Return to Video

ระวังให้ดี เพื่อน ๆ อภิมหาเศรษฐีทั้งหลาย คราดจากชาวนากำลังมา

  • 0:01 - 0:04
    คุณอาจจะไม่รู้จักผมก็ได้
  • 0:04 - 0:07
    แต่ผมเป็นหนึ่งใน .01 เปอร์เซ็นต์
  • 0:07 - 0:09
    ของพวกที่คุณได้ยินหรืออ่านเรื่องราวมา
  • 0:09 - 0:13
    และโดยนิยามที่สมเหตุผล ผมเป็นอภิมหาเศรษฐี
  • 0:13 - 0:16
    และคืนนี้ สิ่งที่ผมต้องการทำ คือ พูดตรงถึง
  • 0:16 - 0:18
    อภิมหาเศรษฐีคนอื่น ๆ คือพูดกับพวกผมนั่นแหละ
  • 0:18 - 0:21
    เพราะเหมือนกับว่า ถึงเวลาที่พวกเราทุกคน
  • 0:21 - 0:23
    จะต้องมาคุยกันแล้ว
  • 0:23 - 0:26
    เช่นเดียวกับอภิมหาเศรษฐีคนอื่น ๆ
  • 0:26 - 0:28
    ผมก็เป็นนักทุนนิยมที่หยิ่ง
    ที่ไม่เคยรู้สึกเสียใจ
  • 0:28 - 0:32
    ผมได้ก่อตั้ง ร่วมก่อตั้ง หรือให้ทุน
  • 0:32 - 0:35
    กับมากกว่า 30 บริษัท ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง
  • 0:35 - 0:39
    ผมเป็นนักลงทุนนอกครอบครัวคนแรกใน Amazon.com
  • 0:39 - 0:42
    ผมร่วมก่อตั้งบริษัทชื่อ เอควอนทีฟ
  • 0:42 - 0:45
    ซึ่งขายให้ไมโครซอพท์
    ไปในราคา 6.4 พันล้านเหรียญ
  • 0:45 - 0:48
    เพื่อนผม และตัวผม เราเป็นเจ้าของธนาคาร
  • 0:48 - 0:51
    ผมบอกคุณเรื่องนี้ --(เสียงหัวเราะ)--
  • 0:51 - 0:52
    ไม่น่าเชื่อใช่ไหมล่ะ
  • 0:52 - 0:55
    ผมบอกคุณเรื่องนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า
  • 0:55 - 0:58
    ชีวิตผม ก็เหมือนกับอภิมหาเศรษฐีส่วนใหญ่
  • 0:58 - 1:01
    ผมมีมุมมองที่กว้างขวาง ในเรื่องระบบทุนนิยม
  • 1:01 - 1:03
    และธุรกิจ
  • 1:03 - 1:07
    ผมได้รางวัลอย่างที่เรียกได้ว่าบ้าคลั่ง
    จากสิ่งนั้น
  • 1:07 - 1:09
    ผมมีชีวิตที่ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่
  • 1:09 - 1:11
    ไม่สามารถแม้แต่จะจิตนาการได้
  • 1:11 - 1:14
    บ้านหลายหลัง เรือยอร์ช เครื่องบินส่วนตัว
  • 1:14 - 1:18
    และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • 1:18 - 1:22
    แต่พูดกันตรง ๆ ผมไม่ได้เป็นคนฉลาดที่สุด
    ที่คุณเคยพบ
  • 1:22 - 1:24
    ที่แน่ ๆ ผมก็ไม่ได้เป็นคนที่ทำงานหนักที่สุด
  • 1:24 - 1:26
    ผมเป็นนักเรียนระดับปานกลาง
  • 1:26 - 1:27
    ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรเลย
  • 1:27 - 1:30
    ผมไม่สามารถเขียนโปรแกรมง่าย ๆ ได้
  • 1:30 - 1:33
    โดยแท้จริงแล้ว ความสำเร็จของผม เป็นผล
  • 1:33 - 1:35
    ของโชคอันใหญ่หลวง
  • 1:35 - 1:40
    ที่ได้เกิดในที่ดี ที่ได้อยู่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ในเวลาที่ลงตัว
  • 1:40 - 1:45
    แต่จริง ๆ แล้ว ผมก็เก่งมากในสองเรื่อง
  • 1:45 - 1:49
    หนึ่ง ผมรับความเสี่ยงได้สูงเป็นพิเศษ
  • 1:49 - 1:52
    และอีกอย่างหนึ่ง คือผมรู้สึกได้ไว
  • 1:52 - 1:54
    มีลางสังหรณ์ดี ต่อเรื่องที่จะเกิดในอนาคต
  • 1:54 - 1:58
    และผมคิดว่าลางสังหรณ์เกี่ยวกับ
    เรื่องในอนาคตนั้น
  • 1:58 - 2:01
    เป็นปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการที่ดี
  • 2:01 - 2:04
    แล้วผมเห็นอะไรในอนาคตของเราในวันนี้หรือ
  • 2:04 - 2:06
    คุณจะถามใช่ไหมครับ
  • 2:06 - 2:07
    ผมเห็นคราดของชาวไร่ชาวนา
    (Pitchfork)
  • 2:07 - 2:12
    อย่างเช่น ที่ฝูงชนคนซึ่งกำลังโกรธเกรี้ยว
    เขาถือกัน
  • 2:12 - 2:17
    เพราะในขณะที่อภิมหาเศรษฐี อย่างพวกเรา
  • 2:17 - 2:21
    กำลังใช้ชีวิตเกินกว่าความฝันของผู้คน
  • 2:21 - 2:24
    เพื่อนประชากรของเราอีก 99 เปอร์เซ็นต์
  • 2:24 - 2:27
    กำลังถอยห่างไปอยู่ข้างหลัง
    และห่างไกลไปเรื่อย ๆ
  • 2:27 - 2:29
    ในปี 1980 หนึ่งเปอร์เซ็นต์บนสุด
    ของคนอเมริกัน
  • 2:29 - 2:32
    มีส่วนแบ่งราวแปดเปอร์เซ็นต์
    ของรายได้ประชาชาติ
  • 2:32 - 2:34
    ขณะที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันด้านล่าง
  • 2:34 - 2:37
    มีส่วนแบ่ง 18 เปอร์เซ็นต์
  • 2:37 - 2:40
    แต่สามสิบปีถัดมา ซึ่งคือวันนี้
    หนึ่งเปอร์เซ็นต์ส่วนบนสุดนั้น
  • 2:40 - 2:44
    กลับมีส่วนแบ่งเกินกว่า 20
    เปอร์เซ็นต์
  • 2:44 - 2:46
    ในขณะที่ส่วนล่าง 50 เปอร์เซ็นต์
  • 2:46 - 2:49
    มีส่วนแบ่ง 12 หรือไม่ก็ 13 เปอร์เซ็นต์
  • 2:49 - 2:51
    ถ้าแนวโน้มยังคงเป็นอยู่อย่างนี้
  • 2:51 - 2:52
    พวกคนส่วนบนสุดหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ก็จะมีส่วนแบ่ง
  • 2:52 - 2:55
    เกินกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ประชาชาติ
