Return to Video

คุณจะอธิบายสติสัมปชัญญะอย่างไร?

  • 0:01 - 0:03
    ตอนนี้
  • 0:03 - 0:06
    คุณมีหนังที่กำลังฉายอยู่ในหัวของคุณ
  • 0:06 - 0:09
    มันเป็นหนังที่มีหลายบทบาทซ้อนกัน
  • 0:09 - 0:12
    เป็นหนังสามมิติ และมีเสียงรอบทิศทาง
  • 0:12 - 0:14
    สำหรับสิ่งที่คุณกำลังดูและฟังอยู่ตอนนี้
  • 0:14 - 0:17
    แต่มันเป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้นแหละ
  • 0:17 - 0:22
    หนังของคุณมีทั้งกลิ่น รสชาติและสัมผัสได้
  • 0:22 - 0:25
    มันรับรู้ได้โดยร่างกายคุณ
  • 0:25 - 0:29
    ความเจ็บปวด ความหิวกระหาย จุดสุดยอด
  • 0:29 - 0:31
    มีอารมณ์ต่างๆ
  • 0:31 - 0:34
    ความโกรธและความสุข
  • 0:34 - 0:38
    มันมีความทรงจำ เหมือนกับฉากในวัยเด็กของคุณ
  • 0:38 - 0:41
    เล่นอยู่ในหัวของคุณ
  • 0:41 - 0:45
    และมันยังมีเสียงพากย์
  • 0:45 - 0:50
    ในความคิดของคุณตลอดด้วยครับ
  • 0:50 - 0:55
    หัวใจของหนังเรื่องนี้คือคุณ
  • 0:55 - 0:59
    คุณกำลังเผชิญหน้ากับมันโดยตรง
  • 0:59 - 1:05
    หนังเรื่องนี้คือกระแสสติสัมปชัญญะ
    ของคุณครับ
  • 1:05 - 1:06
    เป็นประสบการณ์
  • 1:06 - 1:11
    ของจิตและโลกใบนี้
  • 1:11 - 1:14
    สติสัมปชัญญะเป็นหนึ่งในข้อเท็จจริงพื้นฐาน
  • 1:14 - 1:16
    ของเผ่าพันธ์ุมนุษย์
  • 1:16 - 1:19
    เราแต่ละคนนั้นมีสติ
  • 1:19 - 1:21
    เราทุกคนมีหนังของเราเองทั้งนั้น
  • 1:21 - 1:24
    คุณ คุณ และคุณ
  • 1:24 - 1:28
    แต่ไม่มีอะไรที่เรารู้โดยตรงไปมากกว่านั้น
  • 1:28 - 1:31
    อย่างน้อย ผมก็รู้ถึงสติสัมปชัญญะโดยตรง
  • 1:31 - 1:35
    แต่ผมไม่สามารถบอกได้ว่าพวกคุณกำลังมีสติอยู่
  • 1:35 - 1:39
    สติสัมปชัญญะนั้นยังเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตของเรา
    คุ้มค่าที่จะดำรงอยู่
  • 1:39 - 1:42
    ถ้าเราไม่มีสติ จะไม่มีสิ่งใดในชีวิตเรา
  • 1:42 - 1:46
    ที่มีความหมายหรือมีค่า
  • 1:46 - 1:47
    แต่ในเวลาเดียวกันนั้น
  • 1:47 - 1:51
    มันก็ยังเป็นสิ่งที่ลึกลับที่สุดในจักรวาล
  • 1:51 - 1:54
    ทำไมเราถึงมีสติ?
  • 1:54 - 1:56
    ทำไมเราถึงมีหนังพวกนี้ฉายในหัว
  • 1:56 - 1:58
    ทำไมเราไม่ได้เป็นแค่หุ่นยนต์
  • 1:58 - 2:00
    ที่รับข้อมูลเข้ามา
  • 2:00 - 2:02
    แล้วผลิตข้อมูลส่งออกไป
  • 2:02 - 2:06
    โดยที่ไม่ต้องรู้สึกถึงหนังที่เล่นในหัวเราเลย
  • 2:06 - 2:09
    ตอนนี้ ไม่มีใครที่รู้คำตอบ
  • 2:09 - 2:11
    ของคำถามพวกนี้เลย
  • 2:11 - 2:14
    ผมอยากแนะนำว่า การที่จะรวบรวมสติสัมปชัญญะ
  • 2:14 - 2:19
    ให้เป็นวิทยาศาสตร์นั้น
    เราอาจต้องใช้ความคิดที่สุดขั้ว
  • 2:19 - 2:22
    บางคนบอกว่า วิทยาศาสตร์ของสติสัมปชัญญะนั้น
  • 2:22 - 2:24
    เป็นไปไม่ได้
  • 2:24 - 2:28
    วิทยาศาสตร์ ตามหลักของมันแล้ว เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือรูปธรรม
  • 2:28 - 2:31
    สติสัมปชัญญะ ตามหลักของมัน
    เป็นแค่ความคิดหรือนามธรรม
  • 2:31 - 2:36
    ดังนั้นวิทยาศาสตร์ของสติสัมปชัญญะนั้น
    คงไม่มีทางเกิดขึ้น
  • 2:36 - 2:39
    ความคิดนี้มีอิทธิพลอย่างมากในศตวรรษที่ 20
  • 2:39 - 2:43
    นักจิตวิทยาศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
  • 2:43 - 2:47
    นักประสาทวิทยาศึกษาสมองแบบรูปธรรม
