Return to Video

ทำไมภูเขาเอเวอเรสต์ถึงสูงมาก - มิเชล คอปปส์ (Michele Koppes)

  • 0:07 - 0:08
    ทุกฤดูใบไม้ผลิ
  • 0:08 - 0:12
    นักผจญภัยหลายร้อยฝันที่จะพิชิตโชโมลังมา
  • 0:12 - 0:15
    หรือที่รู้จักกันในชื่อภูเขาเอเวอเรสต์
  • 0:15 - 0:17
    ที่ค่ายพัก พวกเขาอยู่ที่นั่นกันหลายเดือน
  • 0:17 - 0:22
    รอโอกาสที่จะปีนสู่ยอดเขาที่สูงเสียดฟ้า
  • 0:22 - 0:26
    แต่ทำไมคนถึงยอมเสี่ยงชีวิต
    และอยากปีนเขาเอเวอเรสต์
  • 0:26 - 0:28
    เพื่อความท้าทาย
  • 0:28 - 0:29
    เพื่อทิวทัศน์
  • 0:29 - 0:32
    หรือ เพื่อโอกาสในการสัมผัสท้องฟ้า
  • 0:32 - 0:38
    สำหรับหลาย ๆ คน แรงจูงใจมาจากภูมิประเทศ
    ของเอเวอเรสต์ที่เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก
  • 0:38 - 0:40
    เรื่องสำคัญที่จะต้องบอกก็คือ
  • 0:40 - 0:45
    มัวนาเคีย เป็นจุดที่สูงที่สุดจากฐานถึงยอด
  • 0:45 - 0:48
    แต่อยู่ที่ 8850 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
  • 0:48 - 0:51
    ภูเขาเอเวอเรสต์ มีความสูงมากที่สุดในโลก
  • 0:51 - 0:54
    เพื่อที่จะเข้าในว่า โครงสร้างที่ตั้งตระหง่านนี้
    เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 0:54 - 0:58
    เราต้องมองลึกลงไปใต้เปลือกโลก
  • 0:58 - 1:00
    ที่ซึ่งแผ่นทวีปชนกัน
  • 1:00 - 1:03
    พื้นผิวโลกเหมือนกับเกราะของตัวนิ่ม
  • 1:03 - 1:06
    ชิ้นส่วนของเปลือกโลก
    เคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา
  • 1:06 - 1:07
    ไปทางข้างใต้
  • 1:07 - 1:09
    และไปรอบ ๆ กันและกัน
  • 1:09 - 1:14
    สำหรับแผ่นทวีปที่มีขนาดใหญ่ขนาดนั้น
    การเคลื่อนที่ของมันถือว่าค่อนข้างเร็ว
  • 1:14 - 1:17
    พวกมันเคลื่อนที่ปีละสองถึงสี่เซนติเมตร
  • 1:17 - 1:19
    ซึ่งเร็วพอ ๆ กับการงอกของเล็บ
  • 1:19 - 1:21
    เมื่อแผ่นทวีปสองแผ่นชนกัน
  • 1:21 - 1:25
    แผ่นหนึ่งจะดันเข้าไปหรือเข้าไปทางข้างใต้
    ของอีกแผ่นหนึ่ง ทำให้ขอบโก่งตัว
  • 1:25 - 1:30
    และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการยกตัว
    เพื่อจัดวางส่วนเปลือกโลกใหม่
  • 1:30 - 1:32
    นี่เป็นส่วนที่เกี่ยวกับภูเขาเอเวอเรสต์
  • 1:32 - 1:37
    50 ล้านปีก่อน แผ่นทวีปอินเดียของโลก
    เคลื่อนไปทางเหนือ
  • 1:37 - 1:39
    ชนเข้ากับแผ่นยูเรเซีย
  • 1:39 - 1:43
    และเปลือกโลกก็อัดเข้าหากัน
    ทำให้เกิดการยกตัว
  • 1:43 - 1:46
    ภูเขาเอเวอเรสต์
    อยู่ที่ใจกลางของการอัตตัวนั้น