  • 2:55 - 2:57
    ในอีก 30 ปี
  • 2:57 - 2:59
    ขณะที่ส่วนล่าง 50 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกัน
  • 2:59 - 3:01
    จะมีส่วนแบ่งเพียงแค่หกเปอร์เซ็นต์
  • 3:01 - 3:03
    เห็นไหมครับ ปัญหานั้นไม่ใด้เกี่ยวกับว่า
  • 3:03 - 3:05
    เรามีความไม่เท่าเทียมกันอยู่บ้างเล็กน้อย
  • 3:05 - 3:07
    ความไม่เท่าเทียมกันบ้างเล็กน้อยนั้น
  • 3:07 - 3:10
    เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุนนิยมประชาธิปไตย
    ที่มีประสิทธิภาพสูง
  • 3:10 - 3:12
    แต่ปัญหาคือ ความไม่เท่าเทียมกันนั้น
  • 3:12 - 3:16
    กำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • 3:16 - 3:19
    และมันก็แย่ลงทุกวัน
  • 3:19 - 3:22
    และถ้าหากความรํ่ารวย อำนาจ และ รายได้นั้น
  • 3:22 - 3:23
    ยังคงกระจุกตัว
  • 3:23 - 3:26
    อยู่ที่ส่วนยอดสุด
  • 3:26 - 3:28
    สังคมของเราก็จะเปลี่ยนจาก
  • 3:28 - 3:29
    ประชาธิปไตยแบบทุนนิยม ไปเป็น
  • 3:29 - 3:33
    สังคมเจ้าขุนมูลนายยุคใหม่
  • 3:33 - 3:35
    เหมือนเช่นฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18
  • 3:35 - 3:38
    นั่นคือฝรั่งเศสในอดีต
  • 3:38 - 3:40
    ก่อนเกิดการปฏิวัติ
  • 3:40 - 3:42
    ที่มาพร้อมกับฝูงชนที่โกรธกริ้วพร้อมและคราด
  • 3:42 - 3:45
    ผมจึงมีข้อความส่งถึงเพื่อนอภิมหาเศรษฐี
  • 3:45 - 3:46
    และอภิมหึมามหาเศรษฐีทั้งหลาย
  • 3:46 - 3:48
    และสำหรับใครก็ตามที่ใช้ชีวิต
  • 3:48 - 3:50
    ในโลกฟองสบู่ที่มีรั้วล้อมรอบอยู่นั้น
  • 3:50 - 3:51
    จงตื่นขึ้น
  • 3:51 - 3:55
    ตื่นขึ้นเถิด สภาวะเช่นนี้มันอยู่ได้ไม่นาน
  • 3:55 - 3:57
    เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรบางอย่าง เพื่อแก้ไข
  • 3:57 - 4:01
    ความไม่เท่าเทียมที่เห็นชัดเจนในสังคมของเรา
  • 4:01 - 4:04
    คราดนั้นก็จะหันมาหาเรา
  • 4:04 - 4:08
    เพราะไม่มีสังคมเปิดแบบเสรีใด ๆ
    จะทนอยู่ได้นานกับ
  • 4:08 - 4:11
    ความไม่สมดุลย์ทางเศรษฐกิจ
    ที่พุ่งสูงแบบนี้ได้
  • 4:11 - 4:14
    มันไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีตัวอย่างมาก่อน
  • 4:14 - 4:16
    คุณให้ผมดูสังคมที่มีความแตกต่างกันสูง
  • 4:16 - 4:17
    แล้วผมก็จะให้คุณดู รัฐตำรวจ
  • 4:17 - 4:19
    หรือไม่ก็ การจลาจล
  • 4:19 - 4:21
    คราดจะตรงมาหาเรา
  • 4:21 - 4:23
    ถ้าเราไม่ตระหนักถึงปัญหานี้
  • 4:23 - 4:27
    คำถามนั้นไม่ใช่ว่ามันจะเกิดหรือไม่ แต่เป็น เมื่อไหร่
  • 4:27 - 4:31
    และมันจะเลวร้ายมาก เมื่อมันเกิดขึ้น
  • 4:31 - 4:32
    กับทุกคน
  • 4:32 - 4:37
    โดยเฉพาะคนอย่างพวกเรา อภิมหาเศรษฐี
  • 4:37 - 4:41
    ผมรู้ตัวว่าเรื่องของของผมฟังดูราวกับ
    ผมเป็นนักเสรีนิยมโลกสวย
  • 4:41 - 4:43
    ผมไม่ใช่เป็นอย่างนั้น
    ผมไม่ได้ถกเถียงเรื่องศีลธรรม
  • 4:43 - 4:46
    ว่าความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจนั้นผิด
  • 4:46 - 4:50
    สิ่งที่ผมถกเถียง คือ ความไม่เท่าเทียมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
  • 4:50 - 4:54
    เป็นความโง่เขลา และสุดท้ายก็จะทำร้ายตัวเอง
  • 4:54 - 4:57
    ความไม่เท่าเทียมที่สูงขึ้น ไม่ได้แค่เพียง
  • 4:57 - 4:59
    เพิ่มความเสี่ยงของเราจากคราด
  • 4:59 - 5:04
    แต่มันยังเป็นอันตรายต่อธุรกิจอีกด้วย
  • 5:04 - 5:07
    ต้นแบบสำหรับเรา คนรวย ควรเป็นเฮนรี ฟอร์ด
  • 5:07 - 5:11
    เรารู้กันว่าฟอร์ดให้ค่าแรง 5 ดอลลาร์ ต่อวัน
  • 5:11 - 5:14
    ซึ่งเป็นสองเท่าของค่าแรงทั่วไปในเวลานั้น
  • 5:14 - 5:16
    เขาไม่ได้เพียงเพิ่มผลผลิต
  • 5:16 - 5:18
    ของโรงงานของเขา แต่เขาได้เปลี่ยน
  • 5:18 - 5:22
    คนงานผลิตรถยนต์ที่ถูกเอาเปรียบ ที่ยากจน
  • 5:22 - 5:24
    ให้กลายเป็นคนชั้นกลางที่มีกินมีใช้
  • 5:24 - 5:28
    มีปัญญาซื้อผลิตภัณฑ์
    ที่พวกเขาผลิตขึ้นเองได้
  • 5:28 - 5:32
    ฟอร์ดหยั่งรู้สิ่งที่เราเพิ่งจะตระหนักว่ามันเป็นจริง
  • 5:32 - 5:36
    ที่จะต้องมองเศรษฐกิจให้เป็นระบบนิเวศน์
  • 5:36 - 5:38
    ซึ่งมีลักษณะพิเศษแบบเดียวกับ
  • 5:38 - 5:40
    ระบบป้อนกลับ (Feedback loops)
    ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป
  • 5:40 - 5:42
    ในระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ
  • 5:42 - 5:46
    เป็นระบบป้อนกลับ
    ระหว่าง ลูกค้าและธุรกิจ
  • 5:46 - 5:49
