Return to Video

ลายเซ็นต์อันน่าทึ่ง (และล่องหน) ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล - คาคานิ เคทจา (Kakani Katija)

  • 0:07 - 0:11
    ฉันชื่อว่า คาคานิ เคทจา
    และฉันเป็นวิศวกรชีวภาพ
  • 0:11 - 0:14
    ฉันศึกษาสิ่งมีชีวิตทางทะเล
    ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของพวกมัน
  • 0:14 - 0:16
    และสิ่งที่ฉันอยากจะบอก
  • 0:16 - 0:18
    และอย่างน้อยคุณก็เห็นได้จากภาพนี้
  • 0:18 - 0:21
    ก็คือสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทร
    เป็นสถานที่ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 0:21 - 0:24
    สิ่งที่คุณเห็นอยู่นี้เป็นเหมือนกระแสน้ำ
  • 0:24 - 0:25
    และวังน้ำวน
  • 0:25 - 0:28
    ที่ถูกทิ้งเอาไว้ในมหาสมุทร เพราะว่าคลื่น
  • 0:28 - 0:29
    หรือเพราะว่าลม
  • 0:29 - 0:32
    และลองจินตนาการถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเล
    ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนี้
  • 0:32 - 0:35
    และพวกมันพยายามใช้ชีวิตทั้งชีวิต
  • 0:35 - 0:38
    ในขณะที่ต้องจัดการกับกระแสน้ำแบบนี้
  • 0:38 - 0:39
    แต่สิ่งที่ฉันอยากจะเน้นอีกอย่าง
  • 0:39 - 0:44
    ก็คือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ยังสร้าง
    การเคลื่อนที่เล็กน้อยในของไหลเช่นกัน
  • 0:44 - 0:47
    และการเคลื่อนที่ของของไหลนี่แหละ
    ที่ฉันทำการศึกษา
  • 0:47 - 0:50
    และเราสามารถคิดถึงพวกมัน
    ว่าเป็นดั่งรอยเท้า
  • 0:50 - 0:54
    ฉะนั้น นี่คือหมาของฉัน เคียรัน
    และลองดูรอยเท้าของเธอสิ
  • 0:54 - 0:57
    รอยเท้าให้ข้อมูลเรามากมาย
  • 0:57 - 1:00
    ไม่เพียงแค่ว่าพวกมันบอกเราว่า
    สิ่งมีชีวิตใดที่ทิ้งรอยนั้นไว้
  • 1:00 - 1:03
    พวกมันอาจบอกเราถึงบางสิ่งเกี่ยวกับว่า
    สิ่งมีชีวิตนั้นผ่านมาเมื่อไร
  • 1:03 - 1:06
    และยังบอกชนิดของพฤติกรรม
    บอกว่าพวกมันวิ่งผ่านไป หรือเดินผ่านไป
  • 1:06 - 1:10
    ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตบนบก
    อย่างหมาของฉัน
  • 1:10 - 1:15
    อาจทิ้งรอยเท้าไว้บนดินหรือทราย
  • 1:15 - 1:21
    แต่สัตว์ทางทะเลทิ้งรอยเท้าไว้
    ในรูปแบบที่เราเรียกว่าโครงสร้างร่องรอยทางน้ำ
  • 1:21 - 1:23
    หรือลายเซ็นต์การเปลี่ยนแปลงทางน้ำ
  • 1:23 - 1:24
    ในของไหล
  • 1:24 - 1:27
    ลองจินตนาการดูว่า มันยากที่จะเห็น
    โครงสร้างดังกล่าว
  • 1:27 - 1:29
    เพราะว่าของไหลนั้นโปร่งแสง
  • 1:29 - 1:34
    อย่างไรก็ดี ถ้าเราเติมอะไรบางอย่างลงในของไหล
    เราจะได้ภาพที่ต่างออกไป
  • 1:34 - 1:37
    และคุณเห็นได้ว่ารอยเท้า
    ที่สัตว์ทางทะเลสร้างเอาไว้
  • 1:37 - 1:38
    เปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตร
  • 1:38 - 1:40
    พวกมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 1:40 - 1:44
    และสิ่งมีชีวิตทางทะเลยังมีความสามารถ
    ที่จะสัมผัสลายเซ็นต์เหล่านี้ได้
  • 1:44 - 1:46
    พวกมันยังสามารถบอกการตัดสินใจ
  • 1:46 - 1:49
    เช่นพวกมันต้องการตามลายเซ็นต์เหล่านี้หรือไม่
  • 1:49 - 1:51
    เพื่อหาคู่ หรือหาอาหาร
  • 1:51 - 1:55
    หรือบางทีเพื่อเลี่ยงลายเซ็นต์เหล่านี้
    เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่า
  • 1:55 - 1:58
    ฉะนั้น ลองจินตนาการความสามารถที่จะทำให้
  • 1:58 - 2:02
    ไม่เพียงแต่เห็น
    หรือมีวิสัยทัศน์ต่อลายเซ็นต์เหล่านี้
  • 2:02 - 2:04
    แต่ยังสามารถวัดพวกมันได้
  • 2:04 - 2:06
    นี่เป็นงานด้านวิศวกรรมที่ฉันทำ
  • 2:06 - 2:10
    และสิ่งที่ฉันทำจริง ๆ ก็คือ
    ฉันนำเทคนิคในห้องทดลอง
  • 2:10 - 2:14
    ย่อมันลง และทำให้มันเล็กลง
  • 2:14 - 2:16
    เพื่อนำไปใช้ในห้องทดลองใต้น้ำ
  • 2:16 - 2:20
    เพื่อทำอุปกรณ์
    ที่นักประดาน้ำคนเดียวก็สามารถใช้ได้
  • 2:20 - 2:24
    และนักประดาน้ำจะสามารถไปไหนก็ได้
    จากผิวน้ำจนถึงน้ำลึก 40 เมตร
  • 2:24 - 2:26
    หรือ 120 เมตร
  • 2:26 - 2:31
    เพื่อวัดลายเซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของน้ำ
    ที่สิ่งมีชีวิตสร้างเอาไว้
  • 2:31 - 2:32
    ก่อนที่ฉันจะเริ่ม
  • 2:32 - 2:36
    ฉันอยากจะนำคุณดำดิ่งสู่
    สิ่งที่การวัดนี้ต้องการ
  • 2:36 - 2:40
    เพื่อที่จะให้มันได้ผล
    เราต้องดำลงไปตอนกลางคืน
  • 2:40 - 2:44
    และมันก็เป็นเพราะว่า
    เราพยายามที่จะลดการมีปฎิสัมพันธ์
  • 2:44 - 2:46
    ระหว่างเลเซอร์และแสงแดดให้น้อยที่สุด
  • 2:46 - 2:49
    และเรากำลังดำลงไปในความมืดมิด
  • 2:49 - 2:52
    เพราะว่าเราไม่ต้องการที่จะทำให้
    สิ่งมีชีวิตที่เราพยายามจะศึกษาตกใจกลัว
  • 2:52 - 2:55
    และจากนั้น เมื่อเราพบกับสิ่งมีชีวิตที่เราสนใจ
  • 2:55 - 2:58
    เราจะเปิดเลเซอร์สีเขียว
  • 2:58 - 3:02
    และเลเซอร์สีเขียวนี้
    จะส่องสว่างแผ่นของของไหล
  • 3:02 - 3:03
    และในของไหลนั้น
  • 3:03 - 3:07
    มันจะสะท้อนอนุภาค
    ที่พบได้ทั่วไปในมหาสมุทร
  • 3:07 - 3:10
    และเมื่อสัตว์ว่ายน้ำผ่านแผ่นเลเซอร์นี้ไป
  • 3:10 - 3:14
    คุณจะสามารถเห็นอนุภาคเหล่านี้
    กำลังเคลื่อนไหวตามเวลาจริงได้
  • 3:14 - 3:18
    และอันที่จริง เราเสี่ยงชีวิตเรา
    เพื่อที่จะได้ข้อมูลแบบนี้มา
  • 3:18 - 3:19
    สิ่งที่คุณกำลังจะได้เห็น
  • 3:19 - 3:22
    คือภาพทางซ้ายที่เป็นภาพอนุภาค
  • 3:22 - 3:24
    แสดงการเปลี่ยนแปลงของของไหล
    ตามเวลาจริง
  • 3:24 - 3:26
    และเมื่อใช้ข้อมูลนั้น
  • 3:26 - 3:29
