Return to Video

Inner Worlds, Outer Worlds - Part 1 - Akasha

  • 0:01 - 0:03
    เพื่อจะเห็นโลกผ่านเม็ดทราย
  • 0:03 - 0:05
    เห็นสรวงสวรรค์ผ่านมวลดอกไม้
  • 0:05 - 0:07
    เก็บความนิรันดร์ไว้ในอุ้งมือ
  • 0:07 - 0:11
    และเวลาชั่วกัลป์ไว้ในหนึ่งช่วงเข็มนาฬิกา
  • 0:11 - 0:14
    วิลเลียม เบลค
  • 0:19 - 0:22
    เริ่มแรกนั้นเป็นเพียงถ้อยวาจา
  • 0:22 - 0:26
    บิ๊กแบงและเสียงโอมอันเป็นต้นกำเนิด
  • 0:26 - 0:29
    ทฤษฎีบิ๊กแบงกล่าวว่าจักรวาลแห่งกายภาพนี้
  • 0:29 - 0:30
    เริ่มจากเกลียวความร้อนและความหนาแน่น
  • 0:30 - 0:32
    จำนวนมหาศาล
  • 0:32 - 0:35
    ของจุดเล็กๆ ที่เรียกว่าภาวะเอกฐาน
  • 0:35 - 0:39
    ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุดพันล้านเท่า
  • 0:39 - 0:42
    มันไม่ได้บอกว่าทำไม หรืออย่างไร
  • 0:43 - 0:46
    แต่กับเรื่องที่มันลึกลับยากจะเข้าใจ
  • 0:46 - 0:49
    เรากลับยิ่งคิดว่าเราเข้าใจมันแจ่มแจ้งแล้ว
  • 1:00 - 1:03
    เราเคย มีความเข้าใจเกี่ยวกับแรงดึงดูดว่า
  • 1:03 - 1:07
    แรงนั้นอาจจะลดลง หรือเอกภพจะหดตัวไปในที่สุด
  • 1:09 - 1:13
    แต่หลักฐานจากกล้องโทรทรรศน์ของฮับเบิ้ล
  • 1:13 - 1:15
    แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของเอกภพนั้น
  • 1:15 - 1:18
    เป็นไปในอัตราเร่ง
  • 1:18 - 1:23
    ขยายตัวออกจากจุดเริ่มต้นนั้นเร็วขึ้นทุกทีๆ
  • 1:25 - 1:27
    อย่างไรก็ตาม ในเอกภพมีมวลอนุภาค
  • 1:27 - 1:31
    มากกว่าที่นักฟิสิกส์คาดการณ์ไว้
  • 1:31 - 1:37
    ตอนนี้พวกเขาพบว่ามีอนุภาคอะตอมในเอกภพอยู่ 4%
  • 1:38 - 1:41
    ซึ่งนับได้ว่าเป็นอนุภาคทั่วๆ ไป
  • 1:45 - 1:48
    23% เป็นส่วนของสสารมืด
  • 1:48 - 1:50
    ส่วนอีก 73% นั้น เป็นพลังงานมืด
  • 1:51 - 1:53
    ที่เคยเข้าใจกันว่าเป็นเพียงพื้นที่ว่าง
  • 1:56 - 1:58
    คล้ายๆ กับระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็น
  • 1:58 - 2:02
    ที่โยงใยทั่วทั้งเอกภพเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 2:08 - 2:11
    ในคัมภีร์พระเวทได้กล่าวไว้ถึงนาทพรหม (นาท คือ เสียง)
  • 2:11 - 2:13
    เอกภพคือการสั่นสะเทือน
  • 2:14 - 2:16
    สนามพลังแห่งการสั่นสะเทือนนี้คือบ่อเกิดของ
  • 2:16 - 2:18
    ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณทั้งหมดทั้งมวล
  • 2:18 - 2:20
    และการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์
  • 2:23 - 2:26
    สนามพลังเดียวกันนี้เองที่เหล่านักบุญ, พระพุทธเจ้า
  • 2:26 - 2:31
    โยคี, ผู้วิเศษ, พระ, คนทรง และโหร
  • 2:31 - 2:34
    ได้ศึกษาโดยการมองย้อนเข้าไปในตัวเอง
  • 2:37 - 2:41
    สนามพลังนี้ถูกเรียกในชื่อต่างๆ Akasha, โอม
  • 2:43 - 2:47
    ร่างแหแห่งพระอินทร์, บทเพลงแห่งสกลจักรวาล
  • 2:48 - 2:52
    และอีกนับพันชื่อเรียก ต่างกันไปตลอดช่วงประวัติศาสตร์
  • 3:01 - 3:03
    สนามนี้เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาทุกศาสนา
  • 3:08 - 3:12
    และเป็นสะพานเชื่อมโยง
  • 3:12 - 3:15
    ระหว่างโลกภายนอกและโลกภายใน
  • 3:15 - 3:18
    โลกภายใน โลกภายนอก
  • 3:27 - 3:31
    ตอนที่หนึ่ง - Akasha (ที่ว่าง)
  • 3:34 - 3:36
    คติมหายาน ในศตวรรษที่สาม
  • 3:37 - 3:41
    อธิบายจักรวาลไว้ไม่แตกต่างจากหลักฟิสิกส์สมัยใหม่
  • 3:43 - 3:45
    ร่างแหแห่งพระอินทร์นั้นคือคำเปรียบเปรยที่ใช้อธิบาย
  • 3:45 - 3:48
    คำสอนในคัมภีร์พระเวทอันเก่าแก่
  • 3:48 - 3:50
    ซึ่งทำให้เห็นภาพของจักรวาล
  • 3:50 - 3:52
    ที่ถักทอเข้าด้วยกันเหมือนผ้าผืนเดียว
  • 3:53 - 3:55
    พระอินทร์ ผู้เป็นกษัตริย์แห่งเหล่าเทพ
  • 3:55 - 3:56
    ได้ให้กำนิดแก่พระอาทิตย์
  • 3:59 - 4:01
    และเป็นผู้ขับเคลื่อนลมและน้ำ
  • 4:04 - 4:06
    ลองนึกภาพใยแมงมุม
  • 4:06 - 4:08
    ที่แผ่ขยายออกไปทุกทิศทุกทาง
  • 4:09 - 4:12
    โดยทุกๆ เส้นใยเหล่านั้นเกิดจากหยดน้ำค้าง
  • 4:12 - 4:15
    และบนน้ำค้างแต่ละหยด มีภาพสะท้อน
  • 4:15 - 4:18
    ของน้ำค้างหยดอื่นๆ อยู่ และบนแต่ละภาพสะท้อนนั้น
  • 4:19 - 4:23
    ก็มีภาพสะท้อนบนน้ำค้างหยดอื่นๆ อยู่
  • 4:23 - 4:26
    ภาพของทั้งใยแมงมุมนี้ และภาพสะท้อนของมันอีกที
  • 4:26 - 4:28
    ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
