ในบางครั้ง เมื่อปลาถูกลากขึ้นมาบนผิวน้ำ ตัวของมันจะพองออก ตาของมันปูดออกมาจากเบ้า และกระเพาะอาหาร โผล่แลบออกมาจากปาก ตัวของมันขยายใหญ่ขึ้นราวกับลูกโป่ง ความเสียหายทางร่างกายชนิดนี้เกิดจาก ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เรียกว่า "บาโรทรอม่า" (Barotrauma) ใต้ท้องทะเล ความดันจะเพิ่มขึ้น 14.7 ปอนด์ต่อหนึ่งตารางนิ้ว สำหรับความลึกทุก ๆ 33 ฟุตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้านำปลาร๊อคฟิชตาสีเหลือง ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในระดับความลึก 1800 ฟุต ที่ซึ่งมีความกดอากาศมากกว่า 800 ปอนด์ บนทุก ๆ หนึ่งตารางนิ้ว นั่นหนักเทียบเท่ากับหมีขั้วโลกหนึ่งตัว ที่กำลังทรงตัวอยู่บนเหรียญ 25 เซนต์ ทีนี้ กฏของบอยล์ในเรื่องแก๊ส (Boyle's gas law) กล่าวว่า ปริมาตรแก๊สแปรผกผันกับความดัน ดังนั้น ที่ไหนก็ตามที่มีอากาศ อย่างกระเพาะของปลาร๊อคฟิช หรือ ปอดของมนุษย์ จะถูกบีบอัดตามระดับความลึก และขยายตัวออกเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ เมื่อปลาติดเบ็ด และถูกดึงขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ อากาศที่อยู่ในกระเพาะของมัน จะขยายตัวออก การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ ดันให้เครื่องในของมันทะลักออกมาทางปาก ในขณะเดียวกันความดันภายใน ก็ได้ดันลูกตาปลา ปูดออกมานอกเบ้า อาการนี้เรียกว่า "เอ็กซอฟตาเมีย" (exophthalmia) บางครั้งลูกตาของปลาร๊อคฟิช ก็มีการตกผลึกปรากฏออกมา จากตำแหน่งถุงลมในกระจกตา ซึ่งฟองแก๊สเล็ก ๆ ได้ถูกสร้างขึ้นภายในกระจกตานี้ ต้องขอบคุณที่นักดำน้ำ ไม่มีอวัยวะถุงลมแบบปิดนี้ให้กังวล นักดำน้ำสามารถควบคุมแรงดันในปอด โดยการหายใจออกตามระดับการลอยตัว แต่ต้องระวังกฏฟิสิกส์ข้อนึง ที่เล่นงานเราเมื่ออยู่ในน้ำ กฏของเฮนรีกล่าวว่า ปริมาตรของแก๊ส ที่ละลายอยู่ในของเหลว จะแปรผันตรงกับความดัน อากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจ มีไนโตรเจนอยู่ 78% ที่ความกดอากาศใต้น้ำสูงขึ้น ไนโตรเจนภายในถังหายใจ จะกระจายตัวออกเข้าสู่เนื้อเยื่อของนักดำน้ำ เข้มข้นกว่าตอนอยู่บนพื้นดิน ถ้านักดำน้ำไต่ระดับขึ้นผิวน้ำเร็วไป ไนโตรเจนในร่างกาย จะหลุดจากการเป็นของเหลว และก่อตัวเป็นฟองอากาศเล็ก ๆ ตามเนื้อเยื่อ เลือด ข้อต่อ ก่อให้เกิดอาการน้ำหนีบ (aka the bends) มันคล้ายกับฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเราเปิดขวดโซดา แก๊สจะหลุดจากสถานะของเหลว เมื่อความดันถูกปล่อยออก แต่สำหรับนักดำน้ำ ฟองอากาศนี้ สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นักดำน้ำจึงหลีกเลี่ยงอาการน้ำหนีบ โดยการขึ้นสู่ผิวน้ำช้า ๆ และหยุดพักหายใจตลอดทาง เรียกกว่า การพักน้ำ เพื่อให้แก๊สได้มีเวลา ในการกระจายตัวกลับสู่เนื้อเยื่อ และปล่อยออกมาผ่านการหายใจ เป็นเหตุว่าทำไม นักดำน้ำจึงต้องพักน้ำ สำหรับการรักษาปลา ต้องใช้การปรับความดันใหม่ ซึ่งจะสำเร็จได้ โดยการนำมันกลับลงไปในน้ำ แต่ไม่ใช่แค่โยนมันลงไปจากเรือ ร่างกายที่ป่องพองจะทำให้มันลอย และกลายเป็นเหยื่อของสิงโตทะเลหิวโซ หรือ จะงอยปากนกนางนวล มีวิธีตามความเชื่อแบบง่าย ๆ โดยการเจาะท้องของมันด้วยเข็ม เพื่อให้อากาศรั่วออกมา ทำให้มันสามารถว่ายลงไปในน้ำ ได้ด้วยตัวมันเอง แต่มันก็เป็นลูกโป่งลูกนึง ที่ไม่ควรจะโดนเจาะ การนำปลาลงไปยังที่อยู่อาศัย ของมันอย่างถูกต้อง คนตกปลาสามารถใช้ รอกหย่อนปลาแทนได้ โดยหย่อนปลาลงไปตามสาย และปล่อยมันเมื่อถึงระดับความลึกที่ใช่ ส่งมันกลับบ้าน และให้ความดันปรับตัวของมันเอง ตาของมันก็จะกลับเข้าเบ้าตา และได้รับการรักษา กระเพาะของมันก็กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ปลาตัวนี้ก็จะมีชีวิตอยู่รอดไปอีกวัน อีกครั้งที่ได้แหวกว่ายอย่างอิสระ ได้กิน และได้แพร่ขยายพันธ์ุต่อไป