Return to Video

จะเป็นเพื่อนกับความเครียดได้ยังไง

  • 0:00 - 0:05
    ฉันมีอะไรจะสารภาพค่ะ
  • 0:05 - 0:08
    แต่ก่อนอื่น ฉันอยากให้คุณ
  • 0:08 - 0:11
    สารภาพอะไรเล็กๆ น้อยๆ กับฉันด้วย
  • 0:11 - 0:15
    ในช่วงปีที่ผ่านมา ฉันอยากให้คุณยกมือขึ้น
  • 0:15 - 0:18
    ถ้าคุณได้เจอกับความเครียดเล็กๆ น้อยๆ
  • 0:18 - 0:21
    มีใครบ้างคะ
  • 0:21 - 0:23
    แล้วเครียดพอประมาณล่ะคะ
  • 0:23 - 0:26
    แล้วใครเคยเครียดมากๆ บ้าง
  • 0:26 - 0:29
    ใช่ค่ะ ฉันก็ด้วย
  • 0:29 - 0:31
    แต่นั่นไม่ใช่คำสารภาพของฉันนะคะ
  • 0:31 - 0:35
    คำสารภาพของฉันคือนี่ค่ะ ฉันเป็นนักจิตวิทยาเพื่อสุขภาพ
  • 0:35 - 0:39
    และภารกิจของฉันก็คือการช่วยให้คนมีความสุขมากขึ้น
    และสุขภาพดีขึ้น
  • 0:39 - 0:43
    แต่ฉันกลัวว่า อะไรบางอย่างที่ฉันสอนมา
  • 0:43 - 0:47
    ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น
    จะเป็นโทษมากกว่าเป็นประโยชน์
  • 0:47 - 0:50
    และนั่นหมายถึงเรื่องความเครียดค่ะ
  • 0:50 - 0:53
    หลายปีที่ผ่านมา ฉันเฝ้าบอกผู้คนว่าความเครียดทำให้คนป่วย
  • 0:53 - 0:56
    มันเพิ่มความเสี่ยงในทุกๆ ด้าน จากไข้หวัดธรรมดา
  • 0:56 - 0:58
    ไปจนถึงโรคหัวใจ
  • 0:58 - 1:02
    โดยพื้นฐาน ฉันทำให้ความเครียดเป็นศัตรู
  • 1:02 - 1:05
    แต่ฉันได้เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความเครียดแล้ว
  • 1:05 - 1:09
    และวันนี้ ฉันอยากจะเปลี่ยนความคิดของคุณด้วย
  • 1:09 - 1:11
    ฉันขอเริ่มที่งานวิจัยที่ทำให้ฉันต้องคิดใหม่
  • 1:11 - 1:14
    เกี่ยวกับวิธีการมองความเครียดของฉันนะคะ
  • 1:14 - 1:17
    งานศึกษาชิ้นนี้ติดตามผู้ใหญ่จำนวน 30,000 คน ในสหรัฐฯ
  • 1:17 - 1:21
    เป็นเวลา 8 ปี และพวกเขาเริ่มโดยถามผู้คนว่า
  • 1:21 - 1:25
    "คุณมีความเครียดมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา"
  • 1:25 - 1:28
    พวกเขาถามด้วยว่า "คุณเชื่อรึเปล่าว่า
  • 1:28 - 1:32
    ความเครียดเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ"
  • 1:32 - 1:34
    แล้วพวกเขาก็ดูที่สถิติการตายของรัฐ
  • 1:34 - 1:36
    เพื่อดูว่าใครบ้างที่ตายแล้ว
  • 1:36 - 1:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:37 - 1:41
    เอาล่ะ ข่าวร้ายก่อนนะคะ
  • 1:41 - 1:45
    คนที่มีความเครียดมากๆ ในช่วงปีก่อนหน้า
  • 1:45 - 1:48
    มีความเสี่ยง 43 เปอร์เซ็นต์ที่จะเสียชีวิต
  • 1:48 - 1:52
    แต่นั่นเป็นจริงเฉพาะคนที่
  • 1:52 - 1:57
    เชื่อว่าความเครียดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ
  • 1:57 - 1:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:59 - 2:01
    คนที่เจอกับความเครียดมากๆ
  • 2:01 - 2:03
    แต่ไม่ได้มองว่าความเครียดอันตราย
  • 2:03 - 2:05
    มีความเป็นไปได้น้อยกว่าที่จะตาย
  • 2:05 - 2:08
