Return to Video

ช่องข้อมูลคำบรรยาย: ความยาวของคำบรรยาย และความเร็วในการอ่าน

  • 0:01 - 0:06
    เรามาพูดกันถึงช่องแสดงข้อมูลแบบใหม่
    สำหรับคำบรรยายใน Amara กัน
  • 0:06 - 0:10
    และรวมถึงคุณประโยชน์ต่างๆ
    ที่จะมีต่อนักแปล และนักถอดความด้วย
  • 0:12 - 0:15
    ทุกครั้งที่คุณคลิกที่คำบรรยาย
    เพื่อเริ่มแก้ไข
  • 0:15 - 0:17
    คุณจะเห็นหน้าต่างข้อมูลนี้
  • 0:18 - 0:21
    คุณคงเริ่มสังเกตเห็นว่าในหน้าต่างนั้น
    ประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับเวลาทั่วๆไป
  • 0:21 - 0:26
    แต่ผมจะชี้ให้ชัดลงไปอีก ว่าคุณสามารถ
    นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้อะไรได้บ้าง
  • 0:26 - 0:29
    นั่นคือ ข้อมูลของจำนวน
    ตัวอักษรในคำบรรยาย
  • 0:29 - 0:32
    และเลขบอกจำนวนตัวอักขระ ต่อวินาที
  • 0:33 - 0:35
    ขั้นแรก เรามาพูดกันถึง...
  • 0:36 - 0:38
    สี่สิบสอง
  • 0:39 - 0:43
    ในภาษาที่ใช้ตัวอักษรละติน
  • 0:43 - 0:47
    ถ้าคำบรรยายของคุณยาวกว่า 42 ตัวอักษร
  • 0:47 - 0:50
    คุณต้องแบ่งมันออกเป็นสองบรรทัด
  • 0:50 - 0:53
    นี่จะทำให้คำบรรยายอ่านง่ายขึ้น
  • 0:54 - 0:59
    และป้องกันเครื่องเล่นออฟไลน์
    ไม่ให้แบ่งบรรทัดต่างจากที่ตั้งใจไว้
  • 1:00 - 1:04
    ในหน้าต่างข้อมูลนี้ คุณสามารถมองเห็น
    ความยาวทั้งหมดของคำบรรยาย
  • 1:04 - 1:08
    รวมถึงจำนวนตัวอักษรที่อยู่ใน
    แต่ละกลุ่ม ที่แบ่งเป็นสองบรรทัด
  • 1:09 - 1:14
    เมื่อไหร่ที่กล่องข้อมูลแสดงว่ามี
    จำนวนตัวอักษรมากกว่า 42
  • 1:14 - 1:17
    นั่นหมายความว่าคุณจำเป็นต้องแบ่ง
    คำบรรยายออกจากกัน
  • 1:18 - 1:21
    แต่นอกเหนือจากนั้น คุณยังต้อง
    คำนึงถึงวิธีแบ่งมันด้วย
  • 1:22 - 1:26
    ไม่ใช่ว่าจะทำให้มีบรรทัดนึง
    ยาว 42 ตัวอักษร
  • 1:26 - 1:29
    แล้วอีกบรรทัดยาวแค่ 1 ตัวอักษร
  • 1:30 - 1:36
    คุณควรแบ่งให้ทั้งสองบรรทัดมีความยาว
    ใกล้เคียงกันที่สุดเพื่อความสมดุล
  • 1:37 - 1:39
    ผมจะแสดงให้ดูตัวอย่างนึง
  • 1:40 - 1:44
    คำบรรยายนี้ยาว 51 ตัวอักษร
  • 1:45 - 1:47
    ทีนี้ คุณอาจจะแบ่งมันออกเป็น
  • 1:47 - 1:51
    บรรทัดแรกยาว 14 ตัวอักษร
    กับอีกบรรทัดยาว 36
  • 1:52 - 1:57
    แต่มันจะอ่านง่ายขึ้น หากคุณทำให้
    ทั้งสองบรรทัดมีความยาวสมดุลกัน
  • 1:57 - 2:05
    ส่วนตัวอย่างนี้ บรรทัดนึงยาว
    27 ตัวอักษร กับอีกบรรทัดยาว 23
  • 2:06 - 2:08
    เวลาที่คุณแบ่งคำบรรยายออกเป็นหลายบรรทัด
  • 2:08 - 2:12
    ควรเก็บความหมายโดยรวม
    ของประโยคไว้ด้วยกัน
  • 2:12 - 2:16
    หมายความว่าคุณไม่ควรแบ่งวลี
  • 2:16 - 2:19
    ที่มีความหมายรวมเป็นสิ่งเดียวกันออก
  • 2:20 - 2:22
    ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาอังกฤษ
  • 2:22 - 2:25
    คุณควรเก็บบทความ
    ให้อยู่กับคำนาม
  • 2:26 - 2:29
    เก็บคำคุณศัพท์ให้อยู่กับคำนาม
    ที่มันทำหน้าที่เป็นส่วนขยายอยู่
  • 2:29 - 2:33
    และเก็บคำบุพบทให้ยังคงอยู่
    กับสิ่งที่มันเชื่อมถึง
  • 2:35 - 2:40
    คุณสามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
    คำแนะนำในการแบ่งคำ ได้ใน OTPedia
  • 2:40 - 2:42
    หัวข้อ "วิธีการแบ่งบรรทัด"
  • 2:43 - 2:48
    มาถึงตอนนี้ อีกอย่างที่เราสามารถ
    เรียนรู้ได้จากกล่องข้อมูลคำบรรยาย
  • 2:49 - 2:52
    จำนวนตัวอักษรต่อวินาที
  • 2:52 - 2:54
    โดยเป็นที่รู้จักกันดีว่าคือ...
  • 2:54 - 2:55
    ความเร็วในการอ่าน
