Return to Video

ภาษาวิวัฒนาการมาอย่างไร- อเล็กซ์ เจนด์เลอร์ (Alex Gendler)

  • 0:07 - 0:10
    เรื่องราวในพระคัมภีร์ เล่าถึง
    หอคอยแห่งเมืองบาเบล
  • 0:10 - 0:13
    ซึ่งเล่าว่าแต่เดิมนั้น
    มนุษย์เราพูดภาษาเดียวกัน
  • 0:13 - 0:15
    แต่แล้วเราก็ถูกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ
  • 0:15 - 0:17
    จนเราไม่สามารถพูดกันเข้าใจได้
  • 0:17 - 0:21
    เราไม่ทราบแน่ว่า
    ภาษากลางตั้งต้นนั้นมีอยู่จริงหรือไม่
  • 0:21 - 0:24
    แต่เรารู้ว่า ในภาษาจำนวนหลายพัน
    ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้
  • 0:24 - 0:27
    สามารถสืบย้อนไป จนเหลือจำนวนไม่กี่ภาษา
  • 0:27 - 0:29
    แล้วทำไมเราจึงมีภาษามากมาย
  • 0:29 - 0:32
    ในยุคแรกของการอพยพย้ายถิ่นฐาน
  • 0:32 - 0:34
    โลกของเรายังมีประชากรน้อย
  • 0:34 - 0:37
    กลุ่มชนต่างๆ ก็มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน
  • 0:37 - 0:39
    แต่ก็มักจะแบ่งออกเป็นเผ่าต่างๆ
  • 0:39 - 0:42
    ซึ่งแต่ละเผ่าก็อพยพไปคนละทาง ตามแต่
    ลักษณะพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และล่าสัตว์ได้
  • 0:42 - 0:45
    เมื่ออพยพไปตั้งถิ่นฐานในถิ่นใหม่
  • 0:45 - 0:47
    พวกเขาแยกห่างจากกัน
  • 0:47 - 0:49
    และพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
  • 0:49 - 0:50
    ช่วงเวลาหลายร้อยปี
    ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
  • 0:50 - 0:52
    ทานอาหารต่างกัน
  • 0:52 - 0:53
    พบเจอเพื่อนบ้านหลายแบบ
  • 0:53 - 0:57
    และเปลี่ยนเสียงที่เคยคล้ายคลึงกัน
    ให้ต่างออกไป และมีคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
  • 0:57 - 0:59
    จนในที่สุดก็กลายเป็นคนละภาษา
  • 0:59 - 1:03
    ภาษาต่างๆ ก็แยกย่อยออกไปเรื่อยๆ
    เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 1:03 - 1:07
    เช่นเดียวกับการสืบหาต้นตระกูล
    นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่ก็พยายามทำการสืบค้น
  • 1:07 - 1:10
    ที่มาของภาษาต่างๆ ย้อนกลับไปในอดีต
  • 1:10 - 1:13
    จนกระทั่งพบว่าภาษาใดบ้างที่มีบรรพบุรุษ
    หรือ ภาษาต้นกำเนิดเดียวกัน
  • 1:13 - 1:17
    ภาษาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันในอดีตเช่นนี้
    เราเรียกว่าเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน
  • 1:17 - 1:20
    ซึ่งอาจประกอบด้วย กิ่งก้านสาขา
    แยกย่อยออกไปมากมาย
  • 1:20 - 1:24
    แล้วเราจะบอกได้อย่างไรว่า ภาษาเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน
  • 1:24 - 1:27
    เสียงที่ฟังดูคล้ายกัน อาจไม่ช่วยบอกอะไร
  • 1:27 - 1:30