  • 4:29 - 4:32
    ร่างแหแห่งพระอินทร์นี้เป็นเหมือนภาพสามมิติของเอกภพ
  • 4:33 - 4:35
    ซึ่งแม้กระทั่งลำแสงที่เล็กที่สุด
  • 4:35 - 4:38
    ก็ยังสามารถบรรจุข้อมูลของเอกภพไว้ได้อย่างสมบูรณ์
  • 4:43 - 4:46
    นักวิทยาศาสตร์อเมริกันเชื้อสายเซอร์เบีย นิโคลา เทสลา
  • 4:46 - 4:50
    ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้สรรค์สร้างศตวรรษที่ 20
  • 4:51 - 4:54
    เทสลาเป็นผู้ค้นพบไฟฟ้ากระแสสลับ
  • 4:55 - 4:57
    และเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อีกมากมาย
  • 4:57 - 4:59
    ที่เราใช้กันทุกวันนี้
  • 4:59 - 5:02
    ด้วยความที่เทสลาสนใจในคัมภีร์พระเวท
  • 5:02 - 5:05
    เขาจึงเข้าหาหลักวิทยาศาสตร์ อย่างไม่เหมือนใคร
  • 5:05 - 5:08
    เข้าหาด้วยวิถีแห่งตะวันออกและตะวันตก
  • 5:10 - 5:13
    เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ทียิ่งใหญ่อื่นๆ
  • 5:13 - 5:15
    เทสลามองลึกเข้าไปในความลึกลับแห่งโลกภายนอก
  • 5:16 - 5:18
    และยังสืบค้นลึกเข้าไปในตัวเองด้วย
  • 5:20 - 5:22
    เช่นเดียวกับเหล่าโยคีในอดีต
  • 5:22 - 5:24
    เทสลาใช้คำว่า Akasha เพื่ออธิบาย
  • 5:24 - 5:27
    ความว่างเปล่าที่แผ่เข้าไปแทรกซึมอยู่ในทุกสรรพสิ่ง
  • 5:32 - 5:35
    เทสลารำ่เรียนมาจากสวามีวิเวกะนันทะ
  • 5:35 - 5:38
    โยคีผู้นำหลักคำสอนอันเก่าแก่จากอินเดียไปสู่ตะวันตก
  • 5:39 - 5:42
    ในคัมภีร์พระเวท Akasha คือ ที่ว่าง
  • 5:43 - 5:45
    ที่ว่างสำหรับให้สิ่งต่างๆ เติมเต็มเข้ามา
  • 5:45 - 5:47
    ซึ่งดำรงควบคู่ไปกับพลังของการสั่นสะเทือน
  • 5:49 - 5:52
    ทั้งสองสิ่งนี้ไม่อาจแยกออกจากกันได้
  • 5:52 - 5:55
    ที่ว่างคือหยิน พลังนั้นคือหยาง
  • 6:05 - 6:09
    แนวคิดยุคใหม่ที่ช่วยให้เราเข้าใจ Akasha
  • 6:09 - 6:13
    หรือสสารเริ่มแรกนั้น คือแนวคิดเรื่อง แฟรกทัล
  • 6:16 - 6:20
    ในทศวรรษ 80 คอมพิวเตอร์พัฒนาอย่างมาก
  • 6:20 - 6:24
    ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจแบบแผนแห่งธรรมชาติ
  • 6:24 - 6:26
    ผ่านหลักคณิตศาสตร์
  • 6:27 - 6:29
    คำว่าแฟรกทัลนั้น ถูกกำหนดขึ้นในปี 1980
  • 6:29 - 6:31
    โดยนักคณิตศาสตร์ เบนัว เมนเดลโบร
  • 6:31 - 6:34
    ซึ่งได้ศึกษาสมการคณิตศาสตร์ง่ายๆ
  • 6:34 - 6:36
    ซึ่งเมื่อมีการทำซ้ำ
  • 6:36 - 6:38
    จะสร้างชุดผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์
  • 6:38 - 6:40
    หรือเรขาคณิตที่แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • 6:40 - 6:42
    หากอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
  • 6:43 - 6:46
    มันถูกจำกัด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีที่สิ้นสุด
  • 6:50 - 6:52
    แฟรกทัลคือรูปทรงเรขาคณิตคร่าวๆ
  • 6:52 - 6:53
    ที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนๆ
  • 6:54 - 6:58
    โดยแต่ละส่วนนั้นจะทำซ้ำรูปทรงเดิมในขนาดที่เล็กลง
  • 6:59 - 7:03
    ซึ่งคุณสมบัตินี้เรียกว่า ความคล้ายตนเอง
  • 7:05 - 7:07
    แฟรกทัลตามแนวคิดของเมนเดลโบรนี้
  • 7:07 - 7:09
    ถูกเรียกว่า พิมพ์นิ้วมือของพระเจ้า
  • 7:23 - 7:24
    สิ่งที่ปรากฏอยู่นี้คืองานศิลปะ
  • 7:24 - 7:26
    ที่ถูกสร้างสรรค์โดยธรรมชาติ
  • 7:27 - 7:30
    ถ้าวางรูปทรงของเมนเดลโบรนี้ให้อยู่ในมุมที่เหมาะสม
  • 7:30 - 7:34
    ก็จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับเทพเจ้าฮินดู หรือพระพุทธเจ้า
  • 7:34 - 7:37
    และภาพนี้มีชื่อเรียกว่าพุทธพรต (Buddhabrot)
  • 7:57 - 8:01
    หากพิจารณารูปแบบศิลปะหรือสถาปัตยกรรมโบราณ
  • 8:01 - 8:04
    ก็จะเห็นว่ามนุษยชาติได้เข้าถึงความงาม
  • 8:04 - 8:08
    และความศักดิ์สิทธิ์แห่งรูปแบบแฟรกทัลนี้มานานแล้ว
  • 8:18 - 8:20
    รูปแบบนี้ซับซ้อนที่ไม่มีที่สิ้นสุด
  • 8:20 - 8:22
    แต่กระนั้นในทุกๆ ส่วนก็คือเมล็ดพันธุ์
  • 8:22 - 8:24
    ที่สามารถให้กำเนิดสิ่งทั้งหมดขึ้นใหม่ได้
  • 8:24 - 8:27
    แนวคิดแฟรกทัลได้เปลี่ยนแนวคิดของนักคณิตศาสตร์
  • 8:27 - 8:30
    ที่มีต่อจักรวาล และการขับเคลื่อนไปของจักรวาล
  • 8:30 - 8:32
    ในการแผ่ขยายออกในทุกๆ ระดับ
  • 8:32 - 8:35
    มีความแตกต่างไปจากต้นกำเนิดเดิม
  • 8:36 - 8:38
    การเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเกิดขึ้นให้เห็นอยู่ตลอด
