Return to Video

ความดันเลือดทำงานอย่างไร - วิลเฟรด แมนซาโน (Wilfred Manzano)

  • 0:07 - 0:11
    ถ้าคุณเอาเส้นเลือดทั้งหมดในตัวคุณ
    มาเรียงต่อกัน
  • 0:11 - 0:15
    มันจะยาว 95,000 กิโลเมตร
  • 0:15 - 0:22
    ทุกๆ วันมันจะไหลเวียน
    เลือดกว่า 7,500 ลิตร
  • 0:22 - 0:28
    แม้ว่าอันที่จริงมันก็คือเลือดจำนวนสี่ถึงห้าลิตร
    ที่ไหลเวียนกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 0:28 - 0:30
    นำออกซิเจน และสารอาหารที่มีประโยชน์
  • 0:30 - 0:35
    เช่น กลูโคส และกรดอะมิโน
    ไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
  • 0:35 - 0:40
    เลือดทั้งหมดนี้
    ทำให้เกิดแรงดันต่อผนังกล้ามเนื้อของเส้นเลือด
  • 0:40 - 0:43
    แรงนี้เรียกว่า ความดันเลือด
  • 0:43 - 0:47
    มันขึ้นและลงตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • 0:47 - 0:49
    มันสูงสุดในช่วงซิสโตลิก (systole)
  • 0:49 - 0:53
    เมื่อหัวใจบีบตัว
    เพื่อดันให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือดแดง
  • 0:53 - 0:55
    นี่คือ ความดันเลือดซิสโตลิก
  • 0:55 - 0:58
    เมื่อหัวใจพักระหว่างจังหวะการเต้น
  • 0:58 - 1:02
    ความดันเลือดตกลงถึงจุดต่ำสุด
    ซึ่งก็คือ ความดันไดแอสโตลิก (diastolic)
  • 1:02 - 1:06
    คนสุขภาพดีทั่วไปมีความดันซิสโตลิก
  • 1:06 - 1:10
    ระหว่าง 90 และ 120 มิลลิเมตรปรอท
  • 1:10 - 1:14
    และความดันไดแอสโตลิก ระหว่าง 60 และ 80
  • 1:14 - 1:20
    เมื่อรวมเข้าด้วยกัน
    ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/80
  • 1:20 - 1:22
    เลือดเดินทางไปทั่วร่างกาย
  • 1:22 - 1:25
    ผ่านหลอดเลือดของระบบไหลเวียนโลหิต
  • 1:25 - 1:26
    ในระบบท่อใดๆ ก็ตาม
  • 1:26 - 1:30
    มีหลายอย่าง
    ที่สามารถเพิ่มแรงดันต่อผนังท่อได้ เช่น
  • 1:30 - 1:32
    คุณสมบัติของของเหลว
  • 1:32 - 1:33
    ของเหลวส่วนเกิน
  • 1:33 - 1:35
    หรือ ท่อที่ตีบแคบ
  • 1:35 - 1:36
    ถ้าเลือดข้นมากขึ้น
  • 1:36 - 1:41
    ก็ต้องใช้แรงดันที่มากขึ้นเพื่อดันมัน
    ดังนั้น หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้น
  • 1:41 - 1:45
    อาหารที่มีเกลือสูงทำให้เกิดผลที่คล้ายกัน
  • 1:45 - 1:47
    เกลือทำให้เกิดการคั่งของน้ำ
  • 1:47 - 1:51
    และของเหลวส่วนเกินนี้
    เพิ่มปริมาณเลือดและความดันเลือด
  • 1:51 - 1:54
    และความเครียด
    อย่างเช่น การตอบสนองเชิงสู้หรือหนี
  • 1:54 - 1:58
    ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เช่น เอปิเนฟริน
    และนอร์เอปิเนฟริน
  • 1:58 - 2:01
    ที่ทำให้เส้นเลือดหลักหดตัว
  • 2:01 - 2:05
    เพิ่มแรงต้านการไหลของเลือด
    และทำให้ความดันสูงขึ้น
  • 2:05 - 2:09
    โดยทั่วไปแล้ว เส้นเลือดสามารถรับมือ
    กับการขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้ได้สบาย
  • 2:09 - 2:14
    เส้นใยอีลาสติกในผนังเส้นเลือด
    ทำให้มันยืดหยุ่นได้
  • 2:14 - 2:19
    แต่ถ้าความดันเลือดของคุณ
    สูงเกิน 140/90 อยู่เสมอๆ
  • 2:19 - 2:22
    แบบที่เราเรียกว่า ความดันเลือดสูง
    และสูงอย่างนั้นตลอด
  • 2:22 - 2:24
    มันจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้
  • 2:24 - 2:27
    เพราะว่าแรงดันที่เพิ่มขึ้น
    ต่อผนังเส้นเลือด
  • 2:27 - 2:28
    สามารถทำให้เกิดรอยแยกเล็กๆ
  • 2:28 - 2:31
    เมื่อเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บบวมขึ้น