  • 2:56 - 3:00
    เพราะว่าที่สุดแล้ว เราไม่ได้สนใจแค่ว่า
    คำบรรยายนั้นยาวแค่ไหน
  • 3:01 - 3:03
    แต่รวมไปถึงระยะเวลา
    ที่มันแสดงให้เห็นในหน้าจอ
  • 3:04 - 3:06
    และเวลาเท่าไหร่
    ที่เราให้คนดูอ่าน
  • 3:08 - 3:12
    ความเร็วในการอ่านในอุดมคติ
    ของภาษาที่ใช้อักษรละติน
  • 3:13 - 3:17
    คือ 15 ถึง 21 ตัวอักษร
    ต่อวินาที
  • 3:17 - 3:21
    ว่าแต่ว่าตัวเลขพวกนี้มาจากไหน
    แล้วสำคัญอย่างไร
  • 3:22 - 3:29
    เอาล่ะ ความเร็วการอ่าน บอกคุณได้ว่า
    นานแค่ไหนที่คำบรรยายของคุณจะแสดงอยู่
  • 3:30 - 3:33
    ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมี
    คำบรรยายยาว 40 ตัวอักษร
  • 3:33 - 3:36
    ที่แสดงบนหน้าจอ 2 วินาที
  • 3:36 - 3:41
    ผู้ชมต้องอ่านคำบรรยายได้เร็ว
    20 ตัวอักษรต่อวินาที
  • 3:42 - 3:44
    ซึ่งดูไม่ยากเย็นเท่าไรนัก
  • 3:44 - 3:48
    ดังนั้น 40 ตัวอักษร
    น่าจะยังใช้ได้อยู่ ในกรณีนี้
  • 3:48 - 3:53
    แต่ถ้าเกิดคำบรรยายเดียวกัน
    มีเวลาแสดงบนหน้าจอแค่วินาทีเดียว
  • 3:54 - 3:58
    ผู้ชมต้องอ่านคำบรรยายเร็วถึง
    40 ตัวอักษรต่อวินาที
  • 3:59 - 4:02
    ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้สำหรับคนทั่วไป
  • 4:02 - 4:06
    และคุณคงจำเป็นต้องตัดทอน
    คำบรรยายให้สั้นลง
  • 4:07 - 4:11
    โชคดีที่คุณไม่ต้องคำนวณ
    ค่าทั้งหมดนี้เองในหัว
  • 4:11 - 4:14
    เพราะกล่องข้อมูลคำบรรยาย
    ที่ Amara เพิ่มมาใหม่นี้
  • 4:14 - 4:16
    สามารถช่วยคุณได้
  • 4:17 - 4:22
    ลองมาดูตัวอย่าง ว่าทำไมการจัดการ
    ความเร็วการอ่านให้สะดวกสบาย จึงมีความสำคัญ
  • 4:23 - 4:29
    คลิปสั้นๆนี้มาจาก TEDxNoviSad
    โดย ดรากานา มาจาร์โนวิค
  • 4:29 - 4:35
    ความเร็วคำบรรยายทั้งหมด
    ล้วนสูงกว่า 21 ตัวอักษรต่อวินาที
  • 4:38 - 4:40
    และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจาก
    ปีแรกๆของการทำโปรเจคของพวกเรา
  • 4:40 - 4:43
    คือการที่ฉันได้รับรางวัลที่เกี่ยวกับ
    โปรเจคสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่มากๆ
  • 4:43 - 4:45
    ที่ต้องทำการโบกปูนปลาสเตอร์คลุม
    ทั่วพื้นผิวของบันไดที่สวยงามสี่ชั้น
  • 4:46 - 4:47
    ที่ตั้งอยู่ในอาคารที่งดงาม
  • 4:47 - 4:48
    และตั้งอยู่ในเมืองเกรอน็อบที่มีชื่อเสียง
    ในประเทศฝรั่งเศส
  • 4:48 - 4:51
    สิ่งนี้ สำหรับฉันคือช่วงเวลาสี่เดือน
    ในการฝึกงาน
  • 4:51 - 4:53
    ที่โดยมากแล้วทำในฝรั่งเศส
    แต่ก็มีบางส่วนในบัลแกเรีย
  • 4:53 - 4:54
    และหลังจากได้ข้อสรุป
    ฉันได้เริ่มทำการศึกษาอีกครั้ง
  • 4:54 - 4:57
    ครั้งนี้ มันคือสถาปัตยกรรมโลก
    ของสเปน กับ โปรตุเกส
  • 4:58 - 5:01
    สุดท้าย เมื่อฉันมีโอกาสได้กลับบ้าน
    ฉันเริ่มต้นทำโปรเจคเพื่อจบการศึกษาทันที
  • 5:01 - 5:03
    ซึ่งก็เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโลก
    ของส่วนปกครองอิสระของเซอร์เบีย
  • 5:04 - 5:08
    เอาล่ะ มีใครจำเรื่องที่เกิดขึ้น
    ในบัลแกเรียได้บ้าง?
  • 5:08 - 5:10
    แล้วอาคารที่ดูงดงาม
    ตั้งอยู่ที่ไหน?
  • 5:12 - 5:15
    จากคลิปที่ได้ดู ผมได้ปรับแต่ง
    คำบรรยายภาษาอังกฤษ
  • 5:15 - 5:19
    สร้างโดย แทจจานา เจฟจิค
    พิสูจน์อักษรโดย อิวานา โครอม
  • 5:20 - 5:25
    แล้วทำให้มันแสดงนานขึ้น
    ด้วยความเร็วที่เอื้อต่อการอ่านมากขึ้น
  • 5:26 - 5:30
    นี่คือคลิปเดียวกัน
    ด้วยคำบรรยายเดียวกัน
