Return to Video

นักนิติมนุษยวิทยา ผู้นำความสิ้นสุดมาให้กับ "ผู้ที่สูญหายไป"

  • 0:01 - 0:04
    กัวเตมาลา กำลังฟื้นจาก 36 ปีของความขัดแย้ง
  • 0:04 - 0:07
    ความขัดแย้งที่ฟาดฟันกัน ในช่วงสงครามเย็น
  • 0:07 - 0:11
    จริงๆมันเป็นแค่การก่อความไม่สงบ
    เล็กๆของฝ่ายซ้าย
  • 0:11 - 0:14
    และการตอบโต้แบบทำลายล้าง ของฝ่ายรัฐบาล
  • 0:14 - 0:17
    ผลที่เราได้รับก็คือ เหยื่อที่เป็นพลเรือน
    2 แสนคน
  • 0:17 - 0:20
    ในจำนวนนั้น 160,000 คน ถูกฆ่าตายในชุมชน
  • 0:20 - 0:24
    มีทั้งเด็กเล็ก ผู้ชาย หญิง แม้กระทั่งคนแก่
  • 0:24 - 0:28
    แล้วก็มีคนอื่นๆราว 40,000 คน ที่สูญหายไป
  • 0:28 - 0:30
    คนที่เรายังคงค้นหาอยู่ ทุกวันนี้
  • 0:30 - 0:33
    เราเรียกพวกเขาว่า เดสะพะเรซิโดส
  • 0:33 - 0:36
    ปัจจุบัน 83% ของเหยื่อนั้น เป็นชาวมายัน
  • 0:36 - 0:38
    เหยื่อซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสาย
  • 0:38 - 0:41
    ผู้ที่อยู่อาศัยในอเมริกากลางมาแต่ดั้งเดิม
  • 0:41 - 0:44
    เพียง 17% เท่านั้น สืบเชื้อสายมาจากยุโรป
  • 0:44 - 0:46
    แต่สิ่งที่สำคัญตรงนี้ ก็คือ
  • 0:46 - 0:52
    คนที่ควรต้องมาพิทักษ์ปกป้องเรา
    เช่น ตำรวจ ทหาร
  • 0:52 - 0:55
    คือคนที่ก่ออาชญากรรมส่วนใหญ่ในครั้งนั้น
  • 0:56 - 0:59
    ครับ ครอบครัวเหล่านั้น พวกเขาต้องการข้อมูล
  • 0:59 - 1:01
    พวกเขาต้องการรู้ว่า เกิดอะไรขึ้น
  • 1:01 - 1:03
    พวกเขาต้องการศพของคนที่พวกเขารัก
  • 1:03 - 1:06
    แต่ที่สำคัญที่สุด สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ
    พวกเขาต้องการ "คุณ"
  • 1:06 - 1:10
    ต้องการให้ทุกๆท่านรู้ว่า
    คนที่พวกเขารักนั้น ไม่ได้ทำอะไรผิด
  • 1:12 - 1:17
    ครับ ในกรณีของผมนั้น คือ คุณพ่อของผม
    ถูกขู่จะฆ่า ในปี 1980
  • 1:17 - 1:19
    เราก็เลยหนีออกมา
  • 1:19 - 1:20
    เราทิ้งกัวเตมาลา และเรามาที่นี่
  • 1:20 - 1:22
    ผมจึงโตขึ้นมาในนิวยอร์ค
  • 1:22 - 1:25
    ผมโตขึ้นมาในบรุคลิน, จริงๆแล้ว,
    ไปเรียนที่โรงเรียนมัธยม อูเทร็ชท์
  • 1:25 - 1:27
    และสำเร็จการศึกษาที่ บรุคลินคอลเลจ
  • 1:27 - 1:29
    อย่างเดียวเท่านั้น ก็คือ
  • 1:29 - 1:33
    ผมไม่รู้จริงๆว่ากำลังเกิดอะไรในตอนนั้น
    ในกัวเตมาลา
  • 1:33 - 1:35
    ผมไม่สนใจมัน มันเจ็บปวดเหลือเกิน
  • 1:35 - 1:40
    เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งปี 1995 ที่ผมตัดสิน
    ทำบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 1:40 - 1:41
    ผมจึงกลับไป
  • 1:41 - 1:44