  • 2:47 - 2:50
    และไม่มีใครที่กล่าวถึงสติสัมปชัญญะเลย
  • 2:50 - 2:53
    แม้แต่ 30 ที่แล้ว ตอนที่ TED เพิ่งเริ่ม
  • 2:53 - 2:55
    ก็ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์น้อยมาก
  • 2:55 - 2:58
    เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 2:58 - 3:00
    ตอนนี้ ประมาณยี่สิบปีที่แล้ว
  • 3:00 - 3:03
    ทุกอย่างได้เปลี่ยนไป
  • 3:03 - 3:05
    นักประสาทวิทยาอย่าง ฟรานซิส คริก
  • 3:05 - 3:08
    และนักฟิสิกส์อย่าง โรเจอร์ เพนโรส
  • 3:08 - 3:10
    ได้กล่าวว่า ตอนนี้ ถึงเวลาของวิทยาศาสตร์
  • 3:10 - 3:13
    ที่จะเข้าสู่พรมแดนของสติสัมปชัญญะ
  • 3:13 - 3:15
    จากนั้นเป็นต้นมา เหมือนกับการระเบิดออก
  • 3:15 - 3:18
    ของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • 3:18 - 3:19
    ที่เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 3:19 - 3:21
    และงานนี้ก็ยอดเยี่ยมมากด้วยครับ
  • 3:21 - 3:23
    แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดพื้นฐาน
  • 3:23 - 3:27
    อยู่บ้าง
  • 3:27 - 3:29
    จุดกึ่งกลาง
  • 3:29 - 3:31
    ของวิทยาศาสตร์ของสติสัมปชัญญะในไม่กี่ปีมานี้
  • 3:31 - 3:34
    คือการหาความสัมพันธ์
  • 3:34 - 3:37
    ระหว่างพื้นที่ของสมองแบบเจาะจง
  • 3:37 - 3:41
    เทียบกับระดับของสติสัมปชัญญะ
  • 3:41 - 3:42
    เราได้เห็นงานบางชิ้น
  • 3:42 - 3:44
    จากแนนซี่ คานวิชเชอร์
    ที่สุดแสนวิเศษ
  • 3:44 - 3:47
    และเธอได้นำเสนอเมื่อไม่กี่นาทีก่อนหน้านี้
  • 3:47 - 3:51
    ตอนนี้เราได้เข้าใจมากขึ้นครับ อย่างเช่นว่า
  • 3:51 - 3:53
    พื้นที่บางส่วนของสมองนั้น
  • 3:53 - 3:56
    มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดสติรับรู้
    เวลาที่เราเห็นใบหน้าคน
  • 3:56 - 4:00
    หรือรับรู้ความเจ็บปวด
  • 4:00 - 4:02
    หรือรู้สึกถึงความสุข
  • 4:02 - 4:05
    แต่มันยังคงเกี่ยวกับความสัมพันธ์
  • 4:05 - 4:08
    ไม่ใช่การอธิบายการเกิดโดยตรง
  • 4:08 - 4:11
    เราแค่รู้ว่าพื้นที่ในสมอง
  • 4:11 - 4:15
    มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีสติ
    รับรู้ประสบการณ์บางอย่าง
  • 4:15 - 4:18
    แต่เรายังไม่ทราบว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
  • 4:18 - 4:21
    ผมชอบที่จะอธิบายมันอย่างนี้ครับ
  • 4:21 - 4:24
    งานพวกนี้จากนักประสาทวิทยา
  • 4:24 - 4:26
    สามารถตอบได้แค่บางคำถาม
  • 4:26 - 4:28
    ที่เราต้องการคำตอบเกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 4:28 - 4:32
    คำถามพวกที่ว่า
    พื้นที่สมองส่วนนี้ทำหน้าที่อะไรนั้น
  • 4:32 - 4:34
    และอะไรที่มันมีความสัมพันธ์ด้วย
  • 4:34 - 4:37
    แต่ที่แน่ๆ พวกนั้นเป็นปัญหาง่ายๆ
  • 4:37 - 4:39
    ไม่ต้องถามนักประสาทวิทยาก็ได้ครับ
  • 4:39 - 4:42
    มันไม่มีอะไรง่าย
    เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะหรอกครับ
  • 4:42 - 4:46
    แต่มันก็ไม่ได้กล่าวถึงความลึกลับที่แท้จริง
  • 4:46 - 4:48
    ที่ใจความของเรื่องนี้
  • 4:48 - 4:53
    ทำไมกระบวนการทางกายภาพต่าง ๆ ในสมอง
  • 4:53 - 4:56
    นั้นควรจะเกิดขึ้นร่วมกับสติสัมปชัญญะด้วย?
  • 4:56 - 4:59
    ทำไมต้องมีหนังฉายอยู่ในหัวเราด้วย?