  • 5:30 - 5:35
    พร้อมด้วยความเร็วที่สมบูรณ์แบบ
    ไม่มากกว่า 21 ตัวอักษรต่อวินาที
  • 5:36 - 5:41
    หลังจากปีแรก
    เราได้งานชิ้นใหญ่
  • 5:41 - 5:46
    โดยทำการฉาบปูนปลาสเตอร์บันไดสี่ชั้น
    ในอาคารในเมืองเกรอน็อบ
  • 5:46 - 5:49
    แล้วฉันก็ได้ฝึกงานอยู่สี่เดือน
  • 5:49 - 5:52
    ที่ฝรั่งเศสและบางส่วนในบัลแกเรีย
  • 5:52 - 5:55
    จากนั้นฉันได้ศึกษา สถาปัตยกรรมโลก
    ของสเปนและโปรตุเกส
  • 5:56 - 5:59
    จากนั้นฉันกลับบ้าน
    และเริ่มงานโปรเจคจบ
  • 5:59 - 6:02
    เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโลกของเซอร์เบีย
  • 6:03 - 6:05
    ย่อยง่ายขึ้นเยอะ ว่าไหม?
  • 6:06 - 6:08
    มีบางเรื่องเกี่ยวกับความเร็ว
    ของการอ่านคำบรรยาย
  • 6:08 - 6:11
    ก็คือนอกจากอ่านคำบรรยายแล้ว
  • 6:11 - 6:14
    ในขณะเดียวกันผู้ชมยังต้องรับรู้
    ข้อมูลส่วนอื่นร่วมด้วย
  • 6:14 - 6:17
    อย่างเช่น ภาษากาย ความสูงต่ำของเสียง
  • 6:18 - 6:21
    รวมไปถึงสไลด์ หรือภาพประกอบบนจอ
  • 6:22 - 6:25
    ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ยาก
    ที่จะตามอ่านคำบรรยาย
  • 6:26 - 6:28
    หากมันหายไปจากจอเร็วเกินไป
  • 6:28 - 6:31
    โดยเฉพาะเวลาที่ผู้ชม
    ไม่ได้เข้าใจภาษาต้นฉบับอยู่ก่อนแล้ว
  • 6:31 - 6:34
    นับเป็นเรื่องดี ที่จะช่วยพวกเขา
    ให้ได้รับรู้เข้าใจเรื่องราว
  • 6:35 - 6:37
    และต้องขอขอบคุณ
    ที่กล่องข้อมูลแบบใหม่ใน Amara
  • 6:37 - 6:43
    ช่วยให้คุณได้เห็นเวลาที่ความเร็ว
    การอ่านสูงกว่า 21 ตัวอักษรต่อวินาที
  • 6:44 - 6:47
    และมันช่วยบอก ว่าส่วนไหน
    ที่คุณสามารถช่วยให้ผู้ชมรับข้อมูลง่ายขึ้น
  • 6:48 - 6:50
    ในการปรับปรุงความเร็วการอ่าน
  • 6:51 - 6:56
    ผู้ใช้ขั้นสูงอาจจะทำการปรับแต่งเวลา
    ตรงคำบรรยาย
  • 6:57 - 7:01
    แต่โดยมากแล้วเกือบทุกกรณี
    เครื่องมือหลักของคุณก็คือ...
  • 7:03 - 7:04
    การบีบอัด
  • 7:05 - 7:10
    นั่นหมายถึง พยายามแสดง
    ความหมายเดิม ในรูปแบบที่กระชับกว่า
  • 7:11 - 7:14
    ยกตัวอย่างเช่น การแปลตามตัวอักษรเช่น
  • 7:14 - 7:20
    "ณ เวลานี้ สิ่งที่ผมกำลังจะแสดงตัวอย่าง
    ที่ยังไม่ได้แสดง ให้กับทุกท่านในที่นี้ได้ชม"
  • 7:20 - 7:22
    ซึ่งมี 70 ตัวอักษร
  • 7:22 - 7:24
    สามารถเปลี่ยนได้เป็น...
  • 7:24 - 7:26
    "ผมขอแสดงอีกตัวอย่างให้ท่านได้ชม"
  • 7:26 - 7:30
    โดยสามารถบีบให้เหลือ 37 ตัวอักษร
  • 7:30 - 7:34
    ซึ่งคงจะเปิดโอกาส
    ให้ผู้ชมสามารถอ่านได้
  • 7:34 - 7:36
    ก่อนที่มันจะหายไปจากหน้าจอ
  • 7:36 - 7:40
    การพยายามหาทางปรับลด
    คำบรรยายนั้นเป็นเรื่องสนุก
  • 7:40 - 7:43
    และอินเตอร์เฟซใหม่สามารถช่วยคุณ
  • 7:43 - 7:47
    ด้วยการแสดงให้คุณรู้ ว่าตอนไหน
    ควรทำการ การปรับลดคำ
  • 7:47 - 7:50
    หรือตอนไหนที่ไม่ต้อง
  • 7:51 - 7:53
    คุณสามารถดูเพิ่มเติม
    เกี่ยวกับการปรับลดคำบรรยาย
  • 7:53 - 7:55
    รวมถึงเทคนิคเพิ่มเติมพร้อมตัวอย่าง
  • 7:56 - 7:57
    ในคำแนะนำอีกส่วนของ OTPedia
  • 7:58 - 8:00
    ที่ชื่อว่า "วิธีปรับลดคำบรรยาย"
  • 8:01 - 8:04
    ผมอยากชวนให้คุณได้
    ลองใช้อินเตอร์เฟซใหม่
  • 8:04 - 8:07
    และเครื่องมือใหม่ๆที่มันมีให้
  • 8:07 - 8:11
    และตอนนี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุข
    ในการแปลและถอดความ
Title:
ช่องข้อมูลคำบรรยาย: ความยาวของคำบรรยาย และความเร็วในการอ่าน
Description:

