Return to Video

ภาวะวิกฤติของยาปฏิชีวนะกำลังจะมาถึง

  • 0:01 - 0:04
    ผู้ป่วยคนแรก ที่เคยได้รับการรักษา
    ด้วยยาปฏิชีวนะ
  • 0:04 - 0:06
    คือ ตำรวจเมืองอ็อกฟอร์ด
  • 0:06 - 0:08
    ในวันหยุดงาน
  • 0:08 - 0:11
    เขาถูกหนามกุหลาบข่วน
    ขณะทำงานอยู่ในสวน
  • 0:11 - 0:15
    รอยข่วนเล็กๆนั้น เกิดอาการติดเชื้อ
  • 0:15 - 0:17
    สองสามวันต่อมา ศีรษะเขาก็บวมขึ้น
  • 0:17 - 0:19
    จากการกลัดหนอง
  • 0:19 - 0:21
    และความจริงแล้ว ตาข้างหนึ่งของเขา
    อักเสบมาก
  • 0:21 - 0:23
    จนกระทั่งแพทย์ต้องควักออก
  • 0:23 - 0:26
    จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1941
  • 0:26 - 0:28
    ชายผู้น่าสงสารคนนี้ ก็ใกล้จะเสียชีวิต
  • 0:28 - 0:32
    เขาอยู่ที่โรงพยาบาลแรดคลิฟฟ์
    ในอ็อกฟอร์ด
  • 0:32 - 0:34
    โชคดีสำหรับเขา
  • 0:34 - 0:35
    ทีมแพทย์กลุ่มเล็กๆ
  • 0:35 - 0:37
    นำโดย ด็อกเตอร์ ฮาวารด์ โฟลเรย์
  • 0:37 - 0:39
    ได้จัดการสังเคราะห์
  • 0:39 - 0:42
    เพ็นนิซิลินขึ้นมาได้ ในปริมาณเล็กน้อย
  • 0:42 - 0:44
    ซึ่งเป็นตัวยาที่ถูกค้นพบ
  • 0:44 - 0:46
    12 ปีก่อน โดย อเล็กซานเดอร์ เพล็มมิ่ง
  • 0:46 - 0:50
    แต่ไม่เคยถูกใช้ ในการรักษามนุษย์มาก่อน
  • 0:50 - 0:52
    จริงๆก็ไม่มีใครรู้ ว่ายานี้จะใช้ได้ผล
    หรือไม่
  • 0:52 - 0:56
    ว่ามันเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก
    ที่จะทำให้ตายได้ หรือไม่
  • 0:56 - 0:58
    แต่ฟอร์เรย์และทีมงาน ก็ประเมินว่า
  • 0:58 - 1:00
    ถ้าพวกเขาต้องใช้ยานี้ ก็อาจจะต้องใช้
  • 1:00 - 1:02
    กับผู้ป่วยที่อย่างไรเสีย ก็ต้องตาย
  • 1:02 - 1:06
    เขาจึงให้ยานี้ กับอัลเบอร์ท อเล็กซานเดอร์
  • 1:06 - 1:09
    กับตำรวจอ็อกฟอร์ดคนนี้
  • 1:09 - 1:11
    และภายใน 24 ชั่วโมง
  • 1:11 - 1:13
    เขาก็เริ่มมีอาการดีขึ้น
  • 1:13 - 1:17
    อาการไข้ลดลง ความอยากอาหารกลับมา
  • 1:17 - 1:20
    วันที่สอง เขาก็อาการดีขึ้นมาก
  • 1:20 - 1:22
    ยาเพ็นนิซิลินก็เริ่มจะหมดลง
  • 1:22 - 1:24
    พวกเขาจึงวิ่งไป พร้อมกับปัสสาวะ
    ของอัลเบิร์ท
  • 1:24 - 1:27
    ข้ามถนนไป เพื่อสังเคราะห์ยาจากปัสสาวะ
    ของอัลเปิร์ท
  • 1:27 - 1:29
    และนำยากลับไปให้เขา
  • 1:29 - 1:30
    และนั่นใช้ได้ผล
  • 1:30 - 1:32
    วันที่สี่ อาการก็ใกล้จะหายแล้ว
  • 1:32 - 1:34
    นี่เป็นความมหัศจรรย์
  • 1:34 - 1:38
    วันที่ห้า ยาเพ็นนิซิลินก็หมด
  • 1:38 - 1:41
    และชายผู้น่าสงสารนั้น ก็ตายไป
  • 1:41 - 1:43
    เรื่องนี้จึงจบอย่างไม่ดีนัก
  • 1:43 - 1:48
    แต่โชคดีสำหรับคนอื่นๆ อีกหลายล้านคน
  • 1:48 - 1:51
    เช่น เด็กคนนี้ ซึ่งได้รับการรักษาอีกครั้ง
    ตอนต้นๆของ 1940-49
  • 1:51 - 1:54
    เธอก็กำลังจะตาย จากติดเชื้อในกระแสเลือด
  • 1:54 - 1:57
    และภายในแค่หกวัน คุณก็เห็นได้ว่า
  • 1:57 - 2:00
    เธอหายป่วย ขอบคุณยามหัศจรรย์นี้
    เพ็นนิซิลิน
  • 2:00 - 2:02
    คนเป็นล้านๆคน ยังมีชีวิตอยู่ได้
  • 2:02 - 2:06
    และสุขภาพระดับโลก ก็เปลี่ยนแปลงไป
  • 2:06 - 2:09
    ปัจจุบัน ยาปฏิชีวนะได้ถูกนำมาใช้
  • 2:09 - 2:12
