Return to Video

เราต้องการให้โลกมีความเท่าเทียมกันอย่างไร แล้วคุณจะประหลาดใจ

  • 0:01 - 0:04
    มันคงจะดีนะ ถ้าชีวิตไม่มีความลำเอียง
  • 0:04 - 0:06
    ในหลายๆ ทาง
  • 0:06 - 0:09
    ปัญหาก็คือ เราต่างก็มีแว่นหลากสี
  • 0:09 - 0:14
    ที่เราใส่เมื่อมองดูเหตุการณ์ต่างๆ กัน
  • 0:14 - 0:17
    ยกตัวอย่างเรื่องธรรมดาๆ เช่น เรื่องเบียร์
  • 0:17 - 0:20
    ถ้าผมเอาเบียร์ให้คุณชิมซัก 3-4 ยี่ห้อ
  • 0:20 - 0:23
    แล้วให้คุณจัดลำดับตามความเข้มข้นและความขม
  • 0:23 - 0:27
    เบียร์ต่างยี่ห้อ ก็จะถูกจัดลำดับต่างกันไป
  • 0:27 - 0:30
    แต่ถ้าเราพยายามที่จะพิจารณาอย่างยุติธรรม
  • 0:30 - 0:32
    ในกรณีของเบียร์ ก็คงทำได้ง่ายๆ
  • 0:32 - 0:34
    แต่ถ้าเราให้ทดสอบรสชาติแบบปิดตาล่ะ
  • 0:34 - 0:37
    เราทำเหมือนเดิม ชิมเบียร์กลุ่มเดิม
  • 0:37 - 0:41
    ทีนี้การปิดตา ผลลัพธ์อาจต่างออกไปเล็กน้อย
  • 0:41 - 0:43
    เบียร์ส่วนใหญ่ ถูกจัดไปรวมอยู่ในกลุ่มเดียว
  • 0:43 - 0:45
    คุณจะไม่สามารถแยกแยะมันพวกออกจากกันได้
  • 0:45 - 0:49
    และข้อยกเว้นคือ แน่ล่ะ คงเป็นเบียร์กินเนส
  • 0:49 - 0:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:51 - 0:54
    เช่นกัน เราลองคิดถึงเรื่องทางสรีระศาสตร์
  • 0:54 - 0:57
    จะเป็นอย่างไรถ้าคนคาดหวังกับ
    เรื่องทางกายภาพของเขา
  • 0:57 - 0:59
    ตัวอย่างเช่น เมื่อเราขายยาแก้ปวดให้กับคน
  • 0:59 - 1:02
    แล้วบอกกับบางคนว่า ยานั้นมีราคาแพง
  • 1:02 - 1:04
    แต่บางคน เราก็บอกว่ามันเป็นของราคาถูก
  • 1:04 - 1:07
    ปรากฎว่ายากลุ่มที่บอกราคาแพงให้ผลดีกว่า
  • 1:07 - 1:09
    มันช่วยแก้ปวดได้ดีกว่า
  • 1:09 - 1:13
    เพราะความคาดหวังนั้น
    ส่งผลต่อการเปลี่ยนทางกายภาพได้
  • 1:13 - 1:15
    และแน่นอน พวกเรารู้กันว่าในเรื่องกีฬา
  • 1:15 - 1:17
    ถ้าคุณเป็นแฟนของทีมใดทีมหนึ่ง
  • 1:17 - 1:19
    มันช่วยไม่ได้ที่คุณเห็นการที่
  • 1:19 - 1:22
    เกมพัฒนาไป โดยมุมมองของทีมที่คุณชอบ
  • 1:23 - 1:27
    ซึ่งในกรณีทั้งหมดนั้น
    เป็นเรื่องที่เราอุปาทานขึ้น
  • 1:27 - 1:30
    และความคาดหวังของเราก็ระบายสีสันให้กับโลก
  • 1:30 - 1:34
    แต่จะเกิดอะไรขึ้นกับคำถามที่สำคัญยิ่งกว่า
  • 1:34 - 1:37
    เกิดอะไรขึ้นกับคำถามที่มีผล
    ต่อความยุติธรรมในสังคม
  • 1:37 - 1:41
