Return to Video

วิธีทำให้ความเห็นแก่ผู้อื่นชี้นำคุณ

  • 0:00 - 0:07
    มนุษย์เรามีศักยภาพสูงอย่างเหลือเชื่อ
    สำหรับความดี
  • 0:08 - 0:12
    แต่เราก็มีอำนาจมากมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย
  • 0:12 - 0:18
    เครื่องมือใดๆก็ตาม
    สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างหรือทำลาย
  • 0:18 - 0:21
    ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับแรงจูงใจของเรา
  • 0:21 - 0:25
    ฉะนั้น มันจึงยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  • 0:25 - 0:29
    ที่เราจะสร้างแรงบรรดาลใจ
    ที่ทำให้เราเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่าเห็นแก่ตัวเอง
  • 0:31 - 0:37
    ตอนนี้เรากำลังเผชิญหน้า
    กับความท้าทายมากมาย
  • 0:37 - 0:40
    มันอาจเป็นความท้าทายส่วนบุคคล
  • 0:40 - 0:45
    จิตของเราอาจเป็นได้ทั้งเพื่อนที่ดีที่สุด
    หรือศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด
  • 0:46 - 0:49
    อาจเป็นความท้าทายทางสังคม
    ด้วยก็ได้เช่นกัน
  • 0:49 - 0:55
    ความอดอยากท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์
    ความไม่เท่าเทียม การต่อสู้ ความอยุติธรรม
  • 0:55 - 0:59
    และยังมีความท้าทายแบบใหม่ที่เรานึกไม่ถึง
  • 0:59 - 1:04
    10,000 ปีก่อนบนโลกมีมนุษย์
    ประมาณ 5 ล้านคน
  • 1:04 - 1:05
    ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไร
  • 1:05 - 1:11
    ความทนทานของโลก
    ก็รักษาแผลจากการกระทำของมนุษย์ได้
  • 1:11 - 1:14
    หลังจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
    และเทคโนโลยี
  • 1:14 - 1:16
    มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นอีก
  • 1:16 - 1:20
    ตอนนี้เราคือตัวการสำคัญ
    ที่ส่งผลกระทบต่อโลก
  • 1:20 - 1:25
    เราได้เข้าสู่ยุคแอนโทรโปซีน
    ยุคสมัยแห่งมนุษย์
  • 1:25 - 1:32
    ในทางใดทางหนึ่งถ้าเราจะบอกว่าเราจะเติบโต
    อย่างไม่สิ้นสุดไปเรื่อยๆ
  • 1:32 - 1:36
    ใช้แหล่งวัตถุดิบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
  • 1:36 - 1:39
    มันเหมือนถ้าผู้ชายคนนี้พูดว่า
  • 1:39 - 1:43
    และอาตมาเคยได้ยินอดีตผู้นำรัฐท่านหนึ่ง
    อาตมาขอไม่พูดว่าใคร พูดว่า
  • 1:43 - 1:47
    "เมื่อ 5 ปีที่แล้ว พวกเราอยู่ที่ขอบหน้าผา
  • 1:47 - 1:50
    วันนี้เราได้ก้าวๆใหญ่ไปข้างหน้า"
  • 1:51 - 1:57
    ทีนี้หน้าผานี้เหมือนกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์
    ได้นิยามไว้
  • 1:57 - 1:59
    ว่ามันคือ ขอบเขตของดวงดาว
  • 1:59 - 2:04
    และภายในขอบเขตเหล่านั้น
    พวกมันแบกรับปัจจัยจำนวนหนึ่งไว้
  • 2:04 - 2:09
    เรายังคงเจริญต่อไป มนุษย์ยังอยู่ต่อไปได้อีก 150,000 ปี
  • 2:09 - 2:13
    ถ้าเรารักษาชั้นบรรยากาศไว้ได้
    ในสภาพเดิมอย่างมั่นคง
  • 2:13 - 2:16
    เช่นเดียวกับในยุคโฮโลซีน
    ในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา
  • 2:16 - 2:21
    แต่มันขึ้นอยู่กับ
    การเลือกความสมถะอย่างสมัครใจ
  • 2:21 - 2:24