    สำหรับผู้ป่วย เช่นนี้
  • 2:12 - 2:14
    แต่มันก็ยังถูกใช้นำมาใช้ แบบเล่นๆอีกด้วย
  • 2:14 - 2:16
    ในบางตัวอย่าง เช่น
  • 2:16 - 2:18
    ใช้รักษาคนที่เป็น แค่ไข้หวัดหรือหวัดใหญ่
  • 2:18 - 2:20
    ซึ่งอาจจะไม่ได้ตอบสนอง กับยาปฏิชีวนะ
  • 2:20 - 2:24
    และยังถูกนำไปใช้ ในปริมาณมากๆ อีกด้วย
  • 2:24 - 2:28
    ไม่ใช่เพื่อการรักษา ซึ่งหมายถึง
    ให้ยาปริมาณเล็กน้อย
  • 2:28 - 2:31
    เพื่อทำให้ไก่และหมูตอน โตเร็วขึ้น
  • 2:31 - 2:35
    แค่เพื่อประหยัดเงินไม่กี่สตางค์
    ในราคาเนื้อ
  • 2:35 - 2:37
    เราได้ใช้ยาปฏิชีวนะไปมาก กับสัตว์
  • 2:37 - 2:40
    ไม่ใช่เพื่อการรักษา ไม่ใช่เพื่อสัตว์ป่วย
  • 2:40 - 2:43
    แต่ส่วนใหญ่ เพื่อการส่งเสริมการเติบโต
  • 2:43 - 2:46
    ครับ แล้วนั่นนำเราไปสู่อะไรหรือ?
  • 2:46 - 2:48
    โดยพื้นฐานแล้ว การใช้ยาปฏิชีวนะ
    อย่างมโหฬาร
  • 2:48 - 2:50
    ทั่วโลกนั้น
  • 2:50 - 2:54
    บังคับให้เกิด ความกดดันจากแรงคัดเลือก
    ตามธรรมชาติ กับแบคทีเรียอย่างมาก
  • 2:54 - 2:56
    จนกระทั่ง การดื้อยา ในปัจจุบัน เป็นปัญหา
  • 2:56 - 2:58
    ปัจจุบัน เราจึงได้เลือกเอาแต่เฉพาะ
  • 2:58 - 3:00
    แบคทีเรียที่ดื้อยา
  • 3:00 - 3:03
    และผมแน่ใจว่า ทุกท่านได้อ่านเรื่องนี้
    ในหนังสือพิมพ์แล้ว
  • 3:03 - 3:05
    คุณได้เห็นเรื่องนี้ ในนิตยสารทุกเล่ม
  • 3:05 - 3:07
    ที่คุณพบเห็น
  • 3:07 - 3:08
    แต่จริงๆแล้ว ผมอยากจะให้คุณรู้ซึ้งถึง
  • 3:08 - 3:10
    ความสำคัญของปัญหานี้
  • 3:10 - 3:12
    ปัญหานี้สาหัสนัก
  • 3:12 - 3:17
    สไลด์ถัดไป ผมจะแสดง การดื้อยา
    คาร์บาเพเนม ในตัวแมลง อซิโนแบคเตอร์
  • 3:17 - 3:19
    อซิโนแบคเตอร์ เป็นตัวแมลงน่ารังเกียจ
    ในโรงพยาบาล
  • 3:19 - 3:20
    และคาร์บาเพเนม ก็เกือบจะเป็น
  • 3:20 - 3:22
    ตัวยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่แรงที่สุด
  • 3:22 - 3:25
    ที่เราจะโยนเข้าใส่ตัวแมลงนี้ได้
  • 3:25 - 3:28
    และคุณก็เห็นได้ ในปี 1999
  • 3:28 - 3:30
    นี่เป็น รูปแบบของการดื้อยา
  • 3:30 - 3:33
    ส่วนใหญ่ตํ่ากว่าราว 10 เปอร์เซ็นต์
    ทั่วสหรัฐฯ
  • 3:33 - 3:37
    ทีนี้ดูว่า เกิดอะไรขึ้น เมื่อเปิดวิดีโอ
  • 3:46 - 3:49
    ผมไม่ทราบว่า คุณอาศัยอยู่ที่ไหนกันบ้าง
  • 3:49 - 3:51
    แต่ที่ไหนๆ แน่นอน มันแย่ลงมาก ในปัจจุบัน
  • 3:51 - 3:54
    แย่กว่าเมื่อปี 1999
  • 3:54 - 3:58
    และนั่นคือ ปัญหาของการดื้อยาปฏิชีวนะ
  • 3:58 - 4:00
    มันเป็นปัญหาระดับโลก
  • 4:00 - 4:02
    กระทบไป ทั้งประเทศรํ่ารวยและยากจน
  • 4:02 - 4:04
    และหัวใจของมัน คุณอาจจะกล่าวว่า
  • 4:04 - 4:06
    จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ปัญหาการแพทย์หรอกหรือ
  • 4:06 - 4:09
    ถ้าสอนแพทย์ให้วิธีรู้
    ที่ไม่ต้องใช้ยา ให้มากนัก
  • 4:09 - 4:12
    ถ้าเราสอนคนไข้
    ให้ไม่ต้องเรียกร้องยาปฏิชีวนะ
  • 4:12 - 4:13
    เรื่องนี้ จริงๆอาจไม่ใช่ปัญหา
  • 4:13 - 4:15
    และบางที บริษัทยา
  • 4:15 - 4:17
    ก็ควรจะทำงานให้หนักขึ้น เพื่อพัฒนา
  • 4:17 - 4:19
    ยาปฏิชีวนะ ให้มีมากขึ้น
  • 4:19 - 4:22