    ที่จริงแล้ว พวกเขามีความเสี่ยงในการตายน้อยที่สุด
  • 2:08 - 2:10
    เปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ในงานวิจัย ซึ่งรวมถึงคนที่
  • 2:10 - 2:13
    มีความเครียดน้อยด้วย
  • 2:13 - 2:15
    ตอนนี้ นักวิจัยประมาณการว่า ในช่วงแปดปี
  • 2:15 - 2:17
    ที่พวกเขาทำการติดตามตัวเลขการเสียชีวิต
  • 2:17 - 2:20
    คนอเมริกัน 182,000 คน ตายก่อนวัยอันควร
  • 2:20 - 2:23
    ไม่ได้เพราะความเครียด แต่เพราะความเชื่อที่ว่า
  • 2:23 - 2:26
    ความเครียดนั้นไม่ดีกับตัวคุณ (เสียงหัวเราะ)
  • 2:26 - 2:30
    นั่นคือ คนตายมากกว่า 20,000 คนต่อปี
  • 2:30 - 2:33
    ค่ะ ถ้าการคาดการณ์นั้นถูกต้อง
  • 2:33 - 2:35
    มันจะทำให้ความเชื่อที่ว่าความเครียดไม่ดีกับตัวคุณ
  • 2:35 - 2:37
    เป็นสาเหตุหลักอันดับที่ 15 ของการตาย
  • 2:37 - 2:39
    ในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว
  • 2:39 - 2:41
    มันฆ่าคนไปมากกว่ามะเร็งผิวหนัง
  • 2:41 - 2:44
    เอดส์ และการฆาตกรรมเสียอีก
  • 2:44 - 2:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:47 - 2:50
    คุณจะเห็นได้ว่าทำไมงานวิจัยชิ้นนี้ถึงทำให้ฉันเปลี่ยนไป
  • 2:50 - 2:54
    ฉันใช้พลังงานมากมายในการบอกผู้คนว่า
  • 2:54 - 2:57
    ความเครียดนั้นแย่สำหรับสุขภาพของคุณ
  • 2:57 - 2:59
    ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ฉันเกิดข้อสงสัย
  • 2:59 - 3:01
    การเปลี่ยนความคิดที่คุณมีต่อความเครียดจะทำให้คุณ
  • 3:01 - 3:05
    มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้หรือไม่ และวิทยาศาสตร์ก็ได้บอกว่า ใช่
  • 3:05 - 3:07
    เมื่อคุณเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับความเครียด
  • 3:07 - 3:10
    คุณจะสามารถเปลี่ยนการตอบสนอง
    ของร่างกายของคุณที่มีความเครียดได้
  • 3:10 - 3:12
    ตอนนี้ เพื่อจะอธิบายว่ามันทำงานยังไง
  • 3:12 - 3:15
    ฉันอยากให้คุณทุกคนแสร้งทำเป็นว่า คุณเป็นผู้เข้าร่วม
  • 3:15 - 3:18
    ในงานวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อทำให้คุณเครียดแทบบ้า
  • 3:18 - 3:21
    มันชื่อว่า แบบทดสอบความเครียดทางสังคม
  • 3:21 - 3:23
    คุณมาที่ห้องทดลอง
  • 3:23 - 3:26
    และคุณถูกบอกว่าคุณต้อง
  • 3:26 - 3:29
    พูดเกี่ยวกับจุดด้อยของคุณ นาน 5 นาที
    โดยที่คุณไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
  • 3:29 - 3:33
    ต่อหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมิน
    ที่จะนั่งเรียงกันอยู่ตรงหน้าคุณ
  • 3:33 - 3:35
    และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณรู้สึกได้ถึงความกดดัน
  • 3:35 - 3:38
    จะมีแสงไฟสว่างๆ และกล้องฉายมาที่หน้าคุณ
  • 3:38 - 3:41
    ประมาณนี้
  • 3:41 - 3:43
    และผู้ประเมินได้รับการฝึกฝนมา
  • 3:43 - 3:48
    เพื่อทำให้คุณท้อแท้แบบไม่ใช้คำพูดใดๆ ประมาณนี้
