ในแต่ละปี กว่าหนึ่งล้านชีวิตต้องสูญเสีย ไปด้วยเหตุภัยพิบัติ สองล้านห้าแสนชีวิตจะต้องพิการ หรือไร้ที่อาศัยอย่างถาวร และชุมชนเองจะต้องใช้เวลาฟื้นฟู 20 ถึง 30 ปี ตามด้วยความสูญเสียทางเศรษฐกิจอีกนับพันล้าน หากคุณสามารถลดเวลา การเผชิญเหตุเบื้องต้นลงหนึ่งวัน คุณจะสามารถลดเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูทั้งหมด ลงได้หนึ่งพันวัน หรือสามปี เห็นความสัมพันธ์ไหมคะ หากผู้เผชิญเหตุฉุกเฉินสามารถเข้าถึง ไปช่วยชีวิต บรรเทาภัยอันตรายใด ๆ ก็ตามที่มีอยู่ นั่นย่อมหมายถึงกลุ่มอื่นสามารถตามเข้าไปได้ เพื่อที่จะจัดให้มีน้ำประปา ถนน ไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงกลุ่มงานก่อสร้าง ตัวแทนประกันภัยต่าง ๆ ทุกคนจะสามารถเข้าสู่พื้นที่ได้เพื่อสร้างบ้านพักอาศัยขึ้นใหม่ ซึ่งจะตามมาด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรืออาจทำให้ดียิ่งกว่าเดิม และพร้อมรับภัยพิบัติได้ดีขึ้นกว่าเดิม บริษัทประกันชั้นนำแห่งหนึ่งบอกไว้ว่า หากพวกเขาสามารถรับเอกสารค่าสินไหมทดแทนจาก เจ้าของบ้านได้เร็วขึ้นหนึ่งวัน จะหมายถึงเวลาเร็วขึ้น 6 เดือน ที่การซ่อมแซมบ้านหลังนั้นจะได้เริ่มขึ้น และนั่นคือเหตุผลที่ดิฉันทำหุ่นยนต์กู้ภัยพิบัติ เพราะว่าหุ่นยนต์สามารถทำให้ภัยพิบัติ ผ่านพันไปได้เร็วขึ้น คุณคงเคยเห็นเจ้าสองตัวนี้มาบ้างแล้ว นี่คือ ยูเอวี (อากาศยานไร้นักบิน) มียูเอวีอยู่สองประเภท ยานปีกหมุน หรือฮัมมิ่งเบิร์ด ยานปีกคงที่ หรือฮอร์ค (เหยี่ยว) พวกมันถูกใช้งานแพร่หลายมากตั้งแต่ค.ศ.2005 เฮอริเคนคาทริน่า มาดูกันค่ะว่าเจ้าปีกหมุนฮัมมิ่งเบิร์ดนี้ ทำงานอย่างไร ยอดไปเลยนะคะสำหรับงานวิศวกรโครงสร้าง ทำให้เห็นความเสียหายได้จากมุมที่ปกติแล้ว จะมองไม่เห็นจากกล้องส่องทางไกลบนพื้น หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม หรือจากอะไรก็ตามที่บินอยู่ในมุมที่สูงกว่า แต่ไม่ใช่เฉพาะวิศวกรโครงสร้างและ บริษัทประกันเท่านั้นที่ต้องใช้ เมื่อคุณมีเจ้าฮอร์ค ยานปีกคงที่ลำนี้ เราสามารถใช้ฮอร์คทำงานสำรวจด้าน ข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการนำภาพต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน เพื่อสร้างภาพสามมิติขึ้นใหม่ เราใช้ทั้งสองตัวนี้เมื่อตอนโคลนถล่มที่โอโซ ในรัฐวอชิงตัน เนื่องจากเรามีปัญหาขาดความเข้าใจ ภัยพิบัติในด้านข้อมูลเชิงพื้นที่ และอุทกวิทยา ไม่ใช่ด้านการค้นหาและกู้ภัย ทีมค้นหาและกู้ภัยนั้นรับมือกับสถานการณ์ได้ และรู้ตัวว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นคือแม่น้ำและโคลนถล่ม อาจพัดพาพวกเขาไป และทำให้พวกเขาจมน้ำไป ไม่เพียงแต่จะเป็นความท้าทายของทีมเผชิญเหตุ และทรัพย์สินที่เสียหายเท่านั้น ยังจะเกิดความเสี่ยงต่ออนาคตของกีฬา ตกปลาแซลมอน ตลอดแนวดังกล่าวของรัฐวอชิงตันแน่นอน พวกเขาจึงจำเป็นต้องเข้าใจสถานการณ์ให้มากที่สุด ในเจ็ดชั่วโมง จากอาร์ลิงตัน ขับรถจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ไปยังจุดเกิดเหตุ ด้วยเครื่องยูเอวี ทำการประมวลข้อมูล ขับรถกลับมายัง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ที่อาร์ลิงตัน