Return to Video

แมงกะพรุนต่อยอย่างไร ? - นีโอชา เอส คาเชฟ

  • 0:07 - 0:11
    คุณกำลังว่ายน้ำในมหาสมุทร
    ขณะที่อะไรบางอย่างมาถูกขาคุณ
  • 0:11 - 0:12
    พอรู้สึกเจ็บแปล๊บ
  • 0:12 - 0:16
    คุณก็รู้ตัวว่า คุณถูกแมงกะพรุนต่อยซะแล้ว
  • 0:16 - 0:21
    เจ้าสิ่งมีชีวิตที่เหมือนวุ้นแสนสวย
    มีพิษสงร้ายกาจเช่นนี้ได้อย่างไร
  • 0:21 - 0:24
    แมงกะพรุนตัวนุ่มนิ่ม
    เพราะ 95% ของมันเป็นน้ำ
  • 0:24 - 0:29
    และส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารโปร่งแสงเหมือนวุ้น
    ที่เรียกว่า เมโซเกลีย (mesoglea)
  • 0:29 - 0:31
    ด้วยตัวที่บอบบางแบบนี้
  • 0:31 - 0:36
    พวกมันอาศัยเข็มพิษเป็นพันๆ
    ที่เรียกว่า ไนโดไซต์ (cnidocytes)
  • 0:36 - 0:38
    เพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อ
  • 0:38 - 0:41
    แม้แต่ลูกแมงกะพรุนขนาดเท่ายางลบดินสอ
  • 0:41 - 0:44
    ก็ยังต่อยได้
  • 0:44 - 0:50
    แมงกะพรุนตัวอ่อน ที่เรียกว่า เอฟไฟเรีย (ephyrea)
    ดูเหมือนดอกไม้จิ๋วๆ เต้นกระดุ๊บๆ อยู่ในทะเล
  • 0:50 - 0:53
    เมื่อมันโตขึ้น มันจะมีรูปร่างทรงระฆังคว่ำ
    ลักษณะคล้ายร่ม
  • 0:53 - 0:56
    และหนวดห้อยลงมารอบๆ ขอบร่ม
  • 0:56 - 0:58
    แมงกะพรุนสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ
    แมงกะพรุนแผงคอสิงโต (lion's mane jellyfish)
  • 0:58 - 1:02
    มีหนวดที่ยืดยาวได้มากกว่า 100 ฟุต
  • 1:02 - 1:04
    ยาวกว่าวาฬสีน้ำเงินเสียอีก
  • 1:04 - 1:07
    เข็มพิษส่วนใหญ่อยู่ที่หนวดพวกนี้
  • 1:07 - 1:11
    แม้ว่าบางสายพันธุ์จะมีอยู่ที่ตรงร่มด้วย
  • 1:11 - 1:14
    พิษจะถูกฉีดผ่าน นีมาโตซิสต์
  • 1:14 - 1:16
    เป็นท่อกลวงๆ รูปร่างเหมือนแส้
  • 1:16 - 1:20
    ที่ขดอยู่ภายใต้แรงดันสูง
  • 1:20 - 1:25
    เมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากการสัมผัสหรือทางเคมี
    กระตุ้นจากภายนอก
  • 1:25 - 1:29
    ฝาของเซลล์นี้จะเด้งเปิดออก
    และน้ำทะเลไหลพรูเข้าไป
  • 1:29 - 1:33
    แรงนี้จะดันให้เข็มเหมือนฉมวกขนาดจิ๋ว
    ดีดตัวออกมา
  • 1:33 - 1:37
    ทิ่มแทงและฉีดพิษเข้าไปในเหยื่อ
  • 1:37 - 1:42
    การฉีดพิษจากนีมาโทซิสต์เกิดขึ้นในเวลา
    น้อยกว่า 1 ส่วนล้านของวินาที
  • 1:42 - 1:45
    มันจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการกลไกเคมี
    ที่เร็วที่สุดในธรรมชาติ
  • 1:45 - 1:50
    นีมาโทซิสต์สามารถยิงออกมาได้
    หลังแมงกะพรุนตายแล้ว
  • 1:50 - 1:54
    ดังนั้นการเอาหนวดที่ติดกับผิวหนังออก
    จึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • 1:54 - 1:59
    การล้างด้วยน้ำส้มสายชูจะช่วยให้เข็มพิษ
    ที่ยังไม่ยิงออกมาหมดฤทธิ์
  • 1:59 - 2:03
    น้ำทะเลก็ช่วยล้างเอานีมาโทซิสต์
    ที่เหลือออกไปด้วย
  • 2:03 - 2:06
    แต่อย่าใช้น้ำจึด
    เพราะการเปลี่ยนแปลงของสมดุลเกลือ
  • 2:06 - 2:09
    จะเปลี่ยนแรงดันออสโมติค
    ด้านนอกของไนโดไซต์
  • 2:09 - 2:12
    และจะกระตุ้นให้เข็มพิษพุ่งออกมาอีก
  • 2:12 - 2:16
    เป็นเหตุว่าทำไมการปัสสาวะรดบริเวณที่โดนต่อย