  • 8:38 - 8:42
    เมื่อพิจารณาข้ามจากแฟรกทัลระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่ง
  • 8:42 - 8:46
    การแปรสภาพนี้คือเกลียวหมุนแห่งจักรวาล
  • 8:46 - 8:50
    เป็นความชาญฉลาดที่ฝังลึกอยู่ในช่องว่างแห่งเวลา
  • 9:14 - 9:17
    ธรรมชาติของแฟรกทัลนั้นมีสภาวะยุ่งเหยิง
  • 9:17 - 9:20
    เต็มไปด้วยสรรพเสียงและแบบแผนมากมาย
  • 9:20 - 9:22
    เมื่อจิตของเราเข้าใจแบบแผนใดแบบแผนหนึ่ง
  • 9:22 - 9:24
    เราก็จะจดจ่อกับแบบแผนนั้น
  • 9:24 - 9:26
    ราวกับว่ามันเป็นสิ่งของสักชิ้น
  • 9:27 - 9:30
    เราพยายามค้นหาแบบแผนที่เราเห็นว่าสวยงาม
  • 9:30 - 9:33
    แต่ความพยายามที่จะรักษาแบบแผนนั้นไว้ให้ได้นั้น
  • 9:33 - 9:35
    เราต้องขจัดแฟรกทัลอื่นๆ ออกไปจนหมดสิ้น
  • 9:53 - 9:56
    การทำความเข้าใจแฟรกทัลหนึ่งใดด้วยผัสสะ
  • 9:56 - 9:59
    กลับเป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของมัน
  • 10:01 - 10:03
    พลังงานทุกสิ่งอย่างในเอกภาพล้วนเป็นกลาง
  • 10:03 - 10:06
    ไร้เวลา ไร้ทิศทาง
  • 10:10 - 10:11
    ความคิดสร้างสรรค์
  • 10:11 - 10:13
    และความสามารถในการเข้าถึงแบบแผน
  • 10:13 - 10:17
    คือ สะพานเชื่อมระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก
  • 10:18 - 10:22
    โลกไร้กาลเวลาแห่งคลื่น กับโลกที่จับต้องได้แห่งสรรพสิ่ง
  • 10:26 - 10:29
    การสังเกตคือการสร้างสรรค์ผ่านข้อจำกัดต่างๆ
  • 10:29 - 10:31
    อันเป็นธรรมชาติของความคิด
  • 10:32 - 10:35
    เราสร้างมายาภาพแห่งโลกที่จับต้องได้ขึ้นมา
  • 10:35 - 10:37
    ด้วยการสร้างชื่อเรียกให้สิ่งต่างๆ
  • 10:38 - 10:40
    นักปรัชญานาม เคียร์เคการ์ด กล่าวไว้ว่า
  • 10:40 - 10:43
    หากเธอสร้างชื่อเรียกให้ฉัน เท่ากับเธอปฏิเสธตัวฉัน
  • 10:43 - 10:45
    การสร้างชื่อเรียกฉัน การติดฉลากให้ฉัน
  • 10:45 - 10:50
    เท่ากับเธอได้ปฏิเสธศักยภาพอื่นๆ ที่ฉันอาจมีอยู่ไปแล้ว
  • 10:50 - 10:52
    เธอกักขังอนุภาคนี้ให้เป็นเพียงสิ่งหนึ่งๆ
  • 10:52 - 10:55
    ด้วยการปักหมุดลงไป สร้างชื่อเรียก
  • 10:55 - 10:58
    หากในขณะเดียวกัน คุณก็มีส่วนสร้างมันขึ้นมาด้วย
  • 10:58 - 11:00
    และกำหนดการดำรงอยู่ให้มัน
  • 11:03 - 11:06
    การสรรค์สร้าง คือ คุณสมบัติสูงสุดของมนุษย์
  • 11:06 - 11:10
    เมื่อสิ่งต่างๆ ถูกสร้างขึ้น เวลาก็ถูกสร้างขึ้นตามมา
  • 11:10 - 11:14
    และเวลาก็สร้างมายาคติของโลกที่จับต้องได้ขึ้นมาอีกที
  • 11:21 - 11:23
    ไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่มองเห็นทะลุ
  • 11:23 - 11:26
    ว่าพื้นที่ว่างที่เรามองว่าไม่มีอะไรนั้น แท้จริงแล้ว
  • 11:26 - 11:28
    มันไม่ได้ว่างเปล่า มันมีคุณสมบัติของมันอยู่
  • 11:29 - 11:30
    และในธรรมชาติของพื้นที่ว่างนั้น
  • 11:30 - 11:33
    คือพลังปริมาณมหาศาลจนยากจะหยั่งถึง
  • 11:35 - 11:38
    นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียง ริชาร์ด ไฟน์แมน เคยกล่าวไว้ว่า
  • 11:39 - 11:42
    พลังงานในพื้นที่ว่างปริมาตรเพียง 1 ลูกบาศก์เมตร
  • 11:42 - 11:45
    ก็เพียงพอแล้วที่จะต้มน้ำในมหาสมุทรทั่วทั้งโลกให้เดือด
  • 11:48 - 11:51
    ผู้ที่ฝึกสมาธิจนเชี่ยวชาญจะรู้ว่า
  • 11:51 - 11:53
    ในความนิ่งนั้นมีพลังมหาศาลอยู่
  • 11:56 - 11:59
    พระพุทธเจ้าเรียกสสารตั้งต้นนี้ในอีกชื่อหนึ่ง
  • 11:59 - 12:01
    คือ กัลป์
  • 12:02 - 12:05
    ซึ่งเป็นเหมือนกับอนุภาคชิ้นเล็กๆ หรือคลื่น
  • 12:05 - 12:09
    ที่เกิดแล้วจางหายไป นับหลายล้านล้านครั้งต่อวินาที
  • 12:16 - 12:19
    เมื่อพิจารณาในแง่นี้ ความเป็นจริงนั้น ก็เป็นเหมือน
  • 12:19 - 12:22
    ชุดภาพถ่ายสามมิติหลายๆ ภาพ
  • 12:22 - 12:24
    ที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว
  • 12:24 - 12:27
    และสร้างมายาคติว่าสิ่งต่างๆ นั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 12:27 - 12:32
    เมื่อจิตนั้นนิ่งสงบ ก็จะเห็นว่ามันคือมายาภาพ
  • 12:32 - 12:36
    เพราะว่าก็คือจิตนั่นเองที่สร้างมายาภาพขึ้น
  • 13:18 - 13:20
    ในทัศนะของโลกตะวันออกแต่โบราณ
  • 13:20 - 13:23
    ความเข้าใจมีมานานนับพันปีแล้ว
  • 13:23 - 13:25
    ว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องของการสั่นสะเทือน