วิดีโอสอนนี้ อธิบายถึงการใช้ช่องข้อมูลคำบรรายใน Amara เพื่อนำข้อมูลความยาวของคำบรรยาย และความเร็วในการอ่าน มาใช้ประโยชน์ ลิงค์ที่ใช้ในวิดีโอนี้คือ: http://translations.ted.org/wiki/How_to_break_lines และ http://translations.ted.org/wiki/How_to_Compress_Subtitles

วิดีโอนี้สร้างขึ้นเพื่ออาสาสมัครที่ทำงานเพื่อ TED Open Translation Project เพื่อแบ่งปัน TEDTalk ให้กับผู้ชมที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ โดยการสร้างคำบรรยาย ถอดความ และให้โอกาสงานบรรยายทุกชิ้น ได้รับการแปลโดยอาสาสมัครทั่วโลก เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.ted.com/pages/287

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED Translator Resources
Duration:
08:13
  • แปลดีทีเดียวเลยครับ ผมเปลี่ยนคำเฉพาะอย่าง Amara, OTPedia เป็นภาษาอังกฤษ และตัด comma ซึ่งไม่ค่อยใช้ในภาษาไทยออกครับ ผมแปล Title และ Description เพิ่มให้ เนื่องจากของเดิมไม่ได้แปลไว้ครับ

    ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณมากครับ

Thai subtitles

Revisions Compare revisions