Return to Video

เมือกช่วยให้เรายังมีสุขภาพดีได้อย่างไร - แคธารีน่า ริบเบค (Katharina Ribbeck)

  • 0:12 - 0:15
    หากคุณกำลังเป็นหวัด
    เมือกคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
  • 0:15 - 0:19
    แต่มันคืออะไร มันทำอะไรบ้าง
    นอกจากทำให้คุณรู้สึกแย่
  • 0:19 - 0:24
    ร่างกายของคุณสร้างเมือก
    ปริมาณมากกว่าหนึ่งลิตรขึ้นทุก ๆ วัน
  • 0:24 - 0:27
    ในบริเวณพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของร่างกาย
    ที่ไม่ได้ห่อหุ้มด้วยผิวหนัง
  • 0:27 - 0:29
    เช่น ดวงตา
  • 0:29 - 0:29
    จมูก
  • 0:29 - 0:30
    ปาก
  • 0:30 - 0:31
    ปอด
  • 0:31 - 0:33
    และ กระเพาะอาหาร ก็มีสิ่งนี้ปกคลุมอยู่
  • 0:33 - 0:36
    และนั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมมันถึงถูกเรียกว่า
    "เยื่อเมือก"
  • 0:36 - 0:39
    เมือกมีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อร่างกายของคุณ
  • 0:39 - 0:42
    มันปกป้องเนื้อเยื่อบอบบาง
    จากการแห้งและปริแตก
  • 0:42 - 0:44
    ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
  • 0:44 - 0:47
    มันทำให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้น
    คุณจึงสามารถกระพริบตาได้
  • 0:47 - 0:49
    มันปกป้องผนังกระเพาะอาหารของคุณจากกรด
  • 0:49 - 0:53
    มันต่อต้านการคุกคาม
    โดยการกำจัดหรือดักจับสสาร
  • 0:53 - 0:55
    ที่สามารถทำให้คุณป่วยได้
  • 0:55 - 1:01
    และท้ายที่สุด มันเป็นที่อยู่และเป็นแหล่ง
    ของแบคทีเรียประจำร่างกายจำนวนมหาศาล
  • 1:01 - 1:05
    ไมโครไบโอตา (microbiota) ของคุณ
    ซึ่งอยู่ในความควบคุม
  • 1:05 - 1:07
    เมือกประกอบด้วยสารประกอบ
    ที่แตกต่างกันหลายชนิด
  • 1:07 - 1:10
    ได้แก่ โปรตีน ไขมัน และเกลือ
  • 1:10 - 1:16
    แต่ส่วนประกอบสำคัญของน้ำเมือก
    คือ กลุ่มของโปรตีนืที่เรียกว่า มิวซิน (mucin)
  • 1:16 - 1:19
    มิวซิน คือ โมเลกุลหลักที่มีขนาดใหญ่ในเมือก
  • 1:19 - 1:23
    และมีความสำคัญ
    ในการทำให้เมือกมีสัมผัสที่ลื่น
  • 1:23 - 1:27
    มันอยู่ในกลุ่มของโปรตีนที่เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)
  • 1:27 - 1:30
    ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนและน้ำตาล
  • 1:30 - 1:36
    ในมิวซิน โซ่โมเลกุลสายยาวของน้ำตาล
    จะจับเข้ากับกรดอะมิโนจำเพาะ
  • 1:36 - 1:38
    ที่อยู่ในแกนหลักของโปรตีน
  • 1:38 - 1:43
    สายโซ่โมเลกุลน้ำตาลที่ชอบน้ำ (hydrophilic)
    ช่วยให้เมือกละลายในสารคัดหลั่งของร่างกาย
  • 1:43 - 1:46
    เมือกซึ่งประกอบด้วยน้ำถึง 90 เปอร์เซนต์
  • 1:46 - 1:49
    สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้
    เพราะโซ่โมเลกุลของน้ำตาลเหล่านี้
  • 1:49 - 1:52
    บางโมเลกุลของมิวซิน
    สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมิวซินโมเลกุลอื่น ๆ
  • 1:52 - 1:56
    เพื่อเกิดเป็นเครือข่ายซับซ้อนที่เป็นสิ่งกีดขวาง
  • 1:56 - 1:59
    ต่อเชื้อก่อโรค และผู้บุกรุกอื่น ๆ
  • 1:59 - 2:03
    นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมือกคือด่านแรก
    ที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก
  • 2:03 - 2:05
    เช่น แบคทีเรีย และฝุ่นละออง
  • 2:05 - 2:09
    มันถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
  • 2:09 - 2:12
    คล้ายสายพานลำเลียงเมือกลื่นไหล
  • 2:12 - 2:16
    มันช่วยป้องกันแบคทีเรีย
    ที่พยายามเข้าไปในเนื้อเยื่อปอดอันบอบบาง
  • 2:16 - 2:20
    หรือพยายามเข้าไปในกระแสเลือด
    ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง
  • 2:20 - 2:24
    แบคทีเรียที่เป็นอันตรายเหล่านี้