  • 4:59 - 5:02
    ตอนนี้ เรายังไม่มีคำตอบครับ
  • 5:02 - 5:04
    และคุณอาจจะบอกว่า
  • 5:04 - 5:08
    ให้เวลาแก่นักประสาทวิทยาสักสองสามปี
  • 5:08 - 5:11
    มันจะเกิดเป็นอีกปรากฏการณ์
  • 5:11 - 5:16
    เหมือนรถติด เหมือนพายุเฮอริเคน
  • 5:16 - 5:19
    เหมือนกับชีวิต แล้วเราจะคิดมันออกเอง
  • 5:19 - 5:21
    พวกกรณีดั้งเดิมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  • 5:21 - 5:24
    เกิดจากพฤติกรรมทั้งนั้น
  • 5:24 - 5:27
    รถนั้นติดได้อย่างไร
  • 5:27 - 5:28
    พายุเฮอริเคนทำงานอย่างไร
  • 5:28 - 5:30
    สิ่งมีชีวิตขยายพันธ์ุได้อย่างไร
  • 5:30 - 5:34
    และปรับตัวและเผาผลาญอาหารอย่างไร
  • 5:34 - 5:36
    พวกคำถามเกี่ยวกับการทำงานต่างๆน่ะครับ
  • 5:36 - 5:39
    คุณสามารถนำไปใช้กับสมองของมนุษย์
  • 5:39 - 5:41
    โดยอธิบายถึงพฤติกรรม
  • 5:41 - 5:43
    และระบบของสมองมนุษย์บางอย่าง
  • 5:43 - 5:44
    ว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
  • 5:44 - 5:48
    การเดินของเรา การพูดของเรา การเล่นหมากรุก
  • 5:48 - 5:50
    พวกคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ
  • 5:50 - 5:52
    แต่เวลาที่มันจะต้องมาเกี่ยวพันกับสติสัมปชัญญะ
  • 5:52 - 5:54
    พวกคำถามเรื่องพฤติกรรม
  • 5:54 - 5:57
    กลายเป็นเรื่องง่ายไปเลย
  • 5:57 - 5:59
    เรื่องที่ยากกว่านั้นก็คือ
  • 5:59 - 6:01
    คำถามที่ว่า
  • 6:01 - 6:03
    ทำไมทุกพฤติกรรม
  • 6:03 - 6:06
    ถึงเกิดพร้อมกับประสบการณ์แบบนามธรรม
  • 6:06 - 6:08
    และทีนี้ แบบจำลองมาตรฐาน
  • 6:08 - 6:09
    ของสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 6:09 - 6:12
    ไม่ว่าจะเป็นทางประสาทวิทยา
  • 6:12 - 6:17
    ไม่ได้บอกอะไรเรามากขนาดนั้นเลยครับ
  • 6:17 - 6:20
    ผมเป็นพวกที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์
    เป็นชีวิตจิตใจ
  • 6:20 - 6:24
    ผมจึงอยากจะให้มันมีทฤษฎีของสติสัมปชัญญะ
  • 6:24 - 6:27
    ที่ใช้งานได้
  • 6:27 - 6:29
    เป็นช่วงเวลานานมาแล้ว
  • 6:29 - 6:31
    ที่ผมอยากให้มันเกิดขึ้น
  • 6:31 - 6:33
    ผมพยายามหาทฤษฎีที่ว่ามาตลอด
  • 6:33 - 6:35
    ในรูปแบบที่จับต้องได้
  • 6:35 - 6:36
    ที่ใช้การได้
  • 6:36 - 6:38
    แต่ผมก็ได้บทสรุปที่ว่า
  • 6:38 - 6:42
    มันยังใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุผลบางประการ
  • 6:42 - 6:44
    เรื่องมันยาวครับ
  • 6:44 - 6:46
    แต่ที่แน่ ๆ แก่นของความคิดนี้ก็คือ
    สิ่งที่คุณได้
  • 6:46 - 6:49
    จากการหาคำวิเคราะห์และอธิบาย
  • 6:49 - 6:51
    ที่เป็นรูปเป็นร่าง ในเชิงของสมอง
  • 6:51 - 6:54
    คือเรื่องเกี่ยวกับระบบการทำงาน
  • 6:54 - 6:56
    โครงสร้าง การเคลื่อนที่
  • 6:56 - 6:58
    พฤติกรรมที่มันสร้างขึ้น
  • 6:58 - 7:00
    การแก้ไขปัญหาที่ง่าย ๆ
  • 7:00 - 7:02
    อย่างเช่น เราปฏิบัติตัวได้อย่างไร ระบบทำงานอยางไร
  • 7:02 - 7:06
    แต่พอมันเป็นเรื่องของประสบการณ์เรานั้น
  • 7:06 - 7:09
    อย่างเช่น ภายในใจเรารู้สึกเช่นไร
  • 7:09 - 7:11
    มันกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่เลยครับ
  • 7:11 - 7:15
    และมันยังมีคำถามหลังจากนั้นอีกมากมาย
  • 7:15 - 7:21
    ดังนั้น ผมจึงคิดว่า เราถึงทางตันซะแล้วครับ
  • 7:21 - 7:24
    เรามีคำอธิบายที่ดีมาก
  • 7:24 - 7:27
    และเราก็คุ้นเคยกับมัน
    เรามักจะใช้กฎทางฟิสิกส์ไปอธิบายเคมี
  • 7:27 - 7:31
    กฎทางเคมีไปอธิบายชีววิทยา
  • 7:31 - 7:35
    ชีววิทยาไปอธิบายจิตวิทยาบางส่วน
  • 7:35 - 7:36
    แต่ทว่า สติสัมปชัญญะนั้น
  • 7:36 - 7:39