  • 3:53 - 3:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:57 - 3:59
    ตอนนี้ คุณเสียขวัญไปพอควรแล้ว
  • 3:59 - 4:02
    ได้เวลาสำหรับส่วนที่สอง แบบทดสอบทางคณิตศาสตร์
  • 4:02 - 4:04
    และโดยที่คุณไม่รู้
  • 4:04 - 4:08
    ผู้ทดสอบได้รับการฝึกมาให้ก่อกวนคุณระหว่างการทดสอบ
  • 4:08 - 4:11
    ตอนนี้ เราจะมาทำมันไปพร้อมๆกันค่ะ
  • 4:11 - 4:12
    มันจะต้องสนุกล่ะ
  • 4:12 - 4:13
    สำหรับฉันน่ะนะ
  • 4:13 - 4:18
    เอาล่ะค่ะ ฉันอยากให้คุณทุกคนนับถอยหลัง
  • 4:18 - 4:21
    จาก 996 ไปทีละ 7
  • 4:21 - 4:23
    คุณจะต้องพูดมันออกมานะคะ
  • 4:23 - 4:27
    เร็วที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เริ่มจาก 996 ค่ะ
  • 4:27 - 4:28
    เริ่มเลยค่ะ!
  • 4:28 - 4:29
    ผู้ชม: (เสียงนับ)
  • 4:29 - 4:32
    เร็วอีกค่ะ เร็วอีกหน่อย
  • 4:32 - 4:34
    คุณช้าไปแล้วค่ะ
  • 4:34 - 4:36
    หยุดๆๆๆ
  • 4:36 - 4:38
    คุณคนนั้นนับผิดค่ะ
  • 4:38 - 4:40
    เราต้องเริ่มกันใหม่ทั้งหมดอีกครั้งค่ะ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:40 - 4:43
    คุณทำได้ไม่ค่อยดี ใช่มั้ยคะ
  • 4:43 - 4:45
    เอาล่ะ คุณคงพอนึกภาพออกแล้ว
  • 4:45 - 4:46
    ถ้าคุณไปอยู่ในการศึกษาวิจัยนี้จริงๆ
  • 4:46 - 4:48
    คุณอาจจะเครียดมากไปแล้ว
  • 4:48 - 4:50
    หัวใจของคุณอาจจะเต้นแรง
  • 4:50 - 4:53
    คุณอาจจะหายใจเร็วขึ้น อาจจะเหงือแตก
  • 4:53 - 4:56
    และโดยทั่วไป เราแปลความหมาย
    ของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเหล่านี้
  • 4:56 - 4:58
    ว่า ความวิตกกังวล
  • 4:58 - 5:01
    หรือสัญญาณที่ว่า เราจัดการกับความเครียดได้ไม่ดีนัก
  • 5:01 - 5:03
    แต่ถ้าหากคุณมองพวกมัน
  • 5:03 - 5:05
    เป็นสัญญาณที่ว่าร่างกายของคุณมีชีวิตชีวาขึ้นล่ะ
  • 5:05 - 5:09
    เป็นการเตรียมตัวที่จะได้เจอกับความท้าทายนี้ล่ะ
  • 5:09 - 5:12
    นั่นคือสิ่งที่ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกบอก
  • 5:12 - 5:14
    ในงานวิจัยที่ทำโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • 5:14 - 5:17
    ก่อนที่พวกเขาจะเข้าทำการทดสอบความเครียดทางสังคม
  • 5:17 - 5:20
    พวกเขาถูกสอนให้คิดเกี่ยวกับ
    ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดเสียใหม่ว่ามีประโยชน์
  • 5:20 - 5:24
    ว่าหัวใจที่เต้นแรงช่วยให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับการกระทำ
  • 5:24 - 5:27
    ถ้าคุณหายใจเร็วขึ้น นั่นไม่ใช่ปัญหา
  • 5:27 - 5:30
    มันทำให้ออกซิเจนไปที่สมองคุณมากขึ้น
  • 5:30 - 5:33
    และผู้เข้าร่วมซึ่งเรียนรู้ว่าปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดนั้น
  • 5:33 - 5:35
    เป็นประโยชน์ต่อความสามารถของพวกเขา
  • 5:35 - 5:36
    ค่ะ พวกเขาเครียดน้อยลง
  • 5:36 - 5:38
