12:13
    พวกเขาพบโซเดียมและแมกนีเซียม
  • 12:13 - 12:18
    สิ่งที่มันบอกคุณคือ
    ความเข้มข้นในธาตุทั้งสอง
  • 12:18 - 12:20
    ในขณะที่ระบบสุริยจักรวาลก่อกำเนิด
  • 12:20 - 12:24
    ฉะนั้น เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับว่า
    ตอนนั้นมีธาตุอะไรบ้าง
  • 12:24 - 12:27
    เมื่อดาวเคราะห์เกิดขึ้น
  • 12:27 - 12:30
    แน่ล่ะ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญ
    คือการถ่ายภาพ
  • 12:30 - 12:33
    นี่คือกล้องตัวหนึ่งของโรเซตตา
    กล้องโอซิริส (OSIRIS)
  • 12:33 - 12:36
    และนี่คือหน้าปกนิยสารไซน์ (Science)
  • 12:36 - 12:39
    ฉบับวันที่ 23 มกราคม ปีนี้
  • 12:39 - 12:42
    ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะหน้าตาแบบนี้
  • 12:42 - 12:46
    หินก้อนใหญ่ -- ซึ่งดูคล้ายยอดเขา ฮาล์ฟโดม
    ในอุทยานแห่งชาติโยซีเมติ
  • 12:46 - 12:48
    มากกว่าอะไรอย่างอื่น
  • 12:48 - 12:51
    เรายังเห็นสิ่งเหล่านี้:
  • 12:51 - 12:56
    สันทราย และสิ่งที่อยู่ทางขวา
    ที่เหมือนกับร่องรอยจากลมพัด
  • 12:56 - 13:00
    ตอนนี้เรารู้จักสิ่งเหล่านี้จากดาวอังคาร
    แต่ดาวหางนี้ไม่มีชั้นบรรยากาศ
  • 13:00 - 13:02
    ดังนั้นมันค่อนข้างยาก
    ที่จะมีร่องรอยจากลมพัด
  • 13:02 - 13:04
    มันอาจเป็นการปลดปล่อย
    ก๊าซบางอย่างในพื้นที่นั้น
  • 13:04 - 13:07
    เป็นสิ่งที่พุ่งขึ้นไปและกลับลงมา
  • 13:07 - 13:10
    เราไม่รู้ ฉะนั้นยังมีอะไรอีกมากให้เราสำรวจ
  • 13:10 - 13:12
    ตรงนี้ คุณเห็นภาพเดียวกันสองครั้ง
  • 13:12 - 13:14
    ทางซ้าย คุณเห็นในหลุมตรงกลาง
  • 13:14 - 13:17
    ทางขวามือ ถ้าคุณมองดีๆ
  • 13:17 - 13:20
    จะเห็นไอก๊าซ 3 ลำ พุ่งออกมาจากส่วนก้นหลุม
  • 13:20 - 13:22
    นี่คือกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนดาวหาง
  • 13:22 - 13:26
    เป็นที่แน่ชัดว่าที่ก้นหลุมเหล่านี้
    เป็นแหล่งที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรง
  • 13:26 - 13:29
    และเป็นที่ที่สสารระเหยออกมาสู่อวกาศ
  • 13:29 - 13:33
    มีรอยแตกที่น่าสนใจ
    ตรงช่วงคอคอดของดาวหาง
  • 13:33 - 13:35
    คุณจะเห็นมันทางขวามือ
  • 13:35 - 13:38
    มันยาวประมาณหนึ่งกิโลเมตร
    และมันกว้างสองเมตรครึ่ง
  • 13:38 - 13:40
    บางคนเสนอว่า
  • 13:40 - 13:43
    เมื่อเราเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ
  • 13:43 - 13:44
    ดาวหางอาจจะแยกเป็นสองส่วน
  • 13:44 - 13:46
    และจากนั้นเราต้องเลือก
  • 13:46 - 13:48
    ว่าเราจะตามดาวหางดวงไหน
  • 13:48 - 13:52
    ตัวลงจอด -- มีอุปกรณ์มากมาย
  • 13:52 - 13:57
    ส่วนใหญ่แล้วดูใกล้เคียงกัน
    โดยเพิ่มอุปกรณ์ขุดเจาะเข้ามา
  • 13:57 - 14:01
    นอกนั้นก็คล้ายกับโรเซตตามาก
    และเป็นเพราะว่าเราต้องการจะเปรียบเทียบ
  • 14:01 - 14:04
    สิ่งที่คุณเจอในอวกาศ
    กับสิ่งที่เจอบนดาวหาง
  • 14:04 - 14:07
    สิ่งเหล่านี้เรียกว่า
    การวัดความจริงระดับพื้น
  • 14:07 - 14:10
    นี่คือภาพการเคลื่อนลงจอด
  • 14:10 - 14:12
    ที่ถ่ายโดยกล้องโอซิริส
  • 14:12 - 14:16
    คุณเห็นตัวลงจอดห่างออกไปจากโรเซตตา