    ไม่สามารถใช้หลักการแบบนี้อธิบายได้
  • 7:39 - 7:41
    เพราะข้อมูลต่างๆ
  • 7:41 - 7:43
    ที่เรารับรู้
  • 7:43 - 7:44
    และเพราะ เราไม่รู้ว่า
  • 7:44 - 7:48
    เราจะปรับข้อมูลเหล่านั้นให้สามารถอธิบายในแบบวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
  • 7:48 - 7:50
    ผมจึงคิดว่า สติสัมปชัญญะ ที่เรารู้ในตอนนี้
  • 7:50 - 7:52
    เป็นเรื่องที่ประหลาด
  • 7:52 - 7:54
    ที่เราจำเป็นต้องผสมเข้ากับ
  • 7:54 - 7:58
    มุมมองของเราที่มีต่อโลก
    แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าทำได้อย่างไร
  • 7:58 - 8:00
    การเผชิญกับสิ่งแปลกประหลาดเช่นนี้
  • 8:00 - 8:03
    เราอาจต้องการความคิดที่สุดโต่ง
  • 8:03 - 8:06
    และผมคิดว่า
    เราอาจจะต้องการหนึ่งหรือสองความคิด
  • 8:06 - 8:09
    ที่ตอนแรกอาจจะดูเหมือนบ้า
  • 8:09 - 8:12
    ก่อนที่เราจะสามารถสรุป
    เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะได้
  • 8:12 - 8:14
    อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
  • 8:14 - 8:15
    ในตอนนี้ ก็มีความคิดที่บ้าๆ
  • 8:15 - 8:18
    ที่เราคิดว่ามันอาจจะเป็นความคิดที่เราตามหากันอยู่บ้างแล้วล่ะครับ
  • 8:18 - 8:22
    เพื่อนของผม แดน เดนเนท ที่อยู่กับเราวันนี้ด้วย
    ก็มีความคิดแบบนั้นอยู่
  • 8:22 - 8:25
    ความคิดบ้าๆของเขาคือ ไม่มีอะไรที่ยาก
  • 8:25 - 8:26
    เกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 8:26 - 8:30
    ความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวกับหนัง
    ที่เล่นอยู่ในหัวของเรานั้น
  • 8:30 - 8:34
    มันเกี่ยวกับภาพลวงตาหรือความสับสน
  • 8:34 - 8:36
    จริงๆแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือ อธิบาย
  • 8:36 - 8:39
    ระบบที่เป็นรูปธรรม พฤติกรรมของสมอง
  • 8:39 - 8:41
    แล้วเราจะสามารถอธิบายสิ่งอื่นๆ
  • 8:41 - 8:44
    ที่ต้องการคำอธิบายได้ครับ
  • 8:44 - 8:46
    ผมบอกว่า มันน่าจะเป็นไปได้นะครับ
  • 8:46 - 8:48
    มันเป็นความคิดสุดโต่งที่เรา
  • 8:48 - 8:50
    ควรจะศึกษาให้มากขึ้น
  • 8:50 - 8:53
    หากคุณต้องการทฤษฎีวิเคราะห์
  • 8:53 - 8:56
    สติสัมปชัญญะที่มาจากสมองแบบล้วนๆ
  • 8:56 - 8:58
    ในเวลาเดียวกัน สำหรับผมและหลายๆคน
  • 8:58 - 9:00
    มุมมองนี้อาจจะดูง่ายไปหน่อย
  • 9:00 - 9:02
    ที่ว่าการปฏิเสธข้อมูลต่าง ๆ
    ของสติสัมปชัญญะ
  • 9:02 - 9:04
    เพื่อที่จะพอรับได้
  • 9:04 - 9:07
    ฉะนั้น ผมจึงไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • 9:07 - 9:08
    ในเวลาที่เหลือ
  • 9:08 - 9:11
    ผมอยากจะค้นพบความคิดบ้า ๆ อีกสองความคิด
  • 9:11 - 9:15
    ที่ผมค่อนข้างสนใจ
  • 9:15 - 9:16
    ความคิดแรกคือ
  • 9:16 - 9:21
    สติสัมปชัญญะเป็นสิ่งพื้นฐาน
  • 9:21 - 9:24
    นักฟิสิกส์บางครั้งมองจักรวาลว่า
  • 9:24 - 9:26
    เป็นตัวต่อพื้นฐานต่าง ๆ
  • 9:26 - 9:30
    ที่ว่าง เวลา และมวล
  • 9:30 - 9:33
    พวกเขาตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับกฎพื้นฐาน
    ที่ครอบมันอยู่
  • 9:33 - 9:37
    อย่างเช่นกฎของแรงดึงดูด
    หรือกลศาสตร์ควอนตัม
  • 9:37 - 9:39
    คุณสมบัติและกฎพื้นฐานหล่านี้
  • 9:39 - 9:43
    ไม่ได้รับการอธิบายอย่างง่าย ๆ
  • 9:43 - 9:45
    แต่ทว่า มันกลับกลายเป็นสิ่งพื้นฐาน
  • 9:45 - 9:49
    และคุณก็ต่อยอดทุกอย่างจากกฏเหล่านั้น
  • 9:49 - 9:54
    บางที รายการของหลักพื้นฐานต่างๆ กำลังเพิ่มขึ้น
  • 9:54 - 9:56
    ในศตวรรศที่ 19 แม็กซ์เวลล์ค้นพบว่า
  • 9:56 - 10:00
    เราไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้า
