Return to Video

ความเบื่อหน่าย: หนทางสู่ความคิดสุดล้ำ

  • 0:01 - 0:05
    ลูกชายของฉันกับไอโฟน
    เกิดห่างกันสามสัปดาห์
  • 0:05 - 0:07
    ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007
  • 0:08 - 0:11
    ดังนั้น ในขณะคนที่เห่อซื้อไอโฟนรุ่นแรก
    ต่างต่อแถวกรูกันอยู่ด้านนอก
  • 0:11 - 0:14
    รอคอยที่จะได้สัมผัสอุปกรณ์ใหม่
    อันเยี่ยมยอดนี้
  • 0:14 - 0:18
    ฉันกลับติดแหง็กอยู่ที่บ้าน
    โดยที่มือของฉันวุ่นอยู่กับอะไรอย่างอื่น
  • 0:18 - 0:20
    ที่ส่งเสียงเตือนอยู่ตลอดเวลา
  • 0:20 - 0:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:22 - 0:25
    ทารกน้อยผู้ทุกข์ทรมานจากอาการโคลิก
  • 0:25 - 0:30
    ผู้ที่จะหลับได้ต่อเมื่ออยู่ในรถเข็น
    ในสภาวะที่ไร้เสียงเท่านั้น
  • 0:30 - 0:33
    ฉันต้องเดินถึง 10 ถึง 15 ไมล์
    ในแต่ละวัน
  • 0:33 - 0:35
    และน้ำหนักของเขา
    ก็ออกมาตามคาด
  • 0:35 - 0:37
    ซึ่งยอดเยี่ยมเลยล่ะ
  • 0:37 - 0:39
    แต่ให้ตาย คิดว่าฉันไม่เบื่อหรือไง
  • 0:39 - 0:42
    ก่อนที่จะมาเป็นแม่คน
    ฉันเป็นนักข่าวมาก่อน
  • 0:42 - 0:44
    คนที่รีบออกไปตอนที่เครื่องบินคองคอร์ดตก
  • 0:44 - 0:47
    ฉันเป็นหนึ่งในบรรดาคนแรก ๆ
    ที่เข้าไปในเมืองเบลเกรด
  • 0:47 - 0:49
    ตอนที่ประเทศเซอร์เบียมีการปฏิวัติ
  • 0:49 - 0:52
    มาถึงตอนนี้ ฉันกลับสิ้นไร้เรี่ยวแรง
  • 0:52 - 0:55
    การเดินนั้นกินเวลานานหลายสัปดาห์
  • 0:55 - 1:01
    จนกระทั่งประมาณสามเดือนต่อมา
    ที่บางสิ่งเปลี่ยนไป
  • 1:01 - 1:03
    ในขณะที่ฉันเดินย่ำทางเท้าอยู่นั้น
  • 1:03 - 1:06
    ความคิดของฉันก็เริ่มล่องลอยไปด้วย
  • 1:06 - 1:10
    และฉันก็เริ่มจินตนาการว่าฉันจะทำอะไร
    เมื่อฉันได้กลับมานอนหลับเต็มอิ่มอีกครั้ง
  • 1:10 - 1:12
    สุดท้ายอาการโคลิกก็หายไป
  • 1:12 - 1:15
    และฉันก็ได้ไอโฟนมาเครื่องหนึ่ง
  • 1:15 - 1:18
    แล้วฉันก็ใช้เวลาในโมงยามเหล่านั้น
    ระหกระเหินเข้าไปสู่การลงมือทำ
  • 1:18 - 1:22
    ฉันสร้างงานในฝันของฉันขึ้นมา
    ซึ่งก็คือการจัดรายการวิทยุสาธารณะ
  • 1:22 - 1:24
    ดังนั้น จึงไม่มีการลงพื้นที่
    ไปตามเขตสงครามอีกต่อไป
  • 1:24 - 1:26
    แต่ต้องขอบคุณสมาร์ทโฟนของฉัน
  • 1:26 - 1:28
    ที่ทำให้ฉันได้เป็นทั้งแม่คน
    และนักข่าว
  • 1:28 - 1:33
    ฉันสามารถอยู่ที่สนามเด็กเล่น
    แล้วเล่นทวิตเตอร์ได้ในคราวเดียวกัน
  • 1:34 - 1:35
    และแน่นอน เมื่อฉันนึกถึงเรื่องนั้น
  • 1:35 - 1:38
    ในตอนที่เทคโนโลยีมาถึงและเริ่มยึดครอง
  • 1:38 - 1:40
    ตอนนั้นเองคือตอนที่ฉันถึงจุดอิ่มตัว
  • 1:40 - 1:43
    ดังนั้น ฉันอยากให้พวกคุณลองนึกภาพดู
  • 1:43 - 1:45
    คุณจัดรายการพอดแคสต์
    และคุณต้องพิสูจน์ให้ได้
  • 1:45 - 1:48
    ว่าการลงทุนด้วยเม็ดเงินดอลลาร์
    ในรายการวิทยุสาธารณะทรงคุณค่าของคุณ
  • 1:48 - 1:49
    นั้นคุ้มค่า
  • 1:50 - 1:54
    เป้าหมายของฉันคือการเพิ่ม
    จำนวนผู้ฟังสิบเท่า
  • 1:54 - 1:56
    ดังนั้น ในวันหนึ่ง ฉันจึงนั่งระดมสมอง
  • 1:56 - 1:58
    ในแบบที่คุณมักทำ
  • 1:58 - 2:00
    และฉันก็คิดอะไรใหม่ ๆ ไม่ได้เลย
  • 2:00 - 2:02
    และมันก็ไม่เหมือนกับ
    การเขียนงานไม่ออกด้วยสิ
  • 2:02 - 2:05
    มันไม่ใช่ว่ามีอะไรบางอย่างรอคอย
    อยู่ตรงนั้นให้คุณขุดพบ
  • 2:05 - 2:06
    มันไม่มีอะไรอยู่เลย
  • 2:06 - 2:08
    ดังนั้น ฉันจึงเริ่มคิดย้อนกลับไป
  • 2:08 - 2:11
    ว่าฉันมีความคิดดี ๆ
    จริง ๆ ล่าสุดเมื่อไรล่ะ
  • 2:11 - 2:13
    ใช่แล้ว มันคือตอนที่ฉันกำลัง
