Return to Video

แฟรกกิ้งทำงานอย่างไร? - มีอา นาคามูลลิ

  • 0:09 - 0:14
    ภายใต้พื้นพิภพที่ครั้งหนึ่ง
    มีก๊าซธรรมชาติที่เราไม่สามารถขุดมาใช้ได้
  • 0:14 - 0:18
    ก๊าซที่ว่านี้อาจใช้เวลาก่อตัว
    กว่าหลายล้านปี
  • 0:18 - 0:23
    จากชั้นของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลาย
    ที่ผ่านความร้อนและความดันมหาศาล
  • 0:23 - 0:26
    ภายใต้เปลือกโลก
  • 0:26 - 0:28
    มีเทคโนโลยีการสร้างรอยแตก
    ในชั้นหินโดยใช้ของไหลแรงดันสูง
  • 0:28 - 0:30
    หรือที่เรียกว่าแฟรกกิ้ง
  • 0:30 - 0:32
    ซึ่งสามารถขุดเจาะก๊าซนี้มาใช้ได้
  • 0:32 - 0:36
    และมีศักยภาพที่จะให้พลังงานแก่เรา
    ได้อีกหลายทศวรรษ
  • 0:36 - 0:38
    แฟรกกิ้งทำงานอย่างไร
  • 0:38 - 0:42
    และทำไมมันจึงเป็นประเด็น
    ในการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน
  • 0:42 - 0:46
    แหล่งแฟรกกิ้งสามารถ
    ทำได้ทุกที่ที่มีก๊าซธรรมชาติ
  • 0:46 - 0:47
    ตั้งแต่ทะเลทรายอันห่างไกล
  • 0:47 - 0:50
    ไปยังไม่กี่ร้อยเมตรจากหลังบ้านของคุณ
  • 0:50 - 0:55
    มันเริ่มจากการขุดเจาะในแนวดิ่ง
    ที่เรียกว่าหลุมเจาะ
  • 0:55 - 0:58
    ที่ถูกเจาะผ่านชั้นดินตะกอน
  • 0:58 - 1:03
    เมื่อหลุมเจาะลึกถึง 2500 - 3000 เมตร
    มันจะถึงจุดหักเห
  • 1:03 - 1:07
    ที่จะเริ่มกระบวนการขุดเจาะตามแนวนอน
  • 1:07 - 1:14
    มันจะหักมุม 90 องศาและขยายหลุมเจาะ
    ตามแนวนอนออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร
  • 1:14 - 1:19
    ผ่านชั้นหินสีดำที่ถูกอัดแน่นที่เรียกว่า
    ชั้นหินดินดาน
  • 1:19 - 1:23
    จากนั้นก็หย่อนปืนเจาะรูชนิดพิเศษลงไปยิง
  • 1:23 - 1:26
    เพื่อเจาะรูเล็กยาวหนึ่งนิ้วหลายรูเป็นชุด ๆ
  • 1:26 - 1:31
    ซึ่งจะเจาะผ่านท่อกรุภายในชั้นหิน
  • 1:31 - 1:34
    ภายหลังจากการเริ่มขุดเจาะขั้นแรก
    ประมาณสามถึงสี่เดือน
  • 1:34 - 1:37
    หลุมนั้นก็พร้อมสำหรับเริ่มแฟรกกิ้ง
  • 1:37 - 1:41
    ของไหลที่ใช้ในการแฟรกกิ้ง
    จะถูกอัดลงไปในหลุมด้วยแรงดันที่สูงมาก
  • 1:41 - 1:43
    จนทำให้ชั้นหินดินดานแตก
  • 1:43 - 1:49
    ทำให้เกิดการแตกร้าวไปจนถึงบริเวณที่ก๊าซ
    และน้ำมันสามารถเล็ดลอดออกมาได้
  • 1:49 - 1:52
    ของไหลดังกล่าวมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
    มากกว่า 90%
  • 1:52 - 1:56
    ที่เหลือจะเป็นสารเคมีเข้มข้นที่เติมลงไป
  • 1:56 - 2:00
    ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของ
    แหล่งแฟรกกิ้งนั้น ๆ
  • 2:00 - 2:03
    แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่สามประเภท
  • 2:03 - 2:06
    กรดสำหรับกำจัดเศษชิ้นเล็ก ๆ
    และละลายแร่ธาติ
  • 2:06 - 2:09
    สารประกอบที่ช่วยลดแรงต้านทานเพื่อทำให้
  • 2:09 - 2:12
    เกิดเป็นน้ำลักษณะลื่น
    ที่เรียกว่า สลิควอเตอร์
  • 2:12 - 2:16
    และสารฆ่าเชื้อเพื่อป้องกัน
    การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
  • 2:16 - 2:21
    ทรายหรือดินเหนียวจะถูกผสมลงไปในน้ำ
    เพื่อช่วยเปิดรอยแยกให้คงอยู่
  • 2:21 - 2:27
