Return to Video

ผลกระทบของร่างกายที่มีต่อแรงดันใต้น้ำ - นีโอชา เอส คาเชฟ (Neosha S Kashef)

  • 0:07 - 0:10
    ในบางครั้ง เมื่อปลาถูกลากขึ้นมาบนผิวน้ำ
  • 0:10 - 0:12
    ตัวของมันจะพองออก
  • 0:12 - 0:14
    ตาของมันปูดออกมาจากเบ้า
  • 0:14 - 0:17
    และกระเพาะอาหาร
    โผล่แลบออกมาจากปาก
  • 0:17 - 0:19
    ตัวของมันขยายใหญ่ขึ้นราวกับลูกโป่ง
  • 0:19 - 0:23
    ความเสียหายทางร่างกายชนิดนี้เกิดจาก
    ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  • 0:23 - 0:25
    เรียกว่า "บาโรทรอม่า" (Barotrauma)
  • 0:25 - 0:30
    ใต้ท้องทะเล ความดันจะเพิ่มขึ้น
    14.7 ปอนด์ต่อหนึ่งตารางนิ้ว
  • 0:30 - 0:34
    สำหรับความลึกทุก ๆ 33 ฟุตที่เพิ่มขึ้น
  • 0:34 - 0:36
    ดังนั้น ถ้านำปลาร๊อคฟิชตาสีเหลือง
  • 0:36 - 0:39
    ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในระดับความลึก 1800 ฟุต
  • 0:39 - 0:43
    ที่ซึ่งมีความกดอากาศมากกว่า 800 ปอนด์
    บนทุก ๆ หนึ่งตารางนิ้ว
  • 0:43 - 0:48
    นั่นหนักเทียบเท่ากับหมีขั้วโลกหนึ่งตัว
    ที่กำลังทรงตัวอยู่บนเหรียญ 25 เซนต์
  • 0:48 - 0:50
    ทีนี้ กฏของบอยล์ในเรื่องแก๊ส
    (Boyle's gas law)
  • 0:50 - 0:54
    กล่าวว่า ปริมาตรแก๊สแปรผกผันกับความดัน
  • 0:54 - 0:58
    ดังนั้น ที่ไหนก็ตามที่มีอากาศ
    อย่างกระเพาะของปลาร๊อคฟิช
  • 0:58 - 1:00
    หรือ ปอดของมนุษย์
  • 1:00 - 1:02
    จะถูกบีบอัดตามระดับความลึก
  • 1:02 - 1:05
    และขยายตัวออกเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ
  • 1:05 - 1:09
    เมื่อปลาติดเบ็ด
    และถูกดึงขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ
  • 1:09 - 1:13
    อากาศที่อยู่ในกระเพาะของมัน
    จะขยายตัวออก
  • 1:13 - 1:17
    การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้
    ดันให้เครื่องในของมันทะลักออกมาทางปาก
  • 1:17 - 1:22
    ในขณะเดียวกันความดันภายใน
    ก็ได้ดันลูกตาปลา ปูดออกมานอกเบ้า
  • 1:22 - 1:25
    อาการนี้เรียกว่า "เอ็กซอฟตาเมีย"
    (exophthalmia)
  • 1:25 - 1:30
    บางครั้งลูกตาของปลาร๊อคฟิช
    ก็มีการตกผลึกปรากฏออกมา
  • 1:30 - 1:32
    จากตำแหน่งถุงลมในกระจกตา
  • 1:32 - 1:36
    ซึ่งฟองแก๊สเล็ก ๆ
    ได้ถูกสร้างขึ้นภายในกระจกตานี้
  • 1:36 - 1:41
    ต้องขอบคุณที่นักดำน้ำ
    ไม่มีอวัยวะถุงลมแบบปิดนี้ให้กังวล
  • 1:41 - 1:45
    นักดำน้ำสามารถควบคุมแรงดันในปอด
    โดยการหายใจออกตามระดับการลอยตัว
  • 1:45 - 1:49
    แต่ต้องระวังกฏฟิสิกส์ข้อนึง
    ที่เล่นงานเราเมื่ออยู่ในน้ำ
  • 1:49 - 1:53
    กฏของเฮนรีกล่าวว่า ปริมาตรของแก๊ส
    ที่ละลายอยู่ในของเหลว
  • 1:53 - 1:57
    จะแปรผันตรงกับความดัน
  • 1:57 - 2:01
    อากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจ
    มีไนโตรเจนอยู่ 78%
  • 2:01 - 2:03
    ที่ความกดอากาศใต้น้ำสูงขึ้น
  • 2:03 - 2:05
    ไนโตรเจนภายในถังหายใจ
  • 2:05 - 2:11
    จะกระจายตัวออกเข้าสู่เนื้อเยื่อของนักดำน้ำ
    เข้มข้นกว่าตอนอยู่บนพื้นดิน
  • 2:11 - 2:13