    เข็นรถเข็นบ้านั่นอยู่ยังไงล่ะ
  • 2:14 - 2:17
    ในตอนนี้ ช่วงเวลาว่าง ๆ ในแต่ละวัน
    ถูกเติมเต็มไปด้วยโทรศัพท์
  • 2:17 - 2:21
    ฉันนั่งอ่านหัวข่าวตอนที่นั่งรอกาแฟลาตเท
  • 2:21 - 2:25
    ฉันอัปเดตปฏิทินของฉัน
    ในตอนที่ฉันนั่งอยู่บนโซฟา
  • 2:25 - 2:28
    การส่งข้อความเปลี่ยนช่วงเวลา
    ที่เหลือว่างทั้งหมด
  • 2:28 - 2:31
    ให้เป็นโอกาสในการแสดงให้
    เพื่อนร่วมงานและสามีสุดที่รักของฉัน
  • 2:31 - 2:33
    ว่าฉันเป็นคนที่ฉับไวแค่ไหน
  • 2:34 - 2:36
    หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นโอกาส
    ตามหาโซฟาสมบูรณ์แบบอันใหม่
  • 2:36 - 2:38
    สำหรับเพจของฉันบนพินเทอเรสต์
  • 2:39 - 2:42
    จู่ ๆ ฉันก็รู้ตัวขึ้นมา
    ว่าฉันไม่รู้สึกเบื่ออีกเลย
  • 2:42 - 2:45
    ว่าแต่ว่า ไม่ใช่คนน่าเบื่อ
    เท่านั้นที่รู้สึกเบื่อหรอกหรอ
  • 2:45 - 2:47
    แต่จากนั้นฉันก็เริ่มสงสัย
  • 2:47 - 2:49
    ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา
    กันแน่เวลาที่เราเบื่อ
  • 2:49 - 2:53
    หรือที่สำคัญกว่านั้น คือจะมีอะไรเกิดขึ้น
    กับเราหากเราไม่เคยรู้สึกเบื่อเลย
  • 2:53 - 2:58
    แล้วอะไรจะเกิดขึ้นหากเราสามารถกำจัด
    อารมณ์นี้ของมนุษย์ออกไปให้สิ้นซากได้
  • 2:58 - 3:02
    ฉันเริ่มพูดคุยกับนักประสาทวิทยา
    และนักจิตวิทยาการรู้คิดหลายคน
  • 3:02 - 3:05
    และสิ่งที่พวกเขาบอกก็
    น่าตื่นตาตื่นใจอย่างมาก
  • 3:05 - 3:07
    ผลปรากฏว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณเบื่อ
  • 3:07 - 3:11
    คุณจะจุดประกายโครงข่ายในสมองของคุณ
    ที่เรียกว่า "ดีฟอลต์โหมด"
  • 3:11 - 3:16
    ดังนั้น ร่างกายของเราจะทำอะไร
    อัตโนมัติในตอนที่เราพับผ้า
  • 3:16 - 3:17
    หรือเดินไปทำงาน
  • 3:17 - 3:20
    แต่จริง ๆ แล้วตอนนั้นคือช่วงเวลาที่
    สมองของเรานั้นยุ่งเหยิงจริง ๆ
  • 3:20 - 3:23
    นี่คือนักวิจัยด้านความเบื่อหน่าย
    ดร.แซนดี แมนน์
  • 3:24 - 3:27
    (เสียงบันทึก) ดร.แซนดี แมนน์
    เมื่อคุณเริ่มฝันกลางวัน
  • 3:27 - 3:28
    และปล่อยให้ความคิดของคุณล่องลอยไป
  • 3:28 - 3:31
    คุณจะเริ่มคิดออกห่างจากจิตสำนึก
  • 3:31 - 3:33
    แล้วดำดิ่งเข้าไปยังจิตใต้สำนึก
  • 3:33 - 3:36
    ที่ทำให้การเชื่อมโยงต่าง ๆ เกิดขึ้นได้
  • 3:36 - 3:37
    จริง ๆ แล้วมันยอดเลยทีเดียว
  • 3:38 - 3:40
    มานอช โซโมโรดี: ยอดสุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ
  • 3:40 - 3:42
    และนี่ก็คือสมองของฉัน
    ในเครื่องสแกนสมอง (fMRI)
  • 3:42 - 3:46
    และฉันก็ได้รู้ว่าดีฟอลต์โหมด คือช่วงเวลา
    ที่เราเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าถึงกัน
  • 3:46 - 3:49
    เราแก้ปัญหาบางอย่างที่ก่อกวน
    ใจเรามาเป็นเวลานาน
  • 3:49 - 3:52
    และเราก็ทำบางสิ่งที่เรียกว่า
    "การตั้งเป้าหมายส่วนตัวในอนาคต"
  • 3:52 - 3:54
    มันคือเวลาที่เรามองชีวิตเราย้อนกลับไป
  • 3:54 - 3:57
    เราจดบันทึกช่วงเวลาที่สำคัญ ๆ
    เราสร้างเรื่องราวส่วนตัวขึ้นมา
  • 3:57 - 3:58
    แล้วเราก็ตั้งเป้าหมาย
  • 3:59 - 4:02
    และเราก็หาทางว่าเราจะต้อง
    ใช้วิธีไหนบ้างในการไปถึงเป้าหมายนั้น
  • 4:02 - 4:06
    แต่ในตอนนี้ เรานั่งเล่นอยู่บนโซฟา
    ไปพร้อม ๆ กับอัปเดตกูเกิลด็อก
  • 4:06 - 4:08
    หรือตอบกลับอีเมล์
  • 4:08 - 4:11
    เราเรียกมันว่าการ "ทำให้มันเสร็จ ๆ ไปซะ"
  • 4:11 - 4:14
    แต่นี่คือสิ่งที่นักประสาทวิทยา
    ดร.แดเนียล เลวิทิน บอก
  • 4:14 - 4:15