  • 14:16 - 14:20
    บนมุมขวา คุณเห็นภาพที่ถ่ายจากตัวลงจอด
    ที่ตำแหน่ง 60 เมตร
  • 14:20 - 14:23
    60 เมตรเหนือพื้นผิวดาวหาง
  • 14:23 - 14:26
    ก้อนหินบนนั้นมีขนาดประมาณ 10 เมตร
  • 14:26 - 14:30
    และนี่คือภาพท้ายๆ ที่เราถ่ายได้
    ก่อนที่จะลงจอดบนดาวหาง
  • 14:30 - 14:34
    ตรงนี้คุณเห็นลำดับทั้งหมดอีกครั้ง
    แต่จากอีกมุมหนึ่ง
  • 14:34 - 14:38
    และคุณจะเห็นภาพขยาย 3 ภาพ
    จากด้านล่างซ้ายขึ้นมาถึงตรงกลาง
  • 14:38 - 14:42
    ซึ่งเป็นภาพของยานลงจอด
    ที่อยู่เหนือพื้นผิวของดาวหาง
  • 14:42 - 14:46
    จากนั้น ตรงกลาง
    เป็นภาพก่อนและหลังการลงจอด
  • 14:46 - 14:50
    ปัญหาเดียวของรูปหลัง
    คือมันไม่มีตัวลงจอด
  • 14:50 - 14:54
    แต่ถ้าคุณดูดีๆ ที่ทางขวามือของภาพ
  • 14:54 - 14:58
    คุณจะเห็นว่าตัวลงจอดยังอยู่ตรงนั้น
    แต่มันกระดอนไป
  • 14:58 - 14:59
    มันแยกออกจากกันอีกครั้ง
  • 14:59 - 15:02
    ทีนี้ ขอแทรกเรื่องตลกนิดหนึ่งว่า
  • 15:02 - 15:07
    โรเซตตาถูกออกแบบมาแต่แรก
    ให้มียานลงจอดที่กระดอนได้
  • 15:07 - 15:10
    มันถูกเอาออกไปเพราะว่า มันแพงเกินไป
  • 15:10 - 15:12
    ทีนี้ พวกเราลืม แต่ยานลงจอดมันรู้
  • 15:12 - 15:13
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:13 - 15:16
    ระหว่างการกระดอนครั้งแรก
    ในเครื่องวัดแม่เหล็ก
  • 15:16 - 15:20
    เห็นได้จากข้อมูลจากพวกมันได้
    จากสามแกน x, y และ z
  • 15:20 - 15:22
    ผ่านไปครึ่งหนึ่ง คุณเห็นเส้นสีแดง
  • 15:22 - 15:24
    ที่เส้นแดงนั้น มันมีการเปลี่ยนแปลง
  • 15:24 - 15:28
    สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คือ
    ระหว่างการกระดอนแรก
  • 15:28 - 15:32
    ที่ไหนสักแห่ง เราชนขอบปล่องภูเขาไฟ
    ด้วยขาหนึ่งของตัวลงจอด
  • 15:32 - 15:35
    และความเร็วการหมุนของตัวลงจอดเปลี่ยนไป
  • 15:35 - 15:37
    ฉะนั้น เราค่อนข้างโชคดี
  • 15:37 - 15:39
    ที่เราอยู่ตรงจุดที่เราอยู่นี้
  • 15:39 - 15:43
    นี่คือหนึ่งในภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของโรเซตต้า
  • 15:43 - 15:47
    มันเป็นสิ่งประดิษฐ์จากน้ำมือมนุษย์
    ขาของยานลงจอด
  • 15:47 - 15:49
    ยืนอยู่บนดาวหาง
  • 15:49 - 15:54
    สิ่งนี้ สำหรับผม คือเป็นภาพที่ดีที่สุด
    ของวิทยาศาสตร์อวกาศที่ผมเคยได้ชมมา
  • 15:54 - 15:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:59 - 16:03
    สิ่งหนึ่งที่เรายังต้องทำ
    คือหายานลงจอด ว่าอยู่ที่ไหน
  • 16:03 - 16:07
    บริเวณสีฟ้าตรงนี้
    คือบริเวณที่เราเชื่อว่ามันอยู่ตรงนั้น
  • 16:07 - 16:11
    เรายังไม่สามารถหามันพบ
    แต่การค้นหายังดำเนินต่อไป
  • 16:11 - 16:14
    เช่นเดียวกับความพยายามของเรา
    ที่จะทำให้ยานลงจอดทำงานได้อีกครั้ง
  • 16:14 - 16:16
    เราเฝ้าฟังทุกวัน
  • 16:16 - 16:19
    และเราก็หวังว่า ระหว่างตอนนี้
    จนถึงประมาณเดือนเมษายน
  • 16:19 - 16:20
    ตัวยานลงจอดจะตื่นขึ้นมาอีกครั้ง
  • 16:20 - 16:22
    สิ่งที่เราได้ค้นพบบนดาวหางดวงนี้คือ
  • 16:24 - 16:26
    สิ่งนี้อาจลอยน้ำได้
  • 16:26 - 16:29
    มันมีความหนาแน่นครึ่งหนึ่งของน้ำ