    เพราะมันอาจเป็นการสืบหารากศัพท์ที่ผิดพลาด
    หรืออาจเป็นคำที่ยืมมา
  • 1:30 - 1:32
    มากกว่าที่จะเป็นภาษาที่มีรากเดียวกัน
  • 1:32 - 1:35
    ไวยากรณ์ หรือ วากยสัมพันธ์ (Syntax)
    เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือมากกว่า
  • 1:35 - 1:36
    รวมทั้งเราอาจดูจากคำศัพท์พื้นฐานร่วมด้วย
  • 1:36 - 1:39
    เช่น คำคุณศัพท์ การนับเลข
    หรือ คำบอกความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • 1:39 - 1:42
    ที่ไม่ค่อยถูกยืมมาจากภาษาอื่น
  • 1:42 - 1:44
    การนำข้อมูลลักษณะนี้มาเปรียบเทียบกัน
    อย่างเป็นระบบ
  • 1:44 - 1:46
    เพื่อมองหารูปแบบความคล้ายคลึงกัน
    หรือลักษณะการแปลงเสียงที่เหมือนกัน
  • 1:46 - 1:49
    ระหว่างภาษาสองภาษา
  • 1:49 - 1:51
    ทำให้นักสัทศาสตร์สามารถบอกได้
  • 1:51 - 1:53
    ถึงความสัมพันธ์ และสืบย้อนกลับเพื่อหา
    ลำดับขั้นพัฒนาการของภาษา
  • 1:53 - 1:57
    และยังสามารถสร้างภาษายุคโบราณขึ้นมา
    ทั้งที่ไม่ปรากฏภาษาเขียนได้อีกด้วย
  • 1:57 - 2:01
    นักสัทศาสตร์ยังสามารถให้ข้อมูล
    ด้านประวัติศาสตร์อื่นๆ ได้อีก
  • 2:01 - 2:05
    เช่น ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัย
    และวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยโบราณ
  • 2:05 - 2:07
    โดยอ้างอิงจากที่มาของคำศัพท์
    ที่คนกลุ่มนั้นใช้
  • 2:07 - 2:09
    และคำศัพท์ที่ยืมมา
  • 2:09 - 2:11
    แต่นักสัทศาสตร์ประสบปัญหาใหญ่
    อยู่สองประการ
  • 2:11 - 2:13
    เวลาที่พวกเขาพยายามวาด
    แผนภูมิเครือญาติของภาษา
  • 2:13 - 2:16
    ปัญหาแรกคือ พวกเขาไม่สามารถตัดสินได้ว่า
  • 2:16 - 2:18
    กิ่งก้านสาขาที่แตกแขนงออกไป
    จะจบลงที่ตรงไหน
  • 2:18 - 2:23
    จะบอกได้จากอะไรว่า ภาษาใดบ้างควรถูกจัดเป็นภาษาหนึ่ง หรือเป็นเพียงสำเนียงถิ่น
  • 2:23 - 2:25
    เช่น ภาษาจีน นับเป็นหนึ่งภาษา
  • 2:25 - 2:29
    แต่สำเนียงถิ่นของภาษาจีนนั้น มีความหลากหลายมากถึงขึ้นฟังเหมือนเป็นคนละภาษา
  • 2:29 - 2:31
    ในขณะที่ คนที่ใช้ภาษาสเปนและโปรตุเกส
  • 2:31 - 2:33
    มักจะพูดกันได้เข้าใจ
  • 2:33 - 2:36
    ภาษาเป็นสิ่งที่ถูกใช้งานโดยผู้คน
  • 2:36 - 2:38
    จึงไม่ได้ถูกแยกแยะออกเป็นประเภทต่างๆ
  • 2:38 - 2:40
    แต่มักจะเกิดการค่อยๆถ่ายโอน
  • 2:40 - 2:43
    ข้ามพรหมแดนและการแบ่งแยกต่างๆ
  • 2:43 - 2:45
    ความแตกต่างระหว่างภาษาและสำเนียงถิ่น
  • 2:45 - 2:48
    มักเกิดจากการแบ่งแยกทางการเมืองและชาติพันธ์ุ
  • 2:48 - 2:51
    มากกว่าที่จะเป็นความแตกต่างในทางภาษาศาสตร์
  • 2:51 - 2:53
    นี่คือสาเหตุที่คำถามที่ว่า
    "มีภาษาทั้งหมดอยู่กี่ภาษา"
  • 2:53 - 2:56
    อาจมีคำตอบที่ถูกต้องอยู่มากมาย