    ว่าจริง ๆ เรากำลังทำอะไร
  • 4:16 - 4:19
    (เสียงบันทึก) ดร.แดเนียล เลวิทิน:
    ในทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนความสนใจ
  • 4:19 - 4:20
    จากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่ง
  • 4:20 - 4:23
    สมองจะต้องทำการสับสวิตช์
    สารเคมีในสมองของคุณ
  • 4:23 - 4:26
    ซึ่งต้องอาศัยสารอาหารทั้งหมด
    ในสมองของเราเพื่อทำแบบนั้น
  • 4:26 - 4:29
    ดังนั้นถ้าคุณกำลังพยายาม
    ทำหลายอย่างในคราวเดียวกัน
  • 4:29 - 4:31
    แบบว่า ทำสี่ห้าอย่างพร้อมกัน
  • 4:31 - 4:33
    จริง ๆ แล้วคุณไม่ได้กำลังทำ
    สี่ห้าอย่างนั้นพร้อม ๆ กัน
  • 4:33 - 4:35
    เพราะว่าสมองของเราไม่ได้ทำงานแบบนั้น
  • 4:35 - 4:38
    ตรงกันข้าม คุณกำลังเปลี่ยนความสนใจ
    จากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งอย่างรวดเร็ว
  • 4:38 - 4:40
    และใช้ทรัพยากรทางประสาท
    ไปเรื่อย ๆ ในตอนที่คุณทำ
  • 4:40 - 4:44
    (เสียงบันทึก) มซ: เท่ากับพอเราเปลี่ยนไป
    เปลี่ยนมา เราก็ใช้กลูโคสไปเรื่อย ๆ สินะคะ
  • 4:44 - 4:47
    (เสียงบันทึก) ดล: ถูกเผ็งเลยครับ
    และเราก็มีกลูโคสอยู่จำกัดเสียด้วย
  • 4:48 - 4:50
    มซ: เมื่อสิบปีที่แล้ว เราเปลี่ยนความสนใจ
    เวลาอยู่ที่ทำงาน
  • 4:50 - 4:51
    ทุก ๆ สามนาที
  • 4:51 - 4:54
    ในตอนนี้ เราทำแบบนั้นทุก ๆ 45 วินาที
  • 4:54 - 4:56
    และเราก็ทำแบบนั้นทั้งวัน
  • 4:56 - 4:59
    โดยเฉลี่ยแล้วคนหนึ่งคนจะ
    เช็กอีเมล์ 74 ครั้งต่อวัน
  • 4:59 - 5:02
    และเปลี่ยนงานไปมาเวลาใช้คอมพิวเตอร์
  • 5:02 - 5:06
    566 ครั้งต่อวัน
  • 5:06 - 5:09
    ฉันรู้เรื่องทั้งหมดนี้ จากการได้พูดคุยกับ
    ศาสตราจารย์ด้านสนเทศศาสตร์ท่านหนึ่ง
  • 5:09 - 5:11
    ดร.กลอเรีย มาร์ก
  • 5:11 - 5:15
    (เสียงบันทึก) ดร.กลอเรีย มาร์ก:
    เราพบว่าเมื่อคนเรารู้สึกเครียด
  • 5:15 - 5:18
    พวกเขามักจะเปลี่ยนความสนใจถี่มากขึ้น
  • 5:18 - 5:20
    เราพบด้วยว่า แปลกดีที่
  • 5:20 - 5:26
    ยิ่งเรานอนน้อยเท่าไร
  • 5:26 - 5:28
    เราก็จะยิ่งมีโอกาสเช็กเฟสบุ๊คมากเท่านั้น
  • 5:28 - 5:32
    ดังนั้น เราจึงอยู่ในวัฏจักร
    เลวร้ายที่ติดเป็นนิสัยนี้
  • 5:32 - 5:34
    มซ: ว่าแต่เราสามารถทำลายวัฏจักรนี้ได้ไหม
  • 5:34 - 5:38
    จะเป็นอย่างไรหากเราทำลาย
    วัฏจักรอันเลวร้ายนี้
  • 5:39 - 5:42
    บางที ผู้ฟังของฉันอาจช่วยฉัน
    หาคำตอบนี้ได้ก็ได้
  • 5:43 - 5:46
    จะเป็นอย่างไรหากเรานำช่วงเวลา
    ว่าง ๆ ในแต่ละวันของเรากลับมา
  • 5:47 - 5:50
    มันจะช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์
    มากขึ้นไหม
  • 5:51 - 5:55
    เราเรียกโครงการนี้ว่า
    "ความเบื่อกับความฉลาด"
  • 5:56 - 5:59
    และตอนนั้นฉันก็คาดไว้ว่า
    จะมีคนแค่สองสามร้อยคนสนใจ
  • 5:59 - 6:02
    แต่ปรากฏว่ามีคนนับพันเข้าร่วม
  • 6:02 - 6:05
    และพวกเขาก็บอกฉันว่า
    พวกเขาทำแบบนั้น
  • 6:05 - 6:08
    เพราะว่าพวกเขากังวลว่า ความสัมพันธ์
    ของพวกเขากับโทรศัพท์มือถือ
  • 6:08 - 6:12
    ได้เริ่มกลายเป็นแบบ "พึ่งพากัน"
    เราอาจจะพูดแบบนั้นก็ได้
  • 6:12 - 6:16
    (เสียงบันทึก) ผู้ชาย: ความสัมพันธ์
    ระหว่างเด็กทารกกับตุ๊กตาหมี
  • 6:16 - 6:18
    หรือเด็กทารกกับจุกหลอก
  • 6:18 - 6:21
    หรือเด็กทารกที่ต้องการให้แม่อุ้ม
  • 6:21 - 6:24
    เวลาที่เบื่อกับการให้คนแปลกหน้าอุ้มแล้ว
  • 6:24 - 6:25
    (หัวเราะ)
  • 6:25 - 6:28
    นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างผม
