Return to Video

กายภาพบำบัดน่าเบื่อไปเล่นเกมดีกว่า

  • 0:01 - 0:06
    ตอนผมกำลังโต ผมชอบเล่นเกมซ่อนหามาก
  • 0:06 - 0:10
    มีอยู่ครั้งนึง ผมคิดว่าปีนขึ้นบนต้นไม้
    เป็นที่ซ่อนแอบดีมากเลย
  • 0:10 - 0:13
    แต่ผมตกลงมาแล้วแขนหัก
  • 0:13 - 0:17
    ผมเริ่มไปเรียนป. 1 พร้อมเฝือก
    ขนาดใหญ่ห่อหุ้มลำตัวผม
  • 0:18 - 0:22
    ต้องใช้เวลาถึงหกสัปดาห์แต่พอถึงตอนนั้น
    ผมก็ยังยกข้อศอกไม่ได้เลย
  • 0:22 - 0:25
    ผมต้องไปทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดหดข้อศอก
  • 0:25 - 0:28
    วันละ 100 ครั้ง 7 วันต่อสัปดาห์
  • 0:29 - 0:32
    ผมแทบจะไม่ได้ทำมันเลย
    เพราะมันน่าเบื่อและก็เจ็บด้วย
  • 0:32 - 0:36
    ผลก็คือผมต้องใช้เวลาอีก 6 สัปดาห์
    เพื่อทำให้มันดีขึ้น
  • 0:37 - 0:40
    หลายปีต่อมาแม่ผมเริ่มมีอาการหัวไหล่ล็อก
  • 0:40 - 0:44
    มันทำให้เจ็บและติดขัดที่หัวไหล่
  • 0:44 - 0:47
    คนที่ผมเชื่อมาตลอดครึ่งชีวิตว่ามีพลังวิเศษ
  • 0:47 - 0:50
    จู่ๆ ต้องการความช่วยเหลือ
    ช่วยแต่งตัวหรือตัดอาหาร
  • 0:51 - 0:54
    แม่ไปทำกายภาพบำบัดทุกอาทิตย์
    แต่ก็เหมือนกับผม
  • 0:54 - 0:56
    แม่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัดที่บ้าน
  • 0:56 - 0:59
    มันกินเวลาถึงห้าเดือนกว่าเธอจะรู้สึกดีขึ้น
  • 1:00 - 1:03
    ทั้งผมกับแม่ต่างต้องทำกายภาพบำบัด
  • 1:03 - 1:05
    กระบวนการที่ประกอบด้วยการออกกำลังซ้ำๆซากๆ
  • 1:05 - 1:10
    เพื่อที่จะฟื้นฟูสภาพการเคลื่อนไหว
    ที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บ
  • 1:10 - 1:12
    เริ่มด้นด้วยนักกายภาพบำบัดทำงานกับคนไข้
  • 1:12 - 1:15
    แล้วก็ขึ้นอยู่กับคนไข้ที่จะไปทำซ้ำที่บ้าน
  • 1:15 - 1:19
    แต่คนไข้มักจะพบว่ากายภาพบำบัด
    น่าเบื่อ, น่าหงุดหงิด น่าสับสน
  • 1:19 - 1:22
    และกินเวลานานกว่าจะเห็นผล
  • 1:22 - 1:27
    เรื่องเศร้าคนไข้ทำเรืองนี้ไม่ผ่านถึง70%
  • 1:27 - 1:30
    นี่ยืนยันว่าคนไข้ส่วนใหญ่ไม่ได้กลับไปทำต่อ
  • 1:30 - 1:34
    และทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าอาการจะดีขึ้น
  • 1:34 - 1:37
    นักกายภาพบำบัดทุกคน
    ต่างเห็นด้วยว่าการฝึกหัดพิเศษแบบนี้
  • 1:37 - 1:39
    ช่วยลดระยะเวลาฟื้นฟูอาการ
  • 1:39 - 1:41
    แต่คนไข้ขาดแรงจูงใจที่จะทำ
  • 1:42 - 1:47
    ดังนั้น ผมกับเพื่อนอีก 3 คน
    พวกเราเป็นพวกบ้าซอฟท์แวร์
  • 1:47 - 1:49
    พวกเราตั้งคำถามว่า
  • 1:49 - 1:54
    มันน่าสนใจกว่าหรือไม่ ถ้าให้คนไข้
    เล่นไปด้วยทำกายภาพบำบัดไปด้วย
  • 1:54 - 1:56