    กังวลน้อยลง มั่นใจมากขึ้น
  • 5:38 - 5:40
    แต่ข้อค้นพบที่น่าทึ่งที่สุดสำหรับฉัน
  • 5:40 - 5:44
    คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับปฏิกิริยาทางร่างกาย
    ของพวกเขาที่ตอบสนองต่อความเครียด
  • 5:44 - 5:46
    ในการตอบสนองความเครียดทั่วไป
  • 5:46 - 5:48
    อัตราการเต้นหัวใจของคุณสูงขึ้น
  • 5:48 - 5:52
    และเส้นเลือดของคุณจะหดตัวลงแบบนี้
  • 5:52 - 5:55
    และนี่คือหนึ่งในเหตุผลทั้งหลายที่ว่าความเครียดเรื้อรัง
  • 5:55 - 5:58
    บางครั้งมีผลเกี่ยวพันกับโรคหัวใจ
  • 5:58 - 6:01
    มันไม่ดีต่อสุขภาพเลย
    ที่จะต้องอยู่ภายในสภาวะแบบนี้ตลอดเวลา
  • 6:01 - 6:03
    แต่ในงานวิจัยนี้ เมื่อผู้เข้าร่วมมองว่า
  • 6:03 - 6:06
    ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดนั้นมีประโยชน์
  • 6:06 - 6:09
    เส้นเลือดของพวกเขาผ่อนคลายแบบนี้
  • 6:09 - 6:10
    หัวใจของพวกเขาก็ยังเต้นแรง
  • 6:10 - 6:14
    แต่มันเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ดูมีสุขภาพดีกว่า
  • 6:14 - 6:16
    ที่จริง สภาพมันดูเหมือนกับตอนที่
  • 6:16 - 6:21
    คนเราอยู่ในช่วงเวลาแห่งความสุขและกล้าหาญ
  • 6:21 - 6:24
    ตลอดช่วงชีวิตที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ความเครียดต่างๆ
  • 6:24 - 6:27
    การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพนี้
  • 6:27 - 6:28
    สามารถทำให้เกิดความแตกต่าง
  • 6:28 - 6:31
    ระหว่างหัวใจวายจากความเครียดตอนอายุ 50
  • 6:31 - 6:34
    กับการอยู่ดีมีสุขไปจนถึงอายุ 90
  • 6:34 - 6:37
    และนี่ก็คือสิ่งที่วิทยาศาสตร์ด้านความเครียดแนวใหม่
    เปิดเผยออกมา
  • 6:37 - 6:41
    ว่า วิธีที่คุณคิดเกี่ยวกับความเครียดนั้นสำคัญ
  • 6:41 - 6:44
    ดังนั้น เป้าหมายของฉันในฐานะนักจิตวิทยาสุขภาพได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 6:44 - 6:46
    ฉันไม่ต้องการกำจัดความเครียดของคุณอีกต่อไปแล้ว
  • 6:46 - 6:49
    ฉันอยากทำให้คุณดีขึ้นตอนที่เครียด
  • 6:49 - 6:52
    และเราก็เพียงแค่ทำการแทรกแซงเล็กๆ
  • 6:52 - 6:53
    ถ้าคุณยกมือของคุณและพูดว่า
  • 6:53 - 6:56
    คุณเครียดมากๆ เมื่อปีที่แล้ว
  • 6:56 - 6:57
    เราอาจจะช่วยรักษาชีวิตคุณเอาไว้ก็ได้
  • 6:57 - 6:59
    เพราะหวังว่าในครั้งต่อไป
  • 6:59 - 7:01
    เวลาที่หัวใจคุณเต้นแรงเพราะความเครียด
  • 7:01 - 7:03
    คุณจะจดจำทอล์กนี้
  • 7:03 - 7:05
    และคุณจะบอกกับตัวคุณเองว่า
  • 7:05 - 7:10
    นี่คือการที่ร่างกายของฉันกำลังช่วยฉัน
    ให้ลุกขึ้นสู้ต่อความท้าทายนี้
  • 7:10 - 7:13
    และเมื่อคุณมองความเครียดในทางนั้น
  • 7:13 - 7:15
    ร่างกายของคุณจะเชื่อคุณ
  • 7:15 - 7:18
    และความเครียดของคุณจะดีต่อสุขภาพมากขึ้น
  • 7:18 - 7:22
    ฉันพูดไปว่า ฉันใช้เวลามากกว่าสิบปี
    ในการมองความเครียดเป็นมารร้าย