    ซึ่งเป็นการรักษาพื้นบ้านที่พบบ่อย
  • 2:16 - 2:22
    อาจจะทำให้เกิดอันตรายมากกว่าเป็นประโยชน์
    ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของปัสสาวะ
  • 2:22 - 2:25
    การต่อยของแมงกะพรุนทั่วไป
    มักจะแค่น่ารำคาญ
  • 2:25 - 2:26
    แต่บางครั้งอาจจะถึงตาย
  • 2:26 - 2:30
    แมงกะพรุนกล่องแปซิฟิค
    เรียกอีกชื่อว่า ต่อทะเล
  • 2:30 - 2:33
    ปล่อยพิษที่ทำให้เกิดการบีบต้ว
    ของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • 2:33 - 2:36
    และตายอย่างรวดเร็วถ้าได้รับพิษในปริมาณสูง
  • 2:36 - 2:38
    ยาแก้พิษนั้นมีอยู่ แต่พิษนั้นออกฤทธิ์เร็ว
  • 2:38 - 2:42
    ดังนั้นคุณต้องได้รับการรักษาทันที
  • 2:42 - 2:45
    แม้ว่าหนวดมันจะอานุภาพมหาศาล
  • 2:45 - 2:47
    แมงกระพรุนก็ไม่ได้อยู่ยงคงกระพัน
  • 2:47 - 2:51
    เข็มพิษของมันไม่อาจเทียบได้กับ
    หนังที่หนาเหมือนเกราะของผู้ล่า
  • 2:51 - 2:55
    เช่น เต่ากระดองหนัง และปลาดวงอาทิตย์
  • 2:55 - 2:59
    ผู้ล่าทั้งสองนี้มีการปรับตัวที่กันไม่ให้
    แมงกระพรุนตัวลื่นๆ
  • 2:59 - 3:02
    หลุดรอดออกไปได้หลังถูกฮุบเข้าไป
  • 3:02 - 3:05
    หนามแหลมชี้ไปด้านหลังในปาก
    และหลอดอาหารของเต่า
  • 3:05 - 3:09
    และฟันโค้งหลังแก้มปลาดวงอาทิตย์
  • 3:09 - 3:13
    แม้แต่ตัวอ่อนกั้งกระดานตัวจิ๋ว
    ก็สามารถเกาะบนร่มแมงกะพรุนได้
  • 3:13 - 3:14
    และขอโดยสาร
  • 3:14 - 3:18
    กินแมงกะพรุนขณะที่มันออมพลังตัวเอง
    เพื่อการเจริญเติบโต
  • 3:18 - 3:23
    ปลาเล็กๆใช้แมงกะพรุน
    เป็นแนวปะการังเคลื่อนที่เพื่อป้องกันตัว
  • 3:23 - 3:27
    ว่ายโฉบไปมาระหว่างหนวดโดยไม่แตะมันเลย
  • 3:27 - 3:30
    ทากเปลือย หรือทากทะเล
    ปกคลุมด้วยเมือกป้องกันตัวลื่นๆ
  • 3:30 - 3:34
    สามารถขโมยอาวุธของแมงกะพรุน
    โดยการกินไนโดไซต์
  • 3:34 - 3:38
    และเปลี่ยนมันไปเป็นถุงพิเศษ
    เก็บไว้ใช้ภายหลัง
  • 3:38 - 3:40
    เป็นอาวุธสู้กับผู้ล่าของมัน
  • 3:40 - 3:44
    แม้แต่มนุษย์ก็อาจจะใช้ประโยชน์จากแมงกะพรุน
    สักวันหนึ่ง
  • 3:44 - 3:48
    นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางใช้ไนโดไซต์
    ในการนำยาเข้าสู่ร่างกาย
  • 3:48 - 3:52
    ด้วยนีมาโทซิสต์ที่ขนาดไม่ถึง 3%
    ของเข็มฉีดยาทั่วไป
  • 3:52 - 3:57
    ดังนั้น เมื่อคุณออกไปในมหาสมุทรคราวหน้า
    ระวังตัวด้วยนะ
  • 3:57 - 4:00
    แต่อย่าลืมใช้เวลาซักเดี๋ยว เพื่อชื่นชม
    ในความอัศจรรย์ของมันด้วย
Title:
แมงกะพรุนต่อยอย่างไร ? - นีโอชา เอส คาเชฟ
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/how-does-a-jellyfish-sting-neosha-s-kashef

คุณกำลังว่ายน้ำในมหาสมุทร แล้วก็มีอะไรบางอย่างมาโดนขาคุณ ตอนเริ่มรู้สึกเจ็บแปล๊บ คุณก็รู้แล้วว่าคุณโดนแมงกะพรุนต่อย เจ้าสิ่งมีชีวิตที่เหมือนวุ้นนี้เต็มไปด้วแสนสวยนี้ต่อยเจ็บๆ ได้อย่างไร นีโอชา คาเชฟ เล่ารายละเอียดของวิทยาศาสตร์เบื้องหลังการต่อยของแมงกะพรุน

บทเรียน โดย นีโอชา เอส คาเชฟ อนิเมชัน โดย Cinematic

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:17

Thai subtitles

Revisions