เรื่องราวในพระคัมภีร์ เล่าถึง หอคอยแห่งเมืองบาเบล ซึ่งเล่าว่าแต่เดิมนั้น มนุษย์เราพูดภาษาเดียวกัน แต่แล้วเราก็ถูกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ จนเราไม่สามารถพูดกันเข้าใจได้ เราไม่ทราบแน่ว่า ภาษากลางตั้งต้นนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ แต่เรารู้ว่า ในภาษาจำนวนหลายพัน ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ สามารถสืบย้อนไป จนเหลือจำนวนไม่กี่ภาษา แล้วทำไมเราจึงมีภาษามากมาย ในยุคแรกของการอพยพย้ายถิ่นฐาน โลกของเรายังมีประชากรน้อย กลุ่มชนต่างๆ ก็มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ก็มักจะแบ่งออกเป็นเผ่าต่างๆ ซึ่งแต่ละเผ่าก็อพยพไปคนละทาง ตามแต่ ลักษณะพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และล่าสัตว์ได้ เมื่ออพยพไปตั้งถิ่นฐานในถิ่นใหม่ พวกเขาแยกห่างจากกัน และพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกัน ช่วงเวลาหลายร้อยปี ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทานอาหารต่างกัน พบเจอเพื่อนบ้านหลายแบบ และเปลี่ยนเสียงที่เคยคล้ายคลึงกัน ให้ต่างออกไป และมีคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็นคนละภาษา ภาษาต่างๆ ก็แยกย่อยออกไปเรื่อยๆ เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการสืบหาต้นตระกูล นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่ก็พยายามทำการสืบค้น ที่มาของภาษาต่างๆ ย้อนกลับไปในอดีต จนกระทั่งพบว่าภาษาใดบ้างที่มีบรรพบุรุษ หรือ ภาษาต้นกำเนิดเดียวกัน ภาษาต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันในอดีตเช่นนี้ เราเรียกว่าเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ซึ่งอาจประกอบด้วย กิ่งก้านสาขา แยกย่อยออกไปมากมาย แล้วเราจะบอกได้อย่างไรว่า ภาษาเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน เสียงที่ฟังดูคล้ายกัน อาจไม่ช่วยบอกอะไร เพราะมันอาจเป็นการสืบหารากศัพท์ที่ผิดพลาด หรืออาจเป็นคำที่ยืมมา มากกว่าที่จะเป็นภาษาที่มีรากเดียวกัน ไวยากรณ์ หรือ วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือมากกว่า รวมทั้งเราอาจดูจากคำศัพท์พื้นฐานร่วมด้วย เช่น คำคุณศัพท์ การนับเลข หรือ คำบอกความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่ไม่ค่อยถูกยืมมาจากภาษาอื่น การนำข้อมูลลักษณะนี้มาเปรียบเทียบกัน อย่างเป็นระบบ เพื่อมองหารูปแบบความคล้ายคลึงกัน หรือลักษณะการแปลงเสียงที่เหมือนกัน ระหว่างภาษาสองภาษา ทำให้นักสัทศาสตร์สามารถบอกได้ ถึงความสัมพันธ์ และสืบย้อนกลับเพื่อหา ลำดับขั้นพัฒนาการของภาษา และยังสามารถสร้างภาษายุคโบราณขึ้นมา ทั้งที่ไม่ปรากฏภาษาเขียนได้อีกด้วย นักสัทศาสตร์ยังสามารถให้ข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์อื่นๆ ได้อีก เช่น ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัย และวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยโบราณ โดยอ้างอิงจากที่มาของคำศัพท์ ที่คนกลุ่มนั้นใช้ และคำศัพท์ที่ยืมมา แต่นักสัทศาสตร์ประสบปัญหาใหญ่ อยู่สองประการ เวลาที่พวกเขาพยายามวาด แผนภูมิเครือญาติของภาษา ปัญหาแรกคือ พวกเขาไม่สามารถตัดสินได้ว่า กิ่งก้านสาขาที่แตกแขนงออกไป จะจบลงที่ตรงไหน จะบอกได้จากอะไรว่า ภาษาใดบ้างควรถูกจัดเป็นภาษาหนึ่ง หรือเป็นเพียงสำเนียงถิ่น เช่น ภาษาจีน นับเป็นหนึ่งภาษา แต่สำเนียงถิ่นของภาษาจีนนั้น มีความหลากหลายมากถึงขึ้นฟังเหมือนเป็นคนละภาษา ในขณะที่ คนที่ใช้ภาษาสเปนและโปรตุเกส มักจะพูดกันได้เข้าใจ ภาษาเป็นสิ่งที่ถูกใช้งานโดยผู้คน จึงไม่ได้ถูกแยกแยะออกเป็นประเภทต่างๆ แต่มักจะเกิดการค่อยๆถ่ายโอน ข้ามพรหมแดนและการแบ่งแยกต่างๆ ความแตกต่างระหว่างภาษาและสำเนียงถิ่น มักเกิดจากการแบ่งแยกทางการเมืองและชาติพันธ์ุ มากกว่าที่จะเป็นความแตกต่างในทางภาษาศาสตร์ นี่คือสาเหตุที่คำถามที่ว่า "มีภาษาทั้งหมดอยู่กี่ภาษา" อาจมีคำตอบที่ถูกต้องอยู่มากมาย ระหว่าง 3,000 ถึง 8,000 ภาษา ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนนับ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ยิ่งย้อนขึ้นไป ในช่วงบนของสาแหรกเครือญาติ เราก็ยิ่งมีหลักฐานเกี่ยวกับภาษาน้อยลง การแบ่งภาษาออกเป็นตระกลูต่างๆ อย่างที่เป็นอยู่นี้ บอกถึงข้อจำกัดที่ยังมีอยู่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ว่าคงไม่มีความแน่นอน หรือ ไม่มีเหตุผลเชื่อถือได้สักเท่าไร ซึ่งหมายความว่า ภาษาคนละตระกูล อาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาอื่นๆ ไม่ว่าในระดับใด แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีทฤษฎีใหม่ๆ ของความเกี่ยวข้อง ในชั้นต้นๆ ของความสัมพันธ์ ที่เรียกกันว่ากลุ่มตระกูล (super family) ซึ่งก็เป็นทฤษฎี ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และยังมีภาษาอื่นๆที่นำมาพิจารณาร่วม โดยเฉพาะภาษาแม่ที่มีจำนวนผู้ใช้ภาษาน้อยๆ ซึ่งยังไม่ได้ถูกศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทำให้เราอาจไม่มีวันบอกได้เลย ว่าภาษามีวิวัฒนาการมาอย่างไร หรือว่าแท้จริงแล้ว ภาษาทุกภาษามีบรรพบุรุษเดียวกันหรือไม่ แล้ววิวัฒนาการแตกต่างกันออกไป เพราะการอพยพ แต่ครั้งต่อไป ถ้าคุณได้ยินภาษาต่างประเทศ ลองตั้งใจฟังดูดีๆ สิ มันอาจจะไม่ได้ต่างจากภาษาของคุณ มากอย่างที่คุณคิดก็ได้