Return to Video

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเอาฮิปโปแคมปัสออกไป - แซม คีน (Sam Kean)

  • 0:07 - 0:10
    วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1953
  • 0:10 - 0:13
    วิลเลี่ยม สโควิล (William Scoville)
    ใช้ข้อเหวี่ยงมือ และเลื่อยฉลุถูกๆ
  • 0:13 - 0:18
    เพื่อเจาะเข้าไปในกระโหลกของชายหนุ่ม
    ตัดส่วนสำคัญของสมองออกไป
  • 0:18 - 0:21
    และดูดมันออกมาผ่านท่อโลหะ
  • 0:21 - 0:25
    แต่นี่ไม่ใช่ฉากในหนังสยองขวัญ
    หรือรายงานชวนคลื่นไส้ของตำรวจ
  • 0:25 - 0:30
    ดร. สโควิล เป็นหนึ่งในศัลยแพทย์
    ที่โด่งดังที่สุดในตอนนั้น
  • 0:30 - 0:35
    และชายหนุ่มคนนั้นคือ เฮนรี่ โมเลียสัน
    (Henry Molaison) คนไข้ชื่อดัง
    ที่รู้กันในนาม "เอช เอ็ม"
  • 0:35 - 0:40
    ซึ่งกรณีของเขาได้ให้รายละเอียดเชิงลึก
    ว่าสมองของเราทำงานอย่างไร
  • 0:40 - 0:44
    เมื่อเป็นเด็ก กระโหลกของเฮนรี่
    เกิดรอยร้าวเนื่องจากอุบัติเหตุ
  • 0:44 - 0:50
    ไม่นานก็มีอาการลมชักเฉียบพลัน หน้ามืด
    และเสียการทรงตัวของร่างกาย
  • 0:50 - 0:54
    หลังจากมีอาการถี่ๆ ต่อเนื่องกันหลายปี
    จนต้องลาออกจากโรงเรียนมัธยม
  • 0:54 - 0:57
    ชายหนุ่มผู้สิ้นหวังได้หันไปพึ่ง ดร. สโควิล
  • 0:57 - 1:00
    ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักผ่าตัดท้ามฤตยู
  • 1:00 - 1:04
    เขาได้ทำการผ่าตัดสมองส่วนหน้าบางส่วน
    เป็นเวลาหลายสิบปีเพื่อบำบัดผู้ป่วยทางสมอง
  • 1:04 - 1:08
    ขึ้นอยู่กับความเข้าใจว่า
    หน้าที่ต่างๆ ของสมองนั้นอยู่ตรงไหนบ้าง
  • 1:08 - 1:11
    ของบริเวณของสมอง
  • 1:11 - 1:14
    เขาประสบความสำเร็จในการใช้วิธีนี้
    ลดอาการชักในผู้ป่วยโรคจิต
  • 1:14 - 1:17
    สโควิล ตัดสินใจที่จะตัด
    ฮิปโปแคมพัสของ เอช เอ็ม
  • 1:17 - 1:21
    ส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก
    ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
  • 1:21 - 1:24
    แต่หน้าที่ของมันนั้นไม่เป็นที่ทราบกัน
  • 1:24 - 1:26
    มองเผินๆ ตอนแรก
    การผ่าตัดประสบความสำเร็จ
  • 1:26 - 1:31
    อาการชักของ เอช เอ็ม หายไป
    โดยไม่มีการเปลียนแปลงด้านบุคลิกภาพ
  • 1:31 - 1:33
    และไอคิวของเขาก็พัฒนาขึ้น
  • 1:33 - 1:37
    แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง
    ความจำของเขาสั้น
  • 1:37 - 1:40
    นอกจากเสียความทรงจำเกือบทั้งหมด
  • 1:40 - 1:43
    เอช เอ็ม ไม่สามารถจะสร้างความทรงจำใหม่ได้
    ลืมว่าวันนี้คือวันอะไร
  • 1:43 - 1:48
    พูดซ้ำๆ
    และแม้กระทั่งกินอาหารหลายมื้อต่อกัน
  • 1:48 - 1:52
    เมื่อสโควิลแจ้งผู้เชี่ยวชาญอีกคน
    ไวเดอร์ เพนฟิล (wilder Penfield) ถึงผลลัพธ์
  • 1:52 - 1:58
    เขาส่งนักเรียนปริญญาเอก ชื่อ แบนดา มิลเนอร์
    (Brenda Milner) ให้ศึกษาเอช เอ็ม ที่บ้านพ่อแม่เขา