    ดังนั้นเราจึงอยากจะลองคิดถึง
    วิธีการทดสอบแบบปิดตา
  • 1:41 - 1:44
    ในเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันดูบ้าง
  • 1:44 - 1:46
    เราเริ่มต้นโดยมองไปที่ ความไม่เท่าเทียมกัน
  • 1:46 - 1:48
    และเราก็ทำการสำรวจขนาดใหญ่
  • 1:48 - 1:50
    ทั่วทั้งสหรัฐและประเทศอื่นๆ
  • 1:50 - 1:52
    เราตั้งคำถาม 2 ข้อว่า
  • 1:52 - 1:56
    ผู้คนทราบหรือไม่ว่า เรามีระดับ
    ความไม่เท่าเทียมกันแบบไหนบ้าง
  • 1:56 - 2:00
    แล้วค่อยถามต่อว่า
    เราอยากให้มีความไม่เท่าเทียมกันที่ระดับไหน
  • 2:00 - 2:02
    มาลองคิดถึงคำถามแรกกันก่อน
  • 2:02 - 2:04
    จินตนาการดูว่าผมนำประชาชนทั้งหมดในสหรัฐฯ
  • 2:04 - 2:07
    มาแบ่งประเภทเรียงกัน
    จากคนที่ยากจนที่สุดให้อยู่ทางขวา
  • 2:07 - 2:10
    คนที่รวยที่สุดให้อยู่ทางซ้าย
  • 2:10 - 2:12
    จากนั้นจึงแบ่งคนทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่ม
  • 2:12 - 2:15
    เริ่มจากคนจนที่สุด 20 %
    ถัดมาอีก 20%
  • 2:15 - 2:17
    และถัดกันมาเรื่อยๆ จนถึง
    กลุ่มคนที่รวยที่สุด 20%
  • 2:17 - 2:20
    และผมค่อยถามคุณว่า
    ความมั่งคั่งแค่ไหนที่คุณคิดว่า
  • 2:20 - 2:23
    รวมกันอยู่ในคนกลุ่มต่างๆ
  • 2:23 - 2:26
    เพื่อทำให้มันง่ายมากขึ้น
    ลองจินตนาการว่าผมถามคุณว่า
  • 2:26 - 2:28
    ความมั่งคั่งแค่ไหนที่รวมกันอยู่
  • 2:28 - 2:30
    ใน 2 กลุ่มคนที่อยู่ล่างสุด
  • 2:30 - 2:33
    รวมเป็นคนกลุ่มล่าง 40%
  • 2:33 - 2:35
    ลองใช้เวลาสักครู่ คิดถึงเรื่องนี้
    และนึกถึงตัวเลขไว้
  • 2:35 - 2:37
    โดยทั่วไปเราไม่ทันคิด
  • 2:37 - 2:40
    ลองคิดซักนิด แล้วเก็บตัวเลขไว้ในใจ
  • 2:40 - 2:41
    ได้หรือยังครับ
  • 2:41 - 2:44
    โอเคและนี่คือสิ่งที่
    คนอเมริกันจำนวนมากบอกเรา
  • 2:44 - 2:46
    พวกเขาคิดว่ากลุ่มล่างสุด 20%
  • 2:46 - 2:49
    มีความมั่งคั่งประมาณ 2.9%
  • 2:49 - 2:51
    กลุ่มถัดมา 6.4%
  • 2:51 - 2:53
    รวมกันก็เกิน 9% มานิดหน่อย
  • 2:53 - 2:57
    กลุ่มต่อมา พวกเขาบอกว่ามี 12%
  • 2:57 - 2:58
    20%
  • 2:58 - 3:03
    และกลุ่มคนที่รวยที่สุด 20% นั้น
    ผู้คนคิดว่าเขามั่งคั่งถึง 58 %
  • 3:03 - 3:06
    คุณคงเห็นได้ว่ามันสอดคล้องกับ
    สิ่งที่คุณเคยคิดอย่างไร
  • 3:06 - 3:08
    ทีนี้มาดูความเป็นจริงกันบ้าง