    ผมกลับไปที่กัวเตมาลา เพื่อค้นหาศพผู้ตาย
  • 1:44 - 1:49
    เพื่อให้เข้าใจว่า ได้เกิดอะไรขึ้น
    และเพื่อค้นหาบางส่วนของผมด้วย
  • 1:50 - 1:53
    วิธีที่เราทำงานก็คือ เราให้ข้อมูลกับผู้คน
  • 1:53 - 1:56
    เราพูดคุยกับสมาชิกของครอบครัว
    แล้วให้พวกเขาเลือก
  • 1:56 - 2:00
    เราให้พวกเขาตัดสินใจ ที่จะเล่าเรื่องราว
  • 2:00 - 2:01
    บอกเราว่า พวกเขาได้เห็นอะไร
  • 2:01 - 2:04
    บอกเราเกี่ยวกับคนที่เขารัก
  • 2:04 - 2:05
    และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น
  • 2:05 - 2:09
    เราให้พวกเขาเลือกที่จะให้เรา
    ชิ้นส่วนหนึ่งของตัวเอง
  • 2:09 - 2:11
    ชิ้นส่วนสำคัญแก่นแท้ ว่าเขาเป็นใคร
  • 2:11 - 2:14
    และดีเอ็นเอนั้น คือ สิ่งที่เราจะนำมา
    เปรียบเทียบ
  • 2:14 - 2:16
    กับดีเอ็นเอที่มาจากโครงกระดูก
  • 2:16 - 2:19
    ในระหว่างที่เรากำลังทำเรื่องนั้นอยู่
    เราก็กำลังค้นหาศพไปด้วย
  • 2:19 - 2:21
    และพวกนี้คือ โครงกระดูก จนถึงเดี๋ยวนี้
  • 2:21 - 2:24
    อาชญากรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่
    เกิดขึ้น 32 ปีมาแล้ว
  • 2:24 - 2:26
    เมื่อเราพบหลุมศพ
  • 2:26 - 2:30
    เราขุดดินออกไป และสุดท้ายก็ทำความสะอาดศพ
    บันทึกเป็นหลักฐานไว้ และขุดศพขึ้นมา
  • 2:30 - 2:33
    จริงๆแล้ว เรานำโครงกระดูกขึ้นมาจากพื้นดิน
  • 2:33 - 2:37
    ทันทีที่เราได้ศพเหล่านั้นมา เราก็เอามัน
    กลับมาในเมือง ไปที่ห้องแล็บของเรา
  • 2:37 - 2:40
    แล้วก็เริ่มกระบวนการเพื่อพยายามเข้าใจ
    สิ่งสำคัญ 2 อย่าง
  • 2:40 - 2:43
    อย่างหนึ่ง คือ เขาตายอย่างไร
  • 2:43 - 2:46
    ตรงนี้ คุณเห็นรอยแผลจากกระสุนปืน
    ตรงหลังศีรษะ
  • 2:46 - 2:48
    หรือรอยแผลจากการฟัน เป็นตัวอย่าง
  • 2:48 - 2:52
    อีกอย่างหนึ่งที่เราต้องการจะรู้ คือ
    เขาเป็นใคร
  • 2:52 - 2:55
    เป็นเด็กอ่อนใช่มั๊ย
  • 2:55 - 2:57
    หรือเป็นผู้ใหญ่
  • 2:57 - 2:59
    เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
  • 2:59 - 3:01
    แต่เมื่อเราวิเคราะห์เรื่องนั้นได้แล้ว
  • 3:01 - 3:03
    สิ่งที่เราจะทำ ก็คือ เราจะเศษชิ้นส่วนเล็กๆ
    ของกระดูก
  • 3:03 - 3:06
    และจะสกัดเอา ดีเอ็นเอ ออกมา
  • 3:06 - 3:07
    เราจะเอา ดีเอ็นเอนั้น
  • 3:07 - 3:12
    แล้วเอามาเปรียบเทียบกับ ดีเอ็นเอ
    ของครอบครัว แน่นอนครับ
  • 3:12 - 3:16
    วิธีดีที่สุด เพื่ออธิบายเรื่องนี้ต่อท่าน
    ก็คือ แสดงให้ชม 2 กรณี
  • 3:16 - 3:18
    รายแรก เป็นกรณีบันทึกประจำวันของทหาร
  • 3:18 - 3:23
