Return to Video

ภัยพิบัติถอยไปหุ่นยนต์กู้ภัยมาช่วยแล้ว

  • 0:01 - 0:06
    ในแต่ละปี กว่าหนึ่งล้านชีวิตต้องสูญเสีย
    ไปด้วยเหตุภัยพิบัติ
  • 0:06 - 0:11
    สองล้านห้าแสนชีวิตจะต้องพิการ
    หรือไร้ที่อาศัยอย่างถาวร
  • 0:11 - 0:15
    และชุมชนเองจะต้องใช้เวลาฟื้นฟู 20 ถึง 30 ปี
  • 0:15 - 0:18
    ตามด้วยความสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกนับพันล้าน
  • 0:19 - 0:23
    หากคุณสามารถลดเวลา
    การเผชิญเหตุเบื้องต้นลงหนึ่งวัน
  • 0:23 - 0:27
    คุณจะสามารถลดเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูทั้งหมด
  • 0:27 - 0:30
    ลงได้หนึ่งพันวัน หรือสามปี
  • 0:30 - 0:32
    เห็นความสัมพันธ์ไหมคะ
  • 0:32 - 0:34
    หากผู้เผชิญเหตุฉุกเฉินสามารถเข้าถึง
    ไปช่วยชีวิต
  • 0:34 - 0:37
    บรรเทาภัยอันตรายใด ๆ ก็ตามที่มีอยู่
  • 0:37 - 0:39
    นั่นย่อมหมายถึงกลุ่มอื่นสามารถตามเข้าไปได้
  • 0:39 - 0:42
    เพื่อที่จะจัดให้มีน้ำประปา ถนน ไฟฟ้า
  • 0:42 - 0:45
    ซึ่งหมายถึงกลุ่มงานก่อสร้าง
    ตัวแทนประกันภัยต่าง ๆ
  • 0:45 - 0:48
    ทุกคนจะสามารถเข้าสู่พื้นที่ได้เพื่อสร้างบ้านพักอาศัยขึ้นใหม่
  • 0:48 - 0:51
    ซึ่งจะตามมาด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
  • 0:51 - 0:56
    หรืออาจทำให้ดียิ่งกว่าเดิม
    และพร้อมรับภัยพิบัติได้ดีขึ้นกว่าเดิม
  • 0:58 - 1:00
    บริษัทประกันชั้นนำแห่งหนึ่งบอกไว้ว่า
  • 1:00 - 1:05
    หากพวกเขาสามารถรับเอกสารค่าสินไหมทดแทนจาก
    เจ้าของบ้านได้เร็วขึ้นหนึ่งวัน
  • 1:05 - 1:07
    จะหมายถึงเวลาเร็วขึ้น 6 เดือน
  • 1:07 - 1:09
    ที่การซ่อมแซมบ้านหลังนั้นจะได้เริ่มขึ้น
  • 1:10 - 1:12
    และนั่นคือเหตุผลที่ดิฉันทำหุ่นยนต์กู้ภัยพิบัติ
  • 1:12 - 1:17
    เพราะว่าหุ่นยนต์สามารถทำให้ภัยพิบัติ
    ผ่านพันไปได้เร็วขึ้น
  • 1:18 - 1:20
    คุณคงเคยเห็นเจ้าสองตัวนี้มาบ้างแล้ว
  • 1:20 - 1:22
    นี่คือ ยูเอวี (อากาศยานไร้นักบิน)
  • 1:22 - 1:24
    มียูเอวีอยู่สองประเภท
  • 1:24 - 1:26
    ยานปีกหมุน หรือฮัมมิ่งเบิร์ด
  • 1:26 - 1:28
    ยานปีกคงที่ หรือฮอร์ค (เหยี่ยว)
  • 1:28 - 1:31
    พวกมันถูกใช้งานแพร่หลายมากตั้งแต่ค.ศ.2005
  • 1:31 - 1:33
    เฮอริเคนคาทริน่า
  • 1:33 - 1:36
    มาดูกันค่ะว่าเจ้าปีกหมุนฮัมมิ่งเบิร์ดนี้
    ทำงานอย่างไร
  • 1:36 - 1:39
    ยอดไปเลยนะคะสำหรับงานวิศวกรโครงสร้าง
  • 1:39 - 1:43
    ทำให้เห็นความเสียหายได้จากมุมที่ปกติแล้ว
    จะมองไม่เห็นจากกล้องส่องทางไกลบนพื้น
  • 1:43 - 1:45
    หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม
  • 1:45 - 1:48
    หรือจากอะไรก็ตามที่บินอยู่ในมุมที่สูงกว่า
  • 1:49 - 1:53
    แต่ไม่ใช่เฉพาะวิศวกรโครงสร้างและ
    บริษัทประกันเท่านั้นที่ต้องใช้
  • 1:53 - 1:55