    คุณสามารถคำนวณความเร็วของของไหลได้
  • 3:29 - 3:33
    และนั่นบ่งบอกโดยจุดการกระจัด
    ที่คุณเห็นในตรงกลาง
  • 3:33 - 3:35
    และจากนั้น เราสามารถใช้ข้อมูลนี้
  • 3:35 - 3:37
    เพื่อหาคำตอบให้คำถามต่าง ๆ มากมาย
  • 3:37 - 3:40
    ไม่เพียงแต่เพื่อเข้าใจการหมุนวนของของไหล
  • 3:40 - 3:41
    ซึ่งคุณเห็นอยู่ทางด้านขวา
  • 3:41 - 3:44
    แต่ยังให้การคาดคะเนบางอย่าง
    ที่เกี่ยวกับพลังงาน
  • 3:44 - 3:48
    หรือชนิดของแรงที่กระทำ
    กับสิ่งมีชีวิตหรือของไหล
  • 3:48 - 3:51
    และยังประเมินการว่ายน้ำ
    และการหาอาหาร
  • 3:51 - 3:54
    พวกเราได้ใช้เทคโนโลยีนี้
    กับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มากมาย
  • 3:54 - 3:56
    แต่จำไว้ในคะ ประเด็นมันมีอยู่ว่า
  • 3:56 - 4:01
    เราสามารถที่จะศึกษาสิ่งมีชีวิต
    ได้เท่าที่นักประดาน้ำจะเข้าถึงได้
  • 4:01 - 4:05
    และก่อนที่ฉันจะจบการบรรยาย ฉันอยากจะบอกคุณ
    ว่าเป้าหมายต่อไปของเราคืออะไร
  • 4:05 - 4:08
    ในบริบทของการวัดแบบนี้
  • 4:08 - 4:12
    และด้วยความร่วมมือจาก
    สถาบันวิจัยทางทะเล มอนทาเร เบย์
  • 4:12 - 4:17
    พวกเรากำลังพัฒนาเครื่องมือ
    ที่จะใช้กับพาหนะที่ถูกควบคุมจากทางไกลได้
  • 4:17 - 4:22
    เพื่อที่เราจะสามารถศึกษาสิ่งมีชีวิตได้จากทุกที่
    ตั้งแต่ผิวน้ำ ลงลึกไปจนถึง 4000 เมตร
  • 4:22 - 4:23
    หรือสองไมล์ครึ่ง
  • 4:23 - 4:27
    และเพื่อที่เราจะสามารถให้คำตอบ
    กับคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
  • 4:27 - 4:29
    นี่คือลาวาเซียน (larvacean)
  • 4:29 - 4:34
    ที่สร้างกระแสการหาอาหาร
    และแรงของไหลผ่านบ้านเมือกของพวกมัน
  • 4:34 - 4:36
    และที่สกัดสารอาหารต่าง ๆ
  • 4:36 - 4:37
    และจากนั้น สัตว์ชนิดนี้
  • 4:37 - 4:39
    นี่คือ ซิโฟโนพอร์
  • 4:39 - 4:43
    และพวกมันสามารถมีขนาดยาวได้ถึง
    ครึ่งหนึ่งของขนาดสนามฟุตบอล
  • 4:43 - 4:46
    และพวกมันสามารถ
    ที่จะว่ายน้ำในแนวขวางในมหาสมุทร
  • 4:46 - 4:48
    โดยสร้างการขับเคลื่อนแบบเครื่องยนต์ไอพ่น
  • 4:48 - 4:51
    และสุดท้าย เราสามารถหาคำตอบให้กับคำถาม
  • 4:51 - 4:54
    เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่กันเป็นฝูง
    อย่างตัวเคย
  • 4:54 - 4:57
    ว่าพวกมันมีผลกระทบอย่างไร
    ต่อสิ่งผสมต่าง ๆ ในระดับใหญ่
  • 4:57 - 5:01
    และอันที่จริง นี่เป็นหนึ่งในผลลัพท์
    ที่น่าสนใจที่สุด
  • 5:01 - 5:05
    ที่เราได้ทำการรวบรวม
    โดยใช้อุปกรณ์การดำน้ำ
  • 5:05 - 5:08
    ในสิ่งมีชีวิตนั้น โดยเเฉพาะ
    เมื่อพวกมันเคลื่อนไปในมวล
  • 5:08 - 5:10
    สามารถที่จะสร้างการผสม
  • 5:10 - 5:15
    ที่ระดับเท่ากับกระบวนการทางกายภาพอื่น ๆ
