Return to Video

ทำไมเราจึงชอบท่อนซ้ำๆ ในดนตรี - เอลิซาเบธ เฮลมุท มาร์กูลิส (Elizabeth Hellmuth Margulis)

  • 0:07 - 0:12
    ท่อนคอรัสเล่นซ้ำกันกี่ครั้ง
    ในเพลงโปรดของคุณ
  • 0:12 - 0:17
    และ ลองคิดสักนิดสิ ว่าคุณฟังไปแล้วกี่ครั้ง
  • 0:17 - 0:22
    เป็นไปได้ว่าคุณได้ยินมันเล่นซ้ำๆ เป็นโหล
    ไม่ก็คงเป็นร้อยหน
  • 0:22 - 0:25
    และไม่ใช่แค่เพลงดังๆ ของฝรั่งเท่านั้น
    ที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา
  • 0:25 - 0:31
    การทำซ้ำเป็นส่วนหนึ่ง
    ที่ดนตรีหลากวัฒนธรรมมีอยู่ร่วมกัน
  • 0:31 - 0:34
    แล้วทำไมดนตรีจึงมีการทำซ้ำๆ มากเหลือเกิน
  • 0:34 - 0:40
    ส่วนหนึ่งของคำตอบมาจากสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า
    ผลกระทบการสัมผัสแท้ๆ (mere-exposure effect)
  • 0:40 - 0:44
    ง่ายๆ ก็คือ คนมักจะชอบ
    สิ่งที่พวกเขาเคยสัมผัสมาก่อน
  • 0:44 - 0:48
    ยกตัวอย่างเช่น เพลงที่ได้ยินทางวิทยุ
    ที่เราไม่ได้ชอบสักเท่าไร
  • 0:48 - 0:51
    แต่เมื่อเราได้ยินเพลงนั้นที่ร้านขายของ
    ในโรงหนัง
  • 0:51 - 0:54
    และได้ยินอีกบนท้องถนน
  • 0:54 - 0:56
    ไม่นาน เราก็ติดอยู่ในจังหวะ
    ร้องเนื้อร้อง
  • 0:56 - 0:59
    หรือแม้แต่ดาวโหลดเพลงนั้นมา
  • 0:59 - 1:02
    ผลกระทบการสัมผัสแท้นี้ ไม่ได้เกิดกับเพลงเท่านั้น
  • 1:02 - 1:06
    มันยังคงใช้ได้กับทุกอย่าง
    ตั้งแต่รูปร่าง ไปจนถึงโฆษณาซุปเปอร์โบว์
  • 1:06 - 1:10
    แล้วอะไรที่ทำให้การทำซ้ำ
    มีอย่างแพร่หลายเป็นเอกลักษณ์ในดนตรี
  • 1:10 - 1:15
    เพื่อที่จะทำการสอบสวน
    นักจิตวิทยาถามคนที่ฟังองค์ประกอบทางดนตรี
  • 1:15 - 1:17
    ที่หลีกเลี่ยงการทำซ้ำ
  • 1:17 - 1:20
    พวกเขาได้ยินส่วนตัดทอนจากเพลงเหล่านี้
    ในแบบต้นฉบับ
  • 1:20 - 1:25
    หรือในแบบที่ถูกดัดแปลงโดยดิจิตัล
    เพื่อเพิ่มท่อนซ้ำ
  • 1:25 - 1:27
    แม้ว่าแบบต้นฉบับจะถูกแต่งโดย
  • 1:27 - 1:30
    นักแต่งเพลงที่ได้รับความนับถือมากที่สุด
    ในศตวรรษที่ 20
  • 1:30 - 1:34
    และแบบที่มีการซ้ำได้ถูกรวมขึ้นมา
    โดยการแก้ไขเสียงแบบปู้ยี่ปู้ยำ
  • 1:34 - 1:39
    คนให้คะแนนแบบที่มีท่อนซ้ำ
    ว่าเพราะกว่า น่าสนใจกว่า
  • 1:39 - 1:43
    และน่าจะถูกแต่งโดยศิลปินที่เป็นคนมากกว่า
  • 1:43 - 1:46
    การทำซ้ำทางดนตรีเป็นที่น่าสนใจมาก
  • 1:46 - 1:49
    ลองคิดถึงเพลงสุดคลาสสิกของมัพเพทส์