    กับโทรศัพท์ของผม
  • 6:28 - 6:31
    (เสียงบันทึก) ผู้หญิง: ฉันมองโทรศัพท์
    มือถือเป็นเหมือนเครื่องมือกล
  • 6:31 - 6:35
    มีประโยชน์อย่างมาก แต่อันตราย
    หากฉันใช้มันผิดวิธี
  • 6:35 - 6:37
    (เสียงบันทึก) ผู้หญิง 2: ถ้าฉัน
    ไม่เพ่งความสนใจมาก ๆ
  • 6:37 - 6:40
    ฉันจะฉุกคิดขึ้นมาได้ทันทีว่า
    ฉันทิ้งเวลาไปเป็นชั่วโมง
  • 6:40 - 6:42
    ในการทำเรื่องไร้สาระสุด ๆ
  • 6:42 - 6:44
    มซ: โอเค แต่ถ้าเราต้องการวัด
    ว่ามีอะไรดีขึ้นบ้างไหม
  • 6:44 - 6:45
    เราต้องอาศัยข้อมูล ถูกไหมคะ
  • 6:45 - 6:48
    เพราะว่านั่นคือสิ่งที่เราทำในทุกวันนี้
  • 6:48 - 6:51
    ดังนั้น เราจึงร่วมกับแอปบางแอป
    ที่จะวัดว่าเราใช้เวลาไปกับมือถือของเรา
  • 6:51 - 6:53
    ไปมากเท่าไรในแต่ละวัน
  • 6:53 - 6:54
    และถ้าคุณคิดว่ามันย้อนแย้ง
  • 6:54 - 6:57
    ที่ฉันขอให้คนดาวน์โหลด
    แอปอีกแอปหนึ่ง
  • 6:57 - 6:59
    เพื่อให้พวกเขาใช้เวลากับโทรศัพท์น้อยลง
  • 6:59 - 7:01
    ก็นะ แต่ยังไงคุณก็ยังต้องไปหา
    ผู้คนในที่ที่พวกเขาอยู่อยู่ดี
  • 7:01 - 7:03
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:03 - 7:05
    ดังนั้น ก่อนถึงสัปดาห์แห่งการท้าทาย
  • 7:05 - 7:08
    เราใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง
    ต่อวันไปกับโทรศัพท์
  • 7:08 - 7:09
    และหยิบมันขึ้นมา 60 ครั้ง
  • 7:09 - 7:12
    แบบว่า อย่างการดูผ่าน ๆ
    เพื่อดูว่ามีอีเมล์ใหม่มาไหมน่ะ
  • 7:12 - 7:14
    นี่คือสิ่งที่ทีนา นักเรียนจาก
    มหาวิทยาลัยบาร์ด
  • 7:14 - 7:16
    ค้นพบเกี่ยวกับตัวเธอเอง
  • 7:17 - 7:19
    (เสียงบันทึก) ทีนา: ที่ผ่านมา ฉันใช้เวลา
  • 7:19 - 7:22
    ประมาณ 150 ถึง 200 นาที
    ไปกับโทรศัพท์ในแต่ละวัน
  • 7:22 - 7:26
    และฉันหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาประมาณ
    วันละ 70 ถึง 100 ครั้ง
  • 7:26 - 7:28
    และมันก็เป็นเรื่องน่ากังวลมาก
  • 7:28 - 7:31
    เพราะว่านั่นเป็นเวลามหาศาล
    ที่ฉันสามารถใช้
  • 7:31 - 7:34
    ไปกับการทำอะไรที่มีประโยชน์กว่า
    สร้างสรรค์กว่า เพื่อตัวเองมากกว่า
  • 7:34 - 7:37
    เพราะว่าเวลาที่ฉันเล่นโทรศัพท์
    ฉันไม่ได้ทำอะไรที่สลักสำคัญเลย
  • 7:37 - 7:41
    มซ: เช่นเดียวกับทีนา ผู้คนเริ่ม
    สังเกตพฤติกรรมของตัวเอง
  • 7:41 - 7:43
    พวกเขาพร้อมแล้วสำหรับ
    สัปดาห์แห่งการท้าทาย
  • 7:43 - 7:45
    และวันจันทร์นั้นเอง
  • 7:45 - 7:48
    พวกเขาก็ตื่นมาพบกับคำสั่ง
    ในกล่องขาเข้าของพวกเขา
  • 7:48 - 7:50
    การทดลองที่พวกเขาต้องลอง
  • 7:50 - 7:52
    วันที่หนึ่ง:
  • 7:52 - 7:53
    "ใส่มันลงไปในกระเป๋ากางเกง"
  • 7:53 - 7:56
    นำโทรศัพท์นั้นออกไปจากมือของคุณ
  • 7:56 - 7:59
    ดูซิว่าคุณสามารถกำจัดสัญชาติญาณ
    ที่ต้องเช็กโทรศัพท์ทั้งวันได้ไหม
  • 7:59 - 8:00
    แค่วันเดียวเท่านั้น
  • 8:00 - 8:02
    และถ้ามันฟังเหมือนง่าย
  • 8:02 - 8:03
    แสดงว่าคุณยังไม่ได้ลอง
  • 8:03 - 8:05
    นี่คือผู้ฟังอีกคน อมานดา อิตซ์โกะ
  • 8:05 - 8:09
    (เสียงบันทึก) อมานดา อิตซ์โกะ:
    ฉันกำลังอยู่ไม่สุข
  • 8:09 - 8:11
    ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองบ้าหน่อย ๆ
  • 8:11 - 8:16
    เพราะว่าฉันสังเกตว่า
    ฉันหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา
  • 8:16 - 8:20
    แม้แต่ตอนที่ฉันแค่เดินจาก
    ห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง
  • 8:20 - 8:21
    เวลาขึ้นลงลิฟต์
  • 8:21 - 8:25