    เติบโตอย่างมีคุณภาพ
    ไม่ใช่เติบโตด้วยจำนวน
  • 2:24 - 2:30
    ในปี 1900 อย่างที่คุณเห็น
    เราอยู่ในข้อจำกัดอย่างสบาย
  • 2:30 - 2:36
    ทีนี้ ในปี 1950 เกิดการเร่งการเจริญเติบโต
  • 2:36 - 2:41
    ตอนนี้กลั้นลมหายใจของคุณ
    ไม่ต้องนาน เพื่อนึกดูว่าเกิดอะไรต่อมา
  • 2:41 - 2:47
    ตอนนี้ พวกเราได้บุกรุกบางขอบเขตบางส่วน
    อย่างมากมาย
  • 2:47 - 2:51
    ถ้าลองเอาความหลากหลายทางชีวภาพ
    จากอัตราส่วนในปัจจุบันมาคำนวน
  • 2:51 - 2:57
    ในปี 2050
    30% ของสายพันธุ์ทั้งหมดจะสูญพันธ์
  • 2:57 - 3:03
    ต่อให้เราเก็บดีเอ็นเอของพวกมันไว้ในตู้เย็น
    เราก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตเหล่านั้นกลับคืนมา
  • 3:03 - 3:05
    อาตมานั่งอยู่ที่นั่น
  • 3:05 - 3:11
    เบื้องหน้าของธารน้ำแข็ง 21,000 ฟุต
    สูง 7,000 เมตร ในภูฏาน
  • 3:11 - 3:18
    ที่ขั้วโลกที่สาม ธารน้ำแข็งกว่า 2,000 สาย
    กำลังละลาย รวดเร็วเสียยิ่งกว่าที่อาร์คติก
  • 3:18 - 3:21
    เราสามารถทำอะไรกับสถานการณ์นี้ได้บ้าง?
  • 3:22 - 3:29
    อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะมีความซับซ้อนทาง
    การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์
  • 3:29 - 3:32
    ไม่ว่าอย่างไร ปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้น
  • 3:32 - 3:39
    สุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับความเห็นแก่ตัว
    และความไม่เห็นแก่ตัว
  • 3:39 - 3:42
    อาตมาคือมาร์กซ์ที่มีนิสัยของเกราโช
  • 3:42 - 3:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:44 - 3:47
    เกราโช มาร์กซ์เคยพูดว่า
    "ฉันจะสนใจเกี่ยวกับคนรุ่นหลังไปทำไม?
  • 3:47 - 3:49
    พวกเขาเคยทำอะไรให้ฉันบ้าง?"
  • 3:49 - 3:51
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:51 - 3:55
    น่าเสียดาย อาตมาเคยได้ยินมหาเศรษฐี
    สตีเว่น ฟอร์บส์
  • 3:55 - 3:59
    บน ฟ็อกซ์ นิวส์ พูดสิ่งที่เหมือนกัน
    แต่เขาดูจริงจัง
  • 3:59 - 4:01
    มีคนบอกเขาถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
  • 4:01 - 4:05
    และเขาพูดว่า
    "ฉันพบว่ามันบ้าบอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของฉันวันนี้
  • 4:05 - 4:08
    เพื่อบางสิ่งที่จะเกิดขึ้น
    ในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า"
  • 4:08 - 4:11
    ถ้าคนไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะอยู่อย่างไร
  • 4:11 - 4:13
    ก็เอาเลย
  • 4:13 - 4:16
    หนึ่งในความท้าทายในยุคของเรา
  • 4:16 - 4:20
    ก็คือการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงปัจจัยหลัก
    ทั้งสามประการ ให้สมดุลกัน
  • 4:20 - 4:22
    ปัจจัยระยะสั้นด้านเศรษฐกิจ
  • 4:22 - 4:26
    การขึ้นลงของตลาดหุ้น งบดุลตอนปลายปี
  • 4:26 - 4:29
    ปัจจัยระยะกลางด้านคุณภาพชีวิต
  • 4:29 - 4:34
    คุณภาพชีวิตในแต่ละขณะของเรา
    จะเป็นอย่างไร ในอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า
  • 4:34 - 4:38
    และปัจจัยระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม
  • 4:38 - 4:40
    เมื่อนักสิ่งแวดล้อมพูดกับนักเศรษฐศาสตร์
  • 4:40 - 4:43
    มันเหมือนบทสนทนาของคนมีอาการทางจิต
    ไม่มีความต่อเนื่องเอาเสียเลย
  • 4:43 - 4:46
    พวกเขาไม่ได้พูดภาษาเดียวกัน
  • 4:46 - 4:49
    ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้
    อาตมาเดินทางไปรอบโลก
  • 4:49 - 4:53
    พบปะนักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์
    นักประสาทวิทยา นักสิ่งแวดล้อม
  • 4:53 - 4:58
    นักปรัชญา และนักคิด
    ที่เทือกภูเขาหิมาลัย ในทุกๆที่
  • 4:58 - 5:02
    อาตมาเห็นว่า มีเพียงแนวคิดเดียว
  • 5:02 - 5:05
    ที่จะสามารถทำให้ปัจจัยทั้งสามประการนั้น
    สมดุลกันได้
  • 5:05 - 5:09
    ทำได้ง่ายๆ ด้วยการใส่ใจกับผู้อื่นให้มากขึ้น
  • 5:09 - 5:14
    ถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
    คุณก็จะมีเศรษฐกิจที่ดีได้โดยที่เอาใจใส่ผู้อื่น
  • 5:14 - 5:17
    เป็นการบริหารการเงินเพื่อประโยชน์ทางสังคม
  • 5:17 - 5:20
    ไม่ใช่การบริหารสังคม
    เพื่อประโยชน์ทางการเงิน
  • 5:20 - 5:22
    คุณจะไม่เล่นการพนัน
  • 5:22 - 5:25
    ด้วยทรัพยากรที่ผู้คนฝากฝังไว้กับคุณ
  • 5:25 - 5:28
    ถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
  • 5:28 - 5:31
    คุณตรวจสอบตนเอง
    ว่าคุณได้ลดความไม่เท่าเทียมต่างๆ
  • 5:31 - 5:35
    และตรวจสอบตนเองว่า
    คุณได้นำพาความเป็นสุขมาสู่สังคม
  • 5:35 - 5:37
    ในสถานศึกษา ที่สถานที่ทำงานของคุณ
  • 5:37 - 5:41
    ไม่อย่างนั้นแล้ว คุณจะเป็นประเทศ
    ที่มีอำนาจที่สุด
  • 5:41 - 5:44
    รวยที่สุด แต่คนทุกคนไม่มีความสุข?
    ไปเพื่ออะไร
  • 5:44 - 5:46
    และถ้าคุณใส่ใจกับคนอื่นมากขึ้น
  • 5:46 - 5:49
    คุณก็จะไม่ปล้นดวงดาวที่เราอาศัยอยู่
  • 5:49 - 5:54
    และในอัตราปัจจุบัน เราไม่มีดาวอีกสามดวง
    ให้เรายังคงใช้ชีวิตแบบที่เป็นอยู่นี้
  • 5:54 - 5:56
    ทีนี้คำถามก็คือ
  • 5:56 - 6:00
    โอเค การเห็นแก่ผู้อื่นคือคำตอบ
    ที่ไม่ใช่แค่ความคิดในนิยาย
  • 6:00 - 6:04
    แต่มันสามารถเป็นจริง
    ในทางปฏิบัติได้หรือไม่?
  • 6:04 - 6:06
    และก่อนอื่นเลย มันมีจริงหรือเปล่า
  • 6:06 - 6:10
    การเห็นแก่ผู้อื่นมีอยู่จริง
    หรือว่าเราเห็นแก่ตัวเหลือเกิน?
  • 6:10 - 6:16
    นักปรัชญาหลายคนคิดว่า
    พวกเรานั้นเห็นแก่ตัวแบบแก้ไขไม่ได้
  • 6:16 - 6:21
    แต่เราเป็นแค่เหล่าร้ายจริงหรือ?
  • 6:21 - 6:24
    นั่นคือข่าวดีใช่หรือไม่?
  • 6:24 - 6:26
    นักปรัชญาหลายท่าน เช่น ฮ็อบส์
    คิดว่าอย่างนั้น
  • 6:26 - 6:29
    แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนดูเหมือนเหล่าร้าย
  • 6:29 - 6:32
    หรือว่ามนุษย์ก็คือหมาป่าที่ล่ามนุษย์ด้วยกัน?
  • 6:32 - 6:35
    ผู้ชายคนนี้ดูไม่เลวร้ายนัก
  • 6:35 - 6:38
    เขาเป็นเพื่อนคนหนึ่งของอาตมาที่ธิเบต
  • 6:38 - 6:40
    เขาใจดีมาก
  • 6:40 - 6:44
    เรารักการทำงานร่วมกัน
  • 6:44 - 6:48
    ไม่มีความสุขอะไร ดีไปกว่าการทำงานร่วมกัน
    จริงไหม?