  • 13:27 - 13:29
    นาทพรหม
  • 13:29 - 13:31
    จักรวาลคือสรรพเสียง
  • 13:32 - 13:35
    นาท หมายถึงเสียง หรือการสั่นสะเทือน
  • 13:35 - 13:38
    และพรหม คือนามของเทพเจ้า
  • 13:39 - 13:43
    พรหม เป็นทั้งจักรวาล และเป็นทั้งผู้สร้างในเวลาเดียวกัน
  • 13:44 - 13:47
    ศิลปินและงานศิลปะ ไม่อาจแยกออกจากกันได้
  • 13:49 - 13:50
    ในคัมภีร์อุปนิษัท
  • 13:50 - 13:54
    หนึ่งในที่บันทึกเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์จากอินเดียโบราณ
  • 13:54 - 13:58
    กล่าวไว้ว่า "พรหมผู้เป็นผู้สร้าง ประทับนั่งบนดอกบัว
  • 13:59 - 14:03
    เมื่อพระพรหมเบิกพระเนตรขึ้น โลกก็พลันมีชีวิต
  • 14:06 - 14:10
    เมื่อพระพรหมหลับพระเนตรลง โลกก็กลับไร้ชีวิตอีกครา
  • 14:14 - 14:16
    บรรดาผู้วิเศษ โยคีและหมอดูในยุคโบราณ
  • 14:16 - 14:18
    ต่างยืนยันว่ามีสนามพลังงานอยู่จริง
  • 14:18 - 14:20
    ในระดับรากฐานของจิตสำนึก
  • 14:21 - 14:24
    สนามแห่งที่ว่าง หรือบันทึกแห่งที่ว่างนี้
  • 14:24 - 14:26
    เต็มไปด้วยข้อมูลของทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 14:26 - 14:29
    ประสบการณ์ทั้งหมดทั้งมวลทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต
  • 14:29 - 14:31
    ดำรงอยู่ ณ สนามแห่งนี้ ในทุกขณะ
  • 14:32 - 14:35
    สนามพลัง หรือแหล่งกำเนิด (matrix) นี้เอง
  • 14:35 - 14:37
    ที่เป็นแหล่งกำเนิดของทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง
  • 14:37 - 14:40
    จากอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ไปจนถึงแกแล็กซี่
  • 14:40 - 14:43
    ดวงดาว ดาวเคราะห์ และชีวิตทั้งหมดทั้งมวล
  • 14:51 - 14:54
    คุณไม่อาจมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งต่างๆ ได้
  • 14:54 - 14:56
    เพราะมันคือระดับชั้นของการสั่นสะเทือน
  • 14:56 - 14:58
    ที่สะสม ต่อยอดขึ้นมาชั้นแล้วชั้นเล่า
  • 14:58 - 15:00
    อีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • 15:00 - 15:03
    แลกเปลี่ยนข้อมูลกับ Akasha นี้อยู่ตลอด
  • 15:05 - 15:08
    ต้นไม้ดื่มกินแสงอาทิตย์
  • 15:10 - 15:12
    อากาศ สายฝน และผืนดิน
  • 15:17 - 15:18
    โลกแห่งพลังงานเคลื่อนที่
  • 15:18 - 15:22
    ผ่านเข้าและผ่านออกจากสิ่งที่เราเรียกมันว่าต้นไม้นี้
  • 15:22 - 15:24
    เมื่อจิตซึ่งครุ่นคิดหยุดนิ่งลง
  • 15:24 - 15:27
    คุณก็จะเห็นความจริงที่แท้
  • 15:27 - 15:29
    จากทุกๆ แง่มุม
  • 15:31 - 15:33
    ต้นไม้ ท้องฟ้า ผืนดิน
  • 15:33 - 15:36
    สายฝน และดวงดาว ไม่อาจแยกออกจากกัน
  • 15:36 - 15:39
    ชีวิตและความตาย ตัวเราและคนอื่นๆ
  • 15:39 - 15:41
    ก็ไม่อาจแยกออกจากกันได้
  • 15:42 - 15:46
    เช่นเดียวกับภูเขาและหุบเขาที่ไม่อาจแยกออกจากกัน
  • 15:46 - 15:49
    ชนพื้นเมืองอเมริกัน และชนเผ่าดั้งเดิมต่างๆ
  • 15:49 - 15:52
    มีคติความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีจิตวิญญาณ
  • 15:52 - 15:55
    ซึ่งก็หมายความเช่นเดียวกับการกล่าวว่า
  • 15:55 - 15:59
    ทุกสิ่งนั้นเชื่อมโยงกับต้นกำเนิดของการสั่นสะเทือนนี้
  • 15:59 - 16:02
    มีจิตสำนึกเพียงหนึ่งเดียว เพียงหนึ่งสนาม
  • 16:02 - 16:05
    หนึ่งพลังงานที่เคลื่อนผ่านทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 16:05 - 16:08
    สนามพลังงานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นรอบๆ ตัวคุณ
  • 16:08 - 16:10
    แต่เกิด "ผ่าน" ตัวคุณ
  • 16:10 - 16:13
    และเกิดขึ้น "ในฐานะ" ที่เป็นตัวคุณ
  • 16:15 - 16:19
    คุณ คือตัวอักษร U ของ คำว่า "จักรวาล" (Universe)
  • 16:19 - 16:23
    คุณคือดวงตาที่มองดูการสรรค์สร้างเหล่านี้เอง
  • 16:25 - 16:27
    เมื่อคุณตื่นขึ้นจากความฝันคุณก็จะพบว่า
  • 16:27 - 16:30
    ทุกสิ่งในฝันนั้นคือตัวคุณเอง
  • 16:30 - 16:32
    คุณสร้างมันขึ้นมา
  • 16:33 - 16:35
    สิ่งที่เราเรียกกันว่าชีวิตจริงนั้น ก็ไม่ต่างกัน
  • 16:35 - 16:39
    ทุกๆ คน ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็คือตัวคุณนั่นเอง
  • 16:39 - 16:43
    จิตสำนึกหนึ่งเดียวนั้น มองผ่านออกมาจากดวงตาทุกๆ คู่
  • 16:46 - 16:49
    ภายใต้หินทุกก้อน
  • 16:54 - 16:56
    ภายในอนุภาคแต่ละชิ้น
  • 17:07 - 17:09