    กลายเป็นว่า มีสิ่งสำคัญบางอย่าง
    เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ
  • 4:22 - 4:24
    ซึ่งทำให้มันแตกต่างไปจากยาอื่นๆ
  • 4:24 - 4:26
    ซึ่งก็คือ ถ้าผมใช้ยาปฏิชีวนะ ผิดไป
  • 4:26 - 4:27
    หรือผมใช้ยาปฏิชีวนะ
  • 4:27 - 4:31
    ไม่ใช่ผมเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบ
    คนอื่นก็ถูกกระทบ เช่นกัน
  • 4:31 - 4:34
    ในแบบเดียวกันกับ หากผมเลือก
    ที่จะขับรถไปทำงาน
  • 4:34 - 4:36
    หรือขึ้นเครื่องบิน ไปที่ไหนสักแห่ง
  • 4:36 - 4:38
    ผมก็บังคับคนอื่น ต้องเสียหายไปด้วย
  • 4:38 - 4:41
    จากการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก
    ที่ไปถึงทุกที่
  • 4:41 - 4:43
    และผมไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง
    ความเสียหายเหล่านี้
  • 4:43 - 4:46
    นี่คือ นักเศรษฐศาสตร์อาจเรียกว่า
    ปัญหาของการใช้ทรัพยากรร่วม
  • 4:46 - 4:48
    ปัญหาการใช้ทรัพยากรร่วม ตรงเผงกับ
  • 4:48 - 4:51
    สิ่งที่เราเผชิญอยู่พอดี ในกรณียาปฏิชีวนะ
  • 4:51 - 4:53
    ที่ว่าเราไม่ได้พิจารณา--
  • 4:53 - 4:56
    และเราในที่นี้ รวมไปถึง
    คนแต่ละคน, คนไข้,
  • 4:56 - 4:59
    โรงพยาบาล, ระบบสุขอนามัยทั้งหมด--
  • 4:59 - 5:01
    เราไม่คิดถึงความเสียหาย
    ที่คนอื่นต้องเสียไปด้วย
  • 5:01 - 5:04
    โดยวิธีการที่ยาปฏิชีวนะ ถูกนำไปใช้จริง
  • 5:04 - 5:06
    ครับ นั่นเป็นปัญหาที่เหมือนกับ
  • 5:06 - 5:08
    อีกเรื่องหนึ่ง ที่เราทุกคนรู้กันอยู่
  • 5:08 - 5:10
    คือ การใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน
  • 5:10 - 5:11
    และแน่นอนครับ การใช้พลังงานนั้น
  • 5:11 - 5:14
    ทั้งทำให้พลังงานเสียไป และยังนำไปสู่
  • 5:14 - 5:18
    มลพิษในท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลง
    สภาพภูมิอากาศ
  • 5:18 - 5:20
    โดยปกติแล้ว ในกรณีของพลังงาน
  • 5:20 - 5:22
    มีวิธีการสองแบบ ที่คุณจะจัดการกับ
    ปัญหานั้นได้
  • 5:22 - 5:26
    หนึ่ง เราสามารถใช้นํ้ามันที่มีอยู่
    ให้ดีกว่านี้
  • 5:26 - 5:28
    และนั่นก็คล้ายคลึงกับ การใช้
  • 5:28 - 5:29
    ยาปฏิชีวนะที่มี ให้ดีกว่านี้
  • 5:29 - 5:31
    และเราทำสิ่งนี้ได้ ในหลายๆวิธีการ
  • 5:31 - 5:33
    ซึ่งเราจะพูดถึง อยู่ขณะนี้
  • 5:33 - 5:37
    แต่ตัวเลือกอีกตัวหนึ่งคือ
    ตัวเลือก "เจาะ, ไอ้หนู, เจาะเข้าไป"
  • 5:37 - 5:41
    ซึ่งในกรณียาปฏิชีวนะ คือ ไปหายาตัวใหม่ๆมา
  • 5:41 - 5:43
    ครับ เหล่านี้ไม่ได้แยกจากกัน
  • 5:43 - 5:47
    มันสัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราลงทุนไปอย่างหนัก
  • 5:47 - 5:49
    ในบ่อนํ้ามันใหม่ๆ
  • 5:49 - 5:52
    เราจะลด เรื่องการจูงใจที่จะอนุรักษ์นํ้ามัน
  • 5:52 - 5:54
    ในแบบเดียวกับ ที่จะเกิดกับยาปฏิชีวนะ
  • 5:54 - 5:56
    สิ่งตรงกันข้าม ก็จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน คือ
  • 5:56 - 5:59
    ถ้าเราใช้ยาปฏิชีวนะของเรา
    อย่างเหมาะสมแล้ว
  • 5:59 - 6:02
    เราก็ไม่จำเป็นต้อง ทำการลงทุน
  • 6:02 - 6:04
    ในเรื่องของ การพัฒนายาใหม่ๆขึ้นมา
  • 6:04 - 6:06