  • 3:08 - 3:10
    ความจริงนั้นต่างออกไปเล็กน้อย
  • 3:10 - 3:14
    20% ของกลุ่มล่างสุด
    มีความมั่งคั่งเพียง 0.1%
  • 3:14 - 3:16
    อีก20% ถัดมามีความมั่งคั่งที่ 0.2%
  • 3:17 - 3:20
    รวมกันเป็น 0.3%
  • 3:20 - 3:22
    กลุ่มถัดมามี 3.9%
  • 3:22 - 3:25
    รวมเป็น 11.3
  • 3:25 - 3:30
    และกลุ่มคนที่รวยที่สุด
    มีความมั่งคั่งรวมกันถึง 84-85%
  • 3:30 - 3:33
    จะเห็นว่า สิ่งที่เรามีจริงๆ
    กับสิ่งที่เราคิดว่าเรามี
  • 3:33 - 3:35
    นั้นช่างแตกต่างกัน
  • 3:35 - 3:37
    แล้วสิ่งที่เราต้องการล่ะ
  • 3:37 - 3:39
    เราจะรู้ได้อย่างไร
  • 3:39 - 3:41
    ลองดูนี่
  • 3:41 - 3:42
    เพื่อหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
  • 3:42 - 3:45
    เราคิดถึงนักปรัชญาชื่อ จอห์น รอลส์
  • 3:45 - 3:47
    ถ้าคุณจำ จอห์น รอลส์ ได้
  • 3:47 - 3:51
    เขาให้เหตุผลว่า
    สังคมที่เป็นธรรมเป็นอย่างไร
  • 3:51 - 3:52
    เขาบอกว่าสังคมที่เป็นธรรม
  • 3:52 - 3:55
    ก็คือสังคมที่ หากว่าคุณ
    รู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับมัน
  • 3:55 - 3:57
    คุณก็จะยินดีที่จะก้าวเข้ามาในที่ใดก็ได้
  • 3:57 - 3:59
    และมันก็เป็นคำจำกัดความที่สวยงาม
  • 3:59 - 4:01
    เพราะหากว่าคุณเป็นคนร่ำรวย
    คุณก็อาจต้องการให้คนร่ำรวย
  • 4:01 - 4:03
    มีเงินมากกว่า ให้คนจนมีน้อยกว่า
  • 4:03 - 4:05
    ถ้าคุณเป็นคนจน คงต้องการ
    ความเท่าเทียมมากขึ้น
  • 4:05 - 4:07
    แต่ถ้าคุณจะเข้าไปในสังคมนั้น
  • 4:07 - 4:11
    ในทุกสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้
    ซึ่งคุณไม่รู้
  • 4:11 - 4:13
    คุณก็ต้องพิจารณาในทุกแง่มุม
  • 4:13 - 4:16
    ก็คล้ายๆ กับการทดสอบแบบปิดตา
    ซึ่งคุณไม่รู้
  • 4:16 - 4:18
    ว่าผลจะเป็นอย่างไร
    เมื่อคุณตัดสินใจไป
  • 4:18 - 4:22
    และรอลส์เรียกสิ่งนี้ว่า
    "ผ้าคลุมหน้าของความไม่รู้"
  • 4:22 - 4:26
    เรามาดูกลุ่มอื่นดู กลุ่มใหญ่ของชาวอเมริกัน
  • 4:26 - 4:29
    แล้วเราถามคำถามพวกเค้าเรื่องของ
    ผ้าคลุมหน้าของความไม่รู้
  • 4:29 - 4:33
    อะไรคือคุณลักษณะของประเทศ
    ที่คุณอยากจะไปอยู่
  • 4:33 - 4:36
    โดยรู้ว่าคุณไปอยู่ที่ไหนก็ได้
  • 4:36 - 4:37
    และนี่ก็คือคำตอบที่เราได้
  • 4:37 - 4:40
    อะไรคือสิ่งที่ผู้คนอยากให้ ในกลุ่มแรก