    นักวิจัยระดับนานาชาติที่ CERN
  • 17:10 - 17:12
    ห้องปฏิบัติการด้านฟิสิกส์อนุภาคในยุโรป
  • 17:12 - 17:14
    กำลังสืบค้นหาสนามพลังดังกล่าว
  • 17:14 - 17:16
    ที่แผ่ขยายอยู่ในทุกสรรพสิ่ง
  • 17:16 - 17:19
    แต่แทนที่พวกเขาจะมองเข้าไปยังโลกภายใน
  • 17:19 - 17:22
    พวกเขากลับมองออกมาในโลกกายภาพภายนอก
  • 17:23 - 17:26
    นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการของ CERN
  • 17:26 - 17:28
    ในกรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศว่า
  • 17:28 - 17:32
    พวกเขาได้พบอนุภาคฮิกส์ หรืออนุภาคพระเจ้า
  • 17:32 - 17:34
    การทดลองเกี่ยวกับอนุภาคฮิกส์นี้
  • 17:34 - 17:36
    เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า
  • 17:36 - 17:40
    มีพลังงานที่มองไม่เห็นอยู่ในสนามแห่งสุญญากาศนั้นจริง
  • 17:41 - 17:44
    เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ที่ CERN ประกอบไปด้วย
  • 17:44 - 17:47
    วงแหวนที่มีเส้นรอบวงยาว 17 ไมล์
  • 17:47 - 17:51
    มีลำของอนุภาคที่วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน
  • 17:51 - 17:54
    บรรจบและปะทะกันด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง
  • 17:55 - 17:57
    นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการณ์ผลที่ได้
  • 17:57 - 17:59
    จากการปะทะอย่างรุนแรงนี้
  • 18:02 - 18:05
    แบบจำลองมาตรฐานไม่สามารถอธิบายได้ว่า
  • 18:05 - 18:07
    อนุภาคเหล่านั้นมีมวลเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 18:07 - 18:10
    ทุกๆ สิ่งดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือน
  • 18:10 - 18:13
    แต่ก็กลับไม่มี "สิ่ง" ซึ่งสั่นสะเทือนนั้น
  • 18:16 - 18:19
    ดูราวกับว่ามันมีนักเต้นล่องหนอยู่
  • 18:19 - 18:20
    เป็นร่างเงา
  • 18:20 - 18:23
    ร่ายรำอย่างหลบซ่อนอยู่ ในระบำของจักรวาล
  • 18:24 - 18:26
    นักเต้นคนอื่นๆ ร่ายรำอย่างไม่หยุดหย่อน
  • 18:26 - 18:28
    อยู่รอบๆ นักเต้นที่ซ่อนตัวอยู่นี้
  • 18:29 - 18:32
    เราเฝ้าดูระบำนี้ แต่กระนั้น
  • 18:32 - 18:36
    จนบัดนี้เราก็ยังหานักเต้นผู้นี้ไม่พบ
  • 18:41 - 18:44
    สิ่งที่ถูกขนานนามว่า อนุภาคพระเจ้า นี้
  • 18:44 - 18:48
    เป็นคุณสมบัติของสสารอันเป็นรากฐานแห่งจักรวาล
  • 18:48 - 18:49
    เป็นหัวใจสำคัญที่จะเป็นตัวไขปริศนา
  • 18:49 - 18:51
    มวลและพลังงานที่อธิบายไม่ได้
  • 18:51 - 18:55
    ที่ขับเคลื่อนการแผ่ขยายของจักรวาล
  • 18:56 - 18:59
    กระนั้น ก็ยังไม่สามารถอธิบายธรรมชาติแห่งจักรวาลได้
  • 18:59 - 19:02
    การค้นพบอนุภาคฮิกส์นั้น ทำได้เพียงแสดงให้เห็นถึง
  • 19:02 - 19:05
    ปริศนาที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าเดิม เผยให้เห็นว่า
  • 19:05 - 19:09
    จักรวาลยังมีสิ่งลึกลับมากไปกว่าที่เราจินตนาการไว้
  • 19:11 - 19:13
    วิทยาศาสตร์ได้พุ่งเป้าไปที่เส้นแบ่ง
  • 19:13 - 19:15
    ระหว่างจิตสำนึก และสรรพสิ่ง
  • 19:15 - 19:18
    ดวงตาที่เราใช้มองไปยังสนามพลังต้นกำเนิดนั้น
  • 19:18 - 19:21
    กับดวงตาที่สนามพลังนั้นมองกลับมายังเรา
  • 19:21 - 19:24
    คือดวงตาหนึ่งเดียวกัน
  • 19:35 - 19:38
    นักเขียนชาวเยอรมัน วูล์ฟกัง วอน เกอเธ่ กล่าวไว้ว่า
  • 19:39 - 19:41
    "คลื่นนั้นคือปรากฏการณ์เริ่มแรก
  • 19:41 - 19:44
    ซึ่งให้กำเนิดโลกใบนี้"
  • 19:47 - 19:48
    การถอดรหัสของเสียง (Cymatics)
  • 19:48 - 19:51
    คือการศึกษารูปแบบของเสียงที่มองเห็นได้
  • 19:54 - 19:57
    คำว่า cymatic นี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก
  • 19:57 - 20:00
    คือ cyma ซึ่งแปลว่า คลื่น หรือการสั่นสะเทือน
  • 20:09 - 20:12
    หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกผู้ศึกษา
  • 20:12 - 20:14
    ปรากฏการณ์คลื่นอย่างจริงจัง คือ เอิร์นส์ แคลดนี
  • 20:14 - 20:16
    นักดนตรีและนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
  • 20:16 - 20:18
    มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 18
  • 20:19 - 20:21
    แคลดนีค้นพบว่าเมื่อเขาโปรยทรายลงบนจานโลหะ
  • 20:22 - 20:26
    และใช้คันชักของไวโอลินทำให้จานนั้นสั่นสะเทือน
  • 20:26 - 20:29
    ทรายนั้นจะเรียงตัวเป็นลวดลายต่างๆ