  • 6:48 - 6:52
    ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์
  • 6:52 - 6:55
    แน่นอน ว่ามันมีการต่อสู้เพื่อชีวิต
  • 6:55 - 6:59
    การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด
    ตามทฤษฏีของดาร์วิน
  • 6:59 - 7:05
    แต่ในวิวัฒนาการ การร่วมมือกัน
    แน่นอนว่ามีการแข่งขันกันด้วย
  • 7:05 - 7:11
    แต่เราจำเป็นจะต้องมีการร่วมมือกันสร้างสรรค์
    มากกว่านี้เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า
  • 7:11 - 7:15
    พวกเราคือนักสร้างร่วมมือที่มีความพิเศษ
    และเราควรจะก้าวไปข้างหน้าได้มากกว่านี้
  • 7:15 - 7:21
    นอกเหนือจากนั้น คือเรื่อง
    คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
  • 7:21 - 7:26
    โออีซีดี ได้ทำแบบสำรวจ
    โดยใช้ปัจจัย 10 อย่าง รวมรายได้ ฯลฯ
  • 7:26 - 7:29
    สิ่งแรกที่ผู้คนกล่าวว่า
    เป็นปัจจัยหลักสำหรับความสุขของฉัน
  • 7:29 - 7:33
    ก็คือคุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคม
  • 7:33 - 7:35
    ไม่ใช่แค่มนุษย์
  • 7:35 - 7:39
    ดูคุณยายเหล่านั้นสิ่
  • 7:39 - 7:44
    ทีนี้ ความคิดที่ว่าถ้าเรามองลงไปลึกๆ
  • 7:44 - 7:47
    พวกเรานั้นเห็นแก่ตัวอย่างไม่มีทางแก้
  • 7:47 - 7:49
    คือวิทยาศาสตร์บนเก้าอี้นั่ง
  • 7:49 - 7:51
    ไม่มีการศึกษาทางสังคมวิทยา
  • 7:51 - 7:55
    หรือการศึกษาทางจิตวิทยา
    ที่บอกแบบนั้นเลย
  • 7:55 - 7:57
    แต่ในทางตรงกันข้าม
  • 7:57 - 8:00
    เพื่อนของอาตมา แดเนียล แบ็ตทัน
    ใช้ชีวิตทั้งชีวิต
  • 8:00 - 8:03
    เอาผู้คนจากห้องปฏิบัติการ
    มาอยู่ในสถาการณ์ที่ซับซ้อน
  • 8:03 - 8:07
    แน่นอนว่าบางทีบางคนก็เห็นแก่ตัว
    และบางคนมากกว่าคนอื่น
  • 8:07 - 8:10
    แต่เขาพบว่าตามระบบแล้ว ไม่ว่ายังไง
  • 8:10 - 8:13
    ก็มีผู้คนจำนวนหนึ่ง
  • 8:13 - 8:17
    ที่ประพฤติอย่างเห็นแก่ผู้อื่น ไม่ว่ายังไง
  • 8:17 - 8:20
    ถ้าคุณเห็นใครคนหนึ่ง บาดเจ็บหนัก
    ทรมานมาก
  • 8:20 - 8:22
    คุณอาจจะช่วยเขา จากความเห็นใจ
  • 8:22 - 8:26
    คุณทนมันไม่ไหว ฉะนั้นมันจึงดีกว่าที่จะช่วย
    แทนที่จะยืนดูเฉยๆ
  • 8:26 - 8:32
    เราทดสอบเรื่องนั้นและสุดท้ายแล้ว
    มันชัดเจนว่ามนุษย์เราสามารถเห็นแก่ผู้อื่นได้
  • 8:32 - 8:34
    นั่นคือข่าวดี
  • 8:34 - 8:40
    และยิ่งไปกว่านั้น เราควรจะมองไปที่
    ความดาษดื่นของความดี
  • 8:40 - 8:42
    ลองดูทีนี่ก็ได้
  • 8:42 - 8:44
    เมื่อเราออกไป เราคงไม่พูดว่า "ดีจัง
  • 8:44 - 8:49
    ที่ไม่มีการชกต่อยเกิดขึ้นในฝูงชน
    ตอนที่กำลังพูดถึงการไม่เห็นแก่ตัว"
  • 8:49 - 8:51
    เราคาดเดาอย่างนั้นหรือ ไม่ใช่หรอก?