    ครับ นี่เป็นเอกสาร ที่ลักลอบเอาออกมาจาก
    ที่ใดที่หนึ่ง ในปี 1999
  • 3:23 - 3:28
    ที่คุณเห็นตรงนั้น คือ รัฐบาล
    ติดตามคนเป็นรายบุคคล
  • 3:28 - 3:32
    คนที่ เหมือนๆกับท่านทั้งหลาย
    ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศของเขา
  • 3:32 - 3:34
    และพวกเขาก็จดบันทึกทุกๆอย่างลงไป
  • 3:34 - 3:39
    และสิ่งหนึ่งที่พวกเขาเขียนลงไป คือ
    เวลาที่พวกเขาถูกฆ่า
  • 3:39 - 3:42
    ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองนั่น
    คุณจะเห็นรหัส
  • 3:42 - 3:44
    เป็นรหัสลับ: 300
  • 3:44 - 3:46
    แล้วคุณก็เห็นวันที่
  • 3:46 - 3:49
    ตัวเลข 300 หมายถึง "สังหารแล้ว"
    และวันที่ หมายถึง วันเวลาที่ถูกฆ่า
  • 3:49 - 3:53
    ครับ กิจกรรมนั้นจะส่งผล ในอีกประเดี๋ยว
  • 3:53 - 3:57
    สิ่งที่เราทำ คือ ทำการขุดศพขึ้นมา ปี 2003
  • 3:57 - 4:02
    ซึ่งเราขุดขึ้นมาได้ 220 ศพ จาก 53 หลุม
    ในฐานทัพทหาร
  • 4:03 - 4:07
    อย่างไรก็ตาม หลุมที่ 9 เข้ากันได้กับ
    ครอบครัวเซอจิโอ โซล ลิแนร์
  • 4:07 - 4:09
    ครับ เซอจิโอ เป็นศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัย
  • 4:09 - 4:12
    เขาสำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยรัฐไอโอว่า
  • 4:12 - 4:14
    แล้วกลับไปกัวเตมาลา เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ
  • 4:14 - 4:18
    เขาถูกจับ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1984
  • 4:18 - 4:22
    ถ้าคุณเห็นตรงนั้น เขาถูกสังหาร
    วันที่ 29 มีนาคม 1984
  • 4:22 - 4:24
    ซึ่งไม่น่าเชื่อ
  • 4:24 - 4:27
    เราได้ศพของเขามา เราได้ข้อมูลของครอบครัว
    และ ดีเอ็นเอ ของพวกเขา
  • 4:27 - 4:30
    และขณะนี้ เรามีเอกสารที่บอกเราตรงกันว่า
    เกิดอะไรขึ้น
  • 4:30 - 4:33
    แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ราวสองสัปดาห์ต่อมา
  • 4:33 - 4:36
    เราก็ได้ศพมาอีกหนึ่งราย อีกหนึ่งราย
    ที่ดีเอ็นเอเข้ากันได้
  • 4:36 - 4:41
    จากหลุมศพเดียวกัน ศพของ อแมนซิโอ วิลลาโทโร
  • 4:41 - 4:43
    ดีเอ็นเอ ของศพนั้น เข้ากันได้กับ
    ดีเอ็นเอของครอบครัวนั้น
  • 4:43 - 4:47
    และเราก็สังเกตเห็นว่า
    เขาก็อยู้ในสมุดบันทึกนั้นด้วย
  • 4:47 - 4:52
    น่าแปลกใจ ที่เห็นว่า เขาก็ถูกสังหาร
    ในวันที่ 29 มีนาคม 1984 ด้วย
  • 4:52 - 4:56
    สิ่งนั้นจึงทำให้เราคิดว่า เอ้อ มีกี่ศพนะ
    ในหลุมนั้น
  • 4:56 - 4:57
    หกศพ
  • 4:57 - 5:04
    เราก็เลยบอกว่า คนกี่คนถูกสังหาร
    ในวันที่ 29 มีนาคม 1984?
