Return to Video

ศาสตร์แห่งน้ำนม - โจนาธาน เจ, โอซัลลิวัน (Jonathan J. O'Sullivan)

  • 0:08 - 0:11
    ทำไมมนุษย์ถึงดื่มนมกันมากมายเช่นนี้
  • 0:11 - 0:13
    และในบรรดาน้ำนม
    จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย
  • 0:13 - 0:17
    ทำไมเราจึงชื่นชอบนมแค่บางชนิด
  • 0:17 - 0:19
    นมเป็นสิ่งแรกที่เราดื่ม
  • 0:19 - 0:22
    และต้องขอขอบคุณการพัฒนาการผลิต
    ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมที่หลากหลาย
  • 0:22 - 0:28
    มันจึงมีรูปแบบนานัปการ
    เพื่อการบริโภคและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา
  • 0:28 - 0:33
    หน้าที่หลักของนมคือเป็นแหล่งอาหาร
    ที่สมบูรณ์ของเด็กแรกเกิด
  • 0:33 - 0:37
    อันที่จริง เนื่องจากมันมีสารอาหารทุกอย่าง
    ที่จำเป็นต่อพัฒนาการและการเติบโต
  • 0:37 - 0:38
    โปรตีน
  • 0:38 - 0:38
    คาร์โบไฮเดรต
  • 0:38 - 0:39
    ไขมัน
  • 0:39 - 0:41
    วิตามิน และเกลือแร่
  • 0:41 - 0:42
    และน้ำ
  • 0:42 - 0:45
    นมจึงเป็นเพียงสิ่งเดียว
    ที่เด็กทารกต้องบริโภค
  • 0:45 - 0:48
    ในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต
  • 0:48 - 0:51
    ส่วนประกอบที่โดดเด่นของน้ำนม
    อาจแตกต่างกันไปขึ้นกับปัจจัยเช่น สายพันธุ์
  • 0:51 - 0:52
    การบริโภค
  • 0:52 - 0:54
    และสถานที่
  • 0:54 - 0:56
    ยกตัวอย่างเช่น
    เรนเดียร์จากอาร์คติกเซอร์เคิล
  • 0:56 - 0:59
    ผลิตนมที่ให้พลังงานสูง
    ที่มีไขมันอยู่ประมาณ 20%
  • 0:59 - 1:03
    หรือประมาณห้าเท่าของน้ำนมมนุษย์
    หรือนมวัว
  • 1:03 - 1:06
    เพื่อช่วยให้ลูก ๆ ของมัน
    มีชีวิตรอดจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัด
  • 1:06 - 1:08
    แล้วนมถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างไร
  • 1:08 - 1:11
    ในกระบวนการสร้างน้ำนม
    ที่มีแต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น
  • 1:11 - 1:15
    เซลล์จำเพาะที่หลั่งน้ำนมที่เรียกว่า
    แมมโมไซต์
  • 1:15 - 1:20
    เรียงตัวเป็นชั้นเดียวรอบ ๆ
    อัลวิโอไล ที่มีลักษณะคล้ายลูกแพร์
  • 1:20 - 1:23
    เซลล์เหล่านี้ดูดซับ
    หน่วยโครงสร้างทั้งหมดของน้ำนม
  • 1:23 - 1:26
    จากนั้นก็สังเคราะห์หยดน้ำมันเล็ก ๆ
  • 1:26 - 1:30
    บนโครงสร้างที่เรียกว่า
    เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมแบบผิวเรียบ
  • 1:30 - 1:33
    หยดน้ำมันเหล่านั้นรวมตัวกัน
    และรวมกับโมเลกุลอื่น ๆ
  • 1:33 - 1:38
    และจากนั้นก็ถูกขับออกมาและกักเก็บไว้
    ในช่องว่างระหว่างเซลล์
  • 1:38 - 1:42
    ในที่สุดต่อมน้ำนมก็จะหลั่งน้ำนมออกมา
    ผ่านหน้าอกและเต้านม
  • 1:42 - 1:47
    หรือผ่านท่อที่อยู่ตรงท้อง
    ในกรณีที่พบเห็นได้ยากอย่างตุ่นปากเป็ด
  • 1:47 - 1:50
    แม้ว่ากระบวนการนี้
    โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่แต่ในสัตว์ตัวเมีย
  • 1:50 - 1:53
    ในบางสายพันธุ์ อย่างเช่น