    เราเริ่มสร้าง MIRA ระบบซอฟท์แวร์ A P.C
  • 1:56 - 1:59
    โดยใช้อุปกรณ์ Kinect กล้องจับการเคลื่อนไหว
  • 1:59 - 2:03
    เพื่อแปลงโฉมการออกกำลังแบบเดิมๆ
    ไปสู่วิดีโอเกม
  • 2:04 - 2:08
    นักกายภาพบำบัดร่วมกับผม
    ได้ลองจัดตารางการบำบัดขึ้นมา
  • 2:08 - 2:11
    ลองไปดูกันว่ามันเป็นแบบไหน
  • 2:14 - 2:17
    เกมแรก ผมให้บังคับผึ้งบินขึ้นลง
  • 2:17 - 2:19
    พร้อมเก็บเกสรดอกไม้กลับไปที่รังผึ้ง
  • 2:19 - 2:22
    โดยต้องคอยหลบหลีกแมลงตัวอื่นๆ
  • 2:22 - 2:25
    ผมควบคุมผึ้งด้วยการเหยียดแขนกับงอข้อศอก
  • 2:25 - 2:29
    เหมือนตอนที่ผมต้องทำตอนเจ็ดขวบ
    หลังจากแกะเฝือกออกแล้ว
  • 2:30 - 2:33
    ตอนที่เราออกแบบเกมได้พูดคุยกัย
    นักกายภาพบำบัดมาตั้งแต่แรกเลย
  • 2:33 - 2:36
    เพื่อทำความเข้าใจว่าคนไข้ต้องมี
    ลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
  • 2:36 - 2:38
    หลังจากนั้นเราก็มาทำวิดีโอเกม
  • 2:38 - 2:41
    เกมที่ทำให้คนไข้รู้สึกว่าง่าย
    มีแรงจูงใจที่จะเล่นตาม
  • 2:41 - 2:43
    แต่ซอฟท์แวร์ก็ปรับแต่งได้หลากหลายมาก
  • 2:43 - 2:47
    รวมทั้งนักกายภาพบำบัดก็สามารถ
    สร้างแบบการออกกำลังกายได้เอง
  • 2:47 - 2:49
    ด้วยการใช้ซอฟท์แวร์นี้
  • 2:49 - 2:51
    นักกายภาพบำบัดได้บันทึก
    การเหยียดหัวไหล่ของเธอ
  • 2:51 - 2:54
    เป็นการเคลื่อนไหวแบบเดียวกันกับ
    แม่ผมต้องทำมาก่อน
  • 2:54 - 2:55
    เมื่อตอนที่หัวไหล่ล็อค
  • 2:55 - 2:59
    ผมสามารถทำตามนักกายภาพ
    ตามตัวอย่างด้านซ้ายของจอ
  • 2:59 - 3:03
    ส่วนที่ด้านขวา ผมจะเห็นตัวเอง
    ทำการเคลื่อนไหวตามคำแนะนำ
  • 3:03 - 3:05
    ผมรู้สึกผูกพันและเชื่อมั่นยิ่งขึ้น
  • 3:05 - 3:07
    เมื่อผมออกกำลังเคียงข้างนักกายภาพบำบัด
  • 3:07 - 3:11
    ด้วยการออกกำลังที่นักกายภาพบำบัด
    คิดว่าเหมาะกับผมมากที่สุด
  • 3:11 - 3:14
    โดยสิ่งนี้ได้ขยายรูปแบบ
    การทำกายภาพบำบัดของนักกายภาพบำบัด
  • 3:14 - 3:18
    ด้วยการสร้างการออกกำลังแบบไหนก็ได้
    ที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับคนไข้
  • 3:18 - 3:22
    นี่เป็นเกมประมูลบ้านเพื่อป้องกันการหกล้ม
  • 3:22 - 3:25
    ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง
    ของกล้ามเนื้อและพัฒนาความสมดุล
  • 3:25 - 3:28
    ในฐานะคนไข้ผมต้องลุกยืนกับนั่ง
  • 3:28 - 3:29
    ในตอนที่ผมยืนขึ้น
  • 3:29 - 3:32
    ผมได้ประมูลรายการบ้านที่ต้องการซื้อ
  • 3:32 - 3:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:34 - 3:37
    สองวันต่อมายายผมอายุ 82 ปี