    ถ้าไปคิดว่า ทั้งสองนี้สมดุลย์กันทั้งหมดแล้ว
  • 6:06 - 6:08
    เต็มที่แล้ว ระหว่างตัวเลือกทั้งสองนี้
  • 6:08 - 6:10
    คุณก็อาจจะคิดพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่า
  • 6:10 - 6:13
    เรื่องนี้จริงๆแล้ว เป็นเกม
    ที่เรากำลังเล่นกัน
  • 6:13 - 6:15
    เกมนี้ จริงๆแล้ว คือ
    วิวัฒนาการร่วมอย่างหนึ่ง
  • 6:15 - 6:18
    วิวัฒนาการร่วม คือ ในภาพเฉพาะนี้
  • 6:18 - 6:20
    ระหว่าง เสือชีต้า กับ ละมั่ง
  • 6:20 - 6:22
    ชีต้าค่อยๆพัฒนา เพื่อวิ่งเร็วขึ้น
  • 6:22 - 6:24
    เพราะ ถ้าไม่วิ่งให้เร็วขึ้น
  • 6:24 - 6:26
    ก็จะไม่ได้ อาหารกลางวันมากิน
  • 6:26 - 6:28
    ละมั่งก็ค่อยๆพัฒนาให้วิ่งเร็วขึ้น เพราะว่า
  • 6:28 - 6:32
    ถ้าไม่วิ่งให้เร็วขึ้น ก็จะเป็นมื้อกลางวัน
  • 6:32 - 6:34
    ครับ นี่เป็นเกม
    ที่เรากำลังเล่นอยู่ กับแบคทีเรีย
  • 6:34 - 6:36
    เว้นเสียแต่ว่า เราไม่ได้เป็นชีต้า
  • 6:36 - 6:38
    แต่เราเป็นละมั่ง
  • 6:38 - 6:41
    และเชื้อแบคทีเรียก็จะ
  • 6:41 - 6:43
    แค่ในช่วงเวลา ของการพูดสั้นๆนี้
  • 6:43 - 6:44
    อาจจัดการ ลูกหลานเราไปแล้ว
  • 6:44 - 6:46
    และอาจกำลังคิดวิธีการ ที่จะต้านทาน
  • 6:46 - 6:49
    โดยใช้แค่ การคัดสรร และลองผิดลองถูก
  • 6:49 - 6:51
    ทดลองดูซํ้าๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 6:51 - 6:55
    ตรงกันข้าม เราจะยังคงนำหน้าแบคทีเรีย
    ได้อย่างไร
  • 6:55 - 6:57
    เรามีกระบวนการ ค้นพบตัวยาใหม่ๆ
  • 6:57 - 6:58
    เรามีการทดสอบคัดเลือกโมเลกุล
  • 6:58 - 7:00
    มีการทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิค
  • 7:00 - 7:02
    แล้วเมื่อเราคิดว่า เราได้ตัวยามาแล้ว
  • 7:02 - 7:06
    เราก็มี กระบวนการตามระเบียบ
    องค์การอาหารและยา
  • 7:06 - 7:08
    และเมื่อเราผ่านพ้น ทั้งหมดนั้นไปได้
  • 7:08 - 7:10
    แล้วเราพยายาม ที่จะยังอยู่นำหน้า
  • 7:10 - 7:13
    แบคทีเรีย หนึ่งขั้น
  • 7:13 - 7:15
    ครับ เรื่องนี้ชัดเจน
    ไม่ใช่เกมที่ยั่งยืนได้ หรือ
  • 7:15 - 7:16
    เกมที่เราจะเอาชนะได้
  • 7:16 - 7:18
    โดยแค่สร้างนวัตกรรม ให้ยังคงนำหน้าอยู่
  • 7:18 - 7:22
    เราต้องทำให้ ก้าวของวิวัฒนาการร่วม ช้าลง
  • 7:22 - 7:25
    มีความคิดที่เราสามารถยืมมาได้
    จากเรื่องพลังงาน
  • 7:25 - 7:27
    ที่ช่วยเราได้ ในการคิดเกี่ยวกับว่า
  • 7:27 - 7:29
    เราอาจต้องการทำเรื่องนี้อย่างไร
  • 7:29 - 7:30
    ในกรณีของยาปฏิชีวนะ ก็หมือนกัน
  • 7:30 - 7:32
    ครับ ถ้าคุณคิดถึงวิธีจัดการกับ
  • 7:32 - 7:34
    อาทิเช่น การตั้งราคาพลังงาน
  • 7:34 - 7:36
    เราพิจารณาถึง ภาษีการปล่อยสารมลพิษ
  • 7:36 - 7:38
    หมายถึง เรากำลังบังคับให้เก็บเงิน
    ค่าเสียหายจากมลพิษ
  • 7:38 - 7:41
    กับผู้คนที่ใช้พลังงานนั้นจริงๆ
  • 7:41 - 7:44
    เราอาจพิจารณาทำอย่างนั้น
    กับยาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกัน
  • 7:44 - 7:47
    และบางที นั่นอาจทำให้แน่ใจได้ว่า
    ยาปฏิชีวนะนั้น
  • 7:47 - 7:49
    ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม อย่างแท้จริง