    หรือแม้กระทั่ง และนี่คือสิ่งที่ฉัน
    รู้สึกอับอายมาก
  • 8:25 - 8:27
    ที่จะพูดมันออกมาดัง ๆ
  • 8:27 - 8:28
    เวลาที่ฉันอยู่ในรถ
  • 8:28 - 8:30
    มซ: หยึย
  • 8:30 - 8:31
    ก็นะ แต่ อมานดาก็ได้เรียนรู้ว่า
  • 8:31 - 8:35
    ความรู้สึกอยู่ไม่สุขที่เธอมีนั้น
    ไม่ใช่ความผิดของเธอแต่อย่างใด
  • 8:35 - 8:39
    มันคือพฤติกรรมที่เทคโนโลยีถูกสร้าง
    ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นโดยเฉพาะแค่นั้นเอง
  • 8:39 - 8:42
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:44 - 8:46
    แบบว่า ใช่ไหมล่ะ
  • 8:46 - 8:49
    นี่คืออดีตนักออกแบบของกูเกิล
    ทริสตัน แฮร์ริส
  • 8:49 - 8:53
    (เสียงบันทึก) ทริสตัน แฮรร์ริส ถ้าผมเป็น
    เฟสบุ๊ค หรือเน็ตฟลิกซ์ หรือสแนปแชต
  • 8:53 - 8:55
    ผมก็จะมีวิศวกรเป็นพันคน
  • 8:55 - 8:57
    ที่มีหน้าที่เรียกความสนใจจากคุณให้มากขึ้น
  • 8:57 - 8:59
    ผมถนัดเรื่องนี้มาก
  • 8:59 - 9:00
    และผมก็ไม่อยากให้คุณหยุดมัน
  • 9:00 - 9:03
    และคุณรู้ใช้ไหมว่า ซีอีโอเน็ตฟลิกซ์
    เพิ่งพูดไปหมาด ๆ ว่า
  • 9:03 - 9:06
    "คู่แข่งรายใหญ่ที่สุดของเราคือ
    เฟสบุ๊ค ยูทูป และการนอน"
  • 9:06 - 9:09
    ผมหมายถึง ในโลกนี้มีเป็นล้านอย่าง
    ที่คุณสามารถให้ความสนใจได้
  • 9:09 - 9:11
    แต่สงครามหนึ่งกำลังเกิดขึ้น
    เพื่อแย่งชิงสิ่งนั้น
  • 9:11 - 9:13
    มซ: แบบว่า คุณเข้าใจ
    ความรู้สึกใช่ไหมล่ะคะ
  • 9:13 - 9:15
    แบบเวลาที่ซีรีส์ "Transparent"
    สักตอนจบลงไป
  • 9:15 - 9:17
    แล้วอีกตอนหนึ่งก็เล่นต่อขึ้นมา
  • 9:17 - 9:20
    คุณก็จะคิดแบบว่า เอ โอเค ได้
    ฉันจะอยู่ดึกแล้วดูมันต่อ
  • 9:20 - 9:23
    หรืออย่างแถบวัดความก้าวหน้าบนเว็บ
    LinkedIn ที่บอกว่าคุณเกือบจะมี
  • 9:23 - 9:25
    ประวัติที่สมบูรณ์แบบแล้วนะ
  • 9:25 - 9:28
    คุณเลยเพิ่มข้อมูลส่วนตัว
    เข้าไปอีกนิดหน่อย
  • 9:28 - 9:30
    อย่างที่นักออกแบบยูเอกซ์คนหนึ่งบอกกับฉัน
  • 9:30 - 9:34
    คนกลุ่มเดียวที่เรียกลูกค้าว่า "ผู้ใช้"
  • 9:34 - 9:36
    คือพวกค้ายากับนักเทคโนโลยี
  • 9:36 - 9:37
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:37 - 9:40
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:43 - 9:47
    และผู้ใช้ อย่างที่เรารู้กัน
    มีมูลค่าทางการเงินสูงมาก
  • 9:47 - 9:50
    นี่คืออดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์
    เฟสบุ๊คและนักเขียน
  • 9:50 - 9:53
    อันโตนิโอ การ์เซีย มาร์ติเนซ
  • 9:54 - 9:56
    (เสียงบันทึก) อกม: มีคำพูดหนึ่งว่า
    ถ้าผลิตภัณฑ์อะไรสักอย่างฟรี
  • 9:56 - 9:59
    เมื่อนั้นคุณนั่นแหละคือผลิตภัณฑ์
    ความสนใจของคุณคือผลิตภัณฑ์
  • 9:59 - 10:01
    ว่าแต่ความสนใจของคุณมีค่าตรงไหนล่ะ
  • 10:01 - 10:03
    ที่ทำให้ทุก ๆ ครั้งที่คุณ
    โหลดหน้าสักหน้าขึ้นมา
  • 10:03 - 10:05
    ไม่เพียงแค่เฟสบุ๊ค
    หรือแอปใดแอปหนึ่ง
  • 10:05 - 10:08
    ถึงมีการประมูลเกิดขึ้นแทบในทันที
    หลายพันล้านครั้งต่อวัน
  • 10:08 - 10:10
    เพื่อหาว่าจำนวนครั้งที่ผู้ใช้
    เห็นโฆษณามีมูลค่าเท่าไร
  • 10:10 - 10:14
    มซ: ขอนอกเรื่องนิดหน่อย โดยเฉลี่ยแล้ว
    คนเราจะใช้เวลาสองปีของชีวิต
  • 10:14 - 10:15
    ไปกับเฟสบุ๊ค
  • 10:15 - 10:17
    ทีนี้ กลับมาสู่สัปดาห์
    แห่งการท้าทาย
  • 10:17 - 10:20
    ในทันทีทันใด เราเห็น
    ความคิดสร้างสรรค์เริ่มต้นขึ้น
  • 10:20 - 10:22
    นี่คือลิซา อัลเพิร์ต จากนิวยอร์ก
  • 10:23 - 10:25