    ยังอาจทำให้เกิดโรคได้ด้วยเช่นกัน
  • 2:24 - 2:28
    เมื่อมันรวมตัวกันและก่อตัวกลายเป็นเมือกลื่น ๆ
    ที่เรียกว่า ไบโอฟิล์ม (biofilm)
  • 2:28 - 2:29
    แต่ในเมือกประกอบด้วยมิวซิน
  • 2:29 - 2:32
    เปปไทด์ต้านจุลชีพ
  • 2:32 - 2:33
    แอนติบอดี
  • 2:33 - 2:37
    รวมถึงไวรัสที่ชอบเขมือบแบคทีเรีย
    ที่เรียกว่า แบคทีรีโอฟาร์จ (Bacteriophage)
  • 2:37 - 2:41
    ทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกัน
    เพื่อป้องกันการก่อตัวของไปโอฟิล์ม
  • 2:41 - 2:44
    ถ้าจุลินทรีย์มีอันตรายและทำให้คุณป่วย
  • 2:44 - 2:49
    ร่างกายจะเพิ่มการสร้างเมือก
    เพื่อพยายามกำจัดมันอย่างรวดเร็ว
  • 2:49 - 2:54
    จากนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อย
    เซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไปในเมือกของคุณ
  • 2:54 - 2:57
    อันที่จริง เมือกที่มีสีออกเขียว
    มักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ
  • 2:57 - 3:01
    สีของมันได้มาจากเอนไซม์
    ที่ถูกสร้างโดยเม็ดเลือดขาวเหล่านั้น
  • 3:01 - 3:04
    วิธีการจัดการแบคทีเรียแบบหลายทิศทางเช่นนี้
  • 3:04 - 3:08
    คือหนึ่งในเหตุผล ที่ทำให้เราไม่ต้องป่วยตลอดเวลา
  • 3:08 - 3:12
    แม้ว่าเมือกจะช่วยต่อต้านแบคทีเรีย
    ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ
  • 3:12 - 3:16
    แต่แบคทีเรียส่วนใหญ่จำนวนมหาศาล
    ที่อาศัยอยู่ประจำในร่างกายไม่ได้เป็นอันตราย
  • 3:16 - 3:18
    และหลายชนิดก็มีคุณประโยชน์อย่างมาก
  • 3:18 - 3:21
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกมันอยู่ในเมือก
  • 3:21 - 3:23
    ที่ซึ่งมันสามารถทำหน้าที่สำคัญต่าง ๆ ได้
  • 3:23 - 3:25
    เช่น การสังเคราะห์วิตามิน
  • 3:25 - 3:27
    ระงับการติดเชื้อที่เป็นอันตราย
  • 3:27 - 3:31
    และควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
    ชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • 3:31 - 3:34
    ดังนั้น แม้ว่าคุณอาจนึก
    เอาเมือกไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเจ็บป่วย
  • 3:34 - 3:37
    แต่จริง ๆ แล้วมันกำลังช่วยให้คุณแข็งแรง
  • 3:37 - 3:38
    แน่ละ มันอาจฟังดูน่าขยะแขยง
  • 3:38 - 3:42
    แต่คุณคิดออกอีกไหมว่าสสารใด
    ที่จะสามารถให้ความชุ่มชื้น
  • 3:42 - 3:44
    รักษาความสะอาดของร่างกาย
  • 3:44 - 3:45
    ต่อต้านการติดเชื้อ
  • 3:45 - 3:49
    และช่วยควบคุมประชากรแบคทีเรีย
    ที่มีอยู่อย่างมหาศาลได้
  • 3:49 - 3:52
    นึกไม่ออกใช่ไหมล่ะ ก็มีแค่น้ำเมือกนี่แหละ
Title:
เมือกช่วยให้เรายังมีสุขภาพดีได้อย่างไร - แคธารีน่า ริบเบค (Katharina Ribbeck)
Description:

ดูบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/how-mucus-keeps-us-healthy-katharina-ribbeck

ร่างกายของเราสร้างเมือกปริมาณมากกว่าหนึ่งลิตรทุก ๆ วัน และเมื่อคุณป่วย มันก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่จริง ๆ แล้วเมือกคืออะไรกันแน่ แล้วมันทำอะไรบ้าง นอกจากที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ แคเธอริน่า ริบเบค จะมาเปิดเผยความลับของเจ้าเยื่อโปร่งใสที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้นี้ ซึ่งช่วยให้ความชุ่มชื้นและหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย และในขณะเดียวกันก็อำพรางตัวเราไม่ให้ถูกทำร้ายโดยจุลชีพที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

บทเรียนโดย Katharina Ribbeck, แอนิเมชันโดย Anton Bogaty

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:08
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How mucus keeps us healthy - Katharina Ribbeck
Show all

Thai subtitles

Revisions