  • 4:40 - 4:42
    กลุ่มที่เป็น 20% สุดท้าย
  • 4:42 - 4:44
    พวกเขาอยากให้มีความมั่งคั่งที่ 10%
  • 4:44 - 4:47
    กลุ่มถัดไปที่ 14% ของความมั่งคั่ง
  • 4:47 - 4:52
    21, 22 และ 32
  • 4:52 - 4:56
    ทีนี้ ไม่มีใครเลยในกลุ่มตัวอย่างที่อยากให้
    กลายเป็นความเท่าเทียมเต็มๆ
  • 4:56 - 5:00
    ไม่มีใครคิดเลยว่า ระบบสังคมนิยม
    คือความคิดอันสุดวิเศษในกลุ่มตัวอย่างของเรา
  • 5:00 - 5:02
    แต่ มันหมายความว่าอย่างไร
  • 5:02 - 5:04
    มันหมายความว่า เรามีช่องว่างของความรู้อยู่
  • 5:04 - 5:06
    ระหว่างสิ่งที่เรามี
    กับสิ่งที่เราคิดว่าเรามี
  • 5:06 - 5:10
    แต่อย่างน้อยก็มีช่องว่างขนาดใหญ่
    ระหว่างสิ่งที่เราคิดว่าถูก
  • 5:10 - 5:13
    กับสิ่งที่เราคิดว่าเรามีอยู่
  • 5:13 - 5:16
    ทีนี้ เราสามารถถามคำถามเหล่านี้
    ไม่เพียงแต่เรื่องความมั่งคั่ง
  • 5:16 - 5:18
    เราสามารถถามเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆได้ด้วย
  • 5:18 - 5:23
    ยกตัวอย่างเช่น เราถามผู้คน
    ที่มาจากที่ต่างๆของโลก
  • 5:23 - 5:24
    เกี่ยวกับคำถามนี้
  • 5:24 - 5:27
    คนที่เป็นพวกเสรีนิยม และ อนุรักษ์นิยม
  • 5:27 - 5:29
    แล้วพวกเขาให้คำตอบเหมือนๆกัน
  • 5:29 - 5:31
    เราถามกลุ่มคนรวยและจน
    แล้วเขาให้คำตอบที่เหมือนกัน
  • 5:31 - 5:33
    ชายและหญิง
  • 5:33 - 5:35
    กลุ่มคนที่ฟังเอ็นพีอาร์ (NPR)
    และคนที่อ่านฟอร์ปส์ (Forbes)
  • 5:35 - 5:38
    เราถามคนที่อังกฤษ ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ
  • 5:38 - 5:40
    คำตอบที่ได้คล้ายๆ กัน
  • 5:40 - 5:43
    เราถามแม้กระทั่งคนจากต่างคณะในมหาวิทยาลัย
  • 5:43 - 5:46
    เราไปที่ฮาวาร์ด และเข้าไปเช็คเกือบทุกคณะ
  • 5:46 - 5:48
    อันที่จริง จากโรงเรียนธุรกิจฮาวาร์ด
  • 5:48 - 5:51
    ที่ๆซึ่งมีไม่กี่คนที่ต้องการให้มีความมั่งคั่งมากขึ้น
    แล้วคนรวยมีน้อยลง
  • 5:51 - 5:54
    เป็นความคล้ายคลึงกันที่น่าทึ่ง
  • 5:54 - 5:57
    ผมรู้ว่าพวกคุณบางคนที่นี่เคยเรียนที่นั่น
  • 5:57 - 6:00
    เรายังถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องอื่นด้วย
  • 6:00 - 6:05
    เราถามถึงสัดส่วน
    ที่ผู้บริหารจ่ายให้กับแรงงานไร้ฝีมือ
  • 6:05 - 6:08
    ดังนั้นคุณจะได้เห็นสิ่งที่
    ผู้คนคิดเป็นอัตราส่วน