  • 3:37 - 3:39
    มีโอกาสถึง 50% ที่คนอายุเกิน 80 ปี
  • 3:39 - 3:41
    จะล้มอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  • 3:41 - 3:44
    นำไปสู่อาการสะโพกแตกหรือที่แย่ไปกว่านั้น
  • 3:44 - 3:48
    คือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงและอาการไม่สมดุล
    คือสาเหตุหลักของการล้ม
  • 3:48 - 3:52
    ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องนี้
    ด้วยการออกกำลังตามที่ตั้งเป้าไว้
  • 3:52 - 3:54
    จะช่วยคนสูงอายุเหมือนยายผม
  • 3:54 - 3:57
    ทำได้ปลอดภัยและสามารถช่วยตัวเองได้นานขึ้น
  • 3:57 - 4:00
    เมื่อตารางออกกำลังจบลง
    MIRA จะสรุปผลให้ดู
  • 4:00 - 4:03
    ว่ามีความก้าวหน้าแค่ไหนช่วงที่ฝึกฝน
  • 4:04 - 4:06
    มีเกมที่แตกต่างกัน 3 เกม
  • 4:06 - 4:08
    เกมสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ และคนสูงอายุ
  • 4:08 - 4:11
    เกมนี้สามารถใช้ได้กับ
    ผู้ป่วยโรคกระดูก และผู้ป่วยระบบประสาท
  • 4:11 - 4:14
    ในอนาคตใกล้ ๆ นี้ จะมีสร้างทางเลือก
    ให้เด็กที่มีอาการออทิสติก
  • 4:14 - 4:16
    สุขภาพจิตหรือบำบัดการพูด
  • 4:17 - 4:19
    นักกายภาพบำบัดสามารถไปดูข้อมูลส่วนตัว
  • 4:19 - 4:22
    จะเห็นข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเก็บไว้
    ระหว่างช่วงกายภาพบำบัด
  • 4:22 - 4:25
    จะเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวได้มากน้อยแค่ไหน
    ทำคะแนนได้เท่าไหร
  • 4:25 - 4:27
    มีการเคลื่อนข้อต่อด้วยความเร็วเท่าไหร่
  • 4:27 - 4:28
    และอื่นๆ
  • 4:28 - 4:31
    นักกายภาพบำบัดสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้
    เพื่อปรับปรุงการรักษาคนไข้
  • 4:32 - 4:34
    ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ซอฟแวร์เวอร์ชั่นนี่
  • 4:34 - 4:37
    ปัจจุบันมีคลีนิคกว่า 10 แห่ง
    ทั่วทั้งยุโรปและอเมริกานำไปใช้
  • 4:37 - 4:39
    และเรากำลังทำเวอร์ชั่นสำหรับใช้ที่บ้าน
  • 4:39 - 4:44
    เราต้องการช่วยนักกายภาพบำบัด
    สามารถบอกการรักษาแบบดิจิตอลนี้ได้
  • 4:44 - 4:47
    และให้คนไข้เล่นมันขณะฟื้นฟูตัวเองที่บ้าน
  • 4:48 - 4:51
    ถ้าแม่ผมหรือผมมีเครื่องมือเหล่านี้
    ตอนที่เราต้องทำกายภาพบำบัด
  • 4:51 - 4:55
    เราน่าจะหายเร็วกว่านี้ตอนออกกำลังกาย
  • 4:55 - 4:58
    และอาจจะทำให้เราหายได้ดีขึ้นเร็วขึ้นมาก
  • 4:58 - 5:00
    ขอบคุณ
  • 5:00 - 5:02
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:02 - 5:06
    ทอม ริดลีย์: คอสมิน, บอกผมหน่อยซิ
    ว่าอุปกรณ์พวกนี้คืออะไร?