  • 1:46 - 1:49
    ที่บริเวณขอบการชนกัน
    ของแผ่นอินเดีย-ยูเรเซีย
  • 1:49 - 1:53
    แต่ภูเขาถูกก่อร่างขึ้นโดยแรงกระทำอย่างอื่น
    นอกเหนือจากการยกตัว
  • 1:53 - 1:58
    เมื่อแผ่นดินถูกดันขึ้น
    มวลอากาศถูกบังคับให้ยกตัวขึ้นเช่นกัน
  • 1:58 - 2:03
    การเพิ่มความเย็นในอากาศ
    ทำให้ละอองน้ำภายในนั้นกลั่นตัว
  • 2:03 - 2:05
    และก่อตัวเป็นเม็ดฝนหรือหิมะ
  • 2:05 - 2:08
    เมื่อมันตกลงมัน มันชะพื้นที่เบื้องล่าง
  • 2:08 - 2:13
    กร่อนหินและทลายพวกมันลง
    ในกระบวนการที่เรียกว่า การผุพังอยู่กับที่
  • 2:13 - 2:15
    น้ำที่เคลื่อนตัวลงมาตามภูเขา
    นำเอาสิ่งที่ถูกทำให้ผุพังลงมา
  • 2:15 - 2:17
    และกัดเซาะพื้นที่ตรงนั้น
  • 2:17 - 2:21
    ซึ่งทำให้เกิดหุบเขาลึก และยอดแหลม
  • 2:21 - 2:26
    สมดุลระหว่างการยกตัวและการกัดเซาะนี้
    ทำให้เกิดรูปทรงของภูเขา
  • 2:26 - 2:28
    แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดที่สูงเสียดฟ้า
    ของหิมาลัย
  • 2:28 - 2:30
    กับเนินเขาต่ำ ๆ ของแอปพาเลเชีย
  • 2:30 - 2:33
    ชัดเจนเลยว่า ไม่มีภูเขาใดที่หน้าตาเหมือนกัน
  • 2:33 - 2:36
    นั่นเป็นเพราะเวลา
    เข้ามามีส่วนร่วมในสมการนี้เช่นกัน
  • 2:36 - 2:40
    เมื่อแผ่นทวีปเข้าชนกันในตอนแรก
    การยกตัวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 2:40 - 2:43
    ยอดสูงขึ้นพร้อมกับเนินที่ชัน
  • 2:43 - 2:47
    เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ดี แรงดึงดูด
    และน้ำ ก็ทำให้มันทลายลง
  • 2:47 - 2:49
    และในที่สุด การกัดกร่อน
    ก็มีผลเหนือกว่าการยกตัว
  • 2:49 - 2:53
    ทำให้ยอดทลายลงมา
  • 2:53 - 2:56
    ปัจจัยที่สามที่ให้รูปทรงกับภูเขาก็คือ
    สภาพภูมิอากาศ
  • 2:56 - 3:01
    ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศา
    หิมะที่ตกลงมาไม่ละลายจนหมด
  • 3:01 - 3:04
    แต่อัดตัวกันอย่างช้า ๆ จนกลายเป็นน้ำแข็ง
  • 3:04 - 3:09
    ที่ก่อตัวเป็นแนวหิมะ ซึ่งเกิดขึ้น
    ที่ระดับความสูงต่าง ๆ ทั่วโลก
  • 3:09 - 3:11
    ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
  • 3:11 - 3:15
    ที่ขั้วโลกอันหนาวเย็น
    แนวน้ำแข็งอยู่ที่ระดับน้ำทะเล
  • 3:15 - 3:19
    ที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร คุณต้องปีนขึ้นไปถึง
    ห้ากิโลเมตรมันถึงจะเย็นพอ
  • 3:19 - 3:21
    ที่น้ำแข็งจะเกิดขึ้นได้
  • 3:21 - 3:25
    น้ำแข็งที่รวมตัวกันเริ่มที่จะไหลลงมา