  • 1:58 - 2:00
    สถานที่ซึ่งเขาใช้ชีวิตทำอะไรน่าเบื่อซ้ำซาก
  • 2:00 - 2:05
    และดูหนังเก่าๆ เป็นครั้งแรก
    ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 2:05 - 2:07
    สิ่งที่เธอค้นพบจากการทดสอบและสัมภาษณ์
  • 2:07 - 2:11
    ไม่ได้แค่มีส่วนส่งเสริมการศึกษา
    ในเรื่องเกี่ยวกับความทรงจำอย่างมาก
  • 2:11 - 2:14
    แต่มันยังให้นิยามใหม่กับความทรงจำด้วย
  • 2:14 - 2:17
    หนึ่งในสิ่งที่มิลเนอร์พบ ได้ให้ความกระจ่าง
    กับความจริงหนึ่ง
  • 2:17 - 2:22
    คือแม้ว่า เอช เอ็ม จะไม่สามารถ
    สร้างความทรงจำใหม่ได้ เขาก็ยังคงข้อมูล
  • 2:22 - 2:26
    นานพอจากวินาทีหนึ่งถึงอีกวินาทีหนึ่ง
    เพื่อที่จะพูดจบประโยค หรือหาห้องน้ำเจอ
  • 2:26 - 2:28
    เมื่อมิลเนอร์ให้เลขเขาอย่างสุ่ม
  • 2:28 - 2:31
    เขาจำมันได้เป็นเวลา 15 นาที
  • 2:31 - 2:33
    โดยพูดกับตัวเขาเองอย่างต่อเนื่อง
  • 2:33 - 2:38
    แต่แค่ห้านาทีถัดมา
    เขาลืมด้วยซ้ำว่ามีการทดสอบนี้
  • 2:38 - 2:42
    นักประสาทวิทยาเคยคิดว่าความทรงจำ
    มีโครงสร้างขนาดใหญ่เสมอกัน
  • 2:42 - 2:46
    ทั้งหมดเหมือนๆ กัน และถูกเก็บไว้
    ทั่วทั้งสมอง
  • 2:46 - 2:50
    ผลลัพธ์ของมิลเนอร์ไม่ได้เป็นแค่เบาะแสแรก
    สำหรับความเด่นชัดที่เราคุ้นเคย
  • 2:50 - 2:53
    ระหว่างความทรงจำระยะสั้น และระยะยาว
  • 2:53 - 2:56
    แต่แสดงว่าแต่ละหน้าที่ใช้สมองคนละส่วนกัน
  • 2:56 - 2:59
    ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการสร้างความทรงจำ
    เกี่ยวข้องกับสองสามขั้นตอน
  • 2:59 - 3:05
    หลังจากข้อมูลที่รับสัมผัสมาหมาดๆ ถูกแปลความ
    โดยเซลล์ประสาทในคอร์เท็ก
  • 3:05 - 3:07
    มันได้เดินทางไปสู่ฮิปโปแคมปัส
  • 3:07 - 3:12
    ที่ซึ่งโปรตีนชนิดพิเศษทำงาน
    เพิ่มการเชื่อมต่อของคอร์ติคอล ไซแนปติก
  • 3:12 - 3:14
    ถ้าประสบการณ์นั้นมีความสำคัญพอ
  • 3:14 - 3:17
    หรือเรานึกขึ้นมาเป็นระยะ ในช่วงวันแรกๆ
  • 3:17 - 3:22
    ฮิปโปแคมปัสจะส่งต่อความทรงจำกลับไปยังคอร์เท็ก
    สำหรับการจัดเก็บอย่างถาวร
  • 3:22 - 3:25
    สมองของ เอช.เอ็ม. สามารถก่อสร้างความจำขึ้นได้
  • 3:25 - 3:29
    แต่เมื่อปราศจากฮิปโปแคมปัส
    ที่จะทำการรวบรวมความทรงจำ
  • 3:29 - 3:33
    พวกมันกร่อนสลาย
    เหมือนกับร่องรอยบนผืนทราย
  • 3:33 - 3:37
    แต่นี่ไม่ใช่แค่การทำลายความทรงจำอย่างเดียว
    ที่มิลเนอร์พบ
  • 3:37 - 3:41
    ในการทดลองที่เป็นที่รู้จักกันดีในตอนนี้
    เธอได้ขอให้ เอช. เอ็ม วาดดาวดวงที่สาม
  • 3:41 - 3:46
    ในช่องว่างแคบๆ ระหว่างเส้นขอบสองเส้น
    ให้ดาวดวงที่สามอยู่ตรงกลาง
  • 3:46 - 3:49
    โดยเขาสามารถมองกระดาษและดินสอได้
    ผ่านกระจกเท่านั้น
  • 3:49 - 3:52
    เหมือนกับคนอื่นๆ เขาวาดอย่างงุ่นง่านในหนแรก
  • 3:52 - 3:54
    เขาทำได้แย่มาก
  • 3:54 - 3:58
    แต่น่าประหลาดใจ เขาทำได้ดีขึ้นมาทำซ้ำ
