Return to Video

นิยายวิทยาศาสตร์ช่วยทำนายอนาคตได้อย่างไร - โรอี้ ทเซซาน่า (Roey Tzezana)

  • 0:07 - 0:10
    อยากรู้ไหมครับ
    ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
  • 0:10 - 0:15
    ว่าวันพรุ่งนี้ ปีหน้า หรือพันปีข้างหน้า
    จะเกิดอะไรขึ้น
  • 0:15 - 0:16
    คุณไม่ได้สงสัยอยู่คนเดียวหรอกครับ
  • 0:16 - 0:21
    ทัั้งรัฐบาล กองทัพ
    ผู้นำโลกอุตสาหกรรม ก็สงสัยเหมือนกัน
  • 0:21 - 0:23
    พวกเขาต่างว่าจ้าง "นักอนาคต"
  • 0:23 - 0:26
    พยายามมาทำนายอนาคตดู
  • 0:26 - 0:29
    พวกเขาบางคนทำนาย
    ได้แม่นยำจนน่าทึ่งเชียวล่ะ
  • 0:29 - 0:31
    ช่วงกลางศตวรรษที่ 20
  • 0:31 - 0:33
    สถาบันวิจัยที่ชื่อว่า
    แรนด์ คอร์โปเรชั่น (RAND)
  • 0:33 - 0:36
    ระดมพลังสมองนักวิทยาศาสตร์
    และนักอนาคตจำนวนหนึ่ง
  • 0:36 - 0:39
    พวกเขาร่วมกันคาดการณ์
    ว่าจะเกิดเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง
  • 0:39 - 0:41
    ที่ในปัจจุบัน
    พวกเรามองว่าเป็นของธรรมดา
  • 0:41 - 0:43
    ตัวอย่างเช่น อวัยวะเทียม
  • 0:43 - 0:45
    ยาคุมกำเนิด
  • 0:45 - 0:49
    ห้องสมุดที่ค้นหาข้อมูล
    ให้กับผู้อ่านได้ตามต้องการ
  • 0:49 - 0:52
    วิธีหนึ่งที่นักอนาคต
    ใช้คาดการณ์ทำนาย
  • 0:52 - 0:56
    คือการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว
    และค่านิยมของสังคม
  • 0:56 - 1:00
    มองหาแนวทางที่คาดว่า
    น่าจะถูกเลือกเพื่อก้าวต่อไปในอนาคต
  • 1:00 - 1:02
    โดยแต่ละแนวทางก็มี
    ความน่าจะเป็นแตกต่างกันไป
  • 1:02 - 1:07
    งานของพวกเขา
    จะช่วยผู้วางแผนนโยบายและผู้นำโลก
  • 1:07 - 1:09
    ให้พวกเขาชั่งน้ำหนักทางเลือกแต่ละทาง
  • 1:09 - 1:14
    ซึ่งหากไม่ใช่วิธีนี้ ก็คงไม่อาจจินตนาการ
    ได้ละเอียดและลึกซึ้งอย่างนี้ได้
  • 1:14 - 1:18
    แน่ละครับ ว่าก็ต้องมีข้อจำกัด
    ว่าคนเราจะคาดการณ์ถึงอนาคตได้แค่ไหน
  • 1:18 - 1:21
    อย่างไรก็ต้องมีการค้นพบ
    ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเกิดขึ้น
  • 1:21 - 1:25
    การค้นพบที่สำหรับคน
    ในยุคปัจจุบันแล้ว เป็นไปไม่ได้
  • 1:25 - 1:26
    ลองจินตนาการดูนะครับ
  • 1:26 - 1:30
    หากเราส่งตัวนักฟิสิกส์
    จากช่วงกลางศตวรรษที่ 19
  • 1:30 - 1:33
    ข้ามเวลามาศตวรรษที่ 21
  • 1:33 - 1:38
    อธิบายให้เขาฟังว่า
    มีธาตุประหลาดตัวหนึ่ง ชื่อ ยูเรเนียม 235
  • 1:38 - 1:42
    ที่ตัวมันเองสามารถผลิตพลังงาน
    มากพอจะใช้ได้ทั้งเมือง
  • 1:42 - 1:45
    หรือทำลายทั้งเมืองได้ภายในพริบตา
  • 1:45 - 1:49
    เขาย่อมอยากรู้ว่า
    "แล้วพลังงานนี้มาจากที่ไหน"
  • 1:49 - 1:51
    "นี่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แล้ว
    มันเวทมนตร์ชัด ๆ "
  • 1:51 - 1:54
    ถ้าเราพูดกันจริง ๆ เขาก็พูดถูกนะครับ
  • 1:54 - 1:56
    ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์
    ในยุคศตวรรษที่ 19 ของเขานั้น
  • 1:56 - 2:00
    ไม่มีความรู้เรื่องกัมมันตรังสี