    ระหว่าง 3,000 ถึง 8,000 ภาษา
  • 2:56 - 2:58
    ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนนับ
  • 2:58 - 3:01
    ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ยิ่งย้อนขึ้นไป
  • 3:01 - 3:02
    ในช่วงบนของสาแหรกเครือญาติ
  • 3:02 - 3:05
    เราก็ยิ่งมีหลักฐานเกี่ยวกับภาษาน้อยลง
  • 3:05 - 3:07
    การแบ่งภาษาออกเป็นตระกลูต่างๆ
    อย่างที่เป็นอยู่นี้
  • 3:07 - 3:11
    บอกถึงข้อจำกัดที่ยังมีอยู่
    เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษา
  • 3:11 - 3:13
    ว่าคงไม่มีความแน่นอน
    หรือ ไม่มีเหตุผลเชื่อถือได้สักเท่าไร
  • 3:13 - 3:14
    ซึ่งหมายความว่า ภาษาคนละตระกูล
  • 3:14 - 3:17
    อาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอื่นๆ
    ไม่ว่าในระดับใด
  • 3:17 - 3:19
    แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไป
  • 3:19 - 3:22
    เพราะมีทฤษฎีใหม่ๆ ของความเกี่ยวข้อง
    ในชั้นต้นๆ ของความสัมพันธ์
  • 3:22 - 3:24
    ที่เรียกกันว่ากลุ่มตระกูล (super family)
    ซึ่งก็เป็นทฤษฎี
  • 3:24 - 3:25
    ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
  • 3:25 - 3:27
    และยังมีภาษาอื่นๆที่นำมาพิจารณาร่วม
  • 3:27 - 3:30
    โดยเฉพาะภาษาแม่ที่มีจำนวนผู้ใช้ภาษาน้อยๆ
  • 3:30 - 3:32
    ซึ่งยังไม่ได้ถูกศึกษาอย่างลึกซึ้ง
  • 3:32 - 3:35
    ทำให้เราอาจไม่มีวันบอกได้เลย
    ว่าภาษามีวิวัฒนาการมาอย่างไร
  • 3:35 - 3:39
    หรือว่าแท้จริงแล้ว
    ภาษาทุกภาษามีบรรพบุรุษเดียวกันหรือไม่
  • 3:39 - 3:41
    แล้ววิวัฒนาการแตกต่างกันออกไป
    เพราะการอพยพ
  • 3:41 - 3:44
    แต่ครั้งต่อไป ถ้าคุณได้ยินภาษาต่างประเทศ
    ลองตั้งใจฟังดูดีๆ สิ
  • 3:44 - 3:47
    มันอาจจะไม่ได้ต่างจากภาษาของคุณ
    มากอย่างที่คุณคิดก็ได้
Title:
ภาษาวิวัฒนาการมาอย่างไร- อเล็กซ์ เจนด์เลอร์ (Alex Gendler)
Description:

ดูบทเรียนฉบับสมบูรณ์ได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/how-languages-evolve-alex-gendler

ตลอดการวิวัฒนาการของมนุษย์ มีภาษามากมายหลายพันภาษาพัฒนาขึ้นจากภาษาจำนวนไม่มาก เรามีภาษาจำนวนมากได้อย่างไร แล้วเราจะสืบหาต้นตอของภาษาได้หรือไม่? อเล็กซ์ เกนด์เลอร์ อธิบายวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่ออธิบายให้มันดูเป็นกลาง และนักสัทศาสตร์สืบสาแหรกของภาษาของเราในอดีตได้อย่างไร

บทเรียน โดย อเล็กซ์ เกนด์เลอร์ (Alex Gendler)
ภาพเคลืี่อนไหว (โดย) Igor Coric.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:03
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How languages evolve - Alex Gendler
Show all

Thai subtitles

Revisions