    ด้วยน้ำหนักที่มากของมัน
  • 3:25 - 3:29
    ทำให้เกิดแม่น้ำเยือกแข็งที่เคลื่อนที่
    อย่างช้า ๆ ซึ่งเรียกว่า ธารน้ำแข็ง
  • 3:29 - 3:31
    ซึ่งขัดสีกับหินเบื้องล่าง
  • 3:31 - 3:34
    ยิ่งภูเขาชันเท่าไร น้ำแข็งก็ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่านั้น
  • 3:34 - 3:37
    และการกัดกร่อนหินที่อยู่ข้างล่างก็ยิ่งเกิดเร็วขึ้น
  • 3:37 - 3:41
    ธารน้ำแข็งสามารถกัดเซาะพื้นที่
    ได้รวดเร็วกว่าฝนหรือแม่น้ำ
  • 3:41 - 3:45
    เมื่อธารน้ำแข็งเกาะอยู่ที่ยอดเขา
    พวกมันกร่อนยอดลงมาอย่างรวดเร็ว
  • 3:45 - 3:50
    พวกมันหักยอดออกไปราวกับเลื่อยน้ำแข็งยักษ์
  • 3:50 - 3:54
    ถ้าอย่างนั้น ทำไมภูเขาเอเวอเรสต์ที่หนาวเย็น
    ยังคงตั้งสูงตระหง่านอยู่อย่างนั้นได้
  • 3:54 - 3:58
    การชนของแผ่นทวีปอย่างฉับพลัน
    ที่ทำให้มันยกตัวขึ้น
  • 3:58 - 4:01
    ทำให้มันมีขนาดใหญ่มาแต่ต้น
  • 4:01 - 4:03
    อย่างที่สอง ภูเขาอยู่ใกล้กับเขตศูนย์สูตร
  • 4:03 - 4:08
    ฉะนั้นแนวหิมะจึงอยู่สูง
    และธารน้ำแข็งจึงค่อนข้างเล็ก
  • 4:08 - 4:10
    จนแทบจะไม่สามารถกร่อนมันลงได้
  • 4:10 - 4:13
    ภูเขานี้จึงอยู่ในสภาวะที่สุดจะเหมาะสม
  • 4:13 - 4:16
    ที่คงรักษารูปลักษณ์อันน่าประทับใจของมันไว้
  • 4:16 - 4:18
    แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
  • 4:18 - 4:20
    เรากำลังอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
    ที่ซึ่งแผ่นทวีป
  • 4:20 - 4:22
    สภาวะภูมิอากาศของโลก
  • 4:22 - 4:24
    และพลังในการกัดกร่อนของโลก
  • 4:24 - 4:28
    สักวันหนึ่ง อาจร่วมกัน
    ทำให้ขนาดของภูเขาเอเวอเรสต์เล็กลง
  • 4:28 - 4:32
    แต่สำหรับตอนนี้ อย่างน้อย
    มันก็ยังคงเป็นตำนานในใจของนักปีนเขา
  • 4:32 - 4:33
    นักผจญภัย
  • 4:33 - 4:35
    และนักล่าฝันทั้งหลาย
Title:
ทำไมภูเขาเอเวอเรสต์ถึงสูงมาก - มิเชล คอปปส์ (Michele Koppes)
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/why-is-mount-everest-so-tall-michele-koppes

ที่ความสูง 8,850 เหนือระดับน้ำทะเล โชโมลังมา หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภูเขาเอเวอเรสต์ มีความสูงมากที่สุดในโลก แต่โครงสร้างที่ตั้งตระหง่านนี้สูงขนาดนี้ได้อย่างไร เพื่อหาคำตอบ มิเชล คอปปส์ มองลึกลงไปใต้เปลือกโลกที่ซึ่งแผ่นทวีปชนกัน

บทเรียนโดย Michele Koppes, แอนิเมชันโดย Provincia Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:53

Thai subtitles

Revisions