  • 10:00 - 10:02
    โดยใช้หลักการต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วได้
  • 10:02 - 10:05
    พื้นที่ เวลา มวล กฏของนิวตัน
  • 10:05 - 10:08
    ฉะนั้น เขาจึงตั้งสมมติฐาน
  • 10:08 - 10:09
    เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นมาเอง
  • 10:09 - 10:12
    รวมไปถึงสมมติฐานประจุไฟฟ้า
  • 10:12 - 10:14
    และใช้เป็นกฎพื้นฐาน
  • 10:14 - 10:16
    ที่กฎอื่น ๆ นั้นครอบคลุมอยู่
  • 10:16 - 10:20
    ผมคิดว่ามันเป็นสถานการณ์ที่เราเป็นกันอยู่
  • 10:20 - 10:21
    ในเรื่องของสติสัมปชัญญะ
  • 10:21 - 10:24
    ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสติสัมปชัญญะ
  • 10:24 - 10:26
    โดยใช้ทฤษฎีที่มีอยู่
  • 10:26 - 10:29
    เกี่ยวกับพื้นที่ เวลา มวล และประจุไฟฟ้า
  • 10:29 - 10:32
    และตามตรรกะ คุณจำเป็นที่จะต้องขยายมันออกไป
  • 10:32 - 10:35
    โดยธรรมชาติ คุณจะต้องตั้งสมมติฐาน
  • 10:35 - 10:38
    ว่าสติสัมปชัญญะนั้นคือพื้นฐานอย่างหนึ่ง
  • 10:38 - 10:41
    พื้นฐานที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
  • 10:41 - 10:44
    แต่มันไม่ได้หมายความว่าคุณใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วยไม่ได้นะครับ
  • 10:44 - 10:48
    มันแค่เปิดทางให้คุณได้ใช้วิทยาศาสตร์นั่นเอง
  • 10:48 - 10:50
    แล้วสิ่งที่เราควรศึกษาต่อไปนั้นก็คือ
  • 10:50 - 10:53
    กฎพื้นฐานที่ครอบคลุมเรื่องสติสัมปชัญญะ
  • 10:53 - 10:55
    กฎที่เชื่อมโยงสติสัมปชัญญะ
  • 10:55 - 10:58
    เข้ากับหลักอื่นๆได้แก่ พื้นที่ เวลา มวล
  • 10:58 - 11:01
    กระบวนการทางกายภาพต่างๆ
  • 11:01 - 11:03
    บางครั้ง นักฟิสิกส์บอกว่า
  • 11:03 - 11:06
    เราอยากให้มีกฎพื้นฐานที่ง่าย ๆ
  • 11:06 - 11:10
    ที่เราจะสามารถสกรีนลงบนเสื้อได้
  • 11:10 - 11:11
    ผมคิดว่า แบบนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 11:11 - 11:13
    ที่เรากำลังเผชิญอยู่
  • 11:13 - 11:16
    เราอยากให้กฎที่ตั้งขึ้นนั้นง่าย
  • 11:16 - 11:18
    ที่เราจะสามารถสกรีนลงบนเสื้อได้เลย
  • 11:18 - 11:20
    เรายังไม่รู้ว่ากฎเหล่านั้นคืออะไร
  • 11:20 - 11:24
    แต่มันเป็นสิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่ครับ
  • 11:24 - 11:26
    ความที่บ้า ๆ เรื่องที่สองครับ
  • 11:26 - 11:29
    คือ สติสัมปชัญญะอาจเป็นเรื่องที่เกิดทุกที่
  • 11:29 - 11:33
    ทุก ๆ ระบบอาจจะมีระดับของ
  • 11:33 - 11:36
    สติสัมปชัญญะของมันเอง
  • 11:36 - 11:39
    แนวคิดนี่เรียกว่าจิตครอบคลุม (panpsychism) ครับ
  • 11:39 - 11:42
    ครอบคลุมไปทั้งหมด
  • 11:42 - 11:44
    ทุก ๆ ระบบนั้นมีสติของมันเอง
  • 11:44 - 11:48
    ไม่ใช่แค่มนุษย์ สุนัข หนู แมลงวัน
  • 11:48 - 11:51
    แม้แต่จุลินทรีย์ของร็อบ ไนท์
  • 11:51 - 11:53
    สสารเล็ก ๆ
  • 11:53 - 11:56
    แม้แต่โฟตอนก็มีสติของมัน
  • 11:56 - 11:59
    แต่ไม่ได้หมายความว่าโฟตอนนั้นอัจฉริยะ
  • 11:59 - 12:01
    หรือคิดเป็นนะครับ
  • 12:01 - 12:02
    โฟตอนไม่ได้
  • 12:02 - 12:03
    รู้สึกทุกข์ได้
  • 12:03 - 12:07
    เพราะมันคิดว่า
    "โอ้ ชั้นต้องโคจรใกล้ๆความเร็วแสงตลอดเลย
  • 12:07 - 12:10
    ชั้นไม่เคยวิ่งช้าลงแล้วเชยชมกลิ่นกุหลาบเลย"
  • 12:10 - 12:12
    ไม่ใช่อย่างนั้นครับ
  • 12:12 - 12:15
    แต่เป็นความคิดที่ว่า บางทีโฟตอนอาจจะมี
  • 12:15 - 12:18
    ความดิบ ความรู้สึก
  • 12:18 - 12:22
    หรือสติสัมปชัญญะบ้าง
  • 12:22 - 12:25
    มันอาจจะฟังดูเหมือนบ้านะครับ
  • 12:25 - 12:27
    หมายถึง ทำไมคนเรา
    ถึงคิดอะไรได้บ้ามากขนาดนี้?