  • 20:29 - 20:32
    ปรากฏให้เห็นเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ กันไป
  • 20:32 - 20:34
    ตามแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น
  • 20:38 - 20:42
    แคลดนีบันทึกรูปเหล่านี้เอาไว้ทั้งหมด
  • 20:42 - 20:44
    รูปชุดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า
  • 20:44 - 20:45
    ภาพของแคลดนี
  • 20:45 - 20:47
    ลวดลายเหล่านี้ หลายๆ ลวดลาย
  • 20:47 - 20:51
    พบเห็นได้ตามธรรมชาติ เช่นลายบนเต่าบก
  • 20:54 - 20:57
    หรือลายจุดบนเสือดาว
  • 21:04 - 21:07
    ศาสตร์แห่งภาพของแคลดนี หรือ ภาพรหัสเสียงนี้
  • 21:07 - 21:10
    เป็นวิธีการลับๆ ที่เหล่านักกีต้าร์และนักไวโอลินชั้นครู
  • 21:10 - 21:13
    และเหล่าช่างทำเครื่องดนตรีทั้งหลายใช้บ่งชี้
  • 21:13 - 21:17
    ระดับคุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีที่เขาทำขึ้นมา
  • 21:22 - 21:26
    ฮานส์ เจนนี ต่อยอดงานของแคลดนีในช่วงยุค 60
  • 21:28 - 21:30
    เขาใช้ของเหลวชนิดต่างๆ
  • 21:30 - 21:33
    และใช้กระแสไฟฟ้าในการสร้างความถี่เสียง
  • 21:33 - 21:37
    และกำหนดคำว่า การถอดรหัสเสียง (cymatics) ขึ้นมาใช้
  • 21:38 - 21:41
    หากคุณส่งรหัสคลื่นแบบไซน์ผ่านลงไปในจานที่มีน้ำอยู่
  • 21:41 - 21:43
    คุณก็จะเห็นลวดลายของคลื่นนั้นในน้ำ
  • 21:43 - 21:46
    ลักษณะของคลื่นจะต่างกันไป
  • 21:46 - 21:48
    ขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่น
  • 21:48 - 21:52
    ยิ่งความถี่สูง ลวดลายของคลื่นก็ยิ่งซับซ้อน
  • 21:52 - 21:56
    ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ไม่ใช่ลักษณะสุ่ม
  • 21:56 - 21:59
    ยิ่งคุณเฝ้าดู คุณก็จะเริ่มเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า
  • 21:59 - 22:02
    การสั่นสะเทือนนั้น สร้างสิ่งซึ่งซับซ้อนขึ้นมาจาก
  • 22:02 - 22:05
    การเกิดขึ้นซ้ำๆ ของคลื่นธรรมดาๆ ได้อย่างไร
  • 22:05 - 22:09
    คลื่นในน้ำที่เห็นนี้ คล้ายคลึงกับรูปดอกทานตะวัน
  • 22:30 - 22:32
    แค่เพียงเปลี่ยนความถี่คลื่นเสียงเท่านั้น
  • 22:32 - 22:35
    เราก็จะได้ลวดลายที่ต่างไป
  • 22:52 - 22:55
    น้ำเป็นสสารที่น่าพิศวงมาก
  • 22:55 - 22:58
    มันไวต่อสิ่งกระตุ้นเป็นอย่างมาก
  • 22:58 - 22:58
    นั่นหมายความว่า
  • 22:58 - 23:01
    มันสามารถรับรหัส และรักษาการสั่นสะเทือนไว้ได้
  • 23:01 - 23:04
    เพราะน้ำสามารถสั่นพ้องได้ดี และมีความอ่อนไหวมาก
  • 23:04 - 23:07
    และมีความพร้อมโดยธรรมชาติที่จะรับการสั่นพ้อง
  • 23:07 - 23:09
    น้ำจึงสามารถที่จะมีปฏิกิริยา
  • 23:09 - 23:11
    ต่อคลื่นเสียงทุกรูปแบบได้อย่างทันทีทันใด
  • 23:12 - 23:14
    น้ำและดินซึ่งสั่นสะเทือนนั้น
  • 23:14 - 23:17
    คือส่วนประกอบสำคัญในมวลของพืชและสัตว์
  • 23:19 - 23:22
    การเฝ้ามองว่าการสั่นสะเทือน
  • 23:22 - 23:25
    ทำให้น้ำเกิดลวดลายขึ้นได้อย่างไร ทำได้ง่าย
  • 23:26 - 23:30
    แต่ถ้าเราเติมของแข็งลงไป พร้อมกับเพิ่มกระแสไฟฟ้า
  • 23:30 - 23:33
    ผลที่ได้ก็ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีก
  • 23:35 - 23:37
    เมื่อลองใส่แป้งข้าวโพดลงไปในน้ำ
  • 23:37 - 23:40
    เราก็ได้เห็นปรากฎการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม
  • 23:59 - 24:01
    บางที เราก็อาจจะเข้าใจหลักการของชีวิตได้
  • 24:01 - 24:05
    จากเฝ้ามองการสั่นสะเทือนที่ทำให้ก้อนของแป้งข้าวโพด
  • 24:05 - 24:08
    แปรสภาพไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่อยู่นิ่ง
  • 24:13 - 24:16
    แนวคิดของจักรวาลที่ว่าด้วยชีวิตนี้
  • 24:16 - 24:18
    ถูกอธิบายไว้ในศาสนาทุกศาสนา
  • 24:18 - 24:20
    โดยใช้คำพูดต่างๆ กันไป
  • 24:20 - 24:23
    ตามแต่บริบทของสังคมในยุคนั้น
  • 24:26 - 24:28
    ในภาษาของชาวอินคา
  • 24:28 - 24:30
    อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเมริกา
  • 24:30 - 24:32
    ในยุคก่อนการค้นพบของโคลัมบัส
  • 24:32 - 24:35
    คำว่า "ร่างกายของมนุษย์" คือ อัลพา คามัสคา
  • 24:35 - 24:38
    ซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า โลกที่มีชีวิต
  • 24:41 - 24:44
    ในคติคับบาล่าห์ หรือศาสตร์ลึกลับแห่งยิว
  • 24:44 - 24:47