  • 6:08 - 6:12
    แล้วเราจะถามคำถามว่า
    คุณคิดว่าอัตราส่วนจะเป็นเท่าไหร่
  • 6:12 - 6:15
    เสร็จแล้วเราถึงจะถามได้ว่า
    แล้วความจริงเป็นอย่างไร
  • 6:15 - 6:18
    อะไรคือความจริง แล้วคุณพูดได้ว่า
    อืม มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ใช่มั้ย
  • 6:18 - 6:20
    สีแดง และสีเหลือง มันก็ไม่ได้ต่างกันมาก
  • 6:20 - 6:24
    แต่ข้อเท็จจริงคือ เป็นเพราะว่า
    ผมไม่ได้วาดมันลงไปโดยใช้สเกลเดียวกัน
  • 6:26 - 6:30
    มันยากที่จะเห็นว่า มีสีเหลืองและสีฟ้า
    อยู่ในนั้น
  • 6:30 - 6:32
    แล้วผลลัพธ์อื่นๆ ในเรื่องความมั่งคั่งล่ะ
  • 6:32 - 6:34
    ความมั่งคั่ง ไม่ใช่แค่นี้อย่างเดียว
  • 6:34 - 6:37
    เราถามว่า แล้วเรื่องของสุขภาพล่ะ
  • 6:37 - 6:41
    แล้วเรื่องการหาใบสั่งยามาได้ล่ะ
  • 6:41 - 6:43
    แล้วเรื่องของอายุขัย
  • 6:43 - 6:45
    เรื่องอายุขัยของเด็กทารก
  • 6:45 - 6:48
    เราอยากให้เรื่องนี้ กระจายไปอย่างไร
  • 6:48 - 6:50
    แล้วเรื่องการศึกษาของเด็กๆ
  • 6:50 - 6:52
    และผู้สูงอายุ
  • 6:52 - 6:55
    และจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
    สิ่งที่เราเรียนรู้นั่นคือ
  • 6:55 - 6:58
    ผู้คนไม่ชอบเรื่องความไม่เท่าเทียม
    ในเรื่องความมั่งคั่ง
  • 6:58 - 7:02
    แต่มันมีอย่างอื่น ที่ความไม่เท่าเทียม
    ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของความมั่งคั่ง
  • 7:02 - 7:04
    ซึ่งยิ่งสร้างความไม่ชอบใจต่อพวกเขา
  • 7:04 - 7:08
    ตัวอย่างเช่น ความไม่เท่าเทียมในเรื่อง
    สุขภาพและการศึกษา
  • 7:08 - 7:10
    เราเรียนรู้มาว่าผู้คนจะเปิดเผย
  • 7:10 - 7:13
    ที่จะเปลี่ยนแปลง ความเท่าเทียม
    เวลาที่มันมาถึงพวกเขา
  • 7:13 - 7:15
    เรามีตัวแทนน้อยลง
  • 7:15 - 7:17
    โดยพื้นฐานแล้วคือ ลูกๆ ของคุณ
  • 7:17 - 7:22
    เพราะเราไม่ได้คิดว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบ
    กับสถานการณ์ของเขา
  • 7:22 - 7:24
    แล้วบทเรียนที่ได้ในเรื่องนี้คืออะไร
  • 7:24 - 7:26
    เรามีช่องว่าง 2 แบบ
  • 7:26 - 7:28
    และช่องว่างทางความรู้ และ
    ช่องว่างของความพึงพอใจ
  • 7:28 - 7:31
    และช่องว่างทางความรู้
    เป็นบางสิ่งที่เราคิดไว้
  • 7:31 - 7:32
    เราให้ความรู้กับผู้คนอย่างไร
  • 7:32 - 7:35