  • 7:22 - 7:24
    ที่ฉันจะต้องปลดปล่อยตัวเองออกจากมัน
  • 7:24 - 7:27
    ดังนั้น เรากำลังจะทำการแทรกแซงอีกครั้งค่ะ
  • 7:27 - 7:29
    ฉันอยากจะบอกคุณเกี่ยวกับ
  • 7:29 - 7:32
    หนึ่งในด้านที่ถูกมากข้ามมากที่สุด
    ในปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด
  • 7:32 - 7:34
    และความคิดนี้ก็คือ:
  • 7:34 - 7:37
    ความเครียดทำให้คุณเข้าสังคม
  • 7:37 - 7:39
    ในการที่จะเข้าใจความเครียดในด้านนี้
  • 7:39 - 7:42
    เราต้องพูดเกี่ยวกับฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน
  • 7:42 - 7:45
    และฉันรู้ค่ะว่า ออกซิโทซิน ได้รับการ
  • 7:45 - 7:47
    พูดถึงอย่างมากเท่ากับที่ฮอร์โมนได้รับ
  • 7:47 - 7:50
    มันได้แม้กระทั่งชื่อเล่นน่ารักๆ ว่า ฮอร์โมนคลอเคลีย
  • 7:50 - 7:53
    เพราะมันจะถูกหลั่งออกมาเมื่อคุณกอดใครสักคน
  • 7:53 - 7:57
    แต่นี่เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งที่ออกซิโทซินเกี่ยวข้อง
  • 7:57 - 8:00
    ออกซิโทซินเป็นฮอร์โมนประสาท
  • 8:00 - 8:03
    มันปรับสัญชาตญาณการเข้าสังคมของสมองของคุณ
  • 8:03 - 8:06
    มันตระเตรียมคุณให้ทำอะไรๆ
  • 8:06 - 8:09
    ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด
  • 8:09 - 8:12
    ออกซิโทซินทำให้คุณต้องการการสัมผัสทางกาย
  • 8:12 - 8:14
    กับเพื่อนและครอบครัวของคุณ
  • 8:14 - 8:16
    มันเพิ่มการเห็นอกเห็นใจของคุณ
  • 8:16 - 8:19
    มันทำให้คุณอยากที่จะช่วยเหลือและสนับสนุน
  • 8:19 - 8:22
    คนที่คุณเป็นห่วงเป็นใย
  • 8:22 - 8:23
    บางคนแนะนำแม้กระทั่งว่า
  • 8:23 - 8:27
    เราควรจะพ่นออกซิโทซินออกทางจมูก
  • 8:27 - 8:31
    เพื่อที่จะได้มีความเห็นอกเห็นใจและห่วงใยมากขึ้น
  • 8:31 - 8:34
    แต่นี่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
  • 8:34 - 8:36
    เกี่ยวกับออกซิโทซิน
  • 8:36 - 8:39
    มันคือ ฮอร์โมนความเครียด
  • 8:39 - 8:42
    ต่อมใต้สมองของคุณผลิตเจ้าสารนี้ออกมา
  • 8:42 - 8:44
    เป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อความเครียด
  • 8:44 - 8:46
    มันเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อความเครียด มากพอๆ กับ
  • 8:46 - 8:50
    อะดรีนาลีนที่ทำให้หัวใจคุณเต้นแรง
  • 8:50 - 8:53
    และเมื่อออกซิโทซินถูกปล่อยออกมา
    เพื่อตอบสนองความเครียด
  • 8:53 - 8:56
    มันจะกระตุ้นให้คุณมองหากำลังใจ
  • 8:56 - 8:58
    ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดทางชีวภาพ
  • 8:58 - 9:02
    ได้กระตุ้นให้คุณบอกใครสักคนว่าคุณรู้สึกยังไง
  • 9:02 - 9:04
    มากกว่าที่จะเก็บกดมันเอาไว้
  • 9:04 - 9:07
    ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดของคุณ
    ต้องการที่จะแน่ใจว่า คุณสังเกตเห็น
  • 9:07 - 9:10
    ว่าใครสักคนในชีวิตคุณกำลังลำบาก