  • 12:27 - 12:31
    แรงจูงใจบางอย่างก็มาจาก
    ไอเดียบ้า ๆ แบบนี้ล่ะครับ
  • 12:31 - 12:33
    ว่าสติสัมปชัญญะเป็นสิ่งพื้นฐาน
  • 12:33 - 12:37
    และถ้ามันเป็นสิ่งพื้นฐาน เหมือนกับพื้นที่ เวลา และมวล
  • 12:37 - 12:40
    ก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่
    เราจะคิดว่าสติสัมปชัญญะนั้นสากล
  • 12:40 - 12:42
    เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ
  • 12:42 - 12:44
    และมันก็ไม่มีค่าพอ แม้ว่าความคิดนี้
  • 12:44 - 12:46
    อาจจะขัดกับสิ่งที่เราคิดไปบ้าง
  • 12:46 - 12:49
    แต่มันอาจจะเข้ากับคน
  • 12:49 - 12:50
    ที่มาจากวัฒนธรรมอื่นเช่นกันนะครับ
  • 12:50 - 12:52
    จิตใจของมนุษย์นั้น เหมือนจะ
  • 12:52 - 12:55
    ผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ
  • 12:55 - 12:59
    แรงจูงใจที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น มาจากความคิดที่ว่า
  • 12:59 - 13:01
    บางทีเรื่องที่ง่ายและมีพลังมากที่สุด
  • 13:01 - 13:03
    ที่จะหาหลักพื้นฐานที่เชื่อมโยงสติสัมปชัญญะ
  • 13:03 - 13:05
    กับกระบวนการทางกายภาพ
  • 13:05 - 13:08
    นั้น คือการเชื่อมโยงสติสัมปชัญญะเข้ากับข้อมูล
  • 13:08 - 13:10
    ที่ซึ่งข้อมูลกำลังถูกประมวล
  • 13:10 - 13:11
    ที่นั้นจะมีสติสัมปชัญญะ
  • 13:11 - 13:14
    ข้อมูลที่ซับซ้อนกำลังถูกจัดการ
    เช่น ในมนุษย์
  • 13:14 - 13:15
    สติสัมปชัญญะอันซับซ้อนก็เช่นเดียวกัน
  • 13:15 - 13:17
    ข้อมูลที่ง่ายในการประมวล
  • 13:17 - 13:19
    สติสัมปชัญญะง่าย ๆ ก็เช่นกัน
  • 13:19 - 13:22
    สิ่งที่น่าตื่นเต้นไม่กี่ปีมานี้
  • 13:22 - 13:25
    นักประสาทวิทยา จูลิโอ โทโนนี
  • 13:25 - 13:26
    ได้ตั้งทฤษฏีลักษณะนี้ขึ้นมา
  • 13:26 - 13:28
    และพัฒนาต่อยอดอย่างกว้างขวาง
  • 13:28 - 13:30
    ด้วยทฤษฎีของคณิตศาสตร์
  • 13:30 - 13:32
    เขาได้คำนวณ
  • 13:32 - 13:33
    ข้อมูลที่ผสมผสานกัน
  • 13:33 - 13:35
    ที่เขาเรียกมันว่า "ฟาย" (phi)
  • 13:35 - 13:37
    ที่ใช้วัดจำนวนข้อมูล
  • 13:37 - 13:38
    ที่ผสมผสานอยู่ในระบบ
  • 13:38 - 13:41
    เขาเชื่อว่าฟายนั้นใช้ได้กับ
  • 13:41 - 13:42
    สติสัมปชัญญะ
  • 13:42 - 13:44
    ดังนั้น ในสมองของมนุษย์
  • 13:44 - 13:46
    ที่รวบรวมข้อมูลมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 13:46 - 13:48
    มีฟายอยู่มากมาย
  • 13:48 - 13:50
    และมีสติสัมปชัญญะมากมายด้วยเช่นกัน
  • 13:50 - 13:53
    ในหนู ข้อมูลที่มีอยู่ในสมองนั้น
  • 13:53 - 13:54
    ก็ยังถือว่ามีอยู่พอสมควร
  • 13:54 - 13:56
    เช่นเดียวกับปริมาณสติสัมปชัญญะ
  • 13:56 - 13:59
    แต่ถ้าคุณมองต่อไปถึงตัวหนอน
  • 13:59 - 14:02
    จุลินทรีย์ อนุภาค
  • 14:02 - 14:04
    ขนาดของฟายจะลดลง
  • 14:04 - 14:06
    เพราะขนาดของข้อมูลนั้นลดลง
  • 14:06 - 14:08
    แต่ไม่ถึงกับเป็นศูนย์นะครับ
  • 14:08 - 14:10
    ทฤษฎีของโทโนนิ
  • 14:10 - 14:12
    สติสัมปชัญญะ
  • 14:12 - 14:14
    จะไม่เป็นศูนย์เลย
  • 14:14 - 14:16
    ผลคือ เขาเสนอกฎพื้นฐาน
  • 14:16 - 14:19
    ของสติสัมปชัญญะว่า
    ฟายสูง เท่ากับ สติสัมปชัญญะมาก
  • 14:19 - 14:22
    ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้องหรือไม่
  • 14:22 - 14:25
    แต่จริง ๆ แล้ว มันอาจจะเป็นทฤษฎี
    มีบทบาทนำอยู่ในขณะนี้
  • 14:25 - 14:27
    ในเชิงวิทยาศาสตร์ของสติสัมปชัญญะ
  • 14:27 - 14:29
    และมันก็ถูกใช้เพื่อรวบรวม
  • 14:29 - 14:31
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในหลาย ๆ รูปแบบ
  • 14:31 - 14:34
    และมันยังมีคุณสมบัติที่ดี คือมันง่ายพอ
  • 14:34 - 14:37
    ที่จะสามารถสกรีนลงบนเสื้อยืดของคุณได้
  • 14:37 - 14:40
    และแรงจูงใจสุดท้ายก็คือ
  • 14:40 - 14:42
    ทฤษฎีจิตครอบคลุมอาจจะช่วยให้เราผสาน
  • 14:42 - 14:45
    สติสัมปชัญญะให้เข้ากับโลกกายภาพได้
  • 14:45 - 14:48
    นักฟิสิกส์และนักปรัชญามักจะสังเกต
  • 14:48 - 14:51
    ว่าฟิสิกส์นั้นเป็นเรื่องของนามธรรม
  • 14:51 - 14:53
    มันอธิบายโครงสร้างของความเป็นจริง
  • 14:53 - 14:55
    โดยใช้สมการมากมาย
  • 14:55 - 14:58
    แต่มันไม่ได้บอกเราเกี่ยวกับความเป็นจริง
  • 14:58 - 14:59
    ที่เป็นจุดตั้งต้นของสิ่งเหล่านั้น
  • 14:59 - 15:01
    ดั่งที่สตีเฟน ฮอว์กินได้กล่าวไว้ว่า
  • 15:01 - 15:05
    สิ่งใดที่เติมไฟเข้าไปในสมการ?