    หรือฟิสิกส์นิวเคลียร์อยู่ด้วย
  • 2:00 - 2:04
    ในยุคของเขา ต่อให้ทำนายอนาคตอย่างไร
    ก็ไม่มีใครทำนายเรื่องรังสีเอ็กซ์
  • 2:04 - 2:06
    หรือระเบิดปรมาณูได้
  • 2:06 - 2:07
    อย่าว่าแต่ทฤษฎีสัมพันธภาพ
  • 2:07 - 2:10
    หรือกลศาสตร์ควอนตัมเลยครับ
  • 2:10 - 2:11
    ก็อย่างที่อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก พูดไว้
  • 2:11 - 2:16
    "เทคโนโลยีล้ำหน้าล้ำสมัย
    กับเวทมนตร์นั้นแยกกันไม่ออก"
  • 2:16 - 2:20
    แล้วเราจะเตรียมตัวรับมือ
    กับอนาคตที่เหมือนเป็นเวทมนตร์
  • 2:20 - 2:24
    เหมือนอย่างที่ในสายตาคน
    จากศตวรรษที่ 19 มองเราได้อย่างไร
  • 2:24 - 2:28
    เราอาจคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่
    และเทคนิคการวิเคราะห์ที่ก้าวหน้า
  • 2:28 - 2:31
    จะช่วยให้เราคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำขึ้น
  • 2:31 - 2:33
    เมื่อเทียบกับคนในศตวรรษที่ 19
  • 2:33 - 2:35
    ซึ่งก็ไม่ผิดหรอกครับ
  • 2:35 - 2:38
    แต่อย่าลืมว่า
    ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของเรา
  • 2:38 - 2:43
    ก็ยังก่อให้เกิดความท้าทาย
    ที่ซับซ้อนและคาดเดาไม่ถูกด้วย
  • 2:43 - 2:47
    สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป การพยายาม
    จินตนาการถึงเรื่องที่น่าทึ่งเกินจินตนาการ
  • 2:47 - 2:50
    มันจะยากขึ้นกว่าเมื่อก่อนเยอะครับ
  • 2:50 - 2:51
    คำถามก็คือ
  • 2:51 - 2:53
    แล้วเราจะทำได้อย่างไร
  • 2:53 - 2:57
    จริง ๆ แล้ว เราได้คำตอบ
    ที่พอจะเข้าท่ามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
  • 2:57 - 2:59
    และการปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • 2:59 - 3:02
    ที่วางรากฐาน
    ให้กับโลกสมัยใหม่ของเราแล้วล่ะครับ
  • 3:02 - 3:04
    ช่วงเวลานี้ที่เกิดการพัฒนาและการคิดค้น
    เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ
  • 3:04 - 3:09
    งานเขียนแนวใหม่ อย่างนวนิยายวิทยาศาสตร์
    ก็เกิดขึ้นในแวดวงวรรณกรรม
  • 3:09 - 3:13
    จูลส์ เวิร์น, แอช.จี. แวลส์ และนักคิดคนอื่น ๆ
  • 3:13 - 3:17
    ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งประดิษฐ์ในอดีต
    ทำให้พวกเขาสร้างงานเขียนแสนอลังการ
  • 3:17 - 3:20
    ที่บรรยายถึงขอบเขตใหม่
    ของศาสตร์ต่าง ๆ ของมนุษย์
  • 3:20 - 3:22
    และตลอดช่วงศตวรรษที่ 20
    จวบจนถึงศตวรรษที่ 21
  • 3:22 - 3:26
    นักเล่าเรื่องเหล่านี้ก็ยังคง
    แบ่งปันภาพอนาคตของพวกเขา
  • 3:26 - 3:31
    และคาดเดาอนาคตของโลกที่เราอาศัยกันต่อมา
    อย่างถูกต้องในหลาย ๆ แง่มุม
  • 3:31 - 3:33
    ใน "โลกวิไลซ์"
    (Brave New World)
  • 3:33 - 3:37
    ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1932
    อัลดัส ฮักซ์ลีย์ ทำนายเรื่องยาต้านโรคซึมเศร้า
  • 3:37 - 3:40
    นานก่อนที่ยาจำพวกนี้
    จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย
  • 3:40 - 3:46