    ถ้านักดำน้ำไต่ระดับขึ้นผิวน้ำเร็วไป
  • 2:13 - 2:16
    ไนโตรเจนในร่างกาย
    จะหลุดจากการเป็นของเหลว
  • 2:16 - 2:20
    และก่อตัวเป็นฟองอากาศเล็ก ๆ
    ตามเนื้อเยื่อ เลือด ข้อต่อ
  • 2:20 - 2:24
    ก่อให้เกิดอาการน้ำหนีบ (aka the bends)
  • 2:24 - 2:29
    มันคล้ายกับฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    เมื่อเราเปิดขวดโซดา
  • 2:29 - 2:32
    แก๊สจะหลุดจากสถานะของเหลว
    เมื่อความดันถูกปล่อยออก
  • 2:32 - 2:35
    แต่สำหรับนักดำน้ำ ฟองอากาศนี้
    สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก
  • 2:35 - 2:37
    และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • 2:37 - 2:41
    นักดำน้ำจึงหลีกเลี่ยงอาการน้ำหนีบ
    โดยการขึ้นสู่ผิวน้ำช้า ๆ
  • 2:41 - 2:45
    และหยุดพักหายใจตลอดทาง
    เรียกกว่า การพักน้ำ
  • 2:45 - 2:48
    เพื่อให้แก๊สได้มีเวลา
    ในการกระจายตัวกลับสู่เนื้อเยื่อ
  • 2:48 - 2:51
    และปล่อยออกมาผ่านการหายใจ
  • 2:51 - 2:53
    เป็นเหตุว่าทำไม นักดำน้ำจึงต้องพักน้ำ
  • 2:53 - 2:56
    สำหรับการรักษาปลา
    ต้องใช้การปรับความดันใหม่
  • 2:56 - 3:00
    ซึ่งจะสำเร็จได้
    โดยการนำมันกลับลงไปในน้ำ
  • 3:00 - 3:03
    แต่ไม่ใช่แค่โยนมันลงไปจากเรือ
  • 3:03 - 3:05
    ร่างกายที่ป่องพองจะทำให้มันลอย
  • 3:05 - 3:09
    และกลายเป็นเหยื่อของสิงโตทะเลหิวโซ
    หรือ จะงอยปากนกนางนวล
  • 3:09 - 3:10
    มีวิธีตามความเชื่อแบบง่าย ๆ
  • 3:10 - 3:14
    โดยการเจาะท้องของมันด้วยเข็ม
    เพื่อให้อากาศรั่วออกมา
  • 3:14 - 3:17
    ทำให้มันสามารถว่ายลงไปในน้ำ
    ได้ด้วยตัวมันเอง
  • 3:17 - 3:20
    แต่มันก็เป็นลูกโป่งลูกนึง
    ที่ไม่ควรจะโดนเจาะ
  • 3:20 - 3:22
    การนำปลาลงไปยังที่อยู่อาศัย
    ของมันอย่างถูกต้อง
  • 3:22 - 3:25
    คนตกปลาสามารถใช้
    รอกหย่อนปลาแทนได้
  • 3:25 - 3:30
    โดยหย่อนปลาลงไปตามสาย
    และปล่อยมันเมื่อถึงระดับความลึกที่ใช่
  • 3:30 - 3:33
    ส่งมันกลับบ้าน
    และให้ความดันปรับตัวของมันเอง
  • 3:33 - 3:36
    ตาของมันก็จะกลับเข้าเบ้าตา
    และได้รับการรักษา
  • 3:36 - 3:39
    กระเพาะของมันก็กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม
  • 3:39 - 3:41
    ปลาตัวนี้ก็จะมีชีวิตอยู่รอดไปอีกวัน
  • 3:41 - 3:47
    อีกครั้งที่ได้แหวกว่ายอย่างอิสระ ได้กิน
    และได้แพร่ขยายพันธ์ุต่อไป
Title:
ผลกระทบของร่างกายที่มีต่อแรงดันใต้น้ำ - นีโอชา เอส คาเชฟ (Neosha S Kashef)
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/the-effects-of-underwater-pressure-on-the-body-neosha-s-kashef

ทำไมปลาถึงมีเครื่องในโผล่ออกมาทางปาก? อะไรทำให้เกิดฟองอากาศตามข้อต่อของนักดำน้ำ? Neosha S Kashef ได้อธิบายถึงความเป็นมาของอาการบาดเจ็บเนื่องจากแรงดัน จุดประกายให้เรารู้ว่าปลาและมนุษย์ ต่างก็อยู่ภายใต้กฎฟิสิกส์ของท้องทะเล

บทเรียนโดย Neosha S Kashef แอนิเมชั่นโดย The Moving Company Animation Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:03

Thai subtitles

Revisions