  • 16:29 - 16:32
    ดังนั้นมันเหมือนกับหินก้อนใหญ่มากๆ
    แต่มันไม่ใช่
  • 16:32 - 16:36
    เราเห็นกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น ในเดือนมิถุนายน,
    กรกฏาคม, สิงหาคม ปีที่แล้ว
  • 16:36 - 16:38
    มีการเพิ่มขึ้นสี่เท่า
  • 16:38 - 16:40
    เมื่อเราถึงไปถึงดวงอาทิตย์
  • 16:40 - 16:44
    สิ่งเหล่านี้จะพุ่งออกจากดาวหาง
    ในอัตรา 100 กิโลกรัม ต่อวินาที
  • 16:44 - 16:46
    ก๊าซ, ฝุ่น,หรืออะไรก็ตาม
  • 16:46 - 16:48
    นั่นหมายถึง 100 ล้านกิโลกรัมต่อวัน
  • 16:50 - 16:52
    จากนั้น ในที่สุด ในวันลงจอด
  • 16:52 - 16:57
    ผมไม่เคยลืมเลยครับ -- มันบ้าที่สุดเลย
    มีคนจากสื่อโทรทัศน์ 250 ช่องในเยอรมัน
  • 16:57 - 16:59
    บีบีซีมาสัมภาษณ์ผม
  • 16:59 - 17:02
    และนักข่าวทีวีอีกคนหนึ่งก็วิ่งตามผมทั้งวัน
  • 17:02 - 17:04
    ถ่ายวีดีโอผมที่กำลังถูกสัมภาษณ์
  • 17:04 - 17:07
    และมันก็เป็นอย่างนั้นทั้งวัน
  • 17:07 - 17:09
    คนจากช่องดิสคัฟเวอรี
  • 17:09 - 17:11
    เข้ามาหาผมตอนที่ผมออกจากห้องควบคุม
  • 17:11 - 17:13
    และถามคำถามที่จี้ใจผม
  • 17:13 - 17:17
    และให้ตายเถอะครับ ผมน้ำตาซึม
    และยังคงคิดถึงมันอยู่เลย
  • 17:17 - 17:18
    เป็นเวลาเดือนครึ่ง
  • 17:18 - 17:21
    ผมไม่เคยคิดถึงวันลงจอด
    โดยไม่อาจเสียน้ำตาได้เลย
  • 17:21 - 17:24
    และผมยังคงมีความรู้สึกนั้นอยู่
  • 17:24 - 17:27
    ผมอยากจะทิ้งท้ายไว้กับคุณ
    ด้วยภาพของดาวหางนี้
  • 17:27 - 17:29
    ขอบคุณครับ
  • 17:29 - 17:34
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิธีลงจอดบนดาวหาง
Speaker:
เฟรด เจนเซน (Fred Jensen)
Description:

ในฐานะผู้จัดการปฏิบัติการโรเซตต้า เฟรด เจนเซน เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการลงจอดของยานสำรวจ ในปี ค.ศ. 2014 ลงบนดาวหางที่รู้จักกันในนาม 67P/เชอยูมอฟ-เจราซิเมนโค (67P/Churyumov-Gerasimenko) ในการบรรยายที่น่าทึ่งและตลกนี้ เจนเซนเปิดเผยถึงการคำนวณที่ซับซ้อน ที่เป็นเบื้องหลังของการลงจอดยานสำรวจฟิเลย์บนดาวหางที่ห่างไปจากโลก 5 ล้าน กิโลเมตร -- และแบ่งปันภาพอันยอดเยี่ยมบางส่วนที่ได้ตลอดการเดินทางนี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:47
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for How to land on a comet
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How to land on a comet
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How to land on a comet
Kanawat Senanan accepted Thai subtitles for How to land on a comet
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How to land on a comet
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for How to land on a comet
Thipnapa Huansuriya rejected Thai subtitles for How to land on a comet
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for How to land on a comet
Show all
  • โห งานนี้รุมกันสามคนเลย ฮ่าๆ ขอบคุณพี่ๆ มากนะคะ ชอบดราฟใหม่มากเลยค่ะ ยังไง approve แล้วตามด้วยนะคะ เพราะส่งกลับไปกลับมาเยอะๆ บางทีเครดิตอาจผิดค่ะพี่

Thai subtitles

Revisions