    (เสียงบันทึก) ลิซา อัลเพิร์ต:
    ฉันเบื่อ ฉันว่างั้นนะ
  • 10:25 - 10:30
    จู่ ๆ ฉันเลยมองไปที่ขั้นบันได
    ที่ขึ้นไปยังด้านบนสุดของสถานี
  • 10:30 - 10:31
    แล้วฉันก็คิดว่า แบบว่า
  • 10:31 - 10:34
    ฉันเพิ่งเดินลงมาเอง
    แต่ว่าฉันเดินกลับขึ้นไปก็ได้นะ
  • 10:34 - 10:37
    แล้วก็เดินกลับลงมา
    เพื่อให้เลือดสูบฉีดหน่อย
  • 10:37 - 10:38
    ฉันเลยทำแบบนั้น
  • 10:38 - 10:42
    แล้วฉันก็เหลือเวลาอีกนิดหน่อย
    ฉันเลยทำมันอีกครั้ง แล้วก็ทำอีกครั้ง
  • 10:42 - 10:44
    แล้วฉันก็ทำไปสิบรอบด้วยกัน
  • 10:44 - 10:46
    แล้วฉันก็ได้ออกกำลังกายจนครบชุด
  • 10:46 - 10:49
    แล้วฉันก็ขึ้นไปบนรถไฟสายอาร์นั้น
    และรู้สึกเหนื่อยหน่อย ๆ
  • 10:49 - 10:51
    แต่แบบว่า ว้าว ฉันไม่เคยรู้สึก
    แบบนั้นมาก่อนเลย
  • 10:51 - 10:53
    มันเป็นไปได้ยังไงกัน
  • 10:53 - 10:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:54 - 10:58
    มซ: ดังนั้น ฉันจึงได้เรียนรู้ว่า ความคิด
    สร้างสรรค์จะเป็นแบบไหนขึ้นกับแต่ละคน
  • 10:58 - 10:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:59 - 11:02
    แต่ทุกคนต่างพบว่า
    คำท้าในวันที่สามนั้นยากที่สุด
  • 11:03 - 11:05
    มันมีชื่อว่า "ลบแอปนั้นซะ"
  • 11:05 - 11:07
    นำแอปนั้น คุณรู้ดีว่าแอปอะไร
  • 11:07 - 11:09
    แอปที่ทำให้คุณติดอยู่ตลอด
    แอปที่ดูดคุณให้ติดหนึบ
  • 11:09 - 11:11
    นำมันออกไปจากมือถือของคุณเสีย
  • 11:11 - 11:12
    ถึงแม้จะแค่วันนั้นก็ตาม
  • 11:12 - 11:15
    ฉันลบเกม Two Dots
    แล้วก็เกือบเสียน้ำตาให้มัน
  • 11:15 - 11:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:16 - 11:19
    ก็นะ ผู้เล่น Two Dots คงรู้ว่า
    ฉันกำลังพูดถึงอะไร
  • 11:19 - 11:21
    แต่ความทุกข์ทรมานของฉันก็ถือเป็นเรื่องดี ๆ
  • 11:24 - 11:27
    (เสียงบันทึก) ผู้ชาย 2: ผมเลียม
    จากลอสแอนเจลิส
  • 11:27 - 11:31
    และผมก็ลบทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค
    อินสตาแกรม ทัมเบลอร์ สแนปแชต และไวน์
  • 11:32 - 11:33
    ออกไปจากโทรศัพท์ของผม
  • 11:33 - 11:34
    ในรวดเดียว
  • 11:34 - 11:39
    และตอนแรกมันก็ดูเหมือนเป็นประสบการณ์
    ทางอารมณ์ที่น่าอับอายเหลือเกิน
  • 11:39 - 11:43
    มันรู้สึกแปลก ๆ เคว้ง ๆ กับ
    การต้องจ้องมองล็อกหน้าจอนั้น
  • 11:43 - 11:45
    โดยที่ไม่มีการแจ้งเตือนใหม่ ๆ ขึ้นมา
  • 11:45 - 11:48
    แต่ผมก็ชอบมากเวลาที่ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
  • 11:48 - 11:52
    ว่าจะนึกถึงหรือใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเมื่อไร
  • 11:52 - 11:55
    โดยที่ไม่ปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ใต้อำนาจ
    การตัดสินใจของโทรศัพท์
  • 11:56 - 11:57
    ดังนั้น ขอบคุณครับ
  • 11:57 - 12:00
    (เสียงบันทึก 3) ผู้หญิง 3: การลบ
    แอปทวิตเตอร์นั้นเป็นเรื่องเศร้ามาก
  • 12:00 - 12:03
    และฉันรู้สึกเหมือนว่า บางที ตลอดหนึ่งปีที่
    ผ่านมาที่ฉันนั่งเล่นทวิตเตอร์
  • 12:03 - 12:05
    ฉันเริ่มมีอาการเสพติดมัน
  • 12:05 - 12:08
    และการท้าทาย "ความเบื่อกับความฉลาด"
    ก็ทำให้ฉันตระหนักถึงอาการนั้น
  • 12:08 - 12:11
    หลังจากที่รู้สึกแย่มากกับการ
    ถูกตัดขาดออกจากโลกอยู่ช่วงหนึ่ง
  • 12:11 - 12:13
    เหมือนกับเวลาที่ปวดหัวเพราะขาดกาเฟอีน
  • 12:13 - 12:15
    ตอนนี้ฉันรู้สึกดี
  • 12:15 - 12:17
    ฉันได้ทานอาหารเย็นกับ
    ครอบครัวอย่างมีความสุข
  • 12:17 - 12:22