  • 8:51 - 8:54
    ถ้ามันมีการชกต่อย
    เราคงพูดถึงมันไปเป็นเดือนๆ
  • 8:54 - 8:58
    ดังนั้นความดาษดื่นของความดีเป็นสิ่งที่ไม่ดึงดูดความสนใจของเรา
  • 8:58 - 8:59
    แต่มันมีอยู่
  • 8:59 - 9:05
    ทีนี้ดูนี่
  • 9:09 - 9:12
    นักจิตวิทยาบางท่านพูดว่า
  • 9:12 - 9:15
    เมื่อฉันบอกพวกเขาว่าฉันทำโครงการการกุศล 140 โครงการ
    ที่เทือกเขาหิมาลัย
  • 9:15 - 9:18
    มันทำให้ฉันมีความสุขมาก
  • 9:18 - 9:21
    พวกเขาพูดว่า
    "โอ้ คุณทำงานเพื่อความรู้สึกอบอุ่น
  • 9:21 - 9:24
    นั่นไม่ใช่การเห็นแก่ผู้อื่น มันแค่รู้สึกดี"
  • 9:24 - 9:27
    คุณคิดว่าชายคนนี้
    ตอนที่เขากระโดดตัดหน้ารถไฟ
  • 9:27 - 9:29
    เขาคิดหรือเปล่าว่า
    "ฉันจะต้องรู้สึกดีแน่เมื่อเรื่องนี้จบลง?"
  • 9:29 - 9:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:32 - 9:34
    แต่นั่นไม่ใช่ตอนจบของมัน
  • 9:34 - 9:36
    เมื่อคุณสัมภาษณ์เขา เขาพูดว่า
  • 9:36 - 9:40
    "ผมไม่ทางเลือก แน่นอนผมต้องโดด"
  • 9:40 - 9:43
    เขาไม่มีทางเลือก พฤติกรรมอัตโนมัติ
    มันไม่ใช่การเห็นแก่ตัวและก็ไม่ใช่การเห็นแก่ผู้อื่น
  • 9:43 - 9:45
    ไม่มีทางเลือก?
  • 9:45 - 9:48
    แน่นอนว่าชายคนนี้คงจะได้คิดไปอีกครึ่งชั่วโมง
  • 9:48 - 9:50
    "ผมควรจะช่วยหรือไม่ช่วยเขา?"
  • 9:50 - 9:54
    เขายื่นมือ เขามีทางเลือก
    แต่มันชัดเจน ในช่วงเวลากะทันหัน
  • 9:54 - 9:56
    ทีนี้ ตรงนี้ เขาก็มีทางเลือก
  • 9:56 - 9:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:59 - 10:02
    มีผู้คนที่มีทางเลือกเช่น
    บาทหลวงอันเดร ทรุชเมและภรรยาของเขา
  • 10:02 - 10:05
    และคนทั้งหมู่บ้านเลอ แชมบอน-เซอ-ลุกนอน
    ในประเทศฝรั่งเศษ
  • 10:05 - 10:09
    ตลอดช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่สอง
    พวกเขาช่วยชาวยิว 3,500 คน
  • 10:09 - 10:12
    ให้ที่พัก และพาพวกเขาไปสวิตเซอร์แลนด์
  • 10:12 - 10:15
    ท่ามกลางอันตรายต่างๆ
    ที่เสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขาและครอบครัว
  • 10:15 - 10:17
    ความเห็นแก่ผู้อื่นมีอยู่จริง
  • 10:17 - 10:19
    อะไรคือความเห็นแก่ผู้อื่น
  • 10:19 - 10:23
    มันคือความหวังที่ว่า ขอให้คนอื่นมีความสุข
    และพบต้นตอของความสุข
  • 10:23 - 10:28
    การเอาใจใส่คือ
    เสียงสะท้อนเกี่ยวกับความรู้สึก ที่บอกคุณว่า
  • 10:28 - 10:31
    คนคนนี้มีความสุข หรือ คนคนนี้มีความทุกข์
  • 10:31 - 10:34
    แต่การเอาใจใส่อย่างเดียวนั้นไม่พอ
  • 10:34 - 10:37
    ถ้าคุณต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์
    อย่างต่อเนื่อง
  • 10:37 - 10:39
    การเอาใจใส่ต่อความยากลำบาก
    ของคุณอาจหมดลง
  • 10:39 - 10:44
    คุณต้องการสิ่งแวดล้อมแห่งความรัก
    และเมตตาที่ยิ่งใหญ่กว่า