    เมื่อคุณมีเจ้าฮอร์ค ยานปีกคงที่ลำนี้
  • 1:55 - 1:59
    เราสามารถใช้ฮอร์คทำงานสำรวจด้าน
    ข้อมูลเชิงพื้นที่
  • 1:59 - 2:02
    ซึ่งเป็นการนำภาพต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน
  • 2:02 - 2:03
    เพื่อสร้างภาพสามมิติขึ้นใหม่
  • 2:03 - 2:08
    เราใช้ทั้งสองตัวนี้เมื่อตอนโคลนถล่มที่โอโซ
    ในรัฐวอชิงตัน
  • 2:08 - 2:10
    เนื่องจากเรามีปัญหาขาดความเข้าใจ
  • 2:10 - 2:13
    ภัยพิบัติในด้านข้อมูลเชิงพื้นที่
    และอุทกวิทยา
  • 2:13 - 2:14
    ไม่ใช่ด้านการค้นหาและกู้ภัย
  • 2:14 - 2:17
    ทีมค้นหาและกู้ภัยนั้นรับมือกับสถานการณ์ได้
  • 2:17 - 2:18
    และรู้ตัวว่าตัวเองทำอะไรอยู่
  • 2:18 - 2:22
    ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือแม่น้ำและโคลนถล่ม
    อาจพัดพาพวกเขาไป
  • 2:22 - 2:24
    และทำให้พวกเขาจมน้ำไป
  • 2:24 - 2:27
    ไม่เพียงแต่จะเป็นความท้าทายของทีมเผชิญเหตุ
    และทรัพย์สินที่เสียหายเท่านั้น
  • 2:27 - 2:31
    ยังจะเกิดความเสี่ยงต่ออนาคตของกีฬา
    ตกปลาแซลมอน
  • 2:31 - 2:32
    ตลอดแนวดังกล่าวของรัฐวอชิงตันแน่นอน
  • 2:32 - 2:35
    พวกเขาจึงจำเป็นต้องเข้าใจสถานการณ์ให้มากที่สุด
  • 2:35 - 2:37
    ในเจ็ดชั่วโมง จากอาร์ลิงตัน
  • 2:37 - 2:42
    ขับรถจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
    ไปยังจุดเกิดเหตุ ด้วยเครื่องยูเอวี
  • 2:42 - 2:46
    ทำการประมวลข้อมูล ขับรถกลับมายัง
    ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ที่อาร์ลิงตัน
  • 2:46 - 2:47
    แค่เจ็ดชั่วโมง
  • 2:47 - 2:51
    เราใช้เวลาเพียงเจ็ดชั่วโมงมอบข้อมูล
    ที่ปกติเขาต้องใช้เวลารวบรวม
  • 2:51 - 2:55
    ถึงสองหรือสามวันถ้าใช้วิธีอื่น
  • 2:55 - 2:57
    แถมด้วยภาพความละเอียดสูงกว่า
  • 2:57 - 2:59
    มันได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง
  • 3:00 - 3:02
    และอย่าได้คิดถึงแต่ยูเอวีนะคะ
  • 3:02 - 3:05
    แม้พวกมันจะดูเซ็กซี่ แต่จำไว้ว่า
  • 3:05 - 3:08
    ประชากรโลก 80% อาศัยอยู่ริมน้ำ
  • 3:08 - 3:11
    และนั่นหมายถึงสาธารณูปโภคที่
    สำคัญจะอยู่ใต้น้ำ
  • 3:11 - 3:14
    ที่ที่เราเขาไปไม่ได้เช่น
    สะพานหรืออะไรทำนองนั้น
  • 3:14 - 3:17
    เราจึงจำเป็นต้องมียานทางทะเลไร้คนขับ
  • 3:17 - 3:21
    มีชนิดหนึ่งที่คุณเคยเจอแล้วนั่นคือ
    ซาร์บอท (SARbot) โลมาสี่เหลี่ยม
  • 3:21 - 3:24
    ที่ดำลงไปใต้น้ำได้ใช้โซนาร์
  • 3:24 - 3:26
    แล้วทำไมยานทางทะเลถึงมีความสำคัญ
  • 3:26 - 3:29
    ที่จริงต้องบอกว่าสำคัญมาก ๆ ทีเดียว
  • 3:29 - 3:31
    มันถูกมองข้ามค่ะ
  • 3:31 - 3:33
    ลองคิดถึงสึนามิที่ญี่ปุ่นสิคะ
  • 3:33 - 3:37
    ชายฝั่งตลอดแนว 400 ไมล์เสียหายยับเยิน
  • 3:37 - 3:42
    ตอนเฮอร์ริเคนแคทรีนาในสหรัฐฯ
    พื้นที่ชายฝั่งเสียหายมากกว่านี้ถึงสองเท่า