  • 5:15 - 5:17
    ที่เกี่ยวข้องกับลมและกระแสน้ำ
  • 5:17 - 5:19
    ก่อนที่ฉันจะจบการบรรยาย
  • 5:19 - 5:22
    ฉันอยากจะทิ้งท้ายด้วยคำถาม
  • 5:22 - 5:24
    เพราะว่า ฉันคิดว่ามันสำคัญ
    ที่จะตระหนักว่า
  • 5:24 - 5:27
    เทคโนโลยีในปัจจุบัน
    ที่เราใช้อย่างไม่ได้ใส่ใจ
  • 5:27 - 5:28
    เริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง
  • 5:28 - 5:30
    มันให้แรงบันดาลใจกับบางสิ่ง
  • 5:30 - 5:34
    ฉะนั้นลองจินตนาการถึงนักวิทยาศาสตร์
    และวิศวกร ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนก
  • 5:34 - 5:36
    เพื่อสร้างเครื่องบิน
  • 5:36 - 5:38
    และบางอย่างที่เราไม่ได้ใส่ใจ
  • 5:38 - 5:40
    การบินจากซานฟรานซิสโกไปยังนิวยอร์ค
  • 5:40 - 5:43
    เป็นอะไรบางอย่าง
    ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งมีชีวิต
  • 5:43 - 5:46
    และเรากำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้
  • 5:46 - 5:48
    เพื่อทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตทางทะเล
  • 5:48 - 5:50
    สิ่งที่เราต้องการทำก็คือ
    หาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า
  • 5:50 - 5:53
    สิ่งมีชีวิตทางทะเลให้แรงบันดาลใจเราอย่างไร
  • 5:53 - 5:57
    มันจะช่วยให้เราพัฒนาเทคโนโลยีใต้น้ำใหม่ ๆ
  • 5:57 - 5:59
    เช่นพาหนะใต้น้ำ
    ที่มีรูปร่างคล้ายกับแมงกะพรุน
  • 5:59 - 6:03
    ฉันคิดว่ามันเป็นเวลาที่น่าตื่นเต้น
    สำหรับการสำรวจมหาสมุทร
  • 6:03 - 6:06
    เพราะว่าตอนนี้ เรามีอุปกรณ์
    ที่จะให้คำตอบกับคำถามแบบนี้ได้
  • 6:06 - 6:09
    และด้วยความช่วยเหลือจากพวกคุณ
    ณ จุดหนึ่ง
  • 6:09 - 6:13
    คุณสามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้
    เพื่อตอบคำถามประเภทนี้
  • 6:13 - 6:16
    และยังพัฒนาเทคโนโลยี
    สำหรับอนาคตด้วย
  • 6:16 - 6:17
    ขอบคุณค่ะ
Title:
ลายเซ็นต์อันน่าทึ่ง (และล่องหน) ของสิ่งมีชีวิตทางทะเล - คาคานิ เคทจา (Kakani Katija)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/the-surprising-and-invisible-signatures-of-sea-creatures-kakani-katija

สัตว์บกทิ้งรอยเท้าเอาไว้เพื่อบอกเราถึงขนาด รูปร่าง และคุณสมบัติของมัน สิ่งมีชีวิตทางทะเลก็ทำเช่นเดียวกัน แต่รอยเท้าของพวกมันเห็นได้ยากกว่าเนื่องจากน้ำมีลักษณะโปร่งแสง คาคานิ เคทจา วิศวกรชีวภาพ อธิบายว่าเธอใช้สีย้อม เลเซอร์ และสิ่งอื่น ๆ เพื่อทำให้มันมองเห็นได้ได้อย่างไร เพื่อที่เธอและผู้ร่วมงานผู้กล้าจะสามารถเข้าใจการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตในทะเลได้มากขึ้น

บรรยายโดย Kakani Katija, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
06:38

Thai subtitles

Revisions