  • 10:44 - 10:46
    ด้วยทาเนีย ซิงเกอร์
    ที่สถาบัน แม็กซ์ แพล็งค์ แห่งไลซ์พิก
  • 10:46 - 10:52
    เราได้เห็นว่าระบบสมองสำหรับความเอาใจใส่
    และความเตตานั้นแตกต่างกัน
  • 10:52 - 10:54
    ทั้งหมดมันเยี่ยมมาก
  • 10:54 - 10:57
    เราได้มันมาจากวิวัฒนาการ การดูแลจากแม่
    ความรักจากผู้ที่เลี้ยงดูเรา
  • 10:59 - 11:02
    แต่เราต้องขยายมันออกไป
  • 11:02 - 11:05
    มันสามารถลามไปสู่แม้กระทั่งสายพันธ์อื่นได้
  • 11:05 - 11:09
    ถ้าเราอยากได้สังคมที่เห็นแก่ผู้อื่นมากกว่านี้ เราต้องการสองสิ่ง
  • 11:09 - 11:13
    การเปลี่ยนแปลงรายบุคคล
    และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
  • 11:13 - 11:15
    การเปลี่ยนแปลงรายบุคคลเป็นไปได้ไหม?
  • 11:15 - 11:18
    2,000 ปีของการศึกษาอย่างละเอียด
    บอกว่า เป็นไปได้
  • 11:18 - 11:22
    ทีนี้ 15 ปี ของความร่วมมือ ระหว่าง
    ประสาทวิทยา และพันธุศาสตร์
  • 11:22 - 11:26
    บอกว่าเป็นไปได้
    สมองของเราเปลี่ยนไปเมื่อคุณฝึกเห็นแก่ผู้อื่น
  • 11:26 - 11:31
    อาตมาใช้เวลา 120 ชั่วโมง
    ในเครื่องเอ็มอาร์ไอ
  • 11:31 - 11:33
    นี่คือภาพแรกที่อาตมาออกมา
    หลังจากเข้าไป 2 ชั่วโมงครึ่ง
  • 11:33 - 11:37
    และผลการทดลองได้ถูกตีพิมพ์
    ลงในหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์หลายฉบับ
  • 11:37 - 11:41
    มันแสดงอย่างชัดเจนว่า
    มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง
  • 11:41 - 11:45
    และการทำงานของสมอง
    เมื่อคุณฝึกรักอย่างเห็นแก่ผู้อื่น
  • 11:45 - 11:46
    เพื่อให้คุณได้เห็น
  • 11:46 - 11:49
    นี่คือผู้ฝึกขณะพักทางด้านซ้าย
  • 11:49 - 11:53
    ผู้ฝึกขณะกำลังปฏิบัติเมตตา
    คุณเห็นการทำงานทุกอย่าง
  • 11:53 - 11:55
    และกลุ่มครอบครัวขณะกำลังพัก
    ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  • 11:55 - 11:57
    ขณะปฏิบัติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  • 11:57 - 11:59
    พวกเขาไม่ได้รับการฝึก
  • 11:59 - 12:04
    คุณจำเป็นต้องปฏิบัติ 50,000 ชั่วโมงไหม? ไม่ต้อง
  • 12:04 - 12:08
    4 สัปดาห์ 20 นาทีต่อ 1 วัน
    ของการฝึกอย่างเอาใจใส่
  • 12:08 - 12:14
    ก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองแล้ว
    เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีการควบคุม
  • 12:14 - 12:18
    แค่ 20 นาทีต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • 12:18 - 12:21
    แม้แต่กับเด็กก่อนวัยเรียน
    ริชาร์ด เดวิดสัน ทำการทดลองที่ เมดิสัน
  • 12:21 - 12:28
    โครงการ 8 สัปดาห์: ความกตัญญู
    ความรักและเมตตา การร่วมมือกัน
    การหายใจอย่างมีสติ
  • 12:28 - 12:30
    คุณอาจพูดว่า
    "โอ้ พวกเขาเป็นแค่เด็กก่อนวัยเรียน"
  • 12:30 - 12:32