  • 3:42 - 3:46
    คุณลองนึกภาพสะพาน ท่อส่งน้ำมัน
    ท่าเรือต่าง ๆ ที่ถูกกวาดเรียบสิคะ
  • 3:46 - 3:48
    แล้วเมื่อคุณไม่มีท่าเรือ
  • 3:48 - 3:51
    คุณก็ไม่มีที่ทางสำหรับรับเสบียง
    บรรเทาทุกข์ได้เพียงพอ
  • 3:51 - 3:52
    ความต้องการของประชากร
  • 3:52 - 3:56
    นั่นเป็นปัญหาใหญ่มาก
    เมื่อครั้งแผ่นดินไหวไฮติ
  • 3:56 - 3:58
    ดังนั้นเราจึงต้องการยานทางทะเล
  • 3:58 - 4:00
    เอาละค่ะ เรามาดูภาพจาก
    มุมกล้องของซาร์บอทกัน
  • 4:00 - 4:02
    ว่าเป็นอย่างไร
  • 4:02 - 4:04
    ภาพจากตอนที่เราอยู่ตรงท่าเทียบเรือหาปลา
  • 4:04 - 4:10
    ด้วยการใช้โซน่าของมัน เราสามารถ
    เปิดใช้งานท่าเทียบเรือนั้นได้ภายในสี่ชั่วโมง
  • 4:10 - 4:12
    ซึ่งแต่เดิมท่าเรือได้รับแจ้ง
    ว่าต้องใช้เวลา 6 เดือน
  • 4:12 - 4:15
    ก่อนที่เริ่มให้ทีมนักดำน้ำ
    เข้าปฏิบัติงานได้
  • 4:15 - 4:18
    และต้องให้นักดำน้ำใช้เวลา
    ถึงสองสัปดาห์
  • 4:18 - 4:20
    นั่นจะทำให้พลาดช่วงการตกปลาในฤดูใบไม้ร่วง
  • 4:20 - 4:24
    สิ่งสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคนั้น เปรียบได้กับ
    แหลมค้อด (Cape Cod) ของเขา
  • 4:24 - 4:27
    ยูเอ็มวี สำคัญมาก ๆ ทีเดียว
  • 4:27 - 4:30
    แต่เท่าที่ดิฉันยกตัวอย่างให้เห็นมา
    หุ่นยนต์จะมีขนาดเล็กทั้งสิ้น
  • 4:30 - 4:34
    นั่นเป็นเพราะหุ่นยนต์ทำในสิ่งที่
    คนทำไม่ได้
  • 4:34 - 4:36
    พวกมันไปในที่ ๆ คนเช้าไปไม่ได้
  • 4:36 - 4:39
    อีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมคือ บูโจลด์
    (Bujold)
  • 4:39 - 4:42
    ยานภาคพื้นดินไร้คนขับนี้
    ตัวเล็กมากทีเดียว
  • 4:42 - 4:43
    เจ้าบูโจลด์นี้
  • 4:43 - 4:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:45 - 4:46
    สวัสดีบูโจลด์กันหน่อยค่ะ
  • 4:46 - 4:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:50 - 4:53
    บูโจลด์ถูกใช้งานอย่างเต็มที่
    ในเหตุตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์
  • 4:53 - 4:55
    เพื่อผ่านเข้าสู่อาคาร 1, 2 และ 4
  • 4:55 - 5:00
    ปีนไปตามซากปรักหักพัง
    ไต่ลึกลงสู่พื้นที่แคบ ๆ
  • 5:00 - 5:05
    ภาพเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์เป็นอย่างไร
    ผ่านมุมมองของบูโจลด์ ดูสิคะ
  • 5:05 - 5:10
    เรากำลังพูดถึงพื้นที่ภัยภิบัติ
    ซึ่งคนหรือสุนัขไม่สามารถเข้าไปได้
  • 5:10 - 5:12
    แถมอาจยังมีไฟไหม้อยู่ด้วย
  • 5:12 - 5:16
    ความหวังเดียวที่จะเข้าถึงช่องทางของ
    ผู้รอดชีวิตที่ชั้นใต้ดินได้
  • 5:16 - 5:18
    มีแต่ต้องผ่านเส้นทางที่มี
    ไฟลุกไหม้อยู่
  • 5:18 - 5:23
    ซึ่งมันร้อนมากเสียจนสายพาน
    ของหุ่นตัวหนึ่งเริ่มละลายหลุดไป
  • 5:23 - 5:26
    หุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์หรือสุนัข