    การขึ้นค่าจ้างเป็นการเพิ่มอุปสงค์
  • 5:49 - 5:51
    ซึ่งจะทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
  • 5:51 - 5:53
    ซึ่งจะย้อนกลับมายัง ค่าจ้างที่สูงขึ้น
  • 5:53 - 5:56
    อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และกำไรที่เพิ่มขึ้น
  • 5:56 - 6:01
    ซึ่งวงจรการเพิ่มความมั่งคั่งอย่างสร้างสรรนี้
  • 6:01 - 6:03
    ชัดเจนแล้วว่า เป็นสิ่งที่ขาดหายไป
  • 6:03 - 6:08
    จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของทุกวันนี้
  • 6:08 - 6:13
    และนี่เป็นเหตุผลที่เราจะต้อง
  • 6:13 - 6:16
    ลดความสำคัญของนโยบาย
    ที่กวาดผลประโยชน์ลงไปให้คนจำนวนหยิบมือ
  • 6:16 - 6:18
    ซึ่งมีอิทธิพลกับทั้งสองพรรคการเมืองมาก
  • 6:18 - 6:21
    แล้วไปโอบอุ้มสิ่งที่ผมเรียกว่า
  • 6:21 - 6:24
    เศรษศาสตร์แบบมิดเดิลเอ้าท์ ซึ่งปฏิเสธ
  • 6:24 - 6:26
    แนวคิดแบบนีโอคลาสสิค ที่ว่า เศรษฐกิจนั้น
  • 6:26 - 6:30
    มีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์เชิงเส้น เป็นกลไกแน่นอน
  • 6:30 - 6:34
    และโน้มไปสู่ความสมดุลย์และความเป็นธรรม
  • 6:34 - 6:37
    แต่หันไปรับเอาแนวคิดของศตวรรษที่ 21
  • 6:37 - 6:41
    ที่ว่าเศรษฐกิจนั้น ซับซ้อน ปรับตัวได้
  • 6:41 - 6:43
    เป็นระบบนิเวศน์
  • 6:43 - 6:46
    ซึ่งโน้มเอียงจากความสมดุลย์
    ไปสู่ความไม่เท่าเทียม
  • 6:46 - 6:48
    ที่ว่าเศรษฐกิจ ไม่มีประสิทธิภาพเลย
  • 6:48 - 6:51
    แต่ก็มีประสิทธิผลได้ ถ้าจัดการให้ดี
  • 6:51 - 6:54
    มุมมองของศตวรรษที่ 21 นี้
  • 6:54 - 6:57
    ทำให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ระบบทุนนิยม
  • 6:57 - 7:00
    ไม่ได้จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่
  • 7:00 - 7:03
    อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 7:03 - 7:09
    มันทำงานโดยการสร้างคำตอบใหม่ ๆ ขึ้นมา
  • 7:09 - 7:10
    ให้กับปัญหาของมนุษย์
  • 7:10 - 7:12
    อัจฉริยภาพของระบบทุนนิยม ก็คือ
  • 7:12 - 7:17
    มันเป็นระบบการหาวิธีแก้ปัญหาที่มีวิวัฒนาการ
  • 7:17 - 7:23
    มันให้รางวัลกับคนที่แก้ปัญหาให้กับคนอื่น ๆ
  • 7:23 - 7:26
    ความแตกต่างระหว่างสังคมที่ยากจน
  • 7:26 - 7:28
    กับสังคมที่รํ่ารวย ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
  • 7:28 - 7:31
    ก็คือ ระดับขั้นที่สังคมนั้น
  • 7:31 - 7:33
    ได้สร้างวิธีแก้ปัญหา ในรูปแบบ
  • 7:33 - 7:36
    ของผลิตภัณฑ์ ให้กับประชากรของชุมชนนั้น
  • 7:36 - 7:38
    ผลรวมของการแก้ปัญหา
  • 7:38 - 7:40
    ที่เรามีอยู่ในสังคมของเรา
  • 7:40 - 7:42
    แท้จริง คือ ความมั่งคั่งของเรา และสิ่งนี้
  • 7:42 - 7:45
    อธิบายได้ว่าทำไมบริษัทเช่น กูเกิล อเมซอน
  • 7:45 - 7:47
    ไมโครซอฟ และ แอปเปิล
  • 7:47 - 7:50
    และนักลงทุน ที่สร้างบริษัทเหล่านั้น
  • 7:50 - 7:53
    ได้มีส่วนช่วยอย่างมาก
  • 7:53 - 7:56
    ให้กับความมั่งคั่งของชาติเรา
  • 7:56 - 7:59
    มุมมองของศตวรรษที่ 21 นี้
  • 7:59 - 8:02
    ยังทำให้เห็นชัดเจนอีกด้วยว่า
  • 8:02 - 8:04
    สิ่งที่เราคิดว่าเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • 8:04 - 8:06
    ถ้าจะทำให้เข้าใจได้ดีที่สุดนั้น
    ก็เป็นเหมือนกับ
  • 8:06 - 8:08
    อัตราความเร็วที่เราใช้ในการแก้ปัญหา
  • 8:08 - 8:12
    แต่อัตราเร็วที่ว่านั้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ
  • 8:12 - 8:15
    เรามีคนแก้ปัญหาที่หลากหลาย
  • 8:15 - 8:18
    และมีความสามารถ แค่ไหน
  • 8:18 - 8:21
    และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วม
  • 8:21 - 8:23
    อย่างจริงจัง มากแค่ไหน
  • 8:23 - 8:27
    ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ ที่เสนอการแก้ปัญหา
  • 8:27 - 8:30
    และที่เป็นลูกค้า ซึ่งได้ประโยชน์
    จากการแก้ปัญหาเหล่านั้น
  • 8:30 - 8:34
    แต่การมีส่วนร่วมอย่างเต็มกำลังนี้
  • 8:34 - 8:36
    ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
  • 8:36 - 8:38
    ไม่ได้เกิดขึ้นเอง
  • 8:38 - 8:42
    แต่ต้องใช้ความพยายามและการลงทุนลงแรง
  • 8:42 - 8:44
    ซึ่งเป็นสาเหตุว่า ทำไมเหล่าเขตเศรษฐกิจ
  • 8:44 - 8:47
    ที่เป็นประชาธิปไตยแบบทุนนิยม
    ซึ่งมีความมั่งคั่งสูงนั้น
  • 8:47 - 8:50
    มีคุณลักษณะพิเศษ คือการลงทุนขนานใหญ่
  • 8:50 - 8:52
    ในกลุ่มชนชั้นกลาง และในโครงสร้างพื้นฐาน
  • 8:52 - 8:55
    ที่พวกเขาต้องพึ่งพาอยู่
