ทุกฤดูใบไม้ผลิ นักผจญภัยหลายร้อยฝันที่จะพิชิตโชโมลังมา หรือที่รู้จักกันในชื่อภูเขาเอเวอเรสต์ ที่ค่ายพัก พวกเขาอยู่ที่นั่นกันหลายเดือน รอโอกาสที่จะปีนสู่ยอดเขาที่สูงเสียดฟ้า แต่ทำไมคนถึงยอมเสี่ยงชีวิต และอยากปีนเขาเอเวอเรสต์ เพื่อความท้าทาย เพื่อทิวทัศน์ หรือ เพื่อโอกาสในการสัมผัสท้องฟ้า สำหรับหลาย ๆ คน แรงจูงใจมาจากภูมิประเทศ ของเอเวอเรสต์ที่เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก เรื่องสำคัญที่จะต้องบอกก็คือ มัวนาเคีย เป็นจุดที่สูงที่สุดจากฐานถึงยอด แต่อยู่ที่ 8850 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ภูเขาเอเวอเรสต์ มีความสูงมากที่สุดในโลก เพื่อที่จะเข้าในว่า โครงสร้างที่ตั้งตระหง่านนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เราต้องมองลึกลงไปใต้เปลือกโลก ที่ซึ่งแผ่นทวีปชนกัน พื้นผิวโลกเหมือนกับเกราะของตัวนิ่ม ชิ้นส่วนของเปลือกโลก เคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา ไปทางข้างใต้ และไปรอบ ๆ กันและกัน สำหรับแผ่นทวีปที่มีขนาดใหญ่ขนาดนั้น การเคลื่อนที่ของมันถือว่าค่อนข้างเร็ว พวกมันเคลื่อนที่ปีละสองถึงสี่เซนติเมตร ซึ่งเร็วพอ ๆ กับการงอกของเล็บ เมื่อแผ่นทวีปสองแผ่นชนกัน แผ่นหนึ่งจะดันเข้าไปหรือเข้าไปทางข้างใต้ ของอีกแผ่นหนึ่ง ทำให้ขอบโก่งตัว และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการยกตัว เพื่อจัดวางส่วนเปลือกโลกใหม่ นี่เป็นส่วนที่เกี่ยวกับภูเขาเอเวอเรสต์ 50 ล้านปีก่อน แผ่นทวีปอินเดียของโลก เคลื่อนไปทางเหนือ ชนเข้ากับแผ่นยูเรเซีย และเปลือกโลกก็อัดเข้าหากัน ทำให้เกิดการยกตัว ภูเขาเอเวอเรสต์ อยู่ที่ใจกลางของการอัตตัวนั้น ที่บริเวณขอบการชนกัน ของแผ่นอินเดีย-ยูเรเซีย แต่ภูเขาถูกก่อร่างขึ้นโดยแรงกระทำอย่างอื่น นอกเหนือจากการยกตัว เมื่อแผ่นดินถูกดันขึ้น มวลอากาศถูกบังคับให้ยกตัวขึ้นเช่นกัน การเพิ่มความเย็นในอากาศ ทำให้ละอองน้ำภายในนั้นกลั่นตัว และก่อตัวเป็นเม็ดฝนหรือหิมะ เมื่อมันตกลงมัน มันชะพื้นที่เบื้องล่าง กร่อนหินและทลายพวกมันลง ในกระบวนการที่เรียกว่า การผุพังอยู่กับที่ น้ำที่เคลื่อนตัวลงมาตามภูเขา นำเอาสิ่งที่ถูกทำให้ผุพังลงมา และกัดเซาะพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งทำให้เกิดหุบเขาลึก และยอดแหลม สมดุลระหว่างการยกตัวและการกัดเซาะนี้ ทำให้เกิดรูปทรงของภูเขา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดที่สูงเสียดฟ้า ของหิมาลัย กับเนินเขาต่ำ ๆ ของแอปพาเลเชีย ชัดเจนเลยว่า ไม่มีภูเขาใดที่หน้าตาเหมือนกัน นั่นเป็นเพราะเวลา เข้ามามีส่วนร่วมในสมการนี้เช่นกัน เมื่อแผ่นทวีปเข้าชนกันในตอนแรก การยกตัวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยอดสูงขึ้นพร้อมกับเนินที่ชัน เมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ดี แรงดึงดูด และน้ำ ก็ทำให้มันทลายลง และในที่สุด การกัดกร่อน ก็มีผลเหนือกว่าการยกตัว ทำให้ยอดทลายลงมา ปัจจัยที่สามที่ให้รูปทรงกับภูเขาก็คือ สภาพภูมิอากาศ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศา หิมะที่ตกลงมาไม่ละลายจนหมด แต่อัดตัวกันอย่างช้า ๆ จนกลายเป็นน้ำแข็ง ที่ก่อตัวเป็นแนวหิมะ ซึ่งเกิดขึ้น ที่ระดับความสูงต่าง ๆ ทั่วโลก ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ที่ขั้วโลกอันหนาวเย็น แนวน้ำแข็งอยู่ที่ระดับน้ำทะเล ที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร คุณต้องปีนขึ้นไปถึง ห้ากิโลเมตรมันถึงจะเย็นพอ ที่น้ำแข็งจะเกิดขึ้นได้ น้ำแข็งที่รวมตัวกันเริ่มที่จะไหลลงมา ด้วยน้ำหนักที่มากของมัน ทำให้เกิดแม่น้ำเยือกแข็งที่เคลื่อนที่ อย่างช้า ๆ ซึ่งเรียกว่า ธารน้ำแข็ง ซึ่งขัดสีกับหินเบื้องล่าง ยิ่งภูเขาชันเท่าไร น้ำแข็งก็ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่านั้น และการกัดกร่อนหินที่อยู่ข้างล่างก็ยิ่งเกิดเร็วขึ้น ธารน้ำแข็งสามารถกัดเซาะพื้นที่ ได้รวดเร็วกว่าฝนหรือแม่น้ำ เมื่อธารน้ำแข็งเกาะอยู่ที่ยอดเขา พวกมันกร่อนยอดลงมาอย่างรวดเร็ว พวกมันหักยอดออกไปราวกับเลื่อยน้ำแข็งยักษ์ ถ้าอย่างนั้น ทำไมภูเขาเอเวอเรสต์ที่หนาวเย็น ยังคงตั้งสูงตระหง่านอยู่อย่างนั้นได้ การชนของแผ่นทวีปอย่างฉับพลัน ที่ทำให้มันยกตัวขึ้น ทำให้มันมีขนาดใหญ่มาแต่ต้น อย่างที่สอง ภูเขาอยู่ใกล้กับเขตศูนย์สูตร ฉะนั้นแนวหิมะจึงอยู่สูง และธารน้ำแข็งจึงค่อนข้างเล็ก จนแทบจะไม่สามารถกร่อนมันลงได้ ภูเขานี้จึงอยู่ในสภาวะที่สุดจะเหมาะสม ที่คงรักษารูปลักษณ์อันน่าประทับใจของมันไว้ แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เรากำลังอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่ซึ่งแผ่นทวีป สภาวะภูมิอากาศของโลก และพลังในการกัดกร่อนของโลก สักวันหนึ่ง อาจร่วมกัน ทำให้ขนาดของภูเขาเอเวอเรสต์เล็กลง แต่สำหรับตอนนี้ อย่างน้อย มันก็ยังคงเป็นตำนานในใจของนักปีนเขา นักผจญภัย และนักล่าฝันทั้งหลาย