    ก๊าซและน้ำมันจะได้ไหลออกไปได้เรื่อยๆ
    แม้กระทั่งเมื่อความดันได้ลดลงแล้ว
  • 2:27 - 2:30
    ได้มีการประมาณการณ์ว่าการสูบน้ำและ
    การชะล้างอย่างหนักหน่วงของการแฟรกกิ้ง
  • 2:30 - 2:36
    โดยเฉลี่ยแล้วใช้น้ำ 3-6 ล้านแกลลอนต่อหลุม
  • 2:36 - 2:39
    ซึ่งจริงๆแล้วไม่มากเลย
    เมื่อเทียบกับการกสิกรรม
  • 2:39 - 2:40
    โรงงานไฟฟ้า
  • 2:40 - 2:43
    หรือแม้แต่น้ำที่ใช้ในการดูแลรักษาสนามกอล์ฟ
  • 2:43 - 2:47
    แต่มันก็สามารถส่งผลกระทบต่อ
    ปริมาณน้ำใช้ของชุมชนที่เห็นได้ชัด
  • 2:47 - 2:51
    และการกำจัดน้ำทิ้งจากการแฟรกกิ้ง
    ก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง
  • 2:51 - 2:54
    สิ่งที่ถูกสูบขึ้นมายังผิวดินนั้น
    นอกจากก๊าซที่ถูกกักเอาไว้
  • 2:54 - 2:59
    ยังมีของเหลวหลายล้านแกลลอน
    ไหลย้อนพุ่งกลับขึ้นมาด้วย
  • 2:59 - 3:02
    ของเหลวพวกนี้ปนเปื้อนสาร
    อย่างธาตุกัมมันตรังสี
  • 3:02 - 3:03
    เกลือ
  • 3:03 - 3:04
    โลหะหนัก
  • 3:04 - 3:06
    และไฮโดรคาร์บอน
  • 3:06 - 3:08
    ที่ต้องถูกจัดเก็บและนำไปกำจัด
  • 3:08 - 3:12
    ซึ่งปกติแล้วจะถูกเก็บในหลุมลึก
    ที่อยู่ในบริเวณขุดเจาะนั่นเอง
  • 3:12 - 3:16
    หรือแหล่งบำบัดน้ำเสียที่อื่น
  • 3:16 - 3:19
    อีกวิธีก็คือการนำน้ำที่ไหลย้อนกลับขึ้นมา
    กลับมาใช้ใหม่
  • 3:19 - 3:23
    แต่การนำกลับมาใช้ใหม่นั้นจะทำให้
    เกิดการปนเปื้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก
  • 3:23 - 3:27
    เพราะน้ำนั้นจะยิ่งเป็นพิษมากขึ้น
    ทุกครั้งที่ถูกนำมาใช้ซ้ำ
  • 3:27 - 3:30
    หลุมเก็บน้ำนั้นโดยทั่วไปแล้วจะถูกกรุด้วย
    เหล็กและซีเมนต์
  • 3:30 - 3:33
    เพื่อป้องกันการรั่วไหลของ
    สิ่งปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดิน
  • 3:33 - 3:37
    แต่ความประมาทเลินเล่อใด ๆ
    หรืออุบัติเหตุจากการแฟรกกิ้ง
  • 3:37 - 3:39
    สามารถส่งผลกระทบที่ร้ายแรงได้
  • 3:39 - 3:41
    การรั่วไหลลงสู่น้ำใต้ดินโดยตรง
  • 3:41 - 3:44
    อันตรายที่เกิดจากการรั่วไหลใต้ดิน
  • 3:44 - 3:48
    และการบำบัดและกำจัด
    น้ำเสียเป็นพิษร้ายแรงที่ไม่ดีพอ
  • 3:48 - 3:53
    อาจทำให้น้ำบริโภคในบริเวณแหล่งขุดเจาะ
    เกิดการปนเปื้อนสารพิษได้
  • 3:53 - 3:56
    นอกจากนี้ยังมีความกังวล
    ในเรื่องการเกิดแผ่นดินไหว
  • 3:56 - 3:57
    และโครงสร้างพื้นฐานที่อาจเสียหาย
  • 3:57 - 4:00
    จากความดันและการฉีดน้ำเข้าไป
  • 4:00 - 4:04
    ความเชื่อมโยงระหว่างการแฟรกกิ้ง
    และกิจกรรมแผ่นดินไหวที่เพิ่มขึ้น
  • 4:04 - 4:08
    ยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
    เกี่ยวกับความดันขาดสมดุลในระยะยาว
  • 4:08 - 4:11
    ที่อาจกำลังเกิดขึ้นอยู่ลึกลงไป
    ใต้ฝ่าเท้าของเรา
  • 4:11 - 4:15
    ข้อโต้แย้งที่ใหญ่ที่สุดของการแฟรกกิ้งนั้น
    กำลังเกิดขึ้นเหนือพื้นดิน
  • 4:15 - 4:20
    ความคิดส่วนใหญ่เห็นว่าการเผาไหม้
    ก๊าซธรรมชาตินั้นดีต่อสิ่งแวดล้อม
  • 4:20 - 4:22
    กว่าการเผาไหม้ถ่านหิน
  • 4:22 - 4:23
    เนื่องจากก๊าซที่ได้จากการแฟรกกิ้งนั้น
