Return to Video

วาฬร้องเพลงอย่างไร - สเตฟานี ซาร์ดีลิส (Stephanie Sardelis)

  • 0:08 - 0:11
    การสื่อสารใต้น้ำมีความท้าทาย
  • 0:11 - 0:17
    แสงและกลิ่นเดินทางได้ไม่ดีนัก
    สัตว์น้ำจริงมองเห็นและดมกลิ่นได้ลำบาก
  • 0:17 - 0:22
    แต่เสียงเคลื่อนที่ในน้ำที่ได้เร็วกว่าในอากาศถึงสี่เท่า
  • 0:22 - 0:23
    ฉะนั้น ในสิ่งแวดล้อมที่มืดมิด
  • 0:23 - 0:28
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล
    จึงมักพึ่งพาใช้เสียงในการสื่อสารกัน
  • 0:28 - 0:32
    นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม
    จึงมีเสียงประสานกันมากมายในมหาสมุทร
  • 0:32 - 0:33
    เสียงคลิ๊ก
  • 0:33 - 0:34
    เสียงเต้นตุบ ๆ เป็นจังหวะ
  • 0:34 - 0:35
    เสียงกระซิบ
  • 0:35 - 0:35
    เสียงคราง
  • 0:35 - 0:36
    เสียงดีดเด้ง
  • 0:36 - 0:37
    เสียงร้อง
  • 0:37 - 0:40
    และเสียงสั่นเป็นระลอก เป็นต้น
  • 0:40 - 0:42
    แต่ส่วนที่โด่งดังที่สุดของวงมโหรีใต้น้ำนี้
  • 0:42 - 0:48
    คือท่วงทำนองที่สื่อภาพ หรือเพลงที่ถูกประพันธ์
    โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
  • 0:48 - 0:51
    วาฬ
  • 0:51 - 0:55
    เพลงของวาฬคือหนึ่งในระบบการสื่อสาร
    ที่ซับซ้อนมากที่สุด
  • 0:55 - 0:56
    ในอาณาจักรสัตว์
  • 0:56 - 0:59
    มีเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น
    ที่เรารู้ว่าสามารถร้องเพลงได้
  • 0:59 - 1:00
    วาฬสีน้ำเงิน
  • 1:00 - 1:01
    วาฬฟิน
  • 1:01 - 1:02
    วาฬโบวเฮด
  • 1:02 - 1:03
    วาฬมินค์
  • 1:03 - 1:06
    และแน่นอน วาฬหลังค่อม
  • 1:06 - 1:08
    ทั้งหมดนี้คือวาฬเบลีน
  • 1:08 - 1:13
    ซึ่งใช้แผงคล้ายซี่หวีแทนฟัน
    ในการดักจับเหยื่อของมัน
  • 1:13 - 1:16
    ในขณะเดียวกัน วาฬที่มีฟัน
    ใช้เอโคโลเคชัน
  • 1:16 - 1:19
    และพวกมันและสายพันธุ์อื่น ๆ ของวาฬเบลีน
  • 1:19 - 1:24
    ก็สร้างเสียงทางสังคม เช่น
    เสียงร้องและเสียงหวีด ในการสื่อสาร
  • 1:24 - 1:28
    แต่การทำเสียงเหล่านั้น
    ขาดความซับซ้อนของเพลง
  • 1:28 - 1:30
    แล้วพวกมันทำอย่างไรล่ะ
  • 1:30 - 1:35
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกอย่างพวกเรา
    สร้างเสียงโดยการเคลื่อนอากาศบนเส้นเสียง
  • 1:35 - 1:38
    เมื่อเราหายใจออกทำให้เส้นเสียงเกิดการสั่น
  • 1:38 - 1:42
    วาฬเบลีนมีเนื้อเยื่อโค้งเป็นรูปตัวยู
    ระหว่างปอดของมัน
  • 1:42 - 1:47
    และอวัยวะขนาดที่พองได้
    ที่เรียกว่า ถุงกล่องเสียง
  • 1:47 - 1:50
    เราไม่รู้แน่ชัด
  • 1:50 - 1:53
    เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะสำรวจ
    อวัยวะภายในนี้