    และฉันก็หวังว่าจะควบคุมการใช้
    อุปกรณ์ต่าง ๆ พวกนี้ต่อไป
  • 12:22 - 12:24
    (เสียงบันทึก) ผู้หญิง 4: ฉันไม่ได้
    รู้สึกผิดลึก ๆ อะไร
  • 12:24 - 12:26
    ฉันรู้สึกในตอนที่ฉันรู้ตัวว่า
    กำลังเสียเวลาไปกับโทรศัพท์
  • 12:26 - 12:29
    บางทีฉันอาจต้องเริ่มท้าทายตัวเอง
    และเตือนตัวเองแบบนี้
  • 12:29 - 12:30
    ในทุก ๆ เช้า
  • 12:30 - 12:33
    มซ: ฉันแบบว่า ใช่เลย
    นี่แหละความก้าวหน้า
  • 12:33 - 12:35
    ฉันอดใจรอดูตัวเลขที่จะปรากฏ
  • 12:35 - 12:37
    ในตอนท้ายของสัปดาห์ไม่ไหวแล้ว
  • 12:38 - 12:40
    แต่ในตอนที่ข้อมูลมาถึง
  • 12:40 - 12:42
    ปรากฏว่าเราทำให้คนใช้เวลาลดลงไป
  • 12:42 - 12:44
    โดยเฉลี่ยแล้ว
  • 12:44 - 12:46
    แค่หกนาทีเท่านั้น
  • 12:46 - 12:49
    จาก 120 นาทีต่อวันที่ใช้ไปกับโทรศัพท์
  • 12:49 - 12:51
    ลงมาที่ 114
  • 12:52 - 12:53
    ก็นั่นแหละค่ะ
  • 12:53 - 12:57
    ดังนั้น ฉันจังกลับไปหานักวิทยาศาสตร์
    คนเดิม ๆ และรู้สึกแย่หน่อย ๆ
  • 12:57 - 12:59
    แล้วพวกเขาก็หัวเราะเยาะฉัน
  • 12:59 - 13:01
    และพวกเขาก็พูดว่า คุณรู้ไหม
    การเปลี่ยนพฤติกรรมของคน
  • 13:01 - 13:03
    ในช่วงเวลาที่สั้นขนาดนั้นน่ะ
  • 13:03 - 13:05
    ดูจะทะเยอทะยานจนเพ้อฝันไปหน่อยนะ
  • 13:05 - 13:10
    และจริง ๆ แล้วความสำเร็จที่คุณได้รับ
    ไปไกลกว่าที่เราคาดว่าเป็นไปได้อยู่มาก
  • 13:10 - 13:14
    เพราะว่าสิ่งที่สำคัญกว่าตัวเลข
    คือเรื่องราวของผู้คนต่างหาก
  • 13:14 - 13:16
    พวกเขารู้สึกมีพลัง
  • 13:16 - 13:18
    มือถือของพวกเขาถูกแปลงโฉม
  • 13:18 - 13:20
    จากตัวสั่งงาน
  • 13:20 - 13:22
    มาเป็นเครื่องมือบ้าน ๆ เหมือนเดิม
  • 13:23 - 13:27
    และจริง ๆ แล้ว ฉันพบว่าสิ่งที่
    คนหนุ่มสาวพูดนั้นน่าสนใจมากที่สุด
  • 13:27 - 13:28
    พวกเขาบางคนบอกฉัน
  • 13:28 - 13:30
    ว่าพวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงอารมณ์บางอย่าง
  • 13:30 - 13:32
    ที่พวกเขารู้สึกในช่วง
    สัปดาห์แห่งการท้าทายนั้น
  • 13:32 - 13:33
    เพราะว่า ถ้าคุณลองนึกดูแล้ว
  • 13:33 - 13:36
    หากคุณไม่เคยรู้จักชีวิต
    ที่ปราศจากการเชื่อมต่อมาก่อน
  • 13:36 - 13:39
    คุณอาจไม่ได้สัมผัสความเบื่อหน่ายเลยก็ได้
  • 13:39 - 13:42
    และนั่นก็อาจมีผลบางอย่างตามมา
  • 13:42 - 13:45
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูเอสซีได้พบบางอย่าง
    พวกเขาศึกษาวัยรุ่น
  • 13:45 - 13:48
    ที่เล่นโซเชียลในขณะที่พวกเขา
    พูดคุยอยู่กับเพื่อน
  • 13:48 - 13:49
    หรือทำการบ้าน
  • 13:49 - 13:53
    และสองปีหลังจากนั้น พวกเขา
    มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ลดต่ำลง
  • 13:53 - 13:55
    เกี่ยวกับอนาคตส่วนตัวของพวกเขาเอง
  • 13:55 - 13:59
    และเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสังคม
    อย่างเช่น ความรุนแรงในชุมชนของพวกเขา
  • 14:00 - 14:02
    และเราก็จำเป็นจะต้อง
    ทำให้คนรุ่นถัดจากเรานี้
  • 14:02 - 14:05
    สามารถเพ่งความสนใจให้กับ
    ปัญหาใหญ่ ๆ บางอย่างได้
  • 14:05 - 14:07
    อย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  • 14:07 - 14:09
    ความแตกต่างสุดขั้วทางวัฒนธรรม
  • 14:10 - 14:12
    ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมซีอีโอจาก
    การสำรวจหนึ่งของไอบีเอ็ม
  • 14:12 - 14:17
    ถึงระบุว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนสำคัญ
    ที่สุดของความสามารถในการเป็นผู้นำ