    ในปี ค.ศ. 1953 เรย์ แบรดบิวรีย์
    ทำนายเรื่องหูฟังใน "ฟาเรนไฮต์ 451"
  • 3:46 - 3:48
    เขาเรียกมันว่า "ปลอกวิทยุ"
  • 3:48 - 3:51
    และในเรื่อง "2001: สเปซ โอดิสซี่"
  • 3:51 - 3:58
    อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก บรรยายถึง
    จอแสดงข่าวสารฉบับพกพา ไว้ในปี ค.ศ. 1968
  • 3:58 - 4:02
    งานที่มักจะมีทั้งเรื่องบันเทิง
    และการสะท้อนสังคมเช่นนี้
  • 4:02 - 4:05
    เราถูกชี้ชวนให้หยุดคิดกังขาชั่วครู่
    แล้วลองคิดถึงผลที่จะตามมา
  • 4:05 - 4:11
    เมื่อแนวคิดคุ้นเคยและที่ถูกปลูกฝังมานาน
    เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • 4:11 - 4:11
    จะว่าไป
  • 4:11 - 4:16
    นวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ ทำให้คำพูด
    ของนักปรัชญา มีแชล ฟูโก เป็นจริง
  • 4:16 - 4:21
    "ผมไม่ใช่ศาสดา หน้าที่ผมคือ
    การสร้างหน้าต่างจากที่ที่เคยเป็นกำแพง"
  • 4:21 - 4:26
    โดยไม่ต้องผูกยึดกับแนวคิดปัจจุบัน
    และการสรุปว่าอะไรที่เป็นไปได้บ้าง
  • 4:26 - 4:30
    นิยายวิทยาศาสตร์กลายเป็น
    เครื่องมือมีประโยชน์ที่สอนให้เราคิดนอกกรอบ
  • 4:30 - 4:32
    นักอนาคตหลายคนตระหนักถึงเรื่องนี้ดี
  • 4:32 - 4:36
    บางคนก็เริ่มที่จะเชิญ
    บรรดานักเขียนเหล่านี้มาร่วมงาน
  • 4:36 - 4:41
    เมื่อไม่นานมานี้เอง โครงการที่ใช้ชื่อว่า
    รู้แล้ว (iKnow) เสนอสถานการณ์
  • 4:41 - 4:43
    ที่คล้ายคลึงกับเรื่องในนวนิยายวิทยาศาสตร์มาก
  • 4:43 - 4:46
    ยกตัวอย่างสถานการณ์เช่น
    การค้นพบอารยธรรมต่างดาว
  • 4:46 - 4:50
    การพัฒนาการสื่อสารให้คนและสัตว์
    สื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน
  • 4:50 - 4:53
    การยืดชีวิตคนให้ยืนยาวมากขึ้น
  • 4:53 - 4:55
    ตกลงแล้ว อนาคตเราจะเป็นยังไงหรือครับ
  • 4:55 - 4:57
    แน่ละ ไม่มีใครรู้ได้แน่นอน
  • 4:57 - 5:01
    แต่นวนิยายวิทยาศาสตร์
    ก็พอช่วยบอกความเป็นไปได้ให้กับเรา
  • 5:01 - 5:03
    สุดท้ายแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับเราละครับ
  • 5:03 - 5:06
    ว่าจะทำเรื่องไหนให้กลายมาเป็นความจริง
Title:
นิยายวิทยาศาสตร์ช่วยทำนายอนาคตได้อย่างไร - โรอี้ ทเซซาน่า (Roey Tzezana)
Description:

รับชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/how-science-fiction-can-help-predict-the-future-roey-tzezana

อยากรู้กันหรือเปล่าว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร มนุษยชาติจะเป็นเช่นไรบ้างในวันพรุ่งนี้ ปีหน้า หรือแม้กระทั่งพันปีหลังจากนี้ ไม่ได้มีแค่คุณที่สงสัยหรอก พวกเราทุก ๆ คน ตั้งแต่คณะรัฐบาล กองทหาร หรือ ผู้นำอุตสาหกรรมทั้งหลายต่างก็สงสัยเรื่องเดียวกันนี้ พวกเขาต่างก็ว่าจ้าง "นักอนาคต" พยายามมาทำนายอนาคตดู ในวิดิโอนี้ โรอี้ ทเซซาน่า ยกตัวอย่างวิธีบางวิธีที่พวกนักอนาคตใช้ทำนาย มาอธิบายให้เราฟัง

บทเรียนโดย โรอี้ ทเซซาน่า แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:22

Thai subtitles

Revisions Compare revisions