  • 5:06 - 5:07
    อุปกรณ์ที่ขายได้อย่างรวดเร็ว
  • 5:07 - 5:10
    มันทำมาจากอะไร และมีต้นทุนเท่าไหร่
  • 5:10 - 5:13
    คอสมิน มิลเฮา: Microsoft Surface Pro3
    ใช้สำหรับการแสดงสาธิต
  • 5:13 - 5:17
    คุณแค่มีคอมพิวเตอร์กับ Kinect
    ที่ราคา 120 ดอลล่าห์
  • 5:17 - 5:20
    ทอม ริดลีย์: แล้ว Kinect
    คือสิ่งที่คนใช้กับ XBox
  • 5:20 - 5:21
    เล่นเกม 3 มิติใช่ไหม
  • 5:21 - 5:24
    คอสมิน: ถูกต้อง แต่คุณไม่จำเป็นต้องมี XBox
    มีแค่กล้องก็พอแล้ว
  • 5:24 - 5:27
    ทอม ริดลีย์: ถ้านั้นนี่เป็นทางเลือก
    ของไม่ถึง 1,000 ดอลลาห์
  • 5:27 - 5:29
    คอสมิน: จริง ๆ แล้วแค่ 400 เหรียญ
    ก็สามารถซื้อได้แล้ว
  • 5:29 - 5:32
    ทอม ริดลีย์: ตอนนี้
    คุณกำลังทดลองใช้ที่คลีนิค
  • 5:32 - 5:33
    คอสมิน: ใช่ครับ
  • 5:33 - 5:36
    ทอม ริดลีย์: ดังนั้น ความหวัง
    คือสร้างเวอร์ชั่นใช้ที่บ้าน
  • 5:36 - 5:37
    แล้วผมสามารถการออกกำลังระบบทางไกล
  • 5:37 - 5:41
    ที่นักกายภาพบำบัดที่คลีนิคสามารถ
    เห็นว่าผมทำอย่างไงและทำอะไร
  • 5:41 - 5:42
    ถูกต้องครับ
  • 5:42 - 5:44
    เยี่ยมมาก ขอบคุณ
    ขอบคุณ
  • 5:44 - 5:45
    (เสียงปรบมือ)
Title:
กายภาพบำบัดน่าเบื่อไปเล่นเกมดีกว่า
Speaker:
Cosmin Mihaiu
Description:

ตอนที่คุณบาดเจ็บและกำลังกลับบ้านหลังจากไปทำกายภาพบำบัดร่วมชั่วโมง
เรื่องสุดท้ายที่คุณจะทำคือ ไม่ออกกำลังกายอีก แม้ว่าจะทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะฟื้นฟูร่างกายอีกครั้ง Cosmin Mihaiu ที่เป็น TED Fellow ได้นำเสนอเรืองสนุก ทางเลือกราคาถูก ที่เปลี่ยนเรื่องน่าเบื่อของการออกกำลังกายให้เป็นวิดีโอเกมสำหรับคนไข้พร้อมวิธีการสอนที่ชัดเจนแจ่มใส

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:57

Thai subtitles

Revisions