  • 5:07 - 5:09
    ถูกต้องแล้ว มีอยู่หกคน
  • 5:09 - 5:15
    เราจึงได้ ฮวน เดอ ดิออส ฮูโก กับ
    มอยเซส และ ซอยโล
  • 5:15 - 5:19
    ทั้งหมดนั้นถูกสังหารในวันเดียวกัน
    ทั้งหมดถูกจับมาจากที่ต่างๆ
  • 5:19 - 5:20
    และในช่วงเวลาต่างๆกัน
  • 5:20 - 5:21
    ทั้งหมดถูกฝังในหลุมนั้น
  • 5:21 - 5:25
    อีกสิ่งเดียวที่เราต้องการตอนนั้น คือ
    ดีเอ็นเอ ทั้งสี่ครอบครัวนั้น
  • 5:25 - 5:28
    เราจึงไปตามหาพวกเขา และก็พบ
  • 5:28 - 5:32
    เราระบุศพทั้ง 6 ศพนั้น
    และคืนให้กับครอบครัวพวกเขาไป
  • 5:32 - 5:35
    อีกกรณีหนึ่ง ที่ผมต้องการจะเล่าให้คุณฟัง
  • 5:35 - 5:39
    คือ ฐานทัพทางการทหาร เรียกว่า เกรอมปาซ
  • 5:39 - 5:43
    จริงๆแล้วแปลว่า "เชื่อในสันติภาพ"
    แต่อักษรย่อจริงๆ หมายความว่า
  • 5:43 - 5:47
    ศูนย์สั่งการปฏิบัติการรักษาความสงบ
    ระดับภูมิภาค
  • 5:47 - 5:51
    ที่นี่เป็นสถานที่ทหารกัวเตมาลา ฝึกผู้รักษา
    ความสงบ จากประเทศอื่นๆ
  • 5:51 - 5:54
    ผู้ที่ไปปฏิบัติการกับสหประชาชาติ
  • 5:54 - 5:57
    และไปยังประเทศอย่างเช่น ไฮติ และคองโก
  • 5:57 - 6:01
    ครับ เรามีพยานที่บอกว่า ภายในฐานทัพนี้
  • 6:01 - 6:03
    มีศพ มีหลุมศพ
  • 6:03 - 6:07
    เราจึงเข้าไปที่นั่น พร้อมกับหมายค้น
    และประมาณสองชั่วโมง หลังจากที่เราเข้าไป
  • 6:07 - 6:12
    เราก็พบหลุมศพชุดแรก 84 หลุม ฝังไว้ 533 ศพ
  • 6:12 - 6:15
    ทีนี้ ถ้าเราคิดถึงว่า
  • 6:15 - 6:18
    ผู้รักษาความสงบถูกฝึก อยู่บนทรากศพ
  • 6:18 - 6:20
    มันช่างน่าเย้ยหยันเสียจริงๆ
  • 6:22 - 6:27
    แต่ศพเหล่านั้น--หน้าควํ่า
    ส่วนใหญ่แล้วถูกมัดมือไขว้หลัง
  • 6:27 - 6:29
    ถูกผ้าผูกตา ทุกรูปแบบของแผลบาดเจ็บ
  • 6:29 - 6:33
    คนเหล่านี้ เป็นผู้ที่ป้องกันตัวเองไม่ได้
    จึงถูกสังหาร
  • 6:33 - 6:37
    คนที่ 533 ครอบครัว กำลังค้นหา
  • 6:37 - 6:39
    เราจึงจะเน้นไปที่หลุมศพที่ 15
  • 6:39 - 6:43
    หลุมศพที่ 15 สิ่งที่เราสังเกตเห็น คือ
    เป็นหลุมที่เต็มไปด้วยผู้หญิงและเด็ก
  • 6:43 - 6:45
    มีทั้งหมด 63 ศพ
  • 6:45 - 6:48
    และนั่นทำให้ผมคิดได้ทันที
  • 6:48 - 6:51
    อะไรกันเนี้ย ที่ไหนมีเรื่องแบบนี้มั๊ยเนี้ย
  • 6:51 - 6:53
    เมื่อผมไปที่กัวเตมาลาในปี 1995
  • 6:53 - 6:58
    ได้ยินได้ฟังกรณีการฆ่าหมู่
    ที่เกิดเมื่อ 14 พฤษภาคม1982
  • 6:58 - 7:01
    ที่ทหารเข้ามา แล้วฆ่าพวกผู้ชาย
  • 7:01 - 7:05
    แล้วเอาผู้หญิงและเด็กขึ้นเฮลิคอปเตอร์
    ไปยังที่ๆไม่มีใครรู้
  • 7:06 - 7:07
    ครับ เดาซิว่าอะไร?
  • 7:07 - 7:11
    เสื้อผ้าจากหลุมศพนี้ ตรงกับเสื้อผ้า
    จากภูมิภาคนั้น
  • 7:11 - 7:13
    ที่คนเหล่านี้ถูกพาตัวมา
  • 7:13 - 7:15
    ที่ผู้หญิงและเด็กเหล่านี้ ถูกพาตัวมา
  • 7:15 - 7:18
    เราจึงทำการวิเคราะห์ ดีเอ็นเอ
    และเดาซิครับ?