    ค้างคาวดายัค
  • 1:53 - 1:54
    แพะ
  • 1:54 - 1:55
    หรือแม้แต่แมว
  • 1:55 - 1:58
    ตัวผู้ก็สามารถหลั่งน้ำนมได้
  • 1:58 - 2:01
    ผู้ที่ดื่มนมทั่วโลกบริโภค
    ผลิตภัณฑ์จากนมควาย
  • 2:01 - 2:02
    แพะ
  • 2:02 - 2:02
    แกะ
  • 2:02 - 2:03
    อูฐ
  • 2:03 - 2:04
    จามรี
  • 2:04 - 2:05
    ม้า
  • 2:05 - 2:06
    หรือวัว
  • 2:06 - 2:09
    สายพันธุ์เกือบทั้งหมดนี้
    เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • 2:09 - 2:12
    ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    ที่มีกระเพาะสี่ส่วน
  • 2:12 - 2:15
    ที่ให้นมในปริมาณมาก
  • 2:15 - 2:18
    จากทั้งหมดนี้
    วัวเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายที่สุด
  • 2:18 - 2:22
    และให้น้ำนมที่แยกเป็นทั้ง
    ครีมและน้ำได้ง่าย
  • 2:22 - 2:25
    และมีปริมาณไขมันใกล้เคียง
    กับนมของมนุษย์
  • 2:25 - 2:27
    ตามธรรมชาติของมันแล้ว
  • 2:27 - 2:31
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลั่งน้ำนมทันที
    ทุกเมื่อที่ลูกของมันต้องการบริโภค
  • 2:31 - 2:34
    แต่ด้วยความต้องการ
    ของผู้บริโภคผู้หิวโหย
  • 2:34 - 2:38
    โรงงานผลิตนมได้พัฒนาวิธีการ
    เพื่อยกระดับการผลิต
  • 2:38 - 2:39
    เพิ่มอายุการเก็บรักษา
  • 2:39 - 2:43
    และทำให้ผลิตภัณฑ์นม
    มีความหลากหลาย
  • 2:43 - 2:47
    ในการแปรรูปนม เครื่องปั่นเหวี่ยง
    ปั่นน้ำนมด้วยความเร็วสูง
  • 2:47 - 2:52
    ปั่นให้ไขมันที่หนาแน่นน้อยกว่า
    แยกตัวและลอยขึ้นมาจากของเหลว
  • 2:52 - 2:53
    หลังจากที่ถูกตักออก
  • 2:53 - 2:57
    ไขมันดังกล่าว ที่เรียกว่าไขมันเนย
    สามารถถูกใช้ในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมได้
  • 2:57 - 2:58
    เช่นเนย
  • 2:58 - 2:58
    ครีม
  • 2:58 - 3:00
    และเนยแข็ง
  • 3:00 - 3:04
    หรือมันอาจถูกนำกลับมาเติมลงไปใหม่
    ในของเหลวในอัตราส่วนต่าง ๆ
  • 3:04 - 3:06
    เพื่อให้ได้นมที่มีปริมาณไขมันต่าง ๆ
  • 3:06 - 3:14
    "นมไขมันเต็มส่วน" ที่บางครั้งถูกเรียกว่า
    "นมครบส่วน" มีไขมันเนยเพิ่มอีก 3.25%
  • 3:14 - 3:18
    เมื่อเทียบกับนมไขมันต่ำ หรือ
    นมพร่องมันเนย ที่มีไขมัน 1-2%
  • 3:18 - 3:21
    และหางนมหรือนมขาดมันเนย
    ที่มีไขมันน้อยกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์
  • 3:21 - 3:25
    เพื่อที่จะหยุดยั้งการแยกตัวของไขมัน
    ออกจากน้ำ หรือครึม
  • 3:25 - 3:30
    ส่วนผสมถูกผ่านกระบวนการโฮโมจิไนส์เซชัน
    ที่ถูกอัดความดันโดยใช้พลังงานสูง
  • 3:30 - 3:34
    ก่อนที่จะถูกนำไปวางจำหน่าย
    มันยังถูกฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
  • 3:34 - 3:36
    เพื่อลดระดับของจุลชีพ
  • 3:36 - 3:38
    ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับของรัฐ
  • 3:38 - 3:42
    ที่กลุ่มผู้ชื่นชอบน้ำนมดิบอ้างว่า
    อาจลดคุณค่าทางอาหารของนมลงได้