  • 15:05 - 15:08
    ในมุมมองของนักทฤษฎีจิตครอบคลุม
  • 15:08 - 15:11
    คุณสามารถปล่อยสมการของฟิสิกส์ให้เป็นไปเช่นนั้น
  • 15:11 - 15:12
    แต่คุณไม่สามารถนำสมการนั้นไปอธิบาย
  • 15:12 - 15:14
    เกี่ยวกับความต่อเนื่องของสติสัมปชัญญะได้
  • 15:14 - 15:16
    นั่นคือสิ่งที่ฟิสิกส์ทำได้ดีที่สุดแล้ว
  • 15:16 - 15:18
    เมื่อมันต้องอธิบายความต่อเนื่องของสติสัมปชัญญะ
  • 15:18 - 15:20
    ในมุมมองนี้ สติสัมปชัญญะคือตัวที่
  • 15:20 - 15:24
    นำไฟไปใส่ในสมการ
  • 15:24 - 15:26
    มุมมองนี้สติสัมปชัญญะไม่ได้มีความหละหลวม
  • 15:26 - 15:27
    ในโลกที่จับต้องได้
  • 15:27 - 15:29
    เหมือนกับว่าเป็นแค่ตัวเสริมเท่านั้น
  • 15:29 - 15:32
    จริง ๆ แล้วมันเป็นใจความเลยก็ว่าได้
  • 15:32 - 15:35
    มุมมองนี้ ในมุมของนักทฤษฎีจิตครอบคลุม
    ผมคิดว่า
  • 15:35 - 15:38
    มันมีศักยภาพมากพอที่จะไขความสัมพันธ์ของเรา
  • 15:38 - 15:40
    กับธรรมชาติได้
  • 15:40 - 15:42
    และมันอาจจะส่งผลกระทบด้านสังคม
  • 15:42 - 15:46
    และศีลธรรม
  • 15:46 - 15:48
    ซึ่งบางที ผลนั้นมันอาจจะธรรมดามาก
  • 15:48 - 15:51
    ผมเคยคิดว่าผมไม่ควรกินอะไรเลย
  • 15:51 - 15:54
    นั่นคือสติครับ
  • 15:54 - 15:56
    ดังนั้น ผมจึงควรเป็นมังสวิรัติ
  • 15:56 - 15:59
    ถ้าหากคุณเป็นนักทฤษฎีจิตครอบคลุม และมองจากมุมนั้น
  • 15:59 - 16:02
    คุณจะหิวมาก
  • 16:02 - 16:03
    ดังนั้น ผมคิดว่าเวลาที่คุณคิดถึงมัน
  • 16:03 - 16:05
    มันมีแนวโน้วที่จะเปลี่ยนแนวคิดของคุณ
  • 16:05 - 16:07
    จากอะไรก็ตามที่สำคัญตามหลักของจรรยาบรรณ
  • 16:07 - 16:08
    และศีลธรรม
  • 16:08 - 16:12
    ไม่ค่อยเกี่ยวข้องมากนักกับข้อเท็จจริงของสติสัมปชัญญะ
  • 16:12 - 16:16
    แต่เกี่ยวมากกว่าในเรื่องของระดับและความซับซ้อนของสติ
  • 16:16 - 16:17
    มันเป็นเรื่องธรรมชาติเช่นกันที่จะถามถึงสติสัมปชัญญะ
  • 16:17 - 16:20
    ในระบบอื่นๆ อย่างเช่นความพิวเตอร์
  • 16:20 - 16:22
    เรื่องของระบบอัจฉริยะภาพที่ถูกสร้างขึ้นในคอมพิวเตอร์
  • 16:22 - 16:26
    อย่างในเรื่อง"Her" ซาแมนธา?
  • 16:26 - 16:27
    เธอมีสติหรือไม่
  • 16:27 - 16:29
    ครับ ถ้าคุณดูจากข้อมูล
  • 16:29 - 16:30
    มองแบบนักทฤษฎีจิตครองคลุม
  • 16:30 - 16:33
    เธอมีการดำเนินการข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างเห็นได้ชัด
  • 16:33 - 16:35
    รวมไปถึงการเรียบเรียง
  • 16:35 - 16:37
    ดังนั้น คำตอบนั้นมีแนวโน้มมากว่าเธอจะมีสติครับ
  • 16:37 - 16:40
    และถ้ามันถูกต้อง มันจะทำให้เกิด
  • 16:40 - 16:43
    เรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้ง
  • 16:43 - 16:46
    ในเรื่องของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
  • 16:46 - 16:49
    และเรื่องของการหยุดยั้งมัน
  • 16:49 - 16:51
    ท้ายที่สุด คุณอาจจะถามเกี่ยวกับสติสัมปชัญญะ
  • 16:51 - 16:53
    ของทั้งกลุ่ม
  • 16:53 - 16:55
    ของดาวทั้งดวงนี้
  • 16:55 - 16:58
    ประเทศแคนาดามีสติหรือไม่
  • 16:58 - 17:00
    หรือย่อยลงมาหน่อย
  • 17:00 - 17:01
    กลุ่มที่มีการผสมผสานกัน
  • 17:01 - 17:04
    อย่างผู้ชมของTED
  • 17:04 - 17:07
    มีสติร่วมกันกับTEDหรือไม่
  • 17:07 - 17:09
    และหนังภายในใจเรา
  • 17:09 - 17:11
    สำหรับกลุ่มผู้ชมกลุ่มนี้ล่ะ
  • 17:11 - 17:13
    ที่แตกต่างกัน
  • 17:13 - 17:14
    สำหรับแต่ละคน
  • 17:14 - 17:16
    ผมก็ไม่ทราบคำตอบนั้นหรอกครับ
  • 17:16 - 17:18
    แต่ผมคิดว่า อย่างน้อย
  • 17:18 - 17:20
    มันก็คุ้มค่าที่จะคิดนะครับ
  • 17:20 - 17:22
    โอเคครับ นี่คือมุมมองของนักทฤษฎีจิตครอบคลุม
  • 17:22 - 17:24
    ซึ่งค่อนข้างสุดโต่ง
  • 17:24 - 17:26
    และผมไม่ทราบว่ามันถูกต้องไหม
  • 17:26 - 17:28
    จริงๆแล้วผมค่อนข้างมั่นใจเกี่ยวกับ
  • 17:28 - 17:30
    ไอเดียบ้า ๆ อันแรกนะครับ
  • 17:30 - 17:32
    ที่ว่าสติสัมปชัญญะเป็นเรื่องพื้นฐาน
  • 17:32 - 17:34
    มากกว่าไอเดียที่สองนะครับ
  • 17:34 - 17:36
    ที่ว่าสติสัมปชัญญะเป็นสากล
  • 17:36 - 17:38
    ผมหมายถึง มุมมองนี้ทำให้เกิดคำถามมากมาย
  • 17:38 - 17:40
    ความท้าทายมากมาย
  • 17:40 - 17:41
    เหมือนกับเวลาที่เราทำอะไร
  • 17:41 - 17:43
    แล้วมีสติมากขึ้น
  • 17:43 - 17:45
    เวลาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
  • 17:45 - 17:47
    ทั้งในแบบที่เรารู้และรัก
  • 17:47 - 17:49
    ถ้าเราสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้
  • 17:49 - 17:50
    ผมคิดว่าเราจะดีขึ้นครับ
  • 17:50 - 17:54
    ในเรื่องของทฤษฎีของสติสัมปชัญญะ
  • 17:54 - 17:57
    ถ้าไม่ ผมคิดว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ยากที่สุด
  • 17:57 - 17:59
    ในหมวดวิทยาศาสตร์และปรัชญา
  • 17:59 - 18:02
    เราไม่สามารถคาดหวังที่จะแก้ปัญหานี้ภายในข้ามคืน
  • 18:02 - 18:06
    แต่ผมคิดว่าในที่สุดเราคงจะไขมันออกล่ะครับ
  • 18:06 - 18:09
    การเข้าใจสติสัมปชัญญะคือกุญแจที่สำคัญที่สุด ผมว่างั้นนะครับ
  • 18:09 - 18:11
    เพื่อเข้าใจจักรวาล
  • 18:11 - 18:14
    และเพื่อเข้าใจพวกเราเอง
  • 18:14 - 18:17
    อาจแค่ต้องเลือกความคิดบ้า ๆ
    ให้ถูกเท่านั้นแหละครับ
  • 18:17 - 18:19
    ขอบคุณครับ
  • 18:19 - 18:20
    (ปรบมือ)
Title:
คุณจะอธิบายสติสัมปชัญญะอย่างไร?
Speaker:
เดวิด คาร์ลเมอร์
Description:

สติสัมปชัญญะของเราเป็นเรื่องพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ นักปรัชญา เดวิด คาร์ลเมอร์: "ไม่มีอะไรที่เราทราบอย่างตรงๆ แต่ในเวลาเดียวกันมันเป็นเรื่องที่ลึกลับที่สุดในจักรวาล" เดวิดได้แบ่งปันวิธีการคิดบางอย่างเกี่ยวกับหนังที่เล่นอยู่ในหัวของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
18:37
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Suppadej Mahapokai accepted Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How do you explain consciousness?
Show all

Thai subtitles

Revisions