  • 7:19 - 7:21
    เราระบุตัว มาร์ติน่า โรจาส และมานูเอล เช็น
  • 7:21 - 7:24
    ทั้งสองหายตัวไป ในเหตุการณ์นั้น
    และตอนนี้ เราพิสูจน์ได้แล้ว
  • 7:24 - 7:27
    เรามีหลักฐานทางกายภาพ ที่พิสูจน์ว่า
    สิ่งนี้ได้เกิดขึ้น
  • 7:27 - 7:30
    และผู้คนเหล่านั้น ถูกนำตัวมาที่ฐานทัพนี้
  • 7:30 - 7:33
    ครับ มานูเอล เช็น อายุสามขวบ
  • 7:33 - 7:38
    แม่ของเขาไปที่แม่นํ้า เพื่อไปซักผ้า
    และทิ้งเขาไว้กับเพื่อนบ้าน
  • 7:38 - 7:40
    นั่นเป็นตอนที่ทหารมา
  • 7:40 - 7:43
    และนั่นเป็นตอนที่ เขาถูกเอาตัวไปใน
    เฮลิคอปเตอร์ และไม่มีใครพบเห็นอีกเลย
  • 7:43 - 7:45
    จนกระทั่ง เรามาพบเขาในหลุมที่ 15
  • 7:45 - 7:51
    ดังนั้น พร้อมกับวิทยาศาสตร์ กับโบราณคดี
    กับมานุษยวิทยา กับพันธุศาสตร์
  • 7:51 - 7:54
    สิ่งที่เรากำลังทำคือ เรากำลังส่งเสียงร้อง
    ให้กับผู้ที่ไร้เสียง
  • 7:54 - 7:56
    แต่เรากำลังทำมากกว่านั้น
  • 7:56 - 7:58
    จริงๆ เรากำลังพิสูจน์หลักฐาน
    เพื่อการพิจารณาคดีในศาล
  • 7:58 - 8:01
    เช่น การพิจารณาคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    ที่เกิดขึ้นปีที่แล้ว ในกัวเตมาลา
  • 8:01 - 8:06
    เมื่อ นายพล ริออส มอนทท์ ถูกพบว่ามีความผิด
    ฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และถูกจำคุก 80 ปี
  • 8:06 - 8:10
    ผมจึงมาพูดที่นี่ เพื่อบอกคุณในวันนี้ว่า
    สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นในทุกๆที่--
  • 8:10 - 8:13
    กำลังเกิดขึ้นในเม็กซิโก
    ตรงข้างหน้าเรานี้แหละ ในวันนี้--
  • 8:13 - 8:14
    และเราให้มันดำเนินการต่อไป ไม่ได้อีกแล้ว
  • 8:14 - 8:17
    ตอนนี้ เราต้องมาร่วมกัน และตัดสินใจ
  • 8:17 - 8:20
    ว่า เราจะไม่ให้มีการสูญหาย อีกต่อไป
  • 8:20 - 8:21
    ไม่มีการสูญหายของผู้คนอีก
  • 8:21 - 8:23
    ตกลงครับ ไม่มีการสูญหายอีก
  • 8:23 - 8:25
    ขอบคุณครับ
  • 8:25 - 8:28
    (เสียงปรบมือ)
Title:
นักนิติมนุษยวิทยา ผู้นำความสิ้นสุดมาให้กับ "ผู้ที่สูญหายไป"
Speaker:
เฟรดี เพ็กเซเรลลึ
Description:

36 ปีของความขัดแย้งในกัวเตมาลา พลเรือน 200,000 คน ถูกฆ่าตาย -- และมากกว่า 40,000 คน ระบุไม่ได้ว่าเป็นใคร นักนิติมนุษยวิทยาผู้บุกเบิก ชื่อ เฟรดี เพ็กเซเรลลิ และทีมงานของเขาใช้ ดีเอ็นเอ โบราณคดี และการเล่าเรื่องราว มาช่วยครอบครัวค้นหาศพของคนที่พวกเขารัก มันเป็นงานที่เอาจริงเอาจัง แต่สามารถนำความสงบมาสู่จิตใจได้--และบางทีก็นำมาซึ่งความยุติธรรมได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:40

Thai subtitles

Revisions