    ได้กล่าวถึงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า
  • 24:47 - 24:49
    พระนามอันไม่สามารถเอื้อนเอ่ยได้
  • 24:49 - 24:51
    เนื่องจากพระนามนี้คือเสียงของการสั่นสะเทือน
  • 24:51 - 24:53
    ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
  • 24:53 - 24:57
    คือทุกถ้อยคำ ทุกสรรพสิ่ง
  • 24:57 - 24:59
    ทุกสิ่งทุกอย่างคือถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์
  • 25:00 - 25:02
    เตตระเฮดรอน (รูปทรงสี่หน้า)
  • 25:02 - 25:05
    คือรูปทรงที่เรียบง่ายที่สุด ที่เหมือนกันทุกด้าน
  • 25:05 - 25:08
    สิ่งหนึ่งๆ จะมีตัวตนในทางกายภาพได้นั้น
  • 25:08 - 25:10
    จะต้องมีจุดเชื่อมอย่างน้อย 4 จุด
  • 25:10 - 25:12
    โครงสร้างสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปร่างเดียวในธรรมชาติ
  • 25:12 - 25:14
    ที่มีความเสถียรด้วยตัวเอง
  • 25:14 - 25:17
    ในคัมภีร์พันธสัญญาเดิม คำว่า "เตตระกรัมมาตอน"
  • 25:17 - 25:20
    มักใช้เพื่อแสดงถึงการปรากฏขึ้นของพระเจ้า
  • 25:20 - 25:21
    ในลักษณาการเฉพาะ
  • 25:21 - 25:24
    มันมักจะถูกใช้เมื่อพูดถึงพระวาจาของพระเจ้า
  • 25:24 - 25:26
    หรือพระนามเฉพาะของพระเจ้า
  • 25:26 - 25:30
    พระวจนะ (LOGOS) หรือถ้อยกำเนิดจักรวาล
  • 25:33 - 25:35
    อารยธรรมโบราณล่วงรู้ว่า
  • 25:35 - 25:38
    ที่ฐานรากของโครงสร้างจักรวาลนั้น
  • 25:38 - 25:39
    เป็นรูปทรงสี่หน้า
  • 25:41 - 25:44
    จากรูปทรงนี้ ธรรมชาติน้อมนำตนเองตามแรงขับ
  • 25:44 - 25:47
    ไปสู่สภาวะสมดุล คือ ศิวะ
  • 25:47 - 25:50
    ในขณะเดียวกันก็ยังมีแรงขับอีกแรง
  • 25:50 - 25:53
    ที่โน้มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง คือ ศักติ
  • 25:57 - 26:00
    ในคัมภีร์ไบเบิ้ล พระกิตติแห่งยอห์น มักถูกเขียนไว้ว่า
  • 26:00 - 26:02
    "ในตอนแรกเริ่มนั้นคือถ้อยคำ"
  • 26:02 - 26:05
    หากในต้นฉบับเดิมนั้น ใช้คำว่า
  • 26:05 - 26:06
    LOGOS
  • 26:08 - 26:10
    เฮราไคลตุส นักปรัชญาชาวกรีก
  • 26:10 - 26:13
    ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล
  • 26:13 - 26:16
    กล่าวถึง LOGOS ว่ามันคือสิ่งซึ่งไม่อาจเข้าถึง
  • 26:16 - 26:20
    เป็นพื้นฐานแห่งการทำซ้ำ ลวดลาย และรูปแบบ
  • 26:22 - 26:26
    นักปรัชญาสโตอิกที่ยึดถือตามคำสอนของเฮราไคลตุส
  • 26:26 - 26:28
    อธิบายคำว่า LOGOS นี้ไว้ว่า
  • 26:28 - 26:30
    คือหลักศักดิ์สิทธิ์แห่งความมีชีวิต
  • 26:30 - 26:32
    ที่แทรกซึมอยู่ทั่วทั้งจักรวาล
  • 26:36 - 26:40
    ในลัทธิซูฟี LOGOS นี้มีอยู่ทุกที่
  • 26:40 - 26:42
    ในทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 26:42 - 26:46
    มันทำให้ สิ่งที่ไม่เคยสำแดงตน ได้สำแดงตนออกมา
  • 26:53 - 26:57
    ในคติฮินดู ศิวนาฏราช มีความหมายตรงตัวว่า
  • 26:57 - 26:59
    "ราชาแห่งการร่ายรำ"
  • 27:00 - 27:04
    ทั้งจักรวาลนี้ร่ายรำตามเสียงกลองแห่งศิวะ
  • 27:04 - 27:08
    สิ่งต่างๆ อาบอิ่มและมีชีวิตขึ้นด้วยจังหวะนั้น
  • 27:08 - 27:10
    แค่ตราบเท่าที่ศิวะยังคงร่ายรำ
  • 27:10 - 27:14
    โลกนี้ก็จะยังคงวิวัฒน์และเปลี่ยนแปลง
  • 27:14 - 27:17
    มิเช่นนั้นแล้ว โลกนี้ก็จะล่มสลายลงสู่ความว่างเปล่า
  • 27:19 - 27:23
    ในขณะที่ศิวะคือตัวแทนจิตสำนึกของเรา อันเป็นตัวรู้
  • 27:23 - 27:27
    ศักติก็คือตัวแทนของสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้
  • 27:27 - 27:30
    ในขณะที่ศิวะดำรงอยู่ในภาวะแห่งสมาธิ
  • 27:30 - 27:33
    ศักติก็พยายามจะโน้มนำศิวะ
  • 27:33 - 27:34
    ให้กลับไปสู่การร่ายรำ
  • 27:34 - 27:36
    ดังเช่นหยินและหยาง
  • 27:36 - 27:40
    ผู้ร่ายรำและการร่ายรำนั้น ดำรงอยู่เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 27:43 - 27:45
    LOGOS ยังหมายความรวมถึง
  • 27:45 - 27:47
    ความจริงที่เปิดเผยออก
  • 27:47 - 27:51
    ใครที่ล่วงรู้ LOGOS ก็จะล่วงรู้ความเป็นจริงด้วย
  • 27:51 - 27:55
    โลกของมนุษย์นั้น มีการปกปิดอยู่หลายชั้น
  • 27:55 - 27:59
    และที่ว่างนี้ก็ได้ถูกหมุนไปเป็นโครงสร้างอันซับซ้อน
  • 27:59 - 28:02
    และห่อหุ้มแหล่งกำเนิดของมันไว้
  • 28:02 - 28:04
    เฉกเช่นเกมซ่อนหาอันศักดิ์สิทธิ์
  • 28:04 - 28:07
    เราได้เล่นเกมนี้มานับพันๆ ปีแล้ว