  • 8:55 - 8:57
    พวกเรา อภิมหาเศรษฐี
    จำเป็นต้องเอาวิถีเศรษฐกิจ
  • 8:57 - 9:00
    ที่ผลประโยชน์หลั่งไหลสู่คนหยิบมือนี้ ไปไว้ข้างหลัง
  • 9:00 - 9:02
    ความคิดที่ว่า ยิ่งเราดีขึ้นมากเท่าใด
  • 9:02 - 9:05
    คนอื่นก็จะดีขึ้นด้วยเช่นกันนั้น
  • 9:05 - 9:09
    มันไม่เป็นความจริง มันจะเป็นไปได้อย่างไร
  • 9:09 - 9:13
    ผมหาเงินได้เป็นพันเท่าของค่าแรงโดยเฉลี่ย
  • 9:13 - 9:16
    แต่ผมก็ไม่ได้ซื้อของ มากถึงพันเท่า
  • 9:16 - 9:17
    ใช่ไหมครับ
  • 9:17 - 9:20
    จริง ๆ ผมซื้อกางเกงพวกนี้สองตัว
  • 9:20 - 9:22
    ซึ่ง ไมค์ หุ้นส่วนของผม เรียกมันว่า
  • 9:22 - 9:24
    กางเกงผู้จัดการ
  • 9:24 - 9:27
    ผมอาจจะซื้อกางเกง 2,000 ตัวก็ได้
  • 9:27 - 9:30
    แต่ผมจะเอามันไปทำอะไรครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 9:30 - 9:33
    ผมจะตัดผมได้สักกี่ครั้งกัน
  • 9:33 - 9:36
    ผมจะไปทานอาหารเย็นนอกบ้าน
    ได้บ่อยแค่ไหนกัน
  • 9:36 - 9:40
    ไม่ว่าอภิมหาเศรษฐีซึ่งมีจำนวนน้อย
    จะรวยขนาดไหน
  • 9:40 - 9:44
    ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ
    ไปได้มากกว่านี้
  • 9:44 - 9:50
    คนชั้นกลางที่มีกินมีใช้เท่านั้น ที่จะทำได้
  • 9:50 - 9:51
    เช่นนั้น
    ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องทำเลยงั้นสิ
  • 9:51 - 9:56
    เพื่อนอภิมหาเศรษฐีของผม อาจพูดอย่างนั้น
  • 9:56 - 9:59
    เฮนรี ฟอร์ด อยู่ในยุคสมัยที่ต่างออกไป
  • 9:59 - 10:01
    บางที เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้
  • 10:01 - 10:04
    บางที เราก็สามารถทำอะไรบางอย่างได้
  • 10:04 - 10:08
    วันที่ 19 มิถุนายน 2013
  • 10:08 - 10:11
    บลูมเบิร์ก เผยแพร่บทความที่ผมเขียน เรื่อง
  • 10:11 - 10:16
    "กรณีนักทุนนิยมกับค่าแรงขั้นตํ่า 15 ดอลลาร์"
  • 10:16 - 10:19
    หลาย ๆ คนที่นิตยสารฟอร์บ
  • 10:19 - 10:21
    ในหมู่ผู้ที่นิยมชมชอบผมมากที่สุด เรียกมันว่า
  • 10:21 - 10:26
    "ข้อเสนอที่ใกล้จะเพี้ยนของ นิก เฮนัวเออร์"
  • 10:26 - 10:29
    แต่แล้ว แค่เพียง 350 วัน
  • 10:29 - 10:32
    หลังจากที่บทความถูกตีพิมพ์
  • 10:32 - 10:35
    ผู้ว่าการเมืองซีแอทเทิล เอ็ด เมอร์เรย์ ก็ได้ลงนาม
  • 10:35 - 10:39
    เพิ่มค่าแรงขั้นตํ่าในซีแอทเทิล
  • 10:39 - 10:40
    เป็น 15 ดอลลาร์ ต่อชั่วโมง
  • 10:40 - 10:42
    ซึ่งสูงกว่าสองเท่า
  • 10:42 - 10:46
    ของอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศที่ 7.25 ดอลลาร์
  • 10:46 - 10:48
    สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 10:48 - 10:50
    คนที่มีเหตุผลอาจสงสัย
  • 10:50 - 10:52
    มันเกิดขึ้นได้เพราะ กลุ่มคนของเรา
  • 10:52 - 10:53
    ได้เตือนคนชั้นกลางว่า
  • 10:53 - 10:55
    พวกเขาเป็นต้นกำเนิดของการเติบโต
  • 10:55 - 10:59
    และความมั่งคั่ง ในเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
  • 10:59 - 11:02
    เราเตือนพวกเขาว่า เมื่อคนงานมีเงินมากขึ้น
  • 11:02 - 11:04
    ธุรกิจก็จะมีลูกค้ามากขึ้น
  • 11:04 - 11:06
    และจำเป็นต้องจ้างงานมากขึ้น
  • 11:06 - 11:08
    เราได้เตือนพวกเขาว่า เมื่อธุรกิจ
  • 11:08 - 11:11
    จ่ายค่าจ้างให้คนงานดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ
  • 11:11 - 11:13
    ผู้เสียภาษีก็ไม่ต้องรับภาระ
  • 11:13 - 11:15
    ในการอุดหนุนโครงการ
    แก้ปัญหาความยากจน
  • 11:15 - 11:18
    เช่น การแจกอาหาร
    การช่วยเหลือทางการแพทย์
  • 11:18 - 11:19
    และการสนับสนุนค่าเช่าบ้าน
  • 11:19 - 11:22
    ซึ่งคนงานเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับ
  • 11:22 - 11:25
    เราได้เตือนพวกเขาว่า คนงานที่ได้ค่าแรงตํ่า
  • 11:25 - 11:27
    ก็จะจ่ายภาษีน้อย
  • 11:27 - 11:29
    และเตือนว่า เมื่อคุณยกค่าแรงขั้นตํ่าขึ้นมา
  • 11:29 - 11:31
    ทั่วทั้งองค์กรธุรกิจทั้งหมด
  • 11:31 - 11:33
    สุดท้ายธุรกิจเองก็จะได้กำไร
  • 11:33 - 11:36
    และยังสามารถแข่งขันได้
  • 11:36 - 11:37
    แต่แรงต้านจากกลุ่มหัวโบราณ ก็มีอยู่
  • 11:37 - 11:41
    เช่นว่า ถ้าขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า
    ตําแหน่งงานก็จะลดลง ไม่ใช่รึ
  • 11:41 - 11:44
    รวมไปถึงเหล่านักการเมือง
  • 11:44 - 11:47
    ที่ชอบตอกย้ำแนวคิดเรื่องผลประโยชน์
    ไหลรินไปหาคนหยิบมือ ก็จะบอกว่า
  • 11:47 - 11:49