  • 7:49 - 7:51
    มีเงินสนับสนุนพลังงานสะอาด
  • 7:51 - 7:54
    ซึ่งก็คือ เพื่อให้เปลี่ยนไปเป็นเชื้อเพลิง
    ที่ไม่สร้างมลพิษมากนัก
  • 7:54 - 7:57
    หรือบางที ไม่จำต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 7:57 - 8:00
    ครับ การเปรียบเทียบตรงนี้ คือ
    บางทีเราจำเป็นต้อง
  • 8:00 - 8:02
    เลิกใช้ยาปฏิชีวนะ
  • 8:02 - 8:06
    และถ้าคุณคิดเรื่องนี้ว่า
    อะไรดี? จะเอามาแทนที่ยาปฏิชีวนะ
  • 8:06 - 8:08
    ครับ กลายเป็นอะไรก็ได้ ที่ลดความต้องการ
  • 8:08 - 8:10
    ยาปฏิชีวนะลงได้ จริงๆแล้ว ก็จะใช้ได้
  • 8:10 - 8:13
    นั่นจึงรวมถึง การปรับปรุงการควบคุม
    การติดเชื้อของโรงพยาบาล
  • 8:13 - 8:16
    หรือ การฉีดวัคซีนให้กับผู้คน
  • 8:16 - 8:19
    โดยเฉพาะ เพื่อกันเชื้อไข้หวัดใหญ่
  • 8:19 - 8:21
    และไข้หวัดใหญ่นั้น น่าจะเป็น
  • 8:21 - 8:24
    ตัวขับใหญ่ที่สุด ในการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • 8:24 - 8:27
    ทั้งในประเทศนี้ และในอีกหลายๆประเทศด้วย
  • 8:27 - 8:29
    และนั่นก็จะช่วยได้จริงๆ
  • 8:29 - 8:33
    ทางเลือกที่สาม อาจรวมถึงสิ่งที่คล้ายกับ
    การซื้อขายใบอนุญาต
  • 8:33 - 8:38
    และทั้งหมดนี้ ดูจะเป็นเรื่องที่ห่างไกล
  • 8:38 - 8:40
    แต่ถ้าคุณพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า
    เราอาจจะไม่มี
  • 8:40 - 8:43
    ยาปฏิชีวนะ ให้กับคนอีกมาก ที่ติดเชื้อ
  • 8:43 - 8:46
    อาจพิจารณาถึง ข้อเท็จจริงที่ว่า
    เราอาจต้องการ
  • 8:46 - 8:48
    กำหนดว่า จริงๆใครที่จะใช้
    ยาปฏิชีวนะพวกนี้บางตัว
  • 8:48 - 8:51
    และไม่ใช้ยาตัวอื่น
  • 8:51 - 8:54
    และตัวยาบางตัว อาจต้องอยู่บนพื้นฐาน
    ความจำเป็นทางการแพทย์
  • 8:54 - 8:56
    และบนพื้นฐานของการตั้งราคา อีกด้วย
  • 8:56 - 8:58
    ที่แน่ๆ การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ยา
    ยังใช้ได้
  • 8:58 - 9:00
    บ่อยครั้งมาก คนใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป
  • 9:00 - 9:03
    หรือสั่งยามากเกินไป
  • 9:03 - 9:04
    โดยไม่รู้ตัว ว่าได้ทำอย่างนั้น
  • 9:04 - 9:06
    กลไกป้อนกลับ หรือ ฟีดแบ็ก
  • 9:06 - 9:08
    จึงพบว่ามีประโยชน์
  • 9:08 - 9:09
    ทั้งในเรื่องของพลังงาน--
  • 9:09 - 9:11
    เมื่อคุณบอกกับเขาว่า กำลังใช้
  • 9:11 - 9:13
    พลังงานมาก ในชั่วโมงที่มีการใช้สูงสุด
  • 9:13 - 9:14
    พวกเขาก็จะลดการใช้ลงมา
  • 9:14 - 9:16
    ตัวอย่างแบบเดียวกันนี้ ได้ถูกนำไปทำ
  • 9:16 - 9:18
    แม้ในกรณีของยาปฏิชีวนะ
  • 9:18 - 9:20
    โรงพยาบาลในเซ็นต์หลุยส์ อาจจะเอาไปติด
  • 9:20 - 9:24
    ไว้บนผังตาราง ชื่อของแพทย์ผ่าตัด
  • 9:24 - 9:26
    ตามลำดับความมากน้อย ของยาปฏิชีวนะ
    ที่แพทย์ใช้
  • 9:26 - 9:28
    ในเดือนก่อนหน้านั้น
  • 9:28 - 9:31
    แท้จริง นี่เป็นการให้ข้อมูลกลับไป
  • 9:31 - 9:32
    ไม่มีความละอายใดๆ
  • 9:32 - 9:34
    แต่ที่สำคัญ มันได้ให้บางอย่างกลับไป
  • 9:34 - 9:36
    ถึงแพทย์ผ่าตัด ที่บางทีก็ไม่ได้คิดซํ้า
  • 9:36 - 9:38
    ว่าพวกเขาใช้ยาปฏิชีวนะไปอย่างไร
  • 9:38 - 9:40