    "มาห์นา มาห์นา"
  • 1:49 - 1:50
    ถ้าคุณได้ยินมันมาก่อน
  • 1:50 - 1:53
    คงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่หลังจากผมร้องว่า
    "มาห์นา มาห์นา"
  • 1:53 - 1:57
    คุณจะไม่ร้องตอบว่า
    "ดุ ดู ดุ๊ ดู ดุ"
  • 1:57 - 1:58
    การทำซ้ำเชื่อมต่อแต่ละส่วนของดนตรี
  • 1:58 - 2:02
    เข้ากับส่วนถัดไปของดนตรีที่ตามมา
    อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 2:02 - 2:06
    ดังนั้นเมื่อคุณได้ยินโน้ตบางตัว
    คุณก็คิดแล้วว่าตัวถัดไปเป็นอะไร
  • 2:06 - 2:08
    สมองของคุณร้องตามไปโดยไม่ได้คิด
  • 2:08 - 2:12
    และคุณอาจเริ่มฮัมเพลงออกเสียงโดยไม่ได้สังเกต
  • 2:12 - 2:15
    การศึกษเร็วๆ นี้ได้แสดงให้เห็นว่า
    เมื่อคนได้ยินส่วนของดนตรีที่ซ้ำๆ
  • 2:15 - 2:18
    พวกเขามักจะเคลื่อนไหวหรือเคาะตามจังหวะ
  • 2:18 - 2:23
    การทำซ้ำๆ เชื้อเชิญเราเข้าไปในดนตรี
    ราวกับผู้เข้าร่วมตามแผน
  • 2:23 - 2:25
    แทนที่จะเป็นผู้รับฟัง
  • 2:25 - 2:27
    การวิจัยแสดงให้เห็นว่า
  • 2:27 - 2:30
    ผู้ฟังเคลื่อนความสนใจของพวกเขา
    ไปตามการทำช้ำทางดนตรี
  • 2:30 - 2:34
    ให้ความสนใจในมุมมองที่ต่างไป
    ของเสียงในแต่ละครั้งที่ฟัง
  • 2:34 - 2:37
    คุณอาจสังเกตว่าทำนองของท่อนนั้น
    ในหนแรก
  • 2:37 - 2:42
    แต่เมื่อฟังซ้ำ ความสนใจของคุณย้ายไปยัง
    นักกีตาร์ที่โหนเสียง
  • 2:42 - 2:46
    มันยังเกิดขึ้นในภาษาด้วยสิ่งที่เรียกว่า
    ความอิ่มใจในความหมาย
  • 2:46 - 2:49
    การพูดคำซ้ำๆ อย่าง แอทลาส แอด นอว์เซียม
  • 2:49 - 2:52
    อาจทำให้คุณหยุดคิดว่ามันหมายถึงอะไร
  • 2:52 - 2:57
    แล้วมาให้ความสนใจกับเสียง:
    ที่แปลกดีเมื่อ L ตาม T
  • 2:57 - 3:00
    ด้วยวิธีนี้ การทำซ้ำสามารถเปิดโลกแห่งเสียง
  • 3:00 - 3:03
    ที่เข้าถึงไม่ได้เมื่อฟังในครั้งแรก
  • 3:03 - 3:07
    L ตาม T อาจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกันอย่างสวยงาม
    กับ แอทลาส
  • 3:07 - 3:11
    แต่เสียงที่นักกีต้าโหนอาจมีความสำคัญ
    ในการแสดงออก
  • 3:11 - 3:14
    คำพูดที่กลายมาเป็นมายาเพลง
    แสดงให้เห็นว่า มันง่ายดายแค่ไหน
  • 3:14 - 3:18
    ที่การกล่าวประโยคซ้ำๆ กันหลายครั้ง
    จะเบนความสนใจผู้ฟัง
  • 3:18 - 3:21
    ไปยังระดับเสียงและจังหวะของเสียง
  • 3:21 - 3:22
    ดังนั้นภาษาพูดที่ย้ำซ้ำๆ
  • 3:22 - 3:26