  • 5:26 - 5:29
    หรือฮัมมิ่งเบิร์ด หรือเหยี่ยว หรือปลาโลมา
  • 5:29 - 5:31
    พวกมันทำสิ่งใหม่ ๆ
  • 5:31 - 5:36
    พวกมันช่วยผู้เผชิญเหตุ ผู้เชี่ยวชาญ
    ทำงานในแนวทางใหม่ ๆ
  • 5:36 - 5:41
    ปัญหาใหญ่ที่สุดนั้น ไม่ใช่
    การทำให้หุ่นยนต์เล็กลง
  • 5:41 - 5:43
    ไม่ใช่การทำให้มันทนต่อความร้อนยิ่งขึ้น
  • 5:43 - 5:45
    ไม่ใช่การติดตัวจับสัญญาณให้มากขึ้น
  • 5:45 - 5:48
    ปัญหาใหญ่ที่สุดคือข้อมูล
    คือระบบสารสนเทศ
  • 5:48 - 5:52
    เพราะคนเหล่านี้ต้องการข้อมูลที่แม่นยำ
    ภายในเวลาที่ถูกต้อง
  • 5:52 - 5:58
    แล้วมันจะไม่ดีรึคะ หากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
    สามารถใช้งานหุ่นพวกนี้ได้ทันที
  • 5:58 - 6:01
    โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา
    ขับรถไปจุดเกิดเหตุ
  • 6:01 - 6:04
    เช่น ใครก็ตามที่อยู่ที่นั้น
    ก็ใช้หุ่นยนต์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้
  • 6:04 - 6:05
    ลองคิดดูสิคะ
  • 6:05 - 6:09
    ลองคิดว่า หากมีรถไฟขนเคมี
    ตกรางในพื้นที่ชนบท
  • 6:09 - 6:13
    จะมีโอกาสแค่ไหนที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
    วิศวกรเคมี
  • 6:13 - 6:14
    วิศวกรด้านขนส่งด้วยราง
  • 6:15 - 6:19
    ที่ได้ผ่านการฝึกการใช้ยูเอวีชนิดอะไรก็ตาม
    ที่เมืองนั้นบังเอิญมีอยู่แล้วบ้าง
  • 6:19 - 6:21
    โอกาสนั้นน่าจะประมาณศูนย์
  • 6:21 - 6:23
    ดังนั้นเราจึงใช้อินเทอร์เฟสแบบนี้ที่
  • 6:23 - 6:28
    ให้ผู้ใช้งานบังคับโดยที่ไม่รู้
    ว่ากำลังบังคับหุ่นยนต์อะไรอยู่
  • 6:28 - 6:32
    หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังใช้หุ่นยนต์อยู่
  • 6:32 - 6:38
    สิ่งที่หุ่นยนต์ส่งให้คุณหรือ
    ผู้เชี่ยวชาญคือข้อมูล
  • 6:38 - 6:42
    ปัญหาจึงกลายเป็นเรื่อง:
    ใครได้ข้อมูลอะไร และ เมื่อไหร่
  • 6:42 - 6:46
    วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้คือการ
    ส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังทุกคน
  • 6:46 - 6:47
    แล้วให้ไปแยกแยะกันเอง
  • 6:47 - 6:51
    แต่ ปัญหาของวิธีนี้คือ
    การทำให้ข้อมูลท่วมเครือข่าย
  • 6:51 - 6:55
    หรือแย่กว่านั้น ข้อมูลท่วมท้นการรับรู้
  • 6:55 - 6:59
    ของคนที่พยายามจะเลือก
    ข้อมูลเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
  • 6:59 - 7:04
    ที่จำเป็นมากในการตัดสินใจ
    เรื่องที่สำคัญต่อความเป็นตาย
  • 7:04 - 7:07
    ดังนั้นเราต้องคำนึงถึง
    ความท้าทายในด้านนี้ด้วย
  • 7:07 - 7:08
    นั่นคือเรื่องของ ข้อมูล
  • 7:08 - 7:11
    กลับมาที่ เวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์กันค่ะ
  • 7:11 - 7:15
    เราพยายามแก้ไขปัญหา
    ด้วยการบันทึกข้อมูลจากบูโจลด์
  • 7:15 - 7:17