  • 14:18 - 14:20
    แต่ว่าข่าวดีก็มีอยู่
  • 14:20 - 14:24
    ในตอนจบ คน 20,000 คนที่เข้าร่วม
    "ความเบื่อหน่ายกับความฉลาด" ในสัปดาห์นั้น
  • 14:24 - 14:26
    กว่าร้อยละ 90 ลดเวลาใช้มือถือของพวกเขา
  • 14:26 - 14:29
    ร้อยละ 70 มีเวลาในการคิดมากขึ้น
  • 14:29 - 14:31
    หลายคนบอกฉันว่าพวกเขานอนหลับสบายขึ้น
  • 14:31 - 14:33
    พวกเขามีความสุขมากขึ้น
  • 14:33 - 14:36
    ข้อความที่ฉันชอบมาจากผู้ชายคนหนึ่ง
    ที่บอกว่าเขารู้สึกเหมือนเขาตื่นมา
  • 14:36 - 14:38
    จากภาวะการจำศีลทางจิตสักอย่างหนึ่ง
  • 14:40 - 14:43
    ข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง ผนวกกับ
    ประสาทวิทยาศาสตร์อีกเล็กน้อย
  • 14:43 - 14:46
    ทำให้เราสามารถออกจากโลกออนไลน์
    ได้นานขึ้นกว่าเดิมอีกนิดหน่อย
  • 14:46 - 14:49
    และความเบื่อหน่ายเล็กน้อยนี้
    จะทำให้เราเข้าใจอะไรชัดมากขึ้น
  • 14:49 - 14:51
    และช่วยเราบางคนในการตั้งเป้าหมายบางอย่าง
  • 14:52 - 14:54
    แบบว่า บางทีการเชื่อมโยง
    ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
  • 14:54 - 14:57
    อาจไม่ใช่เรื่องที่มองว่าเจ๋ง
    ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็ได้
  • 14:58 - 15:02
    แต่ในระหว่างนั้น การสอนผู้คน
    โดยเฉพาะเด็ก ๆ
  • 15:02 - 15:05
    ให้ใช้เทคโนโลยีในการ
    ปรับปรุงคุณภาพชีวิตตนเอง
  • 15:05 - 15:06
    รวมถึงให้ควบคุมตัวเองได้
  • 15:06 - 15:09
    จำเป็นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ดิจิทัล
  • 15:11 - 15:13
    ดังนั้นครั้งต่อไปที่คุณเช็กโทรศัพท์ของคุณ
  • 15:14 - 15:18
    จำไว้ว่าถ้าคุณไม่ตัดสินใจว่า
    คุณจะใช้เทคโนโลยีนั้นอย่างไร
  • 15:18 - 15:20
    อุปกรณ์พวกนั้นจะตัดสินใจให้คุณเอง
  • 15:21 - 15:23
    และลองถามตัวคุณเองดูว่า
  • 15:23 - 15:24
    จริง ๆ แล้วคุณอยากทำอะไรกันแน่
  • 15:24 - 15:28
    เพราะว่าถ้าหากคุณอยากเช็กอีเมล์จริง ๆ
    ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทำแบบนั้นให้เสร็จไป
  • 15:28 - 15:31
    แต่ถ้ามันเป็นการเบี่ยงความสนใจคุณ
    จากการทำงานที่ยาก
  • 15:31 - 15:33
    ที่ต้องอาศัยการคิดที่ลึกกว่านั้น
  • 15:33 - 15:35
    ให้ลองพักดู
  • 15:35 - 15:36
    มองออกไปนอกหน้าต่าง
  • 15:37 - 15:40
    และรู้ว่าการที่คุณไม่ได้ทำอะไรนั้น
  • 15:40 - 15:44
    จริง ๆ แล้วคุณกำลังอยู่ในช่วงที่
    ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด
  • 15:44 - 15:47
    ในตอนแรก คุณอาจรู้สึกแปลก ๆ หรืออึดอัด
  • 15:47 - 15:50
    แต่ความเบื่อหน่ายนี้เองสามารถนำไปสู่
    ความคิดที่ยอดเยี่ยมได้
  • 15:50 - 15:52
    ขอบคุณค่ะ
  • 15:52 - 15:56
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความเบื่อหน่าย: หนทางสู่ความคิดสุดล้ำ
Speaker:
มานุช โซโมโรดี (Manoush Zomorodi)
Description:

มีบางไหมในบางครั้งที่คุณคิดอะไรเจ๋ง ๆ ออกตอนที่กำลังพับผ้า ล้างจาน หรือทำอะไรไปเรื่อยเปื่อย ถ้าคุณเคย นั่นก็เพราะเมื่อร่างกายของคุณทำงานอัตโนมัติด้วยตัวเอง สมองของคุณจะยุ่งอยู่กับการสร้างการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทใหม่ ๆ ที่เชื่อมความคิดเข้าด้วยกันและแก้ปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา มาเรียนรู้วิธีรักความเบื่อหน่ายจากที่มานุช โซโมโรดีอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างความใจลอยและความคิดสร้างสรรค์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:13

Thai subtitles

Revisions