    ลองดูหลังจาก 8 สัปดาห์
  • 12:32 - 12:34
    ความประพฤติทางสังคม คือเส้นสีน้ำเงิน
  • 12:34 - 12:39
    ต่อมาคือ สุดยอดการทดลองวิทยาศาสตร์
    การทดลองสติกเกอร์
  • 12:39 - 12:43
    อันดับแรก เรากำหนดว่า
    ใครสนิทกับใครในห้องเรียน
  • 12:43 - 12:47
    หรือสนิทกับใครน้อยที่สุด
    เด็กที่ไม่มีใครรู้จักหรือเด็กที่ไม่สบาย
  • 12:47 - 12:50
    และพวกเขาทุกคนต้องแจกสติกเกอร์ให้เพื่อน
  • 12:50 - 12:54
    ก่อนที่จะมีการแทรกแทรง
    พวกเขาให้สติกเกอร์กับเพื่อนสนิท
  • 12:54 - 12:58
    เด็ก 5 ขวบ 4 คน
    ฝึก 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • 12:58 - 13:01
    หลังจากการแทรกทรง ไม่มีการแบ่งแยกอีกต่อไป
  • 13:01 - 13:05
    ทุกคนได้รับสติกเกอร์เท่ากัน
    แม้ว่าเขาจะเป็นเด็กที่มีคนชอบน้อย
  • 13:05 - 13:08
    นั่นคือสิ่งที่เราควรทำ
    ในทุกโรงเรียนทั่วโลก
  • 13:08 - 13:10
    ต่อจากนี้เราไปไหน?
  • 13:10 - 13:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:15 - 13:17
    เมื่อ ดาไล ลามะ ได้ยินเรื่องนี้
    เขาบอก ริชาร์ด เดวิดสัน
  • 13:17 - 13:21
    "คุณไปบอกคนที่โรงเรียนนะ
    10 โรงเรียน 100 โรงเรียน บอก UN บอกโลก"
  • 13:21 - 13:22
    หลังจากนั้นเราควรจะทำอะไรต่อไป?
  • 13:22 - 13:25
    การเปลี่ยนแปลงรายบุคคลนั้นเป็นไปได้
  • 13:25 - 13:29
    เราจำเป็นต้องรอให้
    มียีนส์ทีทำให้เราไม่เห็นแก่ตัวไหม?
  • 13:29 - 13:33
    นั่นจะใช้เวลาอีก 50,000 ปี
    นานเกินกว่าที่สิ่งแวดล้อมจะรอได้
  • 13:33 - 13:38
    โชคดี ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
  • 13:38 - 13:43
    วัฒนธรรม อย่างที่ผู้เชี่ยวชาญได้บ่งบอก เปลี่ยนเร็วกว่ายีนส์
  • 13:43 - 13:45
    นั่นคือข่าวดี
  • 13:45 - 13:48
    ท่าทีต่อสงครามเปลี่ยนแปลงไปมาก
    เมื่อเวลาผ่านไป
  • 13:48 - 13:53
    ตอนนี้บุคคลเปลี่ยนแปลงไป
    ตามวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
  • 13:53 - 13:56
    และสุดท้ายเราจะสามารถ
    สร้างสังคมที่มีความเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่านี้ได้
  • 13:56 - 13:58
    แล้วยังไงต่อ?
  • 13:58 - 14:00
    ตัวอาตมาจะกลับไปทางทิศตะวันออก
  • 14:00 - 14:04
    เรารักษาคนไข้ 100,000 ต่อปี
    ในโครงการของเรา
  • 14:04 - 14:07
    เรามีเด็ก 25,000 คนในโรงเรียน
    4% โดยเฉลี่ย
  • 14:07 - 14:10
    บางคนบอกว่าสิ่งของคุณใช้ได้ในเชิงปฏิบัติ
  • 14:10 - 14:12
    แต่มันใช้ได้ในเชิงทฤษฎีรึปล่าว?
  • 14:12 - 14:15
    มันมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ดีตลอดเวลา
  • 14:15 - 14:18
    ฉะนั้นอาตมาจะกลับไปยังอาศรม
  • 14:18 - 14:21
    เพื่อหาทรัพยากรภายใน เพื่อบริการผู้อื่น
  • 14:21 - 14:24
    แต่ในระดับโลก เราทำอะไรได้บ้าง?