    ครับ มีอีกมาก ที่สามารถจะทำได้
  • 9:40 - 9:42
    ในด้านของอุปทาน ก็เช่นเดียวกัน
  • 9:42 - 9:44
    ถ้าคุณมองที่ ราคาของยาแอสไพริน
  • 9:44 - 9:46
    ค่าใช้จ่ายต่อวัน ประมาณ 10 เซ็นต์
  • 9:46 - 9:48
    เป็นยาที่ราคาถูกมาก
  • 9:48 - 9:50
    ถ้าคุณเอายา ที่ถูกนำมาใช้
    ตั้งแต่นั้นมา--
  • 9:50 - 9:52
    ก็จะมี ไลเนโซลิด หรือ แดพโทมายซิน--
  • 9:52 - 9:54
    ยาพวกนั้น จะแพงกว่าอย่างเห็นได้ชัด
  • 9:54 - 10:00
    ดังนั้น โลกที่เคยชินกับการจ่าย
    10 เซ็นต์ ต่อวัน เป็นค่ายาปฏิชีวนะ
  • 10:00 - 10:02
    ความคิดว่า ต้องจ่ายวันละ 180 ดอลลาร์
    เป็นค่ายา
  • 10:02 - 10:04
    จึงดูเหมือนจะมาก
  • 10:04 - 10:06
    แต่ เรื่องนี้ จริงๆบอกอะไรกับเรา?
  • 10:06 - 10:08
    ราคานั้น กำลังบอกเราว่า
  • 10:08 - 10:10
    เราควรจะเลิกคิดว่า
    ยาปฏิชีวนะ ที่ถูกและ
  • 10:10 - 10:14
    ใช้ได้ผลนั้น จะเป็นอย่างนั้นตลอดไป
  • 10:14 - 10:15
    จนถึงอนาคตข้างหน้า
  • 10:15 - 10:18
    และก็บอกเราว่า ราคานั้น
    เป็นสัญญาณบอกเรา
  • 10:18 - 10:20
    ว่าบางที่ เราจำเป็นต้อง
  • 10:20 - 10:22
    เอาใจใส่ให้มากขึ้น กับเรื่องการอนุรักษ์
  • 10:22 - 10:25
    ราคานั้น ยังเป็นสัญญาณอีกด้วยว่า
  • 10:25 - 10:28
    บางที เราอาจจำเป็นต้องเริ่มมองที่
    เทคโนโลยี่อื่นๆ
  • 10:28 - 10:30
    ในแบบเดียวกับที่ ราคานํ้ามัน
    เป็นสัญญาณ
  • 10:30 - 10:33
    และเป็นแรงกระตุ้นในเรื่อง เช่น
  • 10:33 - 10:35
    การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า
  • 10:35 - 10:37
    ราคา เป็นสัญญาณสำคัญ
  • 10:37 - 10:38
    และเราจำเป็นต้องเอาใจใส่
  • 10:38 - 10:41
    แต่เราก็ต้องพิจารณาอีกด้วย
    ถึงข้อเท็จจริงว่า
  • 10:41 - 10:45
    แม้ราคาที่สูงเหล่านี้
    ดูจะผิดปกติไป สำหรับยาปฏิชีวนะ
  • 10:45 - 10:47
    แต่เหมือนกับได้มาฟรี เมื่อเปรียบเทียบกับ
    ราคาต่อวัน
  • 10:47 - 10:49
    ของยาโรคมะเร็งบางตัว
  • 10:49 - 10:52
    ซึ่งอาจรักษาชีวิตคนไข้ไว้ได้
    แค่ 2-3 เดือน หรืออาจจะ 1 ปี
  • 10:52 - 10:54
    ขณะที่ ยาปฏิชีวนะมีศักยภาพ
  • 10:54 - 10:56
    รักษาชีวิตคนไข้ไว้ได้ ตลอดกาล
  • 10:56 - 10:57
    เรื่องนี้จึงจะเกี่ยวข้องกับ
  • 10:57 - 10:59
    การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ทั้งหมด
  • 10:59 - 11:01
    และยังเป็นการเปลี่ยนที่น่าตกใจ อีกด้วย
  • 11:01 - 11:03
    ในหลายๆส่วน ของประเทศนี้
  • 11:03 - 11:05
    ในหลายๆส่วน ของโลก
  • 11:05 - 11:07
    ความคิดเรื่องการจ่าย 200 ดอลล่าร์
  • 11:07 - 11:10
    ต่อหนึ่งวัน ในการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะนั้น
  • 11:10 - 11:12
    คาดคิดไม่ถึง
  • 11:12 - 11:14
    เราจึงต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย
  • 11:14 - 11:16
    ครับ มีตัวเลือกด่านสุดท้าย
  • 11:16 - 11:18
    คือ เทคโนโลยีทางเลือก อื่นๆ
  • 11:18 - 11:20
    ที่ผู้คนกำลังทำกันอยู่
  • 11:20 - 11:22
    ได้แก่ แบคเทอริโอเฟจ, โพรไบโอติก
  • 11:22 - 11:26
    ควอรั่มเซ็นซิ่ง, ซินไบโอติก
  • 11:26 - 11:29
    ครับ ทั้งหมดนี้ เป็นลู่ทาง