  • 9:10 - 9:12
    เพื่อที่ว่าคุณจะได้เป็นกำลังใจให้กันและกัน
  • 9:12 - 9:16
    เมื่อชีวิตตกที่นั่งลำบาก
    ปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณต้องการให้คุณ
  • 9:16 - 9:21
    ถูกห้อมล้อมไปด้วยคนที่ห่วงใยคุณ
  • 9:21 - 9:24
    เอาล่ะ แล้วการได้รู้จักด้านนี้ของความเครียด
  • 9:24 - 9:26
    จะทำให้คุณสุขภาพดีขึ้นได้ยังไงล่ะ
  • 9:26 - 9:28
    ก็ออกซิโทซินมันไม่ได้แค่มีผลต่อสมองเท่านั้นค่ะ
  • 9:28 - 9:31
    มันยังมีผลต่อร่างกายของคุณด้วย
  • 9:31 - 9:33
    และหนึ่งในบทบาทหลักของมันที่มีต่อร่างกายคุณ
  • 9:33 - 9:36
    ก็คือ เพื่อป้องกันระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ
  • 9:36 - 9:38
    จากผลลัพธ์ทางความเครียดต่างๆ
  • 9:38 - 9:41
    มันเป็นยาแก้อักเสบแบบธรรมชาติ
  • 9:41 - 9:44
    มันยังช่วยให้หลอดเลือดคุณผ่อนคลายระหว่างเครียดอีกด้วย
  • 9:44 - 9:47
    แต่ผลที่มีต่อร่างกายที่ฉันชอบมาก คือผลที่มีต่อหัวใจค่ะ
  • 9:47 - 9:51
    หัวใจของคุณมีหน่วยรับเจ้าฮอร์โมนนี้
  • 9:51 - 9:55
    และออกซิโทซินช่วยผลิตใหม่และรักษาเซลล์หัวใจ
  • 9:55 - 9:59
    ที่เสียหายจากความเครียด
  • 9:59 - 10:03
    ฮอร์โมนความเครียดตัวนี้ทำให้หัวใจของคุณแข็งแรงขึ้น
  • 10:03 - 10:07
    และสิ่งที่เจ๋งก็คือว่า ประโยชน์ที่มีต่อร่างกาย
  • 10:07 - 10:10
    ของออกซิโทซินทั้งหมดนี้ เพิ่มขึ้นได้ด้วยการพบปะทางสังคม
  • 10:10 - 10:12
    และการเกื้อหนุนทางสังคม
  • 10:12 - 10:15
    ดังนั้น เมื่อคุณเอื้อมไปหาคนอื่นตอนที่เครียด
  • 10:15 - 10:18
    ไม่ว่าจะเพื่อหากำลังใจหรือเพื่อช่วยคนอื่น
  • 10:18 - 10:20
    คุณได้หลั่งฮอร์โมนนี้มากขึ้น
  • 10:20 - 10:22
    ปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณดีต่อสุขภาพมากขึ้น
  • 10:22 - 10:25
    และคุณจะฟื้นจากความเครียดได้เร็วขึ้น
  • 10:25 - 10:28
    ฉันพบว่าสิ่งนี้น่ามหัศจรรย์ค่ะ
  • 10:28 - 10:32
    ปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณมีกลไกภายใน
  • 10:32 - 10:34
    สำหรับการฟื้นฟูจากความเครียด
  • 10:34 - 10:39
    และเจ้ากลไกนั้นคือ ความสัมพันธ์ของมนุษย์
  • 10:39 - 10:42
    ฉันอยากจะลงท้ายด้วยการบอกคุณถึงงานวิจัยอีกชิ้นค่ะ
  • 10:42 - 10:46
    และตั้งใจฟังดีๆ นะคะ เพราะงานวิจัยชิ้นนี้สามารถช่วยชีวิตได้ด้วย
  • 10:46 - 10:50
    งานศึกษานี้ติดตามผู้ใหญ่ 1,000 คนในสหรัฐฯ
  • 10:50 - 10:54
    พวกเขาอยู่ในช่วงอายุ 34-93
  • 10:54 - 10:56
    และงานวิจัยเริ่มขึ้นด้วยการถามว่า
  • 10:56 - 11:01
    "คุณเจอความเครียดมากแค่ไหนในปีที่ผ่านมา"
  • 11:01 - 11:04
    พวกเขาถามด้วยว่า "คุณใช้เวลามากแค่ไหน
  • 11:04 - 11:07
    ในการช่วยเหลือเพื่อน เพื่อนบ้าน
  • 11:07 - 11:10
    และคนอื่นๆในชุมชนของคุณ"
  • 11:10 - 11:13
    แล้วพวกเขาก็ดูที่สถิติของรัฐในห้าปีถัดมา