  • 1:53 - 1:55
    ขณะที่วาฬที่มีชีวิตอยู่ร้องเพลง
  • 1:55 - 1:57
    แต่เราคาดว่าเมื่อวาฬร้องเพลง
  • 1:57 - 2:00
    การหดตัวของกล้ามเนื้อในลำคอและอก
  • 2:00 - 2:06
    เคลื่อนอากาศจากปอดไปตามโค้งรูปตัวยู
    และเข้าไปยังถุงกล่องเสียง
  • 2:06 - 2:08
    ทำให้โค้งตัวยูนั้นสั่น
  • 2:08 - 2:14
    การสั่นพ้องเสียงในถุงที่ออกมานั้น
    เหมือนกับเสียงของคณะนักร้องในโบสถ์
  • 2:14 - 2:19
    ทำให้เสียงดังพอที่จะแผ่ออกไป
    มากถึงหลายพันกิโลเมตร
  • 2:19 - 2:22
    เมื่อวาฬไม่ต้องหายใจออกเพื่อที่จะร้องเพลง
  • 2:22 - 2:25
    อากาศถูกถึงกลับเข้ามาในปอดอีกครั้งแทน
  • 2:25 - 2:28
    เพื่อสร้างเสียงอีกครั้ง
  • 2:28 - 2:32
    เหตุผลหนึ่งที่เพลงของวาฬเป็นที่น่าหลงใหล
    ก็คือคือรูปแบบของมัน
  • 2:32 - 2:37
    เสียงต่าง ๆ เช่นการครวญ การร้อง
    และการส่งเสียงจ๊อกแจ๊กผสานกันเป็นวลี
  • 2:37 - 2:40
    วลีที่ถูกใช้ซ้ำ ๆ
    ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นเพลงหลัก
  • 2:40 - 2:45
    เพลงหลักหลาย ๆ ท่อนที่ถูกทำซ้ำ ๆ
    ในรูปแบบที่คาดเดาได้กลายเป็นเพลง
  • 2:45 - 2:47
    โครงสร้างเชิงลำดับนี้
    เป็นไวยากรณ์อย่างหนึ่ง
  • 2:47 - 2:51
    เพลงของวาฬมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันมาก
  • 2:51 - 2:54
    และวาฬสามารถทำมันซ้ำ ๆ
    ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 2:54 - 3:00
    ในช่วงการบันทึกหนึ่ง
    วาฬหลังค่อมร้องเพลงนาน 22 ชั่วโมง
  • 3:00 - 3:02
    แล้วมันทำอย่างนั้นทำไม
  • 3:02 - 3:05
    เรายังไม่รู้ว่าจุดประสงค์จริง ๆ แล้วคืออะไร
    แต่เราสามารถคาดเดาได้
  • 3:05 - 3:09
    เนื่องจากตัวผู้เป็นผู้ร้อง
    และพวกมันมักร้องในฤดูผสมพันธ์ุ
  • 3:09 - 3:12
    เพลงอาจมีไว้เพื่อดึงความสนใจของตัวเมีย
  • 3:12 - 3:17
    หรือบางที พวกมันอาจถูกใช้ไล่ตัวผู้อื่น ๆ
    ที่เข้ามาในเขตแดน
  • 3:17 - 3:21
    วาฬกลับมายังแหล่งอาหาร
    และแหล่งผสมพันธุ์เดิมทุก ๆ ปี
  • 3:21 - 3:25
    และแต่ละกลุ่มประชากรก็มีเพลงที่แตกต่างกัน
  • 3:25 - 3:31
    เพลงมีวิวัฒนาการตามกาลเวลา ในขณะที่
    เสียงหรือวลีถูกเติม เปลี่ยน หรือละทิ้งไป
  • 3:31 - 3:35
    และเมื่อตัวผู้จากกลุ่มประชากรอื่น
    กำลังหากินอยู่ในระยะที่ได้ยินกัน
  • 3:35 - 3:37
    วลีเหล่านั้นมักได้รับการแลกเปลี่ยน
  • 3:37 - 3:42
    บางที เพราะว่าเพลงใหม่ทำให้พวกมัน
    น่าดึงดูดต่อตัวเมียมากกว่าเดิม
  • 3:42 - 3:46
    นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของ
    การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่รวดเร็ว
  • 3:46 - 3:49
    ซึ่งพฤติกรรมที่เรียนรู้ได้นี้ถูกส่งผ่าน
    ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งสองที่ไม่มีความสัมพันกัน
  • 3:49 - 3:52
    ในสายพันธุ์เดียวกัน
  • 3:52 - 3:55
    เราสามารถแอบฟังเพลงเหล่านี้
    โดยใช้ไมโครโฟนใต้น้ำ
  • 3:55 - 3:56
    ที่เรียกว่า ไฮโดรโฟน
  • 3:56 - 4:02
    มันช่วยให้เราติดตามพวกมันได้ เมื่อ
    การสังเกตหรือตัวอย่างทางพันธุกรรมหาได้ยาก
  • 4:02 - 4:05
    ยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกแยะ
  • 4:05 - 4:10
    ฝูงวาฬสีน้ำเงินทั่วโลกที่หาตัวจับยาก
    โดยพึ่งเสียงเพลงของพวกมัน
  • 4:10 - 4:15
    แต่มหาสมุทรกำลังหนวกหูมากขึ้นเรื่อย ๆ
    อันเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์
  • 4:15 - 4:16
    การเดินเรือ
  • 4:16 - 4:17
    โซนาร์ทางทหาร
  • 4:17 - 4:18
    การก่อสร้างใต้น้ำ
  • 4:18 - 4:22
    และการสำรวจอันอึกทึกเพื่อหาน้ำมัน
    ก็เกิดขึ้นบ่อยขึ้น
  • 4:22 - 4:25
    ซึ่งอาจรบกวนกับการสื่อสารของวาฬ
  • 4:25 - 4:29
    วาฬบางตัวจะหลีกเลี่ยง
    แหล่งหากินและผสมพันธุ์
  • 4:29 - 4:31
    ถ้ามนุษย์ส่งเสียงดังเกินไป
  • 4:31 - 4:35
    พบว่าวาฬหลังค่อมร้องเพลงน้อยลง
  • 4:35 - 4:39
    อันเนื่องมาจาก
    เสียงที่ห่างออกไป 200 กิโลเมตร
  • 4:39 - 4:42
    การจำกัดกิจกรรมของมนุษย์
    ตลอดแนวอพยพของวาฬ
  • 4:42 - 4:44
    และในแหล่งอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อมัน
  • 4:44 - 4:46
    และการลดมลภาวะทางเสียง
    ทั่วทั้งมหาสมุทร
  • 4:46 - 4:50
    จะช่วยทำให้เรามั่นใจได้ว่า
    วาฬจะยังมีชีวิตรอดต่อไป
  • 4:50 - 4:53
    ถ้าวาฬยังสามารถร้องเพลงได้
    พวกเราก็ยังสามารถฟังมันต่อไปได้
  • 4:53 - 4:57
    บางที สักวันหนึ่งเราจะเข้าใจอย่างถ่องแท้
    ว่าพวกมันคุยอะไรกัน
Title:
วาฬร้องเพลงอย่างไร - สเตฟานี ซาร์ดีลิส (Stephanie Sardelis)
Speaker:
Stephanie Sardelis
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-whales-sing-stephanie-sardelis

การสื่อสารใต้น้ำมีความท้าทาย แสงและกลิ่นเดินทางได้ไม่ดีนัก แต่เสียงเคลื่อนที่ในน้ำที่ได้เร็วกว่าในอากาศถึงสี่เท่า ซึ่งหมายความว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลมักจะใช้เสียงในการสื่อสารกัน เสียงใต้น้ำที่เป็นที่โด่งดังที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยเลยก็คือเพลงของวาฬ สเตฟานี ซาร์ดีลิส ถอดรหัสท่วงทำนองที่สื่อภาพที่ถูกประพันธ์โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

บทเรียนโดย Stephanie Sardelis, แอนิเมชันโดย Boniato Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:13

Thai subtitles

Revisions Compare revisions