    ที่จะไปกัน
  • 11:29 - 11:32
    และมันจะเป็นไปจนถึง ผลกำไรที่มากกว่า
  • 11:32 - 11:35
    เมื่อราคายาปฏิชีวนะใหม่ๆ เริ่มจะสูงขึ้น
  • 11:35 - 11:38
    และเราก็ได้เห็นว่า ตลาดนั้นตอบรับมาจริงๆ
  • 11:38 - 11:40
    และปัจจุบัน รัฐบาลก็กำลังพิจารณา
  • 11:40 - 11:44
    วิธีให้เงินช่วยเหลือ ยาปฏิชีวนะใหม่ๆ
    และการพัฒนา
  • 11:44 - 11:45
    แต่ก็มีความท้าทาย อยู่ตรงนี้
  • 11:45 - 11:47
    เราไม่ต้องการแค่โยนเงินไปที่ปัญหา
  • 11:47 - 11:49
    สิ่งที่เราต้องการจะทำให้ได้
  • 11:49 - 11:51
    ก็คือ การลงทุน ในยาปฏิชีวนะใหม่ๆ
  • 11:51 - 11:54
    ในแบบที่ แท้จริงแล้วส่งเสริม
  • 11:54 - 11:57
    การใช้และขาย ยาปฏิชีวนะเหล่านั้น
    อย่างเหมาะสม
  • 11:57 - 11:59
    และจริงๆแล้ว ความท้าทาย อยู่ตรงนี้เอง
  • 11:59 - 12:02
    ครับ กลับไปที่เทคโนโลยี่เหล่านี้
  • 12:02 - 12:04
    ทุกท่านจดจำถ้อยคำ จากภาพยนตร์ไดโนเสา
  • 12:04 - 12:06
    ที่รู้จักกัน "ธรรมชาติจะหาหนทาง"
  • 12:06 - 12:10
    จึงไม่ใช่ราวกับว่า สิ่งเหล่านี้
    เป็นการแก้ปัญหาแบบถาวร
  • 12:10 - 12:14
    จริงๆแล้ว เราต้องจำไว้ว่า
    ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอะไร
  • 12:14 - 12:16
    จงจำไว้ว่า ธรรมชาติจะหาวิธี
    เพื่อจัดการกับเรื่องนั้น
  • 12:16 - 12:19
    คุณอาจจะคิดว่า นี่ก็แค่เป็นปัญหา
  • 12:19 - 12:21
    กับยาปฏิชีวนะ และกับแบคทีเรีย
  • 12:21 - 12:23
    แต่กลับกลายเป็นว่า เรามีปัญหา
  • 12:23 - 12:26
    เหมือนกันเปี๊ยบ ในสาขาอื่นๆอีกมาก เช่นกัน
  • 12:26 - 12:29
    กับวัณโรคที่ดื้อยาหลายชนิด
  • 12:29 - 12:32
    ซึ่งเป็นปัญหาหนัก ในอินเดีย และอัฟริกาใต้
  • 12:32 - 12:34
    คนไข้หลายพันคน กำลังจะตาย เพราะว่า
  • 12:34 - 12:36
    ยาอีกตัวหนึ่งนั้น ราคาแพงมาก
  • 12:36 - 12:38
    และในบางกรณี แม้กระทั่งยาพวกนั้น
    ก็ใช้การไม่ได้
  • 12:38 - 12:40
    และคุณเป็น วัณโรคที่ดื้อยามากๆ
  • 12:40 - 12:42
    ไวรัสก็กำลังจะดื้อยา
  • 12:42 - 12:45
    ศัตรูพืช, ตัวพยาธิมาลาเรีย
  • 12:45 - 12:47
    ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ของโลก พึ่งพา
  • 12:47 - 12:51
    ยาตัวหนึ่ง คือ ยาอาติมิซินิน
  • 12:51 - 12:53
    สำคัญยิ่ง ในการรักษามาลาเรีย
  • 12:53 - 12:55
    การดื้อยาอาติมิซินิน ได้เกิดขึ้นแล้ว
  • 12:55 - 12:58
    และถ้าการดื้อยานี้ ขยายออกไป
  • 12:58 - 12:59
    ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้น
  • 12:59 - 13:02
    กับยาเพียงตัวเดียว
    ที่เราต้องใช้รักษามาลาเรีย ทั่วโลก
  • 13:02 - 13:05
    ในแบบที่ ปัจจุบัน ปลอดภัย
    และมีประสิทธิภาพ
  • 13:05 - 13:07
    ยุงก็พัฒนาการดื้อยาขึ้นมา
  • 13:07 - 13:09
    ถ้าคุณมีลูก คุณน่าจะทราบเรื่อง
    ตัวเหาบนศีรษะ
  • 13:09 - 13:11
    และถ้าคุณมาจากกรุงนิวยอร์ค
  • 13:11 - 13:14
    ผมเข้าใจว่า พิเศษเฉพาะที่นั่น
    คือตัวเรือด
  • 13:14 - 13:16
    พวกนั้นก็ดื้อยา ด้วยเหมือนกัน
  • 13:16 - 13:19
    เราต้องนำตัวอย่าง
    มาจาก อีกผั่งของแอตแลนติค
  • 13:19 - 13:21