    "เอาซิ ถ้าคุณเพิ่มต้นทุนค่าจ้างแรงงาน
  • 11:49 - 11:52
    แล้วจะเป็นยังไงล่ะ คุณก็จะเหลือกำไรน้อยลง"
  • 11:52 - 11:54
    แต่ คุณแน่ใจอย่างนั้นจริงหรือ
  • 11:54 - 11:58
    เพราะว่ามีหลักฐานบางอย่างที่ขัดแย้งกันอยู่
  • 11:58 - 12:03
    นับจาก 1980 เป็นต้นมา
    ค่าจ้างซีอีโอในประเทศเรา
  • 12:03 - 12:05
    พุ่งสูงขึ้นจากราว 30 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ย
  • 12:05 - 12:07
    มาอยู่ที่ 500 เท่า
  • 12:07 - 12:10
    นั่นเป็นการขึ้นราคาของการจ้างงาน
  • 12:10 - 12:13
    แต่แล้ว เท่าที่ผมรู้
  • 12:13 - 12:15
    ผมไม่เคยเห็นบริษัทไหน
  • 12:15 - 12:19
    ใช้บริการซีอีโอต่อจากบริษัทอื่น
    หรือใช้ระบบอัตโนมัติให้ทำงานสำคัญ ๆ หรือ
  • 12:19 - 12:21
    ส่งออกตําแหน่งงานไปยังประเทศจีน
  • 12:21 - 12:23
    จริง ๆ แล้ว เรากำลังจ้าง
  • 12:23 - 12:27
    ซีอีโอ และผู้บริหารระดับสูง
    มากเป็นประวัติการ
  • 12:27 - 12:31
    คนทำงานด้านเทคโนโลยี ก็ไม่ต่างกัน
  • 12:31 - 12:33
    รวมถึงคนทำงานภาคการเงิน
  • 12:33 - 12:35
    พวกเขาได้ค่าจ้างเป็นทวีคูณของค่าแรงเฉลี่ย
  • 12:35 - 12:37
    แต่เราก็จ้างพวกเขามากขึ้นและมากขึ้น
  • 12:37 - 12:42
    จึงชัดเจนว่า คุณสามารถขึ้นค่าจ้างได้
  • 12:42 - 12:44
    และก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น
    จากการขึ้นค่าจ้างนั้น
  • 12:44 - 12:47
    ผมทราบว่า คนส่วนใหญ่นั้น
  • 12:47 - 12:48
    คิดว่าค่าแรงขั้นตํ่า 15 ดอลลาร์
  • 12:48 - 12:52
    เป็นการทดลองทางเศรษฐกิจ ที่เพี้ยนและสุ่มเสี่ยง
  • 12:52 - 12:54
    ซึ่งเราเห็นต่างไป
  • 12:54 - 12:57
    เราเชื่อว่า ค่าแรงขั้นตํ่า 15 ดอลลาร์
  • 12:57 - 12:58
    อย่างที่เมืองซีแอตเติลนั้น
  • 12:58 - 13:00
    แท้จริงเป็นการดำเนินอย่างการต่อเนื่อง
  • 13:00 - 13:03
    ของนโยบายเศรษฐกิจที่สมเหตุผล
  • 13:03 - 13:04
    มันกำลังทำให้เมืองของเรา
  • 13:04 - 13:07
    สามารถเอาชนะเมืองของคุณได้
  • 13:07 - 13:09
    เพราะว่า คุณเห็นไหม
  • 13:09 - 13:11
    รัฐวอชิงตันนั้นมี
  • 13:11 - 13:12
    ค่าแรงขั้นตํ่า สูงที่สุด
  • 13:12 - 13:14
    ในบรรดารัฐทั้งหลายในประเทศ
  • 13:14 - 13:16
    เราให้คนงานทุกคน 9.32 ดอลลาร์
  • 13:16 - 13:18
    ซึ่งเกือบจะมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
  • 13:18 - 13:21
    ของค่าแรงขั้นตํ่า 7.25 ของประเทศ
  • 13:21 - 13:24
    แต่ที่สำคัญ นั่นมากกว่า 427 เปอร์เซ็นต์ของ
  • 13:24 - 13:28
    ค่าแรงขั้นตํ่าระดับที่ต่ำสุดของประเทศ
    สำหรับงานที่ได้ทิป นั่นคือ 2.13 ดอลลาร์
  • 13:28 - 13:31
    ถ้าผู้ที่ยึดถือแนวคิด
    ผลประโยชน์ไหลรินนั้นคิดถูก
  • 13:31 - 13:34
    รัฐวอชิงตันก็ควรจะมีการว่างงานเป็นจำนวนมาก
  • 13:34 - 13:36
    ซีแอตเติลก็ควรจะลื่นไถลลงสู่มหาสมุทรแล้ว
  • 13:36 - 13:40
    แต่แล้ว ซีแอตเติล
  • 13:40 - 13:43
    เป็นเมืองใหญ่ในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุด
  • 13:43 - 13:48
    รัฐวอชิงตันกำลังสร้างงานในธุรกิจขนาดเล็ก
  • 13:48 - 13:50
    ในอัตราที่สูงกว่ารัฐใหญ่อื่น ๆ
  • 13:50 - 13:52
    ในประเทศ
  • 13:52 - 13:56
    ธุรกิจภัตตาคารในซีแอตเติล
    กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • 13:56 - 14:00
    ทำไมหรือ เพราะกฎพื้นฐานของระบบทุนนิยม คือ
  • 14:00 - 14:02
    เมื่อคนทำงานได้เงินมากขึ้น
  • 14:02 - 14:03
    ธุรกิจมีลูกค้ามากขึ้น
  • 14:03 - 14:06
    ก็ต้องการคนงานมากขึ้น
  • 14:06 - 14:09
    เมื่อภัตตาคารจ่ายให้คนทำงานมากพอ
  • 14:09 - 14:12
    คนทำงานเองก็จะมีเงินพอ
    ที่จะไปทานอาหารตามภัตตาคารได้
  • 14:12 - 14:15
    ซึ่งดูใช้ได้เลย สำหรับธุรกิจภัตตาคาร
  • 14:15 - 14:17
    มันดีสำหรับธุรกิจภัตตาคาร
  • 14:17 - 14:21
    แต่กระนั้น บางภัตตาคารก็อาจจะมีคำถามว่า
  • 14:21 - 14:23
    มันซับซ้อนเกินกว่าที่ฉันจะทำได้หรือเปล่า
  • 14:23 - 14:24
    ใช่ครับ มันไม่ง่าย
  • 14:24 - 14:26
    มันมีพลวัตมากมายที่ต้องตามให้ทัน
  • 14:26 - 14:29
    แต่ ได้โปรดหยุดต่อต้านโดยความเชื่อที่ว่า
  • 14:29 - 14:31
    ถ้าคนงานค่าแรงตํ่า มีรายได้เพิ่มอีกสักนิด
  • 14:31 - 14:33
    การว่างงานจะพุ่งขึ้นราวกับจรวด
  • 14:33 - 14:34
    และเศรษฐกิจก็จะล้มครืนลงมา
  • 14:34 - 14:37
    มันไม่มีหลักฐานในเรื่องนั้น
  • 14:37 - 14:38
    มันเป็นความเชื่อผิด ๆ
    ตาม ๆ กันมา