  • 28:07 - 28:11
    ในที่สุด ก็ลืมไปแล้วว่าเรากำลังเล่นเกมกันอยู่
  • 28:11 - 28:15
    เราลืมไปว่ามีสิ่งที่เรากำลังค้นหาอยู่
  • 28:18 - 28:19
    ในศาสนาพุทธ
  • 28:19 - 28:22
    ผู้ปฏิบัติจะถูกฝึกให้รับรู้ถึง LOGOS โดยตรง
  • 28:22 - 28:25
    ให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน
  • 28:25 - 28:28
    ภายในตนเอง ผ่านการฝึกสมาธิ
  • 28:28 - 28:30
    เมื่อคุณเฝ้าสังเกตโลกภายใน
  • 28:30 - 28:34
    คุณจะเห็นพลังงานและความรู้สึกที่ละเอียดมากขึ้น
  • 28:34 - 28:39
    เหตุเพราะจิตนั้นนิ่งและจดจ่อมากยิ่งขึ้น
  • 28:39 - 28:41
    เมื่อจิตตื่นรู้ถึง "อนิจจัง"
  • 28:41 - 28:45
    หรือความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของอารมณ์ความรู้สึก
  • 28:45 - 28:47
    บุคคลนั้นก็จะเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือมั่น
  • 28:47 - 28:51
    ในความไม่เที่ยงแท้ของโลกภายนอก
  • 28:51 - 28:53
    เมื่อเราเห็นแล้วว่า สนามพลังของการสั่นสะเทือนนี้
  • 28:53 - 28:56
    มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว และเป็นฐานรากของศาสนาทั้งปวง
  • 28:56 - 28:59
    เราจะกล่าวได้อย่างไรว่า "ศาสนาของฉัน" หรือ
  • 28:59 - 29:04
    "นี่คือต้นกำเนิดของฉัน" หรือ "สนามควอนตัมของฉัน"
  • 29:26 - 29:29
    วิกฤตที่แท้ของโลกนี้ไม่ใช่เรื่องของสังคม
  • 29:29 - 29:31
    การเมือง หรือเศรษฐกิจ
  • 29:32 - 29:35
    วิกฤตที่เราเผชิญนี้คือวิกฤตแห่งความตระหนักรู้
  • 29:35 - 29:37
    คือความไม่สามารถที่จะสัมผัส
  • 29:37 - 29:40
    กับธรรมชาติเดิมแท้ของเราได้
  • 29:42 - 29:44
    ความไม่สามารถที่จะมองเห็นธรรมชาติเดียวกันนี้
  • 29:44 - 29:47
    ในทุกๆ คน และทุกๆ สรรพสิ่งได้
  • 29:54 - 29:59
    ในศาสนาพุทธ "พระโพธิสัตว์" คือผู้ที่ตื่นรู้แล้ว
  • 30:00 - 30:04
    และให้คำสัตย์ว่าจะช่วยเหลือสรรพชีวิตทั่วทั้งจักรวาลนี้
  • 30:06 - 30:09
    ให้ตื่นรู้ และมองเห็นสำนึกหนึ่งเดียวกันนี้ด้วย
  • 30:09 - 30:12
    การที่จิตสำนึกหนึ่งใดจะตื่นรู้ขึ้นได้นั้น
  • 30:12 - 30:16
    จิตนั้นก็จำเป็นจะต้องปลุกให้ชีวิตทุกชีวิตตื่นรู้ขึ้นด้วย
  • 30:20 - 30:24
    "มีสรรพชีวิตเหลือคณานับในจักรวาลนี้
  • 30:24 - 30:26
    ข้าพเจ้าตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า
  • 30:26 - 30:29
    จะช่วยเหลือพวกเขาให้ตื่นรู้ทั้งหมดให้จงได้
  • 30:29 - 30:32
    ความไม่สมบูรณ์แบบของข้าพเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุด
  • 30:32 - 30:36
    ข้าพเจ้าตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะก้าวข้ามให้จงได้
  • 30:36 - 30:38
    หลักธรรมนั้นไม่อาจจะเป็นที่รู้แจ้ง
  • 30:38 - 30:41
    ข้าพเจ้าตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะล่วงรู้ให้จงได้
  • 30:41 - 30:45
    หนทางแห่งการตื่นรู้นั้นไม่อาจเดินล่วงไปได้สำเร็จ
  • 30:47 - 30:50
    ข้าพเจ้าตั้งสัตย์ว่าจะเดินล่วงไปให้จงได้"
Title:
Inner Worlds, Outer Worlds - Part 1 - Akasha
Description:

All 4 parts of the film can be found at www.innerworldsmovie.com.

Part one of the film Inner Worlds, Outer Worlds. Akasha is the unmanifested, the "nothing" or emptiness which fills the vacuum of space. As Einstein realized, empty space is not really empty. Saints, sages and yogis who have looked within themselves have also realized that within the emptiness is unfathomable power, a web of information or energy which connects all things. This matrix or web has been called the Logos, the Higgs Field, the Primordial OM and a thousand other names throughout history. In part one of Inner Worlds, we explore the one vibratory source that extends through all things, through the science of cymatics, the concept of the Logos, and the Vedic concept of Nada Brahma (the universe is sound or vibration). Once we realize that there is one vibratory source that is the root of all scientific and spiritual investigation, how can we say "my religion", "my God" or "my discovery".

more » « less
Video Language:
American Sign Language
Duration:
31:01

Thai subtitles

Revisions