    กลายเป็นว่าพวกหนู ก็ดื้อยาเบื่อด้วย
  • 13:21 - 13:24
    ที่เหมือนกัน สำหรับเรื่องทั้งหมดนี้ คือ
  • 13:24 - 13:27
    ความคิดว่า เราได้มีเทคโนโลยี่พวกนี้มา
  • 13:27 - 13:31
    เพื่อควบคุมธรรมชาติได้เพียง 70, 80
    หรือ 100 ปี ที่ผ่านมาแล้ว
  • 13:31 - 13:34
    และที่สำคัญ แค่พริบตาเดียว
  • 13:34 - 13:37
    เราได้ใช้ความสามารถ ในการควบคุมนี้
    ไปอย่างฟุ่มเฟือย
  • 13:37 - 13:39
    เพราะว่า เราไม่เคยยอมรับรู้ว่า
  • 13:39 - 13:42
    การคัดสรร และการวิวัฒน์ของธรรมชาติ
    ก็จะค้นหา
  • 13:42 - 13:43
    วิธีการ เพื่อจะกลับคืน
  • 13:43 - 13:45
    เราจำต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่
    โดยสิ้นเชิง
  • 13:45 - 13:48
    ว่าเราจะใช้มาตรการใด
  • 13:48 - 13:51
    เพื่อควบคุมสิ่งมีชีวิตเชิงชีวภาพ
  • 13:51 - 13:54
    และคิดทบทวน ในวิธีการ ที่เราใช้จูงใจ
  • 13:54 - 13:56
    การพัฒนา การเริ่มนำเข้ามาใช้
  • 13:56 - 13:59
    ในกรณีของ การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ
  • 13:59 - 14:03
    และการใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่าเหล่านี้
  • 14:03 - 14:05
    จริงๆแล้ว ปัจจุบันเราจำเป็นต้องเริ่มคิดว่า
  • 14:05 - 14:07
    สิ่งเหล่านี้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
  • 14:07 - 14:09
    ดังนั้น เราจึงยืนอยู่ที่ทางแยก
  • 14:09 - 14:13
    ตัวเลือก คือ จะไปตามทาง
    ที่จะคิดทบทวนใหม่
  • 14:13 - 14:14
    และพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงแรงจูงใจ
  • 14:14 - 14:17
    ที่จะเปลี่ยน วิธีที่เราทำธุรกิจ
  • 14:17 - 14:19
    ทางเลือกนั้น คือ
  • 14:19 - 14:22
    โลกที่แม้แต่ ใบหญ้าใบเดียว
  • 14:22 - 14:25
    ก็เป็นอาวุธ ที่มีศักยภาพ ทำให้ถึงตายได้
  • 14:25 - 14:27
    ขอบคุณครับ
  • 14:27 - 14:29
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ภาวะวิกฤติของยาปฏิชีวนะกำลังจะมาถึง
Speaker:
รามานัน ลักษมีนารายัน
Description:

ยาปฏิชีวนะช่วยรักษาชีวิตไว้ได้ แต่เราก็ใช้มันมากเกินไป --และบ่อยๆใช้ไปเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ได้เพื่อการรักษาชีวิต อย่างเช่น ใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ แม้จนกระทั่งใช้เลี้ยงไก่ราคาถูกๆ
รามานัน ลักษมีนารายัน บอกว่า ผลก็คือ ตัวยาจะใช้การไม่ได้สำหรับทุกคน เพราะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเป้าหมาย พัฒนาตัวเองให้ดื้อยาขึ้นเรื่อยๆ เขาเรียกร้องให้เราทุกคน (คนไข้และแพทย์) ให้คิดถึงยาปฏิชีวนะ --และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องของมัน--ว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด และให้คิดอีกครั้ง ก่อนที่เราจะนำมันไปใช้ เป็นการมองอย่างจริงจัง ถึงวิธีที่แนวโน้มทางการแพทย์ของโลก จะสามารถเข้าเป้าได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:42
TED Translators admin approved Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
Rawee Ma accepted Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The coming crisis in antibiotics
Show all

Thai subtitles

Revisions