    จึงเริ่มที่จะฟังคล้ายกับว่ามันถูกร้องออกมา
  • 3:26 - 3:29
    ปรากฏการณ์คล้ายๆ กันเกิดขึ้น
    กับลำดับเสียงแบบสุ่ม
  • 3:29 - 3:33
    ผู้คนจะให้คะแนนกับลำดับเสียงแบบสุ่ม
    ที่พวกเขาเคยได้ยินมาก่อน
  • 3:33 - 3:38
    มากกว่าลำดับเสียงแบบสุ่ม
    ที่พวกเขาได้ยินเป็นหนแรก
  • 3:38 - 3:41
    การทำซ้ำให้รูปแบบการจัดเรียงกับเสียง
  • 3:41 - 3:46
    ที่เราคิดในรูปแบบของทำนองดนตรีที่ชัดเจน
    ที่เราฟังคลอไปพร้อมกับเสียง
  • 3:46 - 3:50
    ที่เข้ามาเชื่อมอย่างมีจินตนาการกับโน้ตดนตรี
    ที่กำลังจะตามมา
  • 3:50 - 3:54
    วิธีการฟังสัมพันธ์กับความไวของหูเรา
    ต่อเสียงดนตรี
  • 3:54 - 3:57
    ในบริเวณที่เสียงดนตรีผ่านเข้าไปในสมอง
  • 3:57 - 4:00
    และเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    ราวกับว่ามันติดอยู่ซ้ำๆ
  • 4:00 - 4:03
    นักวิจารณ์มักจะอายกับการซ้ำ ของดนตรี
  • 4:03 - 4:05
    และบอกว่ามันเด็กๆ หรือไม่มีอะไรพัฒนา
  • 4:05 - 4:10
    แต่การทำซ้ำนั้น ไม่ได้ใกล้เคียงกับความอับอายเลย
    ที่จริงแล้วมันเป็นปัจจัยสำคัญ
  • 4:10 - 4:14
    ที่ทำให้เกิดรูปแบบของประสบการณ์
    ที่เกี่ยวกับดนตรี
Title:
ทำไมเราจึงชอบท่อนซ้ำๆ ในดนตรี - เอลิซาเบธ เฮลมุท มาร์กูลิส (Elizabeth Hellmuth Margulis)
Speaker:
Elizabeth Hellmuth Margulis
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/why-we-love-repetition-in-music-elizabeth-hellmuth-margulis

กี่ครั้งกันที่ท่อนคอรัสเล่นซ้ำๆ ในเพลงโปรดของคุณ กี่ครั้งกันที่คุณฟังท่อนคอรัสนั้น การทำซ้ำในดนตรีไม่ได้เป็นแค่สวนประกอบในดนตรีป๊อปตะวันตก แต่มันเป็นปรากฎการณ์ระดับสากล ทำไมละ เอลิซาเบธ เฮลมุท มาร์กูลิส พาเราชมหลักพื้นฐานของ "ผลกระทบการสัมผัส" ให้รายละเอียดว่าการทำซ้ำเชื้อเชิญเราเข้าไปในดนตรีในฐานะผู้มีส่วนร่วม มากกว่าจะเป็นเพียงผู้ฟังได้อย่างไร

แบบเรียนโดย lizabeth Hellmuth Margulis, แอนิเมชั่นโดย Andrew Zimbelman for The Foreign Correspondents' Club.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:32
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why we love repetition in music
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why we love repetition in music
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why we love repetition in music
Show all

Thai subtitles

Revisions