  • 14:38 - 14:40
    เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ไหลริน
  • 14:40 - 14:42
    ที่ว่า ถ้าคนรวยรวยขึ้น
  • 14:42 - 14:44
    แล้วทุกคนก็จะรวยขึ้นด้วย
  • 14:44 - 14:47
    มันเป็นคำกล่าวอ้างที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย
  • 14:47 - 14:49
    พวกที่ต่อต้านการขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า
  • 14:49 - 14:51
    ที่กล่าวว่า ถ้าคนจนรวยขึ้นแล้ว
  • 14:51 - 14:53
    จะไม่ดีต่อเศรษฐกิจ
  • 14:53 - 14:55
    เรื่องนี้ไร้สาระ
  • 14:55 - 14:59
    ดังนั้น วาทะกรรมเช่นนี้
    ควรถูกลบล้างไปดีกว่าไหม
  • 14:59 - 15:01
    วาทะกรรมที่ว่า คนรํ่ารวยอย่างผม
  • 15:01 - 15:04
    และเพื่อนอภิมหาเศรษฐีของผม
  • 15:04 - 15:06
    เป็นผู้สร้างประเทศนี้ขึ้นมา
  • 15:06 - 15:08
    พวกเรา อภิมหาเศรษฐี รู้ว่า
  • 15:08 - 15:10
    แม้เราไม่อยากจะยอมรับต่อสาธารณชน
  • 15:10 - 15:13
    ว่าหากเราได้เกิดมาในที่อื่น ๆ
  • 15:13 - 15:15
    ไม่ใช่ที่นี่ ในสหรัฐอเมริกา
  • 15:15 - 15:18
    เราก็อาจจะเป็นแค่เพียง คนเท้าเปล่า
  • 15:18 - 15:21
    อยู่ข้างทางลูกรัง ขายผลไม้
  • 15:21 - 15:23
    มันไม่ใช่ว่า ที่อื่น ๆ ในโลก
    จะไม่มีผู้ประกอบการเก่ง ๆ
  • 15:23 - 15:25
    แม้กระทั่งพื้นที่ที่ผู้คนยากจนมาก ๆ
  • 15:25 - 15:27
    ใจความมันมีอยู่เพียงว่า
  • 15:27 - 15:31
    ลูกค้าของผู้ประกอบการเหล่านั้น
    ต้องมีกำลังในการใช้จ่าย
  • 15:31 - 15:36
    ดังนั้น ความคิดนี้จึงเป็น
  • 15:36 - 15:37
    เศรษฐศาสตร์แบบใหม่ การเมืองแบบใหม่
  • 15:37 - 15:40
    ที่ผมเรียกว่า ระบบทุนนิยมใหม่
  • 15:40 - 15:43
    ขอให้เราตระหนักไว้เถิดว่า ระบบทุนนิยมนั้น
  • 15:43 - 15:45
    ชนะทางเลือกอื่น ๆ
  • 15:45 - 15:49
    และหากมีผู้คนมาอยู่ร่วมในระบบนี้มากขึ้น
  • 15:49 - 15:52
    ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ และที่เป็นลูกค้า
  • 15:52 - 15:54
    ระบบนี้ก็จะให้ผลที่ยิ่งใหญ่ขึ้น
  • 15:54 - 15:58
    ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ของรัฐบาลควรเล็กลง
  • 15:58 - 16:01
    ไม่ใช่โดยการตัดโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน
  • 16:01 - 16:03
    แต่โดยการช่วยคนทำงานให้ได้รับเงินมากพอ
  • 16:03 - 16:06
    เพื่อที่เขาเหล่านั้น
    จะไม่ต้องพึ่งพารัฐอีกต่อไป
  • 16:06 - 16:09
    พวกเราต้องลงทุนให้มากพอในชนชั้นกลาง
  • 16:09 - 16:12
    ให้เศรษฐกิจเรามีความยุติธรรม
    และมีส่วนร่วมมากขึ้น
  • 16:12 - 16:16
    และเมื่อมีความยุติธรรมมากขึ้น
    ก็จะแข่งขันกันได้มากขึ้น
  • 16:16 - 16:18
    และเมื่อแข่งขันกันได้มากขึ้น
  • 16:18 - 16:21
    ก็จะมีแนวทางใหม่ ๆ มากขึ้น
  • 16:21 - 16:22
    ในการแก้ปัญหาของผู้คน
  • 16:22 - 16:28
    ซึ่งนั่นคือแรงขับเคลื่อนที่แท้จริง
    ของการเติบโตและความมั่งคั่ง
  • 16:28 - 16:31
    ระบบทุนนิยม เป็นเทคโนโลยีทางสังคม
    อันยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 16:31 - 16:33
    ที่มีการสร้างกันขึ้นมา
  • 16:33 - 16:35
    เพื่อสร้างความมั่งคั่งในสังคมมนุษยชาติ
  • 16:35 - 16:37
    เมื่อมันถูกบริหารจัดการอย่างดี
  • 16:37 - 16:40
    แต่ระบบทุนนิยมนั้น โดยพื้นฐานแล้ว
  • 16:40 - 16:43
    มีความซับซ้อนและก้าวหน้าทวีคูณ
    จึงมีแนวโน้มไปสู่
  • 16:43 - 16:47
    ความไม่เสมอภาค การกระจุกตัว
  • 16:47 - 16:51
    และการพังทลาย ที่มิอาจหยุดยั้งได้
  • 16:51 - 16:54
    การทำงานของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยนั้น
  • 16:54 - 16:58
    ก็คือ การให้ทุกภาคส่วน
    มีส่วนร่วมให้มากที่สุด
  • 16:58 - 17:01
    เพื่อสร้างความมั่งคั่ง
  • 17:01 - 17:05
    ไม่ใช่แค่ช่วยคนเพียงหยิบมิือได้สะสมเงินทอง
  • 17:05 - 17:08
    จริงแล้ว รัฐบาลก็สร้างความมั่งคั่ง
    และความเจริญ
  • 17:08 - 17:11
    โดยการสร้างเงื่อนไข ที่เอื้อให้
  • 17:11 - 17:14
    ทั้งผู้ประกอบการ และลูกค้าของเขา
  • 17:14 - 17:16
    เจริญรุ่งเรือง
  • 17:16 - 17:19
    ความสมดุลย์ของอำนาจ ระหว่างนายทุน เช่น ผม
  • 17:19 - 17:22
    กับคนงาน ไม่ใช่เรื่องแย่ในระบบทุนนิยม
  • 17:22 - 17:24
    จริง ๆ แล้วมันจำเป็นสำหรับระบบทุนนิยม
  • 17:24 - 17:27
    โครงการ อย่างเช่น ค่าแรงขั้นตํ่าที่สมเหตุผล
  • 17:27 - 17:29
    การรักษาพยาบาลที่ไม่แพงนัก
  • 17:29 - 17:30
    การได้ค่าจ้างในขณะลาป่วย