  • 2:31 - 2:33
    สารต่างๆ ที่ตอบสนองต่อการอักเสบ
  • 2:33 - 2:37
    เช่น เม็ดเลือดขาว จะรวมตัวรอบๆ รอยแยก
  • 2:37 - 2:41
    ไขมันและคอเลสเตอรอลที่ล่องลอยอยู่ในเลือด
    ก็จะเกาะติดมันด้วย
  • 2:41 - 2:44
    ซึ่งในที่สุดจะรวมกันกลายเป็นตะกรันไขมัน
  • 2:44 - 2:48
    ที่ทำให้ผนังเส้นเลือดด้านในแข็ง
    และหนาตัวขึ้น
  • 2:48 - 2:50
    สภาวะเช่นนี้เรียกว่า หลอดเลือดตีบแข็ง
  • 2:50 - 2:53
    และมันสามารถทำให้เกิดผลพวงที่อันตราย
  • 2:53 - 2:57
    ถ้าตะกรันไขมันแตกออก
    ก้อนเลือดจะก่อตัวที่ด้านบนของรอยแตก
  • 2:57 - 3:00
    อุดตันหลอดเลือดที่แคบอยู่แล้ว
  • 3:00 - 3:01
    ถ้าก้อนเลือดใหญ่พอ
  • 3:01 - 3:07
    มันจะอุดกั้นการไหลเวียนออกซิเจนและสารอาหาร
    ที่ไปยังเซลล์ต่างๆ อย่างสิ้นเชิง
  • 3:07 - 3:08
    ในเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ
  • 3:08 - 3:10
    มันจะทำให้เกิดหัวใจวาย
  • 3:10 - 3:15
    เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดออกซิเจนเริ่มตาย
  • 3:15 - 3:18
    ถ้าก้อนเลือดอุดกั้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
  • 3:18 - 3:20
    มันจะทำให้เกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • 3:20 - 3:23
    เส้นเลือดอุดตันที่เป็นอันตราย
    สามารถถูกทำให้แผ่ออกไปได้
  • 3:23 - 3:26
    ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
    การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
  • 3:26 - 3:29
    แพทย์จะแทงสายสวนเข้าทางเส้นเลือด
  • 3:29 - 3:31
    ไปยังตำแหน่งที่อุดตัน
  • 3:31 - 3:35
    จากนั้นจึงใส่บอลลูนแฟบๆ เข้าไปทางสายสวน
  • 3:35 - 3:39
    เมื่อบอลลูนพองขึ้น
    มันจะดันให้เส้นเลือดเปิดออก
  • 3:39 - 3:42
    ในบางครั้ง ท่อแข็งๆ ที่เรียกว่า
    ขดลวดหลอดเลือด
  • 3:42 - 3:45
    จะถูกใส่ไว้ในเส้นเลือด
    เพื่อถ่างให้มันเปิดออก
  • 3:45 - 3:47
    ทำให้เลือดไหลผ่านได้สะดวก
  • 3:47 - 3:50
    เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ขาดออกซิเจนที่ปลายทาง
  • 3:50 - 3:54
    การคงสภาพยืดหยุ่นภายใต้แรงดัน
    เป็นงานที่ยากสำหรับเส้นเลือด
  • 3:54 - 3:57
    ของไหลที่ไหลเวียนประกอบด้วยสาร
  • 3:57 - 3:59
    ที่อาจเกิดการหนืดข้นและอุดตันมัน
  • 3:59 - 4:03
    หัวใจที่แข็งแรงดีทั่วๆ ไป
    จะเต้นประมาณ 70 ครั้งต่อนาที
  • 4:03 - 4:08
    และอย่างน้อย 2.5 พันล้านครั้ง
    ตลอดอายุขัย
  • 4:08 - 4:11
    มันฟังดูเหมือนกับเป็นแรงกดดัน
    อันมหาศาล
  • 4:11 - 4:15
    แต่ไม่ต้องเป็นห่วงนะ เส้นเลือดแดงของคุณ
    พร้อมสำหรับความท้าทายนี้
Title:
ความดันเลือดทำงานอย่างไร - วิลเฟรด แมนซาโน (Wilfred Manzano)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-blood-pressure-works-wilfred-manzano

ถ้าคุณเอาเส้นเลือดทั้งหมดในตัวคุณมาเรียงต่อกัน มันจะยาว 60,000 ไมล์ และทุกๆ วันมันจะนำเอาเลือดประมาณสองหมื่นแกลลอนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย แรงดันนี้มีผลอย่างไรต่อผนังของเส้นเลือด วิลเฟรด แมนซาโน เล่าถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความดันเลือด

บทเรียนโดย วิลเฟรด แมนซาโน แอนิเมชั่นโดย Fox Animation Domination High-def

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:32
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How blood pressure works - Wilfred Manzano
Show all

Thai subtitles

Revisions