  • 4:23 - 4:27
    ปล่อยก๊าซคร์บอนไดออกไซด์
    ต่อพลังงานหนึ่งหน่วย
  • 4:27 - 4:29
    เพียงครึ่งหนึ่งของถ่านหิน
  • 4:29 - 4:31
    แต่ว่าเราก็ไม่สามารถมองข้าม
    มลภาวะจากการแฟรกกิ้ง
  • 4:31 - 4:33
    ไปได้
  • 4:33 - 4:36
    มีเทนที่รั่วออกมาระหว่าง
    กระบวนการขุดเจาะและการสูบขึ้นมา
  • 4:36 - 4:39
    เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีอานุภาพกว่า
    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • 4:39 - 4:41
    หลายเท่า
  • 4:41 - 4:45
    นักวิทยาศาสตร์บางคนเถียงว่า
    ในที่สุดแล้วมีเทนก็จะกระจายหายไป
  • 4:45 - 4:49
    ดังนั้นจึงมีผลกระทบในระยะยาวค่อนข้างน้อย
  • 4:49 - 4:51
    แต่คำถามหนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น
    ก็ยังค้างคาอยู่
  • 4:51 - 4:54
    การแฟรกกิ้งนั้นทำให้เกิดการเบี่ยงเบน
    เวลา เงินและการวิจัย
  • 4:54 - 4:59
    ออกจากการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน
    ที่สะอาดกว่าหรือเปล่า
  • 4:59 - 5:01
    ก๊าซธรรมชาติไม่ใช่พลังงานทดแทนได้
  • 5:01 - 5:04
    และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้น
    ที่สนับสนุนการแฟรกกิ้ง
  • 5:04 - 5:08
    อาจจะไม่เป็นไปตามคาด หากต้องเผชิญ
    สภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง
  • 5:08 - 5:12
    ผู้เชี่ยวชาญยังคงตรวจสอบผลกระทบ
    ที่ครอบคลุมทั้งหมดของการแฟรกกิ้ง
  • 5:12 - 5:15
    ถึงแม้ว่าการแฟรกกิ้สมัยใหม่
    จะมีมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1940
  • 5:15 - 5:18
    มันเพิ่งเป็นที่นิยมเมื่อ
    ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง
  • 5:18 - 5:23
    ในขณะที่แหล่งก๊าซธรรมชาติอื่นร่อยหรอ
    และราคาของพลังงานที่ทดแทนไม่ได้แพงขึ้น
  • 5:23 - 5:27
    และเทคโนโลยีที่ทันสมัยล่าสุด
    ทำให้เราสามารถเข้าถึงมันได้ง่าย
  • 5:27 - 5:30
    แต่หลายประเทศและหลายภูมิภาค
    ได้สั่งห้ามการแฟรกกิ้งไปแล้ว
  • 5:30 - 5:33
    เพื่อตอบสนองต่อความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5:33 - 5:37
    ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแฟรกกิ้งได้เปลี่ยน
    ภูมิทัศน์ด้านพลังงานไปทั่วโลก
  • 5:37 - 5:41
    แต่เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวในด้านใด
    และต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง
Title:
แฟรกกิ้งทำงานอย่างไร? - มีอา นาคามูลลิ
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-does-fracking-work-mia-nacamulli

ใต้พื้นพิภพที่บรรจุก๊าซธรรมชาติซึ่งครั้งหนึ่งเราไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า ไฮดรอลิกแฟรกเจอริ่ง หรือ "แฟรกกิ้ง" ที่สามารถสกัดก๊าซธรรมชาติออกมาเป็นพลังงานได้อีกหลายทศวรรษ แล้วแฟรกกิ้งนั้นทำกันอย่างไร ทำไมถึงเป็นหัวข้อโต้แย้งที่เผ็ดร้อน มีอา นาคามูลลิ ได้อธิบายการทำงานของแฟรกกิ้งไว้อย่างละเอียด

บทเรียนโดย มีอา นาคามูลลิ ภาพเคลื่อนไหวโดย ชารอน โคลแมน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
06:04

Thai subtitles

Revisions