  • 11:13 - 11:16
    ว่าใครตายไปบ้าง
  • 11:16 - 11:18
    เอาล่ะ ข่าวร้ายก่อนนะคะ
  • 11:18 - 11:21
    สำหรับความเครียดหนักมากๆในชีวิต
  • 11:21 - 11:24
    เช่น ความลำบากทางการเงิน หรือวิกฤตครอบครัว
  • 11:24 - 11:28
    นั่นเพิ่มความเสี่ยงในการตายไป 30%
  • 11:28 - 11:32
    แต่ -- จนถึงตอนนี้
    ฉันหวังว่าพวกคุณกำลังหวังว่าจะมีคำว่าแต่นะคะ --
  • 11:32 - 11:35
    แต่นั่นไม่จริงสำหรับทุกคน
  • 11:35 - 11:39
    คนที่ใช้เวลาไปกับการดูแลคนอื่น
  • 11:39 - 11:45
    ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการตาย
    ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเลย เป็นศูนย์ค่ะ
  • 11:45 - 11:48
    การดูแลห่วงใยได้สร้างการฟื้นฟูขึ้น
  • 11:48 - 11:50
    และเราก็ได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง
  • 11:50 - 11:52
    ว่าผลลัพธ์ที่อันตรายของความเครียดที่มีต่อสุขภาพของคุณ
  • 11:52 - 11:54
    เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงได้
  • 11:54 - 11:57
    วิธีที่คุณคิดและทำ
  • 11:57 - 12:01
    สามารถเปลี่ยนประสบการณ์ทางความเครียดของคุณได้
  • 12:01 - 12:03
    เมื่อคุณเลือกที่จะมองว่าปฏิกิริยาสนองความเครียดของคุณ
  • 12:03 - 12:06
    มีประโยชน์
  • 12:06 - 12:11
    คุณได้สร้างชีววิทยาของความกล้าหาญขึ้น
  • 12:11 - 12:14
    และเมื่อคุณเลือกที่จะสัมพันธ์กับผู้อื่นระหว่างที่เครียด
  • 12:14 - 12:17
    คุณสามารถสร้างการฟื้นฟูได้
  • 12:17 - 12:20
    ตอนนี้ ฉันไม่จำเป้นต้องถามถึง
  • 12:20 - 12:23
    ประสบการณ์ความเครียดที่มากขึ้นในชีวิตฉัน
  • 12:23 - 12:25
    แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ได้มอบ
  • 12:25 - 12:29
    การรับรู้ความเครียดแบบใหม่โดยสิ้่นเชิงให้กับฉัน
  • 12:29 - 12:34
    ความเครียดมอบหนทางในการเข้าถึงใจของพวกเรา
  • 12:34 - 12:38
    ใจที่เอื้อเฟื้อที่พบเจอความสุขและความหมาย
  • 12:38 - 12:39
    ในการสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • 12:39 - 12:43
    และใช่ค่ะ หัวใจที่เต้นแรง
  • 12:43 - 12:48
    ทำงานอย่างหนักเพื่อมอบความเข้มแข็งและกำลังให้กับคุณ
  • 12:48 - 12:51
    และเมื่อคุณเลือกที่จะมองความเครียดในแง่นี้
  • 12:51 - 12:54
    คุณไม่ได้เพียงแค่เครียดได้ดีขึ้น
  • 12:54 - 12:58
    จริงๆแล้ว คุณกำลังบอกกล่าวอะไรบางอย่างที่ลึกซึ้ง
  • 12:58 - 13:01
    คุณกำลังบอกว่า คุณสามารถเชื่อตัวคุณเอง
  • 13:01 - 13:04
    ในการจัดการความท้าทายในชีวิต
  • 13:04 - 13:07
    และคุณกำลังจดจำว่า
  • 13:07 - 13:09
    คุณไม่จำเป็นต้องเจอกับมันเพียงลำพัง
  • 13:09 - 13:11
    ขอบคุณค่ะ
  • 13:11 - 13:20
    (เสียงปรบมือ)
  • 13:20 - 13:23
    คริส แอนเดอร์สัน (Chris Anderson):
    นี่มันน่าทึ่งมากครับ สิ่งที่คุณกำลังบอกพวกเรา
  • 13:23 - 13:27