    เราทำให้เขาคิดต่าง อย่างไร
    ในเรื่องความไม่เท่าเทียม
  • 7:35 - 7:39
    แล้วผลที่ได้จากความไม่เท่าเทียม
    ในเรื่องของสุขภาพและการศึกษา
  • 7:39 - 7:41
    ความริษยา อัตราการเกิดอาชญากรรม
    และเรื่องอื่นๆ
  • 7:41 - 7:43
    แล้วเราก็มีช่วงว่างของความพึงพอใจ
  • 7:43 - 7:47
    เราทำให้คนอื่นๆ คิดต่างอย่างไร
    ในเรื่องของสิ่งที่เราต้องการ จริงๆ
  • 7:47 - 7:50
    คุณเห็นมั้ย คำจำกับความของ รอลส์
    และสิ่งที่ รอลส์ มองโลกนี้
  • 7:50 - 7:52
    การทดสอบแบบปิดตา
  • 7:52 - 7:55
    จะดึงเอาสิ่งเร้าที่เห็นแก่ตัวของเราออกมา
  • 7:55 - 7:57
    เราจะนำสิ่งนั้นไปใช้อย่างไรในทางที่สูงขึ้น
  • 7:57 - 8:00
    หรือในสเกลที่ขยายเพิ่มขึ้น
  • 8:00 - 8:03
    และท้ายสุด เราก็ยังคงมีช่องว่างของการกระทำ
  • 8:03 - 8:06
    เราจะทำอย่างไรกับสิ่งนี้จริงๆ ดี
  • 8:06 - 8:09
    ผมคิดว่า ส่วนหนึ่งของคำตอบก็คือ
    การคิดถึงผู้คน
  • 8:09 - 8:12
    เช่นเด็กๆ และทารก
    ที่ไม่ได้มีหน้าที่อะไรมาก
  • 8:12 - 8:16
    เพราะคนเราดูเหมือนจะยอมทำสิ่งนี้
  • 8:16 - 8:21
    โดยสรุปแล้ว ผมอยากบอกว่า คราวหน้า
    ตอนที่คุณดื่มเบียร์ หรือไวน์
  • 8:21 - 8:25
    ก่อนอื่นให้คิดว่า โดยประสบการณ์
    ของคุณแล้ว อะไรเป็นของจริง
  • 8:25 - 8:28
    แล้วอะไรที่เป็นประสบการณ์ของคุณ
    ที่มันเป็น ปรากฎการณ์ยาหลอก
  • 8:28 - 8:30
    ที่มาจากความคาดหวัง
  • 8:30 - 8:33
    และคิดไปถึงว่า มันไปมีผลต่อ
    การตัดสินใจอื่นๆ ในชีวิตคุณอย่างไร
  • 8:33 - 8:35
    แล้วหวังว่าจะมีผลต่อคำถามเรื่องนโยบาย
  • 8:35 - 8:37
    ที่ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน
  • 8:37 - 8:38
    ขอบคุณมากครับ
  • 8:38 - 8:41
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราต้องการให้โลกมีความเท่าเทียมกันอย่างไร แล้วคุณจะประหลาดใจ
Speaker:
แดน อเรลี่ (Dan Ariely)
Description:

จากข่าวของเรื่องความไม่เท่าเทียมกันที่มีมากขึ้นในสังคมทำให้เราทุกคนรู้สึกไม่สบายใจ แต่ทำไมล่ะ แดน อเรลี่ เปิดเผยผลวิจัยใหม่ๆ ที่น่าประหลาดใจ เกี่ยวกับสิ่งที่เราคิดว่ามันยุติธรรมแล้ว ตราบใดที่นั่นเป็ฯการกระจายความมั่งคั่งไปทั่วทั้งสังคม ... แล้วแสดงให้เห็นผลทางสถิติของมัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:53

Thai subtitles

Revisions Compare revisions