  • 14:24 - 14:26
    เราต้องการสามสิ่ง
  • 14:26 - 14:28
    การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
  • 14:28 - 14:32
    การเรียนโดยร่วมมือกันเรียน
    แทนที่จะแข่งกันเรียน
  • 14:32 - 14:36
    การร่วมมือกันอย่างไม่มีข้อแม้
    ระหว่างบริษัทต่างๆ
  • 14:36 - 14:40
    จะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ที่ร่วมมือกันก็ได้
    แต่ห้ามมีภายใน
  • 14:40 - 14:44
    เราต้องการความสามัคคีอย่างยั่งยืน
    อาตมาชอบคำนี้
  • 14:44 - 14:46
    ไม่ใช่การเติบโตอย่างยั่งยืน
  • 14:46 - 14:50
    ความสามัคคีอย่างยั่งยืนหมายถึงตอนนี้
    เราลดความไม่เท่าเทียม
  • 14:50 - 14:54
    ต่อไปข้างหน้าเราจะทำน้อย ได้มาก
  • 14:54 - 14:58
    เราเติบโตต่อไปอย่างมีคุณภาพ
    ไม่ใช่เติบโตแต่ในเชิงปริมาณ
  • 14:58 - 15:01
    เราต้องการเศรษฐกิจที่มีการเอาใจใส่
  • 15:01 - 15:06
    เศรษฐกิจเบี่ยงเบน ไม่สามารถ
    แก้ปัญหาความอดอยาก ทั้งที่เรามีเกินพอได้
  • 15:06 - 15:09
    ไม่สามารถแก้ปัญหาสินค้าทั่วไป
  • 15:09 - 15:11
    ของอากาศและมหาสมุทร
  • 15:11 - 15:13
    เราต้องการเศรษฐกิจที่มีการเอาใจใส่
  • 15:13 - 15:15
    ถ้าคุณพูดว่าเศรษฐกิจ
    ควรเป็นความเห็นอกเห็นใจ
  • 15:15 - 15:16
    พวกเขาพูดว่า "นั่นไม่ใช่งานของเรา"
  • 15:16 - 15:20
    แต่ถ้าคุณพูดว่าพวกเขาไม่สนใจ นั่นดูไม่ดี
  • 15:20 - 15:23
    เราต้องการการผูกมัดในชุมชน
    ความรับผิดชอบระดับโลก
  • 15:23 - 15:28
    เราต้องแพร่การเห็นแก่คนอื่น
    ไปสู่สายพันธ์ุทั้ง 1.6 ล้านสายพันธ์ุ
  • 15:28 - 15:32
    สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก
    ที่อาศัยอยู่ร่วมกับเราบนโลกใบนี้
  • 15:32 - 15:35
    เราต้องกล้าเห็นแก่ผู้อื่น
  • 15:35 - 15:39
    ขอให้การปฏิวัติเพื่อการเห็นแก่ผู้อื่น
    จงคงอยู่ตลอดไป
  • 15:39 - 15:43
    วีวา ลา รีโวลูเชียน เดอ อัลทรูอิสโม
  • 15:43 - 15:49
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:49 - 15:50
    ขอบคุณครับ
  • 15:50 - 15:52
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิธีทำให้ความเห็นแก่ผู้อื่นชี้นำคุณ
Speaker:
แมทติว ริชาร์ด (Matthieu Ricard)
Description:

อะไรคือความเห็นแก่ผู้อืน? ง่ายๆ มันคือความหวังที่จะให้คนอื่นมีความสุข และ ความเห็นแก่ผู้อื่นนั้นยังเป็นแว่นที่ดีสำหรับการตัดสินใจ ทั้งในระยะยาวและสั้น ในการทำงานและการใช้ชีวิต กล่าวโดย แมทติว ราชาร์ด นักวิจัยด้านความสุขและพระในพระพุทธศาสนา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:07
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Retired user commented on Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Yada Sattarujawong accepted Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Yada Sattarujawong edited Thai subtitles for How to let altruism be your guide
Show all
  • แนะนำว่า ใช้ชื่อว่า "ริการด์" เนื่องจากเป็นคนฝรั่งเศส

    ดูเหมือนจะเป็นวิดิโอทียังไม่มี subtitle เสียที ดูเหมือนใช้เวลานานมาก ต้องการความช่วยเหลือ ?

Thai subtitles

Revisions