Return to Video

คุณเชื่อความเห็นเอกฉันท์ได้หรือไม่ - ดีเร็ค แอบบอตต์ (Derek Abbott)

  • 0:07 - 0:10
    ลองนึกถึงการชี้ตัวผู้ต้องหาโดยพยาน 10 คน
  • 0:10 - 0:16
    มาชี้ตัวโจรปล้นธนาคารที่พวกเขาได้เห็น
    ระหว่างการหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ
  • 0:16 - 0:18
    หากพยานมากกว่า 6 คนชี้ตัวคนร้ายคนเดียวกัน
  • 0:18 - 0:21
    นั่นมีความเป็นไปได้มากกว่า
    คนนั้นคือผู้ต้องหา
  • 0:21 - 0:23
    แต่หากพยานทั้ง 10 คนชี้ไปที่คนเดียวกัน
  • 0:23 - 0:25
    คุณอาจจะคิดว่าคดีนี้ยิ่งหนักแน่นทีเดียว
  • 0:25 - 0:27
    แต่คุณอาจจะคิดผิด
  • 0:27 - 0:30
    สำหรับพวกเราส่วนใหญ่สิ่งนี้อาจฟังดูแปลก
  • 0:30 - 0:35
    แต่ไหนแต่ไรมา สังคมของเราให้ความสำคัญ
    กับการลงคะแนนเสียงกับเสียงส่วนใหญ่
  • 0:35 - 0:36
    ไม่ว่าจะเป็นการเมือง
  • 0:36 - 0:37
    ธุรกิจ
  • 0:37 - 0:38
    หรือวงการบันเทิง
  • 0:38 - 0:42
    ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะคิดว่า
    ยิ่งเสียงส่วนมากคือยิ่งดี
  • 0:42 - 0:45
    จนถึงบัดนี้ก็ยังคงเป็นแบบนั้น
  • 0:45 - 0:49
    แต่ในบางครั้ง ยิ่งคุณเข้าใกล้ความเป็น
    เอกฉันท์มากเท่าไหร่
  • 0:49 - 0:53
    ผลที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยลง
  • 0:53 - 0:56
    สิ่งนี้เรียกว่าความย้อนแย้ง
    ของความเป็นเอกฉันท์
  • 0:56 - 0:58
    ปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจ
    ความย้อนแย้งนี้
  • 0:58 - 1:02
    คือในการพิจารณาองค์รวมของ
    ความไม่แน่นอน
  • 1:02 - 1:06
    เกี่ยวกับประเภทของเหตุการณ์
    ที่คุณเผชิญอยู่
  • 1:06 - 1:10
    ยกตัวอย่างเช่น หากเราให้พยานจำแนก
    แอปเปิ้ลออกมา
  • 1:10 - 1:13
    ผลที่ได้ก็จะเป็นเอกฉันท์อย่างแน่นอน
  • 1:13 - 1:18
    แต่ในกรณีที่เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึง
    ความแตกต่างทางธรรมชาติบางอย่าง
  • 1:18 - 1:21
    เราต้องคำนึงถึงการกระจายที่ต่างออกไปด้วย
  • 1:21 - 1:23
    ถ้าเราลองโยนเหรียญ 100 ครั้ง
  • 1:23 - 1:28
    เราคงคาดหวังว่าจะได้เห็นด้านหัวประมาณ
    50% ของจำนวนครั้งทั้งหมด
  • 1:28 - 1:32
    ถ้าหากผลลัพธ์ออกมาว่าเหรียญออกหัวทั้งหมด
  • 1:32 - 1:34
    คุณจะตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีบางสิ่งผิดปกติ
  • 1:34 - 1:36
    ซึ่งไม่ได้มาจากการโยนของเรา
  • 1:36 - 1:39
    แต่ผิดปกติที่ตัวเหรียญเอง
  • 1:39 - 1:44
    แน่นอนว่า การชี้ตัวผู้ต้องหาไม่ได้
    เป็นการสุ่มเหมือนการโยนเหรียญ
  • 1:44 - 1:48
    แต่มันก็ไม่ได้ชัดเจนเหมือนกันแยกแอปเปิ้ล
    ออกจากกล้วยเช่นกัน
  • 1:48 - 1:54
    อันที่จริงแล้ว การศึกษาในปี ค.ศ. 1944
    พบว่า 48% ของพยาน
  • 1:54 - 1:57
    มีแนวโน้มที่จะชี้ตัวผู้ต้องหาผิดคน
  • 1:57 - 2:00
    แม้ว่าพวกเขาจะมั่นใจในการชี้ตัวของพวกเขา
    มากก็ตาม
  • 2:00 - 2:04
    ความทรงจำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ
    เห็นเพียงแวบเดียวนั้นเชื่อได้ยาก
  • 2:04 - 2:07
    และเรามักจะคาดคะเนเกินจากความแม่นยำของเรา
  • 2:07 - 2:08
    ด้วยปัจจัยเหล่านี้
  • 2:08 - 2:12
    การบ่งชี้ที่เป็นเอกฉันท์เริ่มดูจะมี
    ความน่าเชื่อถือน้อยลง
  • 2:12 - 2:15
    และเป็นเหมือนความบกพร่องของระบบ
  • 2:15 - 2:17
    หรือความลำเอียงที่เกิดขึ้น
  • 2:17 - 2:21
    ความบกพร่องของระบบไม่เพียงเกิดขึ้น
    ในกรณีของการตัดสินของมนุษย์เท่านั้น
  • 2:21 - 2:23
    ในปี ค.ศ. 1993-2008
  • 2:23 - 2:29
    มีการตรวจพบ DNA ของหญิงสาวในที่เกิดเหตุ
    อาชญากรรมหลายแห่งในยุโรป
  • 2:29 - 2:34
    ซึ่งเรียกว่าเป็นฆาตกรที่หาตัวจับยาก
    ชื่อว่า Phantom of Heilbronn
  • 2:34 - 2:40
    แต่หลักฐานเกี่ยวกับ DNA นี้มีความสอดคล้อง
    กับที่เกิดเหตุเพราะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา
  • 2:40 - 2:44
    ปรากฎว่าสำลีที่ใช้ตรวจหาตัวอย่าง DNA
  • 2:44 - 2:50
    เกิดอุบัติเหตุถูกปนเปื้อนโดยผู้หญิงคนหนึ่ง
    ที่ทำงานในโรงงานผลิต
  • 2:50 - 2:54
    ในบางกรณีระบบที่ผิดพลาดเกิดจาก
    การเจตนาทุจริต
  • 2:54 - 2:59
    เหมือนประชามติที่จัดทำขึ้นโดยซัดดัม ฮุสเซน
    ในปี ค.ศ.2002
  • 2:59 - 3:06
    ที่ระบุว่ามีผู้ลงคะแนนเสียงถึง 100%
    พร้อมกับนิยมชมชอบถึง 100% เช่นกัน
  • 3:06 - 3:09
    กับการเป็นประธานาธิบดีอีกเจ็ดปี
  • 3:09 - 3:11
    เมื่อคุณมองเห็นเรื่องแบบนี้
  • 3:11 - 3:15
    ความย้อนแย้งในความเป็นเอกฉันท์
    อาจจะไม่ใช่ความย้อนแย้งทั้งหมด
  • 3:15 - 3:18
    ความเห็นพ้องตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์
    ยังเป็นแค่ความคิดเชิงทฤษฏี
  • 3:18 - 3:24
    โดยเฉพาะกรณีที่มีคาดหวังต่ำมาก
    ในตัวแปรและความไม่แน่นอน
  • 3:24 - 3:25
    แต่ในทางปฏิบัติแล้ว
  • 3:25 - 3:29
    การได้เสียงเอกฉันท์ในสภาวะ
    ที่ความเป็นเอกฉันท์ไม่น่าเกิดขึ้นได้
  • 3:29 - 3:34
    บอกเราว่าน่าจะมีปัจจัยซ่อนเร้นบางประการ
    ที่กำลังส่งผลอยู่ในระบบ
  • 3:34 - 3:37
    บางทีเราอาจจะต่อสู้เพื่อความสมานฉันท์
    และฉันทามติ
  • 3:37 - 3:42
    ในหลายสถานการณ์ ความผิดพลาดและความเห็นต่าง
    ยังเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ตามธรรมชาติ
  • 3:42 - 3:45
    และถ้าผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบนั้น
    ดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้
  • 3:45 - 3:46
    มันก็อาจจะเกินจริงไปจริง ๆ
Title:
คุณเชื่อความเห็นเอกฉันท์ได้หรือไม่ - ดีเร็ค แอบบอตต์ (Derek Abbott)
Speaker:
Derek Abbott
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/should-you-trust-unanimous-decisions-derek-abbott

จิตนาการถึงตำรวจที่จัดแถวให้พยานสิบคนชี้ตัวโจรปล้นธนาคาร ถ้าคนหกคนชี้ไปที่คนคนเดียวกัน มีโอกาสสูงว่าเขาจะเป็นคนร้ายจริง แต่ถ้าสิบคนเห็นเหมือนกัน คุณอาจจะคิดว่าคดีนี้ยิ่งหนักแน่น แต่บางครั้ง เมื่อยิ่งเข้าใกล้ความเห็นพ้องมากขึ้นเท่าไร ความน่าเชื่อถือก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ดีเร็ค แอบบอตต์ ได้อธิบายถึงความย้อนแย้งของความเป็นเอกฉันท์

บทเรียนโดย Derek Abbott ภาพเคลื่อนไหวโดย Brett Underhill

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:03
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Should you trust unanimous decisions?
Show all

Thai subtitles

Revisions