    เฉพาะตอนที่มันลงไปลึกใต้ซากแล้ว
  • 7:17 - 7:20
    เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทีมยูซาร์
    (USAR ค้นหาและกู้ภัย) บอกว่าอยากได้
  • 7:21 - 7:23
    แต่สิ่งที่เราไม่รู้ในตอนนั้น
  • 7:23 - 7:26
    คือวิศวกรโยธาเองก็อยากได้
  • 7:26 - 7:28
    ข้อมูลที่มีการบันทึกตัวเลขระบุตำแหน่ง
  • 7:28 - 7:33
    ของเสาหรือคานขณะที่เราผ่านซากลงไป
  • 7:33 - 7:35
    เราได้สูญเสียข้อมูลที่มีค่า
  • 7:35 - 7:37
    ความท้าทายจึงอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
  • 7:37 - 7:39
    แล้วส่งต่อให้ถูกคน
  • 7:39 - 7:42
    ทีนี้ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง
  • 7:42 - 7:44
    เราได้เรียนรู้ว่าบางอาคาร
  • 7:44 - 7:47
    เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล หรือศาลากลาง
  • 7:47 - 7:51
    โดนตรวจสอบซ้ำถึงสี่ครั้ง
    โดยสี่หน่วยงาน
  • 7:51 - 7:54
    ตลอดช่วงเวลาการกู้ภัย
  • 7:54 - 7:57
    หากเราสามารถเก็บข้อมูล
    จากหุ่นยนต์แล้วกระจายออกไป
  • 7:57 - 8:02
    ไม่เพียงแต่จะสามารถลดห้วงเวลา
    ของแต่ละขั้นตอน
  • 8:02 - 8:04
    เพื่อลดเวลาการเผชิญเหตุแล้ว
  • 8:04 - 8:08
    เรายังสามารถเริ่มงานกู้ภัยต่าง ๆ
    คู่ขนานไปพร้อม ๆ กันได้
  • 8:08 - 8:10
    ทุกคนคงเห็นข้อมูลนะคะ
  • 8:10 - 8:12
    ว่าเราลดเวลาลงแบบนี้ได้
  • 8:12 - 8:16
    อันที่จริง "หุ่นยนต์กู้ภัยพิบัติ"
    เป็นการเรียกที่ไม่ตรงความจริงนัก
  • 8:16 - 8:18
    นี่ไม่ใช่เรื่องของหุ่นยนต์
  • 8:18 - 8:20
    แต่เป็นเรื่องของ ข้อมูล
  • 8:20 - 8:22
    (เสียงปรบมือ)
  • 8:24 - 8:26
    ดิฉันขอท้าให้ลองนะคะ
  • 8:26 - 8:28
    ครั้งต่อไปที่คุณได้ยินเกี่ยวกับภัยพิบัติ
  • 8:28 - 8:29
    ให้มองหาหุ่นยนต์
  • 8:29 - 8:33
    พวกมันอาจอยู่ใต้ดิน อาจอยู่ใต้น้ำ
  • 8:33 - 8:34
    หรืออาจอยู่บนฟ้า
  • 8:34 - 8:36
    แต่พวกมันควรจะอยู่แถวนั้น
  • 8:36 - 8:37
    มองหาหุ่นยนต์นะคะ
  • 8:37 - 8:40
    เพราะหุ่นยนต์กำลังมาช่วยแล้วค่ะ
  • 8:40 - 8:44
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ภัยพิบัติถอยไปหุ่นยนต์กู้ภัยมาช่วยแล้ว
Speaker:
โรบิน เมอร์ฟี (Robin Murphy)
Description:

นับแต่นี้ไปเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ สิ่งที่จะพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ คือ หุ่นยนต์จะเป็นผู้ที่มาถึงจุดเกิดเหตุเป็นรายแรก ๆ โรบิน เมอร์ฟี สร้างหุ่นยนต์จากห้องทดลองของเธอที่จะบิน ขุดอุโมงค์ ว่ายน้ำ และคืบคลานไปตามจุุดเกิดเหตุต่างๆ เพื่อช่วยให้นักผจญเพลิงและกู้ภัยช่วยชีวิตคนจำนวนมากขึ้นได้อย่างปลอดภัย และช่วยให้ชุมชนคืนกลับสู่สภาพกปกติเร็วขึ้นกว่าเดิมได้ถึงสามปี

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:59

Thai subtitles

Revisions