    มันดูน่าทึ่งสำหรับผม ที่ความเชื่อเกี่ยวกับความเครียด
  • 13:27 - 13:32
    สามารถสร้างความแตกต่างมากมาย
    ให้กับช่วงอายุขัยของใครสักคน
  • 13:32 - 13:34
    คุณจะแนะนำเพิ่มเติมยังไงได้บ้างครับ
  • 13:34 - 13:36
    เช่น ถ้าใครบางคนกำลังเลือกทางชีวิต
  • 13:36 - 13:40
    ระหว่าง งานที่เครียดกับไม่เครียด
  • 13:40 - 13:42
    มันสำคัญมั้ยกับทางที่เขาจะเลือก
  • 13:42 - 13:46
    มันฉลาดพอมั้ยที่จะเลือกงานที่เครียด
  • 13:46 - 13:48
    ตราบเท่าที่เราเชื่อว่าเราจัดการมันได้
  • 13:48 - 13:50
    เคลลี่ แมคกอนนีกัล (Kelly McGonigal):
    ใช่ค่ะ และสิ่งหนึ่งที่เรารู้แน่ๆ
  • 13:50 - 13:53
    ก็คือว่าการไล่หาความหมายนั้นดีกับสุขภาพมากกว่า
  • 13:53 - 13:54
    การพยายามหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบาย
  • 13:54 - 13:57
    ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่า ทางที่ดีที่สุดในการตัดสินใจ
  • 13:57 - 14:00
    คือการไปตามสิ่งที่สร้างความหมายให้กับชีวิตของคุณ
  • 14:00 - 14:03
    แล้วก็เชื่อมั่นในตัวเองในการจัดการกับความเครียดที่จะตามมา
  • 14:03 - 14:06
    คริส แอนเดอร์สัน: ขอบคุณมากครับ เคลลี่ ยอดเยี่ยมมากครับ
    เคลลี่ แมคกอนิกัล: ขอบคุณค่ะ
  • 14:06 - 14:10
    (เสียงปรบมือ)
Title:
จะเป็นเพื่อนกับความเครียดได้ยังไง
Speaker:
เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal)
Description:

ความเครียด มันทำให้หัวใจคุณเต้นแรง ลมหายใจถี่ขึ้น และเหงื่อออกบนหน้าผาก แต่ขณะที่ความเครียดกลายเป็นศัตรูทางสุขภาพของคนส่วนใหญ่นั้น งานวิจัยชิ้นใหม่เสนอว่าความเครียดจะไม่ดีต่อคุณก็ต่อเมื่อคุณเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้นเท่านั้น นักจิตวิทยา เคลลี่ แมคกอนิกัล ชวนให้พวกเรามองความเครียดในด้านบวก และแนะนำเราให้รู้จักกับกลไกที่ไม่ได้รับการเอ่ยถึงมาก่อนสำหรับการลดความเครียด นั่นก็คือการเข้าหาผู้อื่น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:28
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How to make stress your friend
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to make stress your friend
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How to make stress your friend
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to make stress your friend
Piyawit SEREEYOTIN accepted Thai subtitles for How to make stress your friend
Piyawit SEREEYOTIN edited Thai subtitles for How to make stress your friend
Piyawit SEREEYOTIN edited Thai subtitles for How to make stress your friend
Piyawit SEREEYOTIN edited Thai subtitles for How to make stress your friend
Show all

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 9 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut