1 00:00:06,713 --> 00:00:10,030 ลองนึกถึงการชี้ตัวผู้ต้องหาโดยพยาน 10 คน 2 00:00:10,030 --> 00:00:15,631 มาชี้ตัวโจรปล้นธนาคารที่พวกเขาได้เห็น ระหว่างการหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ 3 00:00:15,631 --> 00:00:18,274 หากพยานมากกว่า 6 คนชี้ตัวคนร้ายคนเดียวกัน 4 00:00:18,274 --> 00:00:21,204 นั่นมีความเป็นไปได้มากกว่า คนนั้นคือผู้ต้องหา 5 00:00:21,204 --> 00:00:23,015 แต่หากพยานทั้ง 10 คนชี้ไปที่คนเดียวกัน 6 00:00:23,015 --> 00:00:25,209 คุณอาจจะคิดว่าคดีนี้ยิ่งหนักแน่นทีเดียว 7 00:00:25,209 --> 00:00:27,255 แต่คุณอาจจะคิดผิด 8 00:00:27,255 --> 00:00:29,728 สำหรับพวกเราส่วนใหญ่สิ่งนี้อาจฟังดูแปลก 9 00:00:29,728 --> 00:00:34,693 แต่ไหนแต่ไรมา สังคมของเราให้ความสำคัญ กับการลงคะแนนเสียงกับเสียงส่วนใหญ่ 10 00:00:34,693 --> 00:00:35,693 ไม่ว่าจะเป็นการเมือง 11 00:00:35,693 --> 00:00:36,693 ธุรกิจ 12 00:00:36,693 --> 00:00:37,751 หรือวงการบันเทิง 13 00:00:37,751 --> 00:00:42,030 ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะคิดว่า ยิ่งเสียงส่วนมากคือยิ่งดี 14 00:00:42,030 --> 00:00:44,863 จนถึงบัดนี้ก็ยังคงเป็นแบบนั้น 15 00:00:44,863 --> 00:00:48,986 แต่ในบางครั้ง ยิ่งคุณเข้าใกล้ความเป็น เอกฉันท์มากเท่าไหร่ 16 00:00:48,986 --> 00:00:52,590 ผลที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือน้อยลง 17 00:00:52,590 --> 00:00:56,032 สิ่งนี้เรียกว่าความย้อนแย้ง ของความเป็นเอกฉันท์ 18 00:00:56,032 --> 00:00:58,347 ปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจ ความย้อนแย้งนี้ 19 00:00:58,347 --> 00:01:01,894 คือในการพิจารณาองค์รวมของ ความไม่แน่นอน 20 00:01:01,894 --> 00:01:05,783 เกี่ยวกับประเภทของเหตุการณ์ ที่คุณเผชิญอยู่ 21 00:01:05,783 --> 00:01:09,936 ยกตัวอย่างเช่น หากเราให้พยานจำแนก แอปเปิ้ลออกมา 22 00:01:09,936 --> 00:01:13,389 ผลที่ได้ก็จะเป็นเอกฉันท์อย่างแน่นอน 23 00:01:13,389 --> 00:01:17,500 แต่ในกรณีที่เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึง ความแตกต่างทางธรรมชาติบางอย่าง 24 00:01:17,500 --> 00:01:21,334 เราต้องคำนึงถึงการกระจายที่ต่างออกไปด้วย 25 00:01:21,334 --> 00:01:23,460 ถ้าเราลองโยนเหรียญ 100 ครั้ง 26 00:01:23,460 --> 00:01:28,156 เราคงคาดหวังว่าจะได้เห็นด้านหัวประมาณ 50% ของจำนวนครั้งทั้งหมด 27 00:01:28,156 --> 00:01:31,541 ถ้าหากผลลัพธ์ออกมาว่าเหรียญออกหัวทั้งหมด 28 00:01:31,541 --> 00:01:34,177 คุณจะตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีบางสิ่งผิดปกติ 29 00:01:34,177 --> 00:01:35,972 ซึ่งไม่ได้มาจากการโยนของเรา 30 00:01:35,972 --> 00:01:39,001 แต่ผิดปกติที่ตัวเหรียญเอง 31 00:01:39,001 --> 00:01:43,806 แน่นอนว่า การชี้ตัวผู้ต้องหาไม่ได้ เป็นการสุ่มเหมือนการโยนเหรียญ 32 00:01:43,806 --> 00:01:48,339 แต่มันก็ไม่ได้ชัดเจนเหมือนกันแยกแอปเปิ้ล ออกจากกล้วยเช่นกัน 33 00:01:48,339 --> 00:01:54,203 อันที่จริงแล้ว การศึกษาในปี ค.ศ. 1944 พบว่า 48% ของพยาน 34 00:01:54,203 --> 00:01:56,967 มีแนวโน้มที่จะชี้ตัวผู้ต้องหาผิดคน 35 00:01:56,967 --> 00:02:00,312 แม้ว่าพวกเขาจะมั่นใจในการชี้ตัวของพวกเขา มากก็ตาม 36 00:02:00,312 --> 00:02:03,788 ความทรงจำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ เห็นเพียงแวบเดียวนั้นเชื่อได้ยาก 37 00:02:03,788 --> 00:02:07,204 และเรามักจะคาดคะเนเกินจากความแม่นยำของเรา 38 00:02:07,204 --> 00:02:08,164 ด้วยปัจจัยเหล่านี้ 39 00:02:08,164 --> 00:02:12,093 การบ่งชี้ที่เป็นเอกฉันท์เริ่มดูจะมี ความน่าเชื่อถือน้อยลง 40 00:02:12,093 --> 00:02:14,705 และเป็นเหมือนความบกพร่องของระบบ 41 00:02:14,705 --> 00:02:17,024 หรือความลำเอียงที่เกิดขึ้น 42 00:02:17,024 --> 00:02:21,013 ความบกพร่องของระบบไม่เพียงเกิดขึ้น ในกรณีของการตัดสินของมนุษย์เท่านั้น 43 00:02:21,013 --> 00:02:23,364 ในปี ค.ศ. 1993-2008 44 00:02:23,364 --> 00:02:28,835 มีการตรวจพบ DNA ของหญิงสาวในที่เกิดเหตุ อาชญากรรมหลายแห่งในยุโรป 45 00:02:28,835 --> 00:02:34,433 ซึ่งเรียกว่าเป็นฆาตกรที่หาตัวจับยาก ชื่อว่า Phantom of Heilbronn 46 00:02:34,433 --> 00:02:40,233 แต่หลักฐานเกี่ยวกับ DNA นี้มีความสอดคล้อง กับที่เกิดเหตุเพราะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา 47 00:02:40,233 --> 00:02:43,963 ปรากฎว่าสำลีที่ใช้ตรวจหาตัวอย่าง DNA 48 00:02:43,963 --> 00:02:50,045 เกิดอุบัติเหตุถูกปนเปื้อนโดยผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ทำงานในโรงงานผลิต 49 00:02:50,045 --> 00:02:54,194 ในบางกรณีระบบที่ผิดพลาดเกิดจาก การเจตนาทุจริต 50 00:02:54,194 --> 00:02:59,218 เหมือนประชามติที่จัดทำขึ้นโดยซัดดัม ฮุสเซน ในปี ค.ศ.2002 51 00:02:59,218 --> 00:03:06,368 ที่ระบุว่ามีผู้ลงคะแนนเสียงถึง 100% พร้อมกับนิยมชมชอบถึง 100% เช่นกัน 52 00:03:06,368 --> 00:03:09,456 กับการเป็นประธานาธิบดีอีกเจ็ดปี 53 00:03:09,456 --> 00:03:10,839 เมื่อคุณมองเห็นเรื่องแบบนี้ 54 00:03:10,839 --> 00:03:15,121 ความย้อนแย้งในความเป็นเอกฉันท์ อาจจะไม่ใช่ความย้อนแย้งทั้งหมด 55 00:03:15,121 --> 00:03:18,244 ความเห็นพ้องตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ยังเป็นแค่ความคิดเชิงทฤษฏี 56 00:03:18,244 --> 00:03:23,588 โดยเฉพาะกรณีที่มีคาดหวังต่ำมาก ในตัวแปรและความไม่แน่นอน 57 00:03:23,588 --> 00:03:24,557 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว 58 00:03:24,557 --> 00:03:29,058 การได้เสียงเอกฉันท์ในสภาวะ ที่ความเป็นเอกฉันท์ไม่น่าเกิดขึ้นได้ 59 00:03:29,058 --> 00:03:34,180 บอกเราว่าน่าจะมีปัจจัยซ่อนเร้นบางประการ ที่กำลังส่งผลอยู่ในระบบ 60 00:03:34,180 --> 00:03:37,018 บางทีเราอาจจะต่อสู้เพื่อความสมานฉันท์ และฉันทามติ 61 00:03:37,018 --> 00:03:42,159 ในหลายสถานการณ์ ความผิดพลาดและความเห็นต่าง ยังเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ตามธรรมชาติ 62 00:03:42,159 --> 00:03:44,696 และถ้าผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบนั้น ดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้ 63 00:03:44,696 --> 00:03:46,343 มันก็อาจจะเกินจริงไปจริง ๆ