  • 3:42 - 3:46
    การเสียของนมเกิดขึ้นจากจุลินทรีย์
  • 3:46 - 3:49
    ซึ่งบริโภคและสลายสารอาหารในนม
  • 3:49 - 3:52
    กระบวนการนั้นก่อให้ไขมันเนยจับตัวกัน
  • 3:52 - 3:56
    ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หน้าตาไม่ชวนมอง
  • 3:56 - 3:58
    และผลกระทบที่คาดไม่ถึง
    จากการบริโภคของจุลชีพ
  • 3:58 - 4:02
    ก็คือสารประกอบที่มีกลิ่นและรสชาติแย่
  • 4:02 - 4:03
    แต่มีปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นอีกอย่างหนึ่ง
  • 4:03 - 4:08
    น้ำนมดิบอาจมีจุลชีพ
    ที่เป็นสาเหตุก่อเชื้อของโรคร้ายต่าง ๆ
  • 4:08 - 4:12
    ฉะนั้น เพื่อที่จะฆ่าจุลชีพเหล่านั้น
    ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 4:12 - 4:13
    และคงความสดใหม่ของนมให้ยาวนานขึ้น
  • 4:13 - 4:17
    เราใช้เทคนิคที่เรียกว่า
    พาสเจอไรเซชัน (Pastuerization)
  • 4:17 - 4:19
    กรรมวิธีหนึ่งของขั้นตอนนี้
    เกี่ยวข้องกับการผ่านนม
  • 4:19 - 4:22
    ด้วยความร้อนสูงถึงประมาณ 30 วินาที
  • 4:22 - 4:26
    อีกกรรมวิธีหนึ่งคือ การฆ่าเชื้อแบบยูเอชที
    (Ultra-High Temperature Processing)
  • 4:26 - 4:27
    หรือ อัลตราพาสเจอไรเซชัน
  • 4:27 - 4:33
    ซึ่งผ่านนมที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างมาก
    โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที
  • 4:33 - 4:36
    นมยูเอชทีสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า
  • 4:36 - 4:39
    ซึ่งนานถึงสิบสองเดือน
    โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น
  • 4:39 - 4:42
    เมื่อเทียบกับนมพาสเจอไรซ์
    ที่เก็บได้สองสัปดาห์ในตู้เย็น
  • 4:42 - 4:45
    นั่นเป็นเพราะอุณหภูมิที่สูงกว่า
    ของกรรมวิธียูเอชที
  • 4:45 - 4:48
    ฆ่าจุลชีพได้มากกว่า
  • 4:48 - 4:50
    ทว่ากรรมวิธีที่ใช้อุณหภูมิสูง
  • 4:50 - 4:55
    อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณสมบัติ
    ของคุณค่าทางอาหารและรสชาติของนม
  • 4:55 - 4:58
    แต่สุดท้ายแล้ว ทางเลือกนั้น
    ก็ตกอยู่ที่ความนิยมของผู้บริโภค
  • 4:58 - 5:00
    และความสะดวกสบาย
  • 5:00 - 5:02
    โชคดี ที่เรามีทางเลือกมากมาย
  • 5:02 - 5:08
    ในอุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์นม
    ได้มากกว่า 840 ล้านตันต่อปี
Title:
ศาสตร์แห่งน้ำนม - โจนาธาน เจ, โอซัลลิวัน (Jonathan J. O'Sullivan)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-science-of-milk-jonathan-j-o-sullivan

อุตสาหกรรมนมผลิตผลิตภัณฑ์จากนมได้มากกว่า 840 ล้านตันต่อปี เหตุใดมนุษย์ถึงดื่มนมกันมากมายเช่นนี้ และในบรรดาน้ำนมจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย ทำไมเราจึงชอบนมแค่บางชนิด
โจนาธาน เจ, โอซัลลิวัน จะมาอธิบายให้ฟังว่านมถูกผลิตขึ้นได้อย่างไร

บทเรียนโดย Jonathan J. O'Sullivan, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:24

Thai subtitles

Revisions