แค่เจ็ดชั่วโมง เราใช้เวลาเพียงเจ็ดชั่วโมงมอบข้อมูล ที่ปกติเขาต้องใช้เวลารวบรวม ถึงสองหรือสามวันถ้าใช้วิธีอื่น แถมด้วยภาพความละเอียดสูงกว่า มันได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง และอย่าได้คิดถึงแต่ยูเอวีนะคะ แม้พวกมันจะดูเซ็กซี่ แต่จำไว้ว่า ประชากรโลก 80% อาศัยอยู่ริมน้ำ และนั่นหมายถึงสาธารณูปโภคที่ สำคัญจะอยู่ใต้น้ำ ที่ที่เราเขาไปไม่ได้เช่น สะพานหรืออะไรทำนองนั้น เราจึงจำเป็นต้องมียานทางทะเลไร้คนขับ มีชนิดหนึ่งที่คุณเคยเจอแล้วนั่นคือ ซาร์บอท (SARbot) โลมาสี่เหลี่ยม ที่ดำลงไปใต้น้ำได้ใช้โซนาร์ แล้วทำไมยานทางทะเลถึงมีความสำคัญ ที่จริงต้องบอกว่าสำคัญมาก ๆ ทีเดียว มันถูกมองข้ามค่ะ ลองคิดถึงสึนามิที่ญี่ปุ่นสิคะ ชายฝั่งตลอดแนว 400 ไมล์เสียหายยับเยิน ตอนเฮอร์ริเคนแคทรีนาในสหรัฐฯ พื้นที่ชายฝั่งเสียหายมากกว่านี้ถึงสองเท่า คุณลองนึกภาพสะพาน ท่อส่งน้ำมัน ท่าเรือต่าง ๆ ที่ถูกกวาดเรียบสิคะ แล้วเมื่อคุณไม่มีท่าเรือ คุณก็ไม่มีที่ทางสำหรับรับเสบียง บรรเทาทุกข์ได้เพียงพอ ความต้องการของประชากร นั่นเป็นปัญหาใหญ่มาก เมื่อครั้งแผ่นดินไหวไฮติ ดังนั้นเราจึงต้องการยานทางทะเล เอาละค่ะ เรามาดูภาพจาก มุมกล้องของซาร์บอทกัน ว่าเป็นอย่างไร ภาพจากตอนที่เราอยู่ตรงท่าเทียบเรือหาปลา ด้วยการใช้โซน่าของมัน เราสามารถ เปิดใช้งานท่าเทียบเรือนั้นได้ภายในสี่ชั่วโมง ซึ่งแต่เดิมท่าเรือได้รับแจ้ง ว่าต้องใช้เวลา 6 เดือน ก่อนที่เริ่มให้ทีมนักดำน้ำ เข้าปฏิบัติงานได้ และต้องให้นักดำน้ำใช้เวลา ถึงสองสัปดาห์ นั่นจะทำให้พลาดช่วงการตกปลาในฤดูใบไม้ร่วง สิ่งสำคัญทางเศรษฐกิจของภาคนั้น เปรียบได้กับ แหลมค้อด (Cape Cod) ของเขา ยูเอ็มวี สำคัญมาก ๆ ทีเดียว แต่เท่าที่ดิฉันยกตัวอย่างให้เห็นมา หุ่นยนต์จะมีขนาดเล็กทั้งสิ้น นั่นเป็นเพราะหุ่นยนต์ทำในสิ่งที่ คนทำไม่ได้ พวกมันไปในที่ ๆ คนเช้าไปไม่ได้ อีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมคือ บูโจลด์ (Bujold) ยานภาคพื้นดินไร้คนขับนี้ ตัวเล็กมากทีเดียว เจ้าบูโจลด์นี้ (เสียงหัวเราะ) สวัสดีบูโจลด์กันหน่อยค่ะ (เสียงหัวเราะ) บูโจลด์ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ในเหตุตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ เพื่อผ่านเข้าสู่อาคาร 1, 2 และ 4 ปีนไปตามซากปรักหักพัง ไต่ลึกลงสู่พื้นที่แคบ ๆ ภาพเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์เป็นอย่างไร ผ่านมุมมองของบูโจลด์ ดูสิคะ เรากำลังพูดถึงพื้นที่ภัยภิบัติ ซึ่งคนหรือสุนัขไม่สามารถเข้าไปได้ แถมอาจยังมีไฟไหม้อยู่ด้วย ความหวังเดียวที่จะเข้าถึงช่องทางของ ผู้รอดชีวิตที่ชั้นใต้ดินได้ มีแต่ต้องผ่านเส้นทางที่มี ไฟลุกไหม้อยู่ ซึ่งมันร้อนมากเสียจนสายพาน ของหุ่นตัวหนึ่งเริ่มละลายหลุดไป หุ่นยนต์ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์หรือสุนัข หรือฮัมมิ่งเบิร์ด หรือเหยี่ยว หรือปลาโลมา พวกมันทำสิ่งใหม่ ๆ พวกมันช่วยผู้เผชิญเหตุ ผู้เชี่ยวชาญ ทำงานในแนวทางใหม่ ๆ ปัญหาใหญ่ที่สุดนั้น ไม่ใช่ การทำให้หุ่นยนต์เล็กลง ไม่ใช่การทำให้มันทนต่อความร้อนยิ่งขึ้น ไม่ใช่การติดตัวจับสัญญาณให้มากขึ้น ปัญหาใหญ่ที่สุดคือข้อมูล คือระบบสารสนเทศ เพราะคนเหล่านี้ต้องการข้อมูลที่แม่นยำ ภายในเวลาที่ถูกต้อง แล้วมันจะไม่ดีรึคะ หากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ สามารถใช้งานหุ่นพวกนี้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา ขับรถไปจุดเกิดเหตุ เช่น ใครก็ตามที่อยู่ที่นั้น ก็ใช้หุ่นยนต์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ลองคิดดูสิคะ ลองคิดว่า หากมีรถไฟขนเคมี ตกรางในพื้นที่ชนบท จะมีโอกาสแค่ไหนที่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง วิศวกรเคมี วิศวกรด้านขนส่งด้วยราง ที่ได้ผ่านการฝึกการใช้ยูเอวีชนิดอะไรก็ตาม ที่เมืองนั้นบังเอิญมีอยู่แล้วบ้าง โอกาสนั้นน่าจะประมาณศูนย์ ดังนั้นเราจึงใช้อินเทอร์เฟสแบบนี้ที่ ให้ผู้ใช้งานบังคับโดยที่ไม่รู้ ว่ากำลังบังคับหุ่นยนต์อะไรอยู่ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังใช้หุ่นยนต์อยู่ สิ่งที่หุ่นยนต์ส่งให้คุณหรือ ผู้เชี่ยวชาญคือข้อมูล ปัญหาจึงกลายเป็นเรื่อง: ใครได้ข้อมูลอะไร และ เมื่อไหร่ วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้คือการ ส่งข้อมูลทั้งหมดไปยังทุกคน แล้วให้ไปแยกแยะกันเอง แต่ ปัญหาของวิธีนี้คือ การทำให้ข้อมูลท่วมเครือข่าย หรือแย่กว่านั้น ข้อมูลท่วมท้นการรับรู้ ของคนที่พยายามจะเลือก ข้อมูลเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ที่จำเป็นมากในการตัดสินใจ เรื่องที่สำคัญต่อความเป็นตาย ดังนั้นเราต้องคำนึงถึง ความท้าทายในด้านนี้ด้วย นั่นคือเรื่องของ ข้อมูล กลับมาที่ เวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์กันค่ะ เราพยายามแก้ไขปัญหา ด้วยการบันทึกข้อมูลจากบูโจลด์ เฉพาะตอนที่มันลงไปลึกใต้ซากแล้ว เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทีมยูซาร์ (USAR ค้นหาและกู้ภัย) บอกว่าอยากได้ แต่สิ่งที่เราไม่รู้ในตอนนั้น คือวิศวกรโยธาเองก็อยากได้ ข้อมูลที่มีการบันทึกตัวเลขระบุตำแหน่ง ของเสาหรือคานขณะที่เราผ่านซากลงไป เราได้สูญเสียข้อมูลที่มีค่า ความท้าทายจึงอยู่ที่การรวบรวมข้อมูลทั้งหมด แล้วส่งต่อให้ถูกคน ทีนี้ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง เราได้เรียนรู้ว่าบางอาคาร เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล หรือศาลากลาง โดนตรวจสอบซ้ำถึงสี่ครั้ง โดยสี่หน่วยงาน ตลอดช่วงเวลาการกู้ภัย หากเราสามารถเก็บข้อมูล จากหุ่นยนต์แล้วกระจายออกไป ไม่เพียงแต่จะสามารถลดห้วงเวลา ของแต่ละขั้นตอน เพื่อลดเวลาการเผชิญเหตุแล้ว เรายังสามารถเริ่มงานกู้ภัยต่าง ๆ คู่ขนานไปพร้อม ๆ กันได้ ทุกคนคงเห็นข้อมูลนะคะ ว่าเราลดเวลาลงแบบนี้ได้ อันที่จริง "หุ่นยนต์กู้ภัยพิบัติ" เป็นการเรียกที่ไม่ตรงความจริงนัก นี่ไม่ใช่เรื่องของหุ่นยนต์ แต่เป็นเรื่องของ ข้อมูล (เสียงปรบมือ) ดิฉันขอท้าให้ลองนะคะ ครั้งต่อไปที่คุณได้ยินเกี่ยวกับภัยพิบัติ ให้มองหาหุ่นยนต์ พวกมันอาจอยู่ใต้ดิน อาจอยู่ใต้น้ำ หรืออาจอยู่บนฟ้า แต่พวกมันควรจะอยู่แถวนั้น มองหาหุ่นยนต์นะคะ เพราะหุ่นยนต์กำลังมาช่วยแล้วค่ะ (เสียงปรบมือ)