  • 17:30 - 17:34
    และการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า
  • 17:34 - 17:36
    เหล่านี้มีความจำเป็น
    ต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
  • 17:36 - 17:40
    มีความจำเป็นต่อชนการพัฒนาชั้นกลาง
    เช่น การศึกษา การวิจัยและพัฒนา
  • 17:40 - 17:42
    เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จำเป็น
  • 17:42 - 17:44
    ที่นายทุนผู้มองการไกล ควรจะนำมาใช้
  • 17:44 - 17:48
    เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต
    เพราะจริง ๆ แล้ว ไม่มีใคร
  • 17:48 - 17:50
    ได้ประโยชน์จากมัน นอกจากพวกเรา
  • 17:50 - 17:52
    นักเศรษฐศาสตร์หลายคน อาจจะทำให้คุณเชื่อ
  • 17:52 - 17:55
    ว่าวิชาของเขา เป็นศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม
  • 17:55 - 17:58
    แต่ผมไม่เห็นด้วย และผมคิดว่า
  • 17:58 - 18:00
    มันเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ควบคุม
  • 18:00 - 18:02
    และปลูกฝังให้กับสังคม
  • 18:02 - 18:06
    ในเรื่องค่านิยมทางศีลธรรมและความลำเอียง
  • 18:06 - 18:10
    ในเรื่องสถานะและอำนาจ
  • 18:10 - 18:12
    ซึ่งสิ่งนี้เป็นสาเหตุว่า
    ทำไมอภิมหาเศรษฐีอย่างผม
  • 18:12 - 18:16
    จึงกระตือรือล้นอยู่เสมอ
    ในการคิดหาเรื่องราวที่จูงใจ
  • 18:16 - 18:18
    เพื่อบอกเล่าสู่คนอื่น ๆ
  • 18:18 - 18:22
    ว่าทำไมสถานะของเรา เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว
  • 18:22 - 18:26
    จึงดีงามและถูกทำนองคลองธรรมกับทุกๆคน
  • 18:26 - 18:30
    เช่น พวกเรานั้นมีความจำเป็นต่อคนอื่น
    เป็นผู้สร้างงาน
  • 18:30 - 18:33
    แต่พวกคุณต่างหากที่ไม่ใช่
  • 18:33 - 18:36
    เช่น การลดภาษีให้เรานั้น สร้างความเจริญ
  • 18:36 - 18:38
    แต่การลงทุนเพื่อพวกคุณ
  • 18:38 - 18:40
    จะทำให้หนี้ของเราเพิ่มทวีขึ้น
  • 18:40 - 18:42
    และทำให้ประเทศที่ยิ่งใหญ่ของเราล้มละลาย
  • 18:42 - 18:44
    และเรานั้นมีความสำคัญ
  • 18:44 - 18:46
    แต่คุณไม่สำคัญ
  • 18:46 - 18:49
    หลายพันปีมาแล้ว ที่เรื่องราวเหล่านี้
    ถูกเรียกว่า
  • 18:49 - 18:50
    เทวสิทธิราชย์ (divine right)
  • 18:50 - 18:55
    และในปัจจุบันนี้ เรามีเศรษฐกิจไหลริน
  • 18:55 - 18:59
    เราจะนำทั้งหมดนี้มาช่วยตัวเราเอง
  • 18:59 - 19:00
    อย่างชัดเจน และโปร่งใสได้อย่างไร
  • 19:00 - 19:03
    พวกเราอภิมหาเศรษฐี ต้องเข้าใจ
  • 19:03 - 19:05
    ว่าสหรัฐอเมริกา สร้างพวกเราขึ้นมา
  • 19:05 - 19:07
    ไม่ใช่ในทางกลับกัน
  • 19:07 - 19:10
    แต่ให้เห็นว่าชนชั้นกลางที่มั่งคั่ง
    นั้นเป็นเหตุ
  • 19:10 - 19:12
    ของความเจริญในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
  • 19:12 - 19:15
    มิใช่เป็นผล
  • 19:15 - 19:17
    และเราไม่ควรจะลืมว่า แม้คนที่เก่งที่สุด
  • 19:17 - 19:21
    หากไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แย่สุด
  • 19:21 - 19:27
    ก็ต้องยืนเท้าเปล่าข้างทางลูกรัง ขายผลไม้
    เช่นกัน
  • 19:27 - 19:29
    เพื่อนอภิมหาเศรษฐีทั้งหลาย
    ผมคิดว่า มันถึงเวลาแล้ว
  • 19:29 - 19:32
    ที่จะให้คำมั่นสัญญากับประเทศของเราอีกครั้ง
  • 19:32 - 19:34
    ที่จะให้คำมั่นสัญญา ต่อระบบทุนนิยมใหม่
  • 19:34 - 19:39
    ซึ่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพ
  • 19:39 - 19:41
    เป็นระบบทุนนิยม ที่จะช่วยให้มั่นใจว่า
  • 19:41 - 19:44
    เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะยังคง
  • 19:44 - 19:47
    มีพลวัตและรุ่งเรืองที่สุดในโลก
  • 19:47 - 19:49
    ขอให้เราคุ้มครองอนาคตของตัวเราเอง
  • 19:49 - 19:52
    ลูกหลานของเรา และลูกหลานของพวกเขา
  • 19:52 - 19:55
    หรือไม่เช่นนั้น เราอาจเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย
  • 19:55 - 19:57
    ซ่อนตัวอยู่ในอาณาจักรล้อมรั้วของเรา
  • 19:57 - 20:00
    หรือในโรงเรียนเอกชนชั้นนำ
  • 20:00 - 20:02
    หรือหาความสุขจากเครื่องบินส่วนตัว
    และเรือยอร์ชของเรา
  • 20:02 - 20:04
    -- เรื่องพวกนั้นน่ะบันเทิงใจ --
  • 20:04 - 20:06
    แต่เตรียมรับมือ
    คราดจากชาวนาไว้ได้เลย
  • 20:06 - 20:08
    ขอบคุณครับ
  • 20:08 - 20:09
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ระวังให้ดี เพื่อน ๆ อภิมหาเศรษฐีทั้งหลาย คราดจากชาวนากำลังมา
Speaker:
นิค ฮานาวเออร์ (Nick Hanauer)
Description:

นิค ฮานาวเออร์ เป็นคนรวย เป็นนายทุนที่ไม่ยอมเสียใจหรือขอโทษ--และเขามีบางอย่างที่จะพูดกับเพื่อนๆอภิมหาเศรษฐีของเขา ตื่นเถอะครับ ความไม่เท่าเทียมกันที่กำลังเพิ่มขี้น เกือบจะผลักให้สังคมของเรา เข้าสู่สภาวะที่คล้ายคลึงกับก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ฟังข้อโต้แย้งเกี่ยวกับว่าทำไมการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากของค่าแรงขั้นตํ่า จะทำให้คนชั้นกลางเติบโตขึ้น ส่งผลให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ...และจะป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:26
  • ขออนุญาตนะครับ

    "แต่ผมเป็นหนึ่งใน .01 คน พวกนั้น"

    อาจจะเป็น "แต่ผมเป็นหนึ่งในกลุ่มคน .01%" หรือไม่ครับ

  • ขออนุญาตนะครับ

    บ้านเป็นทวีคูณ เรือยอร์ช เครื่องบินส่วนตัว

    อาจจะเป็น "บ้านหลายหลัง" หรือไม่ครับ

  • ใช่คะ "แต่ผมเป็นหนึ่งในกลุ่มคน .01% พวกนั้น" (หมายถึงพวกที่เป็นอภิมหาเศรษฐี)
    ตอนแรกก็แปลว่า "บ้านหลายหลัง" แต่คิดว่ามันมากกว่านั้น หาคำที่ตรงกับความหมายของมันไม่ได้ ก็เลยแปลทับศัพท์ภาษาอังกฤษไป เราเคยได้ยินคำว่า "มีรายได้ทวีคูณ" ทำนองนั้น

  • ลองเน้นแปลตามบริบท ให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูด ไม่แปลตามศัพท์ทีละคำ

    0:03.67: 0.01 percenters = คนพวก 0.01 เปอร์เซนต์ (ยิ่งกว่า 1%)

    0:25.88: unapologetic capitalist = นักทุนนิยมสุดขั้วที่ไร้ความปราณี

    0:35.29: amazon.com ไม่ใช่ amezon.com

    0:41.61: microsoft = ไมโครซอฟท์ และ billion dollars = พันล้านดอลลาร์ (จะเติม "สหรัฐอเมริกา" ต่อท้ายก็ได้)

    1:03.25: rewarded obscenely = ได้รับผลตอบแทนอย่างบ้าคลั้ง (มหาศาลเกินจิตนาการ)

    1:11.46: multiple homes = บ้านจำนวนมากมาย

    1:32.77: spectacular luck = โชคก้อนโต (spectacular ในบริบทนี้ใช้บรรยายขนาดของโชค ไม่ใช่ลักษณะของโชค)

    1:44.62: high tolerance for risk = ยอมรับความเสี่ยงได้สูง (tolerance ในบริบทของความเสี่ยง หมายถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ไม่ใช่ความอดทนต่อความยากลำบาก หรือความแตกต่างทางชาติพันธ์ ทำนองนั้น)

    1:57.59: entrepreneurship ไม่ได้หมายถึงทางการเงินเท่านั้น แต่หมายถึงการทำธุรกิจใด ๆ ด้วยต้นเอง

    2:05.68: pitchforks ในที่นี้หมายถึงคราดของชาวนา ที่ใช้ในการปฏิวัติล้มล้างระบอบการปกครองที่กดขี่

    so and so

    :)

  • ชอบการแปลของคุณ Sakunphat ค่ะ :)

Thai subtitles

Revisions Compare revisions