  • 3:58 - 4:01
    แม้ว่าเขาจะไม่มีความทรงจำ
    เกี่ยวกับความพยายามในครั้งก่อน
  • 4:01 - 4:07
    ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจของเขา
    จดจำสิ่งที่สมองที่ต้องใช้สติจำไม่ได้
  • 4:07 - 4:12
    สิ่งที่มิลเนอร์ได้ค้นพบคือ
    ความทรงจำเชิงประกาศของชื่อ วันที่ และข้อเท็จจริง
  • 4:12 - 4:17
    แตกต่างจากควาทรงจำที่เกี่ยวกับการพินิจพิเคราะห์
    ของการขี่จักรยาน หรือเซ็นต์ชื่อ
  • 4:17 - 4:20
    และตอนนี้เราก็ได้รู้ว่า ความทรงจำที่เกี่ยวกับการพินิจพิเคราะห์นี้
  • 4:20 - 4:23
    พึ่งพามากกว่าปมประสาทพื้นฐาน และซีรีเบลลัม
  • 4:23 - 4:26
    ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยังอยู่ในสมองของ เอช. เอ็ม.
  • 4:26 - 4:30
    ความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง "รู้ว่าคืออะไร"
    และ "รู้ว่าคืออย่างไร"
  • 4:30 - 4:33
    ได้สนับสนุนงานวิจัยทั้งหมดเกี่ยวกับความทรงจำ
    ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
  • 4:33 - 4:38
    เอช. เอ็ม. เสียชีวิตด้วยวัย 82
    หลังจากใช้ชีวิตอย่างสงบที่สถานที่ดูแลผู้ป่วย
  • 4:38 - 4:43
    ตลอดหลายปี เขาถูกทดสอบ
    โดยนักประสาทวิทยากว่า 100 คน
  • 4:43 - 4:46
    ทำให้สมองของเขา
    ถูกศึกษามากที่สุดในประวัติศาสตร์
  • 4:46 - 4:49
    ในตอนที่เขาเสียชีวิต สมองของเขาถูกเก็บรักษา
    และทำการสแกนด์
  • 4:49 - 4:52
    ก่อนที่จะตัดออกเป็น 2,000 ชิ้น
  • 4:52 - 4:58
    และถ่ายภาพเพื่อทำเป็นแผนที่ดิจิตัล
    ลึงลงไปถึงระดับเซลล์ประสาท
  • 4:58 - 5:02
    ทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดสด
    ซึ่งถูกชมโดยคน 400,000 คน
  • 5:02 - 5:05
    แม้ว่า เอช เอ็ม จะใช้ชีวิต
    ไปกับการหลงๆ ลืมๆ
  • 5:05 - 5:08
    เขาและสิ่งที่เขาให้ไว้กับเรา
    คือความเข้าใจเรื่องความทรงจำ
  • 5:08 - 5:10
    ทียังจะเป็นที่จดจำไปอีกหลายชั่วอายุคน
Title:
เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเอาฮิปโปแคมปัสออกไป - แซม คีน (Sam Kean)
Speaker:
Sam Kean
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-happens-when-you-remove-the-hippocampus-sam-kean

เมื่อ เฮนรี่ โมเลียสัน (ตอนนี้รู้จักกันดีในนาม เอช. เอ็ม. ) เกิดอุบัติเหตุกระโหลกร้าว เขามักจะหน้ามืดและมีอาการลมชัก เพื่อที่จะรักษาอาการของเขา นักผ่าตัดท้ามฤตยู ดร. วิลเลียม สโควิล เอาฮิปโปแคมปัสของ เอช. เอ็ม. ออกไป โชคดีที่อาการลมชักนั้นหายไป แต่ทว่าความทรงจำระยะยาวของเขาก็หายไปด้วย แซม คีน พาเราเดินสู่แฟ้มทางการแพทย์ที่น่าประหลาด ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่กอย่างที่เอช.เอ็ม. สอนเราเกี่ยวกับสมองและความทรงจำ

บทเรียนโดย Sam Kean, แอนิเมชั่นโดย